วันพฤหัสบดี, เมษายน 27, 2566

ผลโพลของ อ. ธำรงศักดิ์ พรรคฝ่ายประชาธิปไตยครอง (แต่อย่าประมาท กลโกง dirty tricks ตุกติกวิธีการ มีมาก !)


ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
April 24
.
พรรคฝ่ายประชาธิปไตยครอง ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้วร้อยละ 63-74 โดย ก้าวไกล-เพื่อไทย
คะแนน 3.6-3.9 แสนเสียง ต่อ 1 ส.ส.บัญชีรายชื่อ
คนไทยกระตือรือร้นจะไปเลือกตั้งสูงมากถึงร้อยละ 75-80 หรือ 39-42 ล้านคน
: ‘อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล’
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52.32 ล้านคน) จำนวน 4,588 คน ใน 57 จังหวัด เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566
ผลการวิจัยพบว่า
1.คำถามว่า “ท่านจะไปเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 หรือไม่” ตอบว่า ไปเลือกตั้ง ร้อยละ 90.72 ไม่ไปเลือกตั้ง ร้อยละ 1.85 ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 5.79 ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 1.64
แต่เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการมาใช้สิทธิเลือกตั้งในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ปี 2554 มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 75.03 ปี 2562 มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 74.87 ดังนั้น สภาพการณ์เลือกตั้งปีนี้ที่คนไทยมีความกระตือรือร้นสูงมาก คาดได้ว่าน่าจะมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งปีนี้ ราวร้อยละ 75-80 หรือราว 39-42 ล้านคน จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งสิ้น 52.28 ล้านคน (ผู้มีสิทธิเลือกตั้งปีนี้มีเพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 1.04 ล้านคน)
2. แม้จะมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งราว 39-42 ล้านคน แต่เนื่องจากบัตรเสียที่ผ่านมามีอยู่ระดับร้อยละ 5 หรือราว 2.1 ล้านเสียง และไม่ประสงค์ลงคะแนนราว 6 แสนเสียง หรือรวม 2.7 ล้านเสียง ทำให้คะแนนที่จะใช้นับเพื่อนำไปคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อจึงมีอยู่ที่ 36-39 ล้านเสียง ดังนั้น 100 ส.ส.บัญชีรายชื่อ น่าจะต้องได้คะแนนเสียงราว 3.6-3.9 แสนเสียงต่อ 1 ส.ส.บัญชีรายชื่อ
3. ผู้ตัดสินใจเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย รวมร้อยละ 64.71 ได้แก่ อันดับที่ 1 ก้าวไกล 36.46% อันดับที่ 2 เพื่อไทย 24.30% อันดับที่ 3 ประชาชาติ 2.25% อันดับที่ 4 เสรีรวมไทย 1.0% อันดับที่ 5 ไทยสร้างไทย 0.70% ซึ่งสอดคล้องกับสำนักนิด้าโพล (เมษายน) พรรคฝ่ายประชาธิปไตยได้ร้อยละ73.6 มติชน-เดลินิวส์โพล (ครั้งที่ 1) ได้ร้อยละ 74.10 ไทยรัฐโพล (ครั้งที่ 2) ได้ร้อยละ 63.31
คะแนนเสียงระดับ ร้อยละ 63-74 (ของสี่สำนักโพล) จากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 75 จะเป็นคะแนนของพรรคฝ่ายประชาธิปไตยเบื้องต้นราว 22-26 ล้านเสียง
4. ผู้ที่ตัดสินใจเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมร้อยละ 12.21 ได้แก่ อันดับที่ 1 รวมไทยสร้างชาติ 4.42% อันดับที่ 2 ประชาธิปัตย์ 2.76% อันดับที่ 3 ภูมิใจไทย 2.62% อันดับที่ 4 พลังประชารัฐ 2.06% อันดับที่ 5 ชาติไทยพัฒนา 0.35% ซึ่งสอดคล้องกับสำนักนิด้าโพล (เมษายน) ได้ร้อยละ 20.7 มติชน-เดลินิวส์โพล (ครั้งที่ 1) ได้ร้อยละ 19.52 ไทยรัฐโพล (ครั้งที่ 2) ได้ร้อยละ 30.87
คะแนนเสียงระดับ ร้อยละ 12-30 (ของสี่สำนักโพล) จากผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งร้อยละ 75 จะเป็นคะแนนของพรรคการเมืองสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เบื้องต้นราว 4-10 ล้านเสียง
5. ผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองใด และไม่แสดงความเห็น รวมทั้งเลือกพรรคอื่นๆ ในระดับน้อยกว่าร้อยละ 1 นั้น มีจำนวนร้อยละ 23.08 หรือราว 8 ล้านเสียง
สำหรับอีกสามสำนักโพลนั้น ผู้ยังไม่ตัดสินใจและเลือกอื่นๆ นั้น สำนักนิด้าโพล (เมษายน) มีร้อยละ 5.7 มติชน-เดลินิวส์โพล (ครั้งที่ 1) มีร้อยละ 6.38 ไทยรัฐโพล (ครั้งที่ 2) มีร้อยละ 5.82
6. ข้อมูลการมาใช้สิทธิเลือกตั้งปี 2562
ภาคกลางรวมกรุงเทพฯ ผู้มีสิทธิ 18.0 ล้านคน มาใช้สิทธิ 13.69 ล้านคน ร้อยละ 76.04 ไม่มาใช้สิทธิ 4.31 ล้านคน
ภาคอีสาน ผู้มีสิทธิ 17.18 ล้านคน มาใช้สิทธิ 12.21 ล้านคน ร้อยละ 71.08 ไม่มาใช้สิทธิ 4.97 ล้านคน
ภาคเหนือ ผู้มีสิทธิ 9.05 ล้านคน มาใช้สิทธิ 6.99 ล้านคน ร้อยละ 77.23 ไม่มาใช้สิทธิ 2.06 ล้านคน
ภาคใต้ ผู้มีสิทธิ 6.97 ล้านคน มาใช้สิทธิ 5.44 ล้านคน ร้อยละ 78.08 ไม่มาใช้สิทธิ 1.53 ล้านคน
จากข้อมูลการมาใช้สิทธิเลือกตั้งปี 2562 เห็นได้ว่า ยุทธศาสตร์รณรงค์การมาใช้สิทธิเลือกตั้งควรพุ่งเป้าหมายที่ภาคอีสาน ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพฯ โดยภาคอีสานนั้น กว่าสิบจังหวัดมาใช้สิทธิในระดับน้อยกว่าร้อยละ 70 ขณะที่อัตราเฉลี่ยของการมาใช้สิทธิทั้งประเทศอยู่ที่ร้อยละ 74.87 หรือควรสร้างความรับรู้และวิธีการเอื้อให้ประชาชนสะดวกต่อการที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งในแบบต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มด้านข่าวสารและช่องทางข่าวสาร รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
7. บัตรเสีย
เลือกตั้งปี 2554 เป็นการเลือกตั้งแบบสองบัตร มีบัตรเสียแบบบัญชีรายชื่อ 1.72 ล้านบัตร หรือร้อยละ 4.90 บัตรเสียแบบเขตเลือกตั้ง 2.04 ล้าน หรือร้อยละ 5.79
เลือกตั้งปี 2562 เป็นการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว มีบัตรเสีย 2.13 ล้านบัตร หรือร้อยละ 5.58
บัตรเสียในระดับ 2 ล้านกว่าบัตรในรอบสิบปีที่ผ่านมา คือปัญหาที่ฝ่ายบริหารการเลือกตั้งจะต้องหาทางแก้ไขเพื่อไม่ให้เสียงของประชาชนตกน้ำหรือเป็นศูนย์ โดยต้องวิเคราะห์ถึงปัจจัยบัตรเสีย และการหาแนวทางแก้ไขในด้านอุปกรณ์การกาบัตร ทั้งปากกาที่มีคุณภาพ โต๊ะรองการกาบัตรที่เรียบ รวมทั้งการเอื้อให้ประชาชนไม่ต้องจดจำหมายเลขที่ต้องการจะกาบัตรเพราะเกิดความจำที่สับสน หนึ่งในปัจจัยนั้นคือไทยเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการเลือกตั้งทุกครั้ง อันนับได้ว่าเป็นการทำลายหลักการประชาธิปไตย และทำลายอำนาจสูงสุดของประชาชน หรือการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการกดออกเสียงบัตรเลือกตั้ง เป็นต้น
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 2,439 คน (53.16%) ชาย 2,023 คน (44.09%) เพศหลากหลาย 126 คน (2.75%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม Gen Z (18-26 ปี) 1,915 คน (41.74%) Gen Y (27-44 ปี) 1,016 คน (22.10%) Gen X (44-58 ปี) 1,046 คน (22.80%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (59 ปีขึ้นไป) 613 คน (13.36%)
การศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 492 คน (10.72%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 971 คน (21.16%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 542 คน (11.82%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 2,210 คน (48.17%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 373 คน (8.13%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 1,529 คน (33.33%) เกษตรกร 456 คน (9.94%) พนักงานเอกชน 431คน (9.39%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 471 คน (10.27%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 602 คน (13.12%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 600 คน (13.08%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 329 คน (7.17%) อื่นๆ 170 คน (3.70%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 939 คน (20.47%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 1,141 คน (24.87%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 1,170 คน (25.50%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 620 คน (13.51%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 302 คน (6.58%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 416 คน (9.07%)
หมายเหตุ :
1. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยส่วนบุคคล ทัศนะจากงานวิจัยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และขอบคุณนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ในวิชาการเมืองไทยเบื้องต้น วิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย และวิชาสัมมนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งมิตรสหาย รวม 207 คน ที่ได้ร่วมเก็บแบบสอบถามใน 137 เขตเลือกตั้ง ใน 57 จังหวัดทั่วประเทศไทย
2. สื่อสามารถนำทั้งหมดหรือบางส่วนไปเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้ขอระบุที่มาว่า "อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล"

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=816244123403910&id=100050549886530
.....



ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
19h
·
ก้าวไกล-เพื่อไทย คะแนนนิยมนำในภาคใต้
ก้าวไกล-ประชาชาติ-เพื่อไทย นำในสี่จังหวัดชายแดนใต้
: ‘อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล’
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 52.32 ล้านคน) จำนวน 4,588 คน ใน 57 จังหวัด เรื่อง ทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566
ผลการวิจัยพบว่า
1. ทุกกลุ่มเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ตอบรับความนิยมต่อพรรคฝ่ายประชาธิปไตยที่สูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ได้แก่ พรรคก้าวไกล เพื่อไทย และประชาชาติ โดยพรรคประชาชาติมีความนิยมน้อยมากในเขตสิบจังหวัดภาคใต้ แต่มีมากในเขตสี่จังหวัดชายแดนใต้ สามพรรคนี้มีคะแนนนิยมร่วมกันอยู่ราวร้อยละ 50 ส่วนพรรคสืบทอดอำนาจ คสช. และพรรคร่วมรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคะแนนนิยมรวมกันอยู่ราวร้อยละ 20 สำหรับคะแนนเสียงที่เหลือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งน่าจะตัดสินใจกันโค้งสุดท้าย
2. คนสิบจังหวัดภาคใต้ ตัดสินใจจะเลือก ส.ส. บัญชีรายชื่อ อันดับที่ 1 ก้าวไกล 34.6% อันดับที่ 2 เพื่อไทย 19.0% อันดับที่ 3 รวมไทยสร้างชาติ 7.7% อันดับที่ 4 ประชาธิปัตย์ 6.7% อันดับที่ 5 พลังประชารัฐ 3.3% อันดับที่ 6 ภูมิใจไทย 2.4% ที่เหลือได้น้อยกว่า 1% มีผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ 16.8% และไม่แสดงความเห็น 6.4%
บทวิเคราะห์เบื้องต้น : สิบจังหวัดภาคใต้ ปีเลือกตั้งนี้ 2566 มีประชากรรวม 7.014 ล้านคน ลดลงเล็กน้อยจากปีเลือกตั้ง 2562 ที่มี 7.042 ล้านคน แต่มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น 8 คน จาก ส.ส. ปี 2562 มีได้ 37 คน เพิ่มขึ้นเป็น 45 คน (ทั้งนี้เพราะปี 2562 ส.ส. เขตมี 350 คน ปีนี้ 2566 มี ส.ส. เขต 400 คน) ดังนั้น จังหวัดที่มี ส.ส. เพิ่มขึ้น จะมีขนาดพื้นที่เขตเลือกตั้งเล็กลง และนี่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญของการเบียดแทรกของพรรคการเมืองและนักการเมืองใหม่ๆ นอกเหนือจากปัจจัยของกระแสการแข่งขันหาเสียงทางการเมืองระดับชาติ
จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เท่าเดิม ได้แก่ ชุมพร 3 คน พัทลุง 3 คน ระนอง 1 คน
จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น ได้แก่ กระบี่ เพิ่ม 1 คน เป็น 3 คน ตรัง เพิ่ม 1 คน เป็น 4 คน พังงา เพิ่ม 1 คน เป็น 2 คน ภูเก็ต เพิ่ม 1 คน เป็น 3 คน สุราษฎร์ธานี เพิ่ม 1 คน เป็น 7 คน สงขลา เพิ่ม 1 คน เป็น 9 คน นครศรีธรรมราช เพิ่ม 2 คน เป็น 10 คน
ปี 2562 คนภาคใต้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 78.08 การสำรวจครั้งนี้ มีผู้ตอบว่าจะมาเลือกตั้งสูงถึงร้อยละ 91.3
คำถามของนักวิจัย คือ ปี 2562 ป้อมค่ายกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นป้อมค่ายสำคัญของพระประชาธิปัตย์แตกแล้วนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้ 2566 ป้อมค่ายอันแข็งแกร่งในภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ระดับเขตเลือกตั้ง จะยังรักษาไว้ได้หรือไม่ และพรรคก้าวไกล-เพื่อไทย จะสามารถเจาะทะลวงที่นั่งของพรรคร่วมรัฐบาลในสิบจังหวัดภาคใต้นี้ได้หรือไม่
3. คนสี่จังหวัดชายแดนใต้ ตัดสินใจจะเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ อันดับที่ 1 ก้าวไกล 20.1% อันดับที่ 2 ประชาชาติ 16.6% อันดับที่ 3 เพื่อไทย 13.7% อันดับที่ 4 พลังประชารัฐ 5.6% อันดับที่ 5 ประชาธิปัตย์ 4.1% อันดับที่ 6 ภูมิใจไทย 3.1% อันดับที่ 6 รวมไทยสร้างชาติ 2.7% ที่เหลือได้น้อยกว่า 1% มีผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ 23.5% และไม่แสดงความเห็น 7.8%
บทวิเคราะห์เบื้องต้น : สี่จังหวัดชายแดนใต้ ปีเลือกตั้งนี้ 2566 มีประชากรรวม 2.43 ล้านคน เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีเลือกตั้ง 2562 ที่มี 2.35 ล้านคน มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น 2 คน จาก ส.ส. ปี 2562 มีได้ 13 คน เพิ่มขึ้นเป็น 15 คน (ทั้งนี้เพราะปี 2562 ส.ส. เขตมี 350 คน ปีนี้ 2566 มี ส.ส. เขต 400 คน) ดังนั้น จังหวัดที่มี ส.ส. เพิ่มขึ้น จะมีขนาดพื้นที่เขตเลือกตั้งเล็กลง และนี่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญของการเบียดแทรกของพรรคการเมืองและนักการเมืองใหม่ๆ นอกเหนือจากปัจจัยของกระแสการแข่งขันหาเสียงทางการเมืองระดับชาติ
จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เท่าเดิม ได้แก่ ยะลา 3 คน สตูล 2 คน
จังหวัดที่มีจำนวน ส.ส. เพิ่มขึ้น ได้แก่ ปัตตานี เพิ่ม 1 คน เป็น 5 คน นราธิวาส เพิ่ม 1 คน เป็น 5 คน
ปี 2562 คนภาคใต้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 78.08 การสำรวจครั้งนี้ มีผู้ตอบว่าจะมาเลือกตั้งสูงถึงร้อยละ 93.9
คำถามของนักวิจัย คือ พรรคประชาชาติจะยังคงรักษาที่นั่งไว้ได้หรือไม่ และพรรคก้าวไกล-เพื่อไทย จะสามารถเจาะทะลวงที่นั่งของพรรคร่วมรัฐบาลในสี่จังหวัดนี้ ได้หรือไม่
4. คะแนนนิยมของประชาชนต่อพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้รวมสี่จังหวัดชายแดนใต้ มีร้อยละ 5.60 และในระดับประเทศมีร้อยละ 2.76 ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจคะแนนนิยมต่อพรรคประชาธิปัตย์ในระดับประเทศของสำนักนิด้าโพล (เมษายน) ได้ร้อยละ 4.50 มติชน-เดลินิวส์โพล (ครั้งที่ 1) ได้ร้อยละ 1.83 ไทยรัฐโพล (ครั้งที่ 2) ได้ร้อยละ 2.38 เนชั่นโพล (21 เมษายน) ได้ร้อยละ 3.50
ข้อมูลพื้นฐาน
งานวิจัยทัศนคติของประชาชนต่อการเลือกตั้งและสังคมการเมืองไทย 2566 มีผู้ตอบแบบสอบถามรวม 4,588 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566
ภาคใต้ (10 จังหวัด) ตอบแบบสอบถาม 794 คน
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 419 คน (52.8%) ชาย 350 คน (44.1%) เพศหลากหลาย 25 คน (3.1%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม Gen Z (18-26 ปี) 363 คน (45.7%) Gen Y (27-44 ปี) 184 คน (23.2%) Gen X (44-58 ปี) 162 คน (20.4%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (59 ปีขึ้นไป) 85 คน (10.7%)
การศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 79 คน (9.9%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 190 คน (23.9%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 87 คน (11.0%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 389 คน (49.0%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 49 คน (6.2%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 308 คน (38.8%) เกษตรกร 138 คน (17.4%) พนักงานเอกชน 52 คน (6.5%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 52 คน (6.5%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 119 คน (15%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 78 คน (9.8%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 23 คน (2.9%) อื่นๆ 24 คน (3.0%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 190 คน (23.9%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 169 คน (21.3%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 212 คน (26.7%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 110 คน (13.9%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 46 คน (5.8%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 67 คน (8.4%)
สี่จังหวัดชายแดนใต้ ตอบแบบสอบถาม 588 คน
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 289 คน (49.1%) ชาย 290 คน (49.3%) เพศหลากหลาย 9 คน (1.5%)
อายุของผู้ตอบแบบสอบถาม Gen Z (18-26 ปี) 184 คน (31.3%) Gen Y (27-44 ปี) 159 คน (27.0%) Gen X (44-58 ปี) 158 คน (26.9%) Gen Baby Boomer ขึ้นไป (59 ปีขึ้นไป) 87 คน (14.8%)
การศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 45 คน (7.7%) มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 81 คน (13.8%) อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 50 คน (8.5%) ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 312 คน (53.1%) สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 100 คน (17%)
อาชีพหลักของผู้ตอบแบบสอบถาม: นักเรียนนักศึกษา 121 คน (20.6%) เกษตรกร 51 คน (8.7%) พนักงานเอกชน 49 คน (8.3%) รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 58 คน (9.9%) เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 59 คน (10%) ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ 181 คน (30.8%) พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 45 คน (7.7%) อื่นๆ 24 คน (4.1%)
รายได้ต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม: ไม่มีรายได้ 84 คน (14.3%) รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท 154 คน (26.2%) รายได้ 10,001-20,000 บาท 112 คน (19.0%) รายได้ 20,001-30,000 บาท 73 คน (12.4%) รายได้ 30,001- 40,000 บาท 59 คน (10.0%) รายได้ 40,001 บาทขึ้นไป 106 คน (18%)
หมายเหตุ :
1. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยส่วนบุคคล ทัศนะจากงานวิจัยไม่เกี่ยวข้องกับสถาบันการศึกษาใดๆ ทั้งสิ้น และขอบคุณนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ในวิชาการเมืองไทยเบื้องต้น วิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย และวิชาสัมมนาการเมืองการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งมิตรสหาย รวม 207 คน ที่ได้ร่วมเก็บแบบสอบถามใน 137 เขตเลือกตั้ง ใน 57 จังหวัดทั่วประเทศไทย
สำหรับในภาคใต้สิบจังหวัด มีนักศึกษาเก็บข้อมูล ใน 23 เขตเลือกตั้ง ใน 7 จังหวัด และในสี่จังหวัดชายแดนใต้ มีนักศึกษาเก็บข้อมูล ใน 10 เขตเลือกตั้ง ใน 4 จังหวัด
2. สื่อสามารถนำทั้งหมดหรือบางส่วนไปเผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต ทั้งนี้ขอระบุที่มาว่า "อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล"

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=817132589981730&id=100050549886530