วันพุธ, ตุลาคม 16, 2567

"ตากใบต้องไม่เงียบ" ภาคประชาชน เรียกร้องรัฐบาลนำตัวจำเลยคดีตากใบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม


The Reporters
7 hours ago
·
PHOTO STORY: นับถอยหลัง 10 วันก่อนคดีตากใบหมดอายุความ เครือข่ายตากใบต้องไม่เงียบ จัดกิจกรรมรำลึกผู้เสียชีวิตกลางกรุง เรียกร้อง 7 จำเลยเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
เครือข่ายตากใบต้องไม่เงียบ จัดกิจกรรม #ตากใบต้องไม่เงียบ ส่งเสียงอ่านชื่อผู้เสียชีวิต 85 คน จากเหตุการณ์คดีตากใบ เรียกร้องคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียชีวิต ก่อนคดีจะหมดอายุความในวันที่ 25 ต.ค.นี้ ที่บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการเชิญชวนประชาชนหยิบดอกไม้สีขาวมาวางไว้บนกระดาษรายชื่อของผู้เสียชีวิตทั้ง 85 คน ซึ่งทำเป็นสัญลักษณ์สันติภาพ (Peace) ก่อนที่จะมีการขานชื่อของจำเลยทั้ง 7 คน โดยเรียกร้องให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมก่อนคดีหมดอายุความ
จากนั้นได้อ่านแถลงการณ์ตากใบต้องไม่ลืม ที่มีภาคีเครือข่าย 49 แห่งร่วมลงนาม พร้อมกับอ่านรายชื่อของผู้เสียชีวิต 85 คน และยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 นาที เพื่อเป็นการรำลึกถึงผู้ที่จากไป
นายมูฮัมหมัดกัสดาฟี กูนา จาก The Patani เปิดเผยว่า ตนเองเดินทางมาไกลประมาณ 1,000 กิโลเมตร เพื่อสื่อสารให้คนทั้งประเทศและคนใจกลางกรุงเทพฯ รับรู้ว่าตากใบจะต้องไม่เงียบ แม้ว่าจะใกล้หมดอายุความอีก 10 วัน ผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบ พวกเขายังอยู่ในความทรงจำที่ไม่ควรเกิดขึ้น จำเลยที่เป็นชนชั้นนำของประเทศจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หากรัฐบาลนำผู้ต้องหามาลงโทษไม่ได้ก็จะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาสันติภาพ รัฐบาลจึงต้องมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาและนำผู้ต้องหามาลงโทษให้ได้
“ผมหวังว่าจำเลยจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและกลไกศาล เพื่อสร้างบรรทัดฐานและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าการกระทำหรืออาชญากรรมโดยรัฐ รัฐจะต้องจริงจังในการแก้ไขปัญหา และการสร้างสันติภาพชายแดนใต้”
ส่วนกรณีที่พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี ลาออกจากพรรคเพื่อไทยนั้น ไม่ใช่การตัดความรับผิดชอบ พลเอกพิศาลเป็นคนของพรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทยจึงต้องมีความรับผิดชอบดึงเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จึงอยากให้คนทั้งประเทศเรียกร้องให้จำเลยทั้ง 7 คนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แม้กระทั่งฝ่ายการต่างประเทศหรือนายกรัฐมนตรีก็ต้องสื่อสารเรียกความเชื่อมั่นให้ได้ รวมถึงเรียกความเชื่อมั่นในการสร้างสันติภาพในพื้นที่
นายมูฮัมหมัดกัสดาฟี อยากให้กรณีตากใบเป็นบทเรียน การสูญเสียโดยโศกนาฏกรรมของรัฐ ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่าจะสมัยใด จึงขอให้เหตุการณ์ตากใบเป็นกรณีสุดท้ายของประเทศ ควรนำคนผิดมาลงโทษอย่างจริงจัง เพื่อสร้างบรรทัดฐานประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรม
หากสุดท้ายคดีหมดอายุความและไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ รายชื่อผู้เสียชีวิต เรื่องราวตากใบจะไม่สูญหายจากความทรงจำในพื้นที่ สิ่งเหล่านี้จะสร้างรอยแผล และจะเกิดปัญหาความขัดแย้งในอนาคต รัฐบาลจึงต้องจริงจังในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืน
รายงาน: ณัฐพร สร้อยจำปา
ภาพ: ปุณยวีร์ ณรงค์ฤทธิ์
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #ตากใบต้องไม่เงียบ



🔴 [LIVE] ตากใบต้องไม่เงียบ ภาคประชาชนอ่าน 85 รายชื่อผู้เสียชีวิต

The Reporters TV

Streamed live 7 hours ago 

🔴 [LIVE] ตากใบต้องไม่เงียบ ภาคประชาชนอ่าน 85 รายชื่อผู้เสียชีวิต เรียกร้องคือความยุติธรรมของคดีหมดอายุความ

https://www.youtube.com/watch?v=TFPITYrlor0
.....


The Reporters
7 hours ago
·
UPDATE:49 เครือข่าย ออกแถลงการณ์ "ตากใบต้องไม่เงียบ" หน้าอนุสรณ์นกเพื่อสันติภาพ จ.นราธิวาส เรียกร้องรัฐบาลนำตัวจำเลยคดีตากใบเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
วันที่ 15 ต.ค.67 ที่อนุสรณ์สถานนกเพื่อสันติภาพ อ.เมือง จ.นราธิวาส ตัวแทน 49 เครือข่าย อ่านแถลงการณ์ ตากใบ ต้องไม่ลืม ฉบับที่ 1 วันที่ 15 ตุลาคม 2567 โดยระบุว่า
จากเหตุโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ถือ เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐที่ร้ายแรงครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปาตานีหรือจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์การสลายการชุมนุมทางการเมืองของประเทศไทยที่มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งกรณีตากใบมีผู้เสีย ชีวิตรวมทั้งสิ้น 85 คน อันส่งผลกระทบอย่างมากต่อความรู้สึก ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมและความเชื่อใจในระบบ การเมืองไทยของผู้คนในพื้นที่ปาตานี/จังหวัดชายแดนภาคใต้
โศกนาฏกรรมตากใบเหลือเวลาอีกเพียง 10 วันจะครบรอบ 20 ปี นั่นหมายถึงคดีความตากใบกำลังจะสิ้นสุดอายุความ โดยที่ไม่มีผู้ใดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แต่อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาผู้เสียหายในเหตุการณ์สลายการชุมนุมตากใบ จำนวน 48 คนได้พยายามรวบรวมความกล้าหาญท่ามกลางความยากและซับซ้อนในการทวงคืนความยุติธรรมต่อเหตุการณ์ที่มี อำนาจรัฐเป็นผู้เกี่ยวข้องในบริบทปัญหาความขัดแย้งรุนแรงในพื้นที่ เพื่อเข้าไปร่วมแจ้งความดำเนินคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจต่อเหตุการณ์สลายการชุมนุน ณ เวลานั้น
เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ศาลจังหวัดนราธิวาสได้ประทับรับฟ้องจำเลยจำนวน 7 คนแต่จำเลยทั้ง 7 คนไม่ได้มา ตามนัด ศาลจึงพิจารณาออกหมายจับ
ต่อมาศาลจังหวัดนราธิวาสมีนัดสอบคำให้การในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 ถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่ผู้เสียหายจะเข้าถึง ความยุติธรรม ปรากฏว่าจำเลยทั้งหมดไม่ได้มาตามนัด ศาลจังหวัดนราธิวาสจึงไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคดีต่อได้ ศาลจังหวัด นราธิวาส จึงนัดหมายอีกครั้งในวันที่ 28 ตุลาคม 2567 เพื่อสรุปคดีหรือลงคำสั่งศาลในครั้งสุดท้าย
ผู้เสียหายและพี่น้องประชาชนรู้สึกผิดหวังต่อรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและตั้งคำถามถึงความพยายามในการจับกุม จำเลยทั้งหมดมายังศาลจังหวัดนราธิวาส หากคดีต้องสิ้นสุดอายุความลงในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 นี้ โดยไม่สามารถจับกุม เจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำต่อประชาชน จะส่งผลด้านลบในระยะยาวต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่ปาตานีหรือจังหวัด ชายแดนภาคใต้รวมถึงเป็นบรรทัดฐานสร้างวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในสังคมไทยภาพรวม
เครือข่าย “ตากใบต้องไม่เงียบ" ขอร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเร่งดำเนินการประสานงานทางการทูตต่อประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษและประเทศ อื่นๆที่คาดว่าจำเลยหลบหนีการจับกุม เพื่อนำตัวกลับมาดำเนินคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้ทันก่อนคดีจะสิ้นสุดอายุความ รวม ถึงขอให้รัฐบาลเพิ่มความพยายามในการดำเนินการเพื่อคืนความยุติธรรมให้ผู้เสียหายจากโศกนาฏกรรมตากใบต่อไป
ทั้งนี้ นายฮากิม พงตีกอ และตัวแทนผู้ทำกิจกรรม ได้ร่วมกันอ่านรายชื่อ ผู้เสียชีวติทั้ง 85 คน เพื่อยืนยันว่า จะไม่ลืมทุกคน และไม่ลืมเหตุการณ์ตากใบ โดยจะมีการจัดกิจกรรมติดตามคดีจนถึงที่่สุด เพราะเป็นคดีที่เป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า
“ยุติอาชญากรรมรัฐ ยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด" โดย 49 ภาคีเครือข่าย
1. The Patani
2. ActLab
3. TUNE&CO.
4. ทะลุฟ้า
5. FreeArts
6. CAN ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ
7. กอผือรื้อเผด็จการ
8. Thumb Rights
9. กลุ่มด้วยใจ
10. มูลนิธิศักยภาพชุมชน
11. สหภาพคนทำงาน
12. We Fair
13. พรรครวมใจจันทน์กะพ้อ
14. พรรคกิจประชา
15. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)
16. ภูพานปฏิวัติ
17. นิติซ้าย
18. เครือข่ายเยาวชนอิสระปาตานี - IRIS
19. คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.)
20. เครือข่ายติดตามเฝ้าระวังโครงการพัฒนาปาตานี
21. กลุ่มไฟรามทุ่ง นศ.รามคำแหง
22. ภาคีSaveบางกลอย
23. บางกลอยคืนถิ่น
24. Free Pattani River
25. กลุ่มนักกฎหมายอาสาเพื่อสิทธิมนุษยชนภาคใต้ (Law Long Beach)
26. กลุ่มนครเสรีเพื่อประชาธิปไตย
27. Secure Ranger
28. เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม
29. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
30. กำปั้นซ้าย
31. KNACK กลุ่มสนับสนุนสังคมประชาธิปไตยเพื่อความเป็นธรรม
และเท่าเทียม
32. กลุ่มยุวธิปัตย์เพื่อสังคม
33. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
34. องค์กรสังคมนิยมแรงงาน
35. เรื่องหลังเขา
36. สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย(สนมท.)
37. นักศึกษาและเยาวชนพิทักษ์สิทธิ์ Students and Young
People Rights Defenders (SPRD)
38. ฝ่ายส่งเสริมมนุษยธรรมสากลและประชาธิปไตย อบจ.
39. เครือข่ายชาติพันธุ์ปลดแอก FIP
40. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
41. เฟมินิสต์ปลาแดก
42. คณะก่อการล้านนาใหม่
43. นักกฎหมายคืนถิ่น
44. องค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนปาตานี Hap
45. NUSANTARA
46. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF)
47. WARTANI
48. เครือข่ายประชาชนผดุงยุติธรรม (JAPIL)
49. Patani Art Space
รายงาน : ฐปณีย์ เอียดศรีไชย
#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #20ปีคดีตากใบ

https://www.facebook.com/TheReportersTH/posts/pfbid0Ws5XWrrgg1FMVSWnhRYRJbWWSU7U6cYmSuBPStRqq1YgYHCpFvtreqzMWu1rd7p1l