คุณ กระบวนการ ยุติธรรม
ชาตะ พ.ศ. 2475
มรณะ 112
The Isaan Record
9h ·
กลุ่มดาวดินและภาคีนักเรียน KKC ร่วมกันจัดกิจกรรม “งานศพแด่กระบวนการยุติธรรมไทย”
.
ขอนแก่น - เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่ 10 มีนาคม 2564 กลุ่มดาวดินและภาคีนักเรียน KKC ร่วมกันจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “งานศพแด่กระบวนการยุติธรรมไทย” หลังศาลอาญาไม่ให้ประกันตัว จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน พร้อมกับแกนนำราษฎรอีก 2 คนในคดีตามมาตรา 112
.
“เราเห็นปรากฏการณ์ที่ศาลใช้อำนาจฝากขังนักสู้ประชาธิปไตยที่ผ่านมาว่า เป็นกระบวนการที่บิดเบี้ยว ไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม แต่เป็นเหมือนใบสั่ง ควบคุม กักขังผู้ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิ”ภานุพงศ์ ศรีธนานุวัฒน์ หรือ ไนท์ ดาวดิน กล่าว
ทั้งนี้ทางกลุ่มฯ ได้จุดไฟเผากระดาษที่มีข้อความว่า "คุณกระบวนการ ยุติธรรม ชาตะ พ.ศ.2475 มรณะ 112" พร้อมกับชูป้ายข้อความว่า "หยุดทำลายกระบวนการยุติธรรม"
.
จนิสตา อาภาแสงเพชร นักศึกษาฝึกงาน The Isaan Record เรื่อง
.
มงคลกร พุฒธะพันธ์ นักศึกษาฝึกงาน The Isaan Record ภาพ
#มาตรา112 #ขอนแก่น #TheIsaanRecord
.....
ประชาคมมอชอ - Community of MorChor
March 8 at 6:29 AM ·
ตามความเข้าใจโดยทั่วไป
ศาล/ตุลาการ ก็คือ ผู้ไกล่เกลี่ยบนพื้นฐานความยุติธรรม เป็นอิสระ
จาก อีก 2 อำนาจ ในประชาธิปไตยแบบแบ่ง 3 อำนาจ และยังเป็น อำนาจที่ไม่ขึ้นต่อเสียงข้างมาก แต่ขึ้นต่อหลักการ ...จึงเป็นคำถามที่ชวนสงสัยว่า
"ศาล/ตุลาการไทย นั้นยึดมั่นต่อหลักการอะไร??" หลักการที่อ้างถึง/ทำให้เป็นหลักการที่อ้างถึง มีเนื้อหาอย่างไร?? และเพื่ออะไร??
ศาล/ตุลาการ พึงสำเหนียกถึงความไร้สาระของการอ้างอำนาจในฃอบข่ายของตน ที่อ้างรัฐ(ซึ่งตอนนี้ก็มีข้อถกเถียงบ้างแล้ว ว่า 'รัฐ' ยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่?!) และกระทำในนามรัฐ ไม่ใช่เป็นตัวแทนของสิ่งที่ต่ำกว่านั้น และหากเข้าใจอะไรไม่ผิด 'ในสถานการณ์การเมืองที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง' ทั้งล้มรัฐบาลที่สืบทอดอำนาจจากคณะรัฐประหาร และขยายตัวไปจนถึงให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังกล่าวจะเห็นได้ว่า คดีที่สืบเนื่องจากขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็น 'การกลั่นแกล้งทางการเมือง' ที่รัฐบาล/อำนาจบริหาร ใช้จัดการผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง จึงเป็นเรื่องแปลกประหลาดพิศวง ที่ ศาล/ตุลาการ จะไม่มีปัญญาที่จะทำความเข้าใจถึงประเด็นดังกล่าว
หาก ศาล/ตุลาการ เข้าใจถึงประเด็นดังกล่าว แต่ยังออกตัวใช้อำนาจในการปิดปากประชาชน นั่นก็เท่ากับว่า ศาล/ตุลาการ ก็กำลังทำตัวเป็นเครื่องมือรับใช้อำนาจบริหาร, หาก ศาล/ตุลาการ ไม่เข้าใจถึงประเด็นดังกล่าว ก็ดูจะไร้เดียงสาเกินกว่าจะเป็นไปได้
จึงควรเป็นที่พึงสำเหนียก ว่า ศาล/ตุลาการ จะเป็นตัวแทนของสิ่งที่ต่ำกว่าเจตนารมณ์ของที่มาของการอ้างถึงอำนาจอธิปไตยของรัฐ ไม่ได้! และไม่ควรถูกบ่งการและใช้เป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งทางการเมืองโดยรัฐบาล นี่ถือเป็นศักดิ์ศรี ที่ ศาล/ตุลาการ ไม่ควรทำให้มีมลทินมัวหมองเสียเอง
"ความยุติธรรม คือ เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ของตุลาการ"