วันอังคาร, มีนาคม 02, 2564

โน๊ตแบบไม่วิเคราะห์ จอมขวัญ x นักข่าวม็อบ ในคลับเฮาส์ (อ่านแล้วจะรู้ สื่อโดนควบคุมจริง!! - มึงจะเอาอะไรกับประเทศที่เรียกตัวเองว่าประเทศที่กำลังพัฒนาตั้งแต่ย่ากูเกิด)



Sudkanueng Buranarachada
3h ·

โน๊ตแบบไม่วิเคราะห์ จอมขวัญ x นักข่าวม็อบ ในคลับเฮาส์ (เข้าเลทมาก มีแค่ช่วง 21.30 - 23.00 - ไม่รวมตอนส่งท้าย)
โอ๊ต - มีคลิปที่มีเสียงเลย แต่ฉายไม่ได้ เลยยกคลิปให้คนอื่น
จอมขวัญ - ทีวีคุมโดย กสทช สุดท้ายก็ให้แขกเลือก สถานีต้องรับผิดชอบพนักงาน ถ้ากสทช สั่งอะไรก็กระทบ ใช่ มันไม่ง่ายที่จะให้พูด หรือ เชิญใครมาพูดเรื่องที่ไม่คุ้นหู แต่ไม่เคยโดยกดดัน เราก็ลองสู้ด้วยเหตุผลของเรา ว่าเราระแวดระวังอย่างไร
ต่าย (ไทยรัฐ) - สถานีบอกว่าบางเรื่อง ไม่คุ้นหูของคนในสังคม อาจทำให้คนที่เขาไม่คุ้นหูหรือคุ้นเคย ไม่ถูกใจหรือไม่พอใจ เขาจะไม่ได้สั่งห้าม แต่จะแนะนำว่าอะไรควรเลี่ยง ข้างในก็จะแนะนำคำว่า “สถาบันพระมหากษัตริย์” พูดไม่ได้ แต่ “สถาบัน” พูดได้ เราก็ทำในสิ่งที่เขาไม่คุ้นหู ไปให้เขาสะดุดหู ให้เขากลับมาหาเรา ถ่ายกว้างๆ แต่ไม่โฟกัสที่รูป หรือ คำพูด
เก่ง - ทีวีทำงานใต้ข้อบังคับกฎของกสทช ทีวีข้อจำกัดเยอะ แต่ไม่ใช่ทำอะไรไม่ได้เลย แต่มีแพลตฟอร์มอีกมายมายกที่เราไม่ได้ปิดกั้นตัวเอง ภาพนิ่งที่ส่งใหิทีมออนไลน์ก็จะแตกต่างจากทีวี พูดไม่ได้ในข้อจำกัดก็ไปออนไลน์แทนเท่าที่ทำได้
จอมขวัญ - ที่หัวเราะไม่ใช่ไม่เศร้า แต่มันขื่น
โอ๊ต (เนชั่น) - นำเสนอไม่ได้ เพราะความไม่คุ้นชินและจุดยืนเนชั่นเองยึดที่จะปกป้อง อะไรที่หมิ่นเหม่ อย่าให้เห็นอย่าออก
จอมขวัญ - จุดยืนผู้บริหารในเชิงธุรกิจเป็นคนเดิม แต่ประเด็นกองบรรณาธิการมีการเปลี่ยน คนเก่ากลับมา รอยต่อช่วงปลายปี ความหมายของโอ๊ตคือแบบนี้ จุดยืนของเนชั่น “ถ้าคนจะจับผิด ถ้าเรารายงานในเรื่องที่เปราะบางขนาดนี้ ยังไงก็โดน” ถ้าแฟนคลับสังกัดมองว่าเป็นการทำร้าย ก็ไปขยายผลได้
โอ๊ต - เป็นอิสระ เขาก็ไม่ได้มาตีกรอบอะไรมากมาย เขาก็เชื่อใจ ทำงานมานาน 14-15 ปีแล้ว มีคนบอกให้เราลาออกจากนักข่าวไปเป็น PR ม็อบ อีกฝั่งก็ด่าเรา ไม่ว่าจะทำอะไรก็โดนด่า แต่เรายืนได้เพราะเรารักในวิชาชีพของเรา ต่อให้ตอนนี้โดนด่าว่าน่ารังเกียจ ไม่ได้โดนตีกรอบ แต่เราก็กังวลมากไปเอง ผู้ใหญ่จะมองว่าเราเป็นพีอาร์เขามั้ย ไม่มีใครมาต่อว่า ว่าจะต้องไปเอนเอียงอะไรยังไง
จอมขวัญ - ทีวีมีความยาก สื่อทีวีอยู่ลำบาก ต้นทุนสูง งานของแต่ละแห่งจะออกแบบไหนขึ้นอยู่กับโครงสร้างอำนาจและมิติของการตรวจสอบสื่อที่ไม่ปกติ สังคมกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปแบบนึง ซึ่งยังไม่รู้แบบไหน
เน (เดอะ รีพอร์ตเตอร์) - เน้นรายงานสด ไม่มีกรอบมาก แต่ให้คำแนะนำ ข้อความ คำพูด รูปภาพใดที่ไม่เหมาะสม ต้องหลีกเลี่ยงนิดนึง ต้องคำนึงกฎหมาย เน้นรายการสดมากกว่า ถ้าเหตุการณ์เกิดตรงหน้าก็รายไปตามเห็น แต่ถ้าอันไหนน่าสงสัยก็จะเข้าไปหาข้อเท็จจริงก่อน เพราะรายงานสดมีโอกาสโดนแค๊พต่อง่ายกว่า
จอมขวัญ - พี่แยมเคยเทรนมั้ยว่ามันมีอะไรที่ต้องระวังบ้าง ที่ทีวีไม่ได้ ออนไลน์ได้
เน - พี่แยมสอนว่าอย่ารายงานอะไรที่เป็นคำบอกเล่า จะทำให้ข้อมูลบิดเบือนได้ง่ายมาก แต่สำหรับออนไลน์ ทุกอย่างเร็วมาก เราต้องมีไหวพริบในการนำเสนอข้อมูลหลายด้าน
จอมขวัญ - ทีวีเวลารายงานสดมีแบบแผนในการปฎิบัติ แต่ถ้าไม่สดต้องเขียนเป็นชิ้นข่าว แต่ในออนไลน์มีมั้ย เสียงบางภาพบางตอน หรือ ใครพูด ห้ามไลฟ์ เผื่ออะไรหลุด
เน - มีบ้าง กลุ่มแหล่งข่าว ผมอาจจะถอยออกมาให้มีเสียงผมเข้าไปแทน ถ้าฉุกเฉินจริงๆ ก็จะถอยออกมา เพื่อไม่ให้ข้อความสู่สาธารณะ
เอิน (เดอะ แมตเตอร์) - ช่วงแรกๆ สื่อน่าจะตกใจกับเพดานของสังคม เดอะ แมตเตอร์เองก็ตกใจว่าเราพูดได้แค่ไหน อย่างวันม็อบแฮรี่ ไม่มีคนไปภาคสนาม ก็เลยไม่ทำเรื่องนี้ออกมา วันตอนมาก็โดนด่า ก็เลยมีน้องในทีมเขียนสรุปออกมาว่าทนายอานนท์ปราศรัยอะไรออกมา ก็เป็นครั้งแรกที่มีเขียนคำว่าสถาบันกษัตริย์ออกมา เอินก็จะเป็นคนบอกพี่ธัน (บก.) ก็จะเป็นคนไปเจรจากับบอสอีกที ว่าแมตเตอร์ต้องขยับขึ้นประมาณไหน ตอนนั้นเราก็ทำตัวไม่ถูกจริงๆ ว่าเราจะสรุปการปราศรัยแบบนี้ว่าอย่างไร จากที่ต้องปรึกษาบก. ตอนนี้ก็ทำได้เลย เราก็ตามเพดานสังคมเหมือนกัน มันก็เปลี่ยนไปเยอะ จากสิ่งที่เราพูดได้ ทำได้ ก่อนหน้า แมตเตอร์ไม่เคยไลฟ์เลย แต่มาไลฟ์ช่วงมีม็อบ
พลอย (เวิร์คพอยท์) - อยู่กลางระหว่าง the reporter กับ the matter เราเกาะติดสถานการณ์ระดับนึง แต่เราไม่สดเท่า the reporter แรกๆ เวิร์คพอยท์ก็มีไลฟ์ ตอนแรกมีการสรุปการชุมนุมในแต่ละวัน ต่อมาถ้าต้องมีการเก็บหลักฐานก็จะไลฟ์ 2-3 ครั้งที่ผ่านมาลองไม่ไลฟ์ เพราะผู้สื่อขาวน้อย บางทีอยู่คนเดียวไม่พอ ต้องทำเป็นวิดิโอสั้น ตอนไลฟ์ถ้าจะเลี่ยงจริงๆ เลย ต้องเลี่ยง hate speech ถ้าเทียบฐานทุกคนเท่ากัน ถ้ามันมี hate speech รัวๆ แบบไม่มีน้ำไม่มีเนื้อก็จะเลี่ยงเลย อื่นๆ ก็โปรโตคอลนักข่าวทั่วไป audience ของ workpoint ตลาดมาก มันมีทั้งสองสเปคตรัมการเมือง เราจะรายงานประเด็นที่เป็นเรื่องใหม่ทางการเมืองได้อย่างไรให้รุกคืบเข้าไปในใจคนที่อยู่อีกสเปคตรัมการเมืองนึง ช่วงแรกๆ บก ของเราก็คิดหัวแตกว่าจะทำ ในแง่สูตรสำเร็จเลย ก็คือให้โชว์แง่ที่เป็นมนุษย์ออกมา สุดท้ายเราตีโจทย์ว่าต้องทำให้คนเห็นว่าคนที่พูดเรื่องนี้ (ขยับเพดาน) ก็เป็นคนเหมือนกัน งานธำรงค์วินัยก็ใช้หลักนี้ว่ามันกระทบคนจริง นี่เป็นส่วนงานช้าของเรา
จอมขวัญ - พี่ไม่เก่งสนามข่าวเท่าทุกคน ตอนพี่อยู่สนามอยู่สนามข่าวเศรษฐกิจ พี่ต้องซูฮกทุกคน ไม่ว่าจะใหม่หรือเก่า มันมีความยาก ตอนนี้ที่คุณเจอ มันเหมือนกับวันแรกของทุกคน เราเจอม็อบมาหลายครั้งก็จริง แต่โซเชียลมีเดียก็พัฒนาไป
จอมขวัญ - ข้อเรียกร้องที่สามพูดเรื่องสถาบัน ทุกคนมีความไม่คุ้น ทุกคนก็จดจ้องๆ ว่าข้อเรียกร้องสามข้อจะออกมาในสื่อแบบไหน มันเป็นจังหวะที่สื่อชะงักเหมือนกัน ต้องไม่บิดพลิ้ววิชาชีพ แต่ต้องไม่ลำบากที่จะพูด พี่เองก็มีประสบการณ์ที่จะพูดคำที่ไม่คุ้นมันต้องตั้งสติมากๆ มันไม่ง่าย เล่าโดยถอดหมวกความเป็นนักข่าว/ต้นสังกัด ในขณะที่ข้อเรียกร้องเป็นแบบนี้ เดือดดาลขนาดนี้ ใครอยากแลกเปลี่ยน
ต่าย - ข้อเรียกร้องที่สามมันเซนซิทีฟกับความรู้สึกกับคนที่นับถือมานาน ต่อให้ถอดหมวก ยังคงยึดหลักความต้องไม่ส่งผลกระทบกับใคร หรือ น้อยที่สุด พอวันนึงทำม็อบก็โดนว่า พอไปทำข่าวรัฐบาลก็โดนจับจ้องตลอดว่าคุณไปอยู่ฝั่งนู้น
จอมขวัญ - เข้าใจถูกมั้ยว่าเป็นข่าวเขียนยิ่งสะท้อนความเป็นจริงมากกว่า พอเป็นข่าวเขียนจะยิ่งถูกเลือก ยิ่งกว่ารายงานสด
เก่ง (pptv) - ถ้าถอดหมวกนักข่าว ในฐานะผู้ปฏิบัติงานเราเขียนไปก่อน ทั้งภาพ ทั้งเสียง หน้าที่บรรณาธิการจะตัดอะไรก็เป็นส่วนของเขา
จอมขวัญ - เวลาเขียนเสร็จก็จะมีระบบการตรวจสอบ แต่โดยโครงสร้างทำให้ทุกคนก็ทำไปตามนั้น
เอม (เวิร์คพอยท์) - สั้นๆ ว่าทั้งหมดทั้งมวลให้กำลังใจน้องๆ คนกลางระหว่างเจ้าของสื่อกับสื่อสารมวลชน ต้องพูดตามตรงว่า งานข่าวไม่ใช่งานทำเงิน เจ้าของทุนเขาไม่ได้เห็นสิ่งนี้เป็นแหล่ง capital ใครที่อยู่ในห้องนี้ช่วยไปบอกผู้บริหารว่ามันมี value ก็จะดี เรารู้ว่าสื่อสารมวลชนไทยไม่ทันกับสังคมตอนนี้ มันจะไปข้างหน้ากันได้ก็ต้องเห็นคุณค่าทางสังคมว่าต้องมีสิ่งนี้ในวงการ วงการสื่อสารมวลชนมันไม่ทันสังคมอยู่แล้ว ประเด็นมันไม่ถูกยกระดับไปในสิ่งที่คนพูด คนไม่ได้ห่วย แต่ระบบที่เป็นตอนนี้ทำให้เด็กจบใหม่ทำงานยาก ทุกคนที่พี่ขวัญเชิญมาวันนี้ก็ทำงานตั้งใจจริงๆ ในสนาม สื่อที่มีความมั่นคงทางทุนเยอะ เสรีภาพก็จะน้อย
อ. ศิโรตม์ (voice) - ผมอาจจะต่างคนอื่น ไลฟ์ค่อนข้างยาวตั้งแต่เริ่มจนจบ ยิ่งตอนนี้มีเรื่องเซนซิทีฟเยอะ ต้องระมัดระวัง
จอมขวัญ - โอ๊ต เนชั่น มีความยากอย่างที่มองเห็นได้ อย่าง อ. อยู่วอยซ์มีอะไรมั้ย
อ. ศิโรตม์ - ในช่องไม่มี แต่ข้างนอกมีตลอดอยู่แล้ว เพราะเป็นวอยส์ ถ้าคนอื่นโดนลงโทษระดับ A เราโดนระดับ A+ ตลอด ที่ผ่านมาก็มีความพยายามขอให้เลิกข่าวสารการชุมนุม หลังๆ ผมไปก็จะไปเก็บบรรยากาศมากกว่าเก็บเสียงบนเวที กลับมาต้องมาทำคลิป เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์ว่าเกิดอะไรบ้างในไทย
จอมขวัญ - โอ๊ตส่งภาพให้ เผื่อต้องเอาไปใช้ให้เป็นหลักฐานถูกผิด
เอก (เดอะ สแตนดาร์ด) - เมื่อวานไม่อยู่ในเหตฺการณ์ พูดตรงๆ ว่าเราก็เจอมาเรื่อยๆ จนมีระเบิดมีอะไร ผมโดนมาสองรอบแล้ว ทุกครั้งคำนึงเรื่องความปลอดภัย แต่สถานการณ์จริงต้องอาศัยไหวพริบเยอะ เวลาชุลมุนแล้วนักข่าวอยู่ไม่ถูกจุด ต้อง recheck กับนักข่าวจากสำนักอื่น เวลาไม่ทันจริงๆ ก็สอบถามผู้ชุมนุม คนอี่นๆ นักข่าวคนอื่น เดอะ สแตนดาร์ดช่วงหลังได้จดหมายจากเจ้าหน้าที่ว่าจะดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมแล้วขอให้เราส่งข่าวส่งข้อมูลไปเป็นหลักฐาน มีการพูดคุยกันในกองบก. ว่าเราให้เฉพาะข่าวที่ออกอยู่แล้ว แต่ที่ยังไม่ออกก็ปฏิเสธไป มีเจ้าหน้าที่ประกาศอยู่ตลอดเวลาว่าให้เก็บภาพไว้เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ใช้
อ. ศิโรตม์ - ความพยายามปิดล้อมพื้นที่ข่าวไม่ให้ไปสู่สังคมมีมากขึ้น เวลาอานนท์ หรือ เพนกวิ้นติดคุก พูด message เยอะมากว่าทำไมเขาถึงไป แม้ไมค์จะจ่อเต็ม แต่ไม่เข้าใจ สฺดท้ายข่าวการชุมนุมมันออกแค่อีเวนท์ ทำยังไงให้สื่อไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นแค่อีเวนท์ โดยไม่รู้ที่มาที่ไป
เอม - สิ่งที่ทำแล้วปลอดภัยก็มีน้อยลง เช่น เรื่องลุงพล 10 ปีที่แล้วอยู่จำนำข้าว 15 ปี CTX แต่ตอนนี้มาตรงนี้แล้วไง แต่เราก็พูดไม่ได้ไง ทำให้สื่อมวลชนลดบทบาทลงทุกที
ธัน - สื่อต่างกับอินฟลูเอนเซอร์ไง ก็คือมีช่องทาง มี privilege มากกว่าในการถาม เช่น คุณเป็นนาย A อยากถามเรื่องวัคซีนอนุทินก็ถามไม่ได้ อาชีพสื่อมวลชนคือการลงทุนลงแรงกับข้อมูลข่าวสาร เช่น คน (พี่หวี) ที่ตามนาฬิกาประวิตรถึงขั้นไปขอหมายศาลว่าตัดสินอย่างไรประวิตรถึงไม่ผิด
นิ้ว - ในสถานการณ์ขัดแย้ง ความกล้าหาญที่มาทันเวลาสำคัญมากๆ (พูดในบริบทการรายงานข่าวม็อบเช่น รายงานกระสุนยาง) ในจักรวาลของงานสื่อ มีการต้องวิพากษ์ตลอดเวลา