วันอาทิตย์, มีนาคม 14, 2564

เปิดใจฟัง..บางกลอย “ความเข้าใจคลาดเคลื่อน 9 ข้อ บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน”



Somboon Khamhang
20h ·

เปิดใจฟัง..บางกลอย

“ความเข้าใจคลาดเคลื่อน 9 ข้อ บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน”
วันที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
>
สุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม กล่าวว่า ความเข้าใจคลาดเคลื่อน 9 ข้อ ในประเด็น “ปัญหาการตีความกฎหมาย กรณีชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยงแห่งบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน”
.
1. มีการอ้างว่าชาวบ้านเป็น “คนต่างด้าว” ไม่ใช่ “คนไทย” ข้อเท็จจริงคือ ปู่คออี้ และชาวบ้านนั้นแสดงตัวให้เห็นว่าตนเองนั้นมีบัตรประชาชน มีทะเบียนบ้าน เป็นคนไทยอยู่ในประเทศไทยมายาวนานและมีหลักฐานที่ระบุชัดว่าเขาได้สิทธิในการคุมครองในการเป็นคนไทย
.
2. ชาวบ้านกลุ่มนี้เป็น “กะเหรี่ยง” ไม่ใช่ “กะหร่าง” คำว่า “กะหร่างไม่มีในประเทศไทย” เป็นการใช้คำบิดเบียนทำให้ชาวบ้านไม่ใช่คนไทย ในประเทศไทยกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมี 2 กลุ่มใหญ่ คือ ปกาเกอะญอ และ โพล่ง ซึ่งมีระบุไว้ในทางวิชาการ การใช้คำลักษณะนี้ทำให้ชาวบ้านบางกลอยถูกทำว่าไม่ใช่กะเหรี่ยงแท้ และในแง่มุมงานวิชาการนั้นมีการพูดถึงคำว่า กะหร่าง เป็นคำที่ดูถูก เหยียดหยาม ไม่ใช่คำที่คนของพวกเขาเรียกตัวพวกเขาในกลุ่มชนเผ่าเอง
.
3. บุกรุกที่ป่า แม้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นจะปรากฎคำนี้ แต่ในคำพิพากษาศาลสูงสุด คำนี้หายไปแล้ว ไม่ได้มีปรากฎในการจะอ้างเรื่องการบุกรุกป่า
.
4. ชาวบ้านถูกอพยพ 2 ครั้ง แท้จริงแล้วมีเพียงครั้งเดียวคือ 2539 เพราะ 2554 ไม่ใช่การอพยพ เพราะมีการใช้ ฮ. มีการเผาบ้านชาวบ้าน ชาวบ้านต้องหลบหนี ดังนั้นปี 2554 ไม่ใช่ “การอพยพ แต่เป็นการหนีตาย”
.
5. มีการจัดที่ให้ชาวบ้านครอบครัวละ 7 ไร่ ข้อเท็จจริงคือ พื้นที่บ้านโป่งลึกทั้งบางกลอยบนและบางกลอยล่าง ใจแผ่น ดินอยู่พื้นที่อุทยาน กฎหมายอุทยานไม่ได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการทำหน้าที่จัดพื้นที่ในอุทยานได้ แต่ให้พื้นที่ในพื้นที่ป่าสงวนเท่านั้น การอ้างว่าจัดพื้นที่ให้จริงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่อุทยาน
.
6. การอพยพชาวบ้านลงมาข้างล่างเพราะใจแผ่นดินเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ข้อเท็จจริงการจัดพื้นที่จากจุดใจแผ่นดินลงมาพื้นที่บางกลอยล่างนั้น มันคือพื้นที่อุทยานพื้นที่เดียวกัน การจะบอกว่าชาวบ้านลงมาอยู่ข้างล่างดีกว่าข้างบนจึงอ้างไม่ได้ ถ้าข้างบนผิดข้างล่างก็ต้องผิด เพราะเป็นพื้นที่ต้นน้ำเหมือนกัน
.
7. เมื่อชาวบ้านขึ้นไปอยู่ก็มีการกล่าวหาว่า “ชาวบ้านบุกรุกเปิดป่าใหม่” แสดงให้เห็นว่า รัฐยอมรับว่าพื้นที่เก่าของชาวบ้านมันได้เป็นป่าใหม่แล้ว ถ้าพื้นที่ป่านั้นสามารถฟื้นฟูใหม่ได้ “ตาม ม.65 พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ 2562 ชาวบ้านก็สามารถไปขอใช้พื้นที่ได้” ไม่ใช่การไปจับชาวบ้าน
.
8. เจ้าหน้าที่อ้างว่าปฏิบัติการตามกฎหมาย “ต้องจับ” ข้อเท็จจริง ในบทเฉพาะกาล ม.64 ถ้าเข้าบทเฉพาะกาลให้ใช้บทเฉพาะกาลก่อน เพื่อใช้ในช่วงแรกๆ มีระบุให้ไปสำรวจที่ชาวบ้านอยู่อาศัยใน 240 วัน ซึ่งมีการชี้แจงในกฎหมายว่าไม่ใช่มาตรการบังคับ หรือมาตรการเร่งรัดให้ต้องรีบจับกุมชาวบ้าน
.
9. อ้างว่าทำตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ซึ่งในคำพิพากษาฯระบุชัดว่า “ให้ยุติการจับกุมแล้วให้ความคุ้มครองชาวบ้าน” ไม่กี่วันก่อนโฆษกศาลฯ ได้แถลงว่าประเด็นคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดพูดคือ กรณีเผาบ้านชาวบ้านมีความผิด ส่วนประเด็นเรื่องที่อยู่อาศัยศาลไม่ได้พูดถึง ถ้ามีการอ้างประเด็นนี้ก็ยื่นฟ้องในเรื่องนี้

ภาพ เนื้อหา : Facebook