วันพุธ, กรกฎาคม 27, 2565

ที่พระราชทานสวนสัตว์ใหม่ ๓๐๐ ไร่ ‘ขี้ประติ๋ว’ ประยุทธ์ให้เอกชนทำธุรกิจ เหมืองอัคราภาคสอง ๔ แสนไร่ ซีพีทำ 'อมก๋อยโมเดล' หมื่นไร่ แน่ะ

จุ๊ จุ๊ อย่าเอ็ดไป เรื่องสวนสัตว์แห่งใหม่ คลอง ๖ ปทุมธานี ต้องใช้งบประมาณของชาติเกือบ ๑ หมื่น ๑ พันล้านบาทนั้น จะ “เป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่าในและนอกถิ่นอาศัย ระบบภูมินิเวศทางธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ” ระดับสากลเชียวละ

ข้อสำคัญเป็น “แหล่งนันทการรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร” เพียงแต่ว่างานนี้ “จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑๐”

ฉะนั้น ต้องมองเรื่องนี้เป็น ของสูงเข้าไว้ ถึงอย่างไรรัชกาลนี้ได้ “พระราชทานโฉนดที่ดิน จำนวน ๓๐๐ ไร่ให้กับองค์การสวนสัตว์” แล้วก็สวนสัตว์เดิมที่ถูกปิดไป ได้ย้ายไปอยู่ในพื้นที่ใหม่เรียกว่า มีนิเขาดินเทียบกันแล้วแสดงว่าของเดิม ขี้ประติ๋ว’ซีพีทำ อมก๋อยโมเดล หมื่นไร่

อีกทั้งที่ดินธัญบุรีตรงนั้นเคยเป็นที่สำหรับปลุกข้าวอย่างเดียว สามารถทัดทานการขยายตัวของแหล่งอุตสาหกรรมมาได้หลายสิบปี โดยเฉพาะยุค เซเว็นตี้ส์นายทุนขนาดไหนพยายามกว้านซื้อที่ตั้งโรงงาน เจอนะจังงังถอยกรูดกัน เพราะ ทรัพย์สินฯ เจ้าของ

เปรียบเทียบสนนราคากับการซื้อขายที่ อีลีทย่านบางบอนเมื่อกลางปี ๕๖ แค่ ๕๐.๖ ไร่กว่าๆ ราคา ๖๒๕ ล้านบาท ที่เสี่ย เจริญ สิริวัฒนภักดี ทุ่มทุนหมายจะพัฒนาการเกษตร ปลูกไม้เสม็ดแดง แต่แล้วก็ต้องขาดทุนทุกปีละหลายแสน

ที่คลอง ๖ รังสิตนั่นราคากันเองตกไร่ละไม่ต่ำกว่า ๑๑ ล้าน เหมือนที่บางบอน นี่ก็เป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้น เท่ากับทรงพระราชทานสินทรัพย์ส่วนพระองค์มูลค่าตั้ง ๓,๓๐๐ ล้านบาท เอาเถอะ ถึงจะเทียบไม่ติดกับที่ราษฎรต้องจ่ายถึงรุ่นลูกหลาน

ก็ยังไม่เท่ากับรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา แลกที่ป่าบริสุทธิ์เกือบ ๔ แสนไร่ ให้บริษัทอัคราฯ เครือคิงส์เกตฯ ออสเตรเลีย ได้อาชญาบัตรสำรวจแหล่งแร่ทองคำ ๔๔ แปลง ในจำนวนนี้ ๔ แปลงให้ “กลับมาเปิดเหมืองทองชาตรีได้อีกครั้ง”

อันเป็นจากการรอมชอมคดีบริษัทออสซี่ฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการเรียกค่าเสียหาย ๗๕๐ ล้านดอลลาร์ จากการที่ผู้เผด็จการประยุทธ์ (ตอนโน้น) ใช้อำนาจบาตรใหญ่ ม.๔๔ เกินอนุสัญญาระหว่างประเทศ สั่งปิดเหมืองเขาไปเมื่อปี ๒๕๖๐

เรื่องที่ทรัพย์สินฯ อย่างหนึ่ง ที่ป่าธรรมชาติอีกอย่าง เดี๋ยวนี้เส้นคั่นระหว่างกันมันชักจะบางลงๆ เสียแล้ว ซีพีของตระกูลเจ้าสัว เจียรวนนท์ ยกโขยงกันไปเชียงใหม่ เปิดโครงการ อมก๋อยโมเดลอ้างว่า “ฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ” ถึง ๑ หมื่นไร่

เห็นชื่อโครงการแล้วคลับคล้ายคลับคลากับอีกโมเดล โคกหนองนานั่นก็เกิดที่อมก๋อยเหมือนกัน ซึ่งออกจะ  สูงๆ อยู่สักหน่อย ที่เป็นโครงการพระราชดำริของรัชกาลนี้ ดูแล้วก็ติดใจสงสัยเล็กน้อยว่าเดี๋ยวนี้ผ่องถ่ายไปให้ซีพีทำแล้วหรือไร

อย่างไรก็ดี อย่างที่เรารู้ๆ กัน เมื่ออยู่ในมือซีพีแล้วละก็ต้อง ครบวงจรตั้งแต่สากกะเบือยันเรือบิน โบอิ้ง ๗๓๗-๘๐๐นั่นแหละ อมก๋อยโมเดลแตกหน่อออกไปอีก ๗ โมเดลย่อย ทั้งปลูกป่า จำปา ไผ่ มะขาม มะม่วง มะยง กระท้อน พุทรา ฯลฯ

ส่วนปลูกข้าว ปลูกกาแฟ และเกษตรมูลค่าสูงนั้นแยกออกไปต่างหาก แล้วก้าวเข้าไปในกิจการสังคมสร้าง ‘Social Enterprise’ และการศึกษา ให้ ทรู เป็นผู้ ปลูกปัญญา รวมทั้งการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า กวางผาโดยมีซีพีรับประกัน

จะเข้าไปสนับสนุน พร้อมยกระดับองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผลผลิตและเพิ่มรายได้” ตอนนี้บอกเฉพาะเพื่อเกษตรกร ตอนหน้าอาจมีลงวิชาจ่ายค่าหน่วยกิตที่ เซเว่นหรือรับเบี้ยสวัสดิการผ่านแบ๊งกิ่งของดีแทค เมื่อเขาควบรวมกันเสร็จเรียบร้อย

(https://www.isranews.org/article/isranews-pr-news/110673-cp-170.html, https://isranews.org/article/isranews-scoop/96753-investigative00-35.html, https://waymagazine.org/agra-gold-mine/ และ https://prachatai.com/journal/2022/07/99697)