https://www.facebook.com/jua.rattanapan/posts/1238917929911324
Jua Rattanapan
October 14 at 6:34 AM ·
14 ตุลาคม
วันประชาธิปไตย
.........................
มีความรู้สึกขัดเคืองขุ่นใจกับคณะผู้จัดงาน รำลึกถึงวีรชน 14 ตุลาคม 2516 เหตุเพราะ คณะกรรมการจัดงาน ห้ามไม่ให้กลุ่มเยาวชนปลดแอก กลุ่มเยาวชนทะลุฟ้า น้องๆจากธรรมศาสตร์และอีกหลายมหาวิทยาลัยนำป้ายที่เขียนคำขวัญการเมืองไปติดในบริเวณงาน โดยอ้างว่าไม่สอดคล้องเหมาะสมกับเจตนารมณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม
อาทิเช่น คำว่า
“ที่ใดมีเผด็จการ ที่นั่นมีการต่อสู้”
“เราต้องการรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”
“พวกเราคือนักสู้ ไม่ใช่นักโทษ”
“แค่ต้องการประชาธิปไตยเป็นขบถหรือ” รวมถึง
“ปฏิรูปสถาบัน”
ในบริบทของความเหล่านี้ มีอะไรที่บ่งบอกว่าไม่เป็นไปตามความคิดเเละหลักการประชาธิปไตย ?
คณะกรรมการจัดงานชุดนี้ คุมเจตนารมณ์ของวีรชน 14 ตุลาคมไว้ยาวนานพอๆกับแนวคิดเจตนารมณ์ของคณะรัฐประหาร คสช.ที่ต้องการควบคุมประเทศและประชาชน 20ปี จนทำให้พวกตนซึมซับกลายตนเป็นชาวอนุรักษ์นิยมแบบไทยไปแล้ว
แทนที่จะต้อนรับคนรุ่นใหม่ ที่คิดอะไรใหม่ๆเกี่ยวกับอนาคตของเขา คณะกรรมการจัดงานกลับไปต้อนรับพวงหรีดจากสำนักนายกรัฐมนตรี(พล.อ ประยุทธ์ ) พวงหรีดฝ่ายความมั่นคง ซึ่งองค์กรของรัฐเหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีส่วนร่วมกับการเข่นฆ่าประชาชนครั้ง 14 ตุลาคม
การมาร่วมงานขององค์กรเหล่านี้ตามความเป็นจริงก็ควรมาร่วมเพราะถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาดของรัฐที่ลงมือทารุณประชาชนและควรมาร่วมทุกปีพร้อมทั้งควรจะสารภาพผิดและขอโทษดวงวิญญาณของวีรชนที่ได้ถูกอำนาจรัฐเผด็จการยุคนั้นได้กระทำความผิดพรากชีวิตเขาไป เช่นเดียวกับกรณีจีน-ญี่ปุ่น ที่นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าวขอโทษประเทศจีนและประชาชนจีนในกรณีรุกรานเข่นฆ่า ข่มขืนประชาชนจีนตายไปหลายล้านคน
14 ตุลาคม 2516 คือวันประชาธิปไตยของประชาชน อย่าพานพาออกนอกเส้นทาง
เคารพเจตนารมณ์ของวีรชนก็คือการเคารพภารกิจให้คนรุ่นใหม่ครับ
ปีหน้าปีใน ให้คนรุ่นใหม่เขาจัดกันเถอะ เป็นกรรมการจนถึงวันตายไม่เหมาะ คนรุ่นเราอายุอานามเหมาะไปเป็นกรรมการสมาคมฌาปนกิจได้แล้ว
14 ตุลาคม วันนี้ มีแค่นี้แหละ
ขุนจัน พันนา
The Momentum
October 14 at 7:00 AM ·
ความสนใจบทบาท ‘สถาบันฯ’ ที่เปลี่ยนไป
ผู้นำนักศึกษาเปลี่ยนเป็น ‘ฝ่ายขวา’
สาเหตุงานรำลึก 14 ตุลาฯ เงียบเหงา
.
วันนี้ เมื่อ 48 ปีก่อน 14 ตุลาคม 2516 คนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้าน และสร้างประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างมากในการเมืองไทย เมื่อพลังนักศึกษาและประชาชน ได้ทำการขับไล่จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร ออกนอกประเทศ พร้อมกับโค่นล้มระบอบเผด็จการทหารที่ปกครองสืบเนื่องยาวนานกว่า 16 ปี
.
ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์หน้านี้ก็ได้สร้างแรงกระเพื่อม การตื่นตัวทางการเมืองของสังคมไทยในวงกว้าง และการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพหลังจากถูกกดทับมาอย่างยาวนาน จนปฏิเสธไม่ได้เลยว่า 14 ตุลาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ รวมไปถึงการลุกฮือของขบวนการนักศึกษาเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 จนถูกล้อมปราบในที่สุด
.
แต่ปีนี้ 14 ตุลาฯ แทบไม่ได้ถูกพูดถึง งานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ที่อนุสรณ์สถานสี่แยกคอกวัวเป็นไปอย่างเงียบเหงา ตรงกันข้ามกับการจัดงานรำลึก 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่สี่แยกคอกวัว หนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า
.
แล้วทำไม 14 ตุลาฯ ถึงเงียบเหงา? The Momentum แลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นนี้ กับ ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ผู้คลุกคลีกับประวัติศาสตร์การเมือง เพื่อสะท้อนถึงสถานะและความสำคัญของ 14 ตุลาฯ ที่เปลี่ยนไป
.
• หากพูดถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เดือนตุลา 14 ตุลาฯ มักเป็นวาระหลักเสมอ มีอนุสรณ์สถาน มีการจัดงานรำลึก แต่ในช่วงที่ผ่านมา เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ กลับถูกพูดถึงมากขึ้น ขณะที่เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ กลับถูกพูดถึงน้อยลง คุณมองเรื่องนี้อย่างไร
.
“มันมีจุดหนึ่งที่ทำให้เกิดความสนใจในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ในวงกว้างคือ งานครบรอบ 20 ปี 6 ตุลาคม ในปี 2539 เป็นงานใหญ่ เลยส่งผลให้เกิดการพูดถึงและผลิตงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็น 6 ตุลาฯ หรือ 14 ตุลาฯ ก็มีการพูดอธิบายถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะงานวิชาการในช่วงหลังๆ เช่น งานของอาจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผมมองว่าสถานะความสำคัญของ 14 ตุลาฯ ไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่ที่ความสนใจ และมิติทางการเมืองของแต่ละเหตุการณ์มากกว่า
.
“14 ตุลาฯ จะเป็นการพูดถึงบทบาททางสถาบันกษัตริย์ที่เรียกว่าเฟื่องฟูขึ้น เนื่องจากเข้ามาเป็นกลไกหนึ่งในกระบวนการล้มลงของเผด็จการทหารในขณะนั้น ขณะที่ 6 ตุลาฯ ก็เป็นเรื่องราวที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นกระบวนการทำร้ายนักศึกษาจากฝ่ายขวาที่ได้รับแรงบันดาลใจ หรือจุดประสงค์เพื่อการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และบทบาทของพระมหากษัตริย์ก็เริ่มชัดเจนมากขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
.
“ถ้าคุณรู้สึกสนใจบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่เข้ามาแทรกแซงการเมือง หรือการใช้สถาบันกษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง คุณก็จะสนใจเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากกว่า ในความคิดเห็นของผมมองว่า ท่าทีการเมือง ความสนใจระหว่างทั้งสองเหตุการณ์ มันขึ้นอยู่กับแง่ความสนใจของแต่ละคน มันคงไม่สามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์ไหนสำคัญกว่ากัน
.
“อีกประเด็นหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ต่อให้ทั้งสองเหตุการณ์เป็นเรื่องคนเดือนตุลาฯ หรืออะไรก็ตาม แต่ผู้นำของขบวนการ 14 ตุลาฯ จำนวนหนึ่งก่อนหน้านี้ก็กลายเป็นพวกฝ่ายขวา สนับสนุนรัฐประหาร หรือให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร สิ่งนี้เลยทำให้คนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมืองรู้สึกค่อนข้างผิดหวัง เลยทำให้เขาเหล่านี้หันกลับไปไกลกว่านั้น เช่น หันกลับไปศึกษา 2475 ในฐานะตัวแทนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย”
.
• ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือของ 14 ตุลาฯ
.
“มีเยอะมาก แต่ต้องบอกว่านี่คือครั้งแรกของการเมืองไทย ต่อให้คุณล้มสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปแล้ว แต่ในทางการเมืองมันยังเป็นกลุ่มทางการเมืองเดิมอยู่
.
“ผมคิดว่า 14 ตุลาฯ มันเกิดขึ้นในบริบทเผด็จการทหารที่ยาวนานมาก ถ้านับจากยุคของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2500 หรือแม้กระทั่งการกลับมาของคณะรัฐประหารปี 2490 มันก็คือกลุ่มเดียวกันกับปี 2500 มันแค่แตกแยกกันออกมาสองกลุ่ม ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2500-2516 มันคือกลุ่มเดียวกัน
.
“คุณจะนับว่าเป็น 16 ปี หรือ 26 ปี ของเผด็จการทางทหารก็แล้วแต่ มันก็เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานของกลุ่มขุนศึก แต่แล้วอยู่ๆ มันมาพังในเวลาไม่กี่วัน คุณจะอธิบายเรื่องนี้ว่ามันเป็นปัจจัยที่ชนชั้นนำทะเลาะกันอะไรก็แล้วแต่ แต่การที่คนไทยตอนนั้นมีประชากรประมาณ 40 ล้านคน แต่ที่กรุงเทพฯ หรือหัวเมืองตามจังหวัดต่างๆ ออกมาชุมนุมลงท้องถนนอย่างน้อย 5 แสนคน ผมมองว่ามันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก
.
“ลองนึกภาพง่ายๆ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2516 ยังไม่มีใครคิดภาพออกเลยด้วยซ้ำว่าจะล้มระบอบการปกครอบทหารลงได้อย่างไร ดังนั้นมันจึงยิ่งใหญ่มาก ถ้ามองในระบบโลกมันเป็น Uprising
.
“หลังจากนั้น ทั้งโลกมีการต่อต้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เวียดนาม หรือที่กรีกมีการล้มเผด็จการทหาร และเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มอบแรงบันดาลใจ หลังจากนั้น 14 ตุลาฯ ยังปลุกการต่อสู้ การตื่นตัวทางการเมือง และสิ่งต่างๆ ที่เคยถูกระบอบเผด็จการกดทับมันก็ระเบิดออกมา จึงทำให้ฝ่ายขวาต้องยุติแรงกระเพื่อมเหล่านี้ด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลาคมในอีก 3 ปีถัดมา”
.
• ในขณะเดียวกันก็มีคำโต้แย้งเสมอว่า 14 ตุลาฯ ไม่ใช่ชัยชนะของนักศึกษา และประชาชน แต่เป็นการแตกคอกันเองของคณะผู้ปกครอง คุณมองเรื่องนี้อย่างไร
.
“การแตกกันของคณะผู้ปกครองมันเป็นเรื่องที่แตกกันทุกครั้งอยู่แล้ว ตอนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็แตกกัน และกลายเป็นเผด็จการอีกกลุ่ม เพราะชนชั้นนำไม่ได้สามัคคีกันหรอก แต่คุณลองมองว่าถ้าไม่มีปัจจัยของการลงถนนชุมนุมกันเป็นแสนเป็นล้านออกมาประท้วง นั่นเลยทำให้เผด็จการทหารอยู่ไม่ได้ แม้ว่ากลุ่มชนชั้นนำจะมีการชิงดีชิงเด่นกันอยู่เสมอ แต่จุดชี้ขาดมันอยู่ตรงการชุมนุม ถ้าไม่มีคนออกมาเป็นแสนมาไล่ เผด็จการมันก็อยู่ต่อ มากที่สุดคือมีการเปลี่ยนกลุ่ม ไม่ต่างจากการรัฐประหาร 2490 ที่เปลี่ยนกลุ่มการเมืองจากสามเส้า เป็นการเมืองเส้าเดียว เอา จอมพล ป. ออกไป ก็เหลือกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มันก็คือกลุ่มขุนศึก กลุ่มเดียวกัน แบบนี้จะไม่เรียกว่าเป็นคุณูปการของนักศึกษา และประชาชนได้อย่างไร”
.
• สิ่งที่น่าค้นหาและศึกษาต่อในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ
.
“ผมมองว่าสิ่งที่น่าค้นหาศึกษาคือกลุ่มต่างๆ ในช่วง 14 ตุลาฯ มีกลุ่มเยอะแยะมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเมือง ยังมีกลุ่มอีกมากที่อยู่ในต่างจังหวัด ที่เข้ามาเป็นความเคลื่อนไหวทางความคิด และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ประวัติศาสตร์ยังมีอะไรอีกเยอะที่ต้องศึกษา”
.
• หนังสือเล่มไหนที่ควรอ่าน หากใครต้องการศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เพิ่มเติม
.
“1. และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรม ของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ, ประจักษ์ ก้องกีรติ
2. ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง: ว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่, ธงชัย วินิจจะกูล
3. ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา, เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน
4. 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง: ว่าด้วย 6 ตุลา 2519, ธงชัย วินิจจะกูล
5. การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน : ชาวนา นักศึกษา กฎหมาย และความรุนแรง ในภาคเหนือของไทย, ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น”
.
เรื่อง: พาฝัน หน่อแก้ว
ภาพ: ฐิตินันท์ เสมพิพัฒน์
.
#TheMomentum #StayCuriousBeOpen #14ตุลา #เผด็จการ #48ปีตุลา #ฟ้าเดียวกัน #สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
Jua Rattanapan
October 14 at 6:34 AM ·
14 ตุลาคม
วันประชาธิปไตย
.........................
มีความรู้สึกขัดเคืองขุ่นใจกับคณะผู้จัดงาน รำลึกถึงวีรชน 14 ตุลาคม 2516 เหตุเพราะ คณะกรรมการจัดงาน ห้ามไม่ให้กลุ่มเยาวชนปลดแอก กลุ่มเยาวชนทะลุฟ้า น้องๆจากธรรมศาสตร์และอีกหลายมหาวิทยาลัยนำป้ายที่เขียนคำขวัญการเมืองไปติดในบริเวณงาน โดยอ้างว่าไม่สอดคล้องเหมาะสมกับเจตนารมณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม
อาทิเช่น คำว่า
“ที่ใดมีเผด็จการ ที่นั่นมีการต่อสู้”
“เราต้องการรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน”
“พวกเราคือนักสู้ ไม่ใช่นักโทษ”
“แค่ต้องการประชาธิปไตยเป็นขบถหรือ” รวมถึง
“ปฏิรูปสถาบัน”
ในบริบทของความเหล่านี้ มีอะไรที่บ่งบอกว่าไม่เป็นไปตามความคิดเเละหลักการประชาธิปไตย ?
คณะกรรมการจัดงานชุดนี้ คุมเจตนารมณ์ของวีรชน 14 ตุลาคมไว้ยาวนานพอๆกับแนวคิดเจตนารมณ์ของคณะรัฐประหาร คสช.ที่ต้องการควบคุมประเทศและประชาชน 20ปี จนทำให้พวกตนซึมซับกลายตนเป็นชาวอนุรักษ์นิยมแบบไทยไปแล้ว
แทนที่จะต้อนรับคนรุ่นใหม่ ที่คิดอะไรใหม่ๆเกี่ยวกับอนาคตของเขา คณะกรรมการจัดงานกลับไปต้อนรับพวงหรีดจากสำนักนายกรัฐมนตรี(พล.อ ประยุทธ์ ) พวงหรีดฝ่ายความมั่นคง ซึ่งองค์กรของรัฐเหล่านี้ล้วนเป็นผู้มีส่วนร่วมกับการเข่นฆ่าประชาชนครั้ง 14 ตุลาคม
การมาร่วมงานขององค์กรเหล่านี้ตามความเป็นจริงก็ควรมาร่วมเพราะถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่ผิดพลาดของรัฐที่ลงมือทารุณประชาชนและควรมาร่วมทุกปีพร้อมทั้งควรจะสารภาพผิดและขอโทษดวงวิญญาณของวีรชนที่ได้ถูกอำนาจรัฐเผด็จการยุคนั้นได้กระทำความผิดพรากชีวิตเขาไป เช่นเดียวกับกรณีจีน-ญี่ปุ่น ที่นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นกล่าวขอโทษประเทศจีนและประชาชนจีนในกรณีรุกรานเข่นฆ่า ข่มขืนประชาชนจีนตายไปหลายล้านคน
14 ตุลาคม 2516 คือวันประชาธิปไตยของประชาชน อย่าพานพาออกนอกเส้นทาง
เคารพเจตนารมณ์ของวีรชนก็คือการเคารพภารกิจให้คนรุ่นใหม่ครับ
ปีหน้าปีใน ให้คนรุ่นใหม่เขาจัดกันเถอะ เป็นกรรมการจนถึงวันตายไม่เหมาะ คนรุ่นเราอายุอานามเหมาะไปเป็นกรรมการสมาคมฌาปนกิจได้แล้ว
14 ตุลาคม วันนี้ มีแค่นี้แหละ
ขุนจัน พันนา
The Momentum
October 14 at 7:00 AM ·
ความสนใจบทบาท ‘สถาบันฯ’ ที่เปลี่ยนไป
ผู้นำนักศึกษาเปลี่ยนเป็น ‘ฝ่ายขวา’
สาเหตุงานรำลึก 14 ตุลาฯ เงียบเหงา
.
วันนี้ เมื่อ 48 ปีก่อน 14 ตุลาคม 2516 คนหนุ่มสาวเดินออกจากบ้าน และสร้างประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างมากในการเมืองไทย เมื่อพลังนักศึกษาและประชาชน ได้ทำการขับไล่จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ประภาส จารุเสถียร และพันเอก ณรงค์ กิตติขจร ออกนอกประเทศ พร้อมกับโค่นล้มระบอบเผด็จการทหารที่ปกครองสืบเนื่องยาวนานกว่า 16 ปี
.
ขณะเดียวกัน ประวัติศาสตร์หน้านี้ก็ได้สร้างแรงกระเพื่อม การตื่นตัวทางการเมืองของสังคมไทยในวงกว้าง และการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพหลังจากถูกกดทับมาอย่างยาวนาน จนปฏิเสธไม่ได้เลยว่า 14 ตุลาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ รวมไปถึงการลุกฮือของขบวนการนักศึกษาเมื่อ 6 ตุลาคม 2519 จนถูกล้อมปราบในที่สุด
.
แต่ปีนี้ 14 ตุลาฯ แทบไม่ได้ถูกพูดถึง งานรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ที่อนุสรณ์สถานสี่แยกคอกวัวเป็นไปอย่างเงียบเหงา ตรงกันข้ามกับการจัดงานรำลึก 45 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่สี่แยกคอกวัว หนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า
.
แล้วทำไม 14 ตุลาฯ ถึงเงียบเหงา? The Momentum แลกเปลี่ยนทัศนะในประเด็นนี้ กับ ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ผู้คลุกคลีกับประวัติศาสตร์การเมือง เพื่อสะท้อนถึงสถานะและความสำคัญของ 14 ตุลาฯ ที่เปลี่ยนไป
.
• หากพูดถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เดือนตุลา 14 ตุลาฯ มักเป็นวาระหลักเสมอ มีอนุสรณ์สถาน มีการจัดงานรำลึก แต่ในช่วงที่ผ่านมา เหตุการณ์ 6 ตุลาฯ กลับถูกพูดถึงมากขึ้น ขณะที่เหตุการณ์ 14 ตุลาฯ กลับถูกพูดถึงน้อยลง คุณมองเรื่องนี้อย่างไร
.
“มันมีจุดหนึ่งที่ทำให้เกิดความสนใจในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ ในวงกว้างคือ งานครบรอบ 20 ปี 6 ตุลาคม ในปี 2539 เป็นงานใหญ่ เลยส่งผลให้เกิดการพูดถึงและผลิตงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ไม่ว่าจะเป็น 6 ตุลาฯ หรือ 14 ตุลาฯ ก็มีการพูดอธิบายถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะงานวิชาการในช่วงหลังๆ เช่น งานของอาจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผมมองว่าสถานะความสำคัญของ 14 ตุลาฯ ไม่ได้หายไปไหน แต่อยู่ที่ความสนใจ และมิติทางการเมืองของแต่ละเหตุการณ์มากกว่า
.
“14 ตุลาฯ จะเป็นการพูดถึงบทบาททางสถาบันกษัตริย์ที่เรียกว่าเฟื่องฟูขึ้น เนื่องจากเข้ามาเป็นกลไกหนึ่งในกระบวนการล้มลงของเผด็จการทหารในขณะนั้น ขณะที่ 6 ตุลาฯ ก็เป็นเรื่องราวที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นกระบวนการทำร้ายนักศึกษาจากฝ่ายขวาที่ได้รับแรงบันดาลใจ หรือจุดประสงค์เพื่อการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และบทบาทของพระมหากษัตริย์ก็เริ่มชัดเจนมากขึ้นในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
.
“ถ้าคุณรู้สึกสนใจบทบาทของสถาบันกษัตริย์ที่เข้ามาแทรกแซงการเมือง หรือการใช้สถาบันกษัตริย์เป็นส่วนหนึ่งของความรุนแรง คุณก็จะสนใจเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ มากกว่า ในความคิดเห็นของผมมองว่า ท่าทีการเมือง ความสนใจระหว่างทั้งสองเหตุการณ์ มันขึ้นอยู่กับแง่ความสนใจของแต่ละคน มันคงไม่สามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์ไหนสำคัญกว่ากัน
.
“อีกประเด็นหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ต่อให้ทั้งสองเหตุการณ์เป็นเรื่องคนเดือนตุลาฯ หรืออะไรก็ตาม แต่ผู้นำของขบวนการ 14 ตุลาฯ จำนวนหนึ่งก่อนหน้านี้ก็กลายเป็นพวกฝ่ายขวา สนับสนุนรัฐประหาร หรือให้ความชอบธรรมกับการรัฐประหาร สิ่งนี้เลยทำให้คนรุ่นใหม่ที่สนใจการเมืองรู้สึกค่อนข้างผิดหวัง เลยทำให้เขาเหล่านี้หันกลับไปไกลกว่านั้น เช่น หันกลับไปศึกษา 2475 ในฐานะตัวแทนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย”
.
• ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือของ 14 ตุลาฯ
.
“มีเยอะมาก แต่ต้องบอกว่านี่คือครั้งแรกของการเมืองไทย ต่อให้คุณล้มสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปแล้ว แต่ในทางการเมืองมันยังเป็นกลุ่มทางการเมืองเดิมอยู่
.
“ผมคิดว่า 14 ตุลาฯ มันเกิดขึ้นในบริบทเผด็จการทหารที่ยาวนานมาก ถ้านับจากยุคของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2500 หรือแม้กระทั่งการกลับมาของคณะรัฐประหารปี 2490 มันก็คือกลุ่มเดียวกันกับปี 2500 มันแค่แตกแยกกันออกมาสองกลุ่ม ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2500-2516 มันคือกลุ่มเดียวกัน
.
“คุณจะนับว่าเป็น 16 ปี หรือ 26 ปี ของเผด็จการทางทหารก็แล้วแต่ มันก็เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานของกลุ่มขุนศึก แต่แล้วอยู่ๆ มันมาพังในเวลาไม่กี่วัน คุณจะอธิบายเรื่องนี้ว่ามันเป็นปัจจัยที่ชนชั้นนำทะเลาะกันอะไรก็แล้วแต่ แต่การที่คนไทยตอนนั้นมีประชากรประมาณ 40 ล้านคน แต่ที่กรุงเทพฯ หรือหัวเมืองตามจังหวัดต่างๆ ออกมาชุมนุมลงท้องถนนอย่างน้อย 5 แสนคน ผมมองว่ามันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก
.
“ลองนึกภาพง่ายๆ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2516 ยังไม่มีใครคิดภาพออกเลยด้วยซ้ำว่าจะล้มระบอบการปกครอบทหารลงได้อย่างไร ดังนั้นมันจึงยิ่งใหญ่มาก ถ้ามองในระบบโลกมันเป็น Uprising
.
“หลังจากนั้น ทั้งโลกมีการต่อต้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นที่เวียดนาม หรือที่กรีกมีการล้มเผด็จการทหาร และเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ ก็เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่มอบแรงบันดาลใจ หลังจากนั้น 14 ตุลาฯ ยังปลุกการต่อสู้ การตื่นตัวทางการเมือง และสิ่งต่างๆ ที่เคยถูกระบอบเผด็จการกดทับมันก็ระเบิดออกมา จึงทำให้ฝ่ายขวาต้องยุติแรงกระเพื่อมเหล่านี้ด้วยเหตุการณ์ 6 ตุลาคมในอีก 3 ปีถัดมา”
.
• ในขณะเดียวกันก็มีคำโต้แย้งเสมอว่า 14 ตุลาฯ ไม่ใช่ชัยชนะของนักศึกษา และประชาชน แต่เป็นการแตกคอกันเองของคณะผู้ปกครอง คุณมองเรื่องนี้อย่างไร
.
“การแตกกันของคณะผู้ปกครองมันเป็นเรื่องที่แตกกันทุกครั้งอยู่แล้ว ตอนจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็แตกกัน และกลายเป็นเผด็จการอีกกลุ่ม เพราะชนชั้นนำไม่ได้สามัคคีกันหรอก แต่คุณลองมองว่าถ้าไม่มีปัจจัยของการลงถนนชุมนุมกันเป็นแสนเป็นล้านออกมาประท้วง นั่นเลยทำให้เผด็จการทหารอยู่ไม่ได้ แม้ว่ากลุ่มชนชั้นนำจะมีการชิงดีชิงเด่นกันอยู่เสมอ แต่จุดชี้ขาดมันอยู่ตรงการชุมนุม ถ้าไม่มีคนออกมาเป็นแสนมาไล่ เผด็จการมันก็อยู่ต่อ มากที่สุดคือมีการเปลี่ยนกลุ่ม ไม่ต่างจากการรัฐประหาร 2490 ที่เปลี่ยนกลุ่มการเมืองจากสามเส้า เป็นการเมืองเส้าเดียว เอา จอมพล ป. ออกไป ก็เหลือกลุ่มจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ มันก็คือกลุ่มขุนศึก กลุ่มเดียวกัน แบบนี้จะไม่เรียกว่าเป็นคุณูปการของนักศึกษา และประชาชนได้อย่างไร”
.
• สิ่งที่น่าค้นหาและศึกษาต่อในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ
.
“ผมมองว่าสิ่งที่น่าค้นหาศึกษาคือกลุ่มต่างๆ ในช่วง 14 ตุลาฯ มีกลุ่มเยอะแยะมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในเมือง ยังมีกลุ่มอีกมากที่อยู่ในต่างจังหวัด ที่เข้ามาเป็นความเคลื่อนไหวทางความคิด และการเคลื่อนไหวทางการเมือง ประวัติศาสตร์ยังมีอะไรอีกเยอะที่ต้องศึกษา”
.
• หนังสือเล่มไหนที่ควรอ่าน หากใครต้องการศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ เพิ่มเติม
.
“1. และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฏ: การเมืองวัฒนธรรม ของนักศึกษาและปัญญาชนก่อน 14 ตุลาฯ, ประจักษ์ ก้องกีรติ
2. ประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่เหนือการเมือง: ว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่, ธงชัย วินิจจะกูล
3. ศึกษารัฐไทย ย้อนสภาวะไทยศึกษา, เบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน
4. 6 ตุลา ลืมไม่ได้ จำไม่ลง: ว่าด้วย 6 ตุลา 2519, ธงชัย วินิจจะกูล
5. การปฏิวัติที่ถูกตัดตอน : ชาวนา นักศึกษา กฎหมาย และความรุนแรง ในภาคเหนือของไทย, ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น”
.
เรื่อง: พาฝัน หน่อแก้ว
ภาพ: ฐิตินันท์ เสมพิพัฒน์
.
#TheMomentum #StayCuriousBeOpen #14ตุลา #เผด็จการ #48ปีตุลา #ฟ้าเดียวกัน #สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน
Thanapol Eawsakul
October 14 at 12:37 AM ·
48 ปี ประชาธิปไตยแบบหลัง 14 ตุลา
จากสัญญา ธรรมศักดิ์ ถึงประยุทธ์ จันทร์โอชา มรดกการเมืองชิ้นสุดท้ายที่ในหลวง ร.9 มอบให้กับการเมืองไทย
....................
14 ตุลา คือการเริ่มประชาธิปไตยแบบใหม่ แม้ว่าเผด็จการทหารที่ครองอำนาจมาอย่างยาวนานจะล่มสลายลง (ก่อนจะโต้กลับมาในอีก 3 ปี) พร้อม ๆ กับการเติบโตของการเมืองภาคประชาชน และสิทธิเสรีภาพที่ถูกกดทัยภายใต้ระบอบเผด็จการ แต่สถานะของสถาบันกษัตริย์โดยเฉพาะในหลวง ร.9 ก็สูงเด่นขึ้นมา
พระราชดำรัสผ่านโทรทัศน์ในคืนวันที่ 14 ตุลา พร้อม ๆ กับตั้งนายกพระราชทานสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นหลังปฏิวัติสยาม 2475
หลังจากนั้นในหลวง ร.ก็มี "นายกพระราชทาน" คนอื่น ๆ
เช่น
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
อานันท์ ปันยารชุน (สมัยที่ 2)
สุรยุทธ์ จุลานนท์ (องคมนตรี)
รวมทั้ง ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2527
ที่ในหลวงร. 9 ลงนามรับรองทั้งในฐษนะหัวหน้าคณะรัฐประหาร และนายกรัฐมตรี
จนกล่าวได้ว่า
ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือมรดกการเมืองชิ้นสุดท้ายที่ในหลวง ร.9 มอบให้กับการเมืองไทย