วันพฤหัสบดี, เมษายน 10, 2568

ปรากฏการณ์อภิปรายของลูกชายเนวิน ทำรัฐบาลอลเวง ทั้งจากท่าทางของ ชาดา ไทยเศรษฐ์ และจากปฏิกิริยา ‘เฟลส์’ ของ ทักษิณ ชินวัตร

อภิปรายของลูกชายเนวินทำเอารัฐบาลอลเวงน่าดู แม้นจะมีหลายเสียงมองว่าหมอนี่ บ้าๆ บ้งๆ พอดู แต่จากท่าทางของ ชาดา ไทยเศรษฐ์ ก็น่าจะมีอะไรอยู่ในกอไผ่ ทำให้ท่าทีของ อนุทิน ชาญวีรกูล ไม่ คูลส์เสียแล้ว ถึงอย่างนั้นท่ายาก ทักษิณ ชินวัตร ก็ยัง เฟลส์’

ไชยชนก ชิดชอบ :ตลอดการอภิปรายของไชยชนกนั้นได้มีการอภิปรายเชื่อมโยงปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น พายุไต้ฝุ่น ไฟป่า แผ่นดินไหว ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสภาวะโลกเดือด รวมถึงปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ”

อันนั้น Jessada Denduangboripant ว่า “เดี๋ยววก่อน !! ท่านไปเรียนมาจากตำราวิทยาศาสตร์ เล่มไหนกันเนี่ย ถึงจับแพะชนแกะ โยงกันไปเรื่อยขนาดนี้ได้ มันไม่เกี่ยวกันเลยนะครับ ระหว่าง จันทรุปราคา-สุริยุปราคา กับ วงแหวนดาวเสาร์ กับ โซลาแฟลร์ กับ น้ำท่วม-แผ่นดินไหว-ภูเขาไฟระเบิด”

มีอีก Kewell Sattapinit บอก “ถ้าตามข่าวมา จริงๆ นายคนที่ประกาศไม่เอากาสิโนร้องไห้ในสภาจนรักชนก (ศรีนอก) มาปลอบ แกคือคนที สว.สำรองกล่าวหาว่ามีคลิปเสียง สว. สีน้ำเงินนี่ครับ แกคงรู้อนาคตนะว่าจะเกิดอะไรขึ้น แกระบายความในใจหมดเลย”

แล้วที่ ชาดา ไทยเศรษฐ์ พ่อของ รมช.มหาดไทย ซาบีดา พูดล่ะ “ผมก็ชอบเล่นการพนัน แต่ผมไม่เห็นด้วย เพราะสังคมเรายังไม่เข้มแข็งพอ...ถ้าจะทำ ต้องไปทำประชาพิจารณ์ก่อน ให้ประชาชนเป็นคนตัดสิน อย่าทึกทักเอาเอง”

แน่นอนนี่ควรทำให้ อนุทิน หน้าม้าน แต่ทั่น รมว.มหาดไทยก็ยังหน้าตาย “ยังไม่ได้เคลียร์กับเจ้าตัว เพราะเขามีความเครียดเยอะ นายไชยชนกก็ไม่ได้แจ้งตนเองว่าจะขึ้นอภิปราย...แต่นี่เขาพูดในนามส่วนตัวของเขา” ส่วนที่ว่ารู้แล้วมี ๑ คนไม่เห็นด้วยนั่น ผิด

อย่างไรก็ดี ที่อภิปรายกันยืดยาวนั้นเรื่องจะเอาไงดีกับนโยบายก้าวร้าวของทรั้มพ์ ตั้งกำแพงภาษี ซึ่งตอนนี้ผ่อนลงไปเหลือแค่ ๑๐% ให้เวลา ๙๐ วัน ขณะที่ฟัดจีนหนักแบบกัดแล้วสะบัดไปด้วย เพิ่มภาษีเป็น ๑๒% ขณะจีนสวนมาแค่ ๓๕%

เรื่องของเรื่องทำให้ร่าง กม.นิรโทษกรรมที่พ่วงท้ายร่างสถานบันเทิงครบวงจร หลุดไปรอการประชุมสมัยหน้า บางแบกว่านี่เป็นทฤษฎีสมคบคิด ให้ไชยชนกมาอภิปรายเยิ่นเย้อ แถม ศิริกัญญา ตันสกุล ผสมโรงจ้อชี้โน่นสอนนี่จนหมดเวลา (ดูรูป)

ทว่าประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้น มันอยู่ที่ทำให้พ่อนายกฯ ฉุนดิ “เป็นการพัฒนาประเทศธรรมดา ไม่มีอะไรซ่อนเร้น แต่อย่างว่า คนเราก็ขี้อิจฉาริษยากันก็มีบ้าง คนที่เห็นด้วยมีเยอะ แต่เงียบ คนที่ไม่เห็นด้วย บางทีก็ถูกชี้นำในทางที่ผิด

เอ๊า มันเป็นหยั่งงี้นี่เอง ไอ้วิสัยทัศน์กับทัศนคติ มันห่างกันแค่เส้นยาแดงผ่าแปดเท่านั้นจริงๆ พอพลาดท่าสะดุดขาตัวเองตกขอบถนน โทษเทพยดาฟ้าดินไม่ได้ ก็โทษผู้คนที่เขาเดินอยู่บนทางเดียวกัน ว่าพวกเขาอิจฉาริษยาเสียนี่

(https://www.facebook.com/thestandardth/posts/9xcm9DBJB8, https://www.facebook.com/MatichonOnline/posts/zpQEA33KWH และ https://www.facebook.com/thestandardth/posts/iwehjLsSRaV) 

สิ่งใดเป็นปัจจัยที่อาจทำให้ประเทศจีนหันมาตีตลาดในไทยเพิ่มมากขึ้นหลังสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ทวีความรุนแรง และไทยควรมีท่าทีเช่นไรในการตั้งรับต่อสถานการณ์ดังกล่าว



สินค้าจีนจะทะลักเข้ามาขายในไทยมากขึ้นไหม หลังสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ทวีความรุนแรง

เมื่อ 7 ชั่วโมงที่แล้ว
บีบีซีไทย

สงครามการค้าระหว่างประเทศจีนและสหรัฐฯ ทวีความรุนแรงขึ้นหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศวันนี้ (9 เม.ย.) เพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าของจีนเป็น 104% หลังทางการจีนปฏิเสธที่จะถอนภาษีนำเข้าสินค้าตอบโต้ต่อสหรัฐฯ อีกทั้งยังได้ประกาศเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ ที่จะนำเข้าไปขายในจีนเป็น 84% ด้วย

รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ว่า การตอบโต้ด้านภาษีระหว่างสองประเทศมหาอำนาจส่งผลให้การค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ มีแนวโน้มลดลงและอาจทำให้จีนหันมาค้าขายกับกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในหมุดหมายที่จีนอาจส่งสินค้าเข้ามาตีตลาดมากขึ้นด้วย

สำหรับประเทศไทย มีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แต่การส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่มีการปรับเพิ่มขึ้นมากนักตามสถิติของธนาคารแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ โรงงานผลิตและผู้ประกอบการขนาดเล็กในประเทศไทย ยังมีรายงานการปิดตัวที่สูงขึ้นด้วย เนื่องจากเผชิญกับปัญหาความต้องการที่ลดลง และความแข่งขันรุนแรงจากสินค้านำเข้าหลายประเภท ตามรายงานจากศูนย์วิจัยกสิกร

บีบีซีไทยพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ถึงปัจจัยที่อาจทำให้ประเทศจีนหันมาตีตลาดในไทยเพิ่มมากขึ้นหลังสงครามการค้ากับสหรัฐฯ ผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับ และท่าทีที่ไทยควรมีในการตั้งรับต่อสถานการณ์ดังกล่าว

การผลิตสินค้าที่ล้นเกินของจีน



ดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ให้ข้อมูลกับบีบีซีไทย เกี่ยวกับสาเหตุหลักของการที่ประเทศจีนต้องการเปิดตลาดการส่งออกที่กว้างขึ้นว่า เกิดจากหลายปัจจัย โดยหนึ่งในนั้นคือการที่ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีฐานการผลิตขนาดใหญ่ ทำให้มีข้อได้เปรียบในเรื่องของ การประหยัดทุนโดยเพิ่มขนาดของการผลิต (Economies of Scale) มาเป็นระยะเวลานาน แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศจีนโดนกีดกันการส่งออกสินค้าไปในหลายประเทศจากการถูกขึ้นกำแพงภาษีนำเข้า เช่น จากสหรัฐฯ หรือชาติยุโรป ทำให้ธุรกิจจีนพบกับข้อจำกัดในการระบายสินค้า

"จีนผลิตสินค้าแต่ละรายการ มักจะมีความพยายามให้ได้การประหยัดทุนโดยเพิ่มขนาดของการผลิต (Economies of Scale) สูง ๆ ฉะนั้นในจังหวะที่กลุ่มเป้าหมายมีข้อจำกัดเลยทำให้ดูเหมือนจะเป็นการผลิตที่ล้นเกิน (overcapacity) ด้วย" ดร.วิศิษฐ์ ระบุ

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุในบทสัมภาษณ์กับสำนักข่าวไทยพีบีเอส ถึงกรณีการเกิดอุปทานส่วนเกินของประเทศจีนว่า รัฐบาลจีนมีการสนับสนุนเพื่อเร่งการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศ ทำให้มีอัตราการลงทุนและการเปิดโรงงานการผลิตในประเทศเกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น ฐานการผลิตแบตเตอรีของจีน ที่ในปี 2567 "ปริมาณการผลิตเรียกได้ว่า น่าจะสูงกว่าความต้องการของทั่วโลกมารวมกันประมาณสัก 4 เท่า"

ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก TDRI ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีไทย เกี่ยวกับการที่ภาคธุรกิจจีนพยายามหาตลาดส่งออกใหม่ด้วยว่า "ปัญหาเศรษฐกิจของจีนเพิ่มมาในช่วง 2019-2020 ที่เศรษฐกิจจีนเริ่มชะลอ แล้วมาเจอกับโควิดอีก ซึ่งทำให้เศรษฐกิจเขาชะลอไปหลายปี เพราะฉะนั้นถ้าความต้องการสินค้า (demand) ทั้งในประเทศและนอกประเทศยังไม่ฟื้น ทำให้เขา[จีน]ต้องหาที่ขายของมากขึ้นกว่าเดิมอีก"

สินค้าจากจีนจะเข้ามาเทขายในไทยมากขึ้นไหม ?


ในปี 2567 การค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีมูลค่าสูงกว่า 5.85 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 20 ล้านล้านบาท โดยสหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้ากับจีนอยู่ที่ 2.95 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 10 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8 % จากปี 2566 ตามสถิติจากหน่วยงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ


ทั้งนี้ สินค้าจากจีนที่ส่งออกไปสหรัฐฯ มากที่สุด 5 ลำดับแรกคือ
  • สมาร์ทโฟน 9%
  • แล็ปท็อป 7%
  • แบตเตอรี 3%
  • ของเล่น 2%
  • อุปกรณ์โทรคมนาคม 2%
บีบีซีไทยสอบถาม ดร.วิศิษฐ์ ถึงความเป็นไปได้ที่สินค้าจีนจะไหลเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้นหลังสงครามการค้าระหว่างสองมหาอำนาจทวีความรุนแรงขึ้น โดยรองประธานกรรมการหอการค้าไทยกล่าวว่า "ยังมีแรงส่งต่อเนื่อง [ให้สินค้าจีนเข้ามาในไทย] เพราะจีนเองยังไม่ได้ตั้งเป้าหมายลดกำลังการผลิตอะไรชัดเจน ก็ยังพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจตัวเองด้วยการส่งออกอยู่ เพราะฉะนั้นก็ยังเห็นได้ว่ามีหลายสินค้า [จากจีนเข้ามาในไทย]"

เขากล่าวเสริมด้วยว่า การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ทำให้สินค้าที่ผลิตในจีนไม่สามารถส่งเข้าสหรัฐฯ ได้เท่าเดิม เนื่องจากภาษีนำเข้าเพิ่มต้นทุนการผลิตต่อสินค้าจีน และทำให้ภาคธุรกิจจีนไม่สามารถสู้ในเรื่องการตั้งราคาสินค้าที่ต่ำได้ ดังนั้นจีนอาจส่งออกสินค้าไปประเทศอื่น ๆ มากขึ้นแทน

"ด้วยการขยับขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ก็ส่งผลทำให้จีนไม่สามารถส่งสินค้าเข้าสหรัฐฯ ได้ หรือส่งได้ก็จำนวนน้อยลง เพราะฉะนั้นจีนเองมีกำลังการผลิตที่ค่อนข้างสูง โดยวิธีการที่ทางจีนทำคือ พยายามยังผลิตอยู่ แต่ต้องหาตลาดอื่นทดแทน และเมื่อสินค้าเข้าสหรัฐฯ ไม่ได้ ก็จะกระจายไปประเทศต่าง ๆ อย่างเกือบทุกประเทศในอาเซียน (ASEAN) ก็จะมีสินค้าจีนทะลักเข้าไปค่อนข้างเยอะ" ดร.วิศิษฐ์ ระบุ

นอกจากนี้ประเทศไทยอาจเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญที่จีนอาจส่งสินค้าเข้ามาเพิ่มมากขึ้นหลังส่งไปสหรัฐฯ ไม่ได้ในจำนวนเท่าเดิม โดยรองประธานกรรมการหอการค้าไทย ระบุว่า สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการเติบโตของแพลตฟอร์มการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce Platform) ซึ่งอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการจีนให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในไทยได้สะดวกรวดเร็วขึ้น

เช่นเดียวกับ ดร.กิริฎา ที่เห็นด้วยว่า การเติบโตของแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์ทำให้ไทยเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกที่สำคัญของจีน โดยเฉพาะการส่งออกของสินค้าอุปโภคและบริโภคที่มีแนวโน้มมากขึ้น

"แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต ก็ทำให้การนำเข้าสินค้าจีนด้านอุปโภค บริโภค เพิ่มขึ้นได้ง่ายขึ้น โดยตัวเลขที่เห็นตั้งแต่ปี 2021 ตัวสินค้านำเข้าอุปโภคบริโภคจากจีนก็เพิ่ม" ดร.กิริฎา ระบุ

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก TDRI ยังกล่าวกับบีบีซีไทยด้วยว่า นอกจากการที่จีนผลิตสินค้าได้ในจำนวนที่มากและราคาถูกแล้ว จีนยังมองเห็นความต้องการของสินค้าในประเทศไทยที่มากด้วยเช่นกัน "ถ้าเราไม่ต้องการสินค้าเขา เขาคงส่งเข้ามาไม่ได้... ต้องยอมรับว่าสินค้าจีน คุณภาพเขาโอเค และราคาก็ย่อมเยา ถ้าเทียบกับทางตะวันตกราคาจะย่อมเยากว่ามาก ฉะนั้นธุรกิจไทยเองก็ซื้อของจากจีนมากขึ้น"

สินค้าประเภทใดในไทยที่อาจโดนกระทบหนัก ?

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในชาติที่มีการทะลักของสินค้าจีนเข้ามาสูง โดยไทยขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2566 โดยไทยขาดดุลการค้ากับจีนอยู่ที่ 3.66 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.2 ล้านล้านบาท ตามสถิติจากกระทรวงพาณิชย์ที่อ้างอิงในรายงานของศูนย์วิจัยกสิกร

ทั้งนี้ 5 อันดับแรกของประเภทสินค้าหลักจากจีนที่ส่งออกมายังประเทศไทยในปี 2566 ได้แก่
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า 43.3%
  • ผักผลไม้สด ปรุงแต่ง 10.0%
  • เสื้อผ้า รองเท้า 9.3%
  • เครื่องใช้ในบ้านและของตกแต่ง 9.1%
  • ของใช้ในครัวและโต๊ะอาหาร 9.0%
รองประธานกรรมการหอการค้าไทย แสดงทัศนะกับบีบีซีไทยว่า ภาคส่วนที่อาจถูกกระทบหนักจากการไหลเข้ามาของสินค้าจีนที่มากขึ้นหลังสงครามการค้าระลอกล่าสุด คือภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และสินค้าจากภาคอุตสาหกรรม เช่น เหล็ก อลูมิเนียม รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งปัจจุบันประเทศจีนทำได้ดีในการผลิตและการตลาด

"ถ้าในหมวดสินค้าอุตสหกรรม ก็คงเห็นชัดเจนว่า มีโอกาสมากที่ยานยนต์ประเภทไฟฟ้าจะเข้ามาทำตลาดในไทยได้มากขึ้น ถ้าเป็นพวกสินค้าอุตสาหกรรมก็น่าจะเป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับเหล็ก อลูมิเนียม ที่จะเข้ามาทำตลาดในไทยค่อนข้างเยอะ เนื่องจากต้นทุนทางการผลิต [ที่จีนได้เปรียบ]"

เช่นเดียวกับ ดร.กิริฎา ซึ่งระบุว่า ภาคส่วนการผลิตในไทยที่แข่งขันกับประเทศจีนโดยตรง เช่น พลาสติก เหล็ก ปิโตรเคมี หรือ ผ้าผืน เสี่ยงโดนผลกระทบจากการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน เนื่องจากจีนสามารถผลิตสินค้าเหล่านี้ได้ในราคาที่ถูกกว่าไทย "ในคุณภาพเดียวกัน จีนทำได้ถูกกว่าเรา จริง ๆ คุณภาพที่ดีกว่าเรา สวยกว่าเรา เขาก็ทำถูกกว่าเรา เพราะฉะนั้นสินค้าพวกนี้เราจะสู้เขาไม่ได้ จะโดนกระทบโดยตรง"

SME ไทยจะได้รับผลกระทบก่อน เพราะสายป่านไม่ยาวพอ

เมื่อบีบีซีไทยสอบถามถึงภาคส่วนในไทยที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดหลังเกิดการทะลักของสินค้าจีนเข้ามาในไทย ดร.วิศิษฐ์ กล่าวว่า "คงหนีไม่พ้นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีสายป่านไม่ยาว หรือกำลังการผลิตไม่สูง ไม่สามารถที่จะลดราคาแข่งได้" พร้อมให้เหตุผลว่า ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจในประเทศไทยไม่ดีเช่นที่เป็นอยู่นี้ การแข่งขันด้านราคาถือเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ธุรกิจขนาดย่อมเผชิญความยากลำบากมากกว่าภาคส่วนอื่น ๆ

ความคิดเห็นข้างต้นของรองประธานกรรมการหอการค้าไทย สอดคล้องกับสถิติจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีโรงงานมากกว่า 1,234 โรงงานปิดตัวลงในปี 2567 ทำให้มีลูกจ้างตกงานกว่า 35,114 ราย นอกจากนี้ โรงงานขนาดเล็กที่มีขนาดลูกจ้างไม่เกิน 50 คน มีการปิดตัวที่เพิ่มมากขึ้น จากการวิเคราะห์โดยศูนย์วิจัยกสิกร

นอกเหนือจากการเข้ามาของสินค้าจีนในไทยแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจาก TDRI ยังคาดการณ์ถึงการย้ายฐานการผลิตมาในประเทศไทยของจีนที่อาจมีเพิ่มมากขึ้นด้วย เนื่องจากประเทศไทยไม่ได้โดนกีดกันการค้าจากประเทศอื่นมากนักเมื่อเทียบกับประเทศจีน

"ประเทศไหนที่เป็นกลางเข้ากันได้กับทุกคน สามารถจะส่งออกนำเข้า หรือว่ารับการลงทุนได้จากทุกฝ่าย ก็จะได้เปรียบเพราะเราไม่โดนกีดกัน และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่พยายามรักษาความเป็นกลางของเราเอาไว้ ก็น่าจะเป็นที่ ๆ นักลงทุนจะอยากเข้ามา" ดร.กิริฎา กล่าวกับบีบีซีไทย



ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กำหนดเกณฑ์ของบางภาคธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุนในไทยและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลว่า ต้องมีการใช้ชิ้นส่วนที่ถูกผลิตภายในประเทศไทย รวมถึงมีการจ้างงานคนไทย อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ดร.วิศิษฐ์ ย้ำว่าทางการไทยควรตรวจสอบในทางปฏิบัติของกฎเกณฑ์ดังกล่าวว่าเกิดขึ้นจริงมากน้อยแค่ไหน "ตามเป้าหมายของการส่งเสริมการลงทุนจะรวมเรื่องพวกนี้ไว้หมดเลยเพื่อการเกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจ้างงาน เรื่องของความชำนาญ (know-how) เรื่องของเทคโนโลยีต่าง ๆ แต่ว่าในการปฏิบัติจริงนั้น อันนี้ต้องไปติดตามดูว่ามันได้ผลดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้หรือเปล่า"

ไทยควรตั้งรับอย่างไรต่อสินค้าจีนราคาถูกที่หลั่งไหลเข้ามา ?

สี จิ้นผิง และ แพทองธาร ชินวัตร ณ กรุงปักกิ่ง วันที่ 6 ก.พ. 68

ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามาขายในไทย โดยการออกนโยบายจัดเก็บภาษีสินค้ามูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% กับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการขายตัดราคาระหว่างผู้ขายจากต่างประเทศที่ในอดีตไม่ต้องเสีย VAT กับผู้ขายในประเทศที่ต้องเสีย VAT

อย่างไรก็ดี ดร.วิศิษฐ์ มองว่านโยบายการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยต่อสินค้ามูลค่าต่ำนั้นไม่ได้มีประสิทธิภาพมากนักในการลดผลกระทบจากการทะลักเข้ามาของสินค้าจีน เนื่องจากอัตราการจัดเก็บภาษีอยู่ในระดับที่ต่ำจนแทบไม่กระทบกับการตั้งราคา

"[ผลลัพธ์] ยังไม่ค่อยชัดเจนมากนัก เพราะว่าอัตราการเก็บภาษีต่าง ๆ เหล่านี้ มันยังไม่ได้ทำให้ราคาของสินค้านั้นแตกต่างออกไป หรือสินค้าจีนก็จะมีการลดราคาลง หรือการไม่คิดค่าส่งเลย เช่นนี้เป็นต้น เป็นเรื่องที่ต้องไปดูให้ชัดว่าเขาทำได้อย่างไร" ดร.วิศิษฐ์ กล่าวกับบีบีซีไทย

รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เสนอด้วยว่า ภาครัฐฯ ควรมุ้งเน้นไปที่การบังคับใช้กฎหมายเพื่อตรวจสอบมาตรฐานว่าสินค้าจีนที่เข้ามาในประเทศนั้นได้มาตราฐานและมีใบอนุญาตหรือไม่ "สินค้าที่เข้ามาแล้วมาตรฐานไม่ถึง[ต้อง]เข้าไม่ได้ และสินค้าที่ไม่มีในเรื่องของใบรับรองใบตรวจต่าง ๆ ที่เคยมีระบุไว้ ก็[ต้อง]เข้าไม่ได้"

ด้านนักวิชาการจาก TDRI มองว่า มาตรการตรวจสอบคุณภาพสินค้าต่าง ๆ เปรียบเสมือนการยื้อเวลาเท่านั้น "การชะลอสิ้นค้าจีนที่จะเข้ามาโดยการใช้มาตรฐานต่าง ๆ มากีดกันมาจับ อันนี้ที่เราทำอยู่เพื่อที่จะชะลอสินค้าจีน มองว่าเป็นการชะลอเท่านั้น เพราะว่าถ้าสินค้าเขาได้มาตรฐาน เราก็ต้องปล่อยให้เขาเข้ามา" ดร.กิริฎา ระบุ

ทั้งนี้ ดร.กิริฎา เสนอแนะว่า ภาคธุรกิจต้องมีการปรับตัว โดยพยายามที่จะไม่ผลิตสินค้าที่จะเป็นการสู้กับสินค้าจีนโดยตรง โดยเน้นไปที่การที่ธุรกิจไทยอาจต้องนำชิ้นส่วนการผลิตที่มีราคาถูกกว่าของจีนมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อลดต้นทุน และต่อยอดผลิตภัณฑ์ ต่อยอดสินค้าที่จีนไม่สามารถทำได้ หรือการให้บริการออกแบบเฉพาะ (tailor-made)

"จีนเขาจะไม่เก่งในเรื่องการให้บริการออกแบบเฉพาะ (tailor-made) หรือการให้บริการ เขาจะเก่งในเรื่องการผลิตในจำนวนมาก (mass-production) เพราะฉะนั้นเราต้องใช้จุดแข็งของเขาเป็นประโยชน์เพื่อมาเสริมจุดแข็งของเรา" พร้อมเน้นย้ำด้วยว่าภาคธุรกิจจะต้องมีการปรับตัว และไม่ควรหวังคอยความช่วยเหลือจากรัฐบาล เนื่องจากอาจเป็นไปได้ยาก

"จะให้รัฐบาลมาปกป้องเนี่ยมันไม่ง่าย เพราะอย่างที่บอกว่าเราก็กลัวว่าเดี๋ยวจีนตอบโต้เรา เราก็ไม่อยากจะให้เงินเฟ้อขึ้น ประชาชนเดือดร้อน เรา [ภาคธุรกิจ] จึงต้องปรับตัวเอง" ดร.กิริฎา ระบุ

https://www.bbc.com/thai/articles/cq800yppg3zo


ฟังเรื่องราวในเรือนจำหญิง จากตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ "แดนลับแล" ที่ข้างในอาจไม่เหมือนภาพที่แสดงให้เห็นภายนอก เมื่อจะเข้าไปในเรือนจำ "เข้าไปแต่ตัว" ต้องใส่ผ้าถุง ถอดทุกอย่าง

https://www.facebook.com/watch/?v=578293264556681

อ่านต่อ
เสียงจากคนเคยอยู่ในเรือนจำ ในวันที่ยังไม่เห็นปลายทางนิรโทษกรรมประชาชน


10/04/2025
iLaw

9 เมษายน 2568 เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน จัดกิจกรรม “9 เมษา พาส่งใจให้นิรโทษกรรม” ที่บริเวณหน้าประตูทางเข้ารัฐสภา (เกียกกาย) ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร หลังเมื่อ 3 เมษายน 2568 อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส. พรรคเพื่อไทย เสนอเลื่อนร่างพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจรฯ และร่างกฎหมายนิรโทษกรรมรวมสี่ฉบับขึ้นมาพิจารณาก่อนร่างกฎหมายอื่นๆ อย่างไรก็ดี วันที่ 8 เมษายน 2568 แพทองธาร ชินวัตร ก็นำคณะรัฐมนตรีมาแถลงว่าจะเลื่อนการพิจารณาร่างพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจรฯ ออกไป

อย่างไรก็ดี วันที่ 9 เมษายน 2568 สภาผู้แทนราษฎรก็ไม่ได้พิจารณาร่างกฎหมายนิรโทษกรรม เนื่องจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) เสนอญัตติด่วนเพื่อถกเรื่องการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐอเมริกาตามนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์รวม 10 ญัตติ

ภายในกิจกรรม จัดกิจกรรม “9 เมษา พาส่งใจให้นิรโทษกรรม” มีงานเสวนา “ชีวิตของผู้ถูกดำเนินคดี” ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อสู้ ความยากลำบาก ความรู้สึกในการออกมาเคลื่อนไหว และความฝันที่อยากจะเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ให้ดียิ่งขึ้น โดยผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมืองสามคน จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน และถิรนัย หรือธี ดำเนินรายการโดย อชิรญา บุญตา

ไผ่ จตุภัทร์ : ผู้มีอำนาจอาจฟังถ้าประชาชนเสียงดังพอ

จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ เล่าภูมิหลังของตัวเองว่า เติบโตมาในพื้นที่ที่มีความอยุติธรรมอย่างที่ราบสูงอีสาน ด้วยสภาพสังคมรัฐรวมศูนย์อยู่ที่ส่วนกลาง ทำให้ไผ่เติบโต เรียนรู้มาโดยเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคอีสาน มาจากโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่เป็นธรรม นายทุนอยู่เบื้องหลังรัฐบาลอีก ประกอบกับช่วงที่ไผ่เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยในปี 2553 เป็นช่วงที่สถานการณ์ทางการเมือง “เดือด” คนเสื้อแดงถูกสังหาร จนกระทั่งรัฐประหารปี 2557 ปัจจัยเหล่านี้หล่อหลอมให้ไผ่เห็นปัญหา และต่อมาเขาก็ถูกดำเนินคดีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการแชร์ข่าวของสำนักข่าวบีบีซีไทย

จากประสบการณ์ที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร เขามองว่าศาลทหาร “เถื่อน” กว่าศาลอื่น ไม่เปิดให้ผู้สังเกตการณ์เข้าไปสังเกตการณ์คดี บางครั้งก็พิจารณาคดีโดยลับบ้าง แต่ไม่ว่าจะความอยุติธรรมในศาลทหารหรือศาลยุติธรรม ก็เป็นความอยุติธรรมอย่างเดียวกัน ไผ่มองว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้ไม่ได้ใช้กฎหมายอย่างมีมาตรฐาน แต่เป็นการนำกฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ เหตุปัจจัยทางการเมืองก็มีผลต่อการใช้กฎหมายเช่นกัน เช่น การใช้มาตรา 112 ที่ช่วงหนึ่งหยุดใช้ไป แต่ก็กลับมาใช้อีกหลังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาออกมาแถลงในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ว่าจะใช้กฎหมายกับผู้ชุมนุมอย่างเคร่งครัด

สำหรับประเด็นการนิรโทษกรรมคดีการเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม แต่เป็นเรื่องการเมืองด้วย ไผ่ยกตัวอย่างกรณีของร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร ที่พอมีคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์เยอะ มีคนมาชุมนุมคัดค้าน รัฐบาลก็แสดงท่าทีถอย ทำนองเดียวกัน นิรโทษกรรมก็จำเป็นต้องมีแรงกดดันจากกประชาชนเยอะๆ หากประชาชนออกมาสนับสนุนออกมาเรียกร้องให้เยอะ ไผ่เชื่อว่าผู้มีอำนาจอาจจะฟังและปัญหาจะได้รับการแก้ไข

หลังจากออกจากเรือนจำ เขาถอดบทเรียนว่า สังคม-ปากท้องจะดีขึ้นได้ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง ไผ่เห็นว่า “งานทางความคิด” เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำต่อไป โดยทางทะลุฟ้าจะทำกิจกรรมรณรงค์เรื่องรัฐธรรมนูญให้ทั่วทั้ง 77 จังหวัดรวมกรุงเทพมหานคร

ตะวัน ทานตะวัน : ชวนติดตามคดีของประชาชน “คนธรรมดา” เพราะกำลังใจสำคัญกับคนในเรือนจำ

ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือตะวัน เล่าถึงแรงบันดาลที่ทำให้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองว่า ความโกรธความแค้นกับประเทศที่ไม่เปิดพื้นที่ให้กับการแสดงออกหรือพูดในสิ่งที่คิด พอเกิดความโกรธหรือแค้น ทำให้ยิ่งอยากออกมาพูดในสิ่งที่คิด และยิ่งผู้มีอำนาจไม่ให้เราพูด ก็ยิ่งทำให้อยากพูดในสิ่งที่คิด

ตะวันเล่าว่า ตนก็ประเมินไว้แล้วบ้างว่าหากออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองจะถูกดำเนินคดี ห้วงเวลาที่เคลื่อนไหวและถูกดำเนินคดีนั้นผ่านมาเนิ่นนานเหลือเกิน จนวันนี้เราต้องจบความขัดแย้งและอยู่ร่วมกันโดยที่ความคิดเห็นของคนในสังคมเราต่างกัน ผ่านการผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม

เมื่อถูกดำเนินคดีและต้องเข้าไปอยู่ในทัณฑสถานหญิง ตะวันเล่าถึงสิ่งที่ประสบพบเจอมาในตอนนั้นว่า เรือนจำเปรียบเสมือนเมืองลับแล ถ้าไม่ได้เข้าไปก็จะไม่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างไร แต่ต่อให้ไปแล้ว ก็อาจจะไม่ได้รู้ความจริงทั้งหมด

ก้าวแรกที่เข้าไปในเรือนจำ “เข้าไปแต่ตัว” จะต้องถอดทุกอย่างออกให้หมดไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับ เจ้าหน้าที่จะให้ใส่ผ้าถุงและมีการตรวจร่างกายว่าเราแอบเอาอะไรเข้าเรือนจำหรือเปล่า บรรยากาศในเรือนจำ เหมือนโรงเรียนประจำ ตอนนั้นได้ไปอยู่ในแดนแรกรับ ซึ่งเป็นแดนสำหรับของผู้ที่ยังไม่ต้องคำพิพากษา ในแดนแรกรับมีบ้านสามหลัง ช่วงแรกต้องกักตัวก่อน จากนั้นจึงจะสามารถลงมาใช้ชีวิตได้

ตะวันระบุว่า ภาพที่ทางราชทัณฑ์พยายามนำเสนอ คืออาหารสำหรับนักโทษที่มีเนื้อ มีข้าว มีสารอาหารหลากหลาย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ทว่าความเป็นจริง มื้ออาหารจริงๆ กลับประกอบด้วยเศษผัก เศษไก่

ส่วนตัว ตะวันถูกจับตามองตลอด คอยดูตลอดว่าทำอะไร คิดกับใคร และมีกล้องวงจรปิดอีก ส่วนภาพรวมคุณภาพต่างๆ ของการรักษาพยาบาล หรือสิทธิต่างๆ ค่อนข้างแย่ ถ้านักโทษคนอื่นๆ ลงชื่ออยากพบแพทย์กว่าจะได้พบแพทย์อาจจะข้ามปีไปแล้วด้วยซ้ำ แต่กรณีของตะวัน เพียงแค่เล่าอาการป่วยให้ฟัง ก็ถูกส่งไปพบทันตแพทย์อย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่า ราชทัณฑ์อยากแสดงภาพว่าดูแลผู้ต้องขังดี เพื่อให้ตะวันออกมาเล่าต่อว่าดี แต่ในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น

เมื่อถูกถามว่า อยากพูดถึงใครที่อยู่ในเรือนจำ ตะวันบอกว่าอยากพูดถึงทุกคนในเรือนจำ ไม่ว่าจะเรือนจำชาย เรือนจำหญิง เรือนจำในต่างจังหวัด ที่ผ่านมาพยายามไปเยี่ยมคนในเรือนจำ ชวนคนมาร่วมอวยพรวันเกิดคนที่อยู่ในเรือนจำและไปเล่าให้เขาฟัง อย่างไรก็ดี ตะวันชวนให้ประชาชนมาร่วมจับตา ติดตาม ให้ความสนใจกับคดีของประชาชนทั่วไปที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 และยังอยู่ในเรือนจำ เช่น “วุฒิ” หรือแม็กกี้ ที่ศาลพิพากษาจำคุกถึง 25 ปี ตะวันกล่าวว่า สำหรับคนที่อยู่ในเรือนจำ กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญมาก ทำให้คนที่อยู่ในเรือนจำยังอยู่ต่อไปได้

ธี ถิรนัย : แม้ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับการศึกษา แต่ก็ไม่ท้อ

ถิรนัย หรือธี เล่าว่า ออกมาเคลื่อนไหวช่วงประมาณปี 2563-2564 และถูกดำเนินคดีในปี 2564 ภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ช่วงนั้นเป็นนักศึกษาอาชีวะ แรงขับเคลื่อนที่ทำให้ออกมาเคลื่อนไหว เพราะตอนนั้นประเทศเราเริ่มแย่ โดยบทบาทของการ์ดอาชีวะที่ธีร่วมเคลื่อนไหวด้วยนั้น จะเป็นการช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยและความเรียบร้อยในพื้นที่ชุมนุมต่างๆ

ธีเล่าถึงช่วงเวลาที่ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำว่า ตอนแรกรับไม่ได้ สภาพจิตใจแย่มาก และถูกจับแยกกับชัยพร เพื่อนอีกคนหนึ่งที่ถูกดำเนินคดีมาด้วยกัน ตอนอยู่ในเรือนจำ ก็ถูกเจ้าหน้าที่รวมถึงนักโทษคนอื่นๆ ตั้งคำถาม ว่าทำไปทำไม ทำไมไม่ใช้ชีวิตในระบบการศึกษาตามระบบปกติ แต่ก็ตอบเขากลับไปว่า “พี่ไม่เห็นความผิดปกติของประเทศนี้เหรอ” หลังออกมาจากเรือนจำ ธีต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่สำหรับการศึกษา แต่เขายืนยันว่าไม่ท้อ เรียนรู้ได้เรื่อยๆ

https://www.ilaw.or.th/articles/52173
https://www.facebook.com/watch/?v=578293264556681



มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มี 'ปัญหา' แม้แต่คนในกระบวนการยุติธรรมยังตั้งคำถามกันเอง | 12 พ.ย. 66 - งานเสวนา "3 ปี 112 : คนและคดียังเดินหน้ารอพิพากษา"


มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มี 'ปัญหา' แม้แต่คนในกระบวนการยุติธรรมยังตั้งคำถามกันเอง | 12 พ.ย. 66

Prachatai

Premiered Dec 5, 2023 
12 พฤศจิกายน 2566 โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) จัดงานเสวนา "3 ปี 112 : คนและคดียังเดินหน้ารอพิพากษา" ที่อาคาร All Rise 

ณัฐฐา อัชฌานุเคราะห์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า คดีที่มีการพิพากษาประมาณ 105 คดี แนวโน้มของคำพิพากษาน่าเป็นห่วงเพราะอัตราการยกฟ้องต่ำ คดีจำนวนหนึ่งที่พิพากษาไม่รอลงอาญาและประกันตัว แต่เมื่อถึงศาลชั้นอุทธรณ์ ศาลไม่ให้ประกัน แต่มีคดีหนังสือปกแดงที่มีคำพิพากษายกฟ้องไป 
ณัฐฐา เล่าว่า ในคดีหนังสือปกแดง ศาลถามพยานพนักงานสอบสวนว่าทำไมถึงฟ้อง ม.112 กับคนที่นั่งหน้ารถบรรทุก แล้วคนที่มาพร้อมกันบนรถบรรทุกทำไมถึงไม่ฟ้องด้วย พนักงานสอบสวนตอบคำถามไม่ได้ อีกประเด็นคือ ผู้ที่ปราศรัยในหนังสือปกแดงไม่ได้ถูกฟ้อง ม.112 แต่ใช้ ม.116 
"เป็นดุลยพินิจที่แค่ตัวเจ้าหน้าที่รัฐเอง ยังมีมุมมองไม่เหมือนกันกับกฎหมายตัวนี้ แล้วมันไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ากฎหมาย ม.112 ตัวนี้มันไม่มีปัญหา" 


https://www.youtube.com/watch?v=PIMUTPx5_Fs



เมื่อโลกสั่นไหว แต่ใจไม่หวั่น: เรื่องเล่าของ 'อาย' ผู้ยืนหยัดท้าทายความทุกข์

9/04/2568
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธอมนุษยชน

ช่วงปลายเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน 2568 ทนายความเข้าเยี่ยม “อาย” กันต์ฤทัย คล้ายอ่อน ผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 ที่ถูกตัดสินจำคุก 8 ปี 48 เดือน จากการโพสต์เฟซบุ๊ก 8 ข้อความ การพบกันครังนี้ยังคงเผยให้เห็นชีวิตประจำวันของอายหลังกำแพงเรือนจำ ความคิดถึงลูก ความพยายามในการต่อสู้ทางคดี และการปรับตัวในสภาพแวดล้อมที่จำกัด โดยเฉพาะอาการป่วยจากโรคซึมเศร้าที่ติดตัวเธอมาตั้งแต่ใช้ชีวิตอยู่ข้างนอก

แต่ถึงแม้จะถูกคุมขังมาแล้ว 226 วัน อายยังคงรักษาบุคลิกของการเป็นผู้นำและเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ต้องขังคนอื่น ๆ ในการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ สะท้อนให้เห็นถึงการค้นพบคุณค่าของตัวเองท่ามกลางความยากลำบากและข้อจำกัด

______________________________

วันที่ 28 มี.ค. 2568

วันนี้ใบหน้าของอายเปล่งประกายด้วยเครื่องสำอางที่เธอเพิ่งได้รับ เพราะไม่ได้สวมแมสก์ ทำให้เห็นริมฝีปากสีส้มอ่อนที่เข้ากันดีกับอายแชโดว์โทนเดียวกัน เธอยิ้มรับคำชม เป็นรอยยิ้มที่หาได้ยากในสถานการณ์ที่อายเผชิญอยู่

“วันนี้หลัก ๆ จะมาคุยกันเรื่องยาเพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาการเข้าถึงยาของอาย” ทนายเปิดประเด็น อายรีบแจ้งว่าเอกสารขอย้ายสถานพยาบาลยังไม่ถึงมือเธอ

ก่อนจะเล่าด้วยน้ำเสียงขุ่นมัวถึงวันที่มีทนายมาให้ความรู้เกี่ยวกับการต่อสู้ทางคดี ซึ่งปกติเธอมักจะเป็นคนตั้งคำถามอย่างกระตือรือร้น แต่ดูเหมือนว่าวันนั้นจะมีคนไม่ต้องการให้เธอได้เข้าอบรม “เขาแกล้งให้ทนายรอนาน แล้วให้เข้าเยี่ยมช่วงที่อบรมพอดี พออายกลับเข้าไปก็อบรมกันเสร็จไปแล้ว” อายเล่าด้วยสีหน้าผิดหวัง

แล้วอายก็เปลี่ยนเรื่องคุย ถามถึงเรื่องอดอาหารของขนุน ทนายให้ข้อมูลว่าขนุนอยู่ระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ยังไม่ได้กลับไปที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ อายสารภาพว่าความคิดเรื่องอดอาหารไม่เคยหายไปจากหัวเธอ “อายคิดเรื่องอดอาหารตลอดเวลา ไม่เคยล้มเลิกเลย” เจ้าหน้าที่พยายามแนะนำให้อายนำใบรับรองแพทย์จากเรือนจำไปยื่นต่อศาล และยื่นคำร้องขอประกัน แต่อายก็ยังไม่เข้าใจว่าจะทำอย่างไรเมื่อตัวเธออยู่ข้างใน

แม้จะไม่ได้อดอาหารแล้ว แต่อายยังคงทำการอารยะขัดขืนด้วยการไม่ยืนในเพลงคล้ายเพลงสดุดี และเมื่ออยู่บนห้องนอน เธอก็จะไม่ยืนขณะเพลงชาติขึ้นด้วย

ท้ายที่สุด อายเล่าถึงสถานการณ์การย้ายผู้ต้องขังในเรือนจำหญิงกลาง โดยมีการย้ายคดีที่อยู่ระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกาไปอยู่แดนเด็ดขาด ต้องเปลี่ยนมาใส่ชุดสีฟ้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้ต้องขังคดีเด็ดขาด แต่อายก็ไม่รู้ว่า ที่ด้านหลังจะมีตัวอักษรเขียนว่าอยู่ระหว่างอุทธรณ์หรือไม่

.

วันที่ 1 เม.ย. 2568

เมื่อเจอหน้าอาย เธอยิ้มแย้มด้วยความยินดี เป็นรอยยิ้มที่ดูมีชีวิตชีวากว่าครั้งก่อน ทนายบอกว่ามาตีเยี่ยมแต่เช้า แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าอายเยี่ยมใกล้ชิด อายอธิบายว่า เพิ่งเยี่ยมใกล้ชิดและตรวจร่างกายหลังเยี่ยมเสร็จ “พอจะออกจากที่เยี่ยมเข้าข้างใน เจ้าหน้าที่ก็ประกาศชื่อว่าออกพบทนาย เขาก็เลยให้อายออกมาเลย”

ทนายแจ้งว่าได้ส่งมอบใบสั่งยาตัวจริงให้กับแฟนของอาย เพื่อไปดำเนินเรื่องต่อ อายทำหน้าไม่สบายใจเล็กน้อย ทนายจึงรีบอธิบายว่าเรื่องเร่งด่วนคือการจัดการให้อายได้รับยาที่จำเป็นก่อน ส่วนการประสานงานกับโรงพยาบาลแพทย์ปัญญานั้นเป็นแผนระยะยาว

อายเล่าถึงการเยี่ยมญาติใกล้ชิด ซึ่งเจ้าหน้าที่เรียกว่า เยี่ยมสายใยรักครอบครัว ผู้เข้าเยี่ยมต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือมีหลักฐานความเป็นสามีภรรยามายื่น “วันนี้คนที่มาเยี่ยม มีแฟน ลูก แล้วก็น้องสาว พอเจอลูกอายก็ร้องไห้ เรากอดลูก หอมลูก เอาลูกนั่งตัก แต่ลูกดูเข้มแข็งขึ้นมาก ลูกไม่ร้องไห้เลย แฟนก็ไม่ร้อง มีแต่อายกับน้องสาวที่ร้อง”

ดวงตาของอายเป็นประกายเมื่อพูดถึงลูก เธอเล่าถึงที่มาของชื่อลูก ไออุ่น ว่ามาจากความรักระหว่างเธอกับแฟน ทั้งคู่มาจากครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์แบบ พ่อแม่ต่างก็เลิกรากัน จึงมีข้อตกลงร่วมกันว่าจะไม่เลิกกัน จะเป็นพ่อแม่ที่ดีให้กับลูก “สิ่งที่อายกลัวตอนนี้คืออายกลัวว่าลูกจะเป็นซึมเศร้าเหมือนอาย เพราะโรคแบบนี้มันส่งต่อผ่านพันธุกรรมได้ อายบอกกับแฟนตลอดว่าไม่อยากให้ลูกเป็นเหมือนอาย เพราะมันทรมานมาก”

จากนั้น อายเล่าถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน ทำให้แฟนที่มาเยี่ยมช่วงบ่ายไม่ได้เข้าเยี่ยม “ตอนนั้นอายกำลังนั่งพับทิชชูเพื่อเตรียมจะเอาขึ้นห้องนอน แรก ๆ คิดว่าความดันขึ้น เพราะมีภาวะนี้อยู่แล้ว แต่พอมองไปรอบ ๆ เห็นโคมไฟที่แขวนอยู่บนเพดาน เหมือนขาข้างหนึ่งมันหลุดออกมา ตอนนั้นถึงรู้ว่าแผ่นดินไหว”

ผู้ต้องขังทุกคนวิ่งออกมาที่ลานโล่งด้านหน้า อายมีอาการใจสั่น มือสั่น แต่พยายามอดทนไว้ไม่แสดงออก เพราะในขณะนั้นทุกคนต่างตื่นตระหนก ส่วน มานี ผู้ต้องขังหญิงอีกคน ถึงกับต้องไปห้องพยาบาล

“เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้รู้สึกเหมือนตอนที่เราไปม็อบแล้วมีการฉีดแก๊สน้ำตา แล้วเราต้องหาน้ำมาให้คนล้างหน้าล้างตา”

เธอเล่าต่อว่า ข้างในมีผู้สูงอายุหลายคนถึงขั้นเป็นลม ทำให้ต้องเปิดประตูแดนแรกรับไว้เพื่อใช้เป็นทางไปห้องพยาบาล อายแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าด้วยการไปเอาน้ำแดงและน้ำเขียวจากร้านค้า ผสมน้ำและเติมน้ำแข็ง จากนั้นเอาไปแจกจ่ายให้ผู้ต้องขังทุกคน

“อายก็ตะโกนถามว่าใครต้องการน้ำไหม บรรดาคุณแม่ คุณยายที่อายุเยอะ เขาก็ขอบคุณอาย เรียกอายว่าหนูคนสวยเอาน้ำมาให้ แบบนี้อายก็รู้สึกดีใจ” อายเล่าพร้อมรอยยิ้มกว้าง แววตาเปล่งประกายด้วยความภูมิใจ

เธอชื่นชมเจ้าหน้าที่ที่มีสติและไม่ทิ้งผู้ต้องขัง คอยประกาศให้ออกมาอยู่นอกตึกและพยายามไม่ให้เกิดความแตกตื่น เมื่อเหตุการณ์สงบลงก็จัดการพาผู้ต้องขังทั้งหมดรวมถึงผู้ที่อยู่ในห้องกักตัวลงมาอยู่ในที่โล่ง และแจ้งว่าเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า แต่ประเทศไทยได้รับผลกระทบและมีตึกตรงจตุจักรถล่ม อายเล่าว่าเธอได้ยกมือถามว่าหากเกิดเหตุแบบนี้อีก ราชทัณฑ์จะจัดการอย่างไร และผู้อำนวยการเรือนจำหญิงได้ตอบว่า ถ้าอยู่ในนี้จะปลอดภัย เขาขอเอาตัวเองเป็นประกันเลย

“อยู่ที่นี่เวลาคนมีปัญหาก็ชอบมาขอให้อายช่วยพูด ขอความช่วยเหลือ แต่อายก็เลือกนะว่าจะช่วยใคร” น้ำเสียงของอายหนักแน่นขึ้น กล่าวย้ำว่า หากสิ่งที่ขอให้ช่วยเป็นเรื่องที่ทำเพื่อส่วนรวม เธอก็จะพูดให้ เหมือนเป็นกระบอกเสียง เช่น การขอให้เพิ่มรอบเยี่ยมทางไลน์ หรือการขอให้เพิ่มเวลาเยี่ยมญาติใกล้ชิดจาก 15 เป็น 20 นาที ซึ่งเธอภูมิใจที่ทางเรือนจำรับฟังและปรับปรุงตามที่เธอเสนอ

“พอสิ่งที่เราบอกมันไม่เกิดประโยชน์เฉพาะตัวเรา แต่เป็นประโยชน์กับคนอื่น แล้วเรือนจำมีการรับฟัง อายก็รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น รู้สึกแบบใจฟูขึ้น”

อายเล่าด้วยน้ำเสียงที่อ่อนลงว่า ก่อนที่จะเข้ามาอยู่ในเรือนจำ เธอรู้สึกว่าตัวเองไร้ประโยชน์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ เช่น แผ่นดินไหว ที่เธอได้ช่วยเหลือผู้อื่น ได้เป็นกระบอกเสียงให้กับผู้ต้องขังที่ไม่กล้าพูด เธอก็รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น เมื่อถามถึงอาการส่วนตัวหลังจากเกิดแผ่นดินไหว อายยอมรับว่ามีอาการเวียนหัวบ้าง แต่เธอเป็นคนอดทน “ตอนที่เกิดเหตุอายรู้สึกแพนิคมาก แต่อายเหมือนคล้าย ๆ เป็นคนมีโลกสองใบ คือใจนึงก็รู้สึกมือสั่น ใจสั่น แต่ก็บอกตัวเองนิ่ง ๆ ไว้”

จนถึงปัจจุบัน (9 เม.ย. 2568) อายถูกคุมขังมาแล้ว 226 วัน หลังจากเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2567 ศาลอาญามีคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 – พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ลงโทษจำคุก 24 ปี ก่อนลดเหลือ 8 ปี 48 เดือน เนื่องจากให้การรับสารภาพ โดยไม่รอลงอาญา ส่วนใหญ่เธอถูกดำเนินคดีจากการเข้าร่วมขบวนการชุมนุมกับกลุ่มนักศึกษาและประชาชนในช่วงปี 2564 ปัจจุบันถูกดำเนินคดีทางการเมือง 7 คดี โดยเป็นคดีมาตรา 112 จำนวน 2 คดี
.

อ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

“อาย” กันต์ฤทัย ยังไม่อดอาหาร หลังพิจารณาถึงกระแสสังคมภายนอก ฟังหลายคนขอร้อง ยังคงเผชิญกับโรคซึมเศร้าในเรือนจำ-ความห่วงลูก

https://tlhr2014.com/archives/74679



ภูมิใจไทยการละคร


THE STANDARD @thestandardth

UPDATE: อนุทินขออภัย กรณีไชยชนกค้านคาสิโน พูดในนามส่วนตัว ยืนยันภูมิใจไทยหนุน Entertainment Complex
วันนี้ (9 เมษายน) ที่อาคารรัฐสภา อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยกล่าวถึงกรณีที่การเสนอญัตติด่วนด้วยวาจาของ ไชยชนก ชิดชอบ สส. บุรีรัมย์ ในฐานะเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยว่าไม่สนับสนุนกฎหมายคาสิโน ตนเองได้ฟังการอภิปรายอยู่ ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ขอยืนยันว่า ที่ไชยชนกได้อภิปรายไปนั้นเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ในฐานะ สส.คนหนึ่ง ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถให้ความคิดเห็นส่วนตัวได้ แต่ในฐานะที่เป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย และเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยนั้น จะต้องทำตามมติพรรค ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งเมื่อวานนี้มีการแถลงร่วมกับนายกรัฐมนตรี ยินดีที่จะให้การสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. …. (Entertainment Complex)
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นความในใจของไชยชนกหรือไม่ อนุทินกล่าวว่า ถือว่าเป็นความในใจ แต่ก็ต้องมีการจัดระเบียบภายในพรรคภูมิใจไทย เพราะสส.ของพรรคภูมิใจไทยที่จะใช้สิทธิ์ในการอภิปรายนั้น ต้องผ่านมติที่ประชุมพรรค แต่ครั้งนี้ไชยชนกไม่ได้แจ้ง รวมถึงยังไม่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมที่จะให้ชี้แจง แม้ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นในฐานะส่วนตัว ก็ต้องมีการแจ้งพรรค ดังนั้นตนเองขออภัยในความไม่สะดวกด้วย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีหรือไม่ อนุทินกล่าวว่า ตนเองได้พยายามติดต่อนายกรัฐมนตรีอยู่ ขณะนี้เพิ่งเดินทางกลับมาจากต่างจังหวัด ยืนยันว่าต้องมีการชี้แจง เรื่องนี้ไม่ใช่การกระทำในนามพรรคภูมิใจไทย แต่สิ่งที่ไชยชนกอภิปรายนั้นก็ชัดเจนว่าพูดในนามส่วนตัว เป็นลูกชายของ เนวิน และกรุณา ชิดชอบ ส่วนที่ระบุว่าเป็นเลขาธิการพรรคภูมิใจไทยนั้นที่ไม่สนับสนุนคาสิโนนั้น ไม่สนับสนุนให้มีการพิจารณากฎหมายคาสิโนในช่วงนี้ ที่เห็นว่ายังมีเหตุการณ์อื่นๆสำคัญกว่า ซึ่งรวมถึงกฎหมายอื่นๆ ของพรรคภูมิใจไทยด้วย โดยใช้สิทธิ์ความเป็นสส.ของตนเอง ไม่ใช่มติของพรรคภูมิใจไทย
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะเป็นการสร้างความไม่สบายใจหรือไม่ อนุทินกล่าวว่า ตนเองถึงมาให้สัมภาษณ์วันนี้ เพื่อให้ทุกคนสบายใจ
เมื่อผู้ต้องหาถามว่า ได้พูดคุยกับเนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดบิดาของไชยชนกหรือไม่ อนุทินกล่าวว่า ตนเองยังไม่ได้พูดคุยกับใครทั้งสิ้น ซึ่งหลังเวลาราชการแล้วก็จะติดต่อชี้แจงนายกรัฐมนตรีในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล
“ผิดคิวนิดหน่อย แต่เขามีสิทธิ์ในฐานะ สส. ความเป็น สส. นั้นมีเอกสิทธิ์ ห้ามไม่ได้ แต่ความเป็นพรรคการเมืองนั้นก็จะต้องแจ้งให้พรรคทราบก่อน” อนุทินกล่าว

. แฟ้มภาพ: ศวิตา พูลเสถียร . #TheStandardNews





https://x.com/cnew888/status/1909933430420521274
https://x.com/MatichonOnline/status/1909878243416568188 



แรงต้านที่ไม่คาดคิด... #เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์





 


 

ในสายตานานาชาติ มองการใช้ประมวลกฎหมายอาญา #มาตรา112 อย่างไร - อัครชัย ชัยมณีการเกษ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
@TLHR2014
·7h

อัครชัย ชัยมณีการเกษ หัวหน้าฝ่ายรณรงค์ระหว่างประเทศ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน บอกเล่าในประเด็นความสำคัญที่ต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชนฯ ว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ (HRC)
 
หมายความว่าประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำตามพันธกรณีระหว่างเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน แต่หลาย ๆ ท่านก็รู้ดีว่า ภายหลังจากที่ประเทศเราได้เป็นสมาชิกแล้ว

ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญพิเศษของ UN ที่แต่งตั้งโดย HRC ก็ให้ความเห็นชัดเจนในแถลงการณ์ เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2568 ขอให้ประเทศไทยยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 โดยทันที ซึ่งเป็นการเรียกร้องให้ประเทศไทยหยุดดำเนินคดีการเมืองกับประชาชน

และอีกผู้เล่นหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญคือ สหภาพยุโรป (European Parliament) ที่มีการออกมติเร่งด่วนเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชน โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เขาต้องออกมติดังกล่าวให้ โดยแสดงความกังวลอย่างยิ่งยวดในการใช้ #ม112 กับประชาชน ตลอดจนการยุบพรรคก้าวไกล และการส่งตัวผู้ลี้ภัยชาวอุยกูร์กลับประเทศจีน

อัครชัยยังกล่าวอีกว่า นี่คือภาพลักษณ์ที่รัฐบาลไทย กำลังสร้างให้กับโลกในตอนนี้
ย้อนดูคลิป : https://facebook.com/iLawClub/videos/1882777785885417…

https://www.facebook.com/watch/?v=1882777785885417




โฉมหน้าของ พลโท กิตติพงษ์ แจ่มสุวรรณ แม่ทัพภาคที่ 3 ผู้มอบอำนาจให้มีการแจ้งความดำเนินคดีกับ ดร.พอล คดี112 - ชวนฟัง อ.ปวิน TODAY LIVE - กองทัพ ใช้ ม.112 จับ ‘พอล แชมเบอร์ส’ ไทย ถูกตั้งคำถาม สิทธิและเสรีภาพ (อีกครั้ง)


Voranai Vanijaka
@voranai

Lieutenant General Kittipong Jamsuwan, the 3rd Army Area commander, who filed the lese majeste charge against Dr. Paul Chambers.

His professional vision quoted from the photo is:

“Ready to battle in any situation; a professional soldier of honor; revere nation, religion, and king.”

https://x.com/voranai/status/1909972338776674630/photo/1



กองทัพ ใช้ ม.112 จับ ‘พอล แชมเบอร์ส’ ไทย ถูกตั้งคำถาม สิทธิและเสรีภาพ (อีกครั้ง) | TODAY LIVE

Streamed live 9 hours ago 

สิทธิและเสรีภาพของไทย ถูกตั้งคำถามขึ้นอีกครั้ง กรณี ดร. พอล แชมเบอร์ส นักวิชาการสัญชาติอเมริกัน ซึ่งประจำอยู่ที่สถานประชาคมอาเซียนศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ถูกศาลจังหวัดพิษณุโลกออกหมายจับ ในคดีตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีกองทัพภาคที่ 3 เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์ในคดี สะท้อนความบกพร่องของกฎหมายหรือไม่
 
ร่วมพูดคุยประเด็นนี้กับ ศ. ดร. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ - อาจารย์ประจำ ม.เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
 
ดำเนินรายการโดย อภิสิทธิ์ ดุจดา

https://www.youtube.com/watch?v=q9_MMIGQPsg



อ.พอลถูกถอนวีซ่าตอนบ่าย แล้วได้ประกันตอนเย็น มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะถูกเนรเทศ หลัง อ.พอล ถูกจับไม่นาน เหล่านักวิชาการทำแคมเปญเพื่อช่วยเหลือ อ.พอล แชมเบอร์ส




 


https://x.com/voranai/status/1909807619809718666
https://x.com/Js_live2/status/1909935695956996283

แถลงการณ์จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กรณีการจับกุม พอล แชมเบอร์ส โดยทางการไทย 8 เมษายน 2568




@USEmbassyBKK
·15h

แถลงการณ์กรณีการจับกุม พอล แชมเบอร์ส โดยทางการไทย 
แทมมี่ บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ 
8 เมษายน 2568

สหรัฐอเมริการู้สึกตกใจต่อการจับกุม นายพอล แชมเบอร์ส พลเมืองอเมริกัน ในประเทศไทย ด้วยข้อหาความผิดทางอาญาฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และเรากำลังติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือพลเมืองอเมริกันในต่างประเทศอย่างจริงจัง และเรากำลังติดต่อกับทางการไทยเกี่ยวกับกรณีนี้

กรณีนี้ตอกย้ำถึงความกังวลที่มีมาอย่างยาวนานของเราต่อการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย เราขอเรียกร้องให้ทางการไทยเคารพเสรีภาพในการแสดงออก และให้แน่ใจว่ากฎหมายจะไม่ถูกใช้เพื่อปิดกั้นการแสดงออกที่ได้รับอนุญาต ในฐานะพันธมิตรของประเทศไทยตามสนธิสัญญา เราจะติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดและสนับสนุนการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อนายพอล แชมเบอร์ส

เจ้าหน้าที่กงสุลของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ในกรุงเทพฯ กำลังให้ความช่วยเหลือด้านกงสุลที่เหมาะสมทั้งหมดแก่นายพอล แชมเบอร์ส เราได้ร้องขอให้สามารถเข้าพบนายพอล แชมเบอร์สเพื่อให้แน่ใจว่าเขามีความเป็นอยู่ที่ดีและเพื่อให้การสนับสนุนที่จำเป็น

https://th.usembassy.gov/th/on-the-thai-authorities-arrest-of-paul-chambers-th/… 
---------

On the Thai Authorities’ Arrest of Paul Chambers 
Press Statement 
Tammy Bruce, Department Spokesperson 
April 8, 2025

The United States is alarmed by the arrest of U.S. citizen Paul Chambers in Thailand on lèse majesté charges and the Computer Crimes Act, and we are closely monitoring the situation. The U.S. Department of State takes its responsibility to assist U.S. citizens abroad seriously, and we are in communication with Thai authorities regarding this case.

This case reinforces our longstanding concerns about the use of lèse majesté laws in Thailand. We continue to urge Thai authorities to respect freedom of expression and to ensure that laws are not used to stifle permitted expression. As a treaty ally of Thailand, we will closely monitor this issue and advocate for the fair treatment of Paul Chambers.

Consular officers from the U.S. Embassy in Bangkok are providing all appropriate consular assistance to Mr. Chambers. We have requested access to him to ensure his well-being and to provide any necessary support.

https://th.usembassy.gov/on-the-thai-authorities-arrest-of-paul-chambers/


https://x.com/USEmbassyBKK/status/1909814634087137416/



Well, the “American Dream” really did come true 😅🤣







https://x.com/PaulleyTicks/status/1909674480383017223
https://x.com/DriveGreen80167/status/1909686266637250959




“Liberation Day” came and went, Trump now has backed down, by announcing a 90-day tariff freeze for 75 nations (that have reached out to negotiate) amid turmoil in the market—except China, where tariffs will spike to 125%





 

วันพุธ, เมษายน 09, 2568

ทหารชั่ว หรือมั่วนิ่ม กับการฟ้อง ม.๑๑๒ อจ.พอล แชมเบอร์ ในเมื่อเอกสารหลักฐานที่ทัพภาค ๓ ใช้ ไม่ได้เอ่ยถึงสถาบันกษัตริย์แม้แต่นิด

ทหารชั่ว หรือมั่วนิ่ม กับการฟ้อง ม.๑๑๒ และ พรบ.คอมฯ ม.๑๔ (๑) ต่อ อจ.พอล แชมเบอร์ ในเมื่อเอกสารข้อกล่าวหา ไม่เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์แม้แต่นิด ถ้าอย่างนั้น การวิพากษ์วิจารณ์ทหารก็ใช้ยัด ๑๑๒ ได้สิ แสดงว่า รัฐพันลึก กำลังเป่งบาน

ตามที่ เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ หัวหน้าศูนย์ทนายสิทธิฯ ระบุว่ากองทัพภาค ๓ แจ้งความ สภ.พิษณุโลก โดยใช้ภาพหน้าเว็บไซต์ของสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา ยูซุฟ อิสฮัค (ISEAS-Yusof Ishak Institute) ประเทศสิงคโปร์ เป็นข้ออ้าง

“ข้อความที่แจ้งเป็นคำเกริ่นนำของเว็บไซต์ พอลได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นคนโพสต์หรือเขียนข้อความนั้นเนื่องจากไม่ได้เป็นแอดมินของเว็บไซต์” เรื่องนี้ สศจ.เอาภาพจาก Webinar ของ ISEAS สองหน้ามาตีแผ่ให้ดูกัน หน้าหนึ่งเป็นบทนำ อีกหน้าเป็นสรุป

“ไม่มีกล่าวถึงคำว่าสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด” นอกจากนั้นเยาวลักษณ์แสดงความเห็นด้วยว่า ประเด็นที่ตำรวจออกหมายจับเลยโดยไม่ได้ออกหมายเรียกนั้น ที่ผ่านมา “มีน้อยครั้งมากที่จะออกหมายจับมาเลย” ส่วนมากจะออกหมายเรียกก่อน

แน่นอนดังที่หลายต่อหลายคนวิจารณ์กัน นี่เป็นการลุกล้ำย่ำยีเสรีภาพในการแสดงออกทางวิชาการ โดยเฉพาะในฐานข้อเท็จจริง เอกสารพยานปรักปรำ ผลิตและเขียนโดยสถาบันวิจัยทางวิชาการของต่างประเทศ “น่าจะต้องไปตรวจสอบกับสถาบันก่อน”

ยิ่งมีถ้อยแถลงจากกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ (ในฐานะที่ อจ.พอลเป็นชาวอเมริกัน) ว่าจรดจ่อห่วงใยกับการดำเนินคดีนี้ของทางการไทย และให้ความช่วยเหลือทางด้านกงสุลต่อผู้ถูกดำเนินคดี พร้อมทั้งแจ้งว่า “สหรัฐสนับสนุนการใช้เสรีภาพการแสดงออกทั่วโลก

เราย้ำเตือนทางการไทยอยู่เสมอ ทั้งในทางส่วนตัวและสาธารณะ ให้คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก ตามที่ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่กับนานาชาติ” ซีเอ็นเอ็นให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า ทหารอยู่เบื้องหลังคณะผู้ปกครองฝ่ายขวาของไทยเสมอมา

แต่ว่าการที่ศาลปฏิเสธให้ประกันปล่อยตัวชั่วคราวถึงสองรอบ แล้วนำตัว อจ.พอลไปคุมขัง ข้ามหัวรัฐบาลชุดนี้ของแพทองธาร ชินวัตร ไปอย่างมิอาจขยับตัวอะไรได้ แม้แต่คดีที่ ทักษิณ บิดานายกฯ เคยถูกปักหลังเป็นชนักไว้ ก็ใช่จะปลอดโปร่งไปได้ตลอด

ดีลพิเศษ พระมหากรุณาธิคุณที่ได้มา ก็เป็นแต่ในทางลับ มิได้มีประกาศราชกิจจาฯ อย่างทางการ แล้วในสถานการณ์ล่อแหลมขณะนี้ ที่รัฐบาลต้องแถลงเลื่อนการผลักดันร่าง พรบ.สถานบันเทิงฯ ออกไป รวมถึงคำโวทักษิณจะเอา ยิ่งลักษณ์ น้องสาวกลับมาเหมือนตน

นี่ก็เข้าสู่สงกรานต์ ๖๘ แล้ว ดูเหมือนดีลนั้นท่าจะฝ่อเสียแล้ว ในภาวะการณ์รัฐพันลึก ที่ทั้งทหารและศาลสวมชฎาเหมือนกันหมดเช่นนี้ เห็นทีต้องหันไปพึ่งกัญชาเป็นสรณะกันแล้วละ

(https://www.cnn.com/2025/04/08/asia/thailand-lese-majeste-paul-chambers-intl-hnk/index.html, https://www.facebook.com/Prachatai/posts/0kBwwkG8Ck และ https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/fqnJrJSb9f) 

พรุ่งนี้ (9 เม.ย.) ร่วมกันจับตาสภาพิจารณาร่าง #นิรโทษกรรมประชาชน 🕊 พบกัน! หลังเลิกงานวันพุธที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ที่ลานหน้ารัฐสภาฝั่งลานประชาชน


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
13 hours ago
·
พรุ่งนี้ (9 เม.ย.) ร่วมกันจับตาสภาพิจารณาร่าง #นิรโทษกรรมประชาชน
.
นัดหมาย! กันหลังเลิกงานวันพุธที่ 9 เมษายน 2568 เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป ที่ลานหน้ารัฐสภาฝั่งลานประชาชน
.
พิกัด : https://maps.app.goo.gl/f7vBczM22KgSDRP6A
.
โอกาสสุดท้ายที่จะผลักดันร่างนิรโทษกรรมประชาชนที่เสนอโดยประชาชนเข้าชื่อกัน 35,905 รายชื่อ โอกาสที่ผู้ที่ถูกคุมขังจากคดีตามมาตรา 112 จะได้ออกจากเรือนจำ ร่วมฟังเสียงคนที่ถูกดำเนินคดีทางการเมือง เสียงจากในเรือนจำ และติดตามสถานการณ์ในสภา อัพเดตสด ๆ ไปพร้อม ๆ กัน
.
สามารถเดินทางมาลงที่สถานี MRT บางโพ ทางออก 3A และต่อวินมอเตอร์ไซค์มาประมาณ 1 กิโลเมตร

https://www.facebook.com/photo/?fbid=1074986624674956&set=a.625664036273886


ประเทศไทยเคยมี #กฎหมายนิรโทษกรรม มาแล้วมากกว่า 23 ฉบับ โดยเกือบทั้งหมด เป็นการ #นิรโทษกรรม ให้กับเรื่องที่ แหม๋ใครๆก็รู้ …… 🤫



https://www.youtube.com/watch?v=Kfbv3MD3HEo

iLaw
15 hours ago
·
ย้อนดูกฎหมาย #นิรโทษกรรม ในอดีต ครึ่งหนึ่งนิรโทษกรรมให้คณะรัฐประหาร นิรโทษกรรม 3 ครั้งหลังชุมนุมใหญ่ "ไม่เคยยกเว้น" ความผิดฐานใดฐานหนึ่ง
9 เมษายน 2568 สภาผู้แทนราษฎร นัดหมายพิจารณาร่าง #นิรโทษกรรมประชาชน และร่างกฎหมายเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมคดีจากการชุมนุมทางการเมืองรวมสี่ฉบับ ซึ่ง สส. พรรคเพื่อไทยเสนอขึ้นมาพิจารณาก่อนร่างกฎหมายอื่นก่อนจะปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 11 เมษายน 2568 โดยจะพิจารณาร่างพ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจรฯ ก่อน
ร่างทั้งสี่ฉบับ มีเนื้อหาแตกต่างกัน จุดตัดสำคัญคือ การนิรโทษกรรมคดีประมวลกฎหมายอาญา #มาตรา112 ซึ่งในร่างพ.ร.บ. #นิรโทษกรรมประชาชน ที่ประชาชนร่วมลงชื่อเสนอกว่า 36,000 ชื่อ "เขียนชัดเจน" ว่าต้องรวมคดีมาตรา 112 ขณะที่ร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสังคมสันติสุข ทั้งสองฉบับ ที่สส. พรรครวมไทยสร้างชาติ และ สส. พรรคครูไทยเพื่อประชาชน เสนอไม่รวมมาตรา 112
เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์กฎหมายนิรโทษกรรมไทย 23 ฉบับ เว้นโทษให้คณะรัฐประหารไปแล้ว "ครึ่งหนึ่ง" 11 ฉบับ และแม้กฎหมายนิรโทษกรรมที่ออกหลังการชุมนุมใหญ่ทางการเมืองสามครั้ง ก็ "ไม่เคย" มีครั้งใดที่จะยกเว้นไม่นิรโทษกรรมความผิดฐานใดฐานหนึ่งเฉพาะ

https://www.facebook.com/iLawClub/posts/1075002268006725
https://www.youtube.com/watch?v=Kfbv3MD3HEo


ย้อนดูกฎหมาย-คำสั่งในอดีต ข้อหาที่โทษหนักกว่ามาตรา 112 ก็นิรโทษกรรมมาแล้ว


13/02/2024
iLaw

เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน เริ่มเปิดตัวแคมเปญ #นิรโทษกรรมประชาชน เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมประชาชน ต่อสภา ขณะเดียวกัน ก่อนหน้าที่ภาคประชาชนจะผลักดันร่างกฎหมาย ฟากฝั่งพรรคการเมืองอย่างพรรครวมไทยสร้างชาติ และพรรคครูไทยเพื่อประชาชน ก็เสนอร่างกฎหมายสองฉบับ ที่มีเนื้อหาทำนองเดียวนิรโทษกรรมให้กับคดีความต่างๆ แต่กลับใช้ชื่อร่างกฎหมายว่า ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. ….

ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมสังคมสันติสุข พ.ศ. …. ทั้งฉบับที่พรรครวมไทยสร้างชาติ และฉบับที่พรรคครูไทยเพื่อประชาชนเสนอนั้น เขียนชัดเจน ว่าจะไม่นิรโทษกรรมให้กับคดีประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งก็สอดรับกับเสียงขอบงรรดานักการเมืองจากพรรคการเมืองทั้งฟากรัฐบาลและฟากฝ่ายค้านที่ต่างออกมาแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนว่าไม่ควรนิรโทษกรรมให้กับข้อหาดังกล่าว

อย่างไรก็ดี หากย้อนดูประวัติศาสตร์กฎหมายนิรโทษกรรมในไทย รวมถึงการใช้มาตรการของรัฐในอดีตเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นต่างในสังคม จะพบว่าการนิรโทษกรรมให้กับความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือแม้กระทั่งความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่า มาตรา 112 ก็ตาม ก็เคยออกกฎหมายมาแล้ว มีการนิรโทษกรรมเกิดขึ้นจริง และมีผู้ที่ได้นิรโทษกรรมจากกฎหมายดังกล่าว ข้อเสนอเพื่อนิรโทษกรรมครอบคลุมความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง เช่น มาตรา 112 ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ในสังคมไทย

นิรโทษกรรมหลัง 6 ตุลา 19 เจ้าหน้าที่รัฐ-ผู้ชุมนุมพ้นผิดทุกข้อหา

หนึ่งในเหตุการณ์ที่มีการนิรโทษกรรมให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยเฉพาะนิสิต นักศึกษา ในข้อหาที่ร้ายแรงมากกว่าเหตุการณ์ครั้งไหนในประวัติศาสตร์การเมืองไทยคือ การนิรโทษกรรมให้กับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งภายหลังจากที่ได้มีทำกิจกรรมเล่นละครการแขวนคอซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นความตั้งใจในการหมิ่นประมาทองค์รัชทายาทในขณะนั้น (ซึ่งคือพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน) จนนำไปสู่การล้อมปราบ ใช้กำลังเพื่อล้อมฆ่านักศึกษาและประชาชนในเหตุการณ์นั้น ในภายหลังก็ได้มีการจับกุมนักศึกษากับประชาชนที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การฟ้องดำเนินคดีที่มีอัตราโทษสูงต่อแกนนำและผู้ชุมนุม เป็นคดีดำที่ 253ก./2520 จำเลยได้แก่ นายสุธรรม แสงประทุม เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) กับพวกรวม 18 คน

โดยข้อหาที่จำเลยทั้ง 19 คนถูกฟ้อง เช่น ข้อหาหมิ่นประมาทองค์รัชทายาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 (ซึ่งขณะนั้นมีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกินเจ็ดปี) ร่วมกันกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ (ซึ่งมีบทลงโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจนถึงตลอดชีวิต) ร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธเพื่อเป็นกบฏ (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 114 โทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึง 15 ปีเท่ากับมาตรา 112 ในปัจจุบัน) ร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่น (ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กำหนดโทษไว้ที่ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ถึง 20 ปี) เป็นต้น

ภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ครึ่งเดือนผ่านมาคณะรัฐประหารก็ออกคำสั่งที่ 41 มีเนื้อหาแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพิ่มโทษความผิดที่เกี่ยวกับการแสดงออกหลายมาตรา โดยหนึ่งในนั้นคือการเพิ่มโทษมาตรา 112 จากจำคุกไม่เกินเจ็ดปี เป็นจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปลายปีก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับตนเองที่ก่อรัฐประหาร

เวลาผ่านไปเกือบสองปีเต็ม สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นก็ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้กับทั้งแกนนำนักศึกษา และผู้ที่ถูกจับกุมกว่า 3,000 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ตามข้อหาต่างๆ เนื่องจากการชุมนุม ระหว่างวันที่ 4-6 ตุลาคม 2519 ส่งผลให้ผู้ที่ถูกดำเนินคดีและถูกจับกุมคุมขังอยู่ในเวลานั้น ได้รับการปล่อยตัว และพ้นผิดจากทุกข้อหา จำเลยในคดีดำที่ 253ก./2520 ก็ได้รับการปล่อยตัวและหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาทั้งปวง ส่วนสุธรรม แสงประทุม หนึ่งในจำเลยคดีนี้ ก็เป็นสส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566

โดยสรุป การนิรโทษกรรมหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แม้รัฐจะ “เหมาเข่ง” นิรโทษกรรมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำการรุนแรงต่อผู้ชุมนุม แต่ขณะเดียวกันก็นิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมและผู้ถูกดำเนินคดีที่ข้อหาร้ายแรงด้วย แม้การดำเนินคดีนั้นรัฐและผู้มีอำนาจจะเป็นผู้ริเริ่มขึ้นเอง แต่การนิรโทษกรรมให้ประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐ ก็เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่สุดที่ผู้มีอำนาจในอดีตใช้เพื่อบรรเทาความขัดแย้งที่พวกเขาสร้างขึ้นมา

คำสั่ง 66/2523 ผ่อนปรนคนร่วมพรรคคอมมิวนิสต์ให้กลับเข้าสู่สังคม

หลังเหตุการณ์ล้อมปราบในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 นอกจากกลุ่มนักศึกษาและประชาชนที่ถูกจับกุมและขึ้นศาลทหารแล้ว ยังมีอีกส่วนที่หลบหนีเข้าป่าและเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเพื่อจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลไทยในขณะนั้น ในภายหลังเพื่อยุติความขัดแย้งและพยายามหาทางออกในภาวะสงครามเย็น รัฐบาลพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 เพื่อกำหนดนโยบายในการผ่อนปรนให้ผู้ที่เข้าป่าไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย สามารถมอบตัวและพ้นผิดจากข้อหาต่างๆ ได้

หากสำรวจดูผู้ที่มีบทบาทในการเมืองไทย พบว่ามีนักการเมืองบางส่วนที่เคยเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์มาก่อน และยังมีบทบาททางการเมืองทั้งในสภาอันเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงบทบาทในฟากรัฐบาลซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร อาจกล่าวได้ว่าพวกเขาเหล่านี้สามารถกลับเข้าสู่สังคม ใช้ชีวิตได้และมีบทบาททางเมืองไทยในเวลาต่อมา เพราะผลจากคำสั่งที่ 66/2523

โดยนักการเมืองที่เคยเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์มาก่อน เช่น

1. ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน และประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

2. พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน

3. อดิศร เพียงเกษ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (เลือกตั้ง 2566)

4. จาตุรนต์ ฉายแสง สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (เลือกตั้ง 2566)

5. สงวน พงษ์มณี อดีตสส. แบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทย (เลือกตั้ง 2562)

6. ศุภชัย โพธิ์สุ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย ภายใต้รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง (เลือกตั้ง 2562)

7. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นิรโทษกรรม 2532 ยุติคดีความผิดความมั่นคงรัฐ-คอมมิวนิสต์

ปี 2532 สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ ยังได้มีการออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมผู้กระทำการอันเป็นความผิดแก่ความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2532 เนื่องในวาระที่รัชกาลที่ 9 ครองราชย์ครบ 42 ปีเท่ากับรัชกาลที่ 5 วันที่ 30 สิงหาคม 2532 กฎหมายนิรโทษกรรมฉบับนี้ โดยการกระทำที่เข้าเงื่อนไขการนิรโทษกรรมตามกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่

(1) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา (เช่น ความผิดฐานเป็นกบฏ ตามมาตรา 113 ซึ่งมีโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต)

(2) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์

(3) กระทำความผิดอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับความผิด (1) หรือ (2) ที่ไม่ใช่ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

โดยการกระทำดังกล่าวหากกระทำก่อน 2 กรกฎาคม 2531 ให้การกระทำนั้นๆ ไม่เป็นความผิด ให้ผู้กระทำพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษา ถ้ารับโทษอยู่ ให้การลงโทษสิ้นสุดลง

จากกฎหมายนิรโทษกรรมทั้งสองฉบับ ประกอบกับคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ซึ่งออกโดยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จะเห็นได้ว่า บรรดาความผิดที่เคยถูกกล่าวหาและดำเนินคดีภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ตั้งแต่ข้อหาประทุษร้าย ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตลอดไปจนถึงข้อหาล้มล้างการปกครองหรือเป็นกบฏ ล้วนแต่ได้รับการนิรโทษกรรม โดยไม่ยกเว้นข้อหาใดข้อหาหนึ่งเป็นการพิเศษ ส่งผลให้กลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 แกนนำ นักศึกษาและประชาชนที่ถูกจับกุมคุมขังในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือนักศึกษาและประชาชนที่เข้าป่าจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาลไทย ล้วนเคยได้รับการนิรโทษกรรมหรือได้รับผลจากคำสั่งที่ 66/2523 มาแล้ว

https://www.ilaw.or.th/articles/18891



April Fool Prediction? No ! ธนาพล อิ๋วสกุล เคยบอกว่า "ผมคิดว่ากฎหมายคาสิโนที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย(ผลักดันอย่างเต็มตัว)... จะถูกหักหลัง ไม่ใช่ใครที่ไหนหรอก ก็พรรคร่วมรัฐบาลกันเองนี่แหละ" และ ยิ่งลักษณ์ คงยังไม่ได้กลับบ้านมาเล่นสงกรานต์ปีนี้


.....

Thanapol Eawsakul
2 hours ago
·
เพื่อผลประโยชน์ของทักษิณ ชินวัตร และความอยู่รอดของรัฐบาล อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงต้องถูกทิ้ง
....
แม้ในทางสาธารณะในบรรดาลูก 10 คนของนายเลิศและนางยินดี ชินวัตร
ทักษิณ ชินวัตร บุตรคนที่ 2 และบุตรชายคนโต จะแสดงความรักและความห่วงใยต่อน้องสาวคนเล็กคือยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมากที่สุด
เช่นเดียวกันลูกทั้ง 3 คนของทักษิณก็จะแสดงความห่วงใยต่อลูกสาวคนเล็ก แพทองธาร ชินวัตรมากที่สุดเช่นกัน
นี่ยีงไม่รวมทั้งชะตากรรมของยิ่งลักษณ์ ชินวัตรที่ต้องลี้ภัยทางการเมืองอันเป็นผลมาจากการเป็น "นายกหุ่นเชิด" ให้กับทักษิณจนต้องผลักดันพ.ร.บ เหมาเข่ง สุดซอย ตามความต้องการของทักษิณ ชินวัตรอันนำไปสู่การสร้างเงื่อนไขรัฐประหาร 2557 ในที่สุด
จึงไม่แปลกใจเลยเมื่อทักษิณ ชินวัตรได้กลับบ้านแบบไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว ภารกิจแรกๆที่ทักษิณประกาศต่อสาธารณะหลักออกจากชั้น 14
คือใน วันที่ 14 เมษายน 2567 ว่าจะพายิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับบ้านในเดือนตุลาคม 2567 รวมทั้งมาเล่นสงกรานต์ที่เชียงใหม่ ในปี 2568
"ทักษิณ" แย้มปีหน้า "ยิ่งลักษณ์" กลับไทยมาทำบุญสงกรานต์ด้วยกัน
https://www.thansettakij.com/politics/593524
นั่นเป็นผลมาจากการที่ทักษิณ มั่นใจว่าการทำ "สัญญาปีศาจ" กับชนชั้นนำในเดือนสิงหาคม 2566 ในการตระบัดสัตย์ เปลี่ยนขั้วย้ายค่าย จะทำให้การกลับบ้านแบบไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียวของทักษิณ จะเป็นโมเดลไปให้ยิ่งลักษณ์ต่อไป
แต่ความฝันดังกล่าวก็ไม่เป็นจริง
1. ทักษิณ ประเมินความโกรธ ในเรื่องชั้น 14 ต่ำเกินไป
2. ไม่มีใครทำดีลกับทักษิณแบบจ่ายฝ่ายเดียว และปล่อยให้ทักษิณสามารถถอดปลอกคออย่างเบ็ดเสร็จได้ โดยไม่มีอะไรไว้ต่อรอง
ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่คดี 112 ที่อดีต ผบ.ทบ. แจ้งความไว้จะกลับมาหลอกหลอนทักษิณอีกครั้ง
ไม่เพียงแต่เท่านั้น การแก้ปัญาเศรษฐกิจตกต่ำก็ไม่มีวี่แววที่ดีขึ้นได้ รัฐบาลก็ไม่มีเสถียรภาพ และยิ่งเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีจากเศรษฐา ทวีสินมาเป็นอุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก
เพราะจะทำอะไรก็ต้องเอาความอยู่รอดของรัฐบาล แพทองธาร มาเป็นสมการหลักก่อนเสมอ
ไม่เพียงแต่ความไม่พร้อมของแพทองธารในการบริหารประเทศ
ความกล้าที่จะดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ก็ยิ่งลดน้อยถอยลง
แต่กระนัน วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 ทักษิณ บอกเล่าอย่างมั่นใจว่า
“พยายามทำให้แน่ใจว่า “ยิ่งลักษณ์” จะได้กลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีหน้า (2568) และไม่เห็นว่าจะมีปัญหาอะไรที่จะขัดขวางเธอไม่ให้ได้กลับบ้าน”
“คิดว่าเธออาจจะได้กลับบ้านก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับจังหวะ และโอกาส (ที่เหมาะสม)”
https://www.posttoday.com/politics/715951
แต่นั่น ก็ดูเหมือน ว่าจะเป็นเพียงคำปลอบใจ ที่ทักษิณทิ้งไว้ลอย ๆกับยิ่งลักษณ์เท่านั้น
เพราะ3 เดือนต่อมา
10 กุมภาพันธ์ 2568 ทักษิณก็ยอมรับอีกครั้งว่า สงกรานต์ 2568 ยิ่งลักษณ์คงไม่ได้กลับบ้าน
'ทักษิณ' อ้างหลายปัจจัย 'ยิ่งลักษณ์' ยังกลับไทยไม่ได้
https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=949791683978754&id=100068437935718
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า ภายใต้เสถียรภาพอันง่อนแง่นของรัฐบาลอุ๊งอิ้ง แพทองธาร ชินวัตร รัฐบาลจะไม่ยอมทำอะไรเพื่อให้อำนาจหลุดมือทางการเมืองไปเด็ดขาด
รัฐบาลนี้จะตัดทุกเงื่อนไขที่จะทำให้รัฐบาลไปไม่รอด
แม้กระทั่งกฎหมายคาสิโนของพรรคเพื่อไทยที่ก่อนหน้านั้นได้แสดงบทบาทอย่างเด็ดเดี่ยว เมื่อถึงเวลา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็พร้อมที่จะถอย ไม่เห็นเหมือนกับความจำเป็นเร่งด่วนที่ให้ไว้ก่อนหน้านั้นเลย
ขณะที่กฎหมายคาสิโนยังถอย
ความหวังที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจะได้กลับบ้าน ภายใต้รัฐบาล อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ก็ยิ่งเป็นไปไม่ได้เลย
ดังนั้น
เพื่อผลประโยชน์ของทักษิณ ชินวัตร และความอยู่รอดของรัฐบาล อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงต้องถูกทิ้งให้อยุ่เมืองนอกต่อไป
ปล. เขียนขึ้นในฐานะคนเลือกพรรคเพื่อไทยทั้ง 2 ใบในการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554




https://www.facebook.com/thanapol.eawsakul/posts/9808348242565260
https://www.facebook.com/photo/?fbid=9812172105516207&set=a.188049254595255