วันศุกร์, มีนาคม 12, 2564

‘สื่อนอก’ มองเห็น ความโหดร้ายของ 112


The101.world
17h ·

:: ส่อง ‘ สื่อนอก’ มอง 112 ::
.
10 กว่าปีที่ผ่านมาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ หรือที่รู้จักกันดีในนาม ‘ม.112’ ทะลุพุ่งสูงท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ยุคสงครามสีเสื้อถึงการปกครองใต้ร่มเงาคสช.
.
ก่อนหน้านี้ 'ม.112' ค่อยๆ เงียบหายไปจากฉากการเมืองไทยและพื้นที่สื่อเป็นเวลากว่า 2 ปี เนื่องจากไม่มีนโยบายให้ใช้ในทางปฏิบัติ
.
จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2020 ในห้วงเวลาแห่งการประท้วงทวีความเข้มข้น เมื่อรัฐบาลงัด ‘ไพ่ไม้ตาย’ กลับมาใช้ดำเนินคดีทางการเมืองอย่างเข้มข้นอีกครั้งจนมีผู้ถูกดำเนินคดีกว่า 65 รายแล้ว (ณ วันที่ 9 มีนาคม 2564) โดยที่หลายคดีศาลมีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวชั่วคราว
.
ไม่เพียงแค่สังคมไทยเท่านั้นที่จับตามองการดำเนินคดีตามม.112 สื่อทั่วโลกก็สนใจการกลับมาของ ‘Lèse-majesté Law’ ด้วยเช่นกัน
.
กระนั้นก็ตาม กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ประเด็นที่สาธารณชนต่างชาติคุ้นเคยดี จึงน่าสนใจไม่น้อยว่า สื่อเทศอธิบาย และบรรยาย 112 ในพื้นที่ต่างๆ - พาดหัว, ขยายความ, บทวิเคราะห์ - ไว้อย่างไรบ้าง?
.
ในวันที่ ม.112 กลับขึ้นมาอยู่หน้าฉากการเมืองไทยอีกครั้ง 101 ชวนสำรวจมุมมองของสื่อต่างประเทศหลากหลายสำนักจากทั่วโลกและองค์กรระหว่างประเทศต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ในไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา



:: The New York Times ::
.
“A Feared Law to Protect the Monarchy”
.
คือพาดหัวข่าวที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ The New York Times ฉบับออนไลน์ โดย Hannah Beech และ Muktita Suhartono บรรณาธิการข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตีพิมพ์ ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2020
.
ที่มา: https://www.nytimes.com/.../thailand-protest-lese-majeste...



:: Al Jazeera ::
.
“Thailand’s lese majeste law: A weapon to silence dissent?”
.
คือพาดหัวข่าวที่ปรากฏในเว็บไซต์ของสำนักข่าว Al Jazeera ตีพิมพ์ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2020
.
ที่มา: https://www.aljazeera.com/.../10/15/thailands-lese-majeste



:: TIME ::
.
"The Draconian Legal Weapon Being Used to Silence Thai Dissent"
.
คือพาดหัวบทความที่ปรากฏในนิตยสาร TIME โดย Charlie Campbell ผู้สื่อข่าวเอเชียตะวันออก ตีพิมพ์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2014
.
ที่มา: https://time.com/3650981/thailand-lese-majeste-article-112/



:: The Economist ::
.
“One of the shabbiest but most popular tricks in Thai politics is to accuse your critics of disloyalty to revered the king.”
.
คือประโยคเปิดในบทความ “No Disrespect: More Royalist Than the King” ปรากฏในนิตยสาร The Economist ฉบับประจำวันที่ 14-23 สิงหาคม 2008
.
ที่มา: https://www.economist.com/asia/2008/08/14/no-disrespect



:: The Atlantic ::
.
“Lèse-Majesté, indeed, has become a political weapon -- perhaps the most potent political weapon in Thailand”
.
คือส่วนหนึ่งจากเนื้อความในบทความ “Why Is Thailand Jailing More People for 'Insulting' the King?” โดย Joshua Kurlantzickc senior fellow ด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำ Council on Foreign Relations สถาบันคลังสมองด้านการต่างประเทศ ปรากฏในเว็บไซต์ของนิตยสาร The Atlantic ตีพิมพ์ ณ วันที่ 13 กันยายน 2011
.
ที่มา: https://www.theatlantic.com/.../why-is-thailand.../244998/



:: Nikkei Asia ::
.
"Lese-Majeste keeps Thailand in the dark ages"
.
คือพาดหัวจากบทความเห็นโดย James Buchanan ปรากฏในเว็บไซต์ของสำนักข่าว Nikkei Asia ตีพิมพ์ ณ วันที่ 13 มกราคม 2021
.
ที่มา: https://asia.nikkei.com/.../Lese-majeste-keeps-Thailand...



:: CBSnews ::
.
"Thailand's lese majeste laws are the harshest in the world."
.
"คือส่วนหนึ่งจากเนื้อความในข่าว “Thailand jails U.S. man for insulting king” ปรากฏในเว็บไซต์สำนักข่าว CBSnews ตีพิมพ์ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2011"
.
ที่มา: https://www.cbsnews.com/.../thailand-jails-us-man-for.../



:: The Diplomat ::
.
“Article 112 has been used to prevent the public from poking holes in the royalist myth that sacralizes and legitimizes Thailand’s grossly unbalanced distributions of concentrations of wealth and power”
.
คือส่วนหนึ่งจากเนื้อความในบทความ “With Severe Sentence, Thailand Deepens Its
War on Critics of the Monarchy” โดย Sebastian Strangio บรรณาธิการข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏในเว็บไซต์ของนิตยสาร The Diplomat ตีพิมพ์ ณ วันที่ 20 มกราคม 2020
.
ที่มา: https://thediplomat.com/.../with-severe-sentence.../

Nithipath Yoowasonthi

น่าจะแปลว่า
"สร้างความศักดิ์สิทธิ์และความชอบธรรมให้การรวบอำนาจและความมั่งคั่งอย่างไร้ความเป็นธรรม"
มากกว่า


:: Wall Street Journal ::
.
“Lèse-Majesté law is antiquated and has been ‘weaponized’ against dissidents.”
.
คือส่วนหนึ่งจากเนื้อความในข่าว “Thailand Uses Controversial Lèse-Majesté Law Against Pro-Democracy Protesters” โดย Feliz Solomon ผู้สื่อข่าวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรากฏในเว็บไซต์สำนักข่าว Wall Street Journal ตีพิมพ์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2020
.
ที่มา: https://www.wsj.com/.../thailand-uses-controversial-lese...


:: Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights ::
.
“Lèse-Majesté laws have no place in a democratic country”
.
คือส่วนหนึ่งจากประกาศแสดงความกังวลของสํานักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2021 โดย Irene Khan ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ด้านเสรีภาพในแสดงออก Leigh Toomey, Elina Steinerte, Miriam Estrada-Castillo, Mumba Malila และ Seong-Phil Hong จากคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ และ Clément Voule ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ด้านสิทธิ เสรีภาพในการรวมกลุ่มและการชุมนุม
.
ที่มา: https://www.ohchr.org/.../NewsE.../Pages/DisplayNews.aspx...