วันศุกร์, เมษายน 16, 2564

รัฐสภาไทยในสมัยคณะราษฎร ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีข้อหวงห้ามไม่ให้พระมหากษัตริย์​เข้าร่วมการประชุมในรัฐสภาได้ (เช่นเดียวกับรัฐสภาอังกฤษ)​ เพราะถือว่าการปกครองและบริหารเป็นของประชาชนและตัวแทนของประชาชนเท่านั้น ยกเว้นแต่ในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภาเท่านั้นที่พระมหา​กษัตริย์​จะต้องเสด็จฯร่วมในรัฐสภา



ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม
April 13 at 9:53 AM ·

รัฐสภาไทยในสมัยคณะราษฎร
สองสามวันที่ผ่านมาเราอาจจะทราบข่าว รัฐสภาใหม่ที่เกียกกายเป็นรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนนำมาสู่การเปรียบเทียบกับการประชุมรัฐสภาของประเทศอื่น ๆ วันนี้จึงนำภาพการประชุมรัฐสภาของไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมมาให้ชม ซึ่งพระที่นั่งองค์นี้นับเป็นรัฐสภาแห่งแรกของประเทศสยาม หรือประเทศไทยในปัจจุบัน กระทั่งมีการย้ายรัฐสภาไปด้านเหนือของพระที่นั่ง และในเวลาต่อมา ได้ย้ายไปที่รัฐสภาบริเวณแยกเกียกกายในปัจจุบัน
เรื่องน่ารู้ของรัฐสภาไทยอย่างหนึ่งคือมีข้อหวงห้ามไม่ให้พระมหากษัตริย์​เข้าร่วมการประชุมในรัฐสภาได้ (เช่นเดียวกับรัฐสภาอังกฤษ)​ เพราะถือว่าการปกครองและบริหารเป็นของประชาชนและตัวแทนของประชาชนเท่านั้น ยกเว้นแต่ในรัฐพิธี​เปิดประชุมรัฐสภาเท่านั้นที่พระมหา​กษัตริย์​จะต้องเสด็จฯร่วมในรัฐสภา ธรรมเนียมเช่นนี้ได้รับแนวคิดดังกล่าวจากประเทศอังกฤษ ที่พระมหากษัตริย์​ไม่สามารถเข้าสภาผู้แทนราษฎรได้จากเหตุการณ์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ที่ทรงบุกเข้ารัฐสภาของสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น เหตุฉะนี้ในรัฐสภาจำเป็นต้องมีสัญลักษณ์​ของพระมหากษัตริย์​อยู่ในรัฐสภาแทนองค์พระประมุขจริง ๆ ตัวอย่างเช่น ในอังกฤษจะมีพระคทาซึ่งแสดงอำนาจของกษัตริย์อังกฤษอยู่ในสภา ส่วนประเทศไทยใช้พระบรมฉายาลักษณ์​ของพระมหากษัตริย์​ประดิษฐานเหนือรัฐสภาแทนในปัจจุบัน แต่เดิมเราใช้พระราชบัลลังก์เปรียบเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์​ในรัฐสภา
เมื่อครั้งรัฐสภาไทยยังอยู่ที่พระที่นั่งอนันตสมาคม ประเทศไทยก็ยังใช้ธรรมเนียมเปิดประชุมรัฐสภาแบบอังกฤษ โดยพระมหากษัตริย์​จะประทับเหนือพระราชบัลลังก์ในการเปิดประชุมรัฐสภา เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระราชินีนาถอังกฤษเสด็จประทับที่พระราชบัลลังก์ในพระราชวังเวสมินเตอร์ ดังนั้นแล้ว พระที่นั่งอนันตสมาคม นับว่าเทียบเท่ากับพระราชวังเวสมินเตอร์เพราะเคยเป็นรัฐสภาเหมือนกัน
ธรรมเนียมเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากความพยายามของคณะราษฎรที่จะนำธรรมเนียม พระมหากษัตริย์​ใต้รัฐธรรมนูญ​มาใช้ทั้งในด้านการเมือง และด้านวัฒนธรรม จึงนำธรรมเนียมที่มีลักษณะใกล้เคียงมาใช้ในไทยด้วย ในญี่ปุ่นเองมี รัฐสภาไดเอต ซึ่งมีลักษณะธรรมเนียมเช่นเดียวกับอังกฤษและไทยเช่นกัน คือมีพระราชบัลลังก์อยู่ในรัฐสภาเพื่อใช้สำหรับพิธีเปิดประชุมรัฐสภา แสดงให้เห็นถึงคติสัญลักษณ์ของระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
.....
ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม
อีกภาพของการประชุมรัฐสภาไทย



ประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรสยาม
สภาขุนนางของอังกฤษ จะมีพระราชอาสน์ประทับในสภาในพิธีเปิดประชุมรัฐสภา แต่ในสภาสามัญชน จะมีเพียงคทาอันเป็นตัวแทนกษัตริย์เท่านั้น