
iLaw
18h

พูนสุข พูนสุขเจริญ หรือทนายเมย์ กล่าวว่าในวงเสวนาวิชาการ "ศาลและความยุติธรรม?"' ว่าช่วงระยะเวลา 8 ปี ภายใต้รัฐบาล คสช. สิ่งที่ประเทศไทยถูกทำลายมากที่สุด คือ ระบอบ ‘นิติรัฐ’ ในการเก็บข้อมูลคดีของทางศูนย์ทนาย ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฏาคม 2563 นับจากการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มเยาวชนปลดแอก หรือ Free Youth ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในช่วงแรกนั้นมีการใช้มาตรา 116 เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งวันที่มีแถลงการณ์จากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันที่ 19 พฤษจิกายน 2563 บอกประชาชน ว่าจะดำนเนิคดีกับผู้ชุมนุมในทุกมาตรา จึงเริ่มมีการใช้มาตรา 112 มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน
“คำว่า ทุกมาตรา ของแถลงการณ์ฉบับนั้นหมายถึงมาตรา 112 จนถึงปัจจุบันนี้มีคนที่ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางการเมือง ทั้งการชุมนุม การโพสข้อความต่างๆ 1,800 คน จากทั้งหมด 1,000 คดี เป็นจำนวนคดีที่ต้องบอกว่าไม่เคยพบมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่มีประชาชนถูกดำเนินคดีมากขนาดนี้ในระยะ
เวลาเพียงสองปี”
พูนสุขกล่าวถึงจำนวนสถิติคดีที่มากที่สุด คือ คดีจากการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการห้ามการชุมนุม รองลงมา คือ คดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามกฎหมายอาญามาตรา 112 แลฃะพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสข้อความ กฎหมายอีกฉบับที่ถูกใช้มาก คือ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ แม้ว่าเมื่อประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้วจะไม่ใช้พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณก็ตาม แต่คนถูกดำเนินคดีก็ยังเยอะมาก ในระยะเวลาเพียง 2 ปี นับตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2563 มีการดำเนินคดีกับเยาวชนถึง 283 คน นับเป็นที่น่าตกใจ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้านั้นที่ศูนย์ทนายฯ ไม่มีลูกความที่เป็นเยาวชนเลย
ส่วนสถิติผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 206 คน โดยตัวเลขนี้อาจจะยังไม่ใช่ทั้งหมดที่ศูนย์ทนายทราบ เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาอาจไม่ได้หาทนายความ
ส่วนคดีจากการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มากกว่า 1,464 คน
“ใน 200 คดี ข้อสังเกตุคือ ครึ่งหนึ่ง 104 คดี เป็นประชาชนด้วยกันเองไปร้องทุกข์กล่าวโทษ อีกครึ่งหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ อาจจะเป็นกระทรวงดีอี อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อสังเกตุก็คือว่ามีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เอาตรงๆก็อาจจะเป็นทนายของคุณประยุทธ์ก็มีการกล่าวโทษมาตรา 112”
พูนสุขตั้งข้อสังเกตว่า กำไลติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM นั้นไม่เคยถูกใช้มาก่อนในคดีทางการเมือง เคยมีการใช้ในคดียาเสพติด และคดีกลุ่มคนที่เรียกร้องสหพันธรัฐไทในช่วงปี 2561 ไม่กี่ราย แต่ในปัจจุบันมีนักกิจกรรมทางการเมืองถูกสั่งให้ติดกำไล EM แลกกับการประกันตัวอย่างแพร่หลาย เป็นจำนวนถึง 60-70 คน รวมถึงการกำหนดเวลาเข้าออกเคหะสถาน อย่างเช่น ‘ตะวัน’ ที่ถูกสั่งให้ต้องอยู่ในเคหะสถาน 24 ชั่วโมง หากตะวันไม่มีพ่อแม่เลี้ยงดูเขาจะยังชีพแบบไหน ผู้ต้องหาหลายคนจากกลุ่มทะลุแก๊ซ ต้องหารายได้เสริมด้วยตัวเอง เช่น การขับรถเป็นไรด์เดอร์ หรืออาชีพนวด ทำให้พวกเขาเจอปัญหาจากข้อกำหนดดังกล่าว
“ข้อสังเกตในเรื่องของการประกันตัว คือ คำสั่งอนุญาติหรือไม่อนุญาติในหลายๆครั้ง ศาลเขียนชัดเจนลงมาในคำสั่งว่าเป็นมติที่ประชุมของผู้บริหารศาล คำถามก็คือว่าผู้พิพากษานายเดียวมีอำนาจในการให้ประกัน แต่ว่าทำไมต้องเป็นมติผู้บริหารศาลในการทำคำสั่ง ถ้าสมมติบอกว่าเป็นคดีนโยบายเป็นคดีสำคัญที่ต้องมีผู้บริหารพิจารณา ถามว่าทำไมผู้บริหารศาลทั้งหมดไม่ลงชื่อในคำสั่ง เพราะว่าคุณมีมติมีความเห็นแต่คุณไม่ลงชื่อ ให้ผู้พิพากษาที่ทำคำสั่งเป็นผู้ลงชื่อคนเดียว ในทางกฎหมายคนรับผิดชอบคือคนที่เซนต์ คนที่ลงชื่อ” ทนายเมย์เล่า
พูนสุขกล่าวถึงจำนวนสถิติคดีที่มากที่สุด คือ คดีจากการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการห้ามการชุมนุม รองลงมา คือ คดีฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามกฎหมายอาญามาตรา 112 แลฃะพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จากการโพสข้อความ กฎหมายอีกฉบับที่ถูกใช้มาก คือ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ แม้ว่าเมื่อประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้วจะไม่ใช้พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณก็ตาม แต่คนถูกดำเนินคดีก็ยังเยอะมาก ในระยะเวลาเพียง 2 ปี นับตั้งแต่ 18 กรกฎาคม 2563 มีการดำเนินคดีกับเยาวชนถึง 283 คน นับเป็นที่น่าตกใจ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้านั้นที่ศูนย์ทนายฯ ไม่มีลูกความที่เป็นเยาวชนเลย
ส่วนสถิติผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 206 คน โดยตัวเลขนี้อาจจะยังไม่ใช่ทั้งหมดที่ศูนย์ทนายทราบ เนื่องจากผู้ถูกกล่าวหาอาจไม่ได้หาทนายความ
ส่วนคดีจากการฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน มากกว่า 1,464 คน
“ใน 200 คดี ข้อสังเกตุคือ ครึ่งหนึ่ง 104 คดี เป็นประชาชนด้วยกันเองไปร้องทุกข์กล่าวโทษ อีกครึ่งหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ อาจจะเป็นกระทรวงดีอี อาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ข้อสังเกตุก็คือว่ามีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เอาตรงๆก็อาจจะเป็นทนายของคุณประยุทธ์ก็มีการกล่าวโทษมาตรา 112”
พูนสุขตั้งข้อสังเกตว่า กำไลติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EM นั้นไม่เคยถูกใช้มาก่อนในคดีทางการเมือง เคยมีการใช้ในคดียาเสพติด และคดีกลุ่มคนที่เรียกร้องสหพันธรัฐไทในช่วงปี 2561 ไม่กี่ราย แต่ในปัจจุบันมีนักกิจกรรมทางการเมืองถูกสั่งให้ติดกำไล EM แลกกับการประกันตัวอย่างแพร่หลาย เป็นจำนวนถึง 60-70 คน รวมถึงการกำหนดเวลาเข้าออกเคหะสถาน อย่างเช่น ‘ตะวัน’ ที่ถูกสั่งให้ต้องอยู่ในเคหะสถาน 24 ชั่วโมง หากตะวันไม่มีพ่อแม่เลี้ยงดูเขาจะยังชีพแบบไหน ผู้ต้องหาหลายคนจากกลุ่มทะลุแก๊ซ ต้องหารายได้เสริมด้วยตัวเอง เช่น การขับรถเป็นไรด์เดอร์ หรืออาชีพนวด ทำให้พวกเขาเจอปัญหาจากข้อกำหนดดังกล่าว
“ข้อสังเกตในเรื่องของการประกันตัว คือ คำสั่งอนุญาติหรือไม่อนุญาติในหลายๆครั้ง ศาลเขียนชัดเจนลงมาในคำสั่งว่าเป็นมติที่ประชุมของผู้บริหารศาล คำถามก็คือว่าผู้พิพากษานายเดียวมีอำนาจในการให้ประกัน แต่ว่าทำไมต้องเป็นมติผู้บริหารศาลในการทำคำสั่ง ถ้าสมมติบอกว่าเป็นคดีนโยบายเป็นคดีสำคัญที่ต้องมีผู้บริหารพิจารณา ถามว่าทำไมผู้บริหารศาลทั้งหมดไม่ลงชื่อในคำสั่ง เพราะว่าคุณมีมติมีความเห็นแต่คุณไม่ลงชื่อ ให้ผู้พิพากษาที่ทำคำสั่งเป็นผู้ลงชื่อคนเดียว ในทางกฎหมายคนรับผิดชอบคือคนที่เซนต์ คนที่ลงชื่อ” ทนายเมย์เล่า