วันศุกร์, กรกฎาคม 15, 2565
อาจจะต้องยอมรับ อาจารย์ชัชชาติอาจจะไม่ได้ก้าวหน้าได้เท่าที่บางฝ่ายคาดหวัง ประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกอาจารย์ชัชชาติมาเป็นผู้ว่าฯกทม. อาจจะต้องการ “การเมือง” เพียงเท่านี้ คือขอให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพ กระตือรือร้นที่รับใช้และรับผิดชอบต่อประชาชน
Atukkit Sawangsuk
19h ·
อาจจะต้องยอมรับ หรือเอาเข้าจริงแม้ฝ่ายที่เรียกร้องก็คงยอมรับในใจนั่นแหละว่า ประชาชนส่วนใหญ่อย่างน้อยเท่าที่เลือกอาจารย์ชัชชาติมาเป็นผู้ว่าฯกทม.ก็ได้นั้น อาจจะต้องการ “การเมือง” เพียงเท่านี้ คือขอให้ระบบราชการที่ควรจะเป็น รีดเค้นประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างๆ ในองคาพยพออกมาได้เท่าที่ขอบเขตอำนาจตามกฎหมายจะทำได้ ด้วยความกระตือรือร้นและจิตสำนึกที่รับใช้และรับผิดชอบต่อประชาชน
ผู้เป็นเจ้าของอำนาจ และแน่นอนว่าพวกเขาอาจจะต้องการเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมทุนนิยมที่มีกลไกที่เป็นธรรมและรองรับผู้ด้อยโอกาสตามสมควรแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
อาจารย์ชัชชาติอาจจะไม่ได้ก้าวหน้าได้เท่าที่บางฝ่ายคาดหวัง ไม่ได้บริหารกรุงเทพฯไปในแนวทางสู่รัฐสวัสดิการในฝัน หรืออาจจะไม่ได้สนับสนุนการชุมนุมต่อสู้ทางการเมืองได้ทุกการชุมนุม แต่ถ้าเราเชื่อว่าประชาธิปไตยคืออำนาจตัดสินใจหรือคนส่วนใหญ่ อาจจะต้องยอมรับว่า นั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ที่เลือกมาคาดหวังหรือต้องการ และเขาก็ควรจะทำงานไปในแนวทางเช่นนั้นหรือไม่
........................
แม้อาจจะไม่ได้เป็นไปดังใจ “ฝ่ายประชาธิปไตย” เข้มข้นเสียทั้งหมด แต่การมาถึงและมีอยู่ของผู้ว่าฯชัชชาติ ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีนี้ จะก่อผลดีต่อประชาธิปไตยในระยะยาวอยู่แน่ เพราะมันคือการสะท้อนประจานการเมืองภาพใหญ่ ซึ่งเราต่างก็รู้กันว่าผู้ที่ได้อยู่ในตำแหน่งนั้นไม่ได้มีที่มาแห่งอำนาจจากประชาชนโดยแท้จริง ดังนั้น เขาจึงไม่ต้องรับใช้หรือรับผิดชอบใดๆ หรือแม้แต่ยำเยงเกรงใจประชาชน เพราะเสียงหรือพลังของประชาชนไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการอยู่ในอำนาจของเขา ซึ่งนั่นจึงส่งผลให้เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายประจำที่ทำงานโดยไม่มีประชาชนอยู่ในเงื่อนไขแห่งอำนาจไปด้วยเช่นกัน
การบริหารราชการ กทม.จึงทำให้เกิดภาพเปรียบต่างอันสำคัญ ที่ยิ่งทำให้ผู้อยู่ในอำนาจปัจจุบันในทุกระดับสูญเสียความชอบธรรมและเหตุผลที่พวกเขาต้องดำรงอยู่อย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
.....
คนตกสีที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง : การเดินทวนกระแสธาร ที่ไหลแรงที่สุดในปฐพี
เมื่อ “อาจารย์” ปิยบุตร แสงกนกกุล วิพากษ์การหาทางออกต่อปัญหาค่าโดยสารและแนวทางการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวของ “อาจารย์” ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าเป็นแนวทางแบบ “นีโอลิเบอรัล” เสรีนิยมประชาธิปไตยทั้งในทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ที่ให้เอกชนร่วมจัดทำบริการสาธารณะแบบธุรกิจมากกว่าการบริการประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม อันเป็นแนวคิดแบบ “รัฐสวัสดิการ”
การแสดงความเห็นท่ามกลางกระแส “ชัชชาติฟีเวอร์” ที่กำลังอยู่ในขาขึ้น ก็ไม่ต้องสงสัยว่าเขาจะถูกรุมล้อมจากความเห็นที่ไม่เห็นด้วยอย่างทะลักล้น ที่ภาษาชาวโซเชียลเรียกว่าการโดน “ทัวร์ลง”
และเมื่อ ปราปต์ บุนปาน ให้ข้อสังเกตในคอลัมน์ของเขาถึงวิธีการทำงานแบบอาจารย์ชัชชาติ และตั้งคำถามถึงจุดสมดุลระหว่าง “งาน” กับ “เล่น” ที่เป็นห่วงว่าข้าราชการ กทม.ทั่วไปอาจจะมีเงื่อนไขชีวิตที่ไม่อาจจะเอาการงานมาเป็นส่วนหนึ่งของการเล่น หรือพักผ่อนได้เช่นท่านผู้ว่าฯ ก็โดนทัวร์ลงไปในระดับหนึ่ง
เช่นกันกับที่ รศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว แห่งคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ออกมาตัดเกรดให้ผู้ว่าฯชัชชาติได้ที่ระดับ “B+” ยังไม่ “A” ก็ไม่ต้องสงสัย
ในผลตอบรับจากมหาชนเช่นกัน
จึงเริ่มมีเสียงเป็นห่วงแบบเบาๆ (ก็เพราะกลัวทัวร์ลงเหมือนกัน) ว่าเกรงกระแส “ชัชชาติฟีเวอร์” นี้อาจจะไม่ค่อยเป็นคุณต่อสุขภาพประชาธิปไตยในระยะยาว ทั้งในที่สุดทำให้ท่านผู้ว่าฯชัชชาติกลายเป็น “บุคคลที่ห้ามแตะต้อง” และทำให้ผู้คนที่คิดติงเห็นต่างจำเป็นต้อง “เซ็นเซอร์ตัวเอง” ในที่สุด
เรื่องนี้มีแง่มุมที่เราจะต้องทำความเข้าใจกับ “คณะทัวร์” ชาว กทม.กันเสียก่อนว่า กระแส
“ชัชชาติฟีเวอร์” นี้มาจากความรู้สึกตื่นเต้นยินดีที่เป็นครั้งแรกในรอบเกินสิบปีที่ชาว กทม.หรือประชาชนทั่วไปที่ติดตามได้เห็นว่าสิทธิเสียงของตนร่วมกับประชาชนทั้งหลายมีความหมาย สามารถส่งสะท้อนไปให้เกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม สามารถ “เปลี่ยนเมือง” ได้ตามความต้องการผ่านระบอบประชาธิปไตยที่ตรงไปตรงมา
ทั้งนี้ เพราะผู้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับท่านคนก่อนๆ นั้นพูดยากว่าเข้ามาสู่ตำแหน่งเดียวกันนี้เพราะ “ความต้องการ” ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งชาว กทม.
ตามกลไกธรรมดาของการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เสียงของประชาชนเป็นใหญ่นั้น
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เข้าสู่ตำแหน่งและใช้อำนาจได้ด้วยความเห็นชอบของประชาชนผ่านการออกเสียงเลือกตั้ง ทำให้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งทางการเมืองจากการเลือกตั้งจะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนที่เลือกตัวเองเข้าไป ซึ่งทำให้ตนได้เข้ามาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจเช่นนี้
ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ทำงานใดๆ ก็ตามของเขาจึงต้องเป็นไปในทางที่ทำให้ประชาชนพอใจ ทั้งกลุ่มที่เลือกตัวเองเข้าไปและส่วนที่ไม่ได้เลือกด้วย (เพราะถ้าทำงานได้เข้าตาสมัยหน้าเขาอาจจะเลือกก็ได้) รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายประจำที่จะต้องทำงานให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ก็จะต้องทำงานเพื่อรับใช้ให้เป็นไปตามประสงค์และนโยบายของผู้บังคับบัญชา คือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็ต้องทำงานรับใช้และรับผิดชอบต่อประชาชนแบบรับช่วงมาเช่นนี้เอง
กรณีของผู้ว่าฯที่ได้รับการเลือกตั้งมาก่อนนั้น คิดว่าทุกฝ่ายก็ยอมรับความจริงกันเงียบๆ ว่าคะแนนที่ทำให้เขาชนะผู้สมัครอีกท่านเป็นคะแนนเสียงที่มาจากความ “ไม่ต้องการ” ให้ผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่ชาว กทม.ในขณะนั้นไม่ยอมรับเป็นฝ่ายได้รับเลือก รู้ทั่วกันว่าท่าไม้ตายสุดท้ายที่พลิกโพลคือการชูแคมเปญ
“ไม่เลือกเรา เขามาแน่”
ส่วนผู้ที่มาดำรงตำแหน่งนี้คนต่อไปก็เป็นคนที่มาโดย “ไม่ใช่ความต้องการ” ของชาว กทม. แต่เป็นเพราะอำนาจของคณะรัฐประหารจัดการแต่งตั้งขึ้นมา โดยถือโอกาสในครั้งที่ผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อนหน้านั้นเพลี่ยงพล้ำเพราะคะแนนนิยมลดลง… ซึ่งเอาจริงๆ ก็ไม่แน่ใจว่าท่านมี “คะแนนนิยม” มาตั้งแต่ต้นหรือไม่
แม้จะมีที่มาแตกต่างกัน แต่จุดร่วมคือการเข้าสู่ตำแหน่งโดยพูดยากว่าเป็นความต้องการของประชาชนเช่นนี้ พวกเขาจึงไม่ต้องทำงานบน “ความคาดหวังของประชาชน” เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่ส่งให้พวกเขาขึ้นไปนั่งบนเก้าอี้ในตำแหน่งแห่งอำนาจ
ดังนั้น เวลานอนของท่านจึงเป็นสิ่งสำคัญกว่าการแก้ไขปัญหาให้ชาวเมืองหลวง ไม่อยากเจอน้ำท่วมให้ย้ายบ้านไปอยู่บนดอย หรือแม้แต่ความพอใจแค่เท่าที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำทำงานได้แบบเท่าไรเท่านั้น ก็มันหากุญแจเปิดระบบระบายน้ำไม่เจอจะให้ทำอย่างไร
เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำงานภายใต้การนำและบังคับบัญชาที่มีกรอบคิดเช่นนั้นก็คงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องทำงานโดยมีประชาชนเป็นที่ตั้ง เพียงแค่ทำไปตามที่ผู้บริหารสั่งการบัญชาให้ครบถ้วนก็เพียงพอ
ซึ่งในตอนแรกผมเองก็นึกเกรงและเป็นห่วงว่าพลังของท่านชัชชาติและความคาดหวังของประชาชนจะสามารถสำแดงผลออกมาได้แค่ไหนภายใต้ระบบราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชุดเดิมที่เคยชินกับการทำงานกับผู้มีอำนาจที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับประชาชน ตลอดจนกฎระเบียบกลไกต่างๆ ที่เป็นอยู่
หากด้วยความเป็น “ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี” ที่ท่านแสดงออกมา และความแข็งแกร่งนั้นก็ได้รับการเสริมแรงด้วยพลังมหาศาลจากฉันทามติความเห็นชอบของประชาชน ทำให้ท่านสามารถสำแดงให้ชาว กทม.และประชาชนทั่วประเทศได้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับตำแหน่งมาโดยฉันทามติท่วมท้นจากการเลือกตั้งและทำงานภายใต้ความคาดหวังที่มีความรับผิดชอบและมีประชาชนเป็นศูนย์กลางในฐานะของเจ้าของอำนาจที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร
ยิ่งท่านสามารถที่จะบริหารได้ตามความคาดหวัง พลังแห่งฉันทามติมหาชนยิ่งเข้มข้นรุนแรง แปรเป็นพลังมหาศาลนำไปสู่ความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ภาคเอกชน ประชาชนที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดส่งผลไปรวมเป็นพลังให้แก่ท่านผู้ว่าฯ ในการที่จะทำอะไรๆ ต่างๆ ได้ตามความคาดหวัง หรือเหนือความคาดหวังของประชาชนเข้าไปอีก เป็นวงวัฏจักรแห่งพลังที่นับวันก็มีแต่จะเพิ่มทบขึ้นเรื่อยๆ
ใครเคยเดินตามสายน้ำที่ไหลแรง คงนึกออกว่าเพียงเบี่ยงตัวบางองศาไม่ตรงกับทางน้ำอาจจะทำให้เราถูกน้ำซัดจนล้มก็ได้
อาจจะต้องยอมรับว่าการวิพากษ์วิจารณ์ หรือชี้แนะท่านผู้ว่าฯผู้แข็งแกร่งนี้ในบางทิศทางที่ไปขัดใจความคิดความเห็นของมหาชนคนส่วนใหญ่นี้ ก็เหมือนการเดินเบี่ยง “ผิดมุม” จากกระแสน้ำของธารแห่งพลังมหาชนมหาศาล แม้เพียงน้อยจึงอาจจะส่งผลตอบรับในทางลบที่อาจจะรู้สึกว่าไม่ได้สัดส่วนเอาเสียเลย
หากที่กล่าวเช่นนี้ก็ไม่ได้หมายถึงว่า ถ้างั้นก็ควรเงียบหุบปากไป อย่าแสดงความเห็นขัดใจกระแสหลัก แต่ว่าท่านอาจจะต้องยอมรับและอดทนสร้างสมให้แนวคิดของท่านมีผู้คนที่เป็นแนวร่วมมากขึ้นกว่านี้
แม้จะยังเป็นความเห็นส่วนน้อย แต่ก็เป็นส่วนน้อยที่เป็นนัยสำคัญจนทำให้เสียงกระแสหลักต้องรับฟังบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้ความอดทนอย่างสูงเป็นพิเศษ เช่นเดียวกับการล่องเรือแห่งความคิดไปต่างทิศทางของคลื่นกระแสธารสายหลักของมหาชนจำนวนมหาศาล ยิ่งเรือเล็กยิ่งลำบากและอาจจะอันตรายต่อกำลังใจ หากถ้าวันหนึ่งสามารถขยายเรือได้ใหญ่มันก็อาจจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็พอเป็นไปได้
อาจจะต้องยอมรับ หรือเอาเข้าจริงแม้ฝ่ายที่เรียกร้องก็คงยอมรับในใจนั่นแหละว่า ประชาชนส่วนใหญ่อย่างน้อยเท่าที่เลือกอาจารย์ชัชชาติมาเป็นผู้ว่าฯกทม.ก็ได้นั้น อาจจะต้องการ “การเมือง” เพียงเท่านี้ คือขอให้ระบบราชการที่ควรจะเป็น รีดเค้นประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างๆ ในองคาพยพออกมาได้เท่าที่ขอบเขตอำนาจตามกฎหมายจะทำได้ ด้วยความกระตือรือร้นและจิตสำนึกที่รับใช้และรับผิดชอบต่อประชาชน
ผู้เป็นเจ้าของอำนาจ และแน่นอนว่าพวกเขาอาจจะต้องการเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมทุนนิยมที่มีกลไก
ที่เป็นธรรมและรองรับผู้ด้อยโอกาสตามสมควรแบบ
ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
อาจารย์ชัชชาติอาจจะไม่ได้ก้าวหน้าได้เท่าที่บางฝ่ายคาดหวัง ไม่ได้บริหารกรุงเทพฯไปในแนวทางสู่
รัฐสวัสดิการในฝัน หรืออาจจะไม่ได้สนับสนุนการชุมนุมต่อสู้ทางการเมืองได้ทุกการชุมนุม แต่ถ้าเราเชื่อว่าประชาธิปไตยคืออำนาจตัดสินใจหรือคนส่วนใหญ่
อาจจะต้องยอมรับว่า นั่นอาจจะเป็นสิ่งที่ประชาชน
ส่วนใหญ่ที่เลือกมาคาดหวังหรือต้องการ และเขาก็ควรจะทำงานไปในแนวทางเช่นนั้นหรือไม่
จริงเช่นกันว่า ปรากฏการณ์ทัวร์ลงกระหน่ำแบบไม่ได้สัดส่วน อาจจะทำให้ใครที่คิดแตกเห็นต่าง อาจจะเลือกเซ็นเซอร์ตัวเอง แต่สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือ การเซ็นเซอร์ตัวเองเพราะเกรง “คณะทัวร์” จะมาลงนั้น เพราะเรา “เกรง” ต่อกระแสเสียงของผู้คน ซึ่งเป็นอำนาจมหาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจรัฐอันแท้จริงตามทฤษฎีใช่หรือไม่
แตกต่างจากการเซ็นเซอร์ตัวเองเพราะ “ความกลัว” เช่นที่กลัวอำนาจมิชอบที่ไม่ได้มีความชอบธรรมใดหนุนหลัง นอกจากอำนาจรัฐลุ่นๆ ที่บังคับพาผู้ที่เห็นต่างไปดำเนินการกักขังจำคุกตามกฎหมายของพวกเขาก็เท่านั้น
แม้อาจจะไม่ได้เป็นไปดังใจ “ฝ่ายประชาธิปไตย” เข้มข้นเสียทั้งหมด แต่การมาถึงและมีอยู่ของผู้ว่าฯชัชชาติ ผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีนี้ จะก่อผลดีต่อประชาธิปไตยในระยะยาวอยู่แน่ เพราะมันคือการสะท้อนประจานการเมืองภาพใหญ่ ซึ่งเราต่างก็รู้กันว่าผู้ที่ได้อยู่ในตำแหน่งนั้นไม่ได้มีที่มาแห่งอำนาจจากประชาชนโดยแท้จริง ดังนั้น เขาจึงไม่ต้องรับใช้หรือ
รับผิดชอบใดๆ หรือแม้แต่ยำเยงเกรงใจประชาชน เพราะเสียงหรือพลังของประชาชนไม่ได้มีผลโดยตรงต่อการอยู่ในอำนาจของเขา ซึ่งนั่นจึงส่งผลให้
เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายประจำที่ทำงานโดยไม่มีประชาชนอยู่ในเงื่อนไขแห่งอำนาจไปด้วยเช่นกัน
การบริหารราชการ กทม.จึงทำให้เกิดภาพเปรียบต่างอันสำคัญ ที่ยิ่งทำให้ผู้อยู่ในอำนาจปัจจุบันในทุกระดับสูญเสียความชอบธรรมและเหตุผลที่พวกเขา
ต้องดำรงอยู่อย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้ว่าการต่อสู้ในเชิงความคิดที่เห็นต่างเห็นแตกไปจากกระแสหลักบ้างในสถาวะเช่นนี้จะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเหนื่อยนักก็ไปพักดูหนังฟังดนตรี หรือร่วมสนุกไปกับเทศกาลบ้างก็ได้ มันคงไม่ได้ลดทอนพลังการต่อสู้อะไรลงไปมากมายนักหรอก
ขอให้มองว่ามันเป็นการผ่อนสั้นผ่อนยาว เพื่อลดแรงกดดันในจิตใจลงบ้าง ให้สามารถยืนระยะการต่อสู้ที่ยังไม่ชนะนี้ต่อไปได้โดยจิตใจไม่พังทลายจนกลายเป็นเรื่องเศร้าให้เพื่อนร่วมทางต้องแวะไว้อาลัยเป็นระยะ เช่นที่การซ้อมวิ่งมาราธอนก็ต้องมีการกำหนดวันพักเพื่อให้สามารถวิ่งระยะไกลได้อย่างยั่งยืน
โดย กล้า สมุทวณิช
มติชนออนไลน์
13 กรกฎาคม 2565