#ใบตองแห้งOnair #VoiceTV
ใบตองแห้งOnair - สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตอนที่ 1
Streamed live on Apr 12, 2021
#ใบตองแห้งOnair ประจำวันที่ 12 เมษายน 2564
ใบตองแห้งOnair - สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตอนที่ 1
Streamed live on Apr 12, 2021
#ใบตองแห้งOnair ประจำวันที่ 12 เมษายน 2564
รธน.ใหม่จริงต้องเริ่มจากศูนย์ ชวน อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “ตีความ” คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องการทำประชามติเพื่อยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
คำวินิจฉัยที่มีปัญหาให้ตีความไปคนละทาง ทั้งที่คำพิพากษาของศาลต้องชัดเจน ไม่ต้องให้ใครมาตีความอีกครั้ง ความไม่ชัดเจนคือต้องทำประชามติก่อน หรือหลังผ่านรัฐสภา ซึ่งก็จะทำอยู่แล้ว
การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หมายความว่าอะไร เพราะการแก้ไข 256 ตั้ง สสร.มายกร่างใหม่โดยห้ามแก้หมวด 1 หมวด 2 ไม่ถือเป็นการจัดทำใหม่ หรือกระทั่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อทำฉบับใหม่แบบปี 40 ก็ไม่ใช่ใหม่จริง แต่ศาลและคนทั่วไปเข้าใจว่าใหม่
การจัดทำใหม่ตามหลักรัฐธรรมนูญ คือใช้ประชามติยกเลิก 60 แล้วเริ่มต้นที่ศูนย์ ให้ สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งเขียนขึ้นใหม่โดยไม่มีข้อจำกัดใดเลย จึงจะถือว่าอำนาจสถาปนากลับเป็นไปของประชาชนอย่างแท้จริง-แต่คงเป็นไปไม่ได้ในอำนาจการเมืองปัจจุบัน
จัดทำ รธน.โดยไม่กลับไป 256 หากดูจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ทำประชามติ 2 ครั้ง ก็มีความเป็นไปได้ที่หลังจากทำประชามติไม่เอารัฐธรรมนูญ 2560 แล้ว จะกำหนดให้เลือกตั้ง สสร.ขึ้นจัดทำรัฐธรรมนูญโดยขาดจากรัฐสภา ไม่ต้องกลับไปแก้ 256 ใช้ ส.ว. 1 ใน 3 แล้วทำประชามติซ้ำ ยกร่างเสร็จ กลับมาผ่านสภาแล้วทำประชามติอีก ซึ่งจะกลายเป็นครั้งที่ 3
แนวทางนี้ใกล้เคียงคำวินิจฉัยศาลที่สุด เพียงแต่ สสร.ต้องยกร่างใต้บังคับมาตรา 255 กระนั้นก็จะมี่คนยื่นตีความยุ่งเหยิง เพราะเมื่อศาลยื่นมือเข้ามาตีความก็จะต้องตีความไม่สิ้นสุด ทั้งที่ศาลไม่ควรรับตั้งแต่ต้น มาตรา 256 กำหนดให้ศาลเข้ามาตรวจสอบในตอนท้ายอยู่แล้ว
#ใบตองแห้งOnair #VoiceTV
ใบตองแห้งOnair สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตอนที่ 2
Streamed live on Apr 13, 2021
VOICE TV
#ใบตองแห้งOnair ประจำวันที่ 13 เมษายน 2564
ใบตองแห้งOnair สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตอนที่ 2
Streamed live on Apr 13, 2021
VOICE TV
#ใบตองแห้งOnair ประจำวันที่ 13 เมษายน 2564
ศาล รธน.ไม่พลิกคดีโฮปเวลล์ ในความเห็นของ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีโฮปเวลล์อย่างระมัดระวัง ไม่ถึงขั้นสถาปนาตัวเองอยู่เหนือทุกองค์กร และการที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มติที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองเรื่องการนับอายุความ “ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ” ก็ไม่มีผลต่อคำพิพากษาคดีโฮปเวลล์ ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว หากมีการยื่นรื้อคดีใหม่ ก็ยังเป็นอำนาจศาลปกครองสูงสุดจะรับหรือไม่รับก็ได้
ประยุทธ์-สมัคร ไม่ควรตกเก้าอี้ สมัคร สุนทรเวช ไม่ควรตกเก้าอี้นายกฯ เพียงเพราะทำกับข้าวออกทีวี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ไม่ควรตกเก้าอี้เพียงเพราะอยู่บ้านพักหลวง นายกรัฐมนตรีไม่ควรถูกศาลตัดสินให้พ้นตำแหน่งเพียงเพราะเรื่องแค่นี้ แต่ผลที่ออกมาต่างกัน สมัครกลายเป็น “ลูกจ้าง” ตามพจนานุกรม
กระนั้น อ.วรเจตน์ก็เห็นว่า ศาลควรวินิจฉัยให้ยกเลิกระเบียบกองทัพบก ซึ่งมีอภิสิทธิ์เหนือหน่วยงานอื่น โดยเมื่อศาลรัฐธรรมนูญไม่วินิจฉัย ก็สามารถร้องผู้ตรวจการให้ยื่นศาลปกครองสั่งยกเลิกได้
#ใบตองแห้งOnair #VoiceTV
ใบตองแห้งOnair สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตอนที่ 3
Streamed live on Apr 14, 2021
VOICE TV
#ใบตองแห้งOnair ประจำวันที่ 14 เมษายน 2564
ใบตองแห้งOnair สัมภาษณ์พิเศษ ศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ตอนที่ 3
Streamed live on Apr 14, 2021
VOICE TV
#ใบตองแห้งOnair ประจำวันที่ 14 เมษายน 2564
Shape ประเทศย้อนหลัง “เราเห็นตั้งแต่ตอนทำรัฐธรรมนูญ 60 แล้วว่า เขาต้องการ Shape ประเทศไปในทิศทางแบบไหน”
อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ชี้ว่าหลังรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้มีชุดกฎหมายออกมา 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มพระราชอำนาจ จัดระเบียบราชการส่วนพระองค์ โอนอัตรากำลังพล ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.สงฆ์ อีกกลุ่มหนึ่งคือกฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ขยายอำนาจรัฐ เช่น พรบ.ชุมนุมสาธารณะ พรบ.คอมพ์ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร พรบ.ควบคุม NGO ฯลฯ
รัฐเป็นอำนาจนิยมมากขึ้น ผ่านการออกกฎหมายและการปรับใช้กฎหมาย โดยศาลองค์กรอิสระมีอำนาจมากขึ้น ตัดขาดจากประชาชน
‘ผมเชื่อว่าเปลี่ยน’ ราคาที่ต้องจ่ายของการใช้อำนาจ คือความเชื่อถือศรัทธาต่อองค์กรของรัฐ ถูกกัดเซาะลงไปในสายตาประชาชน เช่นความเสื่อมโทรมของวงการกฎหมาย ยิ่งความเชื่อมั่นศรัทธาลดลง ก็ยิ่งต้องใช้อำนาจมากขึ้น ซึ่งก็จะขึ้นกับตัวอำนาจนั้นแข็งแกร่งหรือเปราะแค่ไหน
แม้ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ก็เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงจะมาถึง
“ผมชื่อว่าเปลี่ยน ผมเชื่อในแง่การเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย อำนาจที่กด เดิมทีเป็นอำนาจ soft มาโดยตลอด เป็นอำนาจทางจารีต เป็นอำนาจทางวัฒนธรรม ซึ่งใช้ได้ผลมาเป็นเวลายาวนาน แต่ตอนนี้อำนาจแบบนี้เริ่มจะใช้ไม่ได้ผล อำนาจในทางกายภาพก็จะต้องเพิ่มมากขึ้น ตัวอำนาจมันก็จะแสดงความดิบเถื่อน เปลือยเปล่า ออกมามากขึ้น คุณก็จะมองเห็นอำนาจแบบนี้ จากเดิมที่คนมองไม่เห็น ก็จะเห็นมากขึ้น”
Atukkit Sawangsuk
6h ·
“เราเห็นตั้งแต่ตอนทำรัฐธรรมนูญ 60 แล้วว่า เขาต้องการ Shape ประเทศไปในทิศทางแบบไหน”
อ.วรเจตน์พูดให้คิดว่า รัฐประหาร 2557 คือรัฐประหารที่คาบเกี่ยวระหว่างรัชสมัย
หลังรัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ (โดยก่อนทูลเกล้าฯ รัฐบาลขอนำกลับมาแก้ไขหลายประเด็น เช่น จะตั้งผู้สำเร็จราชการหรือไม่ก็ได้)
ก็มีชุดกฎหมายออกมา 2 กลุ่มสำคัญ
:
กลุ่มที่หนึ่งคือกลุ่มพระราชอำนาจ 1.จัดระเบียบราชการส่วนพระองค์ 2.โอนอัตรากำลังพล 3.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ และ พ.ร.บ.สงฆ์
กลุ่มที่สอง คือกฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน ขยายอำนาจรัฐ ซึ่งทำต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร เช่น พรบ.ชุมนุมสาธารณะ พรบ.คอมพ์ พรบ.ข้อมูลข่าวสาร พรบ.ควบคุม NGO ฯลฯ
นี่คือการถอยหลังของระบอบ เห็นชัดว่าต้องการ shape ประเทศให้ถอยไปสู่ระบอบไหน
:
ในตอนที่สองเมื่อถามถึงความหวัง อ.วรเจตน์บอกว่ายิ่งใช้อำนาจ ความเชื่อมั่นศรัทธายิ่งลดลง แล้วก็จะต้องยิ่งใช้อำนาจมากขึ้นๆ ซึ่งจะนำไปสู้การเปลี่ยนแปลงในที่สุด
:
“อำนาจที่กด เดิมทีเป็นอำนาจ soft มาโดยตลอด เป็นอำนาจทางจารีต เป็นอำนาจทางวัฒนธรรม ซึ่งใช้ได้ผลมาเป็นเวลายาวนาน แต่ตอนนี้อำนาจแบบนี้เริ่มจะใช้ไม่ได้ผล อำนาจในทางกายภาพก็จะต้องเพิ่มมากขึ้น ตัวอำนาจมันก็จะแสดงความดิบเถื่อน เปลือยเปล่า ออกมามากขึ้น คุณก็จะมองเห็นอำนาจแบบนี้ จากเดิมที่คนมองไม่เห็น ก็จะเห็นมากขึ้น”