Sarinee Achavanuntakul - สฤณี อาชวานันทกุล
18h ·
น่าสนใจ
ตั๋วร้อนWorldwide
18h ·
วงการบันเทิงเกาหลีนี่โคตรโหด ซีรีส์ Snowdrop ของน้องจีซู แห่งคณะ Blackpink ที่ถือว่าเป็นการเปิดซิงเล่นซีรีส์เรื่องแรก และคาดการณ์ว่าเรตติ้งจะทะลุเพดาน แต่กลายเป็นว่าพอฉายไปดันโดนคนดูพากันด่ายับ จนสปอนเซอร์สนับสนุนซีรีส์พากันแห่ถอนตัวเป็นแถบ มีการโพสต์แถลงในเพจหรือเว็บไซต์ของสินค้าเหล่านั้นด้วยว่า กูไม่เกี่ยวแล้วหนึ่ง กูถอนตัวนะคะ
.
เกิดอะไรขึ้น? เกาหลีใต้เคยเจ็บช้ำจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของนักศึกษาในยุค 80 ซึ่งมีนักศึกษาถูกทางการใส่ร้ายว่าเป็นสายลับ แต่ความจริงนั้นไม่ได้มีสายลับห่าเหวอะไรเลย แต่ซีรีส์มันมาบ้งตรงที่ตัวละครพระเอกเนี่ย เสือกเล่นเป็นสายลับ คนเกาหลีใต้ปรี๊ด..แตดกันเลยทีเดียว สายลับแม่มึงดิ ไม่มีโว้ย ก็เลยพากันลงชื่อกว่า 2 แสนคน เพื่อยื่นให้ถอดถอนซีรีส์ ไม่ให้ออกอากาศ
.
เห็นท่าไม่ดี สปอนเซอร์สนับสนุนพากันถอนตัวเป็นแถบเลย เขาแคร์ความรู้สึกผู้บริโภคกันดีจริงๆ อะไรที่มันหมิ่นเหม่กระทบประชาธิปไตยนี่ไม่ได้เลย มองกลับมายังบ้านเรา ช่วงมีม็อบเดือดๆ ไอ้ตั๋วโดนถอนโฆษณาเพียบเลย เพราะเสือกทำตัวไม่น่ารัก ไปยุ่งกับการเมือง จนทุกวันนี้ก็ยังมี คือทะเล่อทะล่ามาจ้าง ดีลงานกันเรียบร้อย แล้วเหมือนเข้ามาสำรวจเพจกูกันอีกที เจอโพสต์หยิกแกมหยอกการเมือง แม่งพากันถอนตัวเฉย 5555 แต่ไม่เป็นไร เข้าใจได้ว่าวงการนี้อยากจะร่ำจะรวยเขาต้องอิ๊กนอร์ มิสนฝีสนแปดใดๆ เด็กจะโดนแก๊ส โดนขังแค่ไหนก็ไม่สน เดี๋ยวจะดูไม่น่ารัก เขาจะไม่จ้าง ซึ่งมันไม่ใช่นิสัยกู
.
นี่ถ้าวงการบันเทิงหรือวงการโฆษณาของบ้านเราเป็นเหมือนเกาหลีใต้มันคงจะดีเนอะ นี่ขนาดจีซูนะมึง กำลังเนื้อหอมเลย ยังโดน
.
https://www.straitstimes.com/.../petition-to-cancel-k...
...
Itsaraphap Srisukhon
ตอนเด็กๆครูบอกว่าประเทศไทยเจริญกว่าเกาหลี
เกาหลีป่าเถื่อน ฆ่ากันเอง ต่อยกันในสภา ด้อยพัฒนาขนาดไหน
คนเกาหลีเก็บคำดูถูกเหล่านั้น เรียนรู้จากบทเรียนราคาแพง
ที่เค้าต้องเสียไปกว่าจะได้ประชาธิปไตยมา
เค้าเลยตื่นรู้และพัฒนาอย่างก้าวกระโดดแซงไทยไปได้
มาทุกวันนี้ไทยเป็นได้แค่ประเทศที่เอาไว้ถูกเหยียด
แบบสมัยก่อนที่เราเหยียดเค้านั่นแหละ
fuckประเทศที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้น
fuckประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีฯ
fuckพันธมิตรฯ ปชป. กปปส. สลิ่มทุกหมู่เหล่า
...ตอนเด็กๆครูบอกว่าประเทศไทยเจริญกว่าเกาหลี
เกาหลีป่าเถื่อน ฆ่ากันเอง ต่อยกันในสภา ด้อยพัฒนาขนาดไหน
คนเกาหลีเก็บคำดูถูกเหล่านั้น เรียนรู้จากบทเรียนราคาแพง
ที่เค้าต้องเสียไปกว่าจะได้ประชาธิปไตยมา
เค้าเลยตื่นรู้และพัฒนาอย่างก้าวกระโดดแซงไทยไปได้
มาทุกวันนี้ไทยเป็นได้แค่ประเทศที่เอาไว้ถูกเหยียด
แบบสมัยก่อนที่เราเหยียดเค้านั่นแหละ
fuckประเทศที่ไม่เคยเป็นเมืองขึ้น
fuckประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีฯ
fuckพันธมิตรฯ ปชป. กปปส. สลิ่มทุกหมู่เหล่า
The MATTER
11h ·
RECAP: สรุปประเด็นแบนซีรีส์ ‘Snowdrop’ การเคลื่อนไหวที่สะท้อนภาพความหวงแหนประชาธิปไตยของเกาหลีใต้
.
**(spoil alert!)** บทความอาจเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเรื่อง
.
เพราะเรื่อง ‘ประชาธิปไตย’ ไม่ใช่เรื่องที่จะมองข้ามได้ในเกาหลีใต้ โดนวิพากษ์วิจารณ์มาตั้งแต่ก่อนออนแอร์ในโทรทัศน์สำหรับซีรีส์เรื่อง ‘Snowdrop’ ที่โดนดราม่ามาตั้งแต่ปล่อยตอนแรกว่ามีเนื้อหาบิดเบือนประวัติศาสตร์ จนนำมาสู่การล่ารายชื่อเพื่อถอดถอนซีรีส์ดังในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
.
ประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และสำคัญอย่างไรกับคนเกาหลีใต้ The MATTER จะมาสรุปให้ฟัง
.
1. ซีรีส์เรื่อง Snowdrop เล่าถึงเหตุการณ์ ปี 1987 ซึ่งเป็นปีที่มีความสำคัญอย่างมากสำหรับประวัติศาสตร์ชาติเกาหลี เนื่องจากมีเหตุการณ์นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งอย่างโปร่งใส
.
ซึ่งระหว่างเรียกร้อง กลุ่มนักศึกษาต้องต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ เจ้าหน้าที่ของรัฐเหล่านี้อ้างว่า นักศึกษาที่ออกมาชุมนุมเป็นสายลับที่เข้ามาสืบข้อมูลในชาติ เพื่อเป็นเหตุผลในการกำจัด ทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น
.
(อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์เกาหลีใต้บอกไว้ว่า ในเหตุการณ์ครั้งนั้นมีสายลับปลอมเป็นนักศึกษาเพื่อหาข้อมูลจริง ซึ่งจุดนี้เองที่ไปสอดคล้องกับเรื่องราวในซีรีส์ Snowdrop)
.
แม้เหตุการณ์ ปี 1987 จะเริ่มต้นด้วยความรุนแรง แต่ท้ายที่สุดความพยายามของเหล่านักศึกษาก็ไม่สูญเปล่า เพราะเกาหลีใต้ได้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการได้สำเร็จในปีเดียวกับ ขณะที่นักศึกษาที่ออกมาประท้วงก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ปูเส้นทางประชาธิปไตยในประเทศ
.
2. ตัดภาพกลับมาที่เรื่องราวใน Snowdrop จะดำเนินเรื่องโดย 2 ตัวละครหลัก คือ 'อิมซูโฮ' ชายหนุ่มที่มาพบกับ 'อึนยองชู' นักศึกษาพยาบาลในสภาพโชกเลือด โดยอิมซูโฮ หลอกอึนยองชูว่าตัวเองเป็นนักศึกษาที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐทำร้าย ก่อนจะมาเฉลยตอนท้ายตัวเองเป็นสายลับ ซึ่งทั้ง 2 ตัวละครนั้นมีการอ้างถึงบุคคลนักศึกษาที่มีชีวิตจริงและเป็นหนึ่งในผู้ออกไปประท้วง
.
3. นับตั้งแต่มีการปล่อยเรื่องย่อของ Snowdrop ออกมาเมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2564 ก็เริ่มเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบว่า ซีรีส์เรื่องนี้จงใจบิดเบือนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ และบิดประเด็นของเรื่องให้ไปโฟกัสที่ความรักระหว่างคู่เอกมากกว่าสถานการณ์ของประเทศ รวมถึงสร้างภาพจำที่ผิดให้กับบุคคลที่เคยมีตัวตนในประวัติศาสตร์ จนมีการล่ารายชื่อกว่า 2 แสนคนบนเว็บไซต์ของทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลีใต้ เพื่อเรียกร้องให้มีการยุติการถ่ายทำซีรีส์เรื่องนี้
.
4. หลังกระแสวิพากษ์วิจารณ์เริ่มรุนแรง JTBC สถานีโทรทัศน์ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ฉายซีรีส์เรื่องดังกล่าวก็ยอมออกมาชี้แจงว่า ตัวละครหลักไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ พร้อมเปิดเผยเนื้อหาหลักของเรื่อง **(spoil alert!)** ว่า อิมซูโฮ ไม่ใช่สายลับ แต่เป็นชาวเกาหลีเหนือที่หนีออกประเทศ เพราะถูกตามล่าหลังพยายามจะปฏิรูประบบของสำนักงานความมั่นคงของประเทศ
.
นอกจากนี้ ซีรีส์ยังตัดสินใจเปลี่ยนชื่ออึนยองชู นางเอกของเรื่อง เพื่อไม่ให้คล้ายคลึงกับบุคคลที่เคยมีชีวิตจริงในประวัติศาสตร์
.
5. หลังจากนั้นกระแสต่อต้านก็ค่อยๆ จางลง ก่อนจะกลับเป็นเรื่องราวใหญ่โตอีกครั้ง หลังเมื่อวันที่ 18 ธันวาคมที่ผ่านมา Snowdrop ตอนแรกได้เริ่มออนแอร์ที่ช่อง JTBC ซึ่งผู้ชมสังเกตว่าซีรีส์มีการนำเอาเพลง ‘Sola Blue Sola’ ซึ่งเป็นเพลงที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ชาติ มาเปิดในฉากที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยข่าวกรองกำลังปฏิบัติหน้าที่ต่อต้านประชาธิปไตย ซึ่งชาวเกาหลีใต้มองว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
.
จึงเริ่มมีการล่ารายชื่อเพื่อถอดถอนซีรีส์เรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 19 ธันวาคม ซึ่งหลังเปิดแคมเปญเพียงวันเดียว ก็มีผู้ลงชื่อร่วมสนับสนุนทะลุ 200,000 รายชื่ออย่างรวดเร็ว
.
6. กลุ่มผู้คัดค้านได้ระบุในคำร้องถอดถอนซีรีส์ว่า ก่อนหน้านี้ มีการล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องให้ยุติการถ่ายทำซีรีส์เรื่องนี้มาแล้ว และมีผู้ลงชื่อสนับสนุนกว่า 200,000 คน แต่ทางผู้ผลิตอ้างว่า ตัวละครหลักของเรื่องไม่ได้เกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย แต่ภาพที่ฉายในตอนที่ 1 กลับตรงกันข้าม เพราะนางเอกเข้าใจผิดว่าอิมซูโฮ พระเอกของเรื่องเป็นแกนนำนักศึกษา และช่วยชีวิตเขาเอาไว้
.
7. Snowdrop ไม่เพียงแต่โดนกระแสแบนจากประชาชนเท่านั้น แต่สปอนเซอร์และโฆษณาต่างๆ ก็เริ่มทยอยถอนตัวออกจากซีรีส์เรื่องดังกล่าว หลังกระแสต่อต้านเริ่มแรงขึ้น Ssarijai บริษัทผลิตภัณฑ์เค้กข้าวได้โพสต์ข้อความขอโทษลงในเว็บไซต์ออฟฟิเชียลว่า
.
“ขออภัยสำหรับการสนับสนุนซีรีส์ S.wdrop เราเพิ่งเห็นรายชื่อนักแสดงรวมถึงพล็อตละคร และยืนยันว่าจะยุติการสนับสนุนทันทีที่ทราบว่าซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์รวมถึงพยายามสร้างความชอบธรรมให้การทรมานและสังหารนักศึกษา” ซึ่งนอกจาก Ssarijai ยังมีอีกหลายแบรนด์ เช่น บริษัทเครื่องปั้นดิน Dopyeong-Yo บริษัทชา Teazen และอีกหลายบริษัทออกมาขอโทษต่อการสนับสนุนซีรีส์เรื่องนี้
.
8. หลังเป็นกระแสมาครึ่งสัปดาห์ ล่าสุด JTBC ก็ได้ออกแถลงการณ์แล้ว โดยยืนยันว่า ตัวละครหลักของเรื่องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 1987 แต่ทางบริษัทเข้าใจถึงความกังวลใจของประชาชนในประเด็นบิดเบือนประวัติศาสตร์ และเนื้อหาที่ทุกคนเป็นกังวลจะได้รับการคลี่คลายในอนาคต
.
JTBC ยังบอกอีกว่า บริษัทไม่สามารถเปิดรายละเอียดเรื่องราวที่เหลือของซีรีส์เพิ่มได้ แต่ขอให้ผู้ชมติดตามดูพัฒนาการของตัวละครหลังจากนี้ และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าบริษัทพร้อมรับฟังความเห็นทุกประการ จะมีการเปิดหน้าต่างแชทแบบเรียลไทม์เว็บไซต์ไว้ตลอด
.
หลังจากนี้คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่าซีรีส์ Snowdrop จะได้ออกอากาศต่อไปไหม และชาวเกาหลีใต้จะให้โอกาสซีรีส์เรื่องนี้อีกหรือไม่ เพราะประเด็นเรื่องประชาธิปไตยในเกาหลีใต้นั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่คนทุกวัยให้ความสำคัญเสมอมา
.
(อ่านสาเหตุเพิ่มเติมว่าทำไมคนเกาหลีใต้ถึงหวงแหนประชาธิปไตยได้ที่ : https://thematter.co/brief/161947/161947 )
.
.
อ้างอิงจาก
https://www.allkpop.com/.../various-advertising-and...
https://www.soompi.com/.../jtbc-releases-new-statement...
https://www.koreaboo.com/.../petition-stop-broadcast.../
http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20210412000862
#Recap #TheMATTER