นรเศรษฐ์ นาหนองตูม
@Norasate_Lawyer
·4h
ประชาชนไม่มีอาวุธใด ๆ ตำรวจเอาปืนจ่อประชาชนแบบนี้ได้หรอครับ #ม็อบ1สิงหา
.....
Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
4h ·
Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
4h ·
[ สำนักงานตำรวจแห่งชาติทำงบจัดซื้ออาวุธปืนสำหรับปีหน้ากว่า 7,000 กระบอก รวมห้าปีของรัฐบาลประยุทธ์ซื้อไปแล้ว 80,303 กระบอก เตรียมปกป้อง หรือ เตรียมทำสงครามกับประชาชน? ]
.
ในสัปดาห์ที่แล้ว หนึ่งในโครงการที่ผมได้อภิปรายเพื่อขอตัดงบใน กมธ. งบประมาณ คือการตั้งงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อจัดซื้ออาวุธสงคราม อย่างเช่น ปืนเล็กสั้น (Carbine) ปืนเล็กยาว (Rifle) ปืนกลมือ (Submachine gun) รวม 7,000 กระบอก ที่รวมถึงการซื้อดาบปลายปืนสำหรับปืนเล็กยาว 2,000 กระบอก ทั้งโครงการรวมเป็นเงิน 1 พันล้านบาท และเป็นงบประมาณ 800 ล้านบาทในปี 65
.
เมื่อผมย้อนกลับไปดูย้อนหลังก็พบว่าตั้งแต่ปี 2561-2563 สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการจัดซื้ออาวุธปืนสงครามไปแล้ว 73,303 กระบอก
.
ผมต้องย้ำตรงนี้ด้วยว่างบประมาณจัดซื้ออาวุธปืนสงครามส่วนนี้ เป็นคนละส่วนกับงบจัดซื้อปืนสวัสดิการ, ยุทโธปกรณ์สำหรับตำรวจสายงานป้องกัน ปราบปราม และสืบสวน, ครุภัณฑ์อาวุธสำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, และครุภัณฑ์อาวุธของกองงาน 904 ซึ่งในแต่ละปี สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมีการตั้งซื้ออาวุธเหล่านี้แยกต่างหาก
.
นอกจากรายการจัดซื้ออาวุธสงครามเหล่านี้แล้ว การจัดซื้ออุปกรณ์ควบคุมฝูงชน (หรือเครื่องมือปราบม็อบ) ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่หลังปี 2561 ด้วย โดยตั้งแต่ปี 2561-2565 มีการตั้งงบประมาณเพื่อการนี้กว่า 2,070 ล้านบาท รายการที่น่าสนใจคือการจัดซื้อปืนชอตไฟฟ้า (Taser gun) สำหรับ 1,493 สน. ในปีงบประมาณ 2563
.
สิ่งที่ผมกังวลต่อการจัดซื้ออาวุธเหล่านี้คืออะไร? ผมไม่คิดว่าการซื้อ อาวุธสงคราม ดาบปลายปืน และรถหุ้มเกราะ จะช่วยอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้ และผมไม่แน่ใจว่าการใช้อาวุธหนักขนาดนี้จะใช้ตรงกับวิสัยทัศน์ในการให้ความเป็นธรรมของพี่น้องประชาชน ปกป้องสิทธิ์พี่น้องประชาชนตามสิทธิ์ของประชาชนไทยอย่างไร
.
เมื่อผมลองเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของต่างประเทศ แม้แต่ในเมืองที่มีชื่อเสียงในทางไม่ดีว่าตำรวจละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนมากที่สุด อย่างเขตมารีโคปา มลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรอบ 25 ปี ที่ผ่านมามีการจัดหาปืนเล็กยาว 712 กระบอก รถหุ้มเกราะ 64 คัน เท่านั้น เทียบไม่ได้เลยกับการจัดหาอาวุธปืน 80,303 กระบอก และรถหุ้มเกราะ 261 คัน ในช่วง 8 ปี ที่รัฐบาลประยุทธ์บริหารประเทศ
.
ผมคิดว่ากระแสการติดอาวุธให้ตำรวจกลายเป็นทหาร (militarization of police) เป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยและการปกป้องสิทธิ์ของประชาชน จริงอยู่ที่สังคมไทยมองว่าตำรวจเป็นเหล่าทัพที่ 4 การมีตำรวจที่ทำหน้าที่สู้รบ (อย่างเช่น ตชด.) หรือแม้แต่การที่คนจะเป็นตำรวจได้ต้องผ่านโรงเรียนฝึกทหาร ดูจะเป็นเรื่องปกติ
.
แต่เราไม่ควรลืมว่า แท้จริงแล้วตำรวจคือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของพลเรือน ซึ่งถ้าเราต้องการสร้างประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ผมคิดว่าทิศทางที่เราควรเดิน คือการทำให้ตำรวจมีความเป็นพลเรือนเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องทำงานภายใต้การเคารพหลักสิทธิมนุษยชนของประชาชน เพราะอย่าลืมว่าหน้าที่หน้าที่ของตำรวจคือการรักษากฎหมายและปกป้องสิทธิประชาชน ไม่ใช่การทำสงครามกับประชาชน
.
(ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ในช่องคอมเมนท์ครับ)
.
ในสัปดาห์ที่แล้ว หนึ่งในโครงการที่ผมได้อภิปรายเพื่อขอตัดงบใน กมธ. งบประมาณ คือการตั้งงบประมาณของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อจัดซื้ออาวุธสงคราม อย่างเช่น ปืนเล็กสั้น (Carbine) ปืนเล็กยาว (Rifle) ปืนกลมือ (Submachine gun) รวม 7,000 กระบอก ที่รวมถึงการซื้อดาบปลายปืนสำหรับปืนเล็กยาว 2,000 กระบอก ทั้งโครงการรวมเป็นเงิน 1 พันล้านบาท และเป็นงบประมาณ 800 ล้านบาทในปี 65
.
เมื่อผมย้อนกลับไปดูย้อนหลังก็พบว่าตั้งแต่ปี 2561-2563 สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีการจัดซื้ออาวุธปืนสงครามไปแล้ว 73,303 กระบอก
.
ผมต้องย้ำตรงนี้ด้วยว่างบประมาณจัดซื้ออาวุธปืนสงครามส่วนนี้ เป็นคนละส่วนกับงบจัดซื้อปืนสวัสดิการ, ยุทโธปกรณ์สำหรับตำรวจสายงานป้องกัน ปราบปราม และสืบสวน, ครุภัณฑ์อาวุธสำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้, และครุภัณฑ์อาวุธของกองงาน 904 ซึ่งในแต่ละปี สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะมีการตั้งซื้ออาวุธเหล่านี้แยกต่างหาก
.
นอกจากรายการจัดซื้ออาวุธสงครามเหล่านี้แล้ว การจัดซื้ออุปกรณ์ควบคุมฝูงชน (หรือเครื่องมือปราบม็อบ) ก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญตั้งแต่หลังปี 2561 ด้วย โดยตั้งแต่ปี 2561-2565 มีการตั้งงบประมาณเพื่อการนี้กว่า 2,070 ล้านบาท รายการที่น่าสนใจคือการจัดซื้อปืนชอตไฟฟ้า (Taser gun) สำหรับ 1,493 สน. ในปีงบประมาณ 2563
.
สิ่งที่ผมกังวลต่อการจัดซื้ออาวุธเหล่านี้คืออะไร? ผมไม่คิดว่าการซื้อ อาวุธสงคราม ดาบปลายปืน และรถหุ้มเกราะ จะช่วยอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้ และผมไม่แน่ใจว่าการใช้อาวุธหนักขนาดนี้จะใช้ตรงกับวิสัยทัศน์ในการให้ความเป็นธรรมของพี่น้องประชาชน ปกป้องสิทธิ์พี่น้องประชาชนตามสิทธิ์ของประชาชนไทยอย่างไร
.
เมื่อผมลองเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของต่างประเทศ แม้แต่ในเมืองที่มีชื่อเสียงในทางไม่ดีว่าตำรวจละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนมากที่สุด อย่างเขตมารีโคปา มลรัฐแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรอบ 25 ปี ที่ผ่านมามีการจัดหาปืนเล็กยาว 712 กระบอก รถหุ้มเกราะ 64 คัน เท่านั้น เทียบไม่ได้เลยกับการจัดหาอาวุธปืน 80,303 กระบอก และรถหุ้มเกราะ 261 คัน ในช่วง 8 ปี ที่รัฐบาลประยุทธ์บริหารประเทศ
.
ผมคิดว่ากระแสการติดอาวุธให้ตำรวจกลายเป็นทหาร (militarization of police) เป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยและการปกป้องสิทธิ์ของประชาชน จริงอยู่ที่สังคมไทยมองว่าตำรวจเป็นเหล่าทัพที่ 4 การมีตำรวจที่ทำหน้าที่สู้รบ (อย่างเช่น ตชด.) หรือแม้แต่การที่คนจะเป็นตำรวจได้ต้องผ่านโรงเรียนฝึกทหาร ดูจะเป็นเรื่องปกติ
.
แต่เราไม่ควรลืมว่า แท้จริงแล้วตำรวจคือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของพลเรือน ซึ่งถ้าเราต้องการสร้างประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ผมคิดว่าทิศทางที่เราควรเดิน คือการทำให้ตำรวจมีความเป็นพลเรือนเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องทำงานภายใต้การเคารพหลักสิทธิมนุษยชนของประชาชน เพราะอย่าลืมว่าหน้าที่หน้าที่ของตำรวจคือการรักษากฎหมายและปกป้องสิทธิประชาชน ไม่ใช่การทำสงครามกับประชาชน
.
(ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ในช่องคอมเมนท์ครับ)
https://www.facebook.com/timpitaofficial/posts/3797730223666927
หลังประกาศยุติ #CarMob เกิดเหตุปะทะระหว่าง จนท.คฝ. และผู้ชุมนุมบางส่วน บน ถ.วิภาวดีฯ ตั้งแต่สามเหลี่ยมดินแดง-หน้า รพ.ทหารผ่านศึก #ม็อบ1สิงหา
— weeranan (@weeranan) August 1, 2021
.
รายละเอียด https://t.co/F6VEpaYmGP pic.twitter.com/9dFRWmhYUO
Voice TV
7h ·
สถานการณ์ยังไม่จบ หลังจบคาร์ม็อบ จนท.ยิงแก๊สน้ำตา-กระสุนยาง
หลังกิจกรรมคาร์จบลงในช่วงเย็นวันนี้ ยังคงประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่ขับขี่มอเตอร์ไซค์รวมตัวกันพักผ่อนอยู่ในพื้นที่บริเวณปั๊ม ปตท.ใกล้ รพ.ทหารผ่านศึก และกรมทหารราบที่ 1 ฯ
เวลาประมาณ 17.30 น.หน่วยควบคุมฝูงชนที่ตั้งแนวอยู่ใกล้บริเวณดังกล่าว มีการยิงแก๊สน้ำตา 3-4 นัดใส่ประชาชนที่รวมกลุ่มกันอยู่นั้น ทำให้ประชาชนไม่พอใจและขว้างปาสิ่งของ ขวดน้ำ ใส่เจ้าหน้าที่ ก่อนที่สถานการณ์จะคลี่คลาย
ขณะเดียวกันด้านหน้าปั๊มเชลล์ฝั่งตรงข้าม หัวถนนมิตรไมตรี ก็มีประชาชนราว 100 คน ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นชาย พร้อมมอเตอร์ไซค์หลายสิบคัน ไปรวมตัวกันอยู่เช่นกัน กระทั่งเวลาประมาณ 18.20 น. มวลชนจากปั๊มเชลล์ได้เคลื่อนไปรวมกับจุดแยกดินแดง
อีกจุดหนึ่งที่มีรายงานว่าประชาชนรวมตัวกันอยู่จำนวนมาก และเจ้าหน้าที่พยายามเข้าสลายโดยมีการใช้กระสุนยาง คือ บริเวณแยกดินแดง จนถึงเวลา 19.00 น.สถานการณ์ยังไม่สิ้นสุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 18.55 น. ตำรวจจราจรได้ปิดแยกสุทธิสารด้านถนนวิภาวดีขาเข้ามุ่งหน้าไปแยกดินแดง
#VoiceOnline