วันจันทร์, ธันวาคม 02, 2567

ร่าง พ.ร.บ.สมาคมและมูลนิธิที่มหาดไทยเสนอ กำลังคุกคามภาคประชาสังคม และ สื่อของเมียนมามี่ลี้ภัย Human Rights Myanmar ขอเรียกร้องให้ทางการไทยถอนร่างกฎหมายที่เสนอออก แต่หากยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป เรามีข้อเสนอแนะให้ดังต่อไปนี้


iLaw
9h ·

สถานการณ์การรัฐประหารและความไม่สงบในประเทศเมียนมาส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัย กลุ่มคนทำงานเพื่อประชาธิไตย สิทธิมนุษยชน สื่ออิสระ หรือภาคประชาสังคม ไม่สามารถอยู่อาศัยในประเทศตัวเองและทำงานเหล่านี้ได้จึงต้องอาศัยประเทศไทยเป็นสถานที่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยและการทำงานเท่าที่จะสามารถทำได้ แต่ประเทศไทยก็ได้ปลอดภัยเสมอไป เพราะกฎหมายของประเทศไทยก็มีข้อจำกัดในการแสดงออก การรวมกลุ่มทำกิจกรรม และการเข้าเมือง
ล่าสุดกระทรวงมหาดไทยกำลังจัดทำร่างพ.ร.บ.สมาคมและมูลนิธิ สร้างเงื่อนไขเพิ่มขึ้นสำหรับการจดทะเบียนสมาคมและมูลนิธิ รวมทั้งให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาตรวจสอบการรับทุน และสามารถเข้าค้นสำนักงานได้ โดยหลักแล้วกฎหมายนี้มุ่งควบคุมการจดทะเบียนขององค์กรไทยโดยคนไทย แต่องค์กร Human Rights Myanmar กังวลว่า กฎหมายนี้อาจทำให้ภาคประชาสังคมและสื่อของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างมาก จึงออกบทความส่งความเห็นต่อความพยายามออกกฎหมายของประเทศไทย ดังนี้ https://humanrightsmyanmar.org/?na=v&nk=3343-7746b8e76f&id=7
๐ จดทะเบียนหรือเตรียมค่าปรับ
ร่างกฎหมายกำหนดให้การจัดตั้งสมาคมหรือมูลนิธิ ต้องได้รับอนุญาตจากทางการ (มาตรา 6), องค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000-100,000 บาท (มาตรา 51), หากผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 51 คือถูกปรับไปแล้ว แต่ยังคงฝ่าฝืนตามบทบัญญัติดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับทางปกครองอีกวันละไม่เกิน 1,000 บาท จนกว่าจะได้เลิกใช้ (มาตรา 61)
ร่างกฎหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงกลุ่มเมียนมาทุกกลุ่ม รวมถึงองค์กรสื่อที่ไม่แสวงหากำไรที่กำลังลี้ภัยอยู่ด้วย
๐ ข้อกำหนดเรื่องสัญชาติ กีดกันชาวเมียนมา
องค์กรจากเมียนมามักดำเนินงานด้วยทรัพยากรจำกัด มีสมาชิกน้อย และไม่ค่อยได้รับการมีส่วนร่วมจากคนไทยเท่าใดนัก เนื่องจากการดำเนินการขององค์กรจะมุ่งเน้นไปที่การรณรงค์และการช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องกับเมียนมาเป็นหลัก การกำหนดให้คณะกรรมการของสมาคมหรือมูลนิธิต้องเป็นคนไทยจำนวนครึ่งหนึ่ง ทำให้องค์กรเหล่านี้เหมือนถูกตัดสิทธิไปโดยสิ้นเชิง
๐ การละเมิดความเป็นส่วนตัวและการปกปิดตัวตน (No anonymity or privacy)
ในกระบวนการลงทะเบียน กฎหมายกำหนดให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้น และประกาศการจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 14) และองค์กรจะต้องจัดให้มีป้ายชื่อติดไว้หน้าหรือสถานที่ซึ่งเห็นได้ชัดของสำนักงานใหญ่ และสำนักงาน (มาตรา 15)ให้นายทะเบียนและพนักงานมีอำนาจในการเข้าตรวจค้นสำนักงาน และตรวจสอบข้อมูลเอกสารต่าง ๆ (มาตรา 49)
การเผยแพร่ชื่อและการกำหนดให้มีป้ายชื่อที่สำนักงานจะทำให้สูญเสียสถานะปกปิดตัวตน ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยปกป้องสมาชิกจากการคุกคามของกองทัพเมียนมา หากมีการเปิดเผยตัว เหล่าแกนนำและครอบครัวของพวกเขาอาจต้องเผชิญกับการคุกคาม การเฝ้าติดตาม หรือความรุนแรงทั้งในประเทศไทยและเมียนมา
๐ การเงินภายใต้ความเสี่ยง (Funding under threat)
ร่างกฎหมายของไทยกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่สมาคมหรือมูลนิธิ ได้รับเงินบริจาคจากองค์กร หน่วยงาน หรือเอกชนต่างประเทศ ต้องรายงานให้นายทะเบียนทราบภายใน 15 วัน (มาตรา และเหล่ามูลนิธิ และสมาคมต่างๆ อาจจะไม่สามารถแบ่งปันรายได้แก่กันและกันได้ (มาตรา
องค์กรภาคประชาสังคมของเมียนมา (CSOs) และสื่อที่ลี้ภัยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนทางการเงินจากต่างประเทศเพื่อดำเนินงานต่อไป แต่ข้อจำกัดเหล่านี้จะเป็นการเพิ่มอุปสรรคทางธุรการที่ทำให้การทำงานร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นหรือการแจกจ่ายทรัพยากรทำได้ยากขึ้น
๐ อำนาจรัฐที่ไร้การถ่วงดุล (Unchecked government power)
ร่างกฎหมายนี้ให้อำนาจทางการไทยในการยุบเลิกมูลนิธิ หรือสมาคม ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนแน่นอน (มาตรา 30 ) นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแทนที่ได้ชั่วคราว (มาตรา 27) และมีอำนาจเพิกถอนมติของคณะกรรมการในที่ประชุมใหญ่ได้ (มาตรา 20)
ข้อกำหนดเหล่านี้เปิดทางให้ทางการไทยเข้าแทรกแซงหรือยุบองค์กรของเมียนมาโดยตรง ซึ่งจะยิ่งทำให้ความสามารถในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ลดลง อำนาจเต็มมือที่ไม่มีการตรวจสอบเช่นนี้จะสร้างความไม่มั่นคงและบั่นทอนการทำงานด้านการรณรงค์และมนุษยธรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
๐ กฎหมายคลุมเครือที่คุกคามแกนนำ
ร่างกฎหมายนี้วางหลักความผิดไว้อย่างกว้างและนิยามไม่ชัดเจน ทำให้ง่ายในการดำเนินคดีต่อแกนนำขององค์กร เช่น การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อ “บุคคลอื่น” “ความสงบเรียบร้อย” หรือ “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” แม้แต่กิจกรรมที่ปราศจากความรุนแรงก็ตาม เช่น การพูดหรือรณรงค์ส่งเสริมในประเด็นสาธารณะ หรือการวิพากษ์วิจารณ์กองทัพเมียนมา
๐ เจตนาที่แท้จริงของประเทศไทย ? (What is Thailand’s intention?)
ร่างกฎหมายของไทยที่เสนอขึ้นมีความคล้ายคลึงกับที่เห็นในรัสเซียและประเทศที่มีกฎเกณฑ์เข้มงวดอื่นๆ ที่มีความพยายามนำกฎหมายมาใช้ปราบปรามผู้เห็นต่าง โดยอ้างการกำกับดูแลความสงบเรียบร้อย แม้กฎหมายจะอ้างวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาด้านความมั่นคงหรือความโปร่งใสทางการเงิน แต่ลักษณะบทบัญญัติที่มีขอบเขตและความหมายกว้างของร่างกฎหมายฉบับนี้ ดูเหมือนจะเป็นการมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลในการควบคุมภาคประชาสังคมและจำกัดความพยายามในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะจากกลุ่มที่วิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอิทธิพล
การประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้จะเสี่ยงต่อการบ่อนทำลายชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะพื้นที่ปลอดภัยสำหรับบุคคลและองค์กรที่ลี้ภัยคุกคามจากรัฐบาลทหารพม่ามาตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2021 นอกจากนี้ยังสร้างความกังวลในวงกว้างเกี่ยวกับแนวโน้มการก้าวไปสู่ระบอบเผด็จการในภูมิภาคอีกด้วย
๐ ข้อเสนอแนะ (Recommendations )
Human Rights Myanmar ขอเรียกร้องให้ทางการไทยถอนร่างกฎหมายที่เสนอออก แต่หากยังมีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป เรามีข้อเสนอแนะให้ดังต่อไปนี้
1.อนุญาตให้องค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียนสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องรับโทษ
2.นำบทบัญญัติที่คลุมเครือและบทลงโทษทางอาญาออกไป เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด
3.ยกเลิกข้อกำหนดเรื่องสัญชาติสำหรับสมาชิกและแกนนำองค์กร
4.ปกป้องการปกปิดตัวตน เมื่อจำเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัย
5.ผ่อนปรนข้อจำกัดเกี่ยวกับการเงินจากต่างประเทศ

https://humanrightsmyanmar.org/?na=v&nk=3343-7746b8e76f&id=7