วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 31, 2567

คดี ๑๑๒ แสดงบทบาทดั่งพระพันปีหลวงฯ และเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ ศาลอาญายกฟ้อง ๓ ผู้ต้องหา แต่ทำไมผู้พิพากษาเกรี้ยวกราดมาก

ปกติแล้วเป็นเรื่องยากนักที่คดี ม.๑๑๒ จะได้รับการพิพากษายกฟ้อง แต่คดีร่วมกันกระทำของ หนูรัตน์กับ นารา เครปกระเทย นั้นศาลชั้นต้นยกฟ้อง เช่นกันกับ มัมดิว ซึ่งศาลสั่งจำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว หลังจากลี้ภัยไปเยอรมนีก่อนการพิจารณาคดี

คดีดังกล่าว ผู้ต้องหาทั้งสามจัดทำแคมเปญโฆษณาของบริษัทลาซาด้า โจทก์ฟ้องว่า “มัมดิวแสดงบทบาทเป็นพระพันปีหลวง และหนูรัตน์แสดงเป็นเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ โดยมีนาราเชิญชวนให้มัมดิวร่วมกันโฆษณาเซรั่ม” สินค้าของนาราเอง

คดีของนาราในข้อหาดูหมิ่นเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ ศาลอาญายกฟ้องไปเมื่อ ๒๑ ธันวา ๖๖ คดีของหนูรัตน์และมัมดิว ในข้อหาเดียวกันเพิ่งยกฟ้องเมื่อวานนี้ (๓๐ ตุลา) ศาลบอกว่า “การกระทำของจำเลยไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา ๑๑๒”

นั่นคือนอกจาก การแสดงบทบาทรณรงค์ขายสินค้าดังกล่าว ไม่สามารถสื่อถึงพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์ใดตามฟ้องได้ อีกทั้ง “เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ก็ย่อมไม่ใช่เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์ที่ได้รับการแต่งตั้ง” เป็นองค์รัชทายาท ในรัชกาลนี้ยังไม่มีรัชทายาท

คงเป็นความเขลาเบาปัญญาของ ศรีสุวรรณ จรรยา ผู้ยื่นคำร้องไม่ได้ตริตรองลักษณะความผิดตามตัวบทให้ตรงต่อข้อกล่าวหา “ร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ไม่เข้าข่ายศักดินาตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น ที่ ม.๑๑๒ ปกป้อง ศาลจึงจำต้องยกฟ้อง ซึ่งก็พิลึกในการอ่านคำพิพากษา เมื่อ Yaowalak Anuphan ทนายสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งเล่าว่า เธอไปฟังการพิจารณาครั้งหนึ่ง ผู้พิพากษาเกรี้ยวกราดมาก

“ฮีดุมาจากไหน นั่งฟังไม่นานทนศาลไม่ไหว แต่การที่ศาลยกฟ้องแกกล้าหาญมากนะ” เพื่อนทนายบอกว่าผู้พิพากษาคนนี้ “แกวีนตลอด” แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่า แกวีนเพราะจำต้องยกฟ้องตามธงคำพิพากษาต่อ (นารา) จำเลยคนก่อนหน้า

อีกอย่าง ผู้ต้องหาทั้งสามอาจไม่รอดในชั้นอุทธรณ์ เพราะมีปรากฏคดี ๑๑๒ ยกฟ้องหรือตัดสินไม่ผิดในชั้นต้น ครั้นอัยการอุทธรณ์ก็ไปตายตอนนั้น เหมือนดั่งว่าศาลอุทธรณ์ทำหน้าที่เก็บกวาด ถ้ายังหลุดอุทธรณ์ได้อีก ก็จะเจอด่านสุดท้าย ไม่รอด ฎีกา

นี่ว่าตามสถิติที่ปรากฏ ไม่ได้ pessimistic มองโลกแง่ร้ายแต่อย่างใด

(https://www.facebook.com/yaowalak.anuphan/posts/sucuspD2mFt) 

"ลบไม่เลือน 20 ปี ตากใบ" นิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวความทรงจำของครอบครัวและญาติที่มีต่อบุคคลอันเป็นที่รัก ผ่านสิ่งของแทนตัว ของธรรมดาที่เล่าถึงความทรงจำจากครอบครัวและคนใกล้ชิดผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ ตากใบ


Suwatjana Tippinit
10 hours ago
·
ข้าวสารอายุ 20 ปี ของครอบครัวผู้สูญเสีย #ตากใบ วันที่สามีจากไป ภรรยาที่ยังอยู่ และยังเก็บข้าวสารจากนาผืนแรกในชีวิตคู่ไว้ มีคนมาขอซื้อข้าวเก่าไปให้เป็ดก็ไม่ขาย #20ปีตากใบลบไม่เลือน
.....


แลต๊ะแลใต้
14 hours ago
·
20 ปี คดีตากใบหมดอายุความกับการเรียกร้องความยุติธรรมที่ยังคงดำเนินต่อไปจากชายแดนใต้ สู่สากล
พบกับการถ่ายทอดสดฟังเสียงประเทศไทย สนทนาเพื่อสำรวจความทรงจำ บทเรียนที่สังคมไทยพึงตระหนัก และความหวังในการแสวงหาทางออกจากวังวนความรุนแรง และร่วมกันกำหนดอนาคตของสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้
รับชมได้วันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 14.30- 16.00 น. ทางเพจนี้
#20ปีตากใบ #ตากใบต้องไม่เงียบ #ฟังเสียงประเทศไทย #อนาคตชายแดนใต้
.....


แลต๊ะแลใต้ is at TK Park Narathiwat.
5 days ago
·
"ลบไม่เลือน 20 ปี ตากใบ" สัญจร นราธิวาส
นิทรรศการที่ถ่ายทอดเรื่องราวความทรงจำของครอบครัวและญาติที่มีต่อบุคคลอันเป็นที่รัก ผ่านสิ่งของแทนตัว โดยโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจังหวัดชายแดนใต้
.
สิ่งของธรรมดาที่เล่าถึงความทรงจำจากครอบครัวและคนใกล้ชิดผู้สูญเสียจากเหตุการณ์
ตากใบ มีทั้งวัตถุที่ติดตามผู้เสียชีวิตในขณะที่เกิดเหตุการณ์อย่าง ธนบัตร กางเกง หรือสิ่งของบางชิ้นเป็นของที่ระลึกที่ผู้เสียชีวิตมอบให้กับครอบครัว ซึ่งมาจากน้ำพักน้ำแรงอย่าง นาฬิกาหรือ บ้าน เตารีด และยังมีข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของผู้เสียชีวิต เช่นเสื้อตัวโปรด แก้วน้ำ กรงนก โสร่ง เป็นต้น ซึ่งสิ่งของทุกชิ้นจัดแสดงพร้อมคำอธิบายเรื่องราวความทรงจำ
.
นิทรรศการ "ลบไม่เลือน 20 ปี ตากใบ" สัญจร นราธิวาส จัดแสดงที่อุทยานการเรียนรู้นราธิวาส (TK Park) ระหว่างวันที่ 1-31 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30-18.30 น.
หรืออ่านรายละเอียดได้ที่ @The Deep South Museum & Archives
.
ภาพและเรื่องโดย อรรณพ เจ๊ะสุโหลง
#ตากใบ #20ปีตากใบ #นราธิวาส

https://www.facebook.com/LaetaLaeTai/videos/1352873725960781
.....

แลต๊ะแลใต้ was live.
12 hours ago
·
20 ปี คดีตากใบหมดอายุความกับการเรียกร้องความยุติธรรมที่ยังคงดำเนินต่อไปสู่สากล

20 ปี คดีตากใบหมดอายุความกับการเรียกร้องความยุติธรรมที่ยังคงดำเนินต่อไปจากชายแดนใต้
#ฟังเสียงประเทศไทย สนทนาเพื่อสำรวจความทรงจำ บทเรียนที่สังคมไทยพึงตระหนัก และความหวังในการแสวงหาทางออกจากวังวนความรุนแรง และร่วมกันกำหนดอนาคตของสันติภาพในพื้นที่ชายแดนใต้
ร่วมเสวนา
- ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง อาจารย์สาขามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คุณฮูเซ็ง ดอเลาะห์ ทนายโจทก์ตากใบ
- คุณอัสมาดี บือเฮง เดอะปาตานี
#20ปีตากใบ #ตากใบต้องไม่เงียบ #ฟังเสียงประเทศไทย #อนาคตชายแดนใต้


https://www.facebook.com/LaetaLaeTai/videos/1352873725960781



การเมืองแบบสกปรก ... หน่วยงานด้านความมั่นคงสหรัฐฯ เตือนประชาชนให้ระวังเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย. นี้มาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกันยายน แต่ก็ยังมีรายงานการก่อเหตุทำลายบัตรเลือกตั้งตามจุดต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา

.....


Ballot drop box fires under investigation in two states

CNN

Oct 28, 2024 
CNN's Sara Murray breaks down the investigations in Oregon and Washington into who set fire to two ballot drop boxes, damaging ballots. CNN's Erin Burnett discusses with Pennsylvania Secretary of State

Al Schmidt. #CNN #News

https://www.youtube.com/watch?v=857VFYNBGbs&list=RDNS857VFYNBGbs&start_radio=1
.....

VOA Thai
a day ago
·

หน่วยงานด้านความมั่นคงสหรัฐฯ เตือนประชาชนให้ระวังเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในวันที่ 5 พ.ย. นี้มาตั้งแต่เมื่อปลายเดือนกันยายน แต่ก็ยังมีรายงานการก่อเหตุทำลายบัตรเลือกตั้งตามจุดต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องเร่งยกระดับการรักษาความปลอดภัยทันที
อ่านต่อที่ (https://bit.ly/4fjGdWn)


แบกแดง, แบกทักษิณ, แบก พท. ก็แย่แล้วนะ นี่แบกฆาตกรเลยหรอ เหยื่อเสื้อแดง 99 ศพจะเอายังไง


เอกชัย หงส์กังวาน
20 hours ago
·
แบกแดง, แบกทักษิณ, แบก พท. ก็แย่แล้วนะ
นี่แบกฆาตกรเลยหรอ
เหยื่อเสื้อแดง 99 ศพจะเอายังไง

Khaosod - ข่าวสด 
a day ago
·
"ทุกอย่างมันจบไปแล้ว ถ้าพี่แขกเป็น 14 คนนั้น ก็งงดิ วันนี้ฉันต้องเป็นฆาตกรเหรอ ในเมื่อ ณ วันนั้น ฉันเป็นเจ้าหน้าที่รัฐและทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา" แขก คำผกา กล่าวในรายการ #ข่าวจบคนไม่จบ EP.228 1 ใน 14 ผู้ต้องหาคดีตากใบ โผล่หลังหมดอายุความวันเดียว
.
ติดตามรายการเต็มได้ที่นี่ (https://www.youtube.com/watch?v=BaM8bg-wrX8)
.....

Pipob Udomittipong
17 hours ago
·
#คำผกา ไม่รู้กม.อะไรเลย Convention Against Torture ที่ไทยเอามาอนุวัตประกาศใช้เป็นกม.ต่อต้านการทรมาน Article 2 (3) บอกชัดเจนว่า “An order from a superior officer or a public authority may not be invoked as a justification of torture.” จะไปอ้างว่าผู้บังคับบัญชาสั่งการเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการทรมานไม่ได้ คนที่ก่อาชญากรรมจะไปอ้างว่าทำตามคำสั่งผบ. หรือที่เรียกว่า Defence of superior orders ไม่ได้
ในทำนองเดียวกับ War Crime หรือความผิดอาญาระหว่างประเทศอื่น ๆ ผู้ก่อเหตุจะไปอ้างว่าเป็นเพียงจนท.ระดับล่าง ทำตามคำสั่งเพื่อให้ตนเองพ้นผิดไม่ได้ จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้ ศาลเยอรมันยังคงลงโทษจนท.นาซีระดับล่าง บางคนเป็นแค่ยามรักษาการณ์ อายุตอนนี้ก็เกิน 90 ปีแล้ว แต่ยังต้องเข้าคุกเพราะอาชญากรรมที่ทำไว้กับชาวยิว จะอ้างว่าทำตามคำสั่งไม่ได้เลย
(https://www.thairath.co.th/news/foreign/2431501)



สิงคโปร์ ประกาศให้ ธนาคาร และ บริษัทโทรคมนาคม รับผิดชอบร่วมกับลูกค้าถูกหลอกลวงผ่านอินเตอร์เน็ต มีผล 16 ธ.ค. นี้ - ไทยว่าไง !



Banks, telcos, scam victims to share loss liability from Dec 16; financial institutions to roll out real-time surveillance

Rules set expectations of payouts for affected victims; require FIs and telcos to mitigate phishing scams

https://www.businesstimes.com.sg/companies-markets/banks-telcos-scam-victims-share-loss-liability-dec-16-financial-institutions-roll-out-real-time


FINANCIAL institutions (FIs) will now be required to implement real-time fraud surveillance on unauthorised transactions from phishing scams, under the shared responsibility framework (SRF).

This in response to feedback received on a consultation paper on the framework, said the Monetary Authority of Singapore (MAS) and the Infocomm Media Development Authority of Singapore (IMDA) on Thursday (Oct 24).

The framework – which assigns duties to FIs and telecommunication companies to mitigate phishing scams, and sets expectations of payouts to affected scam victims – will be implemented on Dec 16, 2024.

MAS and IMDA said they will adopt a key area of feedback, and introduce an additional duty on FIs that requires real-time fraud surveillance directed at detecting unauthorised transactions in a phishing scam that result in account draining.

This means that if a customer’s account is being rapidly drained of a material sum to scammers, FIs must either block the transaction until it is able to reach the customer for positive confirmation, or send a notification to the customer and block or hold the transaction for 24 hours. An account is considered to be rapidly drained if more than half of a balance of at least $50,000 is transferred out cumulatively over a day.

Originally under the SRF, FIs were required to impose a 12-hour cooling-off period upon activating a digital security token, and provide real-time notification alerts when activating digital security tokens and conducting high-risk activities.
.....





เมื่อ ‘แฟชั่น’ กลายเป็นแพชชั่น สื่อสารการเมือง เพื่อ ‘ประชาธิปไตย"


‘ประชาธิปไตย’ ที่สวมได้ ลวดลายแห่งการต่อต้าน เสื้อยืดเพื่อการตื่นรู้

25 ตุลาคม 2567
มติชนออนไลน์
ผู้เขียน ชญานินทร์ ภูษาทอง

‘ประชาธิปไตย’ ที่สวมได้

ลวดลายแห่งการต่อต้าน

เสื้อยืดเพื่อการตื่นรู้


เป็น ‘แฟชั่น’ ที่กลายเป็นแพชชั่น

ปัจจุบันแรงผลักดันในตัวมนุษย์ ถูกหยิบออกมาใช้ในการออกแบบลวดลายบนเสื้อยืด ผ้าพันคอ ผ้าโพกผม เป็นสัญลักษณ์การต่อสู้ตลอดช่วงเวลาประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสื่อสารประเด็นหนักๆ การเคลื่อนไหวทางสังคม ที่สะท้อนมุมมองและจุดยืดทางการเมือง เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง

เสื้อ 1 ตัว ร้อยความหมาย เหนือแฟชั่นคือคำอธิบายที่ทรงพลัง ไม่นานมานี้ The Fort ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์สามัญชน จัดแสดงนิทรรศการ ‘Resistance with Style: ลวดลายแห่งการต่อต้าน’ ที่ The Fort สุขุมวิท 51 ระหว่างวันที่ 19-23 ตุลาคมที่ผ่านมา พร้อมเปิดวงสนทนาในหัวข้อ “ออกแบบ แบบใดห์ ให้แคมเปญปัง และมีพลัง”

ภายในนิทรรศการ จัดแสดงเสื้อยืดซึ่งออกแบบเพื่อใช้ในการประท้วงและรณรงค์ทางการเมือง ในประเทศไทย ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เชื้อชวนให้ร่วมสำรวจถึงพลังที่มักจะถูกมองข้ามของการใช้แฟชั่นและการออกแบบ เพื่อแสดงออกถึง ‘การต่อต้าน’




⦁ใช้ดีไซน์ สื่อสารการเมือง

ครีเอตเสื้อเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’


พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ เจ้าหน้าที่รณรงค์อาวุโส iLaw เผยการทำงานร่วมกับไอลอว์มากว่า 5 ปี

ก่อนหน้านี้ได้ทำงานเกี่ยวกับการออกแบบ ดีไซน์ เมอร์เชนไดซ์ (merchandise) ส่วนมากเน้นการขายพอได้มาทำงานกับไอลอว์ก็พบว่ามีแคมเปญค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ ทั้งการรณรงค์ประชาธิปไตย จึงคิดค้นสินค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมาใช้ในการรณรงค์ด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่ยากขึ้น เราจะบอกสินค้านี้อย่างไร มีเมสเสจอย่างไรบ้างเพื่อให้คนรับเมสเสจนั้นเห็นด้วยกับสิ่งที่กำลังจะสื่อ

“เราเข้ามาทำงานกับไอลอว์ แบบกระโดดข้ามสายงาน เราทำงานกับดีไซเนอร์มาเยอะมาก ไอลอว์ไม่ใช่เพจที่เล่าเรื่องง่ายๆ เราพยายามเอาองค์ความรู้ที่มีนำมาปรับใช้ ไม่ใช่การออกแบบอย่างเดียว แต่มันต้องเป็นการสื่อสารด้วย บางครั้งแม้แต่ตัวเราเองก็ไม่เข้าใจ แต่โชคดีที่เป็นคนเข้าใจง่าย คือถ้าเราไม่เข้าใจแล้วใครจะเข้าใจ เลยต้องทำสิ่งนั้นให้น่าสนใจ”

พัชชาอธิบายความยาก อยู่ตรงข้อจำกัดที่ว่า 1 แคมเปญทำได้แค่ 1 ลายเท่านั้น เพื่อสร้างภาพจำ คนใส่ก็จะนำพาเมสเสจออกสู่สายตาประชาชน มันไม่ใช่แค่สวยอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของสารที่ต้องการจะสื่อออกไป แบบใหม่ ที่ต้องมีคนรับรู้ได้

“อย่างเสื้อ ‘อาสาจับตาเลือกตั้ง’ เราก็ใช้ลายมือเขียน คนที่ใส่ก็ต้องใส่ไปสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ซึ่งต้องเฟรนด์ลี่พอที่เจ้าหน้าที่จะไม่เห็นว่าเราเป็นศัตรู แต่เราเป็นมิตร เป็นอาสา มาช่วยจริงๆ และเสื้อ ‘เขียนใหม่ทั้งฉบับ’ เราใช้คำว่า ‘เขียน’ เป็นคำกิริยานำหน้า เพื่อทำให้คนรู้สึกว่าเราจะทำอะไรสักหนึ่งอย่าง เป็นต้น”

พัชชาแอบเล่าว่า เสื้อที่ขายดีคือเสื้อที่เป็นเอกลักษณ์ ลายที่ชอบที่สุดและสามารถทำแคมเปญไปไกลขึ้น นั่นคือ ‘อาสาจับตาเลือกตั้ง’ และ ‘เสื้อลูกตาวิเศษ’ เหมือนตาวิเศษช่วยกันดู ชอบสีที่ใช้ ทำให้รู้สึกว่าเรามาทำแคมเปญประชาชนตื่นรู้



⦁ขายเสื้อ? หากินกับม็อบ

‘คุณป้าไฟฉาย’คาแร็กเตอร์ สู้ในวันฟ้าหม่น


พัชชายังเปิดใจถึงเบื้องลึก มีเสียงจำนวนมากมักบอกว่าเรา ‘หากินกับม็อบ’ แต่เราพยายามเลี่ยงคำพูดพวกนี้ รู้สึกว่าทำไมในเมื่อประเด็นอื่นๆ ทำมาเป็นแพชชั่นได้ แล้วทำไมประเด็นการเมืองที่เป็นความสนใจส่วนตัว จะนำมาเป็นแพชชั่นหรือเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คนเลือกซื้อหรือเลือกเสพ ให้เหมือนกระแสหลัก เพื่อหากำไรบ้าง ไม่ได้?

เจ้าหน้าที่รณรงค์อาวุโส iLaw ยังบอกด้วยว่า นิทรรศการที่จัดขึ้นในวันนี้ ถ้าหากสังเกต จะเห็นว่าไม่มีเสื้อตัวไหนเหมือนกันเลย

“มันเปลี่ยนไปตามอารมณ์และช่วงเวลาในตอนนั้น มีทั้งเสียดสี ตลก และสื่อสารแบบตรงไปตรงมา เสื้อมันทำงาน เพราะเราอยากจะตะโกนบางอย่างออกมา

“หากต้องทำเสื้อประชาธิปไตยจะทำอย่างไรนั้น สัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นประชาธิปไตยมันเปลี่ยนตลอดเวลา มันจะมีเทรนด์ใหม่เข้ามาตลอด หากต้องการจะสื่อ จะใช้รูป ‘ไฟฉาย’ เราจะใช้ตัวละครที่เป็นคุณป้าไฟฉาย เพราะมันคือการต่อสู้ในวันที่มืดมิด” พัชชาเผยอย่างปลื้มปริ่ม



⦁Shirtpaganda จับทันทุกกระแส

แบรนด์เพื่อการโฆษณา เสียงปชช.


ด้าน ‘หมวย’ เจ้าของแบรนด์ Shirtpaganda เผยว่า เป็นคนสนใจการเมืองมาตั้งแต่เด็กๆ แต่พ่อ-แม่อยู่ฝั่งพันธมิตร

ด้วยความที่เกิดในยุค Propaganda อยู่แล้ว พอเข้าศึกษาที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นช่วง กปปส.พอดี ก็มีอาจารย์ที่จุฬาฯชวนไปเป็นทีมงานเบื้องหลัง กปปส. เราก็ได้ไปคลุกคลีในช่วงนั้น

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ สาเหตุที่ ‘หมวย’ เปลี่ยนความคิดและตาสว่างมากขึ้นคือ พรรคอนาคตใหม่ ก็ลองรับฟังบ้างอะไรบ้าง และเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ จนเกิดม็อบปี 2563 ขึ้นมา เป็นม็อบที่ขับเคลื่อนโดยคนรุ่นใหม่ เยาวชน นิสิตนักศึกษา ออกมาเรียกร้องจำนวนมาก จุฬาฯก็จัดงาน #เสาหลักจะไม่หักอีกต่อไป ก็ไปเข้าร่วม

“เราเห็นนักศึกษาชูไอเดียขึ้นมาเป็นกระดาษ เราก็คิดว่าน่าสนใจดี แต่เราอยากทำเป็นเสื้อ ก็เลยเกิด Shirtpaganda ขึ้นมา ซึ่งชื่อมาจากเสื้อที่ใช้ในการโฆษณาเพื่อส่งเสียงนี้ออกไป จุดเด่นของเราจะไม่ชัดเจนมาก สามารถใส่ได้ทั่วไป แต่ถ้ามองลึกๆ จะมีความหมาย” เจ้าของแบรนด์ Shirtpaganda เล่าถึงที่มา

ออกแบบไปกว่า 600 ลาย นับตั้งแต่ปี 2563- ปัจจุบัน ไอเดียใหม่มักก่อเกิดในช่วงการเมืองไทยกำลังร้อนระอุ

“อะไรเด่นๆ ช่วงนั้นเราก็จับมาใส่ลายไว้ก่อน จุดประสงค์เราคือ ‘ตัวเอง’ ถ้าเราอยากใส่เราก็จะทำ ตัวขายดีคือ ลาย ‘อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เออเร่อ’ คนชอบมาก สามารถเป็นแฟชั่นได้ ซึ่งใน 600 กว่าลาย ได้ทำทุกตัว แต่ก็มีบางตัวที่ไม่ได้ผลิตออกมา แรงบันดาลใจก็คือช่วงกระแสที่ฮิต ณ ช่วงเวลานั้น และความชอบส่วนตัว

ที่โดนถล่มหลักๆ คือ เสื้อ ‘พท.เพื่อการโฆษณา’ ซึ่งมีคอมเมนต์เยอะมาก มันก็ค่อนข้างลำบากใจ”

นอกจากนี้ อีกลายที่ขายดีคือ ‘ปรีดี พนมยงค์แบ๊กกราวน์เป็นมังกรฟ้า 2475’ ส่วนลายที่ประทับใจแต่ขายไม่ดี คือลาย ‘IF NOT NOW THEN WHEN’ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดูรูปสหายกาสะลอง

“คือเขาใส่เสื้อ IF NOT NOW THEN WHEN เราก็เลยชอบคำนี้ เป็นคำอมตะ นำมาทำเสื้อที่เป็นสไตล์เรา ทำให้ดูฮึกเหิม สามารถใส่เป็นแฟชั่นได้ ไปม็อบก็ใส่ได้ และชาวต่างชาติก็ชอบมากด้วย”

⦁เปลี่ยนขั้ว กระแสตีกลับ

รอทำ ‘ลายสายรุ้ง’ ฉลองฟ้าหลังฝน


เมื่อ ‘ประเด็น’ เป็นตัวกระตุ้นให้ได้ลายใหม่ๆ เมื่อการเมืองซบเซา แบรนด์ก็กระทบด้วย

‘หมวย’ เล่าต่อว่า แม้จะไปต่อได้เพราะมีกลุ่มคนที่ติดตามเฉพาะ แต่ก็ดร็อปลงจากยุคม็อบมากๆ เช่นกัน

“เมื่อทำเพจแล้วคนด่า เราก็ช่างมัน จะมีฝั่งที่เคยเชียร์กับเราอยู่ด้วยกัน แต่พอรัฐบาลเปลี่ยนขั้ว เขาก็มาด่าเรา แต่เราก็ด่ากลับ เพราะเรารู้สึกว่าเรามีเสรีภาพทางความคิดของตัวเอง”

แน่นอนว่าเคยถูกมองว่า หากินกับม็อบ เช่นกัน เมื่อทันทีที่ตั้งโต๊ะ คนที่เป็นแกนนำคนทำงานกับม็อบมักถูกหาว่าได้รับเงินบริจาค

“เราเพียงอยากผลักดันให้ข้อเรียกร้องของทุกคนมันสำเร็จ ไม่ได้สนใจเสียงคนอื่น ที่บอกว่า ‘ทำเพราะอยากได้แสง’ พอมีแสงคนก็มาซื้อเรา แต่เราก็นำยอดขายมาช่วยกิจกรรมทางการเคลื่อนไหวด้วย” หมวยขอเคลียร์ประเด็น

หมวยเล่าทิ้งท้ายว่า เสื้อมันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าปีไหนเกิดอะไรขึ้นบ้าง ทำให้คนรุ่นหลังที่เกิดไม่ทันเหตุการณ์ได้รู้ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น พอเราเห็นเสื้อในนิทรรศการ ตั้งแต่พันธมิตร กปปส. เสื้อเหลือง เสื้อแดง คณะราษฎร มีให้ได้ชอบเยอะมาก

หากต้องทำเสื้อประชาธิปไตย คงอยากทำเป็นลาย ‘สายรุ้ง’

“เพราะมันเหมือนฟ้าหลังฝน เปรียบดังการต่อสู้อันยาวนาน แม้ไม่รู้จะได้ชัยชนะเมื่อไหร่ แต่เมื่อไหร่เราชนะ จะไม่กลับมาแพ้อีกเลย และสายรุ้งมี 7 สี ต่างได้ แต่ต้องอยู่ด้วยกันอย่างลงตัว”

⦁ความกลัวคุกรุ่น

จากครูอาสา สู่นักกิจกรรมในพื้นที่


ปิดจบด้วยเสียงของ ฮาบีบ กูนา ฝ่ายสื่อสาร เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (INSouth) กล่าวว่า เราเป็นนักศึกษานักกิจกรรม หลังจบการศึกษาก็คุยกัน จนเกิดการตั้ง INSouth ในปี 2554 ทำงานด้านครูอาสาในพื้นที่

“พอเราเป็นครูอาสา เราเห็นความอัดอั้นคนในพื้นจำนวนมาก เราจึงทำ INSouth Media ออกมา มีทั้งงานภาพ งานวิดีโอ พอทำไปสักระยะ 4-5 ปี เราเห็นปัญหาในพื้นที่ค่อยชัดเจนขึ้น แต่พื้นที่ในการสื่อสารไม่มี เราจึงต้องทำให้สังคมได้รับรู้บ้าง

เราทำเชิงสารคดี คนส่วนใหญ่ใน INSouth ก็ไม่ได้จบสายสื่อ ก็พัฒนากันไปพร้อมกันๆ เป็นเรื่องค่อนข้างยาก งานเทคนิคเราไม่รู้จักโปรแกรมเลย เราต้องเรียนรู้ บวกความชอบ ต้องทำให้มันเป็นความสุข เริ่มแรกเราทำงานวิดีโอสารคดี งานดนตรี INSouth เราวางคอนเซ็ปต์ว่า เราคิดงานแบบเด็ก แต่เวลาทำต้องมีความคิดแบบผู้ใหญ่”

ฮาบีบเล่าด้วยว่า ตอนที่เป็นครูอาสา ทำให้ได้เห็นปัญหา เห็นความหวาดกลัวในชุมชน จึงเริ่มแคมเปญออกมา เช่น แคมเปญยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตอนลงทำกิจกรรมในพื้นที่ มักจะถูกมองว่าเป็นตัวป่วนและเป็นภัย

“เราถูกมองแบบนี้ เรายิ่งต้องสื่อสารออกมา เวลาเราอ่านคอมเมนต์เราก็รู้สึกว่า สงสัยเราสื่อสารไม่ถูกต้อง ก็เป็นงานหนักที่จะต้องรู้ถึงปัญหา และนำปัญหาของคนในพื้นที่มาสื่อสารเพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้รับรู้และเข้าใจ” ฮาบีบเผย

⦁‘เสื้อตากใบ’ สร้างอิมแพกต์

ไม่อยากขุดแผล แค่อยากเห็นความแฟร์


ฮาบีบยังเล่าถึงแคมเปญเสื้อรำลึกถึงเหตการณ์ตากใบ ซึ่งโดยปกติแล้ว INSouth จะทำเสื้อตากใบทุกปี ให้เข้าใจง่าย

“เสื้อตากใบมีเอฟเฟ็กต์เยอะ โดยเฉพาะของปีนี้ ถามว่าตากใบต้องการอะไร เราไม่ได้อยากยกแผลเก่าเพื่อให้คนบอบช้ำ แต่เราอยากเห็นความเป็นธรรมในสังคม ถ้าวันนี้คดีตากใบ รัฐยังไม่แสดงความยุติธรรมให้คนในพื้นที่ คนรุ่นลูกก็จะมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม”

ฝ่ายสื่อสารแห่ง INSouth ยังยกตัวอย่างเสื้อตากใบ ปีที่ 16 ซึ่งคนที่เสียชีวิตในกรณีตากใบมี 2 กรณี คือ 1.ในที่เกิดเหตุ และ 2.การขนย้ายผู้ต้องหาไปค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

“145 กม. ใช้เวลาในการเดินทางนานมาก คนก็สงสัยว่าทำไมมีการเสียชีวิต และกระบวนการตรวจสอบคนทำ ไม่ค่อยเห็นภาพ ก็ทำเสื้อการถูกจับนำมือไพล่หลัง ออกมา

และเสื้อแคมเปญยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถามว่าตัวเองกลัวไหม กลัว ถ้าทำอะไรในพื้นที่จะมีคำต่อท้ายว่า โจร เสมอ เราก็เป็นคนเหมือนกัน เราก็ไม่อยากเห็นความสูญเสีย อยากให้คนนอกเข้าใจตรงนี้ ก็ยังมีสื่อหลักที่ใช้คำว่าโจรใต้อยู่ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่กระทบจิตใจผมเหมือนกัน

“เสื้อประชาธิปไตยในความคิด หากต้องออกแบบ อยากให้รู้สึกว่ามันเป็นของทุกคน” ฮาบีบทิ้งท้าย

แม้นิทรรศการจะสิ้นสุดลงไปแล้ว แต่แพชชั่นและไอเดียไม่มีวันจางหาย กลับถูกบันทึกไว้บนลายเสื้อนับร้อยตัว เพื่อสะท้อนพลวัตของสังคมไทยในช่วงที่ผ่านม

(https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_4863961)


ถ้าสิ่งที่เราทำยืนบนหลักการ จะกลัวอะไร กลัวตกงาน ? ความหวังนิรโทษกรรมรวมฐานความผิดมาตรา 112 ริบหรี่ หลังเพื่อไทยมีท่าทีคล้อยตามพรรคร่วมรัฐบาล แม้ต้องผิดคำพูดที่เคยกล่าวไว้ช่วงเลือกตั้ง แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพและความอยู่รอดของรัฐบาล







Live : เพื่อไทยสยบพรรคร่วม กลับลำมาตรา 112 ปิดประตูนิรโทษกรรม | THAIRATH NEWSROOM 30 ต.ค. 67

THAIRATH Online Originals




Streamed live 8 hours ago 

ความหวังนิรโทษกรรมรวมฐานความผิดมาตรา 112 ริบหรี่ หลังเพื่อไทยมีท่าทีคล้อยตามพรรคร่วมรัฐบาล แม้ต้องผิดคำพูดที่เคยกล่าวไว้ช่วงเลือกตั้ง แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพและความอยู่รอดของรัฐบาล โอกาสที่จะเกิดการนิรโทษกรรมผู้ต้องหาทางการเมืองมาตรา 112 จึงมีความเป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้
 
พูดคุยกับ 
ศ.ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต
 
ดำเนินรายการ 
กาย-พงศ์เกษม สัตยาประเสริฐ

https://www.youtube.com/live/Hph1uS8zi_Y


เสียงสะท้อนชีวิตของคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย”


27/10/2024
iLaw

27 ตุลาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. iLaw ร่วมกับ Kinjai Contemporary จัดวงพูดคุยในหัวข้อ “ชีวิตคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย” ชวนฟังเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ถูก “ซ่อน” ระหว่างทางฝันของพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีกว่าเดิม ร่วมพูดคุยโดย ธี ถิรนัย อดีตผู้ต้องขังทางการเมืองที่เพิ่งปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ประพันธ์ จำเลยคดีสหพันธรัฐไท ที่ลี้ภัยไปต่างประเทศและถูกจับกุมตัวส่งกลับมาดำเนินคดี กึกก้อง บุปผาวัลย์ ลูกชาย ”สหายภูชนะ“ ผู้ลี้ภัยที่ถูกพบเป็นศพในแม่น้ำโขงเมื่อปี 2561 ดำเนินรายการโดย บุศรินทร์ แปแนะ iLaw

การซ่อนหายคนที่อยู่ในพื้นที่ทางการเมืองด้วยคดีทางการเมือง หรือการถูกฆ่าและพบเป็นศพในแม่น้ำโขง คนที่เสียชีวิตอาจไม่ได้อยู่เพื่อต่อสู้ต่อไป แต่คนที่พ้นโทษออกมาแล้ว หรือลูกชายของคนที่เสียชีวิตจะแบกรับความฝันต่อไป

ลูกชายของคนที่ถูก “ซ่อน” ที่ยังคงสู้เพื่อให้พ่อไม่ “หาย”



ในช่วงรัฐประหาร 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่งเรียกนักเคลื่อนไหวทางการเมืองให้มารายงานตัว ทำให้มีคนจำนวนมากเลือกลี้ภัยไปยังต่างประเทศ “สหายภูชนะ” เป็นหนึ่งในคนที่ลี้ภัยไม่ยอมรับไปรายงานตัว กึกก้องเล่าว่า “สหายภูชนะ” ในฐานะพ่อก็เป็นคนธรรมดา เป็นคนที่หาเลี้ยงชีพเลี้ยงครอบครัวตามปกติ แรกเริ่มเขาเป็นคนที่ขายจานดาวเทียมในการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนครั้งหนึ่งร่วมชุมนุมใหญ่ของทักษิณ ชินวัตรที่วงเวียนใหญ่ ทำให้ “สหายภูชนะ” เริ่มเข้าไปทำกิจกรรมและไปขายจานดาวเทียมกับกลุ่มเสื้อแดง

เหตุการณ์การสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงด้วยกระสุนจริงในปี 2553 ทำให้ “สหายภูชนะ” คิดว่าจำเป็นต้องป้องกันตัว และตัดสินใจลี้ภัย ในช่วงหนึ่งระหว่างที่ที่บ้านขายกับข้าว กำลังเปิดทีวีและมีประกาศเรียก “สหายภูชนะ” ไปรายงานตัว กึกก้องเล่าว่าภายในวันนั้นพ่อของเขาติดต่อมาหาเพื่อบอกว่าจะต้องหนี เพราะเกรงว่าจะถูกซ้อมทรมาน พ่อของเขาตัดสินใจหนีไปที่จังหวัดมุกดาหาร ก่อนจะข้ามไปยังประเทศลาว แต่ถูกจับกุมที่ลาวโดยทางการลาว เนื่องจากเป็นการเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

ลูกชายของเล่าต่อว่า “สหายภูชนะ” พยายามทำเรื่องลี้ภัยเพื่อลี้ภัยไปยังประเทศที่สามแต่เขามีอุปสรรคทางด้านเอกสาร ช่วงแรก “สหายภูชนะ” อยู่กับวัฒน์ วรรลยางกูร และต่อไปอยู่กับสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ เขาถูกรังแกจากเจ้าหน้าที่รัฐในลาว ทำให้ต้องย้ายที่อยู่ กึกก้องเล่าว่าเคยเดินทางเข้าไปเยี่ยมพ่อ เคยถูกคนอื่นปรามาสว่าพ่อติดพนันรึเปล่า แต่เมื่อไปเยี่ยมพ่อ ก็เห็นสภาพความจำอยู่ว่าพ่อของเขาดำรงชีพด้วยการทำเกษตรกร เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชทั่วไป

ครั้งหนึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยเดินทางไปมอบเงินช่วยเหลือน้ำท่วมที่ลาว ทำให้กึกก้องขาดการติดต่อกับพ่อของเขา เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐไทยตามตัวได้ วันที่ 12 ธันวาคม 2561 คือวันสุดท้ายที่ “สหายภูชนะ” และครอบครัวติดต่อกัน ปกติแล้ว เมื่อขาดการติดต่อกัน พ่อของเขามักจะติดต่อกลับมาภายหลัง แม่เคยนัดกันให้ไปเจอกันที่สะหวันนะเขตในวันที่ 23 ธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของพ่อเขา ปกติเวลาพ่อหายไปมักจะกลับมาติดต่อกันภายในเจ็ดวัน แต่ในครั้งสุดท้ายไม่มีการตัดต่อกลับมาอีกเลย จนกระทั่งพบเป็นศพเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561

กึกก้องเล่าว่า ในอดีตตนเคยถูกคุกคามตนไม่เคยคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือการคุกคาม มีเจ้าหน้าที่ทหารเข้าไปตรวจที่บ้านที่มุกดาหารตลอด เข้าใจว่าเขาคงถามเป็นธรรมดา แต่เพิ่งมาเข้าใจได้ภายหลังว่าสิ่งเหล่านี้คือการคุกคาม

พ่อเคยมีความฝันอยากทำโรงเรียน การศึกษาจะเข้าถึงโอกาสในการเข้าถึงอำนาจ พ่ออยากสร้างโรงเรียนเพื่อให้คนที่มีโอกาสเปลี่ยนตัวเองได้เท่ากัน สองพ่อลูกมักวิดีโอคอลกันตลอดตอนที่กึกก้องกำลังทำโรงเรียนกวดวิชา เพื่อดูสถานที่ของกวดวิชา พ่อมีทักษะด้นการช่าง มักช่วยกันดูสถานที่เพราะพ่อมักให้คำแนะนำในการต่อเติม

กึกก้องเล่าติดตลกว่า ติดต่อข่าวคนลี้ภัยที่สูญหายบ่อยๆ ในฐานะที่เป็นลูก ในกลุ่มของพ่อเชื่อกันว่า บางคนอุ้มตัวเอง บางคนอาจจะโกงเงินบริจาค บางคนเชื่อในเรื่องทฤษฎีสมคบคิด ไม่ว่าจะอย่างไรเขาก็คือคนที่ถูกทำให้ “หาย” ไปจากสังคม กฎหมายถูกสร้างให้เรารู้สึกมั่นคง ถ้าวันนึงกฎหมายคุกคามเราจะหวังพึ่งพลังอำนาจไหน แม้ว่ารัฐจะไม่ได้เป็นคนทำ หรือพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นคนทำให้มีคนหาย แต่หน้าที่สำคัญของรัฐไทยคือการต้องพิสูจน์ให้ไกด้ว่าใครเป็นคนทำ

ประชาชนจะเอาอำนาจที่ไหนไปหาว่ารัฐเป็นคนกระทำ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 (พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ) ไม่เข้าข่ายในกรณีของสหายภูชนะ เนื่องจากเหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนจะมีกฎหมายฉบับนี้ และมักถูกตอกย้ำโดยเจ้าหน้าที่รัฐว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ

วันที่พบศพคนที่ลอยขึ้นมาบนแม่น้ำโขง กึกก้องเชื่อว่านี่คือศพของพ่อ ตนฝันเห็นภาพเหตุการณ์ทำนองนี้ เล่าให้แม่และภรรยาฟัง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่กึกก้องติดต่อกับพ่อไม่ได้ ปกติตนไม่ค่อยดูรูปศพในข่าว เมื่อคุยกับเพื่อนผู้ลี้ภัย ซึ่งเขาก็ส่งรูปสุดท้ายของพ่อมาให้ ชุดในภาพกับชุดที่พบศพเป็นชุดเดียวกัน ทำให้รู้ได้ทันทีว่าเป็นศพของพ่อ จึงติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ตนใช้ดีเอ็นเอของตนเพื่อตรวจสอบ แต่เจ้าหน้าที่ยังบังคับให้ตรวจดีเอ็นเอของแม่ด้วย กว่าที่ทางครอบครัวจะได้รับศพกลับก็ใช้เวลาไปกว่าสี่เดือน ช่วงนี้เป็นสี่เดือนที่วุ่นวายที่สุดในชีวิต

มีเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบ พยายามติดต่อ ยายามนัดเจอในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานที่ราชการ ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย กลัวว่าจะมีความผิดจากการที่ติดต่อกับพ่อในช่วงที่พ่อลี้ภัย

“แม่คิดเสมอว่าศพนั้นไม่ใช่พ่อ เมื่อไปเปิดศพดูมันไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว เหลือเพียงเส้นผมนิดหน่อย แม่รู้ทันทีว่าคือพ่อ ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเห็นแม่ร้องไห้ แม่ยังคงส่งไลน์หาไลน์ของพ่อตลอดในวันนี้ ความใฝ่ฝันสูงสุดของคนเป็นลูกคือการได้ส่งพ่อ แต่เราไม่มีโอกาสนั้น” กึกก้องเล่า

หลังพิสูจน์ศพเสร็จสิ้นแล้วในช่วงปี 2562 กึกก้องเดินทางไปยังนครพนมเพื่อถามร้อยเวรเจ้าของคดีถึงความคืบหน้า แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร อัยการยุติการสอบสวนเพราะว่าไม่สามารถหาตัวผู้กระทำได้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ บังคับให้ญาติต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ ซึ่งในตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างว่าจะให้หน่วยงานไหนรับเป็นผู้ดูแลคดีนี้

กึกก้องเปิดเผยว่า ในขั้นตอนของการไปติดตามคดีกับกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สส. พรรคเพื่อไทย พยายามถามว่า “สหายภูชนะ” มีข้อขัดแย้งกับคนอื่นที่ไม่ใช่รัฐไทยหรือไม่ เพื่อพยายามเบี่ยงประเด็นว่าผู้กระทำให้เกิดการเสียชีวิตของ “สหายภูชนะ” ไม่ใช่รัฐไทย ส่วนนี้กึกก้องอธิบายว่าผิดหวังเพราะ “พ่อผมสละชีวิตให้เพื่อไทยเลยนะ” แต่คนที่พยายามช่วยเหลือ ในชั้นกรรมาธิการ คือ สุทัศน์ เงินหมื่น อดีต สส. พรรคประชาธิปัตย์ กึกก้องบอกว่า “พ่อผมไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์แน่ๆ นี่คือที่ทำให้ผมประหลาดใจในชั้นกรรมาธิการ”

ในอดีตคนที่อุ้มหายที่ผ่านมา เช่น หะยีสุหลง โต๊ะมีนา หรือทนายสมชาย นีละไพจิตร ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ ทุกคนมักจะถูกกล่าวหาว่าไปมีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อเบี่ยงประเด็นว่ารัฐไม่ใช่ผู้กระทำความผิดจนเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้เสียชีวิตหรือสูญหาย

“กระบวนการตามกฎหมายเหล่านี้ไม่ได้ทำให้เราผิดหวังแต่ทำให้เราหมดหวัง กระบวนการนี้ทำให้เราต้องพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง ให้เราไปพิสูจน์มาหาด้วยตัวเองแล้วเอาหลักฐานไปยื่นให้เขา เขาถึงจะเริ่มทำงาน ผมว่ากระบวนการแบบนี้ไม่ถูกต้อง” กึกก้องกล่าว

“สิ่งเหล่านี้ขัดกับสามัญสำนึกผมตั้งแต่เด็กมาก ถ้าพ่อผมตาย คนแรกที่ผมจะไปบอกคือตำรวจ กลายเป็นว่ามันไปค้างเติ่งและเราต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ” กึกก้องทิ้งท้าย

ชีวิตของประพันธ์ ผู้ใฝ่หารัฐสวัสดิการด้วยสันติ แต่ถูกจับเพราะแจกใบปลิว



ประพันธ์ จำเลยคดีสหพันธรัฐไท ที่ลี้ภัยไปต่างประเทศและถูกจับกุมตัวส่งกลับมาดำเนินคดี เล่าถึงภูมิหลังชีวิตตัวเองว่า อาศัยอยู่ที่จังหวัดสกลนคร ติดตามฟังข่าวสารการเมืองมาตลอดตั้งแต่เด็ก ได้รับรู้เรื่องราวการต่อสู้ของเตียง ศิริขันธ์ ผู้นำขบวนการเสรีไทยสกลนครและอดีตรัฐมนตรีสามสมัย และเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองหรือการชุมนุมบ้าง เช่น การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและกลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.) จนกระทั่งมีการรัฐประหารในปี 2549 ก็ยังไม่ได้ทำอะไรมากนัก จนเมื่อมีการรัฐประหารอีกครั้งในปี 2557 ประพันธ์รู้สึกว่าทนไม่ได้ ต้องออกมาทำอะไรสักอย่าง จึงร่วมกิจกรรมแจกใบปลิวกับกลุ่มสหพันธรัฐไท

ประพันธ์เล่าต่อไปว่า เนื้อหาใบปลิวของกลุ่มสหพันธรัฐไท ระบุเกี่ยวกับนโยบายรัฐสวัสดิการ การปฏิรูปศาลให้มีระบบลูกขุน การศึกษาเรียนฟรีตั้งแต่อนุบาลจนถึงปริญญาตรี รักษาพยาบาลฟรี เน้นไปที่การเดินแจกประชาชนทั่วไป การเดินแจกใบปลิวไม่ได้ใช้อาวุธ หรือแสดงความรุนแรงใด ๆ เน้นไปที่การให้ข้อมูล แต่มีคนถ่ายรูปและนำไปโพสต์ ข่าวจึงไปถึงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)

หลังจากนั้น ประพันธ์ถูกควบคุมตัวไปสอบปากคำที่มณฑลทหารบกที่ 11 สองคืนสามวัน ตามมาด้วยการดำเนินคดีในความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 และความผิดฐานอั้งยี่ ตามมาตรา 209 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แต่ได้รับการประกันตัวระหว่างสอบสวนโดยต้องใส่กำไล EM ทำให้ชีวิตยากลำบากมาก ต่อมา ประพันธ์ถูกจับกุมไปที่มณฑลทหารบกที่ 11 อีกครั้ง การบุกจับค่อนข้างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ประพันธ์เล่าถึงบรรยากาศตอนนั้นว่า ขณะที่ต้องเดินทางไปยังมณฑลทหารบกที่ 11 เธอถูกปิดตาตลอดเพื่อไม่ให้เห็นเส้นทางเดินทาง และมีการเปลี่ยนรถยนต์ ในครั้งนี้เธอถูกควบคุมตัวถึงห้าคืนหกวัน กว่าจะได้ปล่อยตัวออกมา

ประพันธ์ตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ประจำมาเลเซีย โดยไม่ได้บอกใครแม้แต่ครอบครัว เธอได้รับบัตรผู้แสวงหาการลี้ภัยของทาง UNHCR เป็นเครื่องหมายไม่ให้ถูกจับส่งประเทศต้นทาง แต่ท้ายที่สุดแล้วก็ถูกจับส่งกลับประเทศไทย โดยความร่วมมือของรัฐบาลสองประเทศ

หลังถูกจับกลับมาในไทย รอบนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว เพราะไม่มีเงิน และไม่มีใครมาประกันตัวให้ จึงต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำสองปี และพ้นโทษมาตั้งแต่ปี 2564 เธอเล่าถึงชีวิตในเรือนจำว่า หากมองในแง่บวก ก็ไม่ได้ลำบากมากนัก เพราะเดิมชีวิตก็ไม่ได้มาจากครอบครัวที่สบายอยู่แล้ว ด้วยอายุที่มากขึ้น เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องถอดเสื้อผ้าเพื่อตรวจร่างกาย ก็ไม่ได้รู้สึกเขินอาย ในสถานะที่เป็นนักโทษคดีการเมือง เธอมองว่าเจ้าหน้าที่ค่อนข้างให้บริการดี ได้เจอเพื่อนนักโทษคดีการเมืองหลายคน สิ่งที่เยียวยาจิตใจระหว่างอยู่ในคุก คือการอ่านพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทย-อังกฤษ และดื่มกาแฟ

หลังจากพ้นโทษออกมา ประพันธ์ยังคงไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองอยู่บ้าง แต่การใช้ชีวิตค่อนข้างยากลำบาก เพราะยังเจอเจ้าหน้าที่มาสอดแนมถึงร้านนวดของเธออยู่เป็นระยะ ถึงขนาดทำให้ร้านนวดเจ๊งเพราะไม่มีลูกค้า แต่จากประสบการณ์ตำรวจที่มาเลเซียแนะนำว่า ต้องออกไปอยู่นอกเมือง จะได้ไม่โดนเพ่งเล็ง เลยย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดทุกวันนี้ ได้นวดบ้างไม่ได้นวดบ้าง การใช้ชีวิตจึงใช้แบบง่ายๆ ไม่ได้กินอะไรหรูๆ มากนัก กินผักกับไข่ต้ม

(อ่านข้อมูลคดีสหพันธรัฐไทได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/case/24017)

การ์ดม็อบผู้เคยถูกคุมขัง อ้อนวอนเพื่อไทยเร่งนิรโทษกรรม



ถิรนัย เล่าว่าตนเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 2563 ช่วงนั้นเรียน ปวช. อยู่ ในตอนนั้นอายุประมาณ 19-20 ปี ช่วงที่เริ่มมีการรัฐประหารจนถึงรัฐบาลประยุทธ์ในปี 2563 เป็นครึ่งชีวิตของตนอยู่กับรัฐบาลนี้ ตั้งแต่การรัฐประหารก็เปิดดูข่าวต่างๆ มากขึ้น ทำให้รู้สึกว่าทำไมประเทศต้องมาแย่ตอนที่เราโต

จนเข้ามาเรียนที่ ปวช. พอมีการชุมนุมตนก็เข้าร่วมกับกลุ่มฟันเฟืองอาชีวะ อาชีวะพิทักษ์ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนมีการชุมนุมที่แยกเกียกกาย พอเข้าไปถึงที่แยกเกียกายก็พบว่าการใช้แก๊สน้ำตาและมีการปะทะกันกับกลุ่มเสื้อเหลือง ตนเข้าไปกับเพื่อนจนเห็นว่ามีคนเสื้อเหลืองหกล้ม เราก็พยายามห้ามไม่ให้มีการทำร้ายคนเสื้อเหลือง

“ในขณะเดียวกัน เราก็ได้ยินเสียงปืนดังขึ้นสองนัด เพื่อนผมโดนยิงเข้าที่สะโพก ผมหน้าชาเลย เสียงปืนดังขึ้นเรื่อยๆ มีหมอเข้ามาช่วยเหลือเพื่อนของเรา หมอก็โดนยิงอีก ตอนนั้นเราทำอะไรไม่ถูก เพื่อนอีกคนก็โดนยิง เราพยายามเอาเพื่อนที่ถูกยิงขึ้นรถนักข่าว” ถิรนัยเล่า

“ผมไปร่วมกับการชุมนุมเรื่อยๆ จนมาการชุมนุมคาร์ม็อบของจตุพร พรหมพันธุ์ เพื่อเคลื่อนขบวนมุ่งหน้าไปทำเนียบรัฐบาล ตอนนั้นคือช่วงที่หลังจากเพื่อนเราโดนยิง เรากลัวมาก เราทะเลาะกับครอบครัว แต่เราก็คิดว่าอยากเป็นผู้เสียสละ เราดูมาร์เวล เราซื้อชุดคอสเพลย์สไปเดอร์แมนเตรียมจะใส่ไปในการชุมนุม แต่ว่าก็ถูกจับเสียก่อน”

ถัดมาถิรนัยก็ถูกจับกุมในวันที่ 29 สิงหาคม 2564 ในการชุมนุมที่จัดโดยณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ตนยืนยันว่าไม่ชอบความรุนแรง ในระหว่างเส้นทางไปทำเนียบรัฐบาล เขาพยายามนำทีมเพื่อจะเข้าไปให้ถึงทำเนียบรัฐบาล ตำรวจค้นตัวและพบ “ลูกบอล” และ “ระเบิดปิงปอง” ทำให้ถูกควบคุมตัวไปยังสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง

เมื่อเพื่อนทราบว่าตนถูกจับกุม ตำรวจจึงพาตัวไปยังสโมสรตำรวจ ซึ่งตอนย้ายตัวไป เจ้าหน้าที่ไม่บอกว่าจะพาไปไหน ภายหลังศาลตัดสินว่ามีระเบิดไว้ในครอบครอง ตนสู้มาตลอด สู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อ เพราะเชื่อว่าคดีของตนจะยกฟ้องแน่นอน ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 แต่สุดท้ายก็ติดคุกเพิ่มอีกสามอาทิตย์

“ผมเป็นสองคนแรกที่เข้าเรือนจำไปในช่วงปี 2566 ช่วงนั้นเป็นช่วงที่นักโทษการเมืองหลายคนได้รับการประกันตัว ผมนอนตื่นขึ้นมาในเรือนจำ ตื่นมาเห็นลูกกรง ผมพูดขึ้นมาว่าผมฝันไปรึเปล่า จนคู่คดีของผมตบหัวและพูดว่า นี่คือโลกความเป็นจริง สภาพในเรือนจำแย่มาก ผมอาบน้ำกับน้ำที่สกปรก ผิวผมแพ้ง่าย จนหลังผมเป็นผื่น”

เมื่อถามว่าครอบครัวรู้สึกยังไงบ้าง ถิรนัยเล่าว่า ตนอยู่กับย่ามาตั้งแต่เด็ก เมื่อถูกจับเข้าเรือนจำ ย่าก็ร้องไห้ตั้งแต่วันที่ผมเข้าเรือนจำไปจนถึงวันที่ตนได้รับการปล่อยตัว ครอบครัวตนหมดห่วงไม่ได้ เมื่อยิ่งมีกระแสที่ตนขัดแย้งกับคนในเรือนจำยิ่งทำให้พวกเขาเป็นห่วง

ถิรนัย ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2567 ตั้งแต่ได้รับการปล่อยตัว ถิรนัยยืนยันกับเพื่อนที่อยู่ในเรือนจำว่าตนจะไปร่วมเคลื่อนไหวกับเครือข่ายนิรโทษกรรม ตลอดเวลาที่อยู่ในเรือนจำตนนั่งพับนกเสรีภาพวันละตัวจนครบหนึ่งพันตัว บางทีโดนยึดเอาไปทิ้งบ้าง

“การเขียนจดหมายมาหานักโทษในเรือนจำเปรียบเหมือนดวงใจของคนที่อยู่ในเรือนจำ เรามักจะรอตลอดว่าแฟนเราจะเขียนมาหรือไม่ ครอบครัวจะเขียนมาหรือไม่ เพื่อนจะเขียนหรือไม่ เราพร้อมอ่าน เราพร้อมเขียนโต้กลับ” ถิรนัยเล่าในฐานะคนที่เคยอยู่ในเรือนจำ

เมื่อถามว่าอนาคตจะเป็นยังไงต่อไป ถิรนัยบอกว่า พื้นฐานคงอยากให้ประเทศนี้ดีกว่านี้ ไม่มีการทุจริต ตอนนี้ก็พยายามเรียนหนังสืออาจจะเป็นคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ความหวังตอนนี้ของคนที่อยู่ข้างในคือการนิรโทษกรรม ถิรนัยบอกว่า ยังเชื่อมั่นว่าจะมีการนิรโทษกรรมในอนาคตอยู่

“ผมอยากอ้อนวอนไปถึงพรรคเพื่อไทย ปล่อยเด็กเถอะครับ ให้เด็กกลับมาบ้านเถอะครับ เยาวชนทั้งนั้น มันใจร้ายเกินไป ในตอนนั้นคุณกับเราก็เดินเส้นเดียวกัน สู้ด้วยกัน” ถิรนัยกล่าวทิ้งท้าย

( https://www.ilaw.or.th/articles/47118?swcfpc=1)
(https://www.facebook.com/photo?fbid=957487703091516&set=a.625664036273886)


ลูกชายของ "สหายภูชนะ" ผู้ลี้ภัยที่ถูกพบเป็นศพถ่วงน้ำอยู่ในแม่น้ำโขง เล่าถึงพ่อของเขาในความทรงจำ และประสบการณ์ของเขาในวันที่ไปเดินทางตามสถานีตำรวจเพื่อตามหาความยุติธรรม

https://www.facebook.com/iLawClub/videos/853968763570388
.....

iLaw
a day ago
·
27 ตุลาคม 2567 เวลา 17.00 – 19.00 น. iLaw ร่วมกับ Kinjai Contemporary จัดวงพูดคุยในหัวข้อ “ชีวิตคนถูก “ซ่อน” และการต่อสู้เพื่อไม่ “หาย” ชวนฟังเรื่องราวเส้นทางชีวิตของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการดำเนินคดีทางการเมืองที่ถูก “ซ่อน” ระหว่างทางฝันของพวกเขาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้ดีกว่าเดิม
วันที่พบศพคนที่ลอยขึ้นมาบนแม่น้ำโขง กึกก้องเชื่อว่านี่คือศพของพ่อ ตนฝันเห็นภาพเหตุการณ์ทำนองนี้ เล่าให้แม่และภรรยาฟัง ช่วงนั้นเป็นช่วงที่กึกก้องติดต่อกับพ่อไม่ได้ ปกติตนไม่ค่อยดูรูปศพในข่าว ผมคุยกับเพื่อนผู้ลี้ภัย ซึ่งเขาก็ส่งรูปสุดท้ายของพ่อมาให้ ชุดในภาพกับชุดที่พบศพเป็นชุดเดียวกัน ทำให้รู้ได้ทันทีว่าเป็นศพของพ่อ จึงติดต่อเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอ ตนใช้ดีเอ็นเอของตนเพื่อตรวจสอบ แต่เจ้าหน้าที่ยังบังคับให้ตรวจดีเอ็นเอของแม่ด้วย กว่าที่ทางครอบครัวจะได้รับศพกลับก็ใช้เวลาไปกว่าสี่เดือน ช่วงนี้เป็นสี่เดือนที่วุ่นวายที่สุดในชีวิต
“แม่คิดเสมอว่าศพนั้นไม่ใช่พ่อ เมื่อไปเปิดศพดูมันไม่เหลือเค้าเดิมแล้ว เหลือเพียงเส้นผมนิดหน่อย แม่รู้ทันทีว่าคือพ่อ ครั้งนั้นเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมเห็นแม่ร้องไห้ แม่ยังคงส่งไลน์หาไลน์ของพ่อตลอดในวันนี้ ความใฝ่ฝันสูงสุดของคนเป็นลูกคือการได้ส่งพ่อ แต่เราไม่มีโอกาสนั้น” กึกก้องเล่า
หลังพิสูจน์ศพเสร็จสิ้นแล้วในช่วงปี 2562 กึกก้องเดินทางไปยังนครพนมเพื่อถามร้อยเวรเจ้าของคดีถึงความคืบหน้า แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าอะไร อัยการยุติการสอบสวนเพราะว่าไม่สามารถหาตัวผู้กระทำได้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ บังคับให้ญาติต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ ซึ่งในตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างว่าจะให้หน่วยงานไหนรับเป็นผู้ดูแลคดีนี้
ในอดีตคนที่อุ้มหายที่ผ่านมา เช่น หะยีสุหลง โต๊ะมีนา หรือทนายสมชาย นีละไพจิตร ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำผิดได้ ทุกคนมักจะถูกกล่าวหาว่าไปมีความเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เพื่อเบี่ยงประเด็นว่ารัฐไม่ใช่ผู้กระทำความผิดจนเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้เสียชีวิตหรือสูญหาย
“สิ่งเหล่านี้ขัดกับสามัญสำนึกผมตั้งแต่เด็กมาก ถ้าพ่อผมตาย คนแรกที่ผมจะไปบอกคือตำรวจ กลายเป็นว่ามันไปค้างเติ่งและเราต้องพิสูจน์ว่ารัฐเป็นผู้กระทำ” กึกก้องทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ilaw.or.th/articles/47118?swcfpc=1


“คดีตากใบ-คดีการเมือง-สิทธิชาติพันธ์” ความท้าทายของไทยในฐานะคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ”


29/10/2024
iLaw

25 ตุลาคม 2567 เวลา 18.30 – 21.00 น. องค์กรภาคประชาสังคม ประกอบด้วย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) และเครือข่ายนิรโทษกรรมประชาชน ร่วมจัดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ “ความรับผิดชอบต่อสิทธิมนุษยชน: ความท้าทายที่ยังคงอยู่ของไทยในที่นั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” ณ The Society Multi-Function เกสรวิลเลจ ร่วมเสวนาโดย เฝาซี ล่าเต๊ะ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, อัครชัย ชัยมณีการเกษ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, สัณหวรรษ ศรีสด คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล, อูเซ็ง ดอเลาะ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม และพรชิตา ฟ้าประทานไพร นักกิจกรรมเยาวชนจากหมู่บ้านชาติพันธุ์ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมีอภิสิทธิ์ ดุจดา นักข่าวจากรายการ Workpoint Today เป็นผู้ดำเนินการ และคาเทีย คริริซซี สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผู้กล่าวเปิดการเสวนาปัญหาสิทธิมนุษยชนไทย

พื้นที่ภาคประชาชนสังคมหดตัว นักกิจกรรมการเมืองไม่ได้รับการคุ้มครอง

คาเทีย คริริซซี จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เริ่มต้นการกล่าวเปิดจากการแสดงความยินดีต่อประเทศไทยที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยการได้รับเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยในการแสดงภาวะผู้นำในการยกระดับสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติตามหลักพันธกรณีระหว่างประเทศ ท่ามกลางความท้าทายและช่องว่างของสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยก็มีความคืบหน้าหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ การตรา พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและกระทำให้บุคคลสูญหาย ความก้าวหน้าด้านความหลากหลายทางเพศผ่านการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้มีการแสดงออกทางเพศสภาพได้อย่างเท่าเทียม การยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจากโครงการบัตรสุขภาพแห่งชาติ และข้อสำคัญ ประเทศไทยกำลังจะถอนข้อสงวนในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็กข้อ 22 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญและการเปิดโอกาสให้เด็กที่เป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้ไร้สัญชาติได้รับการคุ้มครอ

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีปัญหาและช่องว่างในสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะการปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนตามพันธกรณีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะพื้นที่ของภาคประชาสังคมที่หดตัวลงในประเทศไทย การขาดโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมของกลุ่มชนพื้นเมือง การประสบปัญหาในการทำงานเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของนักกิจกรรมทางการเมือง นักกฎหมาย ทนายความ หรือแม้แต่นักการเมือง

การใช้กฎหมายอาญาตามมาตรา 112, 116 และหมิ่นประมาทยังเป็นข้อกังวลหลักถึงมาตรฐานการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมสาธารณะ ขณะที่สถาบันตุลาการเองก็มีความสำคัญทั้งในระดับประเทศและสากลในการปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสร้างพื้นที่ปลอดภัย โดยเฉพาะการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ไม่เพียงแต่ปกป้องสิทธิของคนอื่น แต่ต้องสร้างถึงรูปแบบที่จะคุ้มครองการเจริญเติบโตของกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมถึงการเคารพสิทธิทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่รัฐบาลไทยเคยให้คำมั่นสัญญาไว้ ในการส่งเสริมให้กลุ่มคนผู้เปราะบางหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าร่วมในกระบวนการตัดสินใจ โดยเฉพาะในโครงการการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ

ขณะที่ด้านสภาพภูมิอากาศก็เป็นเรื่องอีกประการหนึ่ง ประเทศไทยกำลังพบกับปัญหาน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ประเทศไทยควรดำเนินการใช้มาตรการยับยั้งและป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผ่านการใช้กลไกด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ เช่น การเปิดโอกาสให้มีการใช้เครื่องมือจารีตประเพณีดั้งเดิมในการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และการเคารพและสร้างพื้นที่ภาคประชาชนที่เปิดกว้าง ปัญหาสำคัญสุดท้ายคือการลอยนวลพ้นผิด สิ่งนี้ส่งผลอย่างมากต่อความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ประเทศไทยต้องดำเนินการให้ผู้ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต้องรับผิดชอบหรือเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว เพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นจริงในสังคม

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ พร้อมอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการยกระดับและคุ้มครองมาตรฐานสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยในตำแหน่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่การปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศเท่านั้น หากแต่เป็นการสร้างสังคมที่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริง ดังที่ประเทศไทยเคยให้คำมั่นสัญญา

รัฐไทยต้องนิรโทษกรรมประชาชนและยุติการดำเนินคดีกับประชาชนเหมือนที่เคยให้สัญญาไว้

อัครชัย ชัยมณีการเกษ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า แม้ประเทศไทยจะได้รับการเลือกตั้งเป็นหนึ่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แต่ข้อเท็จจริงสำคัญ คือประเทศไทยยังอยู่ในวิกฤตการณ์ด้านเสรีภาพในการชุมนุมและแสดงออก โดยเห็นได้จากตัวเลขของจำนวนคดีทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นในปี 2563 ถึง 8 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้านั้น และแม้จะมีการเลือกตั้งและพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลแล้ว การดำเนินคดีทางการเมืองก็ยังคงไม่หมดสิ้นไป โดยจากสถิติ มีการดำเนินคดีกว่า 64 คดี และเป็นคดีตามมาตรา 112 จำนวน 29 คดี และยังมีอีก 734 คดีที่ยังไม่สิ้นสุด ผู้ต้องหาหลายคนยังคงต้องเดินทางไปรายงานตัว ไปศาล ไปอุทธรณ์ และยังมีผู้ต้องหาอีกจำนวนกว่า 37 คน ถูกขังอยู่ในเรือนจำ ณ ขณะนี้

คำถามคือ แล้วอย่างไรต่อ? รัฐบาลไทยจะเดินหน้าอย่างไรต่อ? โดยในช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้รับหนังสือและคำแนะนำจากกลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติแล้วอย่างน้อย 111 ฉบับ และอย่างน้อย 104 ฉบับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกและเสรีภาพในการชุมนุม ซึ่งในฉบับล่าสุดก็มีการระบุถ้อยคำอย่างชัดเจนว่า ผู้ชุมนุมไม่ควรถูกดำเนินคดีอาญาจากการชุมนุมและเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยุติการดำเนินคดีกับผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออก

ข้อเรียกร้องของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีความแตกต่างจากสิ่งที่กลไกของสหประชาชาติเรียกร้อง รัฐบาลไทยในฐานะคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจะต้องยุติการดำเนินคดีการเมืองและตรากฎหมายนิรโทษกรรมประชาชน ปล่อยตัวผู้ต้องขังการเมือง และยุติการดำเนินคดีกับเด็กและเยาวชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ดังที่เคยได้ให้คำมั่นสัญญาต่อประชาคมโลกในช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้งดังกล่าว

รัฐบาลไทยรับรู้นานาชาติเรียกร้องยกเลิก/แก้ไข ม.112 มาโดยตลอด แต่ไม่ปฏิบัติตาม

เฝาซี ล่าเต๊ะ จากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ก็นำเสนอข้อมูลสอดคล้องกับอัครชัยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยการใช้มาตรการทางกฎหมายของรัฐยังคงไม่หมดสิ้นไป ซึ่งที่จริงแล้ว แม้ในช่วงรัฐบาลของพรรคเพื่อไทยจะมีสถิติการดำเนินคดีน้อยลง แต่สาเหตุก็เป็นไปเพราะมีการชุมนุมที่น้อยลงด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ผ่านมา

เฝาซี กล่าวว่า ตนอยากจะเน้นย้ำเรื่องกฎหมายมาตรา 112 เป็นพิเศษ กฎหมายนี้ไม่ได้เพิ่งถูกนำมาใช้กับสังคมไทย หากแต่ถูกนำมาใช้มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน ในช่วงสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ มีการนำมาตรา 112 มาใช้อย่างมีนัยยะสำคัญ ไม่เว้นแม้แต่การแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์ ด้วยช่องว่างของมาตรา 112 ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถเข้ามาฟ้องคดีได้ และในขณะนี้ ผู้ถูกคุมขังทางการเมืองที่ถูกคุมคุมขังอยู่กว่าครึ่งหนึ่งก็มาจากคดีในข้อหาตามมาตรา 112

ในการประชุม UPR (Universal Periodic Review) รอบที่ 3 ของสหประชาชาติ นานาชาติเองก็ต่างเรียกร้องให้รัฐบาลไทยทบทวนและแก้ไขหรือยกเลิกมาตรา 112 โดยนำเสนอเป็นข้อเสนอแนะจำนวน 12 ข้อ ซึ่งรัฐบาลไทยได้แสดงเจตจำนงว่ารับทราบแต่ไม่ผูกมัดที่จะปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ ก็มีการรายงานแสดงความกังวลถึงประเทศไทย เกี่ยวกับการใช้มาตรา 112 เป็นจดหมายคำแนะนำถึง 23 ฉบับ ระบุทำนองเดียวกันว่า ตัวบทกฎหมายตามมาตรา 112 มีความคลุมเครือ อัตราโทษไม่ได้สัดส่วนและไม่เป็นไปตามหลักการสิทธิมนุษยชนในความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 37 (General Comment) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)

วันสุดท้ายของอายุความ 20 ปี เหตุการณ์ตากใบ ผู้เสียหายและญาติยังคงรอคอยคำขอโทษ

อูเซ็ง ดอเลาะ ทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม เล่าถึงจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ตากใบที่สืบเนื่องมาจากการใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการเข้าควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องมีหมายจับกุมหรือการตรวจสอบโดยศาล ส่งผลให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจของเจ้าหน้าที่และนำไปสู่การคุกคามและกดดันผู้ต้องสงสัย ญาติพี่น้องและจำเลยในคดีความมั่นคงต่าง ๆ

เหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้า สภ.ตากใบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความรุนแรงและความเสียหายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เสียชีวิตกว่า 85 คน และผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 1,300 คน โดยมีหลักฐานปรากฎว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีการใช้กระสุนจริงยิงเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมและควบคุมตัวผู้ชุมนุมจำนวนมากไปยังค่ายทหาร ส่งผลให้มีเหยื่อหลายรายเสียชีวิตจากการถูกยิงที่บริเวณศีรษะ และที่สำคัญคือการขนย้ายผู้ชุมนุม ซึ่งวิธีใช้ในการลำเลียงนั้นน่าสนใจมาก เพราะทุกคน รวมถึงญาติของผู้เสียชีวิตจนทุกวันนี้ก็ยังคงไม่เข้าใจว่าเขาคิดกันอย่างไรถึงใช้วิธีการลำเลียงผู้ชุมนุมแบบนั้น

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาครบรอบ 20 ปี เหตุการณ์ตากใบ และครบ 20 ปีของอายุความ พวกเราเองและญาติผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บ ก็รออยู่ว่าจำเลยจะปรากฎตัวหรือไม่ จะมีการตามจับกุมจำเลยมาเข้าสู่กระบวนการพิจารณาหรือไม่ แต่ถ้าหากไม่มา คดีก็จะหมดอายุความ การนำตัวผู้ต้องหามาลงโทษตามกฎหมายก็อาจจะไม่สามารถกระทำได้ ทุกวันนี้ญาติผู้เสียชีวิตทุกคนก็ยังคงรอคอยคำแถลง คำขอโทษ หรือคำแสดงความเสียใจจากผู้รับผิดชอบ รวมถึงการปรับปรุงมาตรการหรือวิธีการในอนาคตเพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้อีก ไม่ว่าพื้นที่ใดก็ตาม โดยต้องให้ความสำคัญกับคุณค่าความเป็นมนุษย์ของคนทุกคน

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน เครื่องมือฟอกขาวของรัฐไทย แต่ความจริงมองคนไม่เท่ากัน พลเมืองชั้นสองไม่ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียม

พรชิตา ฟ้าประทานไพร เริ่มต้นจากการอธิบายถึงสภาพภูมิศาสตร์และบริบทของหมู่บ้านกะเบอะดิน ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่พรชิตาเติบโตและอาศัยอยู่ หมู่บ้านกะเบอะดินตั้งอยู่ในตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ผู้อาศัยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเอะญอและประกอบอาชีพเกษตรกร เป็นหมู่บ้านที่สุขสงบและอุดมสมบูรณ์ จนกระทั่งเมื่อราวปี 2562 คนในหมู่บ้านเริ่มได้รับข้อมูลของโครงการก่อสร้างเหมืองแร่ขนาดใหญ่ในพื้นที่อมก๋อย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ พวกเขาจึงได้ออกมาต่อต้านเรื่องนี้เพื่อปกป้องวิถีชีวิตของเขา

พวกเรา (ชาวบ้านหมู่บ้านกะเบอดิน) เริ่มต้นจากการสื่อสารเรื่องราวของพวกเรา บริบทและการต่อสู้ที่ผ่านมา ถ่ายทอดออกไปสู่สายตาของคนภายนอก เพื่อให้พวกเขาเข้าใจว่าทำไมชาวบ้านกะเบอะดินถึงต้องลุกขึ้นมาสู้กับเหมืองแร่ถ่านหิน ขั้นตอนต่อมาคือการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมและออกมาช่วยกันยืนหยัดต่อสู้เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของตนเอง และเราก็ยังได้ใช้กระบวนการยุติธรรม ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อเพิกถอน EIA (รายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม) เนื่องจากเราตรวจพบว่า EIA ที่บริษัทเหมืองแร่ฯ ทำขึ้นนั้นไม่ถูกต้อง บิดเบือนข้อมูล ไม่เป็นไปตามความจริง

ส่วนคำถามว่าประเทศไทยได้รับที่นั่งในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนนั้นจะช่วยแก้ไขปัญหาของชาวอมก๋อยอย่างไร พรชิตาเห็นว่าก็ยังมีผลน้อยมาก เพราะปัจจุบันเอง ประเทศไทยก็ยังไม่มีกฎหมายที่คุ้มครองวิถีชีวิตของคนกลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะมีการพูดถึงอยู่บ้างตามอนุสัญญาฯ หรือตามปฏิญญาสากลฯ พวกเรายังถูกมองว่าเป็นพลเมืองชั้นสองหรือชั้นสาม เรื่องนี้เราไม่ได้พูดเอง แต่เวลาที่เราสื่อสารกับคนข้างนอก พวกเขาก็บอกว่าเห็นพวกเราเป็นแบบนั้นเหมือนกัน พวกเราถูกกล่าวหาถูกตีตราว่าสกปรก ค้ายาเสพติด ทำลายป่า อย่างในช่วงที่ผ่านมา มีคนบอกว่าเราเป็นสาเหตุของน้ำท่วม แต่เรามองว่าปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากเรา หากแต่เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พวกเขาไม่ควรจะบอกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ทำให้เกิดน้ำท่วม

หากรัฐเห็นว่าสิทธิมนุษยสำคัญจริง ๆ เราก็อยากให้รัฐส่งเสริม สนับสนุน และให้โอกาสคนกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเท่าเทียมเหมือนกับที่กลุ่มพลเมือง ๆ อื่นได้รับ และอีกหนึ่งปัญหาที่คนไม่ค่อยเอ่ยถึง คือ กฎหมายที่รัฐอนุญาตให้กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เข้าไปทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ได้ โดยไม่ได้เปิดให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจหรือแม้แต่ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพวกเขา

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อาจเป็นเพียงเครื่องมือที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับประเทศไทย ว่ารัฐไทยเคารพสิทธิมนุษยชน แต่เราจะอยากบอกว่า ในบริบทของชุมชนของเรา เรายังประสบปัญหา ยังมีความเหลื่อมล้ำที่ขัดต่อสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่เข้ามาทำในพื้นที่ของเรา คำถามของเราคือ รัฐไทยจะมีกลไกใดมาช่วยสร้างความชอบธรรมและขยายโอกาสของประชาชนในพื้นที่ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและสมกับการเป็นพลเมือง

เหตุการณ์ตากใบอายุความไม่ควรถูกนำมาใช้ปฏิเสธความยุติธรรม โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ผู้อาศัยต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

สัณหวรรษ ศรีสด จากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล เริ่มต้นอธิบายว่า กลไกสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติมีอยู่ด้วยกันหลากหลายกลไก หนึ่งในกลไกเหล่านั้นคือ กลไกพิเศษสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือที่รู้จักกันในชื่อ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทย ต่อจากนี้เองก็จะได้รับและมีบทบาทเป็นผู้ร่วมคัดเลือกผู้รายงานพิเศษ แต่งตั้ง รับรายงาน และพิจารณารายงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของพวกเขา

ซึ่งผู้รายงานพิเศษนี้เองเพิ่งได้ออกจดหมายถึงรัฐบาลไทยกรณีเหตุการณ์ตากใบล่าสุด ในช่วงเมื่อวานที่ผ่านมา โดยมีความน่าสนใจหลายประการ ประการแรกคือรายงานดังกล่าวระบุว่า อายุความ ไม่สามารถถูกนำมาใช้ในการปฏิเสธความยุติธรรมแก่ผู้เสียหายจากกรณีเหตุการณ์ตากใบได้ และทางผู้รายงานพิเศษฯ ขอเน้นย้ำว่า ตามมาตรฐานกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศนั้น การชดเชยเยียวยาความเสียหายไม่อาจหยุดลงเพียงเพราะเวลาผ่านไป และความล้มเหลวในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เองก็เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในตนเอง พร้อมเสนอแนะให้ควรมีการแก้ไขกฎหมายอายุความ โดยเฉพาะในกรณีของการซ้อมทรมานหรือบังคับสูญหายไม่ให้มีอายุความ

สัณหวรรษ ยังอธิบายต่อไปว่า หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2560 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็เคยออกข้อสังเกตเชิงสรุปว่าตรวจพบการทรมานและการปฏิบัติที่โหดร้าย การวิสามัญฆาตกรรม การบังคับสูญหายและการลอยนวลพ้นผิดไม่ต้องรับโทษที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้มีข้อเสนอแนะว่าจะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมในเรื่องนี้ รวมถึงการดำเนินคดีอย่างเป็นกลาง และการสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมารับผิดชอบ หากเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ประเทศไทยเราได้รับรายงานเรื่องพวกนี้มานานแล้ว และในด้านการดำเนินการ เราเองก็มีความพยายาม มีการเขียนแผนแม่บท เขียนแผนพัฒนา มีการเขียนเอกสารกันภายใน แต่เมื่อลงไปพื้นที่จริง ๆ มันเกิดปัญหาในขั้นปฏิบัติการ ปัญหาส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข อีกจุดหนึ่งที่เราอาจจะสามารถดูได้ คือรายงานการดำเนินการของเราที่ต้องยื่นส่งตามกลไกสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ที่มักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราต้องคอยติดตามกันต่อไป

กรมองค์กรระหว่างประเทศหวังว่าจะสามารถนำพัฒนาการสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศมาใช้กับประเทศไทย

ตัวแทนจากกรมองค์กรระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนจากกรมองค์กรระหว่างประเทศ ก็ขอแจ้งรับทราบความคิดเห็นของทุกท่านในวันนี้ ที่ผ่านมากระทรวงต่างประเทศก็พยายามมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งในมุมมองของกระทรวงต่างประเทศ การที่เป็นประเทศไทยได้รับเลือกเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็จะช่วยส่งเสริมการตระหนักรู้ถึงสิทธิมนุษยชน ทั้งในส่วนของภาครัฐและสาธารณชนของประเทศไทย เพื่อที่เราจะได้ร่วมทำงานกันอย่างเข้มแข็งต่อไป

และในเดือนหน้านี้ ประเทศไทยเองก็จะได้ต้อนรับการมาเยือนอย่างเป็นทางการของสองกลไกพิเศษแห่งสหประชาชาติ คือ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติในประเด็นการเลือกปฏิบัติต่อเด็กหญิง และผู้รายงานพิเศษทางด้านสิทธิสุขภาพ และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถนำพัฒนาการสิทธิของมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศมาบังคับใช้กับประเทศไทย ท่ามกลางสภาพการณ์ความท้าทายใหม่จากบริบทด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่เป็นพัฒนาการใหม่ในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนในการนำแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศไทยที่ได้คิดค้นขึ้นเพื่อนำไปแบ่งปันในเวทีระดับประเทศ เช่น ประเด็นด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองดูแลผู้ต้องขังหญิง บัตรสุขภาพ เป็นต้น

(https://www.ilaw.or.th/articles/47295)
(https://www.facebook.com/photo?fbid=957610646412555&set=a.625664032940553)


บันทึกจากห้องพิจารณาคดีที่ 707 : รอยกรีด 112 บนหน้าอก #เก็ทโสภณ ประท้วงกระบวนการยุติธรรมและปัญหาของมาตรา 112

 
30/10/2567
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2567 เวลา 09.36 น.

ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 707 ศาลอาญา

กับรอยเลือดบนหน้าอก “เก็ท” โสภณ ที่ถูกกรีดเป็นคำว่า ‘112’

_____________________________

ช่วงเช้าของวันที่ 29 ต.ค. 2567 ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาในคดีมาตรา 112 ของ “เก็ท” โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง นักกิจกรรมกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ จากเหตุปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการจัดการวัคซีนโควิด-19 และการใช้งบประมาณของสถาบันกษัตริย์ ในวันแรงงานสากลปี 2565 ภายใต้กิจกรรม #แจกน้ำยาให้หมามันกิน

เก็ทถูกเบิกตัวมาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มายังห้องพิจารณาคดี แต่ก่อนที่ศาลจะเริ่มอ่านคำพิพากษา เก็ทเดินเข้าไปในคอกพยาน และขออนุญาตศาลแถลงบางอย่าง ก่อนที่ศาลจะอ่านคำพิพากษา เสียงพูดคุยในห้องก็เริ่มเงียบลง ทุกสายตาในห้องพิจารณาคดีจ้องมาที่เก็ท

เก็ทยืนตรง สายตามองไปที่ผู้พิพากษา และถอดเสื้อนักโทษสีน้ำตาลออก แต่มีสิ่งหนึ่งที่แปลกตาไป นั่นคือมีรอยแผลจากการกรีดบริเวณหน้าอก เป็นตัวเลข 112 ก่อนเขาเริ่มเอ่ยคำแถลงมีเนื้อหาที่พอจดบันทึกได้

“..ท่านอาจมองว่าการถอดเสื้อเป็นเรื่องไร้มารยาท การเอามีดมากรีดอกเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ถ้าท่านเห็นว่าสิ่งที่ผมทำเป็นเรื่องผิดปกติ มีสิ่งที่ผิดปกติกว่านั้น

“การจับคนเข้าคุกไปดำเนินคดี การที่ใช้มาตรา 112 มากกว่า 300 คน ทั้งที่สำนักพระราชวังไม่ได้ฟ้อง สถาบันกษัตริย์ไม่ได้เป็นโจทก์ร่วม ในการพิจารณาคดีมีสิ่งผิดปกติมากมาย บางคนไม่ได้สิทธิประกันตัว บางคนโดนถอนประกัน

“เวลาที่ศาลตัดสิน สมเหตุสมผลกับพฤติการณ์หรือไม่ บางครั้งเราแสดงความเห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ทำไมโทษถึงหนัก อย่างที่อานนท์โดนโทษจำคุกสี่ปี

“อย่างที่ท่านกำลังจะตัดสินผมวันนี้ ท่านไม่ได้แค่ทำร้ายผม แต่ทำร้ายครอบครัวผม คนรักผม และเพื่อนผมด้วย

“ท่านกำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับสังคม เราจะอยู่กันอย่างไรถ้าเราหยิบความจริงมาพูดกันไม่ได้ แสดงความเห็นไม่ได้ แม้ว่ามันจะมีประโยชน์ต่อสาธารณชน แต่ถ้ามันเกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์

“ผมให้ความเคารพท่าน ไม่ใช่แค่ฐานะผู้พิพากษา แต่เป็นสถาบันตุลาการด้วย ท่านไม่ใช่แค่ศาลใต้พระปรมาภิไธยเท่านั้น ท่านศักดิ์สิทธิ์ในนามสถาบันตุลาการ สามารถชี้ผิดชี้ถูกได้

“ผมอยากให้คำตัดสินของท่านวันนี้สั่งสอนผม และประชาชนที่มาสังเกตการณ์วันนี้ ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกหรือผิด และประชาชนไทยมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นเท่าไหร่

“ผมใช้มีดกรีดอกตัวเอง แต่ละแผลมันเจ็บมาก แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรให้ท่านรู้ว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง เด็กอย่างรุ่นผมคิดได้ ท่านก็ต้องคิดได้ว่ามาตรา 112 มีปัญหา ตั้งแต่การดำเนินคดี การฟ้อง และการพิพากษา

“ท่านผู้พิพากษามีศักดิ์และสิทธิในการแก้ปัญหาความผิดปกตินี้ที่มันเกิดขึ้น แต่ถ้าท่านเพิกเฉย มองว่าเป็นเรื่องปกติ ทำตามหน้าที่ มันก็คือการหล่อเลี้ยงปัญหาที่เกิดขึ้น

“วันนี้ท่านจะพิพากษาผมยังไงก็แล้วแต่ แต่ผมยืนยันว่ามาตรา 112 มีปัญหา

“เวลาผมนอนอยู่ในคุก ไม่ทำอะไร เดี๋ยวก็พรุ่งนี้ เดือนหน้า หรือปีหน้า เวลาเปลี่ยน สังคมไม่ได้เปลี่ยน สังคมมันเปลี่ยนแปลงเพราะคน

“ผมชื่นชม ถ้าท่านยึดมั่นในอุดมการณ์ พิพากษาอย่างเป็นกลาง ปราศจากอคติ แต่ผู้พิพากษาอีกหลายคนที่ไม่ได้ทำอย่างนั้น แต่เมื่อใส่ชุดครุยแล้ว ก็ควรที่จะไม่มีอคติ

“อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน เมื่อท่านถอดชุดครุยก็เป็นประชาชนเหมือนกัน”

_____________________________

ในคดีนี้ ศาลพิพากษาว่าเก็ทมีความผิดฐาน “หมิ่นประมาทกษัตริย์” ตามมาตรา 112

ลงโทษจำคุกใน 3 ปี ก่อนลดเหลือ 2 ปี เนื่องจากให้การเป็นประโยชน์

หลังศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เสียงบทสนทนาในห้องก็เริ่มดังขึ้นเรื่อย ๆ เก็ทหันหลังกลับไปหาประชาชนหลายสิบคนที่นั่งอยู่ในห้อง หลายคนก็เดินมาให้กำลังใจ สวมกอด ถามไถ่เกี่ยวกับรอยกรีดตัวเลขนั้น ในขณะที่บางคนก็นั่งมองอยู่ห่าง ๆ และบางคนก็ร้องไห้ออกมา

หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เตรียมพาตัวเก็ทออกจากห้องพิจารณา เขาต้องบอกลาเพื่อน ครอบครัว รวมไปถึงคนรักอีกครั้งหนึ่ง

แทนที่จะได้กลับบ้าน เก็ทต้องกลับไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ที่เขาถูกคุมขังมาแล้ว 1 ปี 2 เดือนเศษ ขณะก็ถูกนับโทษจำคุกรวมทั้งหมดในสามคดีเป็น 8 ปี 6 เดือน

_____________________________

ทางด้านเพจของ “เก็ท” ยังได้โพสต์ข้อความสองชิ้น ที่เขาเขียนสะท้อนถึงเจตจำนงของตน

“ตอนผมกรีดอก แต่ละแผลเจ็บมาก แต่ผมก็แค่คิดว่าต้องทำอะไรซักอย่าง ทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ผู้มีอำนาจตระหนักว่ากระบวนการยุติธรรม และ 112 มีปัญหา ผมอยากทำให้ตุลาการและผู้มีอำนาจตาสว่าง ว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น ผมควบคุมชีวิตของผมเอง ไม่มีใครบังคับบงการชีวิตผมได้เฉกเช่นคนทุกคน เรามีเจตจำนงเสรี…”

โสภณ

29 ตุลาคม 2567

เครดิตจาก เฟซบุ๊ก Get Surariddhidhamrong
.

“ทุกคนมีเจตจำนงเสรีเป็นของตัวเองอยู่แล้ว เรื่องชนชั้นวรรณะเป็นเรื่องที่อุปโลกกันขึ้นมาเอง แท้จริงแล้วทุกคนล้วนมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่ากัน เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไง ถ้าเราไม่สามารถพูดกันได้อย่างจริงใจ ไม่สามารถพูดคุยกันได้อย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ ในเมื่อกษัตริย์อยู่ร่วมกันกับคนในสังคม เราก็ควรจะพูดถึงสถาบันกษัตริย์ได้ สังคมที่เคารพความเป็นคนและเป็นประชาธิปไตยควรจะเป็นอย่างนั้น การที่โดน 112 อย่างนี้นับวันก็ยิ่งชัดว่าเป็นปัญหา”

โสภณ
29 ตุลาคม 2567

.



เครดิตจาก เฟซบุ๊ก Get Surariddhidhamrong

(อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/70828)
(https://www.facebook.com/photo/?fbid=962805055689965&set=a.656922399611567)



มติชนฉบับ 25 ต.ค.ที่ผ่านมาจับประเด็นได้ดีมาก ผู้เขียนชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง #ตากใบ กับ #รัฐไทย อย่างตรงไปตรงมา รัฐจะมีความหมายอะไร หากมีผู้ใช้อำนาจรัฐฆ่าประชาชนแล้วลอยนวลพ้นผิด เพราะ #ความมั่นคงของชาติ ?


Romadon Panjor - รอมฎอน ปันจอร์
5 hours ago
·
มติชนฉบับ 25 ต.ค.ที่ผ่านมาจับประเด็นได้ดีมากครับ ผู้เขียนชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่าง #ตากใบ กับ #รัฐไทย จับความต่างระหว่างผมกับ อ.สุรชาติ บำรุงสุข ได้อย่างแม่นยำ เพราะความหมายของ #ความมั่นคงของชาติ ที่มีจุดเน้นต่างกัน เป็นผมเองที่จงใจท้าทายกรอบคิดแบบ อ.สุรชาติ อย่างตรงไปตรงมา รัฐจะมีความหมายอะไร หากมีผู้ใช้อำนาจรัฐฆ่าประชาชนแล้วลอยนวลพ้นผิด
อันที่จริง การถกเถียงกันด้วยความรู้นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ เห็นต่างได้ และถกเถียงได้ครับ
แต่ปรากฎการณ์ #คดีตากใบ ในช่วงโค้งสุดท้ายของอายุความมีเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างมาก เพราะ อ.สุรชาติ ให้ข้อมูลและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคดีต่อสาธารณะที่คลาดเคลื่อนไปอย่างน่าตกใจ จนอดคิดไม่ได้ว่าเราควรต้องประเมินงานวิชาการของแกใหม่อย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าข้อเสนอที่เคยมีมาก่อนหน้านี้วางอยู่บนข้อเท็จจริงพื้นฐานที่เที่ยงตรงมากพอครับ


อ.จรัล ไปอเมริการอบนี้ ไป update สถานการณ์การเมืองไทยกับเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศอเมริกา และองค์กรอื่นๆที่สนใจไทย แต่ไม่ลืมไปสังเกตุการณ์การเลือกตั้งประธานาธิปดีอเมริกา


Jaran Ditapichai
a day ago
·
เช้านี้ ไปupdate สถานการณ์ประเทศไทยกับเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศอเมริกา
...
โดยร้องขอให้สหรัฐดำเนินการ 3 ข้อ

1. เสนอรัฐบาลไทยเร่งจัดทำรัฐธรรมนูญฉบบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย
2. ยุติการใช้ปรเมวลกฎหมายอาญามาตรา112 ( lèse majestè ) ปราบปรามนักศึกษาประชาชน
3. นิรโืษกรรมผู้ถูกคดีทางการเมืองทุกคดี

Thailand Situation Update

1. Since the election on May 14, 2023, Thailand has entered a certain level of democracy, but it is not normal. The political party that won the most seats, 151 seats, the Move Forward Party, could not form a government because it needed at least 76 votes from the Senate which was appointed by the junta. Then, the Pheu Thai Party teamed up with the same political groups and the military that overthrew its government in 2014 with businessman Settha Thavisin as prime minister.

This unholy alliance broke months of political deadlock. But political irregularities occurred again. The Constitutional Court ruled that there were ethical issues in the Settha government, so the Prime Minister was removed from office. Paetongtarn Shinawatra, Thaksin's daughter, became prime minister and formed a coalition government with loyalty and the same political groups. Criticism and opposition to the Paethongtarn government continued for breaking the promises during the elections that it will not join force with the same political groups that were part of the junta government.

2. An abnormal situation occurred again. The Constitutional Court dissolved the Move Forward Party on August 7, 2024, but this party immediately established a new party called the Prachachon Party (People’s Party). It remains the largest opposition party, causing the government party, the elite, and King Vajiralongkorn to join forces to obstruct the Prachachon Party in every way possible. it is possible that the Prachachon Party will be dissolved before the next election and using military coup can not be ruled out to protect the ruling elite.

3. The Paethongtarn government, like the previous one, used the method of stalling for time avoiding the issue that it once promised to issue amnesty bills to include all political defendants. But later confirmed that there will be no amnesty for Section 112 cases in the amnesty bill.

Also the Paethongtarn government keeps delaying the drafting of a new constitution. As of today, the referendum bill for the drafting of the constitution has not been completed. It is expected that both the amnesty and the drafting of the new constitution will have to wait at least another year.

4. King Vajiralongkorn continues to expand his power, almost to the point of absolute monarchy, which is the reason why this government and parliament do not dare to do anything to affect the king’s authority and palace wishes. Les Majeste law continues to be used in force and the people do not dare to criticize the king like before, fearing being charged under Section 112. Students and people still charged and arrested under Section 112. 42 people have been arrested and imprisoned so far, including Human Rights lawyer Anon Nampa.

5. This is a critical time for the U.S. government to show support for Thai democracy. The Pheu Thai Party that was once admired by many Thais is now no more. The hope and admiration for genuine democracy is now with the People’s Party.

I would like to ask the United States to put pressure on the Paetongtarn and Thai Parliament that:

1. Propose that the Thai government speed up the drafting of a new democratic constitution.

2. Stop using Section 112 of the Criminal Code (lèse majestè) to suppress students and people's freedom of expression and speech.

3. Amnesty for all political defendants.

Jaran Ditapichai
Former president of the Thai Democrat Without Border Association

.....


Jaran Ditapichai
2 hours ago
·
เมื่อเย็นวาน ไปฟังปราศรัยของกมรา แฮร์ริสที่หน้าทำเนียบขาว ช่วยถือป้ายเรียกร้องสหรัฐอเมคิกาเบิกส่งอาสุธให้อิสราเอล มีผู้ไปร่วมเก่อบ3 หมื่นคน
อึก5 วันจะเลือกตั้ง โพลยังสูสีแบบหายใจรดต้นคอ 49-48