หลายๆ คนที่เรียนกฎหมายมีเพื่อนเป็นผู้พิพากษาเป็นสภาวะที่ "น่ารำคาญ" 😂😂 #ForeverLawChulaKhemThong pic.twitter.com/5sh6smWXVC
— นิติจุฬาฯจะไม่เป็นทาสคุณอีกต่อไป ⚖️ (@lawcunotslave) July 28, 2022
อจ.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ให้เบื้องหน้าเบื้องหลังของคนที่เป็นผู้พิพากษา ในการเสวนาหัวข้อ ‘ศาลและความยุติธรรม’
เบื้องหน้าเป็นโครงสร้างเชิงสถาบัน เน้นเรื่องความอิสระ บวกกับความศักดิ์สิทธิ์ แต่คำว่าอิสระของตุลาการไทยไม่เหมือนใครทั่วโลก
ตามประมวลจริยธรรมผู้พิพากษา คำว่า ‘อิสระ’ นี่คือความ ‘สันโดษ’ ไม่เฉพาะในหน้าที่การงาน คือต้องวางตัวเป็นพระ เป็นโลกุตระ ต้องวางตัวเหนือโลก มีความศักดิ์สิทธิ์ มองลงไปยังผู้อยู่หน้าบัลลังก์เป็นเวไนยสัตว์
ทัศนคติอย่างนี้ทำให้ศาลไม่เกิดความรู้ร้อนรู้หนาวกับความทุกข์ของคนที่อยู่ตรงหน้า ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่มีเมตตา แต่มันเป็นความเมตตาที่ผู้ใหญ่ให้กับผู้น้อย กับผู้ต้องหาการเมืองที่พยายามจะโต้แย้งแสดงความเท่าเทียมจะรับไม่ได้
“ความศักดิ์สิทธิ์นี่ยังเป็นความชอบธรรมของศาลไทยอยู่นะ การวางตัวให้มันออกห่างจากโลก การวางตัวให้มันลึกลับ” ที่สำคัญผู้พิพากษานี่จะเป็นคนประเภทปิดโซเชียลมีเดีย จะรู้ข่าวเฉพาะหนังสือพิมพ์รายวัน ข่าวนอกกระแสไม่เคยรับรู้
(https://twitter.com/lawcunotslave/status/1552539097176342528)