วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 03, 2562

#ขบวนเสด็จ สนั่นโลกทวิตเตอร์ เปิดกฎหมายเรื่องการจราจรและขบวนเสด็จ พ.ร.บ.จราจรฯให้รถฉุกเฉินไปก่อน แต่รถนำขบวนเสด็จอาจไม่ถูกบังคับ + ชาวญี่ปุ่นซึ้งใจ สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ทรงหยุดรถเพื่อให้รถพยาบาลขับไปก่อน



ตามความเข้าใจของคนทั่วไปแล้ว การที่รถฉุกเฉินอย่างรถพยาบาลเปิดสัญญาณไซเรนเช่นนี้ รถที่สัญจรไปมาจะต้องเปิดทางให้รถฉุกเฉินไปก่อน เราจึงลองไปเปิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องดูว่า ตามกฎหมายแล้วหากมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นจะต้องปฏิบัติอย่างไร

พ.ร.บ.จราจรฯให้รถฉุกเฉินไปก่อน แต่รถนำขบวนเสด็จอาจไม่ถูกบังคับด้วย

ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก 2562 หรือพ.ร.บ.จราจรฯ นิยามคำว่า “รถฉุกเฉิน” หมายความว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกำหนดให้

โดยพ.ร.บ.จราจรฯ กำหนดให้ผู้ขับรถฉุกเฉินมีสิทธิในการใช้ไฟสัญญาณหรือสัญญาณไซเรนหรือเสียอื่นใดตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด, หยุดรถหรือจอดรถในที่ห้ามจอดหรือขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใดๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร

ขณะที่ผู้ร่วมสัญจรอย่างคนที่กำลังเดินอยู่บนทางเท้าใกล้เคียงก็ต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง และผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะอื่นจะต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางแยกที่มีถนนสองเส้นตัดกัน นอกจากนี้ยังกำหนดครอบคลุมไปยังผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง

อย่างไรก็ตามรถนำขบวนบุคคลสำคัญอย่างพระมหากษัตริย์, พระราชินี, พระบรมวงศานุวงศ์, ผู้นำทางการเมืองหรืออาคันตุกะที่มาเยือนประเทศไทย อาจเป็น "รถฉุกเฉิน" ในกรณีที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นเท่ากับว่า รถนำขบวนบุคคลสำคัญและรถพยาบาลมีสถานะเป็น "รถฉุกเฉิน" เช่นเดียวกัน แต่กฎหมายก็ไม่ได้ระบุว่า หากรถฉุกเฉินสองลักษณะมาเผชิญกันจะต้องให้รถลักษณะใดได้ไปก่อน

อ่านบทความเต็มได้ที่
https://ilaw.or.th/node/5404
.