วันอาทิตย์, เมษายน 11, 2564

บันทึกสังเกตการณ์ 16 ชม. ห้องพิจารณาคดี 704 อันอื้อฉาว ระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย. ก่อนราษฏร 21 คน ประกาศถอนทนายความคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
8h ·

ระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย. 64 ช่วงเวลา 10.00-17.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา ห้องพิจารณา 704 มีนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่สนามหลวงและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 63 ซึ่งมีผู้ถูกฟ้องคดีเป็นนักกิจกรรม “ราษฎร” รวมทั้งสิ้น 22 คน โดย 7 คน ถูกฟ้องในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และเป็นคดี 112 คดีแรกที่อัยการยื่นฟ้อง จากเหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ร่างรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่ ก.ค. 63 เป็นต้นมา
.
สิ่งที่เกิดขึ้นในทั้งสองวันเต็มไปด้วยความตึงเครียด อึดอัด คับแค้น และคับข้องใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงกระบวนการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไร้มนุษยธรรม และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จนกระทั่งลงเอยด้วยการที่จำเลย 21 ราย ขอถอนทนายจำเลย เพื่อปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรมดังกล่าว เหตุการณ์ที่มีผู้รู้เห็นเพียงไม่กี่คน เนื่องจากศาลไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าร่วม ขัดต่อหลักการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม จึงถูกบันทึกไว้เป็นร่องรอยหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมไทย
.
++ภายนอกห้องพิจารณาคดี 704: สุดมือเอื้อมแม่จับถึงเท้า “เพนกวิน”++
.
ในช่วงเช้า บริเวณตรงข้ามธนาคารกรุงไทยมีการตั้งโต๊ะลงทะเบียนเหมือนเช่นทุกวันที่มีการพิจารณาคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร โดยผู้ที่จะมาห้องพิจารณา 704 จะถูกแยกโต๊ะลงทะเบียนต่างหาก มีการจดชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน แล้วเขียนข้อมูลเหล่านั้นลงบัตรให้คล้องคอไว้
.
ก่อนหน้านี้ในนัดตรวจพยานหลักฐานเมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา จำเลยที่เป็นผู้ต้องขังแต่ละคน ศาลอนุญาตให้มีญาติเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ 2 คน โดยญาติจะได้รับบัตรสีม่วง แต่ในครั้งนี้ตำรวจศาลที่ประจำอยู่ที่โต๊ะลงทะเบียนแจ้งในทันทีว่า ญาติต้องไปอยู่ห้องเวรชี้ ไม่สามารถเข้าฟังการพิจารณาคดี เนื่องจากศาลเจ้าของสำนวนสั่งเช่นนั้น
.
บรรยากาศของเช้าวันที่ 7 และ 8 เม.ย.เต็มไปด้วยความสับสนของญาติและความโกรธ แม่ของบางคนถึงกับร้องไห้ เนื่องจากเกรงว่าหากวันนี้ตนไม่ได้เข้าฟังการพิจารณาสถานการณ์จะเป็นเช่นนี้ตลอดไป ในวันที่ 7 เม.ย. แม่ของหลายๆ คน ไม่ได้ไปที่ห้องเวรชี้ตามที่ถูกบอกให้ไป แต่ขึ้นลิฟต์ไปยังห้อง 704
.
ส่วนในวันที่ 8 แม่ๆ ถูกห้ามไม่ให้เดินเข้าตั้งแต่หน้าศาลโดยมีตำรวจศาลคอยเฝ้าอยู่ที่บันได คอยเจรจาถึงเหตุผลที่ญาติไม่ควรมาที่ชั้น 7 เพราะอย่างไรก็เสียเวลาเปล่า ญาติจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องพิจารณาอยู่ดี และให้ไปที่ห้องเวรชี้ในทันที ทำให้แม่ส่วนหนึ่งนั่งคอยอยู่ตรงบันไดศาลเพื่อแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยกับการขอความร่วมมือเช่นนี้
.
เมื่อผ่านไปพักใหญ่แม่ๆ จึงได้เดินผ่านประตูศาลและขึ้นมาที่ห้องพิจารณาชั้น 7 โดยในวันที่ 8 เม.ย. แม่ของ “ไมค์” ภาณุพงศ์มาในเวลา 10.45 น. ทำให้ต้องรออยู่ที่บันไดศาล รปภ.ต้องใช้วิทยุสื่อสารเพื่อขออนุญาตให้แม่ของไมค์ได้ขึ้นลิฟต์มายังชั้น 7 แม่ไมค์ได้นำแว่นตามาให้ไมค์ด้วย แต่ตำรวจศาลแจ้งว่าจะต้องนำไปฝากที่เรือนจำผ่านเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เท่านั้น
.
บริเวณชั้น 7 ห้องน้ำหญิงถูกปิด เช่นเดียวกับวันที่ 29 มี.ค. โดยอนุญาตให้เดินเข้าเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในศาล รั้วสีเหลือง 3 แผง ถูกนำมากั้นตั้งแต่ลิฟต์เป็นต้นมา รปภ.กล่าวว่า “นี่เป็นรั้วที่หนาที่สุดแล้วที่เอามากั้น” ตำรวจศาล เจ้าหน้าที่ศาล และ รปภ. จำนวนหนึ่ง คอยตรวจตราความเรียบร้อยภายในและภายนอกห้องพิจารณา ระหว่างนั้นบริเวณทางเดินทั้งอับทั้งร้อน ไม่มีลมพัดผ่าน ญาติบางส่วนยืนและบางส่วนนั่งอยู่ที่บริเวณพื้นหน้าลิฟต์ชั้น 7 ทั้งที่ห้องรับรองพยานอยู่ตรงข้ามกับที่ที่พวกเขายืนอยู่ เป็นห้องที่มีที่นั่งอย่างดีและมีแอร์ แต่พวกเขาก็ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปนั่ง เนื่องจากห้องดังกล่าวอยู่ติดกับทางเดินห้อง 704
.
ในวันที่ 7 เม.ย. 64 มีการปิดใต้ถุนศาลไม่ให้ซื้อข้าวและไม่ให้จำเลยเดินลงไปกินข้าวใต้ถุนศาล แต่เจ้าหน้าที่ซื้ออาหารขึ้นมาให้กินในห้องพิจารณา โดยอ้างว่าเพราะมีโควิดและมีการพิจารณาคดีต่อเนื่อง ส่วนในวันที่ 8 จำเลยถูกนำตัวไปกินอาหารด้านล่างแต่ไม่อนุญาตให้ญาติไปซื้ออาหารเช่นเดิม
.
ครอบครัวของผู้ถูกคุมขังแต่ละคนเดินทางมาให้กำลังใจ แต่ศาลไม่อนุญาตให้ญาติเข้าไปในห้องพิจารณา ทำให้ญาตินั่งรอที่พื้นบริเวณหน้าลิฟต์ชั้น 7 เพื่อจะได้เห็นผู้ถูกคุมขัง ในช่วงบ่ายวันแรก เจ้าหน้าที่บางคนนำเก้าอี้มาให้ญาตินั่ง แต่วันต่อมา เจ้าหน้าที่แจ้งว่าศาลให้เก็บเก้าอี้ออกให้หมดเพื่อไม่ให้มีใครมานั่งแล้วดูวุ่นวาย แม่ๆ และทนายความยังพยายามเจรจาเพื่อให้ได้เข้าไปพูดคุยและเจอกับลูกของตนเอง โดยรอคอยเป็นเวลาอย่างต่ำวันละ 6-7 ชั่วโมง
.
หลังจากเห็นว่าญาติและเพื่อนๆ ยังคงรอที่พื้นไม่ไปไหน รปภ.และตำรวจศาลพยายามเกลี้ยกล่อมให้ญาติทั้งหมดออกไปจากหน้าลิฟต์ชั้น 7 และไปนั่งฟังการพิจารณาคดีอย่างเรียบร้อยที่ห้องเวรชี้ซึ่งจุคนได้ 30 คนอย่างไรก็ตาม ที่ห้องเวรชี้ ในวันที่ 7 เม.ย. การถ่ายทอดบรรยากาศการพิจารณาคดีในห้องพิจารณา 704 ผ่านวีดิโอคอนเฟอเรนซ์ไม่มีการเปิดเสียงแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่อ้างว่า ในห้องพิจารณามีการเปิดดูคลิปที่ถูกฟ้อง ซึ่งอาจจะมีเนื้อหายุยงปลุกปั่น
.
แต่ในวันต่อมา เจ้าหน้าที่พยายามหว่านล้อมญาติให้ย้ายไปนั่งในห้องเวรชี้ โดยกล่าวว่า วันนี้จะถ่ายทอดเสียงและภาพชัดที่สุด จะซูมหน้าลูกๆ ให้ดูด้วย แต่ญาติทั้งหมดยังคงยืนกรานจะนั่งบริเวณบันไดและพื้นหน้าแผงรั้วกั้นทางไปห้องพิจารณา 704
.
เวลา 11.00 น. ของวันที่ 7 เม.ย. ทั้งเก้าคนซึ่งถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำแต่ละที่จึงถูกนำตัวขึ้นมา ญาติและเพื่อนๆ ต่างตะโกนเรียกชื่อ แต่ทั้งหมดไม่ได้รับโอกาสให้หยุดพูดคุยกับใครเลย ทำได้เพียงชะเง้อมอง แอมมี่ยังพยายามชูสามนิ้วแต่ถูกเก็บนิ้วลงไป ส่วนเพนกวินถูกเข็นมาพร้อมสายน้ำเกลือเช่นเดิม ขาข้างหนึ่งของเขาห้อยออกมาจากที่วางเท้า รุ้งซึ่งเดินเข้ามาหลังสุดตะโกนถามว่าทำไมแม่ยังอยู่ตรงนี้ แม่บอกว่าเขาไม่ให้เข้าไป ทำให้รุ้งหน้าเสียอย่างเห็นได้ชัด
.
ภายหลังผู้ต้องขังถูกนำตัวเข้ามาในห้องพิจารณา ผู้พิพากษาได้อนุญาตให้แม่ของผู้ต้องขังบางคนซึ่งยังไม่ได้ยื่นประกันเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 64 เข้าไปพูดคุยกับลูกได้ครั้งละ 2 คน โดยให้เวลาคนละ 10 นาที ขณะพวกเขากำลังปรึกษากันเกี่ยวกับเรื่องการประกันตัว
.
แม่เพนกวินเล่าให้ฟังว่า เจ้าหน้าที่คนหนึ่งกล่าวกับเธอว่า “วินาทีนี้คุณไม่ต้องมาเรียกร้องอะไรแล้ว รู้ว่าคุณถูกลิดรอนสิทธิ แต่ไม่ต้องมาเรียกร้องสิทธิแล้ว คุณต้องรออย่างเดียว” เป็นคำพูดที่ทำให้เธอรู้สึกแย่ เพราะเธอต้องการเพียงแค่ถามไถ่ความเป็นอยู่ของลูก
.
ช่วงบ่ายของวันที่ 8 เม.ย. ขณะที่บุรุษพยาบาลเข็นเพนกวินขึ้นมา โดยมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2 นาย ควบคุมตัว แม่ได้เรียกให้หยุดรถและขอจับเท้าของเพนกวินว่าเท้าเย็นหรือเปล่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์พูดเสียงดังว่า เอาตัวเข้าไปเลย ไม่ต้องหยุดคุย แม่เพนกวินยังคงพยายามขอจับเท้าลูก โดยนั่งลงกับพื้นและยื่นแขนเข้าไปในรั้วเพื่อที่จะเอื้อมจับเท้าของลูกที่ห้อยออกจากรถเข็น แต่เพนกวินอยู่ห่างไปกว่าสองช่วงแขน เกินกว่ามือแม่จะเอื้อมถึง
.
ตำรวจศาลกล่าวกับญาติว่า “อย่าทำให้ราชทัณฑ์ลำบากใจ” ญาติๆ ตอบโต้ว่า “ทุกคนในที่นี้ลำบากใจเช่นเดียวกัน ไม่มีใครไม่ลำบาก แค่ขอจับเท้าเท่านั้น” ราชทัณฑ์และตำรวจศาลยังอ้างเรื่องโควิด โดยบอกว่าจะต้องไม่มีการแตะต้องตัวกัน
.
ขณะที่ในห้องเวรชี้ ในวันที่ 8 เม.ย. มีเพียงผู้สังเกตการณ์จาก iLaw และสื่อมวลชนไม่กี่คนเข้าไปนั่งฟังการพิจารณาคดี โดยมีตำรวจศาลถึง 3 คนและเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ 1 คน เฝ้าอยู่ ทั้งยังมีการสอบถามชื่อ นามสกุล และหน้าที่การงานของผู้มาเข้าฟังการพิจารณาคดี แม้ว่าทุกคนได้ลงทะเบียนก่อนเข้ามาในศาลแล้วก็ตาม
.
++ตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยาน++
.
7 เม.ย. 64 เป็นนัดที่ศาลให้จำเลยซึ่งถูกคุมขังมาตรวจพยานหลักฐานที่เป็นวิดิโอร่วมกับทนายความในห้องพิจารณา จึงมีเพียงจำเลยที่ถูกคุมขังรวม 9 คน ถูกเบิกตัวมาศาล โดยมีการตรวจวิดิโอจำนวน 22 ไฟล์ จำเลยที่ถูกขังทั้งเก้า มี 7 คน ถูกฟ้องในข้อหาตามมาตรา 112 ในคดีนี้ ได้แก่ “รุ้ง” ปนัสยา, “เพนกวิน” พริษฐ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์, สมยศ, “ไมค์” ภาณุพงศ์ และ “ไผ่” จตุภัทร์ ส่วนอีก 2 คน ถูกฟ้องมาตรา 116 ในคดีนี้ แต่ไม่ได้รับการประกันตัวชั้นสอบสวนในคดี 112 คดีอื่น ได้แก่ “จัสติน” ชูเกียรติ และ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
.
ทั้งนี้ อานนท์, เพนกวิน, สมยศ และหมอลำแบงค์นั้นถูกคุมขังระหว่างพิจารณาและไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวมาตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 64 เป็นเวลา 2 เดือนเต็มแล้ว ขณะที่แอมมี่ ถูกขังมา 1 เดือนกับอีก 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 4 มี.ค. 64 ส่วน รุ้ง, ไผ่, ไมค์ ถูกคุมขังตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 64 หรือ 1 เดือนเต็ม และชูเกียรติ ถูกขังมา 17 วัน
.
8 เม.ย. 64 เป็นนัดตรวจพยานหลักฐานซึ่งเลื่อนมาจากวันที่ 29 มี.ค. 64 นอกจากแกนนำทึ่ถูกคุมขัง จำเลยซึ่งถูกฟ้องในข้อหาตามมาตรา 116 และได้รับการประกันตัว จำนวน 13 คน เดินทางมาศาลด้วย
.
อัยการโจทก์แถลงว่า มีพยานบุคคล 81 ปาก หากฝ่ายจำเลยรับข้อเท็จจริงตามบันทึกคำให้การของตำรวจชุดจับกุม จำนวน 4 ปาก ที่โจทก์อ้างส่งศาล โจทก์ก็จะไม่ต้องนำพยานทั้งสี่เข้าเบิกความ ทนายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเหลือพยานที่โจทก์จะนำเข้าสืบรวม 77 ปาก รวมใช้เวลาสืบพยานโจทก์ 24 นัด
.
ในส่วนของพยานจำเลย จําเลยทั้ง 22 และทนายจําเลยแถลงข้อต่อสู้ว่าไม่ได้กระทําความผิด โดยจําเลยทั้ง 22 อ้างตนเองเป็นพยาน นอกจากนี้ ได้อ้างอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพยานจำเลยอีก 1 ปาก และจะอ้างพยานเพิ่มเติมอีก 10 ปาก รวมสืบพยานจำเลย 32 ปาก ใช้เวลาสืบ 21 นัด
.
จําเลยแถลงว่า หากโจทก์ยอมรับว่าพยานที่จะเพิ่มเติมภายหลังเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ และผู้เผยแพร่พยานเอกสารจะไม่ติดใจสืบพยานดังกล่าว โจทก์แถลงไม่รับข้อเท็จจริงตามที่จําเลยทั้งหมดแถลง และขอให้จําเลยนําพยานเข้าสืบเพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
.
ทั้งนี้ โจทก์และจำเลยกำหนดนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 19-21, 25, 27 พ.ค., 8, 15, 22 มิ.ย., 8-9, 13-16, 23, 29, 30 ก.ค., 7, 14, 21-23, 28-29 ก.ย. 64 และสืบพยานจำเลยในวันที่ 5, 7-8, 12, 15 ต.ค., 2-5, 9-12 พ.ย. และ 1-3, 7-9, 14-16 ธ.ค. 64
.
++ห้องพิจารณาคดี 704: อึดอัด เคร่งเครียด กล่าวหา บีบคั้น ก่อนการถอนทนาย++
.
8 เม.ย. 64 มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ในห้องพิจารณาถึง 20 คน และตำรวจศาล 14 คน ยังไม่รวมบุรุษพยาบาลที่ดูแลเพนกวินอีก 2 คน โดยในห้องมีจำเลยที่เป็นผู้ต้องขังเพียง 9 คน เท่านั้น โดยช่วงเช้ามีนักการทูตจากประเทศสเปนและลักเซมเบิร์ก พร้อมล่ามอีก 1 คน รวมทั้งตำรวจในและนอกเครื่องแบบ 2 นาย ได้รับอนุญาตให้เข้าฟังการพิจารณาคดี
.
แม้ญาติผู้ต้องขังทั้งหมดไม่สามารถเข้าห้องพิจารณาได้เลย แต่ลูกสาวของอานนท์ได้เดินตามทนายที่เธอคุ้นเคยเข้าไปโดยที่ไม่มีใครขัดขวาง เธอไปนั่งวาดรูประบายสีอยู่ใต้โต๊ะทนายความอย่างเงียบๆ เมื่ออานนท์ถูกนำตัวเข้ามาในห้องพิจารณา เธอจึงคลานออกจากใต้โต๊ะทนายความและวิ่งมากอดขาของเขา จากนั้นกางมือออกขอให้อานนท์อุ้ม อานนท์ได้อุ้มลูกสาวขึ้นมาและเอามานั่งบนตัก ทั้งคู่กอดหอมกันจนพอใจ ขณะที่บรรยากาศโดยรวมของห้องพิจารณาเต็มไปด้วยความตึงเครียด แต่แอร์ที่เย็นทำให้ลูกสาวที่นั่งอยู่กับอานนท์ตลอดกระบวนการพิจารณาคดี หลับไปบนตักของเขาในบางจังหวะ
.
ทนายจำเลยถ่ายทอดบรรยากาศในห้องพิจารณาที่เต็มไปด้วยความน่าอึดอัดว่า เรื่องแรกสุดที่ทีมทนายจำเลยแถลงต่อศาลคือ ขอให้ญาติที่มารอได้เข้าฟังการพิจารณาและได้พบกับจำเลยที่ถูกคุมขังอยู่ เนื่องจากทางเรือนจำตัดสิทธิไม่ให้ญาติเข้าเยี่ยมมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว มีการแถลงถึง 2 รอบ ในช่วงเช้า โดยศาลตอบว่าจะพิจารณาปรึกษากับผู้บริหาร แต่จนถึงบ่าย ญาติยังคงไม่ได้เข้า ทนายจำเลยจึงแถลงต่อศาลอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 ทวงถามเรื่องที่ศาลจะพิจารณาให้ญาติได้เข้าฟังการพิจารณาในห้องได้ อย่างไรก็ตาม ตลอดทั้งสองวันไม่มีการอนุญาตให้ญาติเข้าฟังการพิจารณาแต่อย่างใด ศาลเพียงแต่เอ่ยหลายครั้งว่า “จะอำนวยความยุติธรรม ไม่กีดกันวิธีการสู้ของจำเลย”
.
ความเคร่งเครียดในห้องพิจารณาเป็นผลมาจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้มงวดกับผู้ต้องขังเป็นอย่างมาก แม้ไม่อนุญาตให้ญาติเข้าฟังการพิจารณา การพูดคุยกับทนายความก็ไม่ได้เป็นไปอย่างสะดวก ทุกๆ ครั้งที่ทนายความเข้าพูดคุยกับจำเลย เจ้าหน้าที่จะต้องขยับตัวเข้ามาจนชิดทนายความและจำเลย และไม่อนุญาตให้จำเลยที่ถูกคุมขังกับจำเลยที่ไม่ถูกคุมขังพูดคุยกัน
.
อัยการแถลงถึงรายชื่อพยานโจทก์ที่จะนำเข้าสืบ โดยส่วนหนึ่งเป็นพยานที่จะเข้าให้ความเห็น อาทิ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์, ตุลย์ สิทธิสมวงศ์, ไชยันต์ ไชยพร ทำให้จำเลยหัวเราะเสียงดังในห้องพิจารณาเนื่องจากเห็นว่าการเอาพยานโจทก์ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับจำเลยมาให้ความเห็น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะปรักปรำจำเลยอย่างยิ่ง
.
เมื่อฝ่ายจำเลยซึ่งมีอานนท์เป็นตัวแทน แถลงถึงพยานบุคคลและพยานเอกสารของจำเลย และได้ขอให้อัยการรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวของพระพันปีหลวง เพื่อจะได้ไม่ต้องสืบพยานในเรื่องดังกล่าว แต่อัยการไม่รับและขอให้นำพยานมาสืบ
.
ในช่วงบ่ายซึ่งการตรวจพยานหลักฐานยังไม่เสร็จ อานนท์ขอให้ศาลบันทึกในประเด็นที่จำเลยจะอ้างรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศกับกงศุลใหญ่ ณ นครมิวนิก เข้ามาเป็นพยานจำเลย โดยกล่าวว่าหากโจทก์รับข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ จำเลยก็จะไม่ต้องนำพยานเข้าสืบ พร้อมทั้งแถลงถึงประเด็นที่จะนำสืบพยานจำเลยปากดังกล่าวใน 3 ประเด็น คือ 1. ระหว่างเกิดเหตุคดีนี้รัชกาลที่ 10 อยู่ที่ประเทศเยอรมันหรือไม่ 2. มีการเช่าเหมาโรงแรมที่แคว้นบาวาเรียของเยอรมันหรือไม่ 3. รัชกาลที่ 10 ได้แต่งตัวเหมือนจัสตินบีเบอร์หรือไม่
.
แต่ศาลกล่าวว่า จะบันทึกเท่าที่บันทึกได้ อานนท์จึงแย้งว่า ผมเข้าใจว่าประเด็นเช่นนี้ละเอียดอ่อน แต่หากศาลไม่บันทึกเรื่องนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการต่อสู้คดีต่อไป หากท่านไม่ได้เป็นผู้พิพากษาในคดีนี้ต่อ
.
อย่างไรก็ตาม ศาลยังคงไม่บันทึกประเด็นดังกล่าวลงในรายงานกระบวนพิจารณา หลังการโต้แย้งกันซักพัก อานนท์กล่าวว่า “แม้แต่เรื่องบางเรื่องที่รู้ๆ กันอยู่ ท่านก็ยังไม่บันทึกเลย แค่นี้เราก็ยังพูดไม่ได้ แม้ถึงเวลาเบิกความผมก็ทราบดีว่า พวกท่านจะกล่าวว่าไม่รู้ ไม่ทราบ ไม่รับรอง” และกล่าวว่า “ถ้าศาลมาติดคุกเหมือนผม ศาลจะรู้ว่ามันเป็นยังไง” ระหว่างการโต้แย้งกันในประเด็นดังกล่าว ด้านหน้าห้องพิจารณาคดีก็มีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เข้ามายืนกันมากขึ้น
.
ประมาณบ่ายสองโมง ตำรวจศาลรายงานผ่านวิทยุสื่อสารว่า อะดิศักดิ์ หนึ่งในจำเลย ตบหลังเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ด้วยน้ำหนักที่แรง เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแถลงต่อศาลถึงพฤติกรรมของอะดิศักดิ์และขอให้ศาลตั้งสำนวนละเมิดอำนาจศาล ศาลจึงให้ตำรวจศาลเรียกดูกล้องวงจรปิด เกิดการโต้เถียงกันระหว่างเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์กับอะดิศักดิ์และจำเลยที่เหลือ โดยอะดิศักดิ์ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ยืนบังผู้พิพากษา เขาแค่ไปสะกิดให้ขยับออก เพราะพวกจำเลยต้องการจะมองเห็นและได้ยินว่าผู้พิพากษาพูดอะไร
.
ระหว่างนั้นไผ่ จตุภัทร์ ได้แถลงต่อศาลเรื่องความยุ่งยากในกระบวนการพิจารณาคดี โดยกล่าวว่า “มันเกินไปที่ท่านทำกับพวกเราอย่างจำกัด จะคุยกับทนายยังลำบาก ในส่วนของราชทัณฑ์ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมนั้นจะควบคุมก็ได้ แต่ปัจจุบันมีลักษณะควบคุมจนรุ่มร่าม”
.
ทนายเยาวลักษ์กล่าวขึ้นว่า “บรรยากาศในศาลตอนนี้เหมือนเรือนจำในค่ายทหาร เหมือนคุกกวนตานาโม ทนายที่ว่าความให้จำเลยในคุกกวนตานาโมยังมีสิทธิมากกว่านี้” อานนท์จึงพูดเสริมว่า “ท่านรู้สึกมั้ยว่าบรรยากาศในห้องพิจารณามันเหมือนคุกและท่านทำตัวเหมือนหัวหน้าผู้คุม เราจะขออะไรก็ต้องถามฝ่ายบริหารก่อน” ศาลบอกว่า “ถ้าท่านพูดแบบนี้ ศาลรับไม่ได้” และให้อานนท์กลับไปนั่ง ก่อนที่อานนท์จะกล่าวว่า “หากผมทำให้ท่านโกรธผมก็ขอโทษ”
.
หลังการแถลงของไผ่ ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ถูกคุมขังพูดคุยปรึกษากันในเรื่องคดีความ โดยให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ถอยออกไป ขณะที่ศาลทำการบันทึกรายงานกระบวนพิจารณา เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ตำแหน่งผู้ชำนาญการเดินเข้าไปแจ้งเรื่องกับศาล จากนั้นศาลกล่าวขึ้นว่า หากมีเรื่องดังกล่าวจริงศาลจะตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาลและเรียกไต่สวน คาดว่าหมายถึงเรื่องที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อ้างว่า อะดิศักดิ์ หนึ่งในจำเลยที่ไม่ได้ถูกคุมขังได้ทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์
.
ระหว่างที่การพิจารณาคดีในวันนี้กำลังจะจบลง ศาลได้กล่าวถึงเรื่องการที่มีคนกล่าวหาว่า ศาลบังคับให้จำเลยรับเงื่อนไขในการประกันตัว ก่อนสอบถามแบงค์ ไผ่ และสมยศ ถึงความสมัครใจในการแถลงเงื่อนไขขอประกันตัวเมื่อวันที่ 29 มี.ค. 64 ทำให้หมอลำแบงค์ต้องเอ่ยปากอีกครั้งว่า “จำเลยแถลงด้วยความสมัครใจ” ว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับการชุมนุมทุกที่ และจะไม่กล่าวพาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ กลับไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตน รวมทั้งจะไม่เข้าร่วมกิจกรรมที่ทําให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียโดยเด็ดขาด ยินดีที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในการขอปล่อยตัวชั่วคราวทุกประการ โดยได้กล่าวย้ำถึง 2 ครั้ง
.
ส่วนไผ่และสมยศแถลงว่า ตนยืนยันตามที่ได้แถลงไปแล้วในวันที่ 29 มี.ค. 64 เป็นการแถลงด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับ ขู่เข็ญ เพื่อให้แถลงข้อเท็จจริงดังกล่าว ในส่วนของสมยศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำหนดเงื่อนไขเช่นนี้จะทำให้ศาลเสื่อมเสียเองเพราะตนควรได้รับสิทธิในการประกันตัวตั้งแต่แรกอยู่แล้ว
.
ในเวลาประมาณ 15.20 น. ภายหลังทั้ง 3 คนแถลงตอบศาล อานนท์ได้ขอแถลงอีกครั้งโดยกล่าวว่า “ให้ผมพูดเถอะ นี่น่าจะเป็นวันสุดท้ายที่ผมจะได้พูดแล้ว ที่ท่านถามแบบนี้ ท่านกำลังพยายามบีบให้ผมรับเงื่อนไขใช่หรือไม่ กระบวนการยุติธรรมเช่นนี้ โบยตีและทำให้ผมสูญเสียความเป็นมนุษย์ ถ้าหากห้ามไม่ให้ผมพูดในสิ่งที่เชื่อ” อานนท์พยายามจะแถลงต่อศาลหลายช่วงหลายตอน แต่ศาลไม่ได้อนุญาตให้เขาพูดมากนัก สุดท้ายอานนท์จึงเขียนคำแถลงยื่นต่อศาล
.
>>อ่านคำแถลงของอานนท์ที่ https://tlhr2014.com/archives/28118
.
ช่วงสุดท้ายของนัดตรวจพยานหลักฐานทนายจำเลยเข้าหารือกับศาลถึงความประสงค์ของจำเลย 21 คน ที่จะถอนทนายความ ต่อมา จำเลยทั้ง 21 แถลงต่อศาลขอถอนทนายความ เพื่อประท้วงกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม โดยมีเหตุผลใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ
.
1. จำเลยไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกันในทางคดีอย่างเป็นส่วนตัวและเป็นความลับ ระหว่างทนายความและลูกความ เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควบคุมจนสิทธิของจําเลยและทนายความถูกละเมิดแม้อยู่ในห้องพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการออกมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายส่วน มีทั้งการตรวจเช็ครายชื่อทนายจําเลยและจําเลยที่เข้าร่วมการพิจารณาคดีอย่างเข้มงวด การทําร้ายร่างกายทนายความที่กําลังใช้สิทธิปรึกษากับจําเลยเป็นการเฉพาะตัว การยึดโทรศัพท์ของทนายจําเลย
.
2. จําเลยที่ต้องขังและจําเลยที่ได้รับการประกันตัวไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกันในทางคดี ไม่อนุญาตให้พูดคุยหารือกันอย่างเพียงพอ
.
3. คดีนี้ศาลไม่ได้สั่งให้พิจารณาคดีลับ แต่กลับมีคําสั่งหรือมาตรการต่างๆ ในการไม่อนุญาตให้ครอบครัว และ/หรือ ญาติของจําเลย รวมทั้งบุคคลภายนอกเข้ารับฟังการพิจารณาคดีได้ ตามหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยและโปร่งใส จําเลยและทนายความได้แถลงต่อศาลหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา โดยอ้างถึงพฤติการณ์เดิม
.
ดังนั้น จําเลยทั้งหมด ยกเว้นปติวัฒน์ จึงขอถอนทนายความ และทนายความของจําเลยดังกล่าวขอถอนตัวจากการปฏิบัติหน้าที่ทนายจำเลย เพราะไม่สามารถยอมรับกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่คํานึงสิทธิของจําเลยนี้ได้
.
ไมค์ขอให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์พาตัวตนลงไปที่คุมขังใต้ถุนศาลทันทีหลังเซ็นเอกสารถอนทนายเพื่อปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรม “ไมค์ไม่โอเค” ไมค์พูดเสียงสั่น แล้วหันหลังเดินไปอย่างรวดเร็ว เขารู้สึกว่าวันนี้เขาถูกปฏิบัติเสมือนขอทานที่ต้องอ้อนวอนร้องขอเรื่องที่เป็นธรรมดาที่พึงได้ เขาจึงไม่ต้องการมีส่วนร่วมใดๆ กับกระบวนการนี้อีกแล้ว ไมค์เดินมาพูดกับแม่ของตนเองอีกครั้งในเวลา 16.30 น. ว่า “ผมจะไม่ร่วมกระบวนพิจารณานี้อีก เพราะมันไม่เป็นธรรม ไม่ยอมรับ”
.
ในวันนี้ยังมีการแจ้งข้อกล่าวหา ไผ่และเพนกวิน ที่ห้องเวรชี้ 1 โดยมีญาติได้เข้าฟังการแจ้งข้อกล่าวหา คือพ่อแม่และแฟนของไผ่ กับน้องสาวและแม่ของเพนกวิน โดยพนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น ต้องทำหนังสือขออนุญาตกรมราชทัณฑ์ให้ผู้ไว้วางใจของผู้ต้องหาเข้าฟังการแจ้งข้อกล่าวหา ก่อนหน้านี้พนักงานสอบสวน สภ.เมืองขอนแก่น จะเข้าแจ้งข้อกล่าวหาตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. 64 แต่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ไม่อนุญาตให้ผู้ไว้วางใจเข้าร่วม ทำให้เพนกวินปฏิเสธการแจ้งข้อกล่าวหา
.
อ่านเนื้อหาทั้งหมดฉบับเว็บไซต์ที่ https://tlhr2014.com/archives/28234
.....


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
7h ·

ระหว่างวันที่ 7-8 เม.ย. 64 ช่วงเวลา 10.00-17.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดา ห้องพิจารณา 704 มีนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร ที่สนามหลวงและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย. 63 ซึ่งมีผู้ถูกฟ้องคดีเป็นนักกิจกรรม “ราษฎร” รวมทั้งสิ้น 22 คน โดย 7 คน ถูกฟ้องในฐานความผิด “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” และเป็นคดี 112 คดีแรกที่อัยการยื่นฟ้อง จากเหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลลาออก ร่างรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตั้งแต่ ก.ค. 63 เป็นต้นมา
.
สิ่งที่เกิดขึ้นในทั้งสองวันเต็มไปด้วยความตึงเครียด อึดอัด คับแค้น และคับข้องใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงกระบวนการที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ไร้มนุษยธรรม และละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จนกระทั่งลงเอยด้วยการที่จำเลย 21 ราย ขอถอนทนายจำเลย เพื่อปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรมดังกล่าว เหตุการณ์ที่มีผู้รู้เห็นเพียงไม่กี่คน เนื่องจากศาลไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าร่วม ขัดต่อหลักการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม จึงถูกบันทึกไว้เป็นร่องรอยหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมไทย
.
อ่านเนื้อหาทั้งหมดฉบับเว็บไซต์ที่ https://tlhr2014.com/archives/28234



ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
8h ·

แม่เพนกวินเล่าให้ฟังว่า เจ้าหน้าที่คนหนึ่งกล่าวกับเธอว่า “วินาทีนี้คุณไม่ต้องมาเรียกร้องอะไรแล้ว รู้ว่าคุณถูกลิดรอนสิทธิ แต่ไม่ต้องมาเรียกร้องสิทธิแล้ว คุณต้องรออย่างเดียว” เป็นคำพูดที่ทำให้เธอรู้สึกแย่ เพราะเธอต้องการเพียงแค่ถามไถ่ความเป็นอยู่ของลูก
.
ช่วงบ่ายของวันที่ 8 เม.ย. ขณะที่บุรุษพยาบาลเข็นเพนกวินขึ้นมา โดยมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ 2 นาย ควบคุมตัว แม่ได้เรียกให้หยุดรถและขอจับเท้าของเพนกวินว่าเท้าเย็นหรือเปล่า เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์พูดเสียงดังว่า เอาตัวเข้าไปเลย ไม่ต้องหยุดคุย แม่เพนกวินยังคงพยายามขอจับเท้าลูก โดยนั่งลงกับพื้นและยื่นแขนเข้าไปในรั้วเพื่อที่จะเอื้อมจับเท้าของลูกที่ห้อยออกจากรถเข็น แต่เพนกวินอยู่ห่างไปกว่าสองช่วงแขน เกินกว่ามือแม่จะเอื้อมถึง
.
ตำรวจศาลกล่าวกับญาติว่า “อย่าทำให้ราชทัณฑ์ลำบากใจ” ญาติๆ ตอบโต้ว่า “ทุกคนในที่นี้ลำบากใจเช่นเดียวกัน ไม่มีใครไม่ลำบาก แค่ขอจับเท้าเท่านั้น” ราชทัณฑ์และตำรวจศาลยังอ้างเรื่องโควิด โดยบอกว่าจะต้องไม่มีการแตะต้องตัวกัน
.
อ่านเนื้อหาทั้งหมดฉบับเว็บไซต์ที่ https://tlhr2014.com/archives/28234



ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
8h ·

แม้ญาติผู้ต้องขังทั้งหมดไม่สามารถเข้าห้องพิจารณาได้เลย แต่ลูกสาวของอานนท์ได้เดินตามทนายที่เธอคุ้นเคยเข้าไปโดยที่ไม่มีใครขัดขวาง เธอไปนั่งวาดรูประบายสีอยู่ใต้โต๊ะทนายความอย่างเงียบๆ เมื่ออานนท์ถูกนำตัวเข้ามาในห้องพิจารณา เธอจึงคลานออกจากใต้โต๊ะทนายความและวิ่งมากอดขาของเขา จากนั้นกางมือออกขอให้อานนท์อุ้ม อานนท์ได้อุ้มลูกสาวขึ้นมาและเอามานั่งบนตัก ทั้งคู่กอดหอมกันจนพอใจ ขณะที่บรรยากาศโดยรวมของห้องพิจารณาเต็มไปด้วยความตึงเครียด แต่แอร์ที่เย็นทำให้ลูกสาวที่นั่งอยู่กับอานนท์ตลอดกระบวนการพิจารณาคดี หลับไปบนตักของเขาในบางจังหวะ
.
อ่านเนื้อหาทั้งหมดฉบับเว็บไซต์ที่ https://tlhr2014.com/archives/28234



ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
8h ·

ช่วงสุดท้ายของนัดตรวจพยานหลักฐานทนายจำเลยเข้าหารือกับศาลถึงความประสงค์ของจำเลย 21 คน ที่จะถอนทนายความ ต่อมา จำเลยทั้ง 21 แถลงต่อศาลขอถอนทนายความ เพื่อประท้วงกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรม โดยมีเหตุผลใน 3 ประเด็นสำคัญ คือ
.
1. จำเลยไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกันในทางคดีอย่างเป็นส่วนตัวและเป็นความลับ ระหว่างทนายความและลูกความ เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควบคุมจนสิทธิของจําเลยและทนายความถูกละเมิดแม้อยู่ในห้องพิจารณาคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการออกมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายส่วน มีทั้งการตรวจเช็ครายชื่อทนายจําเลยและจําเลยที่เข้าร่วมการพิจารณาคดีอย่างเข้มงวด การทําร้ายร่างกายทนายความที่กําลังใช้สิทธิปรึกษากับจําเลยเป็นการเฉพาะตัว การยึดโทรศัพท์ของทนายจําเลย
.
2. จําเลยที่ต้องขังและจําเลยที่ได้รับการประกันตัวไม่ได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกันในทางคดี ไม่อนุญาตให้พูดคุยหารือกันอย่างเพียงพอ
.
3. คดีนี้ศาลไม่ได้สั่งให้พิจารณาคดีลับ แต่กลับมีคําสั่งหรือมาตรการต่างๆ ในการไม่อนุญาตให้ครอบครัว และ/หรือ ญาติของจําเลย รวมทั้งบุคคลภายนอกเข้ารับฟังการพิจารณาคดีได้ ตามหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยและโปร่งใส จําเลยและทนายความได้แถลงต่อศาลหลายครั้ง แต่ก็ไม่ได้รับการพิจารณา โดยอ้างถึงพฤติการณ์เดิม
.
ดังนั้น จําเลยทั้งหมด ยกเว้นปติวัฒน์ จึงขอถอนทนายความ และทนายความของจําเลยดังกล่าวขอถอนตัวจากการปฏิบัติหน้าที่ทนายจำเลย เพราะไม่สามารถยอมรับกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่คํานึงสิทธิของจําเลยนี้ได้
.
ไมค์ขอให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์พาตัวตนลงไปที่คุมขังใต้ถุนศาลทันทีหลังเซ็นเอกสารถอนทนายเพื่อปฏิเสธกระบวนการอยุติธรรม “ไมค์ไม่โอเค” ไมค์พูดเสียงสั่น แล้วหันหลังเดินไปอย่างรวดเร็ว เขารู้สึกว่าวันนี้เขาถูกปฏิบัติเสมือนขอทานที่ต้องอ้อนวอนร้องขอเรื่องที่เป็นธรรมดาที่พึงได้ เขาจึงไม่ต้องการมีส่วนร่วมใดๆ กับกระบวนการนี้อีกแล้ว ไมค์เดินมาพูดกับแม่ของตนเองอีกครั้งในเวลา 16.30 น. ว่า “ผมจะไม่ร่วมกระบวนพิจารณานี้อีก เพราะมันไม่เป็นธรรม ไม่ยอมรับ”
.
อ่านเนื้อหาทั้งหมดฉบับเว็บไซต์ที่ https://tlhr2014.com/archives/28234