วันอังคาร, ธันวาคม 07, 2564

ความ(ไม่)เท่าเทียม ไทย..ครองแชมป์


พงษ์ศักดิ์ เกษมพันธ์
December 5, 2018 ·

ความ(ไม่)เท่าเทียม
ไทย..ครองแชมป์ประเทศที่ “รวยกระจุก” ในรายงาน ของ Credit Suisse Wealth Report ประจำปี 2018
คนรวยที่สุด 1% ในประเทศไทย ถือครองทรัพย์สินฯทั้งหมด คิดเป็น 66.9% แชมป์เก่า-รัสเซีย ลดลง เหลิอ 57.1% อินเดีย 51.5%
และ..สินทรัพย์ในประเทศไทยเกือบ 80% เป็นของคนรวย 5%
...
ความเหลื่อมล้ำในด้านการกระจายความมั่งคั่งไปสู่คนส่วนใหญ่
เหตุเพราะคนรวย(แม่ง)โคตรเก่ง+รัฐบาล(แม่ง)โคตรเฮงซวย
...
ความเหลื่อมล้ำ เป็นธรรมชาติของทุกสังคม
มันทำให้เกิดแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ ที่จะแข่งขันกัน
แต่..เหลื่อมล้ำกันมากๆ..จะเป็นปัญหา
มันบิดเอนการปกครอง(อ้างประชาธิปไตย) ทำเพื่อประโยชน์คนบางกลุ่ม
(แบบที่ คสช.ไม่ผ่าน กม.ภาษีที่ดิน และมรดก)
...
ธรรมชาติระบบทุนนิยม ไม่สามารถแก้ไขตัวมันเองให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้นได้
ความเหลื่อมล้ำ และ.ความมั่งคั่งส่วนเกิน จะเป็น “ดินพอกหางหมู”
รวยเอาๆๆๆ..จนก็เป็น “ดินพอกหางหมู”..จนเอาๆๆๆ
...
“ทุกคน..เกิดมาอย่างเท่าเทียมกัน”
มันเป็นอุดมคติ เท่าๆกับเป็นความมุ่งมั่นระดับบุคคล
แต่..ความสามารถของคนไม่เท่ากัน บรรพบุรุษของเราเลยรวย-จนต่างกัน
มาถึงรุ่นลูกหลานเหลนโหลน
เลยรวย-จนต่างกัน..ซะแล้ว
รัฐบาล..จึงต้องคอยดูแลแก้ไข..เสมอต้นเสมอปลาย
หาวิธีกระจายความมั่งคั่งไปสู่คนส่วนใหญ่..ทำไง?
เก็บภาษีคนรวยมากกว่าคนจน..แบบไหน?
...
ความเหลื่อมล้ำมันลดทอนอุดมคติดีๆหลายอย่าง
ปัญหาคือ."ช่องว่าง"ของความไม่เท่าเทียมกันหลายเรื่อง
มันถ่างห่างจากกันแค่ไหน?
และมีวิธีการใด? ที่จะลดความเหลื่อมล้ำให้"เอื้อมถึง"กัน
ถ้า..ไม่มี..
สังคมก็กระเถิบเข้าใกล้จุดถล่ม-ล่มสลาย
คนรวยโคตรเก่ง+รัฐบาลโคตรเฮงซวย
ตายแน่ๆ..แม่มึง..(ฮา)