ประชุมสภา : อนาคตใหม่ส่อ "งดออกเสียง" อนุมัติ พ.ร.ก. เป็น พ.ร.บ. โอนกรมทหารราบ 1-ราบ 11 ไปเป็นของส่วนราชการในพระองค์
15 ตุลาคม 2019
บีบีซีไทย
แกนนำพรรคอนาคตใหม่ยอมรับว่ามีข้อเสนอภายในพรรคให้ "งดออกเสียง" อนุมัติพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562 เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์ "จำเป็นรีบด่วน" ตามรัฐธรรมนูญ แต่ยืนยันพิจารณาในมิติการออกกฎหมายของรัฐบาล ไม่เกี่ยวกับสถาบัน
นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร นัดหมายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส. ) ประชุมวันที่ 17 ต.ค. นี้ โดยมีเรื่องด่วนวาระแรกคือ การพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เสนอมา
พ.ร.ก. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่ 1 ต.ค. 2562 หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 30 ก.ย. 2562
งบประมาณ 2563 : กลาโหม “ไม่มีประเด็น/รายการที่เป็นข้อสงสัย” หลังรัฐบาลประยุทธ์จัดงบให้ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7%
เนื้อหาของ พ.ร.ก. ฉบับนี้มีเพียง 4 มาตรา สาระสำคัญคือการให้โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์
ทว่ามีการระบุ "หมายเหตุ" ชี้แจงเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉบับนี้รวม 21 บรรทัด โดยยืนยันว่า "เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก. นี้"
คำบรรยายภาพปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ขอให้รอฟังการอภิปรายของเขาในสภาวันที่ 17 ต.ค. นี้
รายงานข่าวจากพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) แจ้งว่า ผู้บริหารของพรรคได้หารือกับ ส.ส. บางส่วน และเห็นควรให้ลงมติ "งดออกเสียง" เพื่อรับรอง พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ ให้เป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เนื่องจากไม่เห็นเหตุผลความจำเป็นที่รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องตรากฎหมายในรูปแบบ พ.ร.ก. แทนที่จะออกเป็น พ.ร.บ. ปกติ อย่างไรก็ตามพรรคยังไม่มีมติที่ชัดเจนในเรื่องนี้ โดยได้นัดประชุม ส.ส. เพื่อหาข้อสรุปในวันที่ 16 ต.ค. รวมถึงเตรียมความพร้อมในการอภิปรายงบประมาณปี 2563 ด้วย
นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส. บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการ อนค. ปฏิเสธจะให้ความคิดเห็นกับบีบีซีไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยขอให้รอฟังการอภิปรายของเขาในวันที่ 17 ต.ค.
พงศกรชี้รัฐบาลไร้เหตุ "จำเป็นรีบด่วน" ออก พ.ร.ก.
อย่างไรก็ตามกรรมการบริหาร อนค. อย่างน้อย 2 คนยอมรับกับบีบีซีไทยว่าแกนนำพรรคได้หยิบยกเรื่องการ "งดออกเสียง" รับรอง พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ มาหารือภายในพรรคจริง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากสมาชิกมีความคิดเห็นแตกต่างหลากหลายโดยแบ่งเป็น 3 แนวทาง ทั้งให้ลงมติเห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง
พล.ท. พงศกร รอดชมภู ส.ส. บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้า อนค. กล่าวว่า เท่าที่ศึกษาเนื้อหาใน พ.ร.ก. ฉบับนี้ ยังไม่พบว่าเข้าเงื่อนไข 3-4 ประการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญคือ มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
รายงานข่าวจากพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) แจ้งว่า ผู้บริหารของพรรคได้หารือกับ ส.ส. บางส่วน และเห็นควรให้ลงมติ "งดออกเสียง" เพื่อรับรอง พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ ให้เป็นพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เนื่องจากไม่เห็นเหตุผลความจำเป็นที่รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องตรากฎหมายในรูปแบบ พ.ร.ก. แทนที่จะออกเป็น พ.ร.บ. ปกติ อย่างไรก็ตามพรรคยังไม่มีมติที่ชัดเจนในเรื่องนี้ โดยได้นัดประชุม ส.ส. เพื่อหาข้อสรุปในวันที่ 16 ต.ค. รวมถึงเตรียมความพร้อมในการอภิปรายงบประมาณปี 2563 ด้วย
นายปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส. บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการ อนค. ปฏิเสธจะให้ความคิดเห็นกับบีบีซีไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยขอให้รอฟังการอภิปรายของเขาในวันที่ 17 ต.ค.
พงศกรชี้รัฐบาลไร้เหตุ "จำเป็นรีบด่วน" ออก พ.ร.ก.
อย่างไรก็ตามกรรมการบริหาร อนค. อย่างน้อย 2 คนยอมรับกับบีบีซีไทยว่าแกนนำพรรคได้หยิบยกเรื่องการ "งดออกเสียง" รับรอง พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณฯ มาหารือภายในพรรคจริง แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากสมาชิกมีความคิดเห็นแตกต่างหลากหลายโดยแบ่งเป็น 3 แนวทาง ทั้งให้ลงมติเห็นชอบ ไม่เห็นชอบ และงดออกเสียง
พล.ท. พงศกร รอดชมภู ส.ส. บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้า อนค. กล่าวว่า เท่าที่ศึกษาเนื้อหาใน พ.ร.ก. ฉบับนี้ ยังไม่พบว่าเข้าเงื่อนไข 3-4 ประการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญคือ มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
กอ.รมน. : จากยุคสงครามเย็น สู่ ไทยแลนด์ 4.0 หน่วยงานความมั่นคงนี้ มีไว้ทำอะไร
"ต้องรอฟังเขา (รัฐบาล) ชี้แจงก่อนว่ามีความจำเป็นรีบด่วนอย่างไร ถ้าเร่งด่วนจริง ๆ ก็จะยกมือให้ ถ้าไม่เร่งด่วนก็ต้องซักถามว่าแล้วทำไมคุณต้องมาออกเป็น พ.ร.ก." รองหัวหน้า อนค. ระบุ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ฉบับนี้เป็นประเด็นละเอียดอ่อนเพราะเกี่ยวข้องกับส่วนราชการในพระองค์ หากพรรคมีมติ "งดออกเสียง" ประเมินผลกระทบที่ตามมาอย่างไร พล.ท. พงศกรกล่าวว่า "ต้องเข้าใจว่าสถาบันไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อย่าเอาไปโยง นี่เป็นวิธีการออกกฎหมายของรัฐบาลซึ่งน่าสงสัยทำไมต้อง พ.ร.ก. มีความจำเป็นรีบด่วนแค่ไหน"
BBCTHAI
รองหัวหน้า อนค. กล่าวอีกว่า ในคราวพิจารณากฎหมายเหรียญของในหลวงรัชกาลที่ 10 ครม. ก็เสนอร่าง พ.ร.บ. เข้าสภา และสภาก็ลงมติผ่านให้ 3 วาระรวด ใช้เวลาครึ่งวันจบ ไม่เห็นมีอะไรพิสดาร
"เรายินดี พร้อมเสมอที่จะสนองพระมหากรุณาธิคุณอย่างรวดเร็ว ไม่เห็นมีปัญหาอะไร" และ "เวลาเราพูดถึงเรื่องนี้ เราจบที่รัฐบาลนะ ไม่ใช่ประเด็นเรื่องข้างบน ดังนั้นขออย่ามาอ้าง" พล.ท. พงศกร ผู้เป็นอดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าว
อนึ่ง สภามีมติเมื่อ 8 ส.ค. เห็นชอบประกาศให้ร่าง พ.ร.บ. เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. .... ใช้เป็นกฎหมายด้วยคะแนนเห็นด้วย 455 เสียง ไม่เห็นด้วยไม่มี ไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง และมีมติประกาศให้ ร่าง พ.ร.บ. เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 10 พ.ศ. .... ประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 464 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง ไม่มี และไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง
ถึงขณะนี้ พล.ท. พงศกร ยังไม่ขอเปิดเผยว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไร แต่บอกใบ้ว่า "พรรคจะไม่ปล่อยฟรีโหวต เพราะเอกภาพเป็นเรื่องสำคัญ ต้องคุยกันจนกว่าจะจบ" โดยจะหาข้อสรุปในที่ประชุม อนค. และคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน)
อนค. เสียงแตก
ด้านนายนิรามาน สุไลมาน ส.ส. บัญชีรายชื่อ และกรรมการบริหารพรรค อนค. กล่าวกับบีบีซีไทยว่า สมาชิกพรรคมีความคิดเห็นที่หลากหลายมาก โดย ส.ส. รุ่นที่อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป เกือบ 90% ให้ "งดออกเสียง" ส่วน ส.ส. รุ่นใหม่ที่อายุ 25-40 ปีเห็นว่าควร "โหวตคว่ำ" พ.ร.ก. แต่ในฐานะที่เขาเป็นผู้ใหญ่และเคยมีแนวคิด "ฮาร์ดคอร์" มาก่อน คือเชื่อมั่นว่าความถูกต้องไม่ต้องรอเวลา ต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจน ทว่าในชีวิตจริงมันอาจไม่ได้เป็นอย่างนั้น ดังนั้นก็ต้องพยายามหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้ เพราะขณะนี้พรรคก็ได้รับผลกระทบหลายเรื่องแล้วและยอมรับว่าการตัดสินใจกรณี พ.ร.ก. ถือเป็นประเด็นที่อ่อนไหว
WASAWAT LUKHARANG/BBCTHAI
คำบรรยายภาพมีรายงานว่าพรรคอนาคตใหม่นัดประชุม ส.ส. วันที่ 16 ต.ค. เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการโหวตอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พ.ร.ก.โอนกำลังพลและงบประมาณฯ รวมถึงเตรียมความพร้อมในการอภิปรายงบประมาณปี 2563
"ผมคิดว่าเต็มที่เราก็แค่ 'งดออกเสียง' เพื่อหาทางลงอย่างนุ่มนวล ไม่ดูรุนแรงเกินไป เพราะเรารู้ว่าสองพลังขับเคี่ยวกันอยู่ ดังนั้นเราต้องอยู่ให้เป็น และเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจเรา... การเล่นการเมืองต้องเล่นให้เป็น ต้องอยู่ให้ยาว ไม่ใช่แบบนักมวย ทำตามชาวบ้านเชียร์ ๆ สะใจ ถึงเวลาล้มโดนนับก็หมดสภาพ จะไปทำประโยชน์อะไรให้ประชาชนและประเทศชาติก็ไม่ได้แล้ว" นายนิรามานกล่าว
กก.บห.อนค. รายนี้ยังยืนยันด้วยว่า การพิจารณากรณี พ.ร.ก. พรรคได้ถกเถียงกันในมิติด้านกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสถาบัน "สถาบันท่านเป็นของสูง เรายกท่านเอาไว้ แต่มีคนชอบมากล่าวหาว่าเราเป็นปฏิปักษ์ซึ่งไม่ใช่ความจริงเลย"
ความเคลื่อนไหวนอกสภา
นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงผู้แทนราษฎรทางเฟซบุ๊ก เมื่อ 14 ต.ค. เรื่อง "ขอให้เปิดการอภิปรายและลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562" โดยมีสาระ 2 ข้อ สรุปใจความได้ว่า
1.ในแง่รูปแบบ การตรา พ.ร.ก. นี้ขัดกับมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่เรื่องจำเป็นรีบด่วน
2.ในแง่เนื้อหา การโอนหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เป็นกองกำลังทางทหารไปเป็นหน่วยราชการในพระองค์และขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ "เป็นการขยายพระราชอำนาจทางการทหารของสถาบันกษัตริย์จนเกิดขอบเขตของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ซึ่งการถวายความปลอดภัยต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งการบริหารหน่วยงานดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอันจะสามารถตรวจสอบถ่วงดุลโดยรัฐสภาและศาล
เปิดแนวทางการพิจารณา พ.ร.ก. ของรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 กำหนดให้การตรา พ.ร.ก. กระทําได้เฉพาะเมื่อ ครม. เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และ ให้ ครม. เสนอ พ.ร.ก. ต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พ.ร.ก. โดยเร็ว ซึ่งในการอนุมัติต้องใช้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงจะส่งผลให้ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับเป็น พ.ร.บ. ต่อไป
หากสภาไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลในวันถัดไป ซึ่งแม้ พ.ร.ก. ตกไปก็จะไม่กระทบต่อกิจการที่เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.
ย้อนเส้นทาง พ.ร.ก. 3 ฉบับถูกคว่ำกลางสภา
ที่ผ่านมา มี พ.ร.ก. เพียง 3 ฉบับที่ไม่ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา ส่งผลให้ผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร 1 คนคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองด้วยการลาออกจากตำแหน่ง และอีก 1 คนคือ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ต้องประกาศยุบสภาในวันนั้น
นอกจากนี้ ก่อนที่สภาหรือวุฒิสภาจะอนุมัติ พ.ร.ก. ใด รัฐธรรมนูญ มาตรา 173 เปิดทางให้ ส.ส. และ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่า พ.ร.ก. ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย และให้รอการพิจารณา พ.ร.ก. ไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องวินิจฉัยภายใน 60 วัน
"ผมคิดว่าเต็มที่เราก็แค่ 'งดออกเสียง' เพื่อหาทางลงอย่างนุ่มนวล ไม่ดูรุนแรงเกินไป เพราะเรารู้ว่าสองพลังขับเคี่ยวกันอยู่ ดังนั้นเราต้องอยู่ให้เป็น และเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจเรา... การเล่นการเมืองต้องเล่นให้เป็น ต้องอยู่ให้ยาว ไม่ใช่แบบนักมวย ทำตามชาวบ้านเชียร์ ๆ สะใจ ถึงเวลาล้มโดนนับก็หมดสภาพ จะไปทำประโยชน์อะไรให้ประชาชนและประเทศชาติก็ไม่ได้แล้ว" นายนิรามานกล่าว
กก.บห.อนค. รายนี้ยังยืนยันด้วยว่า การพิจารณากรณี พ.ร.ก. พรรคได้ถกเถียงกันในมิติด้านกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับสถาบัน "สถาบันท่านเป็นของสูง เรายกท่านเอาไว้ แต่มีคนชอบมากล่าวหาว่าเราเป็นปฏิปักษ์ซึ่งไม่ใช่ความจริงเลย"
ความเคลื่อนไหวนอกสภา
นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงผู้แทนราษฎรทางเฟซบุ๊ก เมื่อ 14 ต.ค. เรื่อง "ขอให้เปิดการอภิปรายและลงมติไม่อนุมัติพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562" โดยมีสาระ 2 ข้อ สรุปใจความได้ว่า
1.ในแง่รูปแบบ การตรา พ.ร.ก. นี้ขัดกับมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ใช่เรื่องจำเป็นรีบด่วน
2.ในแง่เนื้อหา การโอนหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เป็นกองกำลังทางทหารไปเป็นหน่วยราชการในพระองค์และขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ "เป็นการขยายพระราชอำนาจทางการทหารของสถาบันกษัตริย์จนเกิดขอบเขตของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ซึ่งการถวายความปลอดภัยต่อพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมทั้งการบริหารหน่วยงานดังกล่าวเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอันจะสามารถตรวจสอบถ่วงดุลโดยรัฐสภาและศาล
เปิดแนวทางการพิจารณา พ.ร.ก. ของรัฐสภา
รัฐธรรมนูญ มาตรา 172 กำหนดให้การตรา พ.ร.ก. กระทําได้เฉพาะเมื่อ ครม. เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และ ให้ ครม. เสนอ พ.ร.ก. ต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ พ.ร.ก. โดยเร็ว ซึ่งในการอนุมัติต้องใช้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร จึงจะส่งผลให้ พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับเป็น พ.ร.บ. ต่อไป
หากสภาไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ให้นายกรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลในวันถัดไป ซึ่งแม้ พ.ร.ก. ตกไปก็จะไม่กระทบต่อกิจการที่เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.
- ถ้าสภาและวุฒิสภาอนุมัติ >> พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับเป็น พ.ร.บ.
- ถ้าสภาไม่อนุมัติ >> พ.ร.ก. ตกไป แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.
- ถ้าสภาอนุมัติ แต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ และสภายืนยันการอนุมัติด้วย "คะแนนเสียงไม่มากกว่ากึ่งหนึ่ง" ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา >> พ.ร.ก. ตกไป แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้ พ.ร.ก.
- ถ้าสภาอนุมัติ แต่วุฒิสภาไม่อนุมัติ และสภายืนยันการอนุมัติด้วย "คะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง" ของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา >>พ.ร.ก. มีผลใช้บังคับเป็น พ.ร.บ.
ย้อนเส้นทาง พ.ร.ก. 3 ฉบับถูกคว่ำกลางสภา
ที่ผ่านมา มี พ.ร.ก. เพียง 3 ฉบับที่ไม่ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภา ส่งผลให้ผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร 1 คนคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองด้วยการลาออกจากตำแหน่ง และอีก 1 คนคือ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ต้องประกาศยุบสภาในวันนั้น
นอกจากนี้ ก่อนที่สภาหรือวุฒิสภาจะอนุมัติ พ.ร.ก. ใด รัฐธรรมนูญ มาตรา 173 เปิดทางให้ ส.ส. และ ส.ว. จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่า พ.ร.ก. ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 วรรคหนึ่ง และให้ประธานแห่งสภานั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นเพื่อวินิจฉัย และให้รอการพิจารณา พ.ร.ก. ไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าต้องวินิจฉัยภายใน 60 วัน
อย่างไรก็ตาม อนค. ไม่มีแผนล่ารายชื่อ ส.ส. ให้ครบ 1 ใน 5 หรือ 100 คน เพื่อใช้สิทธินี้ เพราะมี ส.ส. ที่ยังปฏิบัติหน้าที่ได้เพียง 79 คน และไม่มั่นใจว่าพรรคร่วมฝ่ายค้านจะร่วมด้วยในประเด็นนี้
ด้าน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวถึงกระแสข่าว ส.ส. บางส่วนอาจ "งดออกเสียง" รับรอง พ.ร.ก. ดังกล่าวว่า เป็นเรื่องในสภาที่จะพิจารณา อย่าไปยุ่งเกี่ยวกับเขา ตนไม่ยุ่งเกี่ยว ส่วนจะกระทบต่อรัฐบาลหรือไม่นั้น นายกฯ กล่าวว่า ได้พูดคุยทำงานร่วมกับพรรคร่วมรัฐบาลมาโดยตลอด ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร ทุกเรื่องสามารถเดินหน้าไปได้ อะไรที่มันติดขัด ก็มาหารือร่วมกัน "แม้จะเป็นรัฐมนตรีคนละพรรคก็ตาม เราเป็นรัฐบาลของคนไทย ของประเทศไทย เราต้องทำให้ได้ก็แล้วกัน"
บีบีซีไทยตรวจสอบราชกิจจานุเบกษาในรอบเกือบ 20 ปี พบว่า รัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร เคยออก พ.ร.ก. ทั้งสิ้น 12 ฉบับ, รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ 1 ฉบับ, รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 3 ฉบับ, รัฐบาล น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 7 ฉบับ รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยุคก่อนเลือกตั้ง) 12 ฉบับ และรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ (ยุคหลังการเลือกตั้ง) 2 ฉบับ โดยมีอยู่ 1 ฉบับคือ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ที่ ส.ส. ได้เข้าชื่อกัน 100 คน เพื่อขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ ขณะนี้อยู่ในชั้นพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ