วันจันทร์, เมษายน 05, 2564

มาตรา 112 แอตติจูดใหม่ มาแร้ว "ห้ามจาบจ้วง ล่วงเกิน เปรียบเปรียบ เสียดสี แสดงความไม่เคารพต่อมาตรา 112"



Thitinant Tina Tengaumnuay
3h ·

คณะกรรมกฤษฎีกา ทำเอกสารเผยแพร่ทางเฟสบุ๊ค อธิบายว่า การแสดงความไม่เคารพฯ เป็นความผิดตามมาตรา 112 **โดยอ้างว่าไม่มีเจตนาไม่ได้**

ทั้งนี้ ด้วยความเคารพนะคะ

1. กฎหมายอาญา มาตรา 59 บัญญัติว่า บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา ก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา [...]

2. กฎหมายอาญา มาตรา 104 บัญญัติให้เฉพาะกรณีความผิดลหุโทษเท่านั้น ที่เป็นความผิดโดยไม่จำเป็นต้องมีเจตนา (ความผิดลหุโทษคือความผิดเล็กๆน้อยๆ โทษเบา เช่น ส่งเสียงดัง จนทำให้ประชาชนตกใจ หรือ ทะเลาะกันเสียงดังในที่สาธารณะ กรณีเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ว่าผู้กระทำมีเจตนากระทำความผิด)

3. กฎหมายอาญา มาตรา 112 **ไม่ใช่กฎหมายลหุโทษ** และกฎหมายไม่ได้เขียนให้เป็นความผิด แม้กระทำโดยไม่มีเจตนา

ดังนั้น การกระทำประการใดจะเป็นความผิดตามมาตรา 112 ได้ ผู้กระทำต้องมีเจตนา

4. การกระทำอันเป็นความผิดตามมาตรา 112 ได้แก่ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย” ** มาตรา 112 บัญญัติไว้แค่การกระทำ 3 ประการนี้เท่านั้น **

5. กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด

ในสังคมที่มีกฎหมายเป็นหลักเกณฑ์ทางการสำหรับวางระเบียบให้สังคม (โดยอาจมีหลักเกณฑ์ไม่เป็นทางการ เช่น ศีลธรรม จารีต วิถีประชา) เราอาจรู้สึกไม่พอใจ ไม่เห็นด้วย หรือโกรธ ที่มีคนพูดหรือกระทำไม่เหมาะสม(ในมุมมองของเรา)

แต่บทบาทของกฎหมาย ไม่ใช่นำมาใช้ลงโทษคนที่ทำให้เราไม่พอใจ หรือนำกฎหมายมาจัดการขจัดพวกเขาเหล่านั้นไปจากสังคมให้หมด โดยไม่สนใจหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง

กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญา จะตีความขยายความ เพื่อใช้จัดการกับคนที่ทำให้เราไม่พอใจ ไม่ได้

หากทำเช่นนั้น จะเกิดผลร้ายต่อสังคมมากกว่าผลดี

และจะเกิดผลร้ายต่อสิ่งที่เรารัก มากกว่าผลดี แน่นอน

Thitinant Tina Tengaumnuay

อ้างอิงจากเฟสบุ๊คเพจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาค่ะ
https://m.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1476901785983181&id=416855031987867
.....
สมกับเป็นหมารับใช้จริงๆ 55
มิตรท่านหนึ่ง