ไทยไม่ได้มี "เด็กยากไร้" แค่ 109 คนค่า #พี่ตูน ความจริงคือเด็กยากจนมีกว่า 2.1 ล้านคนหรือคิดเป็น 29.9% ของเด็กนักเรียน ถูกรัฐ "ทำให้ยากไร้" เข้าไม่ถึงการศึกษาเพราะครอบครัวมีรายได้ไม่พอจะส่งเสีย ทั้งๆที่บอกว่าเรียนฟรี แต่กลับมีค่าใช้จ่ายเต็มไปหมด แก้รธน. มีรัฐสวัสดิการง่ายกว่ามั้ย? pic.twitter.com/4W9F5UcRbb
— We Fair. (@wefairnetwork) December 21, 2021
We Fair
May 20 ·
จะรวยจริงหรือจนทิพย์ ทุกคนก็ต้องได้สิทธิ์เรียนฟรี!
.
การศึกษาเป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กทุกคนที่จะได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพไปตามช่วงวัย แต่ทำไมประเทศเรายังมีปัญหาเด็กเรียนดีแต่ไม่ได้เรียนต่อ ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ต้องทำงานส่งตัวเองเรียน ต้องเป็นหนี้หลังจบ หรือต้องพิสูจน์ตัวเองขนาดไหนถึงจะได้ทุนเรียน? การศึกษาคือการลงทุนเพราะทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า ไม่ต้องบริจาค ไม่ต้องมีดราม่า เมื่อการเรียนฟรีอย่างมีคุณภาพสร้างได้ด้วยรัฐสวัสดิการ! ลองมาดูกันว่า รัฐสวัสดิการกับการศึกษาจะเป็นไปได้อย่างไร
.
WE FAIR ได้จัดทำชุดข้อเสนอรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า 9 ข้อที่จะมาช่วยดูแลสมาชิกในสังคมอย่างครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย ทุกความหลากหลาย ย้อนดูข้อ 1 ได้ที่ https://www.facebook.com/wefairwelfare/posts/967763607374748
.
#WeFair #รัฐสวัสดิการเป็นไปได้ #เรียนฟรีไม่ทิพย์
สภาพปัจจุบัน
.
• การศึกษาภาคบังคับตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้เด็กเรียนฟรี 12 ปี แต่ก็ยังต้องมีค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบ ค่าเรียนหลักสูตรพิเศษ ฯลฯ ซึ่งในครอบครัวยากจนต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษามากถึง 22% ของรายได้
.
• นักเรียนจำนวนมากต้องกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ในการเรียนต่อระดับที่สูงขึ้น โดยมีเงื่อนไขมากมายในการรับสิทธิ์ เช่น การพิสูจน์ความยากจนที่ครอบครัวต้องมีรายได้ไม่เกิน 360,000 บาท/ปี หรือการบังคับทำกิจกรรมจิตอาสา ปัจจุบันมีนักเรียนที่เข้าสู่ระบบกู้ยืมเพื่อการศึกษามากถึง 5.6 ล้านคน โดยครอบครัวที่ยากจนที่สุด สามารถเข้าถึงการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย/ปวส. ได้เพียงแค่ 4%
.
• เยาวชนส่วนมากเรียนจบแค่ชั้นม.3 ด้วยเงื่อนไขทางการเงิน ทำให้การพัฒนาศักยภาพหยุดชะงัก กลายเป็นแรงงานไร้ทักษะฝีมือ ทางเลือกประกอบอาชีพลดลง และกลายเป็นการส่งต่อความยากจนเพราะขาดโอกาสในการเรียนต่อระดับสูง
.
• หลักสูตรการเรียนภาคบังคับไม่ทันสมัยและเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มาตรฐานแต่ละโรงเรียนต่างกัน เด็กต้องไปเรียนพิเศษเพิ่ม บรรยากาศในห้องเรียนไม่เอื้อต่อการคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือการมีส่วนร่วมของทุกคน
.
ข้อเสนอ
.
• ผลักดันนโยบายเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี สำหรับเยาวชนทุกคนในประเทศอย่างเสมอภาค เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาระดับสูงมากยิ่งขึ้น
.
• ยกเลิกการพิสูจน์ความจนและการกู้ยืมเงินเพื่อเล่าเรียน เมื่อทุกคนสามรถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องมีหนี้หลังเรียนจบ
.
• สนับสนุนให้เยาวชนเรียนในสิ่งที่ชอบ ตระหนักถึงความสามารถตนเอง และผลักดันการพัฒนาศักยภาพ เพื่อลดแรงงานไร้ทักษะหรือแรงงานที่ทำงานไม่ตรงกับทักษะความสามารถที่เรียนมา
.
• ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนและพัฒนาบุคลากรในโรงเรียนให้สอดคล้องและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เน้นหลักสูตรที่จำเป็น ใช้ได้จริง และมีประสิทธิภาพเป็นมาตรฐานเดียวกันทุกโรงเรียน สร้างบรรยากาศห้องเรียนให้เอื้อต่อการคิด วิเคราะห์ และพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันมากขึ้น
แนวทาง
.
• ควรมีกลไกควบคุมราคาค่าหน่วยกิต พัฒนาหลักสูตร และสร้างแนวทางสู่การเรียนฟรี เพราะหลังจากที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปลี่ยนสภาพการบริหารแยกขาดจากระบบราชการ ก็มีการเก็บค่าหน่วยกิตการศึกษาในราคาสูง
.
• ปรับลดงบประมาณด้านบุคลากร ซึ่งมีมากถึง 63% จากงบประมาณกระทรวงศึกษาธิการ หรือ 65.4% จากงบประมาณที่รัฐสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไทย แล้วนำมาจัดสรรเพิ่มศักยภาพพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนตามช่วงวัย
.
• นำงบประมาณกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มาจัดสรรใหม่ กระจายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาให้เด็กทุกคนอย่างทั่วถึงยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องมีเงื่อนไขมาจำกัดการเข้ารับสิทธิ์