วันศุกร์, ตุลาคม 18, 2567

สภาพของ พรรคเพื่อไทย ทุกวันนี้ แม้ว่าจะเป็นผู้เสนอให้ตั้งกทธ. #นิรโทษกรรม แต่ก็ไม่กล้าโหวตรับรองแม้แต่ “รายงาน” จากการพิจารณาที่มีสส.ตัวเองเป็นประธานและเป็นกรรมการ เนี่ย เพราะไม่มีความกล้าหาญ ใช่มั้ย? โคตรน่าอาย


.....

Pipob Udomittipong
7 hours ago
·
“สถานการณ์ทั้งหมดเข้าใจได้ เพราะถูกกดดันหลายทาง ทักษิณก็เพิ่งมีนัดสืบพยานคดี112 ทำให้พรรคเพื่อไทย “ไม่กล้า” ทำอะไร แต่ก็เป็นความจริงว่า ตอนนี้เหตุและผลมันนำเสนอกันไปหมดแล้ว ที่ขาดจริงๆมีแค่ความกล้าหาญเท่านั้น”
สภาพของ พรรคเพื่อไทย ทุกวันนี้ แม้ว่าจะเป็นผู้เสนอให้ตั้งกทธ. #นิรโทษกรรม แต่ก็ไม่กล้าโหวตรับรองแม้แต่ “รายงาน” จากการพิจารณาที่มีสส.ตัวเองเป็นประธานและเป็นกรรมการ เนี่ย เพราะไม่มีความกล้าหาญ ใช่มั้ย? โคตรน่าอาย

Yingcheep Atchanont
8 hours ago
·
เป็นเรื่องที่เข้าใจได้มากว่า พรรคเพื่อไทยไม่อยากโหวต กระทั่งแค่รับรายงาน #นิรโทษกรรม เพราะโดนกดดันมากจากพรรคร่วมที่ดันไปเลือกจับมือด้วย ทั้บที่ก็อาจจะอยากโหวตรับ
แต่ก็เป็นเรื่องที่คาดหมายได้ว่า ถ้าสส. พรรคเพื่อไทยจะโหวตไม่เห็นด้วยก็เป็นเรื่องแปลกมากไปอีก ในเมื่อเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลที่เสนอให้ตั้งกมธ. ขึ้นเอง ประธานกมธ. ก็รองหัวหน้าพรรค ในกมธ. ก็มีสส. ของพรรคและคนที่พรรคตั้งมาเต็มไปหมด ซึ่งโหวตต่างกันแตกเป็นหลายแบบ เท่ากับว่า หากโหวตไม่รับก็หักหน้าตัวเองหรือหักหน้ากันเอง
ขณะที่พวกพรรคอย่างภจท. ปชป. พร้อมโหวต (ว่าไม่เห็นด้วย) พรรคส้มก็พร้อมโหวต (ว่าเห็นด้วย) แต่ท่านประธานจากพรรคเพื่อไทยก็เลยสั่งปิดประชุมเลย
ถ้าเชื่อมั่นในกระบวนการของสภา และเห็นควรศึกษารายละเอียดเรื่องที่อ่อนไหวจริง เขาศึกษามาแล้วเสนอมาแล้วรัฐบาลก็ควรต้องรับๆ ไป ข้อสรุปของรายงานเรื่อง 112 เอาจริงก็คือไม่สรุป แต่ก็ยังไม่กล้ายอมรับว่าไม่ได้สรุป
สถานการณ์ทั้งหมดเข้าใจได้ เพราะถูกกดดันหลายทาง ทักษิณก็เพิ่งมีนัดสืบพยานคดี112 ทำให้พรรคเพื่อไทย “ไม่กล้า” ทำอะไร แต่ก็เป็นความจริงว่า ตอนนี้เหตุและผลมันนำเสนอกันไปหมดแล้ว ที่ขาดจริงๆมีแค่ความกล้าหาญเท่านั้น
และที่สงสัยคือ สัปดาห์หน้าพอเปิดประชุมมาก็ต้องโหวตเลย คราวนี้จะหาเรื่องอะไรมาเลื่อนอีก น่าจะหาไม่ได้แล้ว แต่ถ้าดันเสือกหาได้ขึ้นมาคราวนี้จะยาวไปลุ้นใหม่ธันวาคมเลย


.....

iLaw
18 hours ago
·
วันนี้ (17 ตุลาคม 2567) สภาผู้แทนราษฎรมีวาระพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ชวนย้อนอ่านรายงานของคณะกรรมาธิการที่นำส่งสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญเสนอจำแนกคดีเป็น 3 ประเภท ได้แก่ คดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหว โดยเห็นว่าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 และมาตรา 112 เป็นคดีที่มีความอ่อนไหว
.
อย่างไรก็ดี ในการตัดสินใจว่าจะนิรโทษกรรมรวมคดีที่มีความอ่อนไหว ( ม.110 และ ม.112) หรือไม่นั้น คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาในประเด็นการนิรโทษกรรมโดยมีความเห็นแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง
๐ แนวทางที่ 1 ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว 14 คน อาทิเช่น ไพบูลย์ นิติตะวันและนิกร จำนง
๐ แนวทางที่ 2 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยมีเงื่อนไข 14 คน อาทิเช่น ชัยธวัช ตุลาธนและชูวัส ฤกษ์ศิริสุข
๐ แนวทางที่ 3 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว 4 คน อาทิเช่น ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์และหม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์
และไม่ประสงค์แสดงความคิดเห็น 4 คน อาทิเช่น ขัตติยา สวัสดิผล

อ่านบทความได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/42106
.....



แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม (UFTD) @ThammasatUFTD
·10h

#นิรโทษกรรมรวม112 #ประชุมสภา #พรรคเพื่อไทย