30/10/2567
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2567 เวลา 09.36 น.
ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 707 ศาลอาญา
กับรอยเลือดบนหน้าอก “เก็ท” โสภณ ที่ถูกกรีดเป็นคำว่า ‘112’
_____________________________
ช่วงเช้าของวันที่ 29 ต.ค. 2567 ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 ของ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ จากเหตุปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจัดการวัคซีนโควิด-19 และการใช้งบประมาณของสถาบันกษัตริย์ ในวันแรงงานสากลปี 2565 ภายใต้กิจกรรม #แจกน้ำยาให้หมามันกิน
เก็ทถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มายังห้องพิจารณาคดี แต่ก่อนที่ศาลจะเริ่มอ่านคำพิพากษา เก็ทเดินเข้าไปในคอกพยาน และขออนุญาตศาลแถลงบางอย่าง ก่อนที่ศาลจะอ่านคำพิพากษา เสียงพูดคุยในห้องก็เริ่มเงียบลง ทุกสายตาในห้องพิจารณาคดีจ้องมาที่เก็ท
เก็ทยืนตรง สายตามองไปที่ผู้พิพากษา และถอดเสื้อนักโทษสีน้ำตาลออก แต่มีสิ่งหนึ่งที่แปลกตาไป นั่นคือมีรอยแผลจากการกรีดบริเวณหน้าอก เป็นตัวเลข 112 ก่อนเขาเริ่มเอ่ยคำแถลงมีเนื้อหาที่พอจดบันทึกได้
“..ท่านอาจมองว่าการถอดเสื้อเป็นเรื่องไร้มารยาท การเอามีดมากรีดอกเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ถ้าท่านเห็นว่าสิ่งที่ผมทำเป็นเรื่องผิดปกติ มีสิ่งที่ผิดปกติกว่านั้น
“การจับคนเข้าคุกไปดำเนินคดี การที่ใช้มาตรา 112 มากกว่า 300 คน ทั้งที่สำนักพระราชวังไม่ได้ฟ้อง สถาบันกษัตริย์ไม่ได้เป็นโจทก์ร่วม ในการพิจารณาคดีมีสิ่งผิดปกติมากมาย บางคนไม่ได้สิทธิประกันตัว บางคนโดนถอนประกัน
“เวลาที่ศาลตัดสิน สมเหตุสมผลกับพฤติการณ์หรือไม่ บางครั้งเราแสดงความเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทำไมโทษถึงหนัก อย่างที่อานนท์โดนโทษจำคุกสี่ปี
“อย่างที่ท่านกำลังจะตัดสินผมวันนี้ ท่านไม่ได้แค่ทำร้ายผม แต่ทำร้ายครอบครัวผม คนรักผม และเพื่อนผมด้วย
“ท่านกำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคม เราจะอยู่กันอย่างไรถ้าเราหยิบความจริงมาพูดกันไม่ได้ แสดงความเห็นไม่ได้ แม้ว่ามันจะมีประโยชน์ต่อสาธารณชน แต่ถ้ามันเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์
“ผมให้ความเคารพท่าน ไม่ใช่แค่ฐานะผู้พิพากษา แต่เป็นสถาบันตุลาการด้วย ท่านไม่ใช่แค่ศาลใต้พระปรมาภิไธยเท่านั้น ท่านศักดิ์สิทธิ์ในนามสถาบันตุลาการ สามารถชี้ผิดชี้ถูกได้
“ผมอยากให้คำตัดสินของท่านวันนี้สั่งสอนผม และประชาชนที่มาสังเกตการณ์วันนี้ ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด และประชาชนไทยมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นเท่าไหร่
“ผมใช้มีดกรีดอกตัวเอง แต่ละแผลมันเจ็บมาก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรให้ท่านรู้ว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เด็กอย่างรุ่นผมคิดได้ ท่านก็ต้องคิดได้ว่ามาตรา 112 มีปัญหา ตั้งแต่การดำเนินคดี การฟ้อง และการพิพากษา
“ท่านผู้พิพากษามีศักดิ์และสิทธิในการแก้ปัญหาความผิดปกตินี้ที่มันเกิดขึ้น แต่ถ้าท่านเพิกเฉย มองว่าเป็นเรื่องปกติ ทำตามหน้าที่ มันก็คือการหล่อเลี้ยงปัญหาที่เกิดขึ้น
“วันนี้ท่านจะพิพากษาผมยังไงก็แล้วแต่ แต่ผมยืนยันว่ามาตรา 112 มีปัญหา
“เวลาผมนอนอยู่ในคุก ไม่ทำอะไร เดี๋ยวก็พรุ่งนี้ เดือนหน้า หรือปีหน้า เวลาเปลี่ยน สังคมไม่ได้เปลี่ยน สังคมมันเปลี่ยนแปลงเพราะคน
“ผมชื่นชม ถ้าท่านยึดมั่นในอุดมการณ์ พิพากษาอย่างเป็นกลาง ปราศจากอคติ แต่ผู้พิพากษาอีกหลายคนที่ไม่ได้ทำอย่างนั้น แต่เมื่อใส่ชุดครุยแล้ว ก็ควรที่จะไม่มีอคติ
“อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เมื่อท่านถอดชุดครุยก็เป็นประชาชนเหมือนกัน”
_____________________________
ในคดีนี้ ศาลพิพากษาว่าเก็ทมีความผิดฐาน “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามมาตรา 112
ลงโทษจำคุกใน 3 ปี ก่อนลดเหลือ 2 ปี เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์
หลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เสียงบทสนทนาในห้องก็เริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ เก็ทหันหลังกลับไปหาประชาชนหลายสิบคนที่นั่งอยู่ในห้อง หลายคนก็เดินมาให้กำลังใจ สวมกอด ถามไถ่เกี่ยวกับรอยกรีดตัวเลขนั้น ในขณะที่บางคนก็นั่งมองอยู่ห่าง ๆ และบางคนก็ร้องไห้ออกมา
หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เตรียมพาตัวเก็ทออกจากห้องพิจารณา เขาต้องบอกลาเพื่อน ครอบครัว รวมไปถึงคนรักอีกครั้งหนึ่ง
แทนที่จะได้กลับบ้าน เก็ทต้องกลับไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่เขาถูกคุมขังมาแล้ว 1 ปี 2 เดือนเศษ ขณะก็ถูกนับโทษจำคุกรวมทั้งหมดในสามคดีเป็น 8 ปี 6 เดือน
_____________________________
ทางด้านเพจของ “เก็ท” ยังได้โพสต์ข้อความสองชิ้น ที่เขาเขียนสะท้อนถึงเจตจำนงของตน
“ตอนผมกรีดอก แต่ละแผลเจ็บมาก แต่ผมก็แค่คิดว่าต้องทำอะไรซักอย่าง ทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ผู้มีอำนาจตระหนักว่ากระบวนการยุติธรรม และ 112 มีปัญหา ผมอยากทำให้ตุลาการและผู้มีอำนาจตาสว่าง ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น ผมควบคุมชีวิตของผมเอง ไม่มีใครบังคับบงการชีวิตผมได้เฉกเช่นคนทุกคน เรามีเจตจำนงเสรี…”
โสภณ
29 ตุลาคม 2567
เครดิตจาก เฟซบุ๊ก Get Surariddhidhamrong
.
“ทุกคนมีเจตจำนงเสรีเป็นของตัวเองอยู่แล้ว เรื่องชนชั้นวรรณะเป็นเรื่องที่อุปโลกกันขึ้นมาเอง แท้จริงแล้วทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากัน เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไง ถ้าเราไม่สามารถพูดกันได้อย่างจริงใจ ไม่สามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ในเมื่อกษัตริย์อยู่ร่วมกันกับคนในสังคม เราก็ควรจะพูดถึงสถาบันกษัตริย์ได้ สังคมที่เคารพความเป็นคนและเป็นประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างนั้น การที่โดน 112 อย่างนี้นับวันก็ยิ่งชัดว่าเป็นปัญหา”
โสภณ
29 ตุลาคม 2567
.
เครดิตจาก เฟซบุ๊ก Get Surariddhidhamrong
(อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/70828)
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=962805055689965&set=a.656922399611567)
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2567 เวลา 09.36 น.
ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 707 ศาลอาญา
กับรอยเลือดบนหน้าอก “เก็ท” โสภณ ที่ถูกกรีดเป็นคำว่า ‘112’
_____________________________
ช่วงเช้าของวันที่ 29 ต.ค. 2567 ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 ของ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ จากเหตุปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจัดการวัคซีนโควิด-19 และการใช้งบประมาณของสถาบันกษัตริย์ ในวันแรงงานสากลปี 2565 ภายใต้กิจกรรม #แจกน้ำยาให้หมามันกิน
เก็ทถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มายังห้องพิจารณาคดี แต่ก่อนที่ศาลจะเริ่มอ่านคำพิพากษา เก็ทเดินเข้าไปในคอกพยาน และขออนุญาตศาลแถลงบางอย่าง ก่อนที่ศาลจะอ่านคำพิพากษา เสียงพูดคุยในห้องก็เริ่มเงียบลง ทุกสายตาในห้องพิจารณาคดีจ้องมาที่เก็ท
เก็ทยืนตรง สายตามองไปที่ผู้พิพากษา และถอดเสื้อนักโทษสีน้ำตาลออก แต่มีสิ่งหนึ่งที่แปลกตาไป นั่นคือมีรอยแผลจากการกรีดบริเวณหน้าอก เป็นตัวเลข 112 ก่อนเขาเริ่มเอ่ยคำแถลงมีเนื้อหาที่พอจดบันทึกได้
“..ท่านอาจมองว่าการถอดเสื้อเป็นเรื่องไร้มารยาท การเอามีดมากรีดอกเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ถ้าท่านเห็นว่าสิ่งที่ผมทำเป็นเรื่องผิดปกติ มีสิ่งที่ผิดปกติกว่านั้น
“การจับคนเข้าคุกไปดำเนินคดี การที่ใช้มาตรา 112 มากกว่า 300 คน ทั้งที่สำนักพระราชวังไม่ได้ฟ้อง สถาบันกษัตริย์ไม่ได้เป็นโจทก์ร่วม ในการพิจารณาคดีมีสิ่งผิดปกติมากมาย บางคนไม่ได้สิทธิประกันตัว บางคนโดนถอนประกัน
“เวลาที่ศาลตัดสิน สมเหตุสมผลกับพฤติการณ์หรือไม่ บางครั้งเราแสดงความเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทำไมโทษถึงหนัก อย่างที่อานนท์โดนโทษจำคุกสี่ปี
“อย่างที่ท่านกำลังจะตัดสินผมวันนี้ ท่านไม่ได้แค่ทำร้ายผม แต่ทำร้ายครอบครัวผม คนรักผม และเพื่อนผมด้วย
“ท่านกำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคม เราจะอยู่กันอย่างไรถ้าเราหยิบความจริงมาพูดกันไม่ได้ แสดงความเห็นไม่ได้ แม้ว่ามันจะมีประโยชน์ต่อสาธารณชน แต่ถ้ามันเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์
“ผมให้ความเคารพท่าน ไม่ใช่แค่ฐานะผู้พิพากษา แต่เป็นสถาบันตุลาการด้วย ท่านไม่ใช่แค่ศาลใต้พระปรมาภิไธยเท่านั้น ท่านศักดิ์สิทธิ์ในนามสถาบันตุลาการ สามารถชี้ผิดชี้ถูกได้
“ผมอยากให้คำตัดสินของท่านวันนี้สั่งสอนผม และประชาชนที่มาสังเกตการณ์วันนี้ ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด และประชาชนไทยมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นเท่าไหร่
“ผมใช้มีดกรีดอกตัวเอง แต่ละแผลมันเจ็บมาก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรให้ท่านรู้ว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เด็กอย่างรุ่นผมคิดได้ ท่านก็ต้องคิดได้ว่ามาตรา 112 มีปัญหา ตั้งแต่การดำเนินคดี การฟ้อง และการพิพากษา
“ท่านผู้พิพากษามีศักดิ์และสิทธิในการแก้ปัญหาความผิดปกตินี้ที่มันเกิดขึ้น แต่ถ้าท่านเพิกเฉย มองว่าเป็นเรื่องปกติ ทำตามหน้าที่ มันก็คือการหล่อเลี้ยงปัญหาที่เกิดขึ้น
“วันนี้ท่านจะพิพากษาผมยังไงก็แล้วแต่ แต่ผมยืนยันว่ามาตรา 112 มีปัญหา
“เวลาผมนอนอยู่ในคุก ไม่ทำอะไร เดี๋ยวก็พรุ่งนี้ เดือนหน้า หรือปีหน้า เวลาเปลี่ยน สังคมไม่ได้เปลี่ยน สังคมมันเปลี่ยนแปลงเพราะคน
“ผมชื่นชม ถ้าท่านยึดมั่นในอุดมการณ์ พิพากษาอย่างเป็นกลาง ปราศจากอคติ แต่ผู้พิพากษาอีกหลายคนที่ไม่ได้ทำอย่างนั้น แต่เมื่อใส่ชุดครุยแล้ว ก็ควรที่จะไม่มีอคติ
“อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เมื่อท่านถอดชุดครุยก็เป็นประชาชนเหมือนกัน”
_____________________________
ในคดีนี้ ศาลพิพากษาว่าเก็ทมีความผิดฐาน “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามมาตรา 112
ลงโทษจำคุกใน 3 ปี ก่อนลดเหลือ 2 ปี เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์
หลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เสียงบทสนทนาในห้องก็เริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ เก็ทหันหลังกลับไปหาประชาชนหลายสิบคนที่นั่งอยู่ในห้อง หลายคนก็เดินมาให้กำลังใจ สวมกอด ถามไถ่เกี่ยวกับรอยกรีดตัวเลขนั้น ในขณะที่บางคนก็นั่งมองอยู่ห่าง ๆ และบางคนก็ร้องไห้ออกมา
หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เตรียมพาตัวเก็ทออกจากห้องพิจารณา เขาต้องบอกลาเพื่อน ครอบครัว รวมไปถึงคนรักอีกครั้งหนึ่ง
แทนที่จะได้กลับบ้าน เก็ทต้องกลับไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่เขาถูกคุมขังมาแล้ว 1 ปี 2 เดือนเศษ ขณะก็ถูกนับโทษจำคุกรวมทั้งหมดในสามคดีเป็น 8 ปี 6 เดือน
_____________________________
ทางด้านเพจของ “เก็ท” ยังได้โพสต์ข้อความสองชิ้น ที่เขาเขียนสะท้อนถึงเจตจำนงของตน
“ตอนผมกรีดอก แต่ละแผลเจ็บมาก แต่ผมก็แค่คิดว่าต้องทำอะไรซักอย่าง ทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ผู้มีอำนาจตระหนักว่ากระบวนการยุติธรรม และ 112 มีปัญหา ผมอยากทำให้ตุลาการและผู้มีอำนาจตาสว่าง ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น ผมควบคุมชีวิตของผมเอง ไม่มีใครบังคับบงการชีวิตผมได้เฉกเช่นคนทุกคน เรามีเจตจำนงเสรี…”
โสภณ
29 ตุลาคม 2567
เครดิตจาก เฟซบุ๊ก Get Surariddhidhamrong
.
“ทุกคนมีเจตจำนงเสรีเป็นของตัวเองอยู่แล้ว เรื่องชนชั้นวรรณะเป็นเรื่องที่อุปโลกกันขึ้นมาเอง แท้จริงแล้วทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากัน เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไง ถ้าเราไม่สามารถพูดกันได้อย่างจริงใจ ไม่สามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ในเมื่อกษัตริย์อยู่ร่วมกันกับคนในสังคม เราก็ควรจะพูดถึงสถาบันกษัตริย์ได้ สังคมที่เคารพความเป็นคนและเป็นประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างนั้น การที่โดน 112 อย่างนี้นับวันก็ยิ่งชัดว่าเป็นปัญหา”
โสภณ
29 ตุลาคม 2567
.
เครดิตจาก เฟซบุ๊ก Get Surariddhidhamrong
(อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/70828)
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=962805055689965&set=a.656922399611567)