วันจันทร์, ตุลาคม 07, 2567

6 ตุลา คือเหตุการณ์ที่พยายามถูกทำให้ลืม ทั้งๆที่เป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายมาก ในหนังสือเรียน เราจะเห็นแต่ 14 ตุลาที่พอมีเนื้อหาบ้าง ไม่กี่บรรทัด สิ่งที่พวกเราในฐานะคนรุ่นหลังทำได้ คือช่วยกัน "จำ" เหตุการณ์ที่พวกเค้าพยายามทำให้เรา "ลืม" เพื่อรอวันที่ประวัติศาสตร์ได้รับการชำระต่อไป

\
ภาพจาก @thalugazzz
.....

กัปตันคนเนิร์ด @captainnerd23

6 ตุลา คือเหตุการณ์ที่พยายามถูกทำให้ลืม ทั้งๆที่เป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายมาก 
ในหนังสือเรียน เราจะเห็นแต่ 14 ตุลาที่พอมีเนื้อหาบ้าง ส่วน 6 ตุลาจะมีไม่กี่บรรทัด 
สิ่งที่พวกเราในฐานะคนรุ่นหลังทำได้ คือช่วยกัน "จำ" เหตุการณ์ที่พวกเค้าพยายามทำให้เรา "ลืม" 
เพื่อรอวันที่ประวัติศาสตร์ได้รับการชำระต่อไป 
ขอร่วมลำลึกถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาครับ 🙏🏻
.....



.....


Somsak Jeamteerasakul
13 hours ago
·
ภูมิพลและวชิราลงกรณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519
เราไม่ทราบทั้งหมดว่าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ในหลวงภูมิพลกับมงกุฎราชกุมารวชิราลงกรณ์ทำอะไรบ้าง เราทราบเพียงบางส่วนเท่านั้น
เสด็จวัดบวรนิเวช-วัดพระแก้ว
วชิราลงกรณ์เสด็จวัดบวรนิเวศน์ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จญาณสังวรณ์(ตอนนั้นยังไม่ได้เป็นพระสังฆราช) แต่ไม่แน่ใจว่าภูมิพลได้เสด็จด้วยหรือไม่? มีภาพทั้งคู่ไปถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีลูกเสือชาวบ้านกลุ่มใหญเฝ้ารอรับเสด์จ
ในหลวงไปวัดพระแก้วกี่โมง?
ตอนที่ในหลวงไปวัดพระแก้วแล้วน่าจะเป็นช่วงที่เหตุการณ์บริเวณธรรมศาสตร์ยุติแล้ว? พูดง่ายๆราวกับจะไปตรวจตราความเรียบร้อย
เสร็จแล้วกลับเข้าวังรอผลที่ทำเนียบ?
นอกจากนั้น เราอนุมานเอาว่าทรงเสด็จไปบริเวณวัดพระแก้วก่อนที่จะไปบอกสลายการชุมนุมลูกเสือชาวบ้านที่ทำเนียบรัฐบาล แต่ความจริงอาจไปทีหลังก็ได้
นสพ.ดาวสยาม ได้รายงานการไปทำเนียบรัฐบาลดังนี้
"เมื่อเวลา 17.00 น.ของวันที่ 6 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งเรียกนายธรรมนูญ เทียนเงิน ผู้ว่าการกรุงเทพมหานครเข้าเฝ้าฯ ทรงรับสั่งเกี่ยวกับการที่ได้มีลูกเสือชาวบ้านจากต่างจังหวัดนับเป็นหมื่นๆคนได้มาชุมนุมนั้นอาจจะประสบปัญหาเกี่ยวกับอาหารและที่พัก ทรงรับสั่งให้นายธรรมนูญชี้แจงให้ลูกเสือชาวบ้านสลายตัว ในขณะนั้นเองสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมาร ได้เสด็จพร้อมกับนายธรรมนูญ เทียนเงิน มาที่ทำเนียบรัฐบาลและที่ชุมนุมลูกเสือชาวบ้านด้วย ได้ทรงมีพระราชดำรัสกับกลุ่มลูกเสือชาวบ้านที่มาชุมนุม"
ดาวสยาม ได้ตีพิมพ์พระราชดำรัสดังนี้
"ข้าพเจ้าขอให้ทุกคนยิ้มแย้มและใจเย็นๆ ไม่มีอะไรที่แก้ไขไม่ได้ แต่ต้องค่อยแก้ค่อยไป บ้านเมืองตอนนี้กำลังต้องการความสามัคคีและกำลังอยู่ในสถานการณ์ที่สำคัญ ฉะนั้นขอให้ทุกคนสลายตัวเสีย ถือว่าให้ของขวัญกับข้าพเจ้า ท่านเหนื่อยกันมามากแล้ว ขอให้กลับไปหลับนอนเสียให้สบาย ทุกคนโปรดทราบว่า สองล้นเกล้าฯทรงเป็นห่วง ไม่มีอะไรที่สองล้นเกล้าฯจะเสียใจเท่ากับพวกเราฆ่ากันเอง ขอให้ทุกคนโชคดี"


.....


Nithiwat Wannasiri
19 hours ago
·
ภาพข่าวพระราชกรณียกิจหลังเหตุการณ์ #6ตุลา (หาชมยาก)

(ภาพบน) หนังสือพิมพ์ เสียงปวงชน ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ทรงกำลังก้มลงสอบถามอาการผู้บาดเจ็บที่กำลังนอนอยู่บนเตียงผู้หนึ่ง ด้วยพระพักตร์ห่วงใย พร้อมคำบรรยายภาพว่า "ทูลกระหม่อมทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บจากการกวาดล้างที่ธรรมศาสตร์ ที่โรงพยาบาลตำรวจ เมื่อ 15.00 น. วันที่ 7 เดือนนี้ และพระราชทานเงินของมูลนิธิสายใจไทยให้ตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บทุกคน"

(ภาพล่างซ้าย) หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ตีพิมพ์พระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมาร ในหน้า 1 พร้อมคำบรรยายว่า "เสด็จฯ ทำเนียบ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯไปทำเนียบรัฐบาลเมื่อเย็นวันที่ 6 ต.ค. ทรงมีรับสั่งกับลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งไปชุมนุมอย่างแน่นขนัดประมาณ 6 หมื่นคน"

(ภาพล่างขวา) ในหลวง และพระบรมราชวงศ์เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร และลูกเสือชาวบ้านที่จังหวัดสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2519 ทรงพระเกษมสำราญกับราษฎรอย่างใกล้ชิด อันนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

#ทรงพระเจริญ

/Admin เก้าอี้ฯ ลัทธิคนไทยรักในหลวง จนเสียสติ
.....

Nithiwat Wannasiri
19 hours ago
·
พลเอก สำราญ แพทยกุล เป็นหัวหน้ากลุ่มหัวหน้ากลุ่มนวพลซึ่งมีส่วนสำคัญในการฆ่ากวาดล้างนักศึกษาในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2518 หรือประมาณ 1 ปีก่อนจะมีการฆาตกรรมหมู่
รหัสขององคมนตรีผู้นี้ คือ "นวพล 001"
หลายคนคงอยากจะรู้ว่าเหตุใดองคมนตรีจึงมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์เช่นนี้? และด้วยเหตุนี้หรือไม่ความรุนแรงและป่าเถื่อนที่เกิดขึ้นในวันนั้นจึงไม่เคยถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างเปิดเผยเลย?"
ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/สำราญ_แพทยกุล
By Admin Ao VOS
.....


Tilopa House
October 28, 2013
·
พระสังฆราชกับ 6 ตุลา
พอดีเดือนตุลาปีนี้ไม่ค่อยได้สุงสิงกับโลกภายนอก มันเลยผ่านไปเร็วอย่างแปลกๆ แต่เท่าที่ตามข่าวย้อนหลัง ปีนี้มีงานรำลึกกันอย่างคึกคักทีเดียวครับ ไม่ว่าจะเป็น 40 ปี 14 ตุลา กับปาฐกถาอันลือลั่นของอ.เสกสรรค์ งานมหกรรมหนังสือที่ผ่านมาก็มีนิทรรศการ "ความใฝ่ฝันแสนงาม" ที่จัดแสดงได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ส่วน 6 ตุลา ก็ยังคงมีคนพูดถึงมาก มีรูปภาพ คลิปที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีปรากฏออกมาให้ดูให้เห็น ปริศนาหลายๆ อย่างยังคงเชิญชวนให้คนที่อยากหูตาสว่างเข้าไปค้นคว้าเสาะหาความจริงว่าการปลุกปั่นให้คนฆ่ากันอย่างป่าเถื่อนนั้นมันเกิดขึ้นในบ้านนี้เมืองนี้ได้อย่างไร และเดือนตุลาปีนี้ ยังมีของแถมคือการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราชอีกด้วย
เมื่อวานผมเดินผ่านวัดบวรก็พูดเรื่องนี้ขึ้นมากับน้องคนนึง เผอิญเราคุยกันเรื่องการออกมาค้านพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งของพี่หนูหริ่ง เลยเถิดไปเรื่องการเมือง เหตุการณ์ 6 ตุลา การไว้ทุกข์ให้พระสังฆราชอย่างล้นเกิน และอื่นๆ พอดีเดินผ่านหน้าวัดบวรผมก็เลยเปรยขึ้นมาว่า "รู้ไหมว่าวัดบวรฯ คือชนวนสำคัญของการฆ่ากันในครั้งนั้น" ปรากฏว่าน้องคนนั้นบอกไม่รู้...ทำไมไม่เห็นมีใครเคยพูดถึง
วันนี้ก็เลยอยากจะเขียนบันทึกไว้สั้นๆ ละกันครับ ข้อมูลจริงๆ ก็เป็นที่รู้กันอยู่แล้ว ไม่ได้มีอะไรใหม่ ใครสนใจเพิ่มเติมก็น่าจะหาข้อมูลได้ไม่ยาก
วันที่ 19 กันยายน 2519 คณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร นำโดยสมเด็จพระญาณสังวร (ตอนนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรฯ ยังไม่ได้ขึ้นเป็นพระสังฆราช) ได้ทำการประกอบพิธีอุปสมบทให้แก่สามเณรถนอม กิตติขจร ผู้นำเผด็จการทหารที่กลับเข้าประเทศด้วยการใช้ผ้าเหลืองบังหน้า การบวชการเมืองดังกล่าวที่เกิดขึ้น ณ วัดบวรฯ ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจต่อกลุ่มนักศึกษาและประชาชน จนเกิดกระแสการประท้วงขับไล่ที่แพร่กระจายไปทั่วและมีข่าวลือว่าจะมีการ "เผาวัดบวร" จากนั้นประเด็นจึงถูกบิดเบือนจาก "ทำไมจึงยอมบวชให้ทรราชย์?" เป็นการร่วมมือกันปกป้องพิทักษ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ จากการก่อความวุ่นวายของกลุ่มนักศึกษาหัวคอมมิวนิสต์... โดยทุกวิถีทาง
โศกนาฏกรรม 6 ตุลาในแง่หนึ่งจึงมีความเกี่ยวข้องกับบทบาทและสถานะของพุทธศาสนา สถาบันสงฆ์ และโครงสร้างอำนาจที่ผูกติดอยู่กับอุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยตรง และแสดงให้เห็นว่า เอาเข้าจริงแล้ว พุทธศาสนาไทยนั้นมีความเป็นการเมืองอย่างยิ่ง
จนถึงวันนี้คำถามนั้นก็ยังอยู่ไม่หายไปไหนครับ
"ทำไมสมเด็จพระสังฆราชจึงบวชให้จอมพลถนอม?"
ซึ่งนี่ถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงบทบาทและสถานะของสถาบันสงฆ์ไทยโดยโครงสร้างและอุดมการณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย
ยังไงดีครับ... คือ ศาสนาในแง่ความเชื่อ หลักธรรมคำสอน หรือในแง่ความสัมพันธ์ที่เรามีต่อครูบาอาจารย์เนี่ย ผมไม่เคยคิดที่จะวิพากษ์วิจารณ์อยู่แล้ว ผมเข้าใจดีว่ามีคนจำนวนมากศรัทธากับความเป็นพระดีของสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่เพิ่งสิ้นพระชนม์อยู่มาก แต่เผอิญว่าพุทธศาสนาไทยที่เป็นพุทธศาสนาแบบรัฐเนี่ย มันมีความเป็นการเมืองอย่างยิ่งโดยสถานะ ...และความเป็นการเมืองนั้นมีผลกระทบต่อจิตสำนึกและพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยอย่างมีนัยสำคัญด้วย
ดังนั้นในโอกาสที่เรากำลังจะได้พระสังฆราชองค์ใหม่ จำเป็นที่เราจะต้อง "จำ"และ "รำลึก" อีกทั้งกล้าพูดถึงความจริงว่ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเป็นตราบาปของพุทธศาสนาไทย เพื่อที่ว่าสถาบันศาสนาจะต้องเอามันมาเป็นบทเรียนให้กับการปฏิรูปสถานะและบทบาททางสังคมและการเมืองของตัวเองในปัจจุบันและอนาคต