https://twitter.com/udd_red/status/1371315913593516032“พวงทอง” ชี้ เรากำลังทำร้ายคนรุ่นใหม่ซึ่งคิดว่าเป็นกลุ่มคนที่ดีที่สุดที่สังคมไทยจะสร้างขึ้นมาได้ คนที่ให้ความสำคัญกับอนาคตกับสังคมและพร้อมที่จะเสียสละตัวเอง ฉะนั้นอย่าทำร้ายเขาอีกเลย!#ปล่อยเพื่อนเรา #ราษฎร #TheRatsadon pic.twitter.com/N1TwIdhQLS
— UDD news ยูดีดีนิวส์ (@udd_red) March 15, 2021
.....
The MATTER
14h ·
QUOTE: “พวกเขาทำเพื่อให้สังคมไทยดีขึ้น แต่สิ่งที่เขาเสนอแตกต่างจากที่ผู้มีอำนาจอยากได้ยิน วิธีที่สังคมอารยะควรทำกับเยาวชน คือเจรจา พูดคุย ไม่ใช่ลงโทษ สังคมไทยทำพลาดหลายครั้งในอดีต ในการทำร้ายคนรุ่นใหม่ ทั้ง 14 ตุลา, 6 ตุลา หรือพฤษภา 35 เรากำลังทำร้ายเขาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ดีที่สุด ที่สังคมจะสร้างได้”
.
ศาลอาญานัดพิจารณาคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร โดยมีการนัดจำเลย ที่ถูกคดี ม.112 และ ม.116 ทั้ง 18 คน ซึ่งหลายคนนั้นยังถือเป็นนักศึกษา และไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวในคดี ม.112 เช่น รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนเข้าร่วมฟังคำพิจารณาในครั้งนี้
.
ศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์ ได้กล่าวกับสื่อมวลชน ถึงการดำเนินคดีนักศึกษา และการไม่ได้รับสิทธิประกันตัวว่าวันนี้ คณาจารย์มาด้วยความห่วงใยสถานการณ์ เพราะสิทธิประกันเป็นประเด็นขึ้นมา นิสิตนักศึกษาไม่ได้สิทธิขั้นพื้นฐาน พ่อแม่ไปเยี่ยมลำบาก อยากจะเห็นกระบวนการอำนวยความยุติธรรมที่เป็นธรรม”
.
อ.สุริชัย ยังกล่าวอีกว่า ประเทศไทยควรมีพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยถึงอนาคตของประเทศ “อยากเห็นบ้านเมืองถกกันเรื่องอนาคตด้วยการเป็นพื้นที่ปลอดภัยตามสิทธิและเสรีภาพอันพึงมีตามรัฐธรรมนูญ ทั้งหวังว่า การพิจารณาคดี ต้องเป็นไปโดยเป็นที่พึ่งได้จริงๆ ไม่อยากให้กลไกที่มีอยู่ ผลักกันเป็นแค่ 2 ฝ่ายเท่านั้น”
.
ขณะที่ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เอง ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีว่า “พวกเขาทำเพื่อให้สังคมไทยดีขึ้น แต่สิ่งที่เขาเสนอแตกต่างจากที่ผู้มีอำนาจอยากได้ยิน วิธีที่สังคมควรทำ คือเจรจา พูดคุย ไม่ใช่ลงโทษ สังคมไทยทำพลาดมาหลายครั้งในอดีต ทั้ง 14 ตุลา, 6 ตุลา และเหตุการณ์อื่นๆ กับการทำร้ายคนรุ่นใหม่” ซึ่งอาจารย์ย้ำว่าควรให้สิทธิกับคนรุ่นใหม่ในการแสดงความคิดเห็นด้วย
.
นอกจากอาจารย์ 2 ท่านนี้แล้ว ยังมีเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสมานฉันท์, อ.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาฯ มธ., อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มธ., และอ.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสันติวิธี ม.มหิดล ที่เดินทางมายังศาลอาญา เพื่อเข้าพบนักศึกษา และนักกิจกรรมคนอื่นๆ ด้วย
.
#Quote #TheMATTER
The MATTER
14h ·
QUOTE: “พวกเขาทำเพื่อให้สังคมไทยดีขึ้น แต่สิ่งที่เขาเสนอแตกต่างจากที่ผู้มีอำนาจอยากได้ยิน วิธีที่สังคมอารยะควรทำกับเยาวชน คือเจรจา พูดคุย ไม่ใช่ลงโทษ สังคมไทยทำพลาดหลายครั้งในอดีต ในการทำร้ายคนรุ่นใหม่ ทั้ง 14 ตุลา, 6 ตุลา หรือพฤษภา 35 เรากำลังทำร้ายเขาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ดีที่สุด ที่สังคมจะสร้างได้”
.
ศาลอาญานัดพิจารณาคดี #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร โดยมีการนัดจำเลย ที่ถูกคดี ม.112 และ ม.116 ทั้ง 18 คน ซึ่งหลายคนนั้นยังถือเป็นนักศึกษา และไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวในคดี ม.112 เช่น รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ ทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยหลายคนเข้าร่วมฟังคำพิจารณาในครั้งนี้
.
ศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์ ได้กล่าวกับสื่อมวลชน ถึงการดำเนินคดีนักศึกษา และการไม่ได้รับสิทธิประกันตัวว่าวันนี้ คณาจารย์มาด้วยความห่วงใยสถานการณ์ เพราะสิทธิประกันเป็นประเด็นขึ้นมา นิสิตนักศึกษาไม่ได้สิทธิขั้นพื้นฐาน พ่อแม่ไปเยี่ยมลำบาก อยากจะเห็นกระบวนการอำนวยความยุติธรรมที่เป็นธรรม”
.
อ.สุริชัย ยังกล่าวอีกว่า ประเทศไทยควรมีพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยถึงอนาคตของประเทศ “อยากเห็นบ้านเมืองถกกันเรื่องอนาคตด้วยการเป็นพื้นที่ปลอดภัยตามสิทธิและเสรีภาพอันพึงมีตามรัฐธรรมนูญ ทั้งหวังว่า การพิจารณาคดี ต้องเป็นไปโดยเป็นที่พึ่งได้จริงๆ ไม่อยากให้กลไกที่มีอยู่ ผลักกันเป็นแค่ 2 ฝ่ายเท่านั้น”
.
ขณะที่ รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เอง ยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงนักกิจกรรมที่ถูกดำเนินคดีว่า “พวกเขาทำเพื่อให้สังคมไทยดีขึ้น แต่สิ่งที่เขาเสนอแตกต่างจากที่ผู้มีอำนาจอยากได้ยิน วิธีที่สังคมควรทำ คือเจรจา พูดคุย ไม่ใช่ลงโทษ สังคมไทยทำพลาดมาหลายครั้งในอดีต ทั้ง 14 ตุลา, 6 ตุลา และเหตุการณ์อื่นๆ กับการทำร้ายคนรุ่นใหม่” ซึ่งอาจารย์ย้ำว่าควรให้สิทธิกับคนรุ่นใหม่ในการแสดงความคิดเห็นด้วย
.
นอกจากอาจารย์ 2 ท่านนี้แล้ว ยังมีเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสมานฉันท์, อ.บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาฯ มธ., อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มธ., และอ.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสันติวิธี ม.มหิดล ที่เดินทางมายังศาลอาญา เพื่อเข้าพบนักศึกษา และนักกิจกรรมคนอื่นๆ ด้วย
.
#Quote #TheMATTER
Protest leader @paritchi remains defiant as he is moved to court.
— Thai Enquirer (@ThaiEnquirer) March 15, 2021
He is arraigned for violating sections 112 and 116 of the Thai criminal code (lese majeste and sedition) for leading anti government protests. #WhatsHappeningInThailand cr: @prasitchai_kpic.twitter.com/4ozOPSk8fJ