วันศุกร์, สิงหาคม 13, 2564

ฟัง วิโรจน์ ฉายเหตุผลทำไม ต้องเดินหน้าคัดค้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง! ผู้เกี่ยวข้องนโยบายวัคซีน ชี้แบบนี้ต้องขึ้นศาลเท่านั้น !


คนคุมนโยบายวัคซีน ต้องขึ้นศาลเท่านั้น! ฟังวิโรจน์แจงยิบ ทำไมต้องค้านนิรโทษเหมาเข่งให้กลุ่มคนพวกนี้!

Premiered Aug 8, 2021

มติชนสุดสัปดาห์ - MatichonWeekly

ประชาชนตายจำนวนมาก เด็กต้องกำพร้า เกิดจากการตัดสินใจที่ไม่สอดคล้องหลักวิชา! 
.
ฟัง วิโรจน์ ฉายเหตุ-ผลทำไม ต้องเดินหน้าคัดค้านนิรโทษกรรมเหมาเข่ง! ผู้เกี่ยวข้องนโยบายวัคซีน 
ชี้แบบนี้ต้องขึ้นศาลเท่านั้น! 

Wiroj Lakkhanaadisorn - วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
17h ·

[ความหน้าด้านที่สุด ของ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมเหมาเข่งล่วงหน้า อยู่ที่บทเฉพาะกาล]
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
จากกรณีที่รัฐบาลพยายามที่จะออก พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น "พ.ร.ก.นิรโทษกรรมเหมาเข่งล่วงหน้า"
.
ประเด็นที่สังคมจับจ้อง และกร่นด่ากันในตอนนี้ ก็คือ ข้อที่ 7. ที่มีการนิรโทษกรรมล่วงหน้าให้กับ "บุคคล และคณะบุคคล ที่ได้รับการแต่งตั้ง หรือมอบหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหา หรือบริหารวัคซีน"
.
ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้ที่มีอำนาจ หรือมีหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนทั้งหมด ทั้งนายกรัฐมนตรี ผอ.ศบค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวง ผู้อำนวยการสถาบันฯ อธิบดี คณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ คณะทำงานฯ ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนทั้งหมด กำลังนำเอาความเหนื่อยยากของบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า ที่ต้องทำงานภายใต้ความแร้นแค้นของทรัพยากร และความไม่สนใจใยดี ของรัฐบาล มาบังหน้า เพื่อให้ตนเองพ้นจากความรับผิดชอบทั้งปวง แถมยังกล้าเอาเรื่อง "โควิด" มาอ้าง เพื่อออกเป็น พ.ร.ก. อีกด้วย ซึ่ง ต้องขอยืนยันว่า ถ้าเป็นการรักษาชีวิตของประชาชนในสถานการณ์โควิด นั้นเป็นเรื่องเร่งด่วน แต่การอาศัยสถานการณ์โควิด มานิรโทษกรรมให้กับตนเองและพวกแบบเหมาเข่งล่วงหน้า แบบนี้ ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนแน่ ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 อย่างชัดเจน
.
บุคลากรทางการพทย์ด่านหน้า ที่ทำงานหน้างานจริงๆ มีข้อสงสัยอย่างมาก เพราะโดยปกติแล้ว พวกเขาก็ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากกฎหมายที่มีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และ พ.รบ.การแพทย์ฉุกเฉิน เป็นต้น
.
แต่เอาเถอะครับ การที่จะออกมาตรการเพิ่มเติม เพื่อปกป้องคนทำงานทั้งหมด ที่ต้องทำงานตามคำสั่ง ทำตามนโยบาย ทำได้เท่าที่ทรัพยากรที่รัฐจัดหาให้อย่างจำกัด สังคมไม่โต้แย้งอยู่แล้ว
.
แต่ไม่ใช่การฉวยโอกาส หลบอยู่หลังชุด PPE เอาพวกเขามาบังหน้า แล้วออกกฎหมายเหมาเข่งเพื่อนิรโทษกรรมล่วงหน้า ให้แก่บุคคล หรือคณะบุคคล ที่มีอำนาจหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
.
อย่าเอาบุคลากรด่านหน้า มาอ้างเพื่อให้ตนเองพ้นผิด ที่ผ่านมารัฐบาลนี้สนใจบุคลากรด่านหน้าหรือไม่ ก็ปรากฎชัดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น
1. ความขาดแคลนชุด PPE และชุด PAPR ที่หลาย รพ. ต้องขอรับบริจาค แพทย์หลายคนต้องซื้อมาใส่เอง
2. หน้ากากอนามัย ก็ให้เบิกได้อย่างจำกัด ต้องซักแล้วใช้ซ้ำ
3. การมีความเห็นข้อที่ 10. ที่ระบุว่า หากให้บุคลากรทางการแพทย์ฉีด Pfizer เป็นเข็มที่ 3 เท่ากับเป็นการยอมรับว่า Sinovac ไม่มีผลในการป้องกัน และจะแก้ตัวได้ยากลำบากมากขึ้น
4. การกำหนดหลักเกณฑ์ให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่ฉีด Sinovac 2 เข็มเท่านั้น ถึงจะได้รับการฉีด Pfizer เป็นเข็มที่ 3 ก่อนที่จะมีการกลับลำในอีก 2 วันถัดมา และในปัจจุบัน การจัดสรรวัคซีน Pfizer ก็ยังคงมีข้อท้วงติงอยู่
.
แต่ความเลวร้าย ที่หน้าด้านที่สุด ไม่ได้อยู่ที่ ข้อที่ 7. นะครับ แต่อยู่ที่ "บทเฉพาะกาล" ที่ระบุว่า
.
บรรดาคดีที่มีมูลความผิดที่เกี่ยวเนื่องจากการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ กรณีโควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้น นับตั้งแต่วันที่ประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ให้ได้รับ "การยกเว้นความรับผิดทางแพ่ง และอาญา ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หรือทางวินัย"
.
นี่ไม่ใช่แค่การเหมาเข่ง แต่เป็นการ "เหมาโกดัง" เพราะถ้า พ.ร.ก.ฉบับนี้ผ่าน นั่นเทากับว่า
- ประชาชนที่ถูกเลื่อนฉีดวัคซีน จากการแทงม้าตัวเดียว และการจัดฉีดวัคซีนที่ล่าช้าของรัฐบาล จนในที่สุดตัวเองต้องมาติดโควิด และเสียชีวิต จะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายใดๆ จากรัฐบาลได้เลย
- ประชาชนที่ต้องรอเตียง เข้าไม่ถึงยา Favipiravir ทั้งๆ ที่กรมการแพทย์มีหนังสือให้พิจารณาจ่ายยาได้ทันที จนต้องตายคาบ้าน ต้องออกมาตายกลางถนน จะฟ้องร้องขอรับการชดเชยใดๆ จากรัฐบาลไม่ได้เลย
- เด็กตัวเล็กๆ ที่พ่อแม่เสียชีวิตด้วยโควิด จากความล้มเหลวจากการบริหารจัดการของรัฐบาล ต้องมาเป็นกำพร้าตั้งแต่เล็ก และจะไม่ได้มีโอกาสได้กอดพ่อแม่ของพวกเขาอีกตลอดชีวิต จะไม่สามารถฟ้องร้องขอค่าชดเชยเยียวยาจากรัฐบาล ให้ช่วยดูแลเลี้ยงดูพวกเขาแทนพ่อแม่ที่จากไปได้
- ประชาชนที่ได้รับผลข้างเคียง และเสียชีวิตจากนโยบายการฉีดวัคซีนสลับชนิดของรัฐบาล ซึ่งยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยที่มากเพียงพอ จะไม่สามาถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย เยียวยาอะไรจากรัฐบาลได้เลย
- ประชาชนที่ธุรกิจ และร้านค้าของเขา ต้องปิดกิจการ ต้องสิ้นเนื้อประดาตัว แถมยังต้องแบกหนี้สินที่ล้นพ้นตัว จากาปล่อยปละละเลยของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น กรณีสนามมวยลุมพินี คณะ VIP การลักลอบเข้าเมืองผิดกฏหมาย การลักลอบค้าแรงงานต่างชาติ บ่อนการพนัน การเปิดสถาบันเทิงผิดกฎหมาย รวมทั้งการกำหนดนโยบายล็อคดาวน์ที่ผิดพลาด ขาดการเยียวยา จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอะไรจากรัฐบาลไม่ได้เลย
.
ถ้าอ่านมาถึงบทเฉพาะกาล จะตกใจอย่างมาก เพราะนี่ไม่ใช่แค่การเหมาเข่ง แต่เป็น พ.ร.ก.นิรโทษกรรมเหมาโกดังล่วงหน้า ที่ไม่ใข่แค่บุคคล หรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนโยบายวัคซีนเท่านั้น ที่จะได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้
.
แต่เป็น ฝ่ายบริหารที่อยู่บนหอคอยงาช้างทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ผอ.ศบค. เลขาฯ สมช. นายกรัฐมนตรี รมว.สาธารณสุข รมว.มหาดไทย ฯลฯ จะไม่ต้องรับผิดอะไรเลย ทิ้งให้ประชาชน 67 ล้านคน ต้องแบกรับกับความทุกข์ยากแสนสาหัสตามยถากรรม ทั้งๆ ที่ ความทุกข์ยากที่รุนแรงเกินกว่าที่ควรจะเป็นเหล่านั้น เกิดจากความผิดพลาดของนโยบายทั้งสิ้น
.
สิ่งที่ประชาชนต้องการจะเห็น ไม่ใช่ พ.ร.ก.นิรโทษกรรมเหมาเข่งล่วงหน้า ที่สุดแสนจะหน้าด้านแบบนี้ แต่สิ่งที่ประชาชน และสังคม ต้องการจะเห็น คือ
.
พ.ร.บ.ชดเชยเยียวยาประชาชนที่เสียชีวิต และได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019
.
ที่มีสาระสำคัญ ในการจ่ายเงินเยียวยาให้กับประชาชนทีสูญเสียชีวิต เด็กที่ต้องมาเป็นกำพร้า และประชาชนที่ได้รับผลกระทบในรูปแบบต่างๆ อย่างสมเหตุสมผล เหมาะสมกับสัดส่วน
.
การเยียวยาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้แก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล โดยกรณีรุนแรงต่อชีวิตจะได้รับเงินเยียวยาสูงสุด 400,000 บาท ตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นเพียงมาตรการเยียวยาในระยะสั้น ให้แก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ในระยะยาวหากเงินในกองทุนร่อยหรอลงเรื่อยๆ ก็จะกระทบกับระบบสาธารณสุข ที่ต้องดูแลการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนทุกคนทั่วประเทศ
.

เรื่องแบบนี้ ทำไมรัฐบาลไม่รู้จักคิด คิดแต่จะทำแต่เรื่องหน้าด้าน ผมไม่เข้าใจจริงๆ