way magazine
16h ·
“อีดอกตายแล้ว” (The Bitch is Dead)
ข้อความบนป้ายผ้าที่ปรากฏขึ้นทันทีหลังจากข่าวการเสียชีวิตของ มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) นายกรัฐมนตรีหญิงเหล็กและศัตรูคู่แค้นของสหราชอาณาจักร ถูกแพร่สู่สาธารณชน
ในเวลาไม่นานมีการรวมตัวกันตามท้องถนนเพื่อเฉลิมฉลองการตายของแธตเชอร์ ข้อความสาปแช่งอีกจำนวนมากปรากฏขึ้นตามมา “จงเน่าตายไปในนรกซะ” (Rot in Hell) “หญิงเหล็กงั้นเหรอ? ผุพังอย่างสุคติไปเถอะ” (Iron Lady? Rust in Peace) คือตัวอย่าง
ภายใต้คำด่าทอต่อผู้ตายเหล่านี้ซ่อนความหมายอะไรไว้ บทสำรวจนี้ได้คำตอบว่า คือการเพรียกหาความยุติธรรม
ภายใต้คำสาปแช่งต่อผู้ตายเหล่านี้ซ่อนความหมายอะไรไว้อีก บทสำรวจนี้ได้คำตอบว่า คือการเรียกร้องความรับผิดชอบของผู้ตาย
ทำไมกิจกรรมเหล่านี้สามารถทำได้เป็นล่ำเป็นสันในสังคมตะวันตก แต่ในไทยกลับทำได้เพียงสงบเสงี่ยม บทสำรวจนี้เห็นว่า เป็นเพราะความต่างทางชุดวิธีคิด ที่สังคมหนึ่งโตมากับจารีตแบบคริสต์ศาสนาที่เชื่อในความเลวของมนุษย์ ส่วนอีกสังคมหนึ่งโตมากับจารีตแบบ ‘คนดี’ ที่ไม่ต้องการเหตุผล ความชอบธรรม หรือความรับผิดชอบต่อการกระทำใดๆ
---
เราควรกล่าวถ้อยคำใดแก่ผู้วายชนม์: สำรวจความหมายในคำสรรเสริญหรือสาปแช่ง
https://waymagazine.org/mourning-for-the-deceased/
text: อภิสิทธิ์ เรือนมูล