วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 17, 2567

ความระยำของพรรคการเมืองที่ไม่ยอมให้รายงานผลการศึกษาของ กมธ.นิรโทษกรรมเข้าสภา คือพวกแม่-ทำราวกับว่า ถ้ารายงานนี้ผ่าน=นิรโทษ 112


THE STANDARD
10 hours ago
·
UPDATE: ชูศักดิ์มอง ควรพิจารณารายงานของ กมธ.นิรโทษกรรมสัปดาห์นี้ เหตุเลื่อนมา 2 ครั้งแล้ว ย้ำยังไม่ใช่การยกร่างกฎหมาย
.
วันนี้ (16 ตุลาคม) ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่จะมีการเสนอรายงานผลการศึกษาของกรรมาธิการเข้าสู่วาระการพิจารณาของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยยืนยันว่าควรจะมีการพิจารณาในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ เนื่องจากรายงานดังกล่าวเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้ง เกรงจะสร้างความสับสนว่าเลื่อนเพราะอะไร
.
ชูศักดิ์กล่าวว่า กรรมาธิการอยากชี้แจงให้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกับผลการศึกษา แต่เท่าที่รับฟังเหมือนจะมีความสับสนอยู่ว่าการพิจารณารายงานเป็นการพิจารณากฎหมาย ทั้งที่ไม่ใช่การพิจารณากฎหมายแต่อย่างใด เป็นเพียงการพิจารณารายงานการศึกษาแนวทางการตรากฎหมายเท่านั้น พร้อมยืนยันว่าไม่ใช่การยกเลิกหรือการแก้กฎหมาย
.
นอกจากนี้ ยังไม่ใช่การพิจารณาว่าควรนิรโทษกรรมหรือไม่ควรนิรโทษกรรมคดีตามความผิดมาตราใดมาตราหนึ่ง แต่ผลของรายงานที่จะเสนอสภานั้นมีเพียงการรับทราบการศึกษาของกรรมาธิการ ส่วนท้ายที่สุดจะเป็นอย่างไร จะยกร่างกฎหมายอย่างไร หรือจะเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมแบบไหน เป็นเรื่องของคนที่มีอำนาจเสนอกฎหมาย
.
“กฎหมายต่างๆ ยังมีอยู่เหมือนเดิม เช่น มาตรา 112 ยังมีอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้แตะต้อง จึงเห็นว่าเรื่องนี้ควรจะพิจารณาต่อไป เพราะสภาเพียงแค่รับทราบ ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อเป็นเรื่องของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาต่อไป” ชูศักดิ์กล่าว
.
ส่วนความกังวลต่อข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับคดีในความผิดมาตรา 112 นั้น ชูศักดิ์กล่าวว่า ในข้อสังเกตมีระบุด้วยซ้ำว่ามาตราเหล่านี้มีความอ่อนไหวทางการเมือง ดังนั้นหากจะพิจารณายกร่างกฎหมายนิรโทษกรรมในอนาคตอย่างไร ก็ต้องนำข้อเท็จจริงตรงนี้ไปพิจารณาด้วย และไม่ใช่การบังคับว่ารัฐบาลจะต้องทำตามนี้
.
ทั้งนี้ ชูศักดิ์ย้ำว่า ตนเองพูดคุยกับประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) แล้วว่า มีความจำเป็นต้องพิจารณาวาระนี้ เพราะเลื่อนมาแล้ว 2 ครั้ง ส่วนจะพิจารณาได้หรือไม่ได้ ทันหรือไม่ทันก็เป็นอีกเรื่อง เพราะวันที่ 17 ตุลาคมนี้ก็จะมีการพิจารณาญัตติด่วนด้วยวาจา ขอให้สภาศึกษาปัญหาและแก้ไขกฎหมายเพื่อป้องกันธุรกิจอันเข้าลักษณะการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนหรือแชร์ลูกโซ่ด้วย
.
แฟ้มภาพ: ฐานิส สุดโต
.
#TheStandardNews
.....

Atukkit Sawangsuk
11 hours ago
·
ความระยำของพรรคการเมืองที่ไม่ยอมให้รายงานผลการศึกษาของ กมธ.นิรโทษกรรมเข้าสภา
คือพวกแม่-ทำราวกับว่า
ถ้ารายงานนี้ผ่าน=นิรโทษ 112
ทั้งที่ในรายงาน ไม่ได้มีข้อสรุป ไม่ได้มีมติ ว่านิรโทษรวม 112 หรือไม่
แค่ให้กรรมาธิการแต่ละคนแต่ละพรรค แสดงความเห็นของตัวเอง ไว้ในรายงาน
:
คนของพรรคเมริง ก็แสดงความเห็นไว้แล้วว่า นิรโทษไม่รวม 112 จะเอาแต่นิรโทษพันธมิตรปิดเมือง
แล้วพวกเมริงยังจะขัดขวางรายงานทำไม
ได้โอกาสห้อยโหนอยู่แล้ว
ไม่ใช่คนของตัวเองไปเห็นด้วยกับนิรโทษ 112 จึงต้องคว่ำรายงาน
.....

https://www.facebook.com/watch/?v=476163668780438&t=0

Freedom Bridge
17 hours ago
·
ในขณะที่การจับกุมประชาชนจากการแสดงออกทางการเมืองเกิดขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ของประชาชนเมื่อปี 2563 แต่ไม่ใช่ทุกกรณีที่จะกลายเป็นข่าวใหญ่หรือได้รับความสนใจจากคนในสังคม ยังมีคนมากมายที่ต้องเดินเข้าเรือนจำด้วยความรู้สึกที่โดดเดี่ยว
.
ความรู้สึกโดดเดี่ยวคือสิ่งที่วนเวียนอยู่ในความคิดของ “ปฏิมา” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อเธอเป็นหนึ่งในประชาชนที่กลายเป็น “นักโทษทางการเมือง” เมื่อถูกกล่าวหาในคดีปาระเบิดปิงปองใส่สนามหญ้าด้านหน้ากรมทหารราบที่ 1 หลังการชุมนุมเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 อย่างไรก็ตาม ความช่วยเหลือจากมวลชนข้างนอกที่ถูกส่งเข้าไปถึงปฏิมาในเรือนจำ ก็ทำให้เธอรับรู้ได้ว่าเธอไม่ได้ตัวคนเดียว
.
ปฏิมาได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 หลังถูกคุมขัง 47 วัน และปัจจุบันเธอได้รับการประกันตัวในระหว่างชั้นฎีกา แต่แม้พ้นจากการเป็นผู้ต้องขัง เธอกลับต้องกลายเป็นผู้เข้าเยี่ยม เมื่อ “บุ๊ค ธนายุทธ ณ อยุธยา” แฟนหนุ่มของเธอต้องเดินเข้าสู่เรือนจำ ความห่วงใย ความกังวล และความคิดถึง เป็นตัวขับเคลื่อนให้ปฏิมาเดินทางไปหาเขาทุกวัน แม้จะเป็นการเดินทางที่ต้องใช้เวลานานนาน แต่มีเวลาได้พูดคุยกันเพียงน้อยนิดก็ตาม
.
และนี่คือเรื่องเล่าของ “ปฏิมา” ผู้เชื่อว่าการนิรโทษกรรมจะเป็นหนทางเดียวที่ทำให้บุ๊คได้กลับบ้านเร็วที่สุด https://freedombridge.network/patimas-journey-from.../