การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยดำเนินเข้ามาเป็นปี 3 แต่การประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่มีจุดสิ้นสุดในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการอดอาหารของผู้ต้องขังคดีการเมืองในเรือนจำ การเดินประท้วงและยืนเฉยๆ เพื่อแสดงออกถึงข้อเรียกร้องทางการเมือง
กิจกรรมยืน หยุด ขัง จัดขึ้นครั้งแรกโดย กลุ่มพลเมืองโต้กลับ — Resistant Citizen ซึ่งมีการรวมตัวกันของมวลชนในวันที่ 22 มีนาคม 2564 ลักษณะกิจกรรม คือ การยืนนิ่งเป็นเวลา 112 นาที เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับนักกิจกรรมทางการเมืองที่ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ โดยศาลยังไม่มีคำตัดสินว่ามีความผิด และเพื่อเป็นการแสดงออกถึงการเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมปฏิบัติหน้าที่โดยความเป็นธรรมในคดีความทางการเมือง
กิจกรรมดังกล่าวได้พยายามสร้างการแสดงออกที่ต่อเนื่องทุกวันหรือทุกอาทิตย์ ทั้งยังสามารถแผ่เป็นดาวกระจายในวงกว้างหลายจุดทั่วทุกภูมิภาค จนเคยมีการจัดกิจกรรมขึ้นในหลายๆ จังหวัด อาทิเช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม อยุธยา ชลบุรี หรือตรัง
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้มีโอกาสพูดคุยและรวบรวมเรื่องราวจากตัวแทนของ ‘มวลชน’ ที่ออกมาร่วมยืนหยุดขัง จาก 4 ภูมิภาค ถึงเรื่องราวการยืดหยัดต่อสู้โดยสันติวิธี เพื่อผู้ต้องขังในคดีทางการเมืองที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำตอน
นี้ หลังมีการประกาศจัดกิจกรรมยืนหยุดขังพร้อมกันทั่วประเทศอีกครั้งในวันที่ 27 ก.ค. 2565 นี้
.
พันธ์ศักดิ์ พลเมืองโต้กลับ : ยืน หยุด ขัง กรุงเทพมหานคร
Location : ณ ลานอากง หน้าศาลฎีกา สนามหลวง ราษฎร์
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ในฐานะสมาชิกของพลเมืองโต้กลับ เล่าว่าแท้ที่จริงกิจกรรม ยืน หยุด ขัง มีมานานก่อนปี 2564 โดยจุดเริ่มต้นคือช่วงหลังรัฐประหารในปี 2558 – 2559 “ช่วงหลังรัฐประหาร มันมีคนถูกจับแล้วไม่ได้สิทธิประกันตัว ตอนนั้นมีทนายอานนท์และเพื่อนๆ ชักชวนกันไป 4 – 5 คนเอง เราพากันไปยืนเฉยๆ เพื่อเรียกร้องให้นักกิจกรรมที่ถูกคุมขังในช่วงนั้น”
ในช่วงที่พันธ์ศักดิ์เล่าถึง คือกิจกรรมที่ “กลุ่มพลเมืองโต้กลับ” นัดกัน “ยืนเฉยๆ” บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัว 8 แอดมินเพจล้อเลียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, เพื่อนนักกิจกรรมอย่าง ‘จ่านิว’ หรือนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวในขณะนั้น
.
พันธ์ศักดิ์ พลเมืองโต้กลับ : ยืน หยุด ขัง กรุงเทพมหานคร
Location : ณ ลานอากง หน้าศาลฎีกา สนามหลวง ราษฎร์
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ในฐานะสมาชิกของพลเมืองโต้กลับ เล่าว่าแท้ที่จริงกิจกรรม ยืน หยุด ขัง มีมานานก่อนปี 2564 โดยจุดเริ่มต้นคือช่วงหลังรัฐประหารในปี 2558 – 2559 “ช่วงหลังรัฐประหาร มันมีคนถูกจับแล้วไม่ได้สิทธิประกันตัว ตอนนั้นมีทนายอานนท์และเพื่อนๆ ชักชวนกันไป 4 – 5 คนเอง เราพากันไปยืนเฉยๆ เพื่อเรียกร้องให้นักกิจกรรมที่ถูกคุมขังในช่วงนั้น”
ในช่วงที่พันธ์ศักดิ์เล่าถึง คือกิจกรรมที่ “กลุ่มพลเมืองโต้กลับ” นัดกัน “ยืนเฉยๆ” บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัว 8 แอดมินเพจล้อเลียน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, เพื่อนนักกิจกรรมอย่าง ‘จ่านิว’ หรือนักการเมืองจากพรรคเพื่อไทยที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวในขณะนั้น
ภาพกิจกรรม “ยืนเฉยๆ” กับกลุ่มพลเมืองโต้เมื่อช่วงปี 2558 – 2559
“เรากลับมายืนหยุดขังอีกครั้งในปี 2564 นั่นคือรอบแรกเลย เพราะมีแกนนำกลุ่มราษฎรไม่ได้รับสิทธิประกันตัว เราเลยถือโอกาสออกมายืนต่อสู้เคียงข้างพวกเขา”
“ส่วนใหญ่คนที่ออกมาร่วมทำกิจกรรม ก็พวกลุงๆ ป้าๆ เสื้อแดง หรือไม่ก็เป็นกลุ่มคนที่ร่วมกิจกรรมกับเรามาตั้งแต่รัฐประหาร เป็นคนที่เราก็พอรู้จักกันจนถึงปัจจุบันก็ยังเหนียวแน่นกันอยู่” พันธ์ศักดิ์กล่าวถึงมวลชนที่ยังคงยืนหยัดในอุดมการณ์เดิมมาตั้งแต่ช่วงปี 2558
“ในยุคแรกเราไปยืนทุกที่นะ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ Sky Walk ปทุมวัน ช่องนนทรี แต่ในปี 2565 นี่คือรอบที่ 3 แล้ว ยืนอยู่ที่หน้าศาลฎีกา เพราะเราเห็นว่าช่วงหลังมานี่กระบวนการยุติธรรมมันแย่ลง การประกันตัวเหมือนจะมีการตัดสินใจที่ไม่ได้มาจากผู้พิพากษา คือเราต้องการจะสื่อตรงนั้น เลยมาที่นี่ (ศาลฎีกา) เพราะมันเหมือนเป็นประมุขของศาลทั้งหมด”
ภาพกิจกรรมยืนหยุดขัง ของพลเมืองโต้กลับ (ภาพจาก พลเมืองโต้กลับ)
เมื่อถามถึงกิจกรรมที่มีมวลชนจากหลายภูมิภาคทำกิจกรรมยืนหยุดขังตามพื้นที่จังหวัดของตัวเอง พันธ์ศักดิ์บอกว่า “มันคือการสะท้อนความไม่พอใจ สะท้อนความไม่เห็นด้วยกับกระบวนการยุติธรรมที่ลิดรอนสิทธิการประกันตัวของนักโทษทางการเมือง กิจกรรมนี้เรียกได้ว่ามันเป็นเซฟโซนที่จะพอจะส่งเสียงอย่างสงบและสันติให้ศาลได้รับรู้”
“คือเรารู้ว่าถ้าเราทำอะไรออกจากเส้น หรือออกจากกรอบเพียงนิดเดียว เขาก็พร้อมที่จะยัดข้อหาละเมิดอำนาจศาลให้เราได้ เพราะฉะนั้นเราก็เลยทำอะไรที่อยู่ในกรอบ เพื่อที่จะได้ประจานกระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้ได้บ้าง”
แม้กระนั้น ผู้ร่วมกิจกรรมยืนหยุดขังในช่วงเดือนเมษายน 2564 ก็ถูกตำรวจ สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมกัน 12 คน ใน 5 คดี โดยคดียังไม่มีความคืบหน้าใดๆ หลังการแจ้งข้อหา ซึ่งพันธ์ศักดิ์ที่ถูกกล่าวหาในทั้ง 5 คดี ก็ยังยืนยันถึงความตั้งใจของกิจกรรมนี้ที่จะยังคงมีต่อไป จนกว่านักโทษทางการเมืองที่คดียังไม่ถึงที่สุดจะได้รับสิทธิการประกันตัว
“ตอนแรกเรายืน 112 นาที แต่มันก็เกือบจะ 2 ชั่วโมง เราก็คุยกันนะครับว่าน่าจะต้องสู้กันอีกยาวๆ และเพื่อให้ทุกคนสามารถมาร่วมกันได้แบบไม่หนักจนเกินไป เลยลดมาเป็น 1.12 นาที” กล่าวคือกิจกรรมยืนหยุดขัง ของพลเมืองโต้กลับจะมีการจัดขึ้นในทุกวัน ในเวลา 17.30 น. – 18.42 น. ที่หน้าศาลฎีกา
“การมาร่วมทำกิจกรรม มันคือการส่งสัญญาณไปถึงคนสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือนักโทษการเมือง ให้เขารู้ว่ายังมีคนต่อสู้เพื่อเขาอยู่ ให้เขาได้มีแรงใจ ส่วนกลุ่มที่สอง คือเหล่าผู้พิพากษา กลุ่มคนในกระบวนการยุติธรรม ทั้งตำรวจ อัยการ อยากให้เขาตระหนักถึงสิทธิการประกันตัวเพื่อออกมาสู้คดี ที่มันควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ในระบบกฎหมายที่ใช้รูปแบบการกล่าวหาแบบนี้”
เมื่อถามถึงกิจกรรมที่มีมวลชนจากหลายภูมิภาคทำกิจกรรมยืนหยุดขังตามพื้นที่จังหวัดของตัวเอง พันธ์ศักดิ์บอกว่า “มันคือการสะท้อนความไม่พอใจ สะท้อนความไม่เห็นด้วยกับกระบวนการยุติธรรมที่ลิดรอนสิทธิการประกันตัวของนักโทษทางการเมือง กิจกรรมนี้เรียกได้ว่ามันเป็นเซฟโซนที่จะพอจะส่งเสียงอย่างสงบและสันติให้ศาลได้รับรู้”
“คือเรารู้ว่าถ้าเราทำอะไรออกจากเส้น หรือออกจากกรอบเพียงนิดเดียว เขาก็พร้อมที่จะยัดข้อหาละเมิดอำนาจศาลให้เราได้ เพราะฉะนั้นเราก็เลยทำอะไรที่อยู่ในกรอบ เพื่อที่จะได้ประจานกระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้ได้บ้าง”
แม้กระนั้น ผู้ร่วมกิจกรรมยืนหยุดขังในช่วงเดือนเมษายน 2564 ก็ถูกตำรวจ สน.ชนะสงคราม แจ้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ รวมกัน 12 คน ใน 5 คดี โดยคดียังไม่มีความคืบหน้าใดๆ หลังการแจ้งข้อหา ซึ่งพันธ์ศักดิ์ที่ถูกกล่าวหาในทั้ง 5 คดี ก็ยังยืนยันถึงความตั้งใจของกิจกรรมนี้ที่จะยังคงมีต่อไป จนกว่านักโทษทางการเมืองที่คดียังไม่ถึงที่สุดจะได้รับสิทธิการประกันตัว
“ตอนแรกเรายืน 112 นาที แต่มันก็เกือบจะ 2 ชั่วโมง เราก็คุยกันนะครับว่าน่าจะต้องสู้กันอีกยาวๆ และเพื่อให้ทุกคนสามารถมาร่วมกันได้แบบไม่หนักจนเกินไป เลยลดมาเป็น 1.12 นาที” กล่าวคือกิจกรรมยืนหยุดขัง ของพลเมืองโต้กลับจะมีการจัดขึ้นในทุกวัน ในเวลา 17.30 น. – 18.42 น. ที่หน้าศาลฎีกา
“การมาร่วมทำกิจกรรม มันคือการส่งสัญญาณไปถึงคนสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือนักโทษการเมือง ให้เขารู้ว่ายังมีคนต่อสู้เพื่อเขาอยู่ ให้เขาได้มีแรงใจ ส่วนกลุ่มที่สอง คือเหล่าผู้พิพากษา กลุ่มคนในกระบวนการยุติธรรม ทั้งตำรวจ อัยการ อยากให้เขาตระหนักถึงสิทธิการประกันตัวเพื่อออกมาสู้คดี ที่มันควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ในระบบกฎหมายที่ใช้รูปแบบการกล่าวหาแบบนี้”
ภาพกิจกรรมยืนหยุดขัง ของพลเมืองโต้กลับ (ภาพจาก พลเมืองโต้กลับ)
.
เจี๊ยบ เจ้าของร้านหนังสือ : ยืน หยุด ขัง จังหวัดอุบลราชธานี
Location : หน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
“เจี๊ยบ” วิทยากร โสวัตร เล่าย้อนให้ฟังถึงเหตุผลที่ออกทำกิจกรรมยืนหยุดขัง หลังจากจบมหาวิทยาลัยแล้วได้ไปเป็นทหารเกณฑ์อยู่ 2 ปี และระหว่างที่เป็นทหารอยู่ก็เคยติดคุกทหาร เหตุเพราะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาอยู่ 2 ครั้ง โดยติดครั้งละ 3 วัน
ขณะที่อยู่ในคุกทหาร เจี๊ยบมีความรู้สึกว่าเวลามันผ่านไปช้าเหลือเกิน มิหนำซ้ำยังไม่รู้เรื่องราวของภายนอกด้วยว่ามีเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้าง
“สมัยที่เป็นทหารนั้น เพียงแค่การอยู่ในค่ายทหารก็รู้สึกได้ถึงความอึดอัด รู้สึกว่าเวลาแต่วันมันช่างยาวนาน ต่างจากช่วงที่ได้ลาพักกลับบ้านเป็นเวลา 10 วัน เพราะเมื่อได้กลับบ้านแล้วมักจะรู้สึกว่าเวลาเดินเร็วเหลือเกิน”
เจี๊ยบเล่าว่า เขาจดจำความรู้สึกในช่วงเวลานั้นได้เป็นอย่างดี และในตอนนี้ความรู้สึกนั้นก็ยังคงวนเวียนอยู่ภายในใจลึกๆ และเข้าใจเป็นอย่างดีเลยว่านักโทษทางความคิดทุกคนที่กำลังถูกคุมขังอยู่ในขณะนี้ล้วนแต่เผชิญอยู่กับความรู้สึกที่หนักหนามากยิ่งกว่าไม่รู้กี่เท่า
คำพูดหนึ่งของเจี๊ยบที่ฟังแล้วทำให้เห็นภาพตาม พร้อมๆ กับเข้าใจความรู้สึกของผู้ถูกคุมขัง คือ “การได้วงปฏิทินเป็นสิ่งที่มีความสุขที่สุดของคนข้างใน” เพราะการวงปฏิทินแต่ละครั้งนั้นหมายถึงการที่วันเวลาสำหรับอยู่ข้างในได้หดหายไปแล้วอีกหนึ่งวัน
สำหรับกิจกรรม ยืน หยุด ขัง ของกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ในกรุงเทพมหานคร เจี๊ยบเล่าว่ามันคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เขา ในฐานะเจ้าของร้านหนังสือในจังหวัดอุบลราชธานีและเพื่อนๆ เหล่าอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาเข้าร่วมเป็นหนึ่งในมวลชน เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้านความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นกับเหล่านักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง
“ที่อุบลฯ มันก็มีหลายกลุ่มรวมๆ กัน ก็จะมีอุบลปลดแอก แล้วก็มีกลุ่มอาจารย์นักศึกษา ตอนหลังมานี่มีกลุ่มนักศึกษาคบเพลิงมาร่วมด้วย พวกเราไม่มีชื่อกลุ่มที่มายืนกันชัดเจนหรอก แค่เรามีสำนึกร่วมกัน แล้วก็พากันออกมา” เขาเล่า
“ตอนที่ม็อบบูมๆ ก็มีหลายที่นะ จริงๆ มีที่ร้อยเอ็ด สารคาม แต่ช่วงหลังที่หมดม็อบมานี่ พี่เข้าใจว่าที่ยังยืนต่อเนื่องก็มีแค่ที่อุบลฯ นี่แหละ ที่อื่นไม่น่าจะมีแล้ว” เจี๊ยบเล่าถึงในช่วงปี 2564 ที่มีการรวมกลุ่มกันของประชาชนในหลายพื้นที่จังหวัดทางภาคอีสาน
“ส่วนครั้งล่าสุดของอุบลฯ คือวันอังคารที่ผ่านมา (19 ก.ค. 2565) แต่เอาจริงๆ นับไม่ได้แล้วว่าเป็นสัปดาห์ที่เท่าไหร่ ไม่เคยบันทึกไว้เลย” เจี๊ยบบอกว่าส่วนตัวแล้วการไปยืนไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่าการทำกิจกรรมนี้ พวกเขายืนมาเป็นจำนวนกี่วันแล้ว และหากต้องไปไล่ดูเฟซบุ๊กก็คงจะเยอะน่าดู
“เข้าใจว่าที่ล่าสุดเราไปยืนกันวันอังคาร เพราะเรื่องผลประกันตัวของน้องผู้หญิงสองคนนั้นนะ” เขาหมายถึงนักกิจกรรมหญิงสองคนจากกลุ่มทะลุวังอย่าง ‘บุ้ง — ใบปอ’ ที่ล่าสุดทนายความได้ยื่นขอประกันตัวเป็นครั้งที่ 7 แต่สุดท้ายศาลยังคงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวออกมา
อ่านผลประกันตัวบุ้ง – ใบปอ ครั้งที่ 7 >>> ไม่ให้ประกันเป็นครั้งที่ 7 “บุ้ง—ใบปอ” นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง ศาลชี้ทั้งสองสุขภาพยังเป็นปกติ ตามบันทึกการรักษาของแพทย์
เมื่อถามถึงจุดประสงค์ในการยืนครั้งนี้ เจี๊ยบเล่าว่าส่วนตัวแล้ว เขาไม่ได้ยืนเพื่อนักกิจกรรมที่ถูกคุมขังคนไหนเป็นพิเศษ “สำหรับอุบลฯ เรายืนให้กับนักกิจกรรมทุกคนที่ยังอยู่ในเรือนจำ เราจะมีเครือข่ายกัน พวกป้ายไวนิลป้ายที่ใช้ยืนอะไรแบบนี้ เราก็ทำกันเอง”
ภาพกิจกรรมยืน หยุด ขัง หน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
“ตอนปีแรกๆ เรายืน 112 นาที นะ แต่มันเกือบสองชั่วโมง ก็เริ่มไม่ไหว เลยเปลี่ยนมาเป็น 1.12 นาที ชั่วโมงเดียวแทน ยืนกันตอนห้าโมงเย็น เหมือนกับที่กรุงเทพนั้นแหละ”
พอถามถึงสถานที่ที่ทำกิจกรรมแล้ว เจี๊ยบบอกว่าโดยปกติจะไปยืนที่หน้ามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แต่ก็จะมีเนื่องในโอกาสพิเศษที่จะไปยืนที่อื่นบ้าง อย่างเช่นวันที่ 24 มิ.ย. 2565 ที่ผ่านมา พวกเขาได้ไปยืนหยุดขังที่สะพานเสรีประธิปไตย 2497 หรือที่เรียกว่าอีกชื่อว่า สะพานข้ามแม่น้ำมูล
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงวันที่ 27 ก.ค. 2565 ที่จะถึงนี้ซึ่งจะมีการยืนหยุดขังพร้อมกันทั่วประเทศไทยในส่วนของอุบลฯ มีอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ เจี๊ยบก็ได้ตอบว่า “เรายังตอบไม่ได้นะ แต่ที่ไปยืนแน่ๆ พี่รู้ทั้งรู้นะว่าคนมันจะน้อยลงเรื่อยๆ เราไม่มีสิทธิไปเรียกร้องเชิญชวนใครเลย” เขาอธิบายก่อนจะเปิดเผยความในใจอย่างตรงไปตรงมา
“เอาจริงๆ ยืนจนขาหัก เขาก็ไม่สนใจอะไรเราหรอกนะ แต่ที่เราไปยืนเนี่ย เพราะว่าถ้าเราไม่ทำอะไรเลย มันรู้สึกผิดกับตัวเอง”
“พี่ขอพูดอย่างนี้ว่า วันที่ 27 ก.ค. นี้ การออกมายืนก็เพื่อที่เราจะไม่อยากให้เกิดการกักขังอนาคตของประเทศ” เจ้าของร้านหนังสือสรุปสั้นๆ ว่า จุดมุ่งหมายของการยืนหยุดขัง ของเขาเองนั้นมีเงื่อนไขที่แสนธรรมดา และเรียบง่ายเพียงสองประการเท่านั้น
“เงื่อนไขสองข้อนะ ข้อแรก ถ้าเราไม่ไป เราจะรู้สึกเลวร้ายมากที่เราไม่ทำอะไรเลย และข้อสอง เราเพียงอยากสื่อสารกับคนในคุกนั้นแหละว่ายังมีพวกเราที่อยู่ตรงนี้”
.
ภัควดี นักแปลหนังสือ : ยืน หยุด ทรราช จังหวัดเชียงใหม่
Location : อนุสาวรีย์สามกษัตริย์, ประตูท่าแพ, ย่านนิมมาน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สำหรับภาคเหนือ กิจกรรมยืนหยุดขังในจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงดำเนินอยู่เรื่อยมาเทียบคู่กับกิจกรรมของพลเมืองโต้กลับ ในกรุงเทพมหานคร ภัควดี วีระภาสพงษ์ ทบทวนว่าจนถึงกลางปี 2565 กิจกรรมได้ถูกจัดขึ้นเป็นระลอกที่ 3 แล้ว
“เรายืนรอบแรกวันที่ 15 เมษายน 2564 ครั้งแรกนี่ใช้ชื่อว่ายืน หยุด ขัง ตอนนั้นไปยืนที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ยืนไปได้ 46 วัน” ภัควดีเล่า
ภาพกิจกรรมยืน หยุด ทรราชที่จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพจาก We, The People)
“แต่มารอบสอบนี่ เราเริ่มยืนวันที่ 20 สิงหาคม 2564 คราวนี้ถึงเปลี่ยนมาใช้ ‘ยืน หยุด ทรราช’ รอบนี้เรายืนไปได้ทั้งหมด 196 วัน ครั้งนี้มีทำหลายอย่าง เราเดินจากสามกษัตริย์ไปท่าแพด้วย ไปยืนตรงนิมมานฯ ด้วย หรืออย่างทุกวันพฤหัส เราก็จะไปยืนที่หน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย” เธอเล่าถึงกิจกรรมยืนหยุดทรราชในระลอกที่สองของเชียงใหม่ ซึ่งมีการจัดกิจกรรมขึ้นในตอนช่วงเย็นของทุกๆ วัน
อย่างไรก็ตาม ในครั้งที่สองนี้ ภัควดีพบว่าความตั้งใจของพวกเธอก็ถูกอุปสรรคอย่างเรื่องการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้อนุสาวรีย์สามกษัตริย์เหลือทิ้งไว้เพียงความซบเซา ไร้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ประชาชนแทบจะไม่สัญจรแวะเวียนผ่าน ทำให้สุดท้ายแล้วมีการย้ายที่ทำกิจกรรมหลักไปที่ข่วงประตูท่าแพเป็นหลัก
ส่วนในระลอกที่สามนี้ กลับมาเริ่มยืนอีกครั้งในวันที่ 30 เม.ย. 2565 โดยเปลี่ยนเป็นการยืนทุกๆ วันเสาร์ที่ประตูท่าแพ เป็นเวลา 1.12 ชั่วโมง และระลอกนี้ยังดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน
ภัควดีประเมินว่าผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่ในเชียงใหม่ ไม่ใช่นักศึกษาหรืออาจารย์มหาวิทยาลัย แต่เป็นประชาชนในหลากหลายอาชีพ ตั้งแต่พนักงานทั่วไป กลุ่มผู้ใช้แรงงาน ธุรกิจส่วนตัว เจ้าหน้าที่ NGO และอาชีพอิสระอื่นๆ เสียมากกว่า
หากย้อนไปถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ภัควดีอธิบายว่า “จริงๆ แล้ว เพราะมันมีคนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองแล้วต้องเข้าคุก หรือบางคนไม่ใช่แกนนำก็ต้องเข้าคุกไปด้วยแล้วไม่ได้ประกันตัว เราต้องการเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้กับนักกิจกรรมที่ยังไม่ได้ถูกพิพากษาคดี นี่คือจุดมุ่งหมายจริงๆของกิจกรรมนี้ ทีนี้ทางพลเมืองโต้กลับเขาเริ่มกิจกรรมขึ้นมา แล้วเรารู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่เราทำได้”
“คนที่ออกมาทำกิจกรรมในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่นี่ก็จะค่อนข้างมีอายุหน่อย แต่ไม่ใช่แกนนำหรืออะไร เป็นเพียงผู้เข้าร่วมชุมนุมทั่วๆ ไป อีกอย่างพอมันเป็นช่วงโควิด มีเรื่องการรักษาระยะห่างเข้ามาด้วย มันก็ไม่สุ่มเสี่ยงกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เราคิดว่ามันเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างปลอดภัยสำหรับมวลชน
ภาพกิจกรรมยืน หยุด ทรราช จังหวัดเชียงใหม่ (ภาพจาก We, The people)
“ในปีนี้ถือเป็นรอบที่ 3 แล้ว สำหรับกิจกรรมยืนหยุดทรราช และเป็นสัปดาห์ที่ 13 แล้ว สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ เราตั้งใจยืนจนกว่านักกิจกรรมทางการเมืองทั้ง 31 คนจะได้รับการปล่อยตัวออกมา หรืออย่างน้อยที่สุดก็ขอให้พวกเขาได้รับการปล่อยออกมาก่อนมีการพิพากษาคดี”
สุดท้ายนี้ ภัควดีได้ฝากถึงกิจกรรมยืนหยุดขังทั่วประเทศไทยในวันที่ 27 ก.ค. 2565 ที่จะถึงนี้ “การทำกิจกรรมนี้มีเป้าหมาย มันคือการเรียกร้องให้กระบวนการยุติธรรมและศาลเคารพกฎหมาย และให้สิทธิประกันตัวคนที่เห็นต่างทางการเมือง”
“เราต้องการให้กระบวนการยุติธรรม มันไม่บิดเบือนไปมากกว่านี้ อยากบอกทุกคนว่าศาลเกี่ยวข้องกับชีวิตเราตลอด แล้วถ้ามันบิดเบี้ยวมากๆ มันก็ส่งผลต่อชีวิตทุกคนเหมือนกัน”
“กิจกรรมนี้ มันค่อนข้างปลอดภัยและไม่มีปัญหาทางกฎหมายเท่าไหร่ ส่วนใหญ่คนที่มาร่วมก็ไม่ได้รับผลกระทบอะไร ไม่ต้องกลัวนะคะ เรามาแสดงออกกันได้”
.
โตส กลุ่ม Trang Against Dictatorship – TAD : ยืน หยุด ขัง จังหวัดตรัง
Location : ศาลากลาง จังหวัดตรัง
ในส่วนของภาคใต้ กิจกรรมยืนหยุดขัง ได้ถูกจัดขึ้นในจังหวัดตรัง เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2564 โดยโตสและกลุ่มเพื่อน Trang Against Dictatorship ได้ร่วมกันออกมายืนที่หน้าศาลากลาง จังหวัดตรัง
“ในกลุ่มเรามี 3 – 4 คน แล้วก็เป็นคนเริ่มกิจกรรมยืนหยุดขังของจังหวัดตรัง ตอนไปร่วมกิจกรรมก็มีประมาณเพียง 5 – 6 คน แต่ก็จะมีคนอื่นๆ มาร่วมกับเราบ้างเหมือนกันครับ เขาก็มายืนกัน 10 – 20 นาที”
อย่างไรก็ตาม โตสได้บอกว่ากิจกรรมในส่วนของจังหวัดตรงนั้น ก็ทำเช่นเดียวกันกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ แต่สิ่งที่ทำให้โตสและกลุ่มเพื่อนตัดสินใจออกมาทำกิจกรรมยืนหยุดขัง เขาอธิบายว่า “คือเราอยู่ในระบบประชาธิปไตย แล้วการที่เราเห็นรัฐไทยตอนนี้ใช้กฎหมายปิดตานักกิจกรรมที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองตอนนี้ มันไม่โอเค เราเลยอยากออกมาเรียกร้องให้เขาครับ”
เมื่อถามถึงนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง โตสและกลุ่มเพื่อนบอกว่า “เรายืนให้ทุกคนที่อยู่ในคุกตอนนี้ ไม่ว่าจะมีชื่อเสียง หรือเป็นคนธรรมดา พวกเรายืนให้ทุกคนครับ”
ภาพกิจกรรมยืนหยุดขัง ที่จังหวัดตรัง (ภาพจาก Trang Against Dictatorship – TAD )
โตสบอกว่าในส่วนของภาคใต้ คงมีเพียงจังหวัดตรังที่ได้ออกมาจัดกิจกรรมยืนหยุดขัง ซึ่งพวกเขาได้มีการจัดกิจกรรมไป 4 สัปดาห์เมื่อช่วงปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามโตสก็ได้มีการพูดคุยถึงการกลับมาทำกิจกรรมดังกล่าวอีกเร็วๆ นี้ เช่นเดียวกัน
โตสได้ฝากทิ้งท้ายไว้ถึงประชาชนที่ยังคงมองไม่เห็นความบิดเบี้ยวของกระบวนการยุติธรรมไว้ว่า “ถ้าเราไม่ออกมาต่อสู้ตอนนี้ เราต้องรอให้มีอีกกี่คนต้องติดคุก เพื่อแลกกับอุมดการณ์และสิ่งที่ทุกคนต้องการ ในวันนี้อาจไม่ใช่เรา แต่ในวันข้างหน้ามันอาจจะเป็นเราก็ได้”
ทั้งนี้ ในวันที่ 27 ก.ค. 2565 ได้มีการประกาศจัดกิจกรรมยืน หยุด ขัง ทั่วประเทศไทย โดยเพจยืนหยุดขังประเทศไทย ได้เชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจ สามารถจัดขึ้นเองหรือเข้าร่วมได้ในทุกส่วนภูมิภาคของตนเอง
ในกรุงเทพมหานคร กิจกรรมยืนหยุดขังจะยังคงมีอยู่เช่นเดิมที่ ลานอากง หน้าศาลฎีกา เวลา 17.30-18.42 น. และที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ในทุกวันตอนเย็น เวลา 18.00 น. – 19.00 น.
ซึ่งเครือข่ายนักวิชาการยังมีกิจกรรมยื่นจดหมายถึงประธานศาลฎีกา เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้กับเหล่านักกิจกรรมที่ยังคงถูกคุมขังและไม่ได้รับการประกันตัวอยู่ในขณะนี้อีกด้วย
นอกจากนี้ ในส่วนของจังหวัดในภูมิภาคอื่นๆ จะมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี อยุธยา อุบลราชธานี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี นครสรรวค์ และนครปฐม เป็นต้น
ที่มา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
26/07/2565จากเพจยืนหยุดขังประเทศไทย)
26/07/2565จากเพจยืนหยุดขังประเทศไทย)