วันอังคาร, กุมภาพันธ์ 28, 2566

รมว.คลัง “เอาอย่างนาย” ก่อหนี้สาธารณะถึง ๑๐.๕ ล้านล้านแล้ว ยังมีหน้าขอแบ่ง ครึ่งหนึ่งยกให้รัฐบาลก่อนยึดอำนาจ

เดี๋ยวนี้คนไทยเซ็งกับ ไอทู้บ ถึงขนาดนี้แล้วนะ “บางทีก็อยากให้เขาอยู่ต่อ อยากรู้ว่าถ้าประเทศเข้าสู่สภาวะวิกฤตคนที่เชียร์ลุงจะทำอย่างไร” แน่นอน คนที่อยู่ไม่ได้จะยิ่งจมหาย พวกไทยเฉย ไทยโหน ก็ยังพอสบายๆ ไปเรื่อยๆ ได้มั่งไม่ได้มั่ง

เรื่องมันเกิดจาก รมว.คลังยอมรับว่าหนี้สาธารณะตอนนี้เหยียบ ๑๐.๕ ล้านล้านบาท เต็มพิกัดสัดส่วนต่อจีดีพี ที่ต้องไม่เกิน ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่งั้นพังครืน แต่แทนที่ทั่น อาคม เติมพิทยาไพสิฐ จะบอกว่าถ้างั้นจะแก้ไขอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

ก็ดั๊นเอาอย่างนาย โทษคนอื่นตะบัน ปัดสวะไปให้รัฐบาลก่อนยึดอำนาจ รับไว้แค่ครึ่งเดียว ไอ้ความ ไม่สามารถ ของพวกตัว อ้างว่าอีกครึ่งสะสมมาก่อนเกิดโควิด-๑๙ ระบาด “ซึ่งประชาชนรุ่นผ่านๆ มาแบกมาแล้ว และคนรุ่นต่อไปก็ต้องแบกภาระเช่นกัน”

เอากะมันสิ คือบอกว่าจะเป็นอย่างไรชาวบ้านต้องรับไปอย่างนั้น คนที่ทำไม่เป็นแล้วผิดพลาด หรือไม่ได้ทำเป็นชิ้นเป็นอันจึงไม่ได้ผล ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร ซึ่งกรณีนี้รับผิดครึ่งเดียวรับชอบอีกครึ่ง ถือว่าเจ๊ากันไปงั้นสิ ๘ ปีภายใต้ ขี้ตู่ เหมือนติดคุกฟรี

ขณะที่ สมชัย ศรีสุทธิยากร ตอนนี้อยู่พรรค เสรีรวมไทยโหมใหญ่เรื่องพรรคที่ตั้งขึ้นมารองรับ ไอทู้บ ทำผิดระเบียบหลายอย่าง นอกจากกรณีโหนเจ้าไม่ดูตาม้าตาเรือ ถ้าเป็นช่วงที่ยังไม่ได้ถอดปลั๊กพ่อ แบบนี้ติดเชื้อในกระแสเลือดไปแล้วนั้น

อดีต กกต.ก็ตามบี้คณะกรรมการเลือกตั้งที่บิดเบี้ยวระเบียบหลายอย่างให้ไปทาง ตู่กรณีพรรครวมไทยสร้างชาติจัดประชุมใหญ่ “อาจเข้าข่ายกระทำผิดตามกฎหมายเลือกตั้ง” ยื่นคำร้องไปตั้งแต่ ๑๙ มกรา หนึ่งเดือนให้หลังถึงตอบมา

บอกว่า “กรณีที่ร้องเรียนไปนั้นไม่เข้าข่ายที่จะสามารถร้องเรียนได้ เนื่องจากติดเหตุผลหลายประการ ในรายละเอียดของกฎหมายพบว่าคำร้องดังกล่าวขาดรายละเอียด วัน และเวลาสถานที่ที่เกิดเหตุ” สมชัยบอกเฮ้ยพูดงี้ได้ไง

“ร้องที่ส่งไปมีทั้งวัน เวลา และบุคคลที่เกี่ยวข้อง พยานบุคคล พยานวัตถุ ทั้งหมวกหรือเสื้อที่แจกในวันเกิดเหตุ” กกต.ไปงมหรืออมอะไรอยู่ แล้วส่วนที่บอกว่าไม่อาจร้องได้ “เพราะไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิในเขตเลือกตั้ง” ที่เป็นปัญหา คนละเรื่องกันเลย

“เป็นการกระทำผิดของพรรคการเมืองที่ส่งผลกระทบไปทั้งประเทศ หากบุคคลใดพบเห็นก็ควรมีสิทธิร้องต่อ กกต.ได้” เอาอะไรมาพูดเลอะเทอะ ดังนั้น ๓ มีนานี้ เวลาพระฉันเพล “ตนและ วีระ สมความคิด จะเดินทางไปพบเพื่อไปฟังการชี้แจง”

ว่าใช้เหตุผลอะไรไม่รับคำร้อง หาก “ยังรู้สึกว่า กกต.ไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความชอบ จะขอสงวนสิทธิในการดำเนินคดีกับ กกต.ทั้งชุด” นั่นละ จัดไป

(https://www.facebook.com/thestandardth/posts/Ba6zr3H2 และ https://www.matichon.co.th/economy/news_3844847) 

จับตาสภาประชุมนัดพิเศษ (28 กุมภาพันธ์) รัฐบาลกะยื้อบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันอุ้มหายฯ ผ่าน พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565


บีบีซีไทย - BBC Thai
13h 
กฎหมายทรมานอุ้มหาย กับกล้องบันทึกภาพของตำรวจขณะจับกุม-ควบคุมตัว
.
ในต่างประเทศ อาจจะคุ้นเคยเรื่องกล้องติดตัวตำรวจที่ใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการไขคดี แต่รู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยเพิ่งจะมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ใน พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 หรือ "พ.ร.บ. ทรมานอุ้มหาย" ที่ตอนนี้ รัฐบาลขอเลื่อนบังคับใช้เนื้อหา 4 มาตรา เรื่องของการบันทึกภาพและเสียงขณะจับกุมตัวออกไป เนื่องจากทางตำรวจอ้างว่า ไม่สามารถจัดซื้อกล้องบันทึกภาพจำนวน 1.71 แสนตัวไม่ทัน จับตาวันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) สภาฯ ประชุมนัดพิเศษพิจารณา พ.ร.ก. ที่รัฐบาลเลื่อนใช้ 4 มาตรา ว่าจะออกมาทิศทางใด
.
ทำความรู้จักกฎหมายฉบับนี้ ที่ปกป้องสิทธิผู้ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่รัฐมากขึ้น https://bbc.in/3ZnObG1





.....
พรรคก้าวไกล - Move Forward Party
16h
[ พรรคก้าวไกล มีมติโหวตคว่ำ พ.ร.ก. ยื้อบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันอุ้มหายฯ - รัฐบาลต้องปกป้องประชาชน อย่าเตะถ่วงอุ้มประยุทธ์ ]
.
กรณีที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ในวันพรุ่งนี้ (28 กุมภาพันธ์) ชัยธวัช ตุลาธน - Chaithawat Tulathon เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล มีมติโหวตคว่ำ พ.ร.ก. ฉบับนี้ของรัฐบาล และไม่เห็นด้วยกับการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการออก พ.ร.ก. ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
.
พ.ร.บ. ป้องกันอุ้มหายฯ เป็นกฎหมายที่ ส.ส. ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลผลักดันร่วมกันกับภาคประชาสังคม เพื่อคุ้มครองไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิและร่างกายของประชาชนระหว่างถูกควบคุมตัว ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เคยยืนยันต่อ กมธ. ของสภาฯ เองว่า เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้ทันแน่นอน
.
ดังนั้น เมื่อถึงกำหนดที่ พ.ร.บ. ป้องกันอุ้มหายฯ จะต้องบังคับใช้แล้ว การออก พ.ร.ก. เพื่อเลื่อนการบังคับใช้ พ.ร.บ. ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงรับฟังไม่ได้ และชัดเจนอยู่แล้วโดยไม่ต้องถามศาลรัฐธรรมนูญ ว่า พ.ร.ก.ฉบับนี้ ออกโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพราะมิได้เป็นกรณีฉุกเฉิน หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนแต่อย่างใด
.
พล.อ. ประยุทธ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลและผู้กำกับดูแลตำรวจ จึงต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ เพราะการอ้างว่าตำรวจไม่พร้อมปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่มีเวลาเตรียมตัวถึง 120 วัน แท้จริงแล้วสะท้อนตัวตนของ พล.อ. ประยุทธ์ที่ไม่ต้องการบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิและชีวิตร่างกายของประชาชน
.
ถ้าพรุ่งนี้ พ.ร.ก. ถูกคว่ำในสภาฯ พล.อ.ประยุทธ์สมควรต้องลาออกจากตำแหน่งนายกฯ ทันที เพราะไม่มีความชอบธรรมที่จะรักษาการต่อหลังยุบสภาอีกแล้ว
.
นอกจากนี้ ในประเด็นที่มีการเสนอให้ ส.ส. เข้าชื่อต่อประธานสภาฯ เพื่อยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการออก พ.ร.ก. นั้น พรรคก้าวไกลเห็นว่าไม่ควรยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นอำนาจเต็มของสภาผู้แทนฯ อยู่แล้วที่จะลงมติว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ออกมาโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
.
ที่สำคัญ การยื่นศาลรัฐธรรมนูญ จะเป็นการช่วยเตะถ่วงให้ พ.ร.ก. ที่ออกมาโดยมิชอบ สามารถบังคับใช้ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อประชาชน และคนที่จะได้ประโยชน์ที่สุดจากการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ คือ พล.อ. ประยุทธ์ เพราะไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองใดๆ หากสภาโหวตไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ของรัฐบาล
.
ด้วยเหตุนี้ จึงยืนยันว่า ส.ส. ก้าวไกลจะไม่ร่วมยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และเรียกร้องให้ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลอย่าเจตนาทำให้สภาล่มในวันพรุ่งนี้ รวมทั้งขอให้ลงมติเพื่อคุ้มครองประชาชน มิใช่เพื่อคุ้มครอง พล.อ.ประยุทธ์
.
“ขอให้ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล อย่าเขียนด้วยมือแต่ลบด้วยเท้า ควรลงมติไม่อนุมัติ พ.ร.ก. ฉบับนี้ ถึงเวลาแล้วที่จะแสดงตัวให้ชัดเจนว่าจะอยู่ข้างประชาชนหรืออยู่ข้างผู้นำบ้าอำนาจ และขอเตือนว่าอย่าลักไก่ด้วยการชิงยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อตัดตอนไม่ให้มีการลงมติกันในสภา เพราะจะแสดงให้ประชาชนเห็นชัดเจนว่า พรรคร่วมรัฐบาลไม่มีความกล้าหาญและซื่อตรงต่อประชาชนพอที่จะลงมติในสิ่งที่ถูกต้อง แต่เลือกจะปกป้อง พล.อ.ประยุทธ์ และกลัวจะเสียคะแนนนิยมหากต้องโหวตเห็นชอบกับ พ.ร.ก.” ชัยธวัชระบุ


คลิปชูวิทย์เดือด ปรอทแตก แฉเนวินยับ หลังโดนบุกตรวจกัญชาในโรงแรม

https://www.facebook.com/wakeupthailand/videos/558405399395670

พรรคเสรีรวมไทย เตรียมเปิดนโยบายด้านการเมือง ชุดที่ 1 “ปฏิรูป กกต. และองค์กรอิสระทุกองค์กร” 1 มีนาคม 2566


"สมชัย" โยนหินปฏิรูป กกต. เอามั้ยนโยบายพรรคเสรีรวมไทย ลดสเปกเทพลง เลิกกติกายุบพรรค : Matichon TV

Feb 25, 2023 

นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “เอามั้ย นโยบายพรรคเสรีรวมไทย ออกกฎหมายปฏิรูป กกต.”


สมชัย ศรีสุทธิยากร
1d
กล้าทำ ทำแน่ ทำถึงที่สุด
พรรคเสรีรวมไทย
เปิดนโยบายด้านการเมือง ชุดที่ 1 “ปฏิรูป กกต. และองค์กรอิสระทุกองค์กร”
โดย
พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรค
รศ. สมชัย ศรีสุทธิยากร
ประธานยุทธศาสตร์พรรค
นายวิรัตน์ วรศสิริน
เลขาธิการพรรค
วันพุธที่ 1 มีนาคม 2566
เวลา 10.00-11.00 น.
ห้องประชุมพรรคเสรีรวมไทย แขวงบางขุนนนท์ กทม.
ถ่ายทอดสด ผ่านเพจ พรรคเสรีรวมไทย

เปิดเงินปันผลจากการถือหุ้นของวชิราลงกรณ์ 2565 แค่เงินปันผลจากบริษัท เอสซีบี เอกซ์ 5 พันล้าน อืมมมม

https://www.facebook.com/somsakjeam/posts/5852745764778654
Somsak Jeamteerasakul
3h
เงินปันผลจากการถือหุ้นในชื่อตัวเองของวชิราลงกรณ์
หุ้นบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) 793,832,359 หุ้น หรือคิดเป็น 23.58 %
บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) (SCBX) จ่ายปันผลปี 2565 อีกหุ้นละ 5.19 บาท จากเดิมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ได้จ่ายปันผลในอัตราหุ้นละ 1.50 บาท รวมตลอดปีจ่ายปันผล 6.69 บาทต่อหุ้น
ในปี 2565 วชิราลงกรณ์ ได้เงินปันผลจากบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) 793,832,359 x 6.69 รวมเป็นเงิน 5,310,738,481.71 บาท (ห้าพันสามร้อยสิบล้านเจ็ดแสนสามหมื่นแปดพันสี่ร้อยแปดสิบเอ็ดบาทเจ็ดสิบเอ็ดสตางค์)
ข้อมูลผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน)
https://www.set.or.th/.../stock/quote/SCB/major-shareholders
SCBX แบ่งกำไรกว่า 2 หมื่นล้าน จ่ายปันผลปี’65 แบบจุก ๆ 6.69 บาท
https://www.prachachat.net/finance/news-1214535

ชวนอ่าน จม.จาก ประเวศ ประภานุกูล แดน 3 เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร 14 April 2018 ความสำคัญของมวลชนอยู่เป็นสักขีพยาน


Free Prawet Prapanukul
May 16, 2018
แดน 3 เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
14 April 2018
สวัสดีครับ xxx
นี่เป็นฉบับเขียนใหม่ครั้งที่ 2 คราวนี้ถูกตีกลับด้วยเหตุผลว่าพาดพิงศาล เอาเหอะ สักวันหนึ่ง เมื่อคุณโดนบ้างกับการถูกใส่ร้าย และมีคนคอยสกัดไม่ให้คุณแก้ต่างอธิบาย หวังว่าคุณจะทำใจรับได้และเชื่อได้แน่ว่าคุณจะโดนเองเข้าบ้างแน่ จะชาติไหนเท่านั้น เอ้อ... อาไม่ต้องจองเวรใครนะครับ xxx แค่ไม่อโหสิให้ก็เกินพอแล้ว ยังไงเขาก็ต้องรับผลกรรมของเขาเองสักวันหนึ่ง
อาแก้รายชื่อญาติเยี่ยมเอา “ย... ม....” เข้าแทน “ส... ต...” รบกวนช่วยส่งข่าวบอกคุณ ย... ด้วยครับ
ก่อนสงกรานต์มีของฝากส่งเข้ามาให้อา คนซื้อชื่อ “ก... พ...” ก่อนของเข้ามา 1 วัน ก็มีเงินเข้าบัญชีของอา 500 บาท ก็น่าจะเป็นคนเดียวกัน เพราะวันฝากเงินเข้าบัญชีกับซื้อของเป็นวันเดียวกัน แต่ชื่อ ก... พ... นี้ อาไม่รู้จัก xxx พอจะสืบได้มั้ยครับว่าเป็นใคร
ตอนนี้พักการเขียนคำแถลงการณ์ แต่ต้องเตรียมการรับมือศาลในวันที่ 8 พฤษภาคม (หลังจากนั้น จะเห็นท่าทีของศาล จึงค่อยปรับแผนสำหรับวันต่อๆ ไป) ข้อสำคัญในวันนั้นต้องมีมวลชนฝ่ายเราอยู่ติดตามคดีของอาจนจบ ต่อให้ศาลสั่งพิจารณาคดีลับ ก็ต้องคอยเฝ้าหน้าห้อง คอยฟังเสียงที่จะดังออกมาจากในห้องเพื่อส่งข่าวสู่สาธารณะ ถ้าถามอาว่าอยากให้รณรงค์เรื่องอะไร ก็คงเป็นเรื่องนี้แหละครับ “อยากให้มวลชนอยู่เป็นสักขีพยาน” ในวันที่ 8-9-10 พฤษภาคม 2561 ครับ
Remember, a kite flies against the wind, not with it. – พึงระลึกว่าว่าวบินต้านลม ไม่ใช่ตามลม
แน่นอนว่า ว่าวที่เชือกขาดถูกลมพัดลอยไปตามลม ย่อมตกลงพื้นและไม่สามารถบินขึ้นได้อีก ว่าวจะมีค่าและบินได้จะต้องบินต้านลมเท่านั้น ชีวิตคนก็เช่นกัน เสรีภาพที่แลกมาด้วยการยอมจำนน คือ เสรีภาพจอมปลอม มันเป็นอิสรภาพที่แลกมาด้วยการคุกเข่าอ้อนวอน การยอมแพ้เพื่อนับวันถูกปล่อยตัว เป็นการบ่อนทำลายตัวตนของตนเอง ชีวิตเช่นนั้นแม้จะมองเห็นแสงสว่างปลายทางอุโมงค์อันยาวไกลไปสู่อิสระภาพ ก็เป็นชีวิตที่ไร้ความหมายเหมือนว่าวลอยตามลม ที่ต้องตกลงบนพื้น สำหรับอา ถ้าอามีชีวิตเช่นนั้น อาคงเฉาตายไปแล้ว
สำนวนคนคุก คำว่า “ตัด” ที่อาค้างไว้ คำนี้ย่อมาจากคำว่า “ตัดสิน” และความหมายก็แคบกว่าคำตัดสินหรือพิพากษา โดยเน้นเฉพาะที่ตัดสินลงโทษเท่านั้น อย่างคำว่า “ตัดเท่าไหร่” หมายถึง “ตัดสินลงโทษเท่าไหร่” บางทีคำนี้ “ตัดเท่าไหร่” ชวนให้หงุดหงิดเหมือนกันเวลาที่มีคนถาม ก็ได้แต่นึกในใจว่า “ก็ไม่ผิด ใครก็ไม่มีสิทธิตัดสินลงโทษ” แต่ทัศนะของคนในนี้ พวกเขาเห็นว่าตัดสินให้จบๆ ไปดีกว่า จบๆ ไปให้เด็ดขาดจะได้ลุ้นอภัยโทษ แล้วก็ชอบถามกันจัง “เหลือ (โทษ) เท่าไหร่” “เมื่อไหร่ออก” พอตอบว่า “ไม่มีกำหนด” ซึ่งก็หมายถึงว่าคดียังไม่จบ ก็ยังอุตส่าห์มีคนหนึ่งออกความเห็นว่า
มันคือการ “ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล”
มันคือการ “คิดว่าความเห็นตัวเองเท่านั้นถูก”
มันคือการคิดว่า “คนอื่นต้องเห็นด้วยกับตนเอง”
น้อยคนที่จะยอมรับความเห็นต่างของคนอื่น
การแสงความนอบน้อมต่อคนที่มียศ เจ้าหน้าที่ตลอดจนทนายความ เช่น เมื่อเดินผ่านก็ก้มตัวเดิน มันคือการยอมรับ “อำนาจ” มันคือ “อำนาจนิยม” มันคือฐานอำนาจชั้นเยี่ยมของเผด็จการ – มีคนบอกว่าเป็นมานานแล้ว และคงจะไปเป็นไปอีกนาน
รัก -
ประเวศ ประภานุกูล

ใจคอจะพรากแม่พรากลูกเพียงเพราะเธอแสดงความคิดเห็นไม่ถูกใจผู้มีอำนาจเท่านั้นหรือ? #ยกเลิก112


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
19h

“นี่ลูกหนู น่ารักมั้ย” เธอเอ่ยพร้อมชูโทรศัพท์ซึ่งปรากฏภาพของเด็กน้อยวัย 8 เดือนให้ดู
.
“น่ารัก น่ารักมาก” ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเด็กน้อยที่กำลังส่งยิ้มแป้นแล้นให้จากในโทรศัพท์ดูน่ารักมากจริงๆ เนื่องจากไม่เคยมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับเด็กทารกมาก่อน เราจึงถามกลับไปว่าเด็กในวัยนี้มีพัฒนาการอย่างไรบ้าง
.
“ตอนนี้กำลังหัดยืนเกาะเลย ต้องช่วยพยุงอยู่ข้างๆ” เธอตอบพร้อมรอยยิ้ม “ลูกหนูแข็งแรงและเลี้ยงง่ายมาก แต่บางทีถ้าหนูไม่อยู่ในสายตานะ ร้องไห้จ้า”
.
หญิงสาวที่เรากำลังสนทนาด้วยคือ “ธนพร” แม่ลูกอ่อนจากจังหวัดอุทัยธานีวัย 23 ปี ผู้ถูกดำเนินคดี “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการใช้บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัวแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์เฟซบุ๊กของเพจซึ่งเผยแพร่ภาพตัดต่อของรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 8 เมื่อช่วงปี 2564 ซึ่งเธอเล่าว่านั่นเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่เธอเคยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์บนโซเชียลมีเดีย
.
ธนพรจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในขณะเกิดเหตุเธอมีอายุเพียง 21 ปีเศษ เธอเล่าว่าครอบครัวของเธอมีฐานะยากจน ตั้งแต่รู้ความเธอก็ต้องทำงานหาเงินมาตลอด ในขณะที่ถูกดำเนินคดีเธอทำงานอยู่ในโรงงานรองเท้าจนกระทั่งอายุครรภ์ 7 เดือน จึงลาคลอดและออกมาเลี้ยงลูกจนถึงปัจจุบัน
.
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าแสดงหมายจับในขณะที่ธนพรอยู่ที่บ้านพัก เธอถูกนำตัวเข้ากรุงเทพฯ ไปสอบสวนที่ สน.บางพลัด และให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยไม่มีทนายความ หลังจากถูกขังอยู่ที่สถานีตำรวจ 1 วัน ตำรวจนำตัวเธอไปขอฝากขัง ต่อมาศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน โดยวางหลักทรัพย์เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่ยืมมาจากญาติ และศาลยังมีเงื่อนไขให้ติดอุปกรณ์ติดตามตัวอิเล็กทรอนิกส์ (EM)
.
“ก่อนหน้านี้ตำรวจไปตามตัวที่โรงงานที่ทำงาน แต่วันนั้นหนูหยุดงานพอดี เค้าก็เลยมาตามที่บ้าน แล้ววันนั้นก็ถูกเอาตัวมาที่ สน.บางพลัด เลย”
.
ในศาลชั้นต้น ธนพรให้การรับสารภาพตามฟ้องด้วยเช่นกัน เธอเล่าว่าตนเองไม่มีทนายความทั้งในชั้นสอบสวนและศาลชั้นต้น ในวันที่เธอมาขึ้นศาลจึงมีเพียงทนายความที่ศาลแต่งตั้งให้ในชั้นพิจารณา
.
เมื่อวันที่ 17 ก.พ. 2565 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกธนพร 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเนื่องจากให้การรับสารภาพ คงจำคุก 2 ปี และให้รอการลงโทษไว้ อย่างไรก็ตามอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาตลิ่งชันในขณะนั้น ได้ทำความเห็นแย้งคำพิพากษาดังกล่าว โดยเห็นว่าควรลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษ และพนักงานอัยการยื่นอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลอุทธรณ์ ทำให้เธอต้องเดินทางมาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 14 ก.พ. 2566 และติดต่อแจ้งเรื่องของเธอมายังศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
.
บทสนทนาระหว่างเราและธนพรในระหว่างรอฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ นอกจากเรื่องเกี่ยวกับคดี 112 ที่เธอตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาแล้ว เรื่องลูกของธนพรเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่พวกเราคุยกันเยอะที่สุด
.
ในระหว่างเล่าเรื่องราวของลูก ธนพรเหมือนลืมเรื่องทุกข์ใจเกี่ยวกับคดี ดวงตาของเธอเป็นประกาย และดูท่าแล้วเธอจะสามารถเล่าเรื่องลูกออกมาได้อย่างไม่รู้จบ อาจเป็นเพราะเธอรู้ว่าตนเองถูกดำเนินคดีตั้งแต่ก่อนที่จะรู้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์ ทำให้เธอพยายามเก็บเกี่ยวทุกช่วงเวลาที่อยู่กับลูกไว้ให้มากที่สุด
.
“ตอนที่มีคดีก็ไม่คิดว่าจะมีลูก ไม่คิดว่าจะตั้งท้องในช่วงนั้น เพราะตอนที่ได้ประกันตัวออกไป เราก็คิดว่าเราจะต้องคุมกำเนิด เราจะไม่ปล่อยให้มีลูกต่อไปในอนาคตเพราะไม่รู้ว่าคดีจะเป็นอย่างไรต่อไป แต่พอนึกไปนึกมา ประจำเดือนเราขาดมาสองเดือนแล้วก็เลยตรวจดูก่อน สรุปเราท้องมาประมาณ 3 เดือน แต่เราไม่รู้เลยว่าเค้าอยู่ในท้อง”
.
“หลังจากโดนคดีก็มีทั้งคนที่เข้าใจและไม่เข้าใจ บางคนก็บอกว่าไปทำไปทำไม ไม่สงสารลูกเหรอ มองว่าเราเป็นคนเลว” ธนพรเล่าให้ฟัง “บางคนก็สมน้ำหน้าตอนที่หนูใส่ EM ไปโรงงาน แต่ก็มีคนเข้าใจเรานะ เค้าบอกว่าเราแค่แสดงออกผิดวิธีเท่านั้นเอง”
.
ธนพรบอกว่าการถูกดำเนินคดีส่งผลกระทบต่อเธอและครอบครัวทั้งในด้านการเงินและการวางแผนอนาคตของลูก โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากบ้านพักที่จังหวัดอุทัยธานี มายังศาลอาญาตลิ่งชันในกรุงเทพฯ
.
“เกิดผลกระทบมากเลยค่ะ ทั้งเรื่องการเงินและอนาคตของลูก เหมือนตอนนี้ค่าเดินทางมาศาลก็ประมาณ 2,000 บาทขึ้นไป แทนที่จะได้เอาเงินไปซื้อนมลูกหรือเอาไปใช้จ่ายอย่างอื่น”
.
“ในช่วงที่เราตั้งท้อง พอได้ประกันตัวออกไปเราก็ดีใจ แต่ก็ต้องเสียค่ารถมารายงานตัวตลอด ซึ่งตอนนั้นหนูก็ท้องอยู่ ต้องนำเงินไปฝากครรภ์ ทุกอย่างประเดประดังกันมาหมดเลย”
.
“เหมือนตอนนี้ถ้าศาลกลับคำพิพากษา ก็จะมีผลกระทบอย่างมาก ทั้งตัวหนู ลูกหนู และคนรอบข้าง” ธนพรกล่าวถึงผลกระทบหากศาลอุทธรณ์ไม่พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
.
เดิมทีฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเธอก็ไม่ดีนัก ถึงแม้ธนพรจะใช้เวลาส่วนมากไปกับการเลี้ยงลูก แต่ลำพังแค่รายได้ของสามีไม่เพียงพอต่อการจุนเจือครอบครัว ทำให้ในช่วงเวลาว่าง เธอก็หารายได้เสริมโดยการปลูกผักขายและขายของออนไลน์
.
“คาดหวังว่าศาลอุทธรณ์จะพิพากษาเหมือนศาลชั้นต้น ถ้าถามว่าเตรียมใจไว้มั้ย ก็เตรียมใจไว้บ้าง แต่ก็คงทำใจไม่ได้อยู่แล้ว” ธนพรตอบเมื่อถูกถามถึงความคาดหวังสูงสุดต่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันนี้ และเปิดเผยว่าสิ่งที่เธอหวาดกลัวมากที่สุดไม่ใช่การต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ แต่เป็นการที่เธอจะไม่ได้อยู่กับลูกในวัยเจริญเติบโต ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด และไม่อาจย้อนคืนกลับมาได้
.
เราสอบถามธนพรเพิ่มเติมว่า เธอวางแผนในอนาคตไว้อย่างไร ทั้งในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และกรณีที่ไม่รอลงอาญา
.
“ในกรณีที่ต้องเข้าเรือนจำ คิดว่าต้องประกันออกไปดูแลลูกและขอยื่นฎีกา” ธนพรกล่าวย้ำเตือนกับตัวเอง “ติดคุกไม่ได้นะ ลูกยังไม่โต”
.
“ถ้าประกันไม่ได้ หรือฎีกาไม่ได้ ก็คงต้องปล่อยตามที่เป็นไป” เธอกล่าวตามความเป็นจริง “ลูกก็คงต้องไม่มีแม่ ก็ต้องอยู่กับปู่กับย่า”
.
“ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นก็จะตั้งใจเลี้ยงดูลูกให้ดีที่สุด จนเค้าเข้าโรงเรียน ก็จะทำงานหาเงินให้ได้เยอะๆ เอามาสนับสนุนเค้า เพราะลูกโตไปก็ต้องเข้าโรงเรียน ไหนจะเจ็บป่วย มันต้องใช้เงินในทุกๆ อย่าง ก็วางแผนไว้แบบนั้น” แผนระยะยาวของธนพรล้วนเกี่ยวพันกับลูก
.
“ในชีวิตนี้มีแต่ลูก ตัวเราเองนั้นยังไงก็ได้ แต่สำหรับลูก เราทำให้ลูกเกิดมาแล้วก็ต้องเลี้ยงเค้าให้ดี” เธอกล่าว “หากวันใดวันหนึ่งไม่ได้อยู่กับลูกหรือไม่ได้เจอกันก็คงทำใจไม่ได้”
.
คำถามสุดท้ายที่เราถามธนพรก่อนเข้าห้องพิจารณาคดีเพื่อฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือความเห็นของเธอที่มีต่อมาตรา 112
.
“มันรุนแรงเกินไป” เธอตอบในทันที “จากที่เคยอ่านเรื่องของคนที่โดนคดีเหมือนกัน คิดว่าโทษหนักเกินไป ขั้นต่ำกรรมละ 3 ปี โทษมันร้ายแรงมาก”
.
สุดท้ายในวันนั้น (14 ก.พ. 2566) ศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ลงโทษจำคุกธนพร 2 ปี โดยไม่รอการลงโทษ ก่อนที่เธอจะได้รับการประกันตัวในระหว่างฎีกา
.
การต่อสู้คดีในศาลสุดท้ายนี้ ยังเป็นโอกาสสุดท้ายที่ตัดสินว่าธนพรจะได้กลับบ้านไปเลี้ยงดูลูกในวัยเจริญเติบโตให้ดีที่สุดอย่างที่ตั้งใจไว้ หรือจะถูกพรากช่วงเวลาดังกล่าวไปตลอดกาล
.
.
ย้อนอ่านข่าวคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ : https://tlhr2014.com/archives/53515
.
อ่านบทสัมภาษณ์บนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/53855
.....
ภัควดี วีระภาสพงษ์
10h
ใจคอจะพรากแม่พรากลูกเพียงเพราะเธอแสดงความคิดเห็นไม่ถูกใจผู้มีอำนาจเท่านั้นหรือ?
#ยกเลิก112
.....
Khemthong Tonsakulrungruang
20h
ระบบพิจารณาคดีในปัจจุบันทำให้ไม่มีใครเป็นเจ้าของคดีที่แท้จริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ ผู้พิพากษาที่ออกนั่งบัลลังค์ก็ไม่ใช่เจ้าของ ต้องไปให้ผู้บริหารตรวจ ผู้บริหารที่ตรวจก็ไม่ใช่เจ้าของเพราะไม่ได้นั่งฟังการพิจารณาเอง ระหว่างกระดาษและระบบราชการ ซ่อนความเป็นความตายคนอยู่แบบไม่รู้ร้อนรู้หนาว

ติดคุกฟรี 1 ปี : 101 ชวน อดีตผู้ต้องหา ม.112 สะท้อนประสบการณ์การเผชิญความไม่เป็นธรรมที่พัดพาให้เขาต้องเข้าคุกเพียงเพราะทะเลาะกับคนในครอบครัว อันสะท้อนว่า ม.112 มีปัญหาทั้งเรื่องการบังคับใช้และตัวกฎหมาย


The101.world
18h

สิบปีที่แล้ว 'ยุทธภูมิ' ต้องเข้าคุกเพราะพี่ชายแท้ๆ แจ้งจับด้วย ม.112 หลังทะเลาะกันหนักด้วยเรื่องส่วนตัว
.
เขาติดคุกยาวหนึ่งปี ไม่ได้ประกันตัว เพราะ 112 ถือเป็นคดีร้ายแรง ทั้งที่หลักฐานในการเอาผิดคดีนี้ไม่มีน้ำหนัก สุดท้ายศาลยกฟ้อง เขาติดคุกฟรี
.
ผ่านมาสิบปี ม.112 ยังถูกบังคับใช้เหมือนเดิม ต่างกันที่จำนวนผู้ถูกกล่าวหาเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด พร้อมคำถามว่าเหตุใดสังคมจึงปล่อยให้กฎหมายที่มีปัญหาเช่นนี้บังคับใช้มายาวนาน
.
101 ชวน ยุทธภูมิ มาตรนอก อดีตผู้ต้องหา ม.112 สะท้อนประสบการณ์การเผชิญความไม่เป็นธรรมที่พัดพาให้เขาต้องเข้าคุกเพียงเพราะทะเลาะกับคนในครอบครัว อันสะท้อนว่า ม.112 มีปัญหาทั้งเรื่องการบังคับใช้และตัวกฎหมาย
.
อ่านได้ที่ : https://www.the101.world/yuttapoom-martnork-interview/
.
“ทำไมอยู่ดีๆ ชีวิตคนคนหนึ่งต้องพลิกผันเข้าไปอยู่ในคุก...แล้วถ้าผมได้ประกันตัวก็ไม่ต้องอยู่ในคุก ยังทำงานต่อไปได้ ซึ่งสุดท้ายศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง ถามว่าผมสมควรเข้าไปอยู่ในนั้นไหม ผมไม่ได้ทำร้ายชีวิตใคร ไม่ได้ทำผิดต่อชีวิตหรือทรัพย์สินใคร
“หนึ่งปีนั้นมันไม่ใช่แค่การติดคุกนะครับ นั่นมันชีวิตผมเลยนะ"
.
“ทุกคนมีสิทธิในตัว สิทธิในการประกันตัวต้องมี ในคดีที่ไม่ได้ทำผิดต่อชีวิตควรได้รับการประกันตัว โดยเฉพาะนักโทษทางความคิด มันเป็นเรื่องความคิด ไม่ได้ทำร้ายร่างกายใคร ควรทบทวนครับ"
.
“112 ยังไงต้องมีการเปลี่ยน ยกเลิกไม่ได้ก็ต้องแก้ไข จะแก้มากหรือน้อยก็ต้องมีการเริ่มต้น 112 หนักเกินไป แรงเกินไป ต้องทำให้เหมาะสม"
.
"112 นี่กว้างนะครับ คุณอาจจะไม่ได้ทำผิด อาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้ แต่สักวันหากมีคนกลั่นแกล้ง คุณก็โดนได้เหมือนกัน"
.
“ถามว่าไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร คุณดูผมสิ ไม่ทำผิดแล้วควรกลัวไหมล่ะ”
.
เรื่อง: วจนา วรรลยางกูร
ภาพถ่าย: เมธิชัย เตียวนะ
.....
Atukkit Sawangsuk
9h
คดีพี่แจ้งจับน้อง ศาลยกฟ้องแต่ติดคุกฟรี 1 ปี
ด่าแต่พี่ไม่ได้หรอก
ตำรวจ อัยการ ทำคดีอย่างไร
ไม่สอบสวนความจริง เห็นตัวเลข 112 ก็ขี้ขึ้นขมอง สั่งฟ้องอย่างเดียว
แล้วศาลล่ะ ทำไมไม่ให้ประกัน

ชวนทำความเข้าใจปรากฎการณ์การการฟ้องปิดปาก หรือคดีรูปแบบ SLAPP (Strategic Lawsuit Against Public Participation)



นักวิชาการแนะเลิกหมิ่นฯทางอาญา ป้องกันฟ้องปิดปาก เผยนักปกป้องสิ่งแวดล้อมตกเป็นเป้าสูงหลายประเทศ

2023-02-27
ที่มา ประชาไท
ศิริรุ่ง ศรีสิทธิพิศาลภพ : รายงาน
หมายเหตุ : รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges และเผยแพร่ครั้งแรกทาง journalismbridges.com เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2566

ชวนทำความเข้าใจปรากฎการณ์การการฟ้องปิดปาก หรือคดีรูปแบบ SLAPP จากสังคมโลกสู่บริบทไทย ผ่านมุมมองและงานศึกษาวิจัย ประเด็นมาตรการป้องกันการฟ้อง SLAPP ในบริบทธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ผลการศึกษาบ่งชี้ไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ใช้รูปแบบการดำเนินคดี SLAPP สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก และหากมองลึกลงไปแต่ละประเทศพบว่าไทยมีตัวเลขการฟ้องคดีรูปแบบ SLAPP สูงที่สุด รองลงมาคือ ฮอนดูรัส เปรู และ สหรัฐอเมริกา

ข้อมูลจากรายงายวิจัยตั้งแต่ปี 2540 เดือนพฤศจิกายน 2565 พบว่า การฟ้อง SLAPP มักมุ่งกระทำต่อชาวบ้านมากที่สุด โดย คิดเป็น 78% เป้าหมายถัดมาได้แก่กลุ่มนักกิจกรรม ประมาณ 10% รวมทั้งสื่อมวลชนและนักวิชาการ


เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ)

หนี่งในข้อเสนอแนะสำคัญที่เน้นย้ำโดย เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และในฐานะนักวิชาการอิสระที่ศึกษาประเด็นนี้ คือการยกเลิกความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา รวมทั้งสร้างกระบวนการป้องกัน ได้แก่การเปิดหรือสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยกันกันทุกฝ่าย และหากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจสื่อมวลชนต้องเสนอข่าวเพื่อสร้างการรับรู้จนนำไปสู่มาตรการค่ำบาตราจากทุกภาคส่วนต่อบริษัทที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือฟ้องปิดปาก

เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2565 ที่ผ่านมา มีการเปิดตัวคู่มือ ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก โดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ฝ่ายพัฒนาเครือข่ายสื่อพลเมือง สำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) และ CCFD-Terre Solidaire ซึ่งเป็นการรวบรวมเนื้อหาจากเวทีเสวนา 3 เวที ในปี 2564 ถึง 2565 ในประเด็นการดำเนินนคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (SLAPP : Strategic Lawsuit Against Public Participation) สื่อมวลชนและสื่อพลเมืองในประเด็นสิ่งแวดล้อม หรือหากจะเรียกให้คุ้นหูก็คือ การฟ้องปิดปากสื่อ หรือ การฟ้องกลั่นแกล้งสื่อนั้นเอง

จากการสัมภาษณ์ เสาวณีย์ ในฐานะผู้มีส่วนสำคัญต่อการช่วยพัฒนาและให้ข้อเสนอแนะต่อเนื้อหาคู่มือ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก เพิ่มเติม เธอเล่าถึงข้อมูลงานวิจัยบางส่วนที่กำลังดำเนินการวิจัยและเตรียมจะเผยแพร่ประมาณต้นปี พ.ศ.2566 ในประเด็นกฎหมายและมาตรการป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณะในบริบทธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

โดยเน้นย้ำว่าในงานศึกษาชิ้นนี้คณะผู้ศึกษาวิจัยได้นิยามความหมายการฟ้องคดี SLAPP หมายถึง “การดำเนินคดีเพื่อคุกคามหรือขัดขวางการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่ถูกรับรองภายใต้รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี เพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นประโยชน์สาธารณะ”
 
ยกเลิกความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญา ข้อเสนอกฎหมาย Anti-SLAPP

ภาพรวมของคดี SLAPP ในประเทศไทย จากที่ เสาวณีย์ ทำการรวบรวมทั้งสิ้น 109 คดีนั้น พบว่าเป็นการดำเนินคดีอาญาจำนวน 81 คดี และเป็นการดำเนินคดีแพ่ง 28 คดี ส่วนใหญ่จะใช้กฎหมายการหมิ่นประมาททางอาญาเป็นเครื่องมือ โดยผลจากการศึกษามีข้อเสนอส่วนหนึ่งอยากเน้นย้ำให้ประเทศไทยยกเลิกความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาเพื่อดำเนินคดีอันมีวัตถุประสงค์เพื่อกลั่นแกล้งหรือแกล้งฟ้อง ซึ่งในหลายประเทศได้ยกเลิกความผิดทางอาญาของการกระทำดังกล่าว ทั้งนี้ให้เหลือเพียงความผิดฐานหมิ่นประมาททางแพ่งเท่านั้น การใช้ข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาตามประมวลกฎหมาย มาตรา 326 หมิ่นประมาท และมาตรา 328 หรือหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ต่างถูกนำมาใช้ดำเนินคดีต่อบุคคลเป้าหมาย โดยเริ่มต้นจากกระบวนการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งถือเป็นการใช้กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ต้นทาง ต่อมาหากคดีมีมูล พนักงานสอบสวนก็จะส่งเรื่องไปยังพนักงานอัยการ และเข้าสู่กระบวนการพิจารณาในชั้นศาลต่อไป

“การฟ้องเป็นคดีอาญา เช่นความผิดฐานหมิ่นประมาท ค่อนข้างสะดวกและมีต้นทุนต่ำ เพราะเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมอาญาจะเข้ามาช่วยดำเนินคดีแทนผู้เสียหาย ซึ่งต่างจากกรณีการดำเนินคดีทางแพ่ง นอกจากนี้ข้อหาหมิ่นประมาททางอาญาก็มีบทกำหนดโทษจำคุกด้วย เอื้อต่อการสร้างสภาวะความกดดันและความกลัวให้กับจำเลย ยกตัวอย่าง กรณี ชาวบ้านออกมาบอกว่าเรียกร้องและต่อต้านการประกอบกิจการเหมืองแร่ โดยขึ้นข้อความว่า “หมู่บ้านนี้ไม่เอาเหมือง” เพราะเหมืองก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรและสุขภาพของคนในชุมชน จากเหตุการณ์ดังกล่าวบริษัทสามารถใช้กฎหมายหมิ่นประมาททางอาญ เป็นเครื่องมือในการฟ้องชาวบ้านได้ ภายใต้มูลเหตุ “บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงอันกระทบต่อการประกอบกิจการ” ผลคือเมื่อการกระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายอาญา คดีความจึงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อกันพิสูจน์กันในชั้นศาล” ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล กล่าว

จากตัวอย่างข้างต้นสะท้อนให้เห็นความยุ่งยากในกระบวนการอันจะตกอยู่กับจำเลยหรือคนที่ถูกฟ้อง สำหรับกรณีผู้ฟ้อง หรือ ภาคธุรกิจ จะใช้กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นตำรวจ อัยการ และศาล เป็นเครื่องมือดำเนินคดีแทน ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรทั้งเงินและเวลาเป็นจำนวนมากและนาน ยกตัวอย่างกรณีศึกษา อานดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมชาวอังกฤษ ด้านสิทธิแรงงานที่ถูกบริษัทผลไม้กระป๋องฟ้องคดีในข้อหาหมิ่นประมาท กรณีศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการฟ้องคดี SLAPP โดยชัดเจน เพราะท้ายที่สุดผลของคดีศาลจะยกฟ้อง แต่ระหว่างทางของการต่อสู้คดี อานดี้ ฮอลล์ ต้องพบคือสภาวะความเครียดและความกังวลตลอดระยะเวลา 8 ปี รวมถึงต้องประสบอุปสรรคในการเดินทางเข้าออกประเทศ พร้อมทั้งมีภาระทางการเงินกว่า 7 ล้านบาทสำหรับใช้ในการต่อสู้คดี ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพชัดถึงความไม่คุ้มค่าด้านนิติเศรษฐศาสตร์


อานดี้ ฮอลล์ นักกิจกรรมชาวอังกฤษ ด้านสิทธิแรงงาน (แฟ้มภาพ)

การแก้ปัญหาฟ้องปิดปากจากภาคธุรกิจนอกจากใช้กฎหมาย ต้องอาศัยสื่อกดดันจนเกิดการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ

เสาวณีย์ กล่าวว่า สำหรับมาตรการที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับคดี SLAPP คือต้องทำให้คดี SLAPP ไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตั้งแต่แรก หรือเมื่อศาลเห็นว่า คดีดังกล่าวมีลักษณะ SLAPP ศาลจำต้องมีกระบวนการพิจารณาพิเศษเพื่อให้คดีหลุดออกไปจากกระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งยังต้องกำหนดเงื่อนไขต่อผู้ฟ้องคดี เช่น ห้ามฟ้องซ้ำ รวมทั้งศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษต่อผู้ฟ้องคดีปิยดปาก สำหรับในแง่ของการออกกกฎหมายหรือมาตรการป้องกันการฟ้อง SLAPP อย่างเดียวอาจจะไม่ทันท่วงที เพราะฉะนั้นจึงควรใช้แนวทางอื่นควบคู่กัน เช่น การกดดันเชิงนโยบายหรือกระบวนการมาตรการทางการค้าเพื่อลงโทษ (trade sanctions) ทั้งนี้การกดดันจากประเทศคู่ค้าจะส่งผลกระทบต่อทางเศรษฐกิจมหาศาลต่อตัวบริษัทที่ฟ้อง SLAPP

“สำหรับประเทศไทยไม่ใช่แค่ความผิดฐานหมิ่นประมาททางอาญาที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟ้อง SLAPP ความผิดฐานบุกรุก ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ รวมทั้งข้อหาข้อหาลักทรัพย์ ต่างถูกนำมาใช้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาในกระบวนการยุติธรรม ยกตัวอย่างกรณีที่นักข่าวบุกรุกเข้าไปในพื้นที่บริษัทเหมืองเพื่อเข้าไปเก็บข้อมูลเพื่อหาพยานหลักฐานประกอบ ประเด็นคือมีการบุกรุกเข้าไปในพื้นที่จริง เพราะฉะนั้นข้อพิพาทจึงต้องสู่กระบวนการยุติธรรม” เสาวณีย์ กล่าว

นอกจากนี้ในส่วนของภาคประชาชนควรจะต้องศึกษาข้อมูลของข้อเท็จจริงให้รอบด้าน ก่อนที่จะนำเสนอหรือเผยแพร่ข้อมูลออกสู่สาธารณะหรือบุคคลที่สาม ในส่วนของภาคธุรกิจเองก็ควรเปิดเผยหรือให้ข้อมูลต่อสาธารนะด้วยความเป็นธรรมและจริงใจเปิดเผยข้อมูลอันเป็นที่น่าสงสัย ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล กล่าวเน้นย้ำว่า การสร้างพื้นที่ปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุยกันระหว่างคู่กรณี ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมก่อนที่จะไปสู่กระบวนการยุติธรรม ผ่านหน่วยงานกลางที่ได้รับความไว้วางใจจากทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามาระงับข้อพิพาทเบื้องต้นก่อน ถือเป็นวิธีการที่อยากสร้างให้เกิดขึ้นมากที่สุด

มีกฎหมายป้องกัน แต่ไม่ถูกนำมาปรับใช้ในทางปฏิบัติ

“เราไม่ได้บอกว่าการพูดคุยคือการยอมแพ้ แต่เราจะบอกว่าในเมื่อปัจจุบันกฎหมาย การป้องกันฟ้องคดีปิดปากมันยังไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล ผลคือ มันมีแต่ความบอบช้ำถ้าคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะฉะนั้นก่อนที่มาตรการกฎหมายจะพัฒนาไปสู่ถึงขั้นที่ปกป้องเราได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงอยากให้มีพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยเพื่อทำให้ข้อขัดแย้งมันคลี่คลายจบลงไปแต่ต้น” เสาวณีย์ กล่าว พร้อมเสนอว่า การพูดถึงปัญหากรณีการฟ้อง SLAPP แม้ว่าประเทศจะอ้างว่ามีมาตรการที่เข้าข่ายป้องกันได้ เช่น มาตรา 21 พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 ประกอบระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติมที่ระบุว่า พนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ แต่คำว่า “คดีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ” ส่วนใหญ่ในทางปฎิบัติจะปรับใช้กับกรณี เกี่ยวกับ ครอบครัว ความผิดเกี่ยวกับเพศ เป็นต้น และแม้ว่าประเทศไทยจะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 หากศาลเห็นว่าโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะกลั่นแกล้ง ศาลมีอำนาจยกฟ้องคดีรูปแบบดังกล่าวได้ แต่ในทางปฏิบัติพบว่า มาตราดังกล่าวไม่ถูกนำมาปรับใช้โดยศาล โดยหนึ่งในเหตุผล อาจพิเคราะห์ได้ว่ามาตราดังกล่าวให้อำนาจศาลใช้กว้างขวางเกินไปและยังไม่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน


กฎหมายทั้ง 3 มาตราที่ให้อัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือให้ศาลมีอำนาจยกฟ้อง ที่มา หน้า 73 จาก คู่มือ ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก โดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม

ละตินอเมริกา เอเชีย-แปซิฟิก เสี่ยงสูงที่สุดในโลก เป้าหมายหลักกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม

ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลกนั้นประชาชนละตินอเมริกา เอเชียและแปซิฟิก เสี่ยงถูกฟ้อง SLAPP สูงที่สุดในโลก เป้าหมายหลักกลุ่มนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เสาวณีย์ กล่าวว่า จากการทบทวนข้อมูลสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจจากรายงานขององค์กร Business & Human Rights Resource Center (BHRRC) เรื่อง“Strategic Lawsuits Against Public Participation: Southeast Asia Cases & Recommendations for Governments, Business, & Civil Society” พ.ศ. 2563 และเรื่อง “SLAPPed but not Silenced: Defending Human Rights in the Face of Legal Risks” พ.ศ. 2564 พบว่า SLAPPเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มสูงขึ้น แม้กระทั่งก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคระบาด Covid-19 ทั้งนี้หนึ่งในข้อค้นพบสำคัญของรายงานระบุว่าการฟ้องคดี SLAPP เกิดขึ้นมากที่สุดในประเทศแถบละตินอเมริกา ตามด้วยประเทศแถบเอเชียและภูมิภาคแปซิฟิก ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่มักมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกฟ้องคดี SLAPP ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้นำชุมชนหรือนักกิจกรรมที่ออกมาขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อม
สถิติการฟ้องปิดปากทั่วโลกและประเภทธุรกิจ ที่มา หน้า 16 จาก คู่มือ ‘หนึ่งความฝัน’ กับการถูกฟ้องปิดปาก โดยชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังชี้ให้เห็นจำนวนนักป้องสิทธิมนุษยชนรวมถึงองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนถูกคุกคามทั้งทางกายภาพและโดยการใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือจำนวนมากกว่า 3,100 กรณี ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวพบว่าเป็นการดำเนินคดีแบบ SLAPP จำนวนกว่า 355 คดี ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 จากข้อห่วงกังวลที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2565 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ลงมติ โดยประกาศว่า การเข้าถึงสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน (Clean, Heathy and Sustainable Environment) เป็นสิทธิมนุษยชนสากล การประกาศดังกล่าวเพื่อความหวังต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นและต้องการช่วยหนุนเสริมให้ประชาชนและนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมีอาวุธเพื่อใช้ในการต่อสู้กับนโยบายหรือโครงการที่ทำลายสิ่งแวดล้อม

“การฟ้อง SLAPP ไม่ใช่ปรากฎการณ์ใหม่ที่เกิดในสังคมโลก ส่งผลให้หลายประเทศที่มีการฟ้องร้องคดีแบบนี้ได้พยายามบัญญัติกฎหมายป้องกันการฟ้องคดีปิดปากขึ้นมา เช่น ประเทศสหรัฐอมริกามี 32 รัฐ ที่มีกฎหมายเพื่อป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก” ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล กล่าวพร้อมระบุว่า งานศึกษาชี้ไทยปี 57 กลุ่มธุรกิจเหมืองแร่ไล่ฟ้องปิดปากชาวบ้าน นักข่าว สูงสุดจากการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ผศ.เสาวณีย์ ได้กล่าวถึงภาพรวมสถิติคดี SLAPP ในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีคดีที่เข้าข่ายลักษณะเป็นคดี SLAPP ที่ดำเนินคดีโดยภาคธุรกิจตามคำนิยามก่อนหน้านี้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 109 คดี โดยมีผู้ถูกฟ้องมากกว่า 400 คน และกว่า 10 คดีเป็นการดำเนินคดีต่อบุคคลเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีผู้ถูกฟ้องคดีมากกว่า 10 คน เช่น บริษัทเหมืองแร่แห่งหนึ่งฟ้องชาวบ้านซำม่วง ตำบลผาสามยอด จำนวน 33 คน ในข้อหาละเมิดทางแพ่งจากการคัดค้านการประกอบกิจการเหมืองแร่ หรือบริษัทผลิตและจำหน่ายน้ำตาลแห่งหนึ่งฟ้องกลุ่มรักษ์น้ำอูน จำนวน 21 คน ในข้อหาหมิ่นประมาทจากการร้องเรียนผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินการของบริษัท โดยในส่วน 109 คดี ถูกฟ้องโดยภาคธุรกิจ คำว่าถูกฟ้องในที่นี้คือถูกเอกชนฟ้องซี่งเอกชนในที่นี้รวมถึงภาครัฐวิสาหกิจฟ้องร้องดำเนินคดีด้วย

ลักษณะเฉพาะของไทยที่สถิติสูง เพราะบริษัทเดียวสามารถฟ้องคนเป็นจำนวนมากได้

สำหรับหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดจำนวนการฟ้อง SLAPP สูงนั้น เสาวณีย์ กล่าวว่าเกิดจากการกระทำของซ้ำๆ และต่อเนื่องของภาคธุรกิจเพียงไม่กี่แห่ง เช่น บริษัทเหมืองแร่ บริษัทฟาร์มไก่ ไล่ฟ้องบุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นคดีความจำนวนมากทำให้คดีสูงขึ้น

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล ตั้งข้อสังเกตว่าการฟ้องคดี SLAPP ในประเทศไทยมี มีลักษณะเฉพาะ คือ บริษัทบริษัทเดียวสามารถฟ้องคนเป็นจำนวนมากได้ มันทำให้สถิติของการฟ้องคดีถึงเยอะ ซึ่งมันต่างจากที่อื่นเขามีข้อพิพาทใหม่ คู่กรณีใหม่ จากข้อมูลพบว่าบางกลุ่มบางชุมชนถูกฟ้องจากบริษัทเดียวกันจำนวนหลายคดี ยกตัวอย่างกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิด จังหวัดเลย ที่เคลื่อนไหวคัดค้านการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ถูกบริษัทเหมืองแร่ทองคำฟ้องคดีมากกว่า 20 คดี เป็นต้น

ป้ายโผล่!! เช้านี้ 27กพ66 พบป้ายผ้าขนาดใหญ่ ติดตั้งอยู่บริเวณรอบสนามหลวง ฝั่งตรงข้ามศาลฎีกา ตำรวจปิดหมาย ขอให้ผู้ชุมนุมปลดป้ายหมิ่นศาลออก ขีดเส้นตาย 7 โมงเช้า วันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.)


ไข่แมวชีส
20h
ป้ายโผล่!! เช้านี้ 27กพ66 พบป้ายผ้าขนาดใหญ่ ติดตั้งอยู่บริเวณรอบสนามหลวง ฝั่งตรงข้ามศาลฎีกา





ไข่แมวชีส
7h
ตำรวจปิดหมาย ขอให้ผู้ชุมนุมปลดป้ายหมิ่นศาลออก ขีดเส้นตาย 7 โมงเช้า วันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) หากยังเฉยอาจสั่งห้ามชุมนุมได้ ด้าน “ชาญวิทย์-พนัส” 2 อาจารย์ธรรมศาสตร์ ร่วมยืนหยุดขัง ให้กำลังใจ “ตะวัน-แบม”
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ชนะสงคราม ได้นำหมายคำสั่งให้แก้ไขการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 11 วรรคสอง ระบุว่า ตามที่มีหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ลงวันที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เรียกร้องการประกันตัวให้นักโทษการเมือง ระยะเวลาการชุมนุม 124 วัน ซึ่งผู้รับแจ้งได้รับ เลขรับที่ ตช. 0015 (บก.น.1) 10/402 ลงวันที่ 27 มกราคม 2566 เรื่อง สรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะ แจ้งให้กับนางสาวอรัญญิกา จังหวะ นั้นปรากฎว่าเป็นการชุมนุมที่อาจขัดต่อมาตรา 8 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ให้ท่านจัดการแก้ไขการชุมนุมสาธารณะให้ถูกต้อง
พบว่าท่านไม่ควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมให้อยู่บริเวณทางเท้าหน้า
ศาลฎีกา ไม่ให้เคลื่อนย้ายลงมาบนพื้นผิวการจราจร โดยพบว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมลงมาบริเวณผิวจราจร มีรถผู้ชุมนุมจอดในที่ห้ามจอดและกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับความเดือดร้อน และพบว่าป้ายมีข้อมูลหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นผู้อื่นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย จึงให้นางสาวอรัญญิกา จังหวะ แก้ไขให้กลุ่มผู้ชุมนุมปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่ง โดยให้กลุ่มผู้ชุมนุมกลับมาอยู่บริเวณทางเท้าหน้าศาลฎีกา ไม่ให้เคลื่อนย้ายลงมาบนพื้นผิวการจราจรและให้นำรถที่จอดในที่ห้ามจอดและจอดกีดขวางทางและให้นำป้ายที่มีข้อความหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นผู้อื่น ออกจากบริเวณดังกล่าวภายในเวลา 07.00 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นับแต่เวลาที่ท่านได้รับคำสั่งนี้
หากพ้นกำหนดนี้แล้ว ผู้รับแจ้งมีอำนาจสั่งห้ามการชุมนุมสาธารณะได้ (ลงชื่อ) พันตำรวจเอกเสนาะ พูนเพชร ผู้กำกับการ (สอบสวน)ฯ กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 รักษาราชการแทนผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อ่านประกาศดังกล่าวให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมทราบแล้ว ทางผู้ชุมนุมแสดงอาการไม่พอใจ ต่างกล่าวตะโกนต่อว่า ชูนิ้วกลาง หรือ พยายามไม่ให้ตำรวจปิดหมายให้แก้ไขการชุมนุมดังกล่าว
ต่อมาเวลา 17.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนกว่า 100 คน มาร่วมทำกิจกรรม ยืน หยุด ขัง ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาร่วมกิจกรรม และให้กำลังใจ นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ ด้วย
ข้อมูลโดยสำนักข่าวราษฎร

“ตะวัน-แบม” ส่งตัวแทน ยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ขอเข้าไปอดอาหารอย่างสงบ ภายในรั้วศาล จะได้ไม่รบกวนการทำงานราชการ


Sa-nguan Khumrungroj (劉振廷)
@ZhentingLiu
10:55 ผู้แทนศาลฎีกา ได้รับหนังสือจาก “ตะวัน-แบม”ที่มีถึงประธานศาลฎีกา"โชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ" เพื่อขอเข้าไปอดอาหารภายในศาลฎีกา หน้าอนุสาวรีย์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องจากไม่มีความปลอดภัยและได้การคุกคามข่มขู่นานา โดยมี บุ้ง- เนติพร สมาชิกกลุ่มทะลุวัง เป็นตัวแทน ตะวัน-แบม


ไข่แมวชีส
15h
“ตะวัน-แบม” ยื่นหยังสือถึงประธานศาลฎีกา ขอเข้าไปอดอาหารอย่างสงบ ภายในรั้วศาล จะได้ไม่รบกวนการทำงานราชการ ด้านมวลชนสมทบให้กำลังใจไม่ขาดสาย หวิดชุลมุนกับตำรวจ ปมแย่งป้ายผ้า “ยกเลิก112-ปล่อยเพื่อนเรา”
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.30 น. นางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือ หนอนบุ้ง นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง เป็นตัวแทน นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ แบม ยื่นหนังสือเรื่อง ขอความอนุเคราะห์ใช้สถานที่ของศาลฎีกา หลังจากนักกิจกรรมทั้งสองคนได้อดอาหารประท้วงบริเวณด้านหน้าศาลฎีกา เข้าสู่วันที่ 4 แล้วนั้น
เนื้อหาในหนังสือขอความอนุเคราะห์ระบุว่า ด้วยข้าพเจ้านางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และนางสาวอรรรณ ภู่พงษ์ ได้ทำการอดอาหารเพื่อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมและเรียกร้องให้มีการพิจารณาอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวต้องหาและจำเลยในคดีทางการเมือง ซึ่งข้าพเจ้าทั้งสองได้ดำเนินการดังกล่าวอยู่บริเวณทางเท้าของถนนราชดำเนินใน หน้าศาลฎีกตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นมา ดังรายละเอียดที่ปรากฎอยู่ตามสื่อมวลชนทั่วไป ซึ่งท่านทราบดีอยู่แล้ว
แต่เนื่องจากในขณะนี้บริเวณทางเท้าที่ข้าพเจ้าทั้งสองพักเพื่ออดอาหารอยู่นั้น เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับประตูทางเข้าออกของศาลฎีกา ซึ่งบรรดาเจ้าหน้าที่และข้าราชการรวมทั้งประชาชนที่มาติดต่อราชการศาลฎีกาต้องใช้เป็นทางเข้าออก อันอาจทำให้ไม่ได้รับความสะดวกของประชาชนในการเข้าออก และบริเวณดังกล่าวอยู่ติดเส้นทางสัญจรอันอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ทั้งประชาชนทั่วไปได้ อีกทั้งเท่าที่ผ่านมาก็
ปรากฎว่าในยามวิกาลมีกลุ่มบุคคลเข้ามาคุกคามเพื่อหวังก่อความวุ่นวายด้วย
ด้วยเหตุดังกล่าว ข้าพเจ้าทั้งสองจึงขอความอนุเคราะห์ให้ท่านมีคำสั่งอนุญาตให้ข้าพเจ้า บุคคลในครอบครัวและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้พื้นที่ในบริเวณศาลฎีกาบริเวณ ด้านหน้าของพระรูปกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หน้าอาคารศาลฎีกาด้านทิศเหนือ ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะไม่รบกวนการปฏิบัติราชการและการติดต่อของประชาชนแต่อย่างใด
ทั้งนี้ โดยขออนุเคราะห์ใช้สถานที่บริเวณดังกล่าวพร้อมขอความอนุเคราะห์เรื่องการใช้ไฟฟ้าแสงสว่าง ห้องสุขา การรักษาความปลอดภัย รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ในกรณีฉุกเฉิน เช่นเครื่องปั๊มหัวใจด้วย ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และหากท่านไม่ประสงค์ให้ความร่วมมือหรือความอนุเคราะห์ใดๆขอให้ท่านซี้แจงเหตุและผลมายังที่ข้าพเจ้าทั้งสองและประชาชนด้วย
ด้านนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือ หนอนบุ้ง นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง เปิดเผยกับสื่อมวลชนด้วยว่า จากการไม่ให้ประกันตัวนายถิรนัย และ นายชัยพร ที่ผ่านมา ทำให้ ตะวัน และ แบมคนอยากอยู่ใกล้ชิดกับประธานศาลฎีกาให้มากขึ้น จึงขอทำเรื่องต่อประธานศาลฎีกาเข้าไปอดอาหารอย่างสงบด้านในศาลฎีกา ทั้งสองเปิดเผยว่าหากยังไม่มีความคืบหน้าจะยกระดับอีกด้วยการไม่จิบน้ำ แต่ตนได้ขอร้องไว้ว่าสภาพอากาศตอนนี้ไม่เอื้ออำนวย ขอให้ทั้งสองคนได้ตั้งสติ จึงเป็นที่มาในวันนี้เพื่อขออนุญาตภายในประธานศาลฎีกามาใช้พื้นที่ภายในศาล
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า หากประธานศาลฎีกามีคำสั่งลงมาแล้วว่าไม่อนุญาต ทางตะวันและแบมจะดำเนินการอย่างไรต่อ นางสาวเนติพร ระบุว่า อาจจะต้องปรึกษากันอีกครั้งหนึ่ง เพราะปัจจุบันการพูดคุยกับทั้งสองคนค่อนข้างช้าลง โดยตะวัน และ แบม ยืนยันว่าจะไม่กลับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ แต่ตนเองนั้นก็เตรียมความพร้อมมากที่สุด เผื่อมีการสถานการณ์ฉุกเฉิน
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าบรรยากาศในวันนี้มีประชาชนมาร่วมกันปักหลักให้กำลังใจ โดยบริเวณตรงข้ามศาลฎีกามีการขึ้นป้ายผ้าข้อความต่างๆ อาทิ ปล่อยนักโทษการเมือง ยกเลิก 112 ศาล…ปล่อยเพื่อนเรา ฯลฯ จนเป็นเหตุให้ทางรองผู้กำกับการด้านการจราจร สน.ชนะสงคราม และเจ้าหน้าที่เทศกิจสำนักงานเขตพระนคร ขอความร่วมมือให้ผู้ชุมนุมปลดป้ายลง แต่ผู้ชุมนุมยืนยันจะไม่ปลดป้ายดังกล่าว จนกว่าจะยุติการชุมนุมหรือบรรลุผลตามข้อเรียกร้อง
ข้อมูลโดยสำนักข่าวราษฎร

หาม “ตะวัน-แบม” กลางดึก ออกจากเต็นท์ที่ปักหลักเดิม ด้วยเหตุผลว่าเจ้าของเดิมที่ให้ยืมใช้ มีความประสงค์ขอคืนอุปกรณ์ที่ใช้ในการปักหลัก ทำให้กลุ่มเพื่อนตะวัน-แบม ได้ตัดสินใจคืนของทั้งหมด และหามทั้งสองคนออกจากเต็นท์เดิม เพื่อย้ายไปพักยังเต็นท์ชั่วคราว


ไข่แมวชีส
4h
หาม “ตะวัน-แบม” กลางดึก เหตุย้ายเต็นท์ที่พักชั่วคราว แพทย์เผย แบม เริ่มมีภาวะตับอักเสบ-เลือดเป็นกรด ด้าน “ธนาธร-ช่อ-เบญจา” เข้าเยี่ยมให้กำลังใจครอบครัว
เมื่อวันที่ 27 ก.พ.2566 เวลา 21.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศมี่หน้าศาลฎีกา ถนนราชดำเนินใน การปักหลักอดอาหารประท้วง ของ นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ นักกิจกรรมอิสระที่มำการอดอาหารประท้วงด้านหน้าศาลฎีกา เข้าสู่คืนที่ 5 นั้น
บรรยากาศในคืนนี้ ทางกลุ่มเพื่อน “ตะวัน-แบม” ได้มีการย้ายนักกิจกรรมทั้งสองคน ออกจากเต็นท์ที่ปักหลักเดิม ด้วยเหตุผลว่าเจ้าของเดิมที่ให้ยืมใช้ มีความประสงค์ขอคืนอุปกรณ์ที่ใช้ในการปักหลัก ทำให้กลุ่มเพื่อนตะวัน-แบม ได้ตัดสินใจคืนของทั้งหมด และหามทั้งสองคนออกจากเต็นท์เดิม เพื่อย้ายไปพักยังเต็นท์ชั่วคราว ซึ่งผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าเต็นท์หลังใหม่ จะกลับมาติดตั้งอีกครั้งภายในคืนนี้ซึ่งเป็นเต็นท์ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม
ทั้งนี้เมื่อเวลา 21.00 น. นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นางสาวพรรณิการ์ วานิช อดีตโฆษกพรรคอนาคตใหม่ นางสาวเบญจา แสงจันทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เดินทางมาเยี่ยม และ ให้กำลังใจครอบครัวของ ตะวัน และ แบม ด้วย
ด้านเฟซบุ๊กของนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ ได้เปิดเผยคำชี้แจงประจำวันที่ 27 ก.พ.2566 ความตอนหนึ่งระบุว่า “ในวันนี้ ทนายความได้รับแจ้งจากผู้ดูแลของตะวันและแบมว่าทั้งสองคนมีอาการเหนื่อยล้าลงกว่าเดิมจากเมื่อตอนออกจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์มาก โดยแบมนอนเฉยๆ ไม่พูดคุยกับใคร ขณะมีคนเข้าไปวัดความดัน ส่วนตะวันยังพูดได้โต้ตอบได้ แต่จากการสอบถามอาการว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง ตะวันและแบมได้บอกว่าเธอ ไม่อยากให้สนใจอาการของพวกเธอเท่าไหร่นัก
แต่อยากเชิญชวนให้ทุกคนที่เห็นด้วยว่าประเทศไทยต้องมีหลักประกันเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา ติดตามผลคำสั่งประกันของ "ต๊ะ" หรือคทาธร เยาวชนที่เป็นหนึ่งในผู้ต้องขังทางการเมืองที่ถูกคุมขังยาวนานที่สุด ซึ่งขณะนี้กำลังรอผลการสืบเสาะและคำสั่งของศาลอาญาอยู่ และติดตามการยื่นประกันถิรนัยและชัยพรในวันพรุ่งนี้โดยศูนย์ทนายความเพื่อ
สิทธิมนุษยชน”
“ทนายความยังได้รับแจ้งรายงานผลเลือดของทั้งสองว่า ทั้งคู่มีศีโตนในเลือดสูง มีภาวะเลือดเป็นกรดซึ่งเป็นภาวะอันตรายทางการแพทย์ และน้ำตาลในเลือดต่ำโดยเฉพาะค่าผลเลือดของแบมปรากฎว่า แบมมีภาวะตับอักเสบ และแพทย์ได้แจ้งว่าตับของแบมเริ่มไม่ดีแล้ว นอกจากนี้ แพทย์ยังยืนยันว่าทั้งคู่ควรที่จะต้องกลับโรงพยาบาลทันที เนื่องจากในสถานการณ์ที่อดอาหารมานานมากเช่นนี้ หากมีภาวะฉุกเฉินเกิดขึ้น ไม่มีใครทราบว่าจะสามารถรักษาชีวิตของทั้งสองคนไว้ได้หรือไม่” เอกสารคำชี้แจงอาการประจำวันที่ 27 ก.พ. 2566 ระบุ
สำหรับกำหนดการในวันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) เวลา 15.00 น. ที่ บริเวณพระแม่ธรณีบีบมวยผม พล.ต.ต.อัฏธพร วงศ์ศิริปรีดา ผบก.น.1 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม พร้อมทีมแพทย์จาก รพ.ตร., กลุ่มงานศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล รพ.ตร. และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ จะเข้าไปตรวจร่างกาย "ตะวัน-แบม" เนื่องจากอดอาหารเป็นระยะเวลา 5 วัน และอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย
ข้อมูลโดยสำนักข่าวราษฎร


สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
7h
“ชาญวิทย์-พนัส” 2 อาจารย์ธรรมศาสตร์ ร่วมยืนหยุดขัง ให้กำลังใจ “ตะวัน-แบม” ด้านตำรวจโร่ปิดหมาย ขอให้ผู้ชุมนุมปลดป้ายหมิ่นศาลออก ขีดเส้นตาย 7 โมงเช้า วันพรุ่งนี้ (28 ก.พ.) หากยังเฉย จ่อสั่งยุติการชุมนุม
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 17.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ชนะสงคราม ได้นำหมายคำสั่งให้แก้ไขการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 11 วรรคสอง ระบุว่า ตามที่มีหนังสือแจ้งการชุมนุมสาธารณะ ลงวันที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เรียกร้องการประกันตัวให้นักโทษการเมือง ระยะเวลาการชุมนุม 124 วัน ซึ่งผู้รับแจ้งได้รับ เลขรับที่ ตช. 0015 (บก.น.1) 10/402 ลงวันที่ 27 มกราคม 2566 เรื่อง สรุปสาระสำคัญการชุมนุมสาธารณะ แจ้งให้กับนางสาวอรัญญิกา จังหวะ นั้นปรากฎว่าเป็นการชุมนุมที่อาจขัดต่อมาตรา 8 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ให้ท่านจัดการแก้ไขการชุมนุมสาธารณะให้ถูกต้อง
พบว่าท่านไม่ควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุมให้อยู่บริเวณทางเท้าหน้า
ศาลฎีกา ไม่ให้เคลื่อนย้ายลงมาบนพื้นผิวการจราจร โดยพบว่ามีกลุ่มผู้ชุมนุมลงมาบริเวณผิวจราจร มีรถผู้ชุมนุมจอดในที่ห้ามจอดและกีดขวางทางเข้าออกหรือรบกวนการปฏิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่ทำการหน่วยงานของรัฐ ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับความเดือดร้อน และพบว่าป้ายมีข้อมูลหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นผู้อื่นทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย จึงให้นางสาวอรัญญิกา จังหวะ แก้ไขให้กลุ่มผู้ชุมนุมปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคำสั่ง โดยให้กลุ่มผู้ชุมนุมกลับมาอยู่บริเวณทางเท้าหน้าศาลฎีกา ไม่ให้เคลื่อนย้ายลงมาบนพื้นผิวการจราจรและให้นำรถที่จอดในที่ห้ามจอดและจอดกีดขวางทางและให้นำป้ายที่มีข้อความหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นผู้อื่น
ออกจากบริเวณดังกล่าวภายในเวลา 07.00 น. ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นับแต่เวลาที่ท่านได้รับคำสั่งนี้
หากพ้นกำหนดนี้แล้ว ผู้รับแจ้งมีอำนาจสั่งห้ามการชุมนุมสาธารณะได้ (ลงชื่อ) พันตำรวจเอกเสนาะ พูนเพชร ผู้กำกับการ (สอบสวน)ฯ กองบังคับการตำรวจนครบาล 1 รักษาราชการแทนผู้กำกับการสถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม
เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อ่านประกาศดังกล่าวให้ทางกลุ่มผู้ชุมนุมทราบแล้ว ทางผู้ชุมนุมแสดงอาการไม่พอใจ ต่างกล่าวตะโกนต่อว่า ชูนิ้วกลาง หรือ พยายามไม่ให้ตำรวจปิดหมายให้แก้ไขการชุมนุมดังกล่าว
ต่อมาเวลา 17.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนกว่า 100 คน มาร่วมทำกิจกรรม ยืน หยุด ขัง ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางมาร่วมกิจกรรม และให้กำลังใจ นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ ด้วย
ภาพโดย แมวส้ม
#สำนักข่าวราษฎร #RatsadonNews #ตะวันแบม #ศาลฎีกา #ยืนหยุดขัง #พลเมืองโต้กลับ

รู้ไว้ไม่เงิบ


Friends Talk
6h
ฝากทำบุญสติปัญญากันด้วยครับ ด้วยการไปแปะลิ้ง หรือภาพนี้ ตามเพจที่แยกไม่ออกระหว่างตะวันกับใบปอ
#ตะวัน #ตะวันแบม #แบม #อดอาหาร

วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 27, 2566

ไตรรงค์พลั้งปาก 'ชู' ไทยรักไทย ไม่เป็นไร แต่พล่อยปาก 'โหน' เจ้านี่สิ ผิดระเบียบ กกต.

“คนเรามันพูดผิดกันได้” ถือแถน @pran2844 เอ่ยถึงเรื่องที่ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี ไปปราศรัยหาเสียงชู ตู่ แล้วดันพูดผิดแบบ ‘Freudian slip’ ที่ อจ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ว่าคือ “ปรากฏการณ์ที่คนเราพลั้งปากเผลอพูดอะไรที่อยู่ในจิตใต้สำนึกออกมา”

“ถ้าอยากได้รัฐบาลที่ดี ตามที่ ร.๙ ทรงประสงค์นั้น ให้เลือกพรรคไทยรักไทย” รู้ตัวทันใด “เอ๊ย ไม่ใช่ ชิบหายแล้วกู...รวมไทยสร้างชาติ” ปล่อยไก่ตัวโตกลางสนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ก็ยังไม่ร้ายเท่าพูดไปโหนไป

“การลากสถาบันที่เป็นประมุขแห่งรัฐมาแอบอ้างหาเสียงเอาประโยชน์​เข้าตัวแบบนี้ ที่ทำให้บ้านเมืองขัดแย้งมาจนถึงวันนี้​ ทั้งใช้เพื่อประโยชน์ของ​ตัวเองและใช้เป็นอาวุธ​ทำลายคนอื่น” ถูกของถือแถน สักแต่ว่าพูดไม่ดูเบื้องหน้าเบื้องหลังเสียบ้าง

@ARMdhiravath สอนให้ “นักการเมืองสายโหนต้องรู้ ระเบียบหาเสียง กกต.ห้ามผู้สมัครพรรคการเมืองนำ สถาบันฯ มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง” ข้อ ๑๗ หมวด ๔ บอกชัดๆ แต่ตอนนี้มี ๒ พรรคที่ไม่สนโนแคร์ คือ รทสช. กับไทยภักดี

ขณะที่ประยุทธ์ก็พอกัน โซเชียลฮือเฮกับรูปที่นายกฯ ทรงเอ พยายามแสดงความเอ็นดูเด็กเล็กแบบถึงเนื้อถึงตัว หนูน้อยเด็กหญิงเมินหนีร้องไห้จ้า ซึ่งเป็นธรรมดาเด็กมักตกใจกับคนแปลกหน้า ใครก็ไม่รู้จะมาอุ้ม แต่ว่าชาวเน็ตขุดทฤษฎีออกมาวิจารณ์

ว่าเด็กมักจะมีเซ้นส์ภายในอย่างไร้เดียงสา รู้ว่าใครดีใครไม่ดี (หรือที่จริง ชอบ-ไม่ชอบ) แล้วตอบรับหรือหันหนี แบบเดียวกับจิตสำนึกเบื้องลึกของไตรรงค์ ตามทฤษฎีฟรอยด์ที่ อจ.โกวิทยกมาอ้าง ยังดีเสียกว่าตอแหลไปข้างๆ คูๆ อย่างเสี่ยหนู

อนุทิน ชาญวีรกูล ลงพื้นที่สงขลา จากหาดใหญ่ ไปถึง อ.สะบ้าย้อย ย่านติดขอบชายแดนจังหวัด อันเป็นที่ซึ่งชาวบ้านประท้วงรัฐมนตรีสาธารณสุขมาแล้วพักใหญ่ เรื่องย้ายหมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ หมอชาวบ้านแห่งจะนะ ที่คนในพื้นที่สุดรัก

ชาวบ้านต่างก่นว่าอนุทินย้ายหมอสุภัทรออกไปสุดกู่ เนื่องจากคุณหมอเคยวิจารณ์การแก้ปัญหาโควิดระบาดของสาธารณสุข ขาดตกบกพร่องเยอะเกี่ยวกับวัคซีน เสี่ยหนูออดอ้อนกับชาวบ้าน “ขอโอกาส พัฒนาสะบ้าย้อย ให้กลายเป็น นิวสะบ้าย้อย” จนได้

พอตอบเรื่องย้ายหมอสุภัทร กลับกลอกบอกว่า เหตุที่ย้าย #หมอสุภัทร ไปไกลโพ้นเพราะรู้ว่าคุณหมอเป็นนักพัฒนา ก็เลยอยากให้ไปพัฒนาสะบ้าย้อยให้เจริญทัดเทียมท้องที่เจริญแล้วอื่นๆ แก้ตัวอย่างทื่อๆ นึกว่าคนฟังกินหญ้า

(https://thestandard.co/prayuth-arrives-in-korat-250566/) 

"ทนายกฤษฎางค์" เผย "ตะวัน-แบม" เดินหน้าอดอาหารต่อ แม้สภาพแวดล้อม-ร่างกายไม่อำนวย เตรียมขอประธานศาลฎีกา ใช้พื้นที่อดข้าวภายในศาล หลังวานนี้มีกลุ่มตรงข้ามเข้ามาก่อกวน


สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
11h

"ทนายกฤษฎางค์" เผย "ตะวัน-แบม" เดินหน้าอดอาหารต่อ แม้สภาพแวดล้อม-ร่างกายไม่อำนวย เตรียมขอประธานศาลฎีกา ใช้พื้นที่อดข้าวภายในศาล หลังวานนี้มีกลุ่มตรงข้ามเข้ามาก่อกวน
เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2566 เวลา 16.00 น. ที่หน้าศาลฎีกา ถนนราชดำเนิน นายกฤษฎางค์ นุตจรัส หรือ ทนายด่าง ทนายความประจำตัว นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ หรือ แบม 2 นักกิจกรรมอิสระที่เดินทางมาอดอาหารประท้วงเพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัว เข้าวันที่ 3 แล้วนั้น
นายกฤษฎางค์ นุตจรัส กล่าวว่า อาการของนักกิจกรรมทั้ง 2 ราย อดอาหารด้วยสภาพอากาศที่ร้อนและมีฝุ่น จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศชั่วคราวในบริเวณนี้ไม่สามารถให้น้ำเกลือได้ แต่เดิมเด็กทั้งสองคนอดอาหารมาเกือบ 30 วันอยู่ได้เพราะว่าน้ำเกลือที่แพทย์เจาะให้ แต่การให้น้ำเกลือที่หน้าศาลฎีกา แพทย์ให้ความเห็นว่าเสี่ยงติดเชื้อในแผลและในกระแสโลหิตอย่างแน่นอน
ในวันนีทั้งสองคนมีความดันต่ำ และอาการหน้ามืดอ่อนเพลีย ลุกเดินได้ลำบาก ทางด้านแพทย์ลงความเห็นว่า ควรจะส่งทั้งสองคนกลับโรงพยาบาลที่มีเครื่องไม้เครื่องมือทันที
นายกฤษฎางค์กล่าวว่า ตะวันและแบม ยืนยันจะอดอาหารต่อไป แม้จะรับรู้เรื่องของศาลฎีกาที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง 2 รายคือ ถิรนัย และ ชัยพร ที่ถูกลงโทษจำคุกในศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีคดีครอบครองระเบิดปิงปอง
นายกฤษฎางค์ กล่าวด้วยว่า ทางด้านครอบครัวกังวลว่าจะสูญเสียลูกทั้งสองค น แต่ในเมื่อเป็นการตัดสินใจของทั้งสองคนแล้ว ตนได้ถามเหตุผลว่าศาลเองก็ให้ปล่อยตัวชั่วคราวและปลดกำไล EM มาพอสมควรนับตั้งแต่วันที่อดอาหาร แต่ตะวันและแบม กล่าวกับตนว่า สิ่งที่เขาต้องการคือหลักการในประเทศนี้ว่าต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาจนถึงที่สุด
นายกฤษฎางค์ กล่าวต่อไปด้วยว่า หลังจากนี ทั้งสองคนจะขออนุญาตศาล ผ่านประธานศาลฎีกาเข้าไปอดอาหารประท้วงหน้าอนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์โดยจะมีการทำหนังสือถึงประธานศาลฎีกาในวันพรุ่งนี้ (27 ก.พ.66) เวลาเช้า โดยทั้งสองมีเหตุผลอยู่ 3 ประเด็น คือ 1. การทำงานในวันจันทร์เป็นต้นไป ผู้คนจะเข้าศาลฎีกา ซึ่งมีทั้งกระบวนการต่างๆ ผู้คนอาจจะไม่รับความสะดวกในการเข้าออก 2. ในช่วง 2 วันที่ผ่านมาทั้งสองคนมีโทรศัพท์มาข่มขู่ บอกให้ทั้งสองคนระวังตัว จึงกังวลในเรื่องความปลอดภัย ซึ่งในวันแรกที่มาปักหลักทางทีมงานได้ขอให้ทาง กทม. บริการรถสุขา ด้านหน้าศาลฎีกาแต่ตำรวจไม่อนุญาต ด้วยเหตุผลใกล้พระบรมมหาราชวัง ตามระยะ 150 เมตร รวมไปถึงมีตำรวจนอกเครื่องแบบติดตามถ่ายภาพ และมีมอเตอร์ไซค์แต่งชุดในทิศทางตรงกันข้ามเข้ามาก่อกวน 3. ตะวันกับแบมบอกพวกเราว่าที่เขาตัดสินใจไปอดอาหารในศาลฎีกาเพราะเป็นอนุสรณ์แห่งการต่อสู้ของเยาวชนนิสิตนักศึกษาเพื่อปลดปล่อยศาลจากอำนาจเผด็จการทรราช จอมพลถนอมกิตติขจรเมื่อปี 2515 หลังจากออก "ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 299" มีเนื้อหาให้อำนาจฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้าไปโยกย้ายเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของผู้พิพากษาและให้มีอำนาจเข้าไปแทรกแซงการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาในศาลได้ ซึ่งเด็กเมื่อ 50 ปีแล้วได้ต่อสู้กับเผด็จการทหาร เพื่อความเป็นอิสระของตุลาการและในครั้งนั้นได้รับชัยชนะ
นายกฤษฎางค์ กล่างด้วยว่า วันนี้พวกเขาเห็นว่าเขากำลังต่อสู้เพื่อหลักการความเป็นอิสระและประโยชน์ของประชาชนจึงคิดว่าศาลน่าจะอนุญาตให้เข้าไปอยู่ตรงนั้น แล้วจะได้ยืนหยัดในการต่อสู้คู่ไปกับเยาวชนเมื่อ 50 ปีที่แล้ว
ถ้าตนเองเป็นประธานศาลฎีกา ตนจะอนุญาตให้ทั้งสองไปให้เด็กทั้งสองคนเข้าไปอดอาหารด้านในศาลฎีกา การที่ให้เด็กต้องระหกระเหินมาที่หน้าศาลฎีกา หากไม่อนุญาตมตนมองว่าเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่ใจดี เยาวชนคนหนุ่มสาวต้องการจะได้หลักการที่ตุลาการ งมีความเป็นอิสระ และอยู่บนหลักการของนิติธรรม หลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าทุกคนบริสุทธิ์จนกว่าศาลจะตัดสิน นายกฤษฎางค์ กล่าว
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ตามที่อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาแสดงความคิดเห็นในความกังวลถึงชีวิตของนักกิจกรรมทั้งสองนั้น นายกฤษฎางค์ กล่าวว่า ตนได้แสดงความเป็นห่วงนักกิจกรรมทั้ง 2 รา ยแต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เขาคิดยังไงมากกว่า ทุกคนในประเทศไทยเห็นด้วยหมดในหลักการสิ่งที่ทั้งสองคนเรียกร้อง แต่ในฐานะตนเองที่เป็นทนายความก็ไม่สามารถเมินเฉยทั้งสองคนได้ แม้ความคิดเห็นจะต่างกัน ตนและครอบครัวเคยบอกทั้งสองตลอดเวลาว่าห้ามทำ จนถึงเมื่อทำไปแล้ว พ่อแม่พูดจนไม่รู้จะพูดอย่างไร แต่ตนคิดว่าลึกๆเราต้องรู้ว่าสิ่งที่ทำของคนไม่ใช่สิ่งแค่ว่าจะตายแล้วก็เลิก เขารู้ตัวเองเ ขามีสติสัมปชัญญะ เขารู้ว่าเขาทำอะไรอยู่และเขาทำเป็นสิ่งประโยชน์ต่อสังคมทุ กคนควรจะสนับสนุนเขา แต่วิธีการอาจจะไม่เห็นด้วย แม้ตนจะไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาทำ ถ้าเป็นลูกตนตนคงตีตาย แต่ก็ภูมิใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าบรรยากาศที่บริเวณด้านหน้าศาลฎีกา มี นางสาวเบญจา แสงจันทร์ ส.ส.พรรคก้าวไกล เดินทางมามอบดอกทานตะวันให้กำลังใจ พร้อมทั้ง นายโสภณ สุรฤทธิ์ธำรง หรือ เก็ท และ ประชาชนจำนวนมาก มาร่วมรับฟังการแถลงข่าวดังกล่าง ซึ่งในเวลา 17:30 น. จะมีการยืนหยุดขัง โดยกลุ่มพลเมืองโต้กลับ เพื่อเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้กับผู้ต้องหาทางการเมือง 3 ราย ที่ยังถูกคุมขังในเรือนจำด้วย
ภาพโดย แมวส้ม
#สำนักข่าวราษฎร #RAtSaDoNNEwS #ตะวันแบม #ศาลฎีกา #ปล่อยเพื่อนเรา



.....
Atukkit Sawangsuk
14h
อำมหิตและไร้หลักเกณฑ์ทางกฎหมาย
จำคุก 3 ปี โทษสูงจะหลบหนี?
คุก 5 ปี 10 ปี 20 ปี ก็ให้ประกันเยอะไป
แค่พกระเบิดปิงปอง คุก 3 ปี ก็มีข้อสงสัย
เด็กอาชีวะทั่วไปโดนจับระเบิดโทษหนักอย่างนี้หรือเปล่า

ถามตรงๆ ถึง "ผู้พิพากษา" มันยากนักหรือที่จะ "ทำตามกฎหมาย"


Suchart Sawadsri
1d
ด้วยความเป็นห่วง ที่แชร์มาข้างล่างนี้เป็นความเห็นจากนายแพทย์ และจากตรงนี้ก็อยากถามไปถึงหลายคนที่เข้ามาป่วน เช่นบ้างก็ว่า Romanticize บ้างก็ว่าสะอิดสะอียนกับคำว่า "เสียสละ" บ้างก็ว่า "จัดฉาก" ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มนํ้า 30 วันก็ตายแล้ว ทำไมป่านนี้จึงยังไม่ตาย บ้างก็ว่าแก่แล้วยังไปโหนเด็ก --
ผมก็พยายามอดทน ที่หยาบคายจนเหลือทนจริงๆ ก็ "สอย" ไป ไม่เก็บเอาไว้ให้รกตา ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงไม่ทำความเข้าใจกับ "ความเป็นจริง" ที่เห็นอยู่ตรงหน้า ที่ "ตะวัน" และ แบม" วางชีวิตของตนไว้กับความเสี่ยงนั้น เป็นเรื่องที่ "เป็นจริง" และเป็น "ความจริง" ที่กำลังท้าทาย "พญามัจจุราช" อันเนื่องมาจาก "ศาล" ทำตัวเหลวไหล ไม่ Rule of Law ไม่ทำตามกฎหมาย ไม่ยึดหลักนิติรัฐ ไม่ยึดหลักสิทธิมนุษยชน คิดว่าตัวเองเป็น "พระเจ้า" เตะถ่วงเพื่อความเป็นเหี้ยอะไรก็ไม่ทราบ ทั้งๆที่เวลาของคนทั้งสองเหลือน้อย และเวลานี้ก็เหลือ "ผู้ต้องขังทางการเมือง" ที่ถูกกล่าวหาด้วย ม.112 อยู่อีก 3 คน ( ไม่นับที่พิพากษาตัดสินด้วย ม.112 อย่างไม่เป็นธรรม คือเป็น "นักโทษการเมือง" อยู่ในคุกไปแล้ว 6 คน บางคนถูกพิพากษาตัดสินให้ติดคุกมากกว่า 40 ปี ฆ่าคนตายยังไม่โทษหนักขนาดนี้ )
มาถึงตอนนี้ ทั้งสองคนก็เลยเอาตัวเองออกมาให้ "ประธานศาลฎีกา" และบรรดา "ตุลาการภิวัฒน์" ( คำของ ธีรยุทธ บุญมี ) ทั้งหลาย รวมทั้งสาธารณชน ดูว่ากำลังเผชิญอยู่กับอะไร
ถามตรงๆ เป็น "ผู้พิพากษา" มันยากนักหรือที่จะ "ทำตามกฎหมาย"

Ponchai Ponkul
1d
ดูที่กระดูกไหปลาร้า คุณจะเห็นรอยบุ๋มลึกทั้งส่วนบนและล่างของกระดูกไหปลาร้าทั้งสองข้าง
เทียบกับภาพเดิมหรือเทียบกับคนทั่วไป มันไม่ใช่ความผอมตามธรรมชาติ
แต่มันเกิดจากการที่ร่างกายเผาผลาญตัวเอง ใช้พลังงานที่สะสมอยู่ทุกส่วนเพื่อการอยู่รอด