วันพุธ, สิงหาคม 11, 2564

ดูมันทำ... ยอมรับความรุนแรงโดย “รัฐ” ศาลแพ่งให้ความคุ้มครองสื่อฯ ตำรวจจะใช้กระสุนยางยิงสื่อฯอีกไม่ได้!!! แต่การคุ้มครองนี้ไม่รวมผู้ชุมนุม สมัยนกหวีด ศาลแพ่งคุ้มครองม๊อบ จนรัฐจัดการม๊อบไม่ได้



ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
11h ·

ศาลแพ่งให้ความคุ้มครองสื่อฯ ตำรวจจะใช้กระสุนยางยิงสื่อฯอีกไม่ได้!!! แต่การคุ้มครองนี้ไม่รวมผู้ชุมนุม หลังจากสื่อมวลชนที่ถูกยิง ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นครั้งที่ 2
.
วันนี้(10 ส.ค. 64) ศาลแพ่งรัชดา อ่านคำสั่ง โดยมีรายละเอียดคำร้องและคำสั่งดังนี้
1. ให้ศาลมีคำสั่งให้ สตช. มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนใช้อาวุธปืนยิงกระสุนยางใส่ สื่อมวลชน และประชาชนที่ไม่ได้เป็นผู้กระทำการหรือมีท่าทีคุกคามต่อชีวิตบุคคลอื่นตามหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558
o ศาลไม่คุ้มครองชั่วคราว เนื่องจาก สตช. และเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจในการสลายการชุมนุมด้วยวิธีการที่เหมาะสมตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละครั้งดังนั้นกรณีใดมีความจำเป็นในการใช้อาวุธปืนยิงกระสุนยางขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความรุนแรงของผู้ชุมนุมและเหตุการณ์อันอาจเกิดขึ้นในแต่ละครั้งไปทั้งข้อเท็จจริงตามทางไต่สวนไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจงใจหรือมุ่งกระทำต่อบุคคลที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนเป็นการเฉพาะ และสื่อมวลชนและประชาชนซึ่งมิได้กระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายถูกเจ้าพนักงานตำรวจยิงด้วยกระสุนยางย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญาโดยศาลไม่จำต้องสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อน
2. ให้ศาลมีคำสั่งให้ สตช. มีคำสั่งห้ามเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนคุกคาม ข่มขู่ จำกัดพื้นที่การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนอื่น
o ศาลไม่คุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากคำเบิกความพยานโจทก์ไม่ปรากฎว่าถูกเจ้าพนักงานตำรวจจำกัดพื้นที่ในการปฏิบัติหน้าที่ จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจำกัดพื้นที่ในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ทั้งโจทก์ทั้งสอง(สื่อฯที่ถูกยิงใน #ม็อบ18กรกฎา) ก็มิได้มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ศาลห้าม สตช. จำกัดพื้นที่การปฏิบัติงานของโจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนโจทก์ทั้งสองจึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในกรณีดังกล่าวได้
3. ให้ศาลมีคำสั่งให้ สตช. สั่งการเจ้าพนักงานตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและเสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชน
o ศาลให้ความคุ้มครอง เนื่องจากเจ้าพนักงานตำรวจยังต้องปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมฝูงชนและสลายการชุมนุมซึ่งสื่อมวลชนอาจได้รับอันตรายแก่กายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ กรณีจึงมีเหตุที่จะคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามคำขอนี้ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายสื่อมวลชนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชนด้วยจึงมีคำสั่งให้ สตช. ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการชุมนุมและสลายการชุมนุมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของโจทก์ทั้งสองและสื่อมวลชนภายใต้หลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติงานของสื่อมวลชน
4. ให้ศาลมีคำสั่ง สตช. และเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมฝูงชนสลายการชุมนุมโดยไม่ขัดต่อหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles of the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) และหลักการดูแลการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 เนื่องจากสื่อมวลชนย่อมได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมด้วย
o ศาลไม่คุ้มครองชั่วคราว เนื่องจากโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะสื่อมวลชนซึ่งมิได้เป็นผู้เข้าร่วมชุมนุมจึงไม่อาจร้องขอคุ้มครองชั่วคราวแทนผู้ร่วมชุมนุมได้
.
ทั้งนี้ นี่เป็นการยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของสื่อมวลชนที่ถูกยิงครั้งที่ 2 สืบเนื่องจากโจทก์ทั้งสองที่เป็นสื่อฯ ถูกยิงด้วยกระสุนยางใน #ม็อบ18กรกฎา ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นจำเลย พร้อมยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวแต่ศาลยกคำร้องไปเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 64
.
ครั้งที่ 2 นี้ นอกจากโจทก์ทั้งสองแล้วยังมีสื่อมวลชนที่ถูกยิงด้วยกระสุนยางใน #ม็อบ7สิงหา อีก 3 ราย และพยานผู้เชี่ยวชาญอีก 2 รายเข้าเป็นพยานในการไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว เพื่อขอความคุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่สื่อใน #ม็อบ10สิงหา ที่จะมีขึ้นในวันนี้ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ (อ่านคำเบิกความพยานทั้ง 7 : https://www.facebook.com/HRLawyersAlliance)
...
Saran Vichitthissadee
ทางศูนย์ทนายหรือภาคี
ได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองในฐานะ'ประชาชน'บ้างหรือยังครับ น่าจะยื่นซ้ำไปเรื่อยๆ ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือนเลยก้ดีนะครับ หรือมันมีข้อจำกัดห้ามยื่นคำร้องซ้ำ
...
Orawan Su
ทำไมสมัย นกหวีด ศาลแพ่งคุ้มครอง ม๊อบคะ จนรัฐจัดการม๊อบไม่ได้


...


Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
15h ·

[ เบื้องหลัง “กระบวนการยุติธรรม” คือความรุนแรงในนามของ “รัฐ” ]
.
ปิยบุตร แสงกนกกุล ตั้งข้อสังเกตต่อคำสั่งไม่ให้ประกันตัว-ขอถอนประกันตัวนักกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งรวมถึง เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์, ไผ่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, ฟ้า พรหมศร วีระธรรมจารี, ไมค์ ภาณุพงศ์ จาดนอก และคนอื่นๆ รวมทั้ง อานนท์ นำภา และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ว่าการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปราบปรามแกนนำชุมนุม หรือ “นิติสงคราม” มีเป้าประสงค์หลักคือไม่ให้คนกลุ่มนี้ได้แสดงออก ไม่ให้คนกลุ่มนี้ได้ใช้เสรีภาพในการพูด
.
โดยตั้งข้อสังเกต 2 ประเด็นใหญ่ คือ 1) กฎหมายเป็นความรุนแรงของรัฐรูปแบบหนึ่ง และ 2) เยาวชนต้องกลับไปติดคุก เพราะเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
.
ประเด็นแรก ภาพใหญ่ของกระบวนการยุติธรรมทั่วโลก เราถูกพร่ำสอนกันมาว่าถ้ามีข้อพิพาทขัดแย้งเกิดขึ้นให้ไปจบที่กระบวนการยุติธรรม แต่จริงๆ แล้วยังมีอีกมิติหนึ่งในทางปรัชญา กฎหมายไม่ใช่แค่ตัวอักษร แต่ฉากหลังของกระบวนการยุติธรรมคือความรุนแรงประเภทหนึ่ง โดยเป็นความรุนแรงที่มาในนามของกฎหมาย มาในนามของรัฐ มาในนามของหลักนิติรัฐ-นิติธรรม สุดแสนสารพัดจะเรียกชื่อ แต่จริงๆ แล้วคือความรุนแรง
.
ชีวิตของมนุษย์ เมื่อก่อตั้งกันขึ้นมาจนกลายเป็นสังคม เวลาเกิดข้อพิพาทอะไรขึ้นก็ตาม มีวิธีการจัดการข้อพิพาทต่างๆ เต็มไปหมด แต่อยู่ดีๆ เราออกแบบระบบกฎหมายขึ้นมา ซึ่ง “เรา” ในที่นี้ก็ไม่รู้คือใครเหมือนกัน บางทีก็เป็นคณะรัฐประหาร บางทีมันก็เป็นสภาผู้แทนฯ บางทีมันก็เป็นเป็นอะไรบางอย่างที่ออกแบบระบบกฎหมายขึ้นมา แล้วเราก็บอกว่าเรื่องนี้ให้ศาลว่าอย่างนั้น เรื่องนั้นให้ศาลว่าอย่างนี้
.
ไม่ว่าอย่างไร กฎหมายไม่มีทางที่จะเขียนรายละเอียดได้ทุกเรื่อง ทุกๆ คดี ทุกข้อพิพาท ก็จะเปิดทางให้บรรดาคนใช้กฎหมายทั้งหลาย คนที่มีอำนาจรัฐใช้กฎหมายทั้งหลาย ต้องใช้และตีความกฎหมาย ใช้ดุลพินิจของตัวเอง มาบอกว่าอย่างไหนเรียกว่าผิดอย่างไหนเรียกว่าถูก อย่างไหนเรียกว่ากระทบความสงบเรียบร้อย กระทบความมั่นคง ซึ่งในท้ายที่สุด ไปอยู่ในกำมือของคนที่ใส่ชุดครุยอยู่บนบัลลังค์ไม่กี่คน
.
ยกตัวอย่าง เช่น ชะตากรรมของเยาวชนอนาคตของชาติที่ออกไปชุมนุมตอนนี้ เวลาคุณดูว่าคุณจะโดนหรือไม่โดนคดี ไม่ได้เกิดจากการที่เราเอาแนวคำพิพากษามาดู ไม่ได้เกิดจากหลักกฎหมายที่เรียนมา เอาจริงๆ มันอยู่ที่การตัดสินใจของคนหนึ่งคน ที่มีอำนาจในระบบกฎหมาย ก็คือผู้พิพากษา เขาแต่เพียงผู้เดียวที่จะบอกได้ว่าคุณจะได้ออกจากคุกหรือไม่ ผ่านการพูดในนามกฎหมาย
.
อยากชี้ชวนให้พี่น้องประชาชนลองมองมิติทางปรัชญาให้มากขึ้น ให้มากกว่ากฎหมายที่เป็นตัวอักษร เราจะเห็นเบื้องหลังว่าคือความรุนแรงแบบหนึ่ง ชะตากรรมของคน เสรีภาพของคนทั้งหมด ต้องไปฝากเอาไว้กับคนที่ใส่ชุดครุยอยู่บนบัลลังก์ ที่จะชี้เป็นชี้ตายได้ตลอด แล้วเขาก็บอกว่าเขา “ทำตามกฏหมาย”
.
กรณีล่าสุดเห็นชัดเจนว่าผู้พิพากษาที่ไม่ให้ประกันตัว ก็คือ คุณชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ชะตากรรมของคน 8-9 คนถูกทยอยกลับไปติดคุกอีกฝากเอาไว้อยู่ที่คุณชนาธิปคนเดียว แน่นอนคุณชนาธิปจะต้องบอกว่า “ผมมาทำตามกฏหมาย” หลักการว่าอย่างนั้นว่าอย่างนี้ แนวคำพิพากษาเป็นองค์ประกอบอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ในที่สุด เรื่องพวกนี้มันดีเบตเถียงกันได้ ถามผม ถามอาจารย์กฎหมายหลายคนที่เขาออกมาแสดงความเห็นต่าง งวดที่แล้วก็ยังบอกเลยว่าเรื่องนี้ไม่ให้ประกันไม่ได้ แต่คนมีอำนาจคือใคร? ก็คือคุณชนาธิป ที่มีอำนาจทำให้มนุษย์ 8-9 คนต้องเสียอิสรภาพ เข้าไปถูกขังในคุก
.
“เพราะฉะนั้น ผมกำลังชี้ชวนให้เห็นว่านี่แหละคือเบื้องหลังของสิ่งที่เราเรียกว่ากฎหมาย คือเบื้องหลังของ ‘ความยุติธรรม’ เบื้องหลัง ‘กระบวนการยุติธรรม’ ข้างหลังมันคือความรุนแรงในนามของ 'รัฐ' นั่นเอง” ปิยบุตร กล่าว
.
ประเด็นที่สอง เราว่าปฏิเสธไม่ได้หรอกว่ากลุ่มเยาวชนที่ต้องกลับไปติดคุกกันอีกรอบหนึ่ง หลายคนก็มีบทบาทสำคัญในการอภิปรายปราศรัย เรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ตามข้อเรียกร้องข้อที่ 3 ของการชุมนุม
.
แต่เวลาใดก็ตามที่คนกลุ่มนี้ถูกจับกุมคุมขัง ประเด็นปัญหาจะถูกปรับไปโดยธรรมชาติ ให้ไปเรียกร้องให้ปล่อยตัวชั่วคราว ก็คือประเด็นที่กำลังเรียกร้องให้ประยุทธ์ออกไป แก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบันฯ อาจจะค่อยๆ หายไป เพราะภารกิจเฉพาะหน้าคือต้องไปสู้เรียกร้องให้เขาได้ปล่อยตัวออกมา ทำให้ข้อเสนอ 3 ข้อถูกดึงออกไป
.
“คนกลุ่มนี้เขากล้าหาญ เสียสละที่จะสูญเสียเสรีภาพหลายครั้งหลายหนแล้ว ดังนั้นเพื่อจะทำให้ความกล้าหาญ การเสียสละของพวกเขาไม่สูญเปล่า ผมคิดว่าสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
.
นอกจากเรียกร้องการปล่อยตัวพวกเขาแล้ว ต้องพูดเรื่องที่เขาเสนอด้วย ต้องช่วยกันพูด ช่วยกันรณรงค์ในสิ่งที่เขาเสนอด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเท่ากับเขาติดคุกฟรี เพราะข้อเสนอเขาไม่ได้ถูกผลักดัน จะกลายเป็นว่าในที่สุดวีรกรรมอันกล้าหาญของพวกเขาตลอดหลายปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ในท้ายที่สุดแล้วเราจะไม่ได้รณรงค์ เราจะไม่ได้ผลักดันอะไรเลย” ปิยบุตร กล่าว
.
: สรุปจากห้อง Clubhouse เมื่อ 9 ส.ค. 2564
.
#ม็อบ10สิงหา #ปล่อยเพื่อนเรา #ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ #ถอนประกัน