วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2567

ร่วมรำลึก 50 ปีสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย

https://www.facebook.com/sakdina.chatrakulnaayudhya/videos/1080022170513872
.....

โครงการบันทึกประวัติศาสตร์สหพันธ์ชาวนาชาวไร่ฯ
2d ·

กำหนดการอัพเดธ เส้นทางชาวนาไทย: รำลึก 50 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย
วันที่ 23-24 พฤศจิกายน 2567 คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่
การอภิปราย การวางพวงมาลารำลึกและสดุดีวีรชน
นิทรรศการ หนังสือ ภาพยนตร์ ดนตรี
.
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2567
09.15 – 09.30 น. กล่าวเปิดและกล่าววัตถุประสงค์การจัดงาน
ศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ประธานโครงการเส้นทางชาวนาไทย
.
09.30 – 10.15 น. ปาฐกถา อนาคตสังคมไทย อนาคตชนชั้นนำ-ชนชั้นกลาง-สามัญชน
รศ.ดร.กนกรัตน์ เลิศชูสกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
10.30 – 12.30 น. เส้นทางชาวนาไทย จากสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ถึงขบวนการทางสังคมร่วมสมัย :
การเปลี่ยนแปลงและการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์ชนชั้นชาวนา?
ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตกแต่ง สมาชิกวุฒิสภา
รศ.ดร.สมชัย ภัทรธนานันท์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ประธานโครงการเส้นทางชาวนาไทย
ดำเนินรายการ
ผศ.ดร.มาลินี คุ้มสุภา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
13.30 – 13.40 น. สารคดี ข้าวกับชาวนา ไทยพีบีเอส (ภาคเหนือ)
13.40 – 15.00 น. ทบทวนประวัติศาสตร์ ความทรงจำ และบทเรียนของสหพันธ์ชาวนาฯ : จากปากคำผู้ปฏิบัติงานโครงงานชาวนาฯ
จีรวรรณ โสดาวัฒน์ องค์กรด้านการพัฒนาสังคม
รศ.รังสรรค์ จันต๊ะ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
รังสรรค์ แสนสองแคว สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ
วิไล รัตนเวียงผา ชาวนา อ.ไชยปราการ เชียงใหม่
สมศักดิ์ โยอินชัย อดีตผู้แทนเกษตรกรกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ดำเนินรายการ
รศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
15.00 – 16.30 น. การต่อสู้ทางวัฒนธรรม การต่อต้านระเบียบอำนาจจารีตจากชาวนาสู่ราษฎรร่วมสมัย
พัชชา ชัยมงคลทรัพย์ ILAW
เวียง วชิระ บัวสนธ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน
สินา วิทยวิโรจน์ TUNE & Co
สุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งราษฎร์
อธิคม คุณาวุฒิ Way Magazine
ดำเนินรายการ
ชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ รายการสภาความคิด
16.30 – 17.30 น. สารคดีชาวนา “พลิกผืนดิน” การต่อสู้ของชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ 2517-2519
ผศ.ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
18.00 – 20.30 น. ดนตรี อารักษ์ อาภากาศ, ดาวเหนือ, สามัญชน
ร่วมร้องเพลงอาลัยพ่อหลวงอินถา
.
วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2567
08.00 – 10.00 น. กิจกรรมรำลึกวีรชนสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย พิธีวางพวงมาลาและกล่าวสดุดีวีรชนสหพันธ์ชาวนา
09.00 – 09.05 น. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
09.06 – 09.11 น. เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ตัวแทนผู้นำฝ่ายค้าน
09.12 – 09.17 น. กัลยา ใหญ่ประสาน สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดลำพูน
09.18 – 09.23 น. ปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
09.24 – 09.29 น. พะตีตาแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ผู้แทนองค์กรเกษตรกรและสิทธิชุมชน
09.30 – 09.35 น. กิติศักดิ์ จันทร์ใหม่ ผู้แทนองค์กรประชาธิปไตย
09.36 – 09.41 น. ศุภลักษณ์ บำรุงกิจ ผู้แทนองค์กรแรงงาน
09.42 – 09.47 น. คุณานนต์ คุณานุวัฒน์ ผู้แทนองค์กรเยาวชนนักเรียนนิสิตนักศึกษา
09.48 – 09.53 น. จีรวรรณ โสดาวัฒน์ ผู้แทนญาติวีรชนสหพันธ์ชาวนาฯ
.
10.15-12.15 น. เสวนา เหลียวหลังแลหน้า ภารกิจแห่งอนาคตของขบวนการประชาชน การต่อสู้ทางชนชั้น การเมืองมวลชน การเมืองรัฐสภา
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม ธีรเนตร ไชยสุวรรณ
เครือข่ายเด็กเท่ากัน สุนี ไชยรส
เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ พรชิตา ฟ้าประทานไพร
เครือข่ายสลัม 4 ภาค นันทชาติ หนูศรีแก้ว
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์
สมัชชาคนจน บุญยืน สุขใหม่
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ สุรพล สงฆรักษ์
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ จรัสศรี จันทร์อ้าย
สหภาพแรงงานบาริสต้า ศุภลักษณ์ บำรุงกิจ
นักศึกษาภาคเหนือ คุณานนต์ คุณานุวัฒน์
ดำเนินรายการ
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ เครือข่ายรัฐสวัสดิการ We Fair
วิศรุต ศรีจันทร์ มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ
.
13.15 – 15.15 น. เสวนา ฉากทัศน์การเมืองไทย ฉากทัศน์สามัญชน 2570
จินตนาการสังคมไทยหลังรัฐบาลแพทองธาร
รศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชัยธวัช ตุลาธน คณะก้าวหน้า
ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ
ดำเนินรายการ
ดร.พิสิษฏ์ นาสี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
15.15– 15.30 น. ประกาศเจตนารมณ์ “ชาวนาและอนาคตสังคมไทย”
.
พิธีกรงาน พชร คำชำนาญ และ ศิรินทร์ทิพย์ สิริจริยา
.
ร่วมสมทบทุนการจัดงานได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย 185-8-99673-9
น.ส. กัญญรัตน์ ตุ้มปามา และ นาย สุแก้ว ฟุงฟู และ น.ส. จรัสศรี จันทร์อ้าย

(https://www.facebook.com/farmerfederation2017/posts/pfbid02WwgiSfzzNVsHXxAPTw8MAjeiRQNKdt7YhGmLBveK8vdCqsRa5Yejw314oN4KxVGCl?ref=embed_post)



ด้วยเลือดและนํ้าตาของสามัญชน 19 พฤศจิกายน ครบ 50 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517


Suchart Sawadsri shared a memory.
2d ·

ด้วยเลือดและนํ้าตาของสามัญชน
วันนี้ครบ 50 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย
ที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517

Nitirat Zapatista
November 19, 2015 ·

ปฏิทินประวัติศาสตร์สามัญชน
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๗
#การก่อตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (สชท.)
ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของชาวนาไทยในอดีต มีมาหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่ กบฎผู้มีบุญภาคอีสาน กบฎเงี้ยวเมืองแพร่ กบฏคูซอด การเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไท ขบวนการสันติภาพ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จนกระทั่ง มีการก่อตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (สชท.) เมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๗
.............
การลุกขึ้นสู้ของชาวนาชาวไร่ ในนาม "สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย" ภายใต้คำขวัญว่า "ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ" และ "กฎหมายต้องเป็นธรรม" นับเป็นคุณูปการครั้งสำคัญที่สามารถปลุกจิตสำนึกการต่อสู้ และรวบรวมพลังชาวนาชาวไร่ได้อย่างมีเอกภาพ
.............
การลุกขึ้นสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) สหพันธ์นักศึกษาเสรี พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย รวมทั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้สร้างแรงกดดันและความหวาดกลัวต่ออำนาจรัฐและทุนท้องถิ่น เนื่องจาก สหพันธ์ชาวนาฯ ได้ก่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจที่กดขี่ขูดรีดชาวนาชาวไร่ และการรวมศูนย์อำนาจในที่ดิน จากการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ ๒๕๑๗ และพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ อันเป็นชนวนแห่งการเผชิญหน้ากับกลุ่มเจ้าที่ดินรายใหญ่ กลุ่มอิทธิพลทางการเมืองและนายทุนท้องถิ่น ผู้นำชาวนาชาวไร่ถูกลอบสังหารเสียชีวิต ๓๓ ราย สูญหาย ๓ ราย บาดเจ็บ ๑๐ ราย รวม ๔๖ ราย
..........
#อินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ เป็น 1 ใน 33 ชีวิตนักสู้สามัญชนที่เสียชีวิต ได้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์จัตุรัส เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2518 ก่อนเสียชีวิต เพียง 10 วัน ว่า
“การที่ผู้นำชาวนาถูกลอบยิง เพราะการเคลื่อนไหวเรียกร้องไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าของที่ดิน เรื่องค่าเช่านา เรื่องที่นา เกี่ยวกับการเงิน แต่ผมก็ต้องสู้ ผมไม่ได้หวาดกลัวเลย เรื่องความตายถ้าเราไม่สู้ก็ตาย เราจะไม่ยอมถอยอีกแล้ว“
“คุณเชื่อเถอะว่า ตราบใดที่รัฐบาลชุดทุนนิยมยังอยู่ เราไม่มีทางจะได้อยู่ดีกินดี ถ้าอำนาจรัฐไม่ได้อยู่ในมือเรา ก็ยังจะต้องเป็นอยู่อย่างนี้“
............
#ใช่ วังตะกู ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย คนที่ ๑ กล่าวว่า
“เราจะชนะศัตรูได้ ก็ต้องอาศัยมวลชนพี่น้องชาวนาชาวไร่ที่ถูกกดขี่ และเพื่อนมนุษย์ที่รักความเป็นธรรมเท่านั้น”
...........
#จำรัส ม่วงยาม ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย คนที่ ๒ ได้เขียนคำประกาศในหนังสือทางเดินของชาวนาไทย เอาไว้ว่า
“การจัดตั้งและการพัฒนาสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ท่ามกลางพายุแห่งการปราบปราม เป็นเครื่องแสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่า บัดนี้ ชาวนาไทยได้ตัดสินใจลุกขึ้นสู้แล้ว ตัดสินใจแน่วแน่ที่จะสร้างประวัติศาสตร์ไทยใหม่ขึ้นมา นี่คือการเริ่มต้นครั้งใหญ่ของชาวนาไทย
การลุกขึ้นสู้และการเคลื่อนไหวของชาวนา ได้บอกเราอีกครั้งหนึ่งว่า ชาวนาเป็นพลังผลักดันที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย เสียงปืนที่คำรามอยู่ในชนบท การสังหารผู้นำชาวนา รวมทั้งผู้นำของสหพันธ์ที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ เรื่อยมาอย่างต่อเนื่องกัน ไม่อาจจะหยุดยั้งการต่อสู้ของชาวนาได้”
...........
การต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาฯ ยุติบทบาทลงไปโดยปริยาย พร้อมๆ กับวาระสุดท้ายของจำรัส ม่วงยาม ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒
.............
#ประวัติผู้นำชาวนาชาวไร่ #สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ที่ถูกลอบสังหารในช่วง พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๒
๑.นายสนิท ศรีเดช ตัวแทนชาวนาชาวไร่ จ. พิษณุโลก
ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๗
๒.นายเมตตา (ล้วน) เหล่าอุดม ตัวแทนชาวนาชาวไร่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
ผู้นำการเคลื่อนไหวคัดค้านบริษัทรับซื้อหัวมันสด สุริยนต์ ไรวา SR (เอส.อาร์) ใช้อิทธิพลยึดที่ดินชาวบ้าน ๕๐๐ ไร่ และเป็นผู้นำการคัดค้านโครงการอ่างเก็บน้ำมาบประชันของกรมชลประทาน ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๗
๓.นายบุญทิ้ง ศรีรัตน์ ตัวแทนชาวนา จ.พิษณุโลก ถูกลอบสังหาร เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๑๗ ที่ จ.พิษณุโลก
๔.นายบุญมา สมประสิทธิ์ กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ จ.อ่างทอง ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
๕.นายเฮียง ลิ้นมาก ผู้แทนชาวนาชาวไร่ จ.สุรินทร์ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๑๘
๖.นายอาจ ธงโท กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านต้นธง จ.ลำพูน ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๑๘
๗.นายประเสริฐ โฉมอมฤต ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านฝ่อนหมู ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ผู้นำการเรียกร้องค่าเช่านา และเปิดโปงพฤติกรรมทุจริตของเจ้าหน้าที่ ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๑๘
๘.นายโหง่น ลาววงษ์ กรรมการหมู่บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ผู้นำการคัดค้านอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง พบศพในท่อทางเข้าอ่างเก็บน้ำ ในสภาพศรีษะแตก ขาหัก มัดมือมัดเท้า และคอมีรอยเชือกรัด เมื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ ๆ ได้นำศพไปฝังทันที โดยไม่มีการสอบสวนหรือแจ้งให้ญาติทราบ จนชาวบ้านต้องไปขุดเอาศพคืน ถูกรัดคอและทุบศีรษะเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๘
๙.นายเจริญ ดังนอก กรรมการชาวนาชาวไร่ จ.นครราชสีมา ถูกยิงที่ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๑๘
๑๐.นายถวิล ไม่ทราบนามสกุล ผู้นำชาวนาชาวไร่ จ.พิจิตร ถูกยิงเสียชีวิต ที่ อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๑๘
๑๑.นายมงคล สุขหนุน ผู้นำชาวนาชาวไร่ จ.นครสวรรค์ ถูกยิงและทุบเสียชีวิต เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๑๘
๑๒.นายบุญสม จันแดง กรรมการกลางสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ จ.เชียงใหม่ ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านห้วยส้ม ต.สันกลาง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ รณรงค์กฎหมายควบคุมค่าเช่านาร่วมกับพ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๑๘
๑๓.นายผัด เมืองมาหล้า ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ ที่ อ.ห้างฉัตร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๑๘
๑๔.นายถวิล มุ่งธัญญา ตัวแทนชาวนา จ.นครราชสีมา ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
๑๕.นายพุฒ ปงลังกา ผู้นำชาวนา จ.เชียงราย ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๘
๑๖.นายแก้ว ปงซาคำ ผู้นำชาวนา จ.เชียงราย ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๑๘
๑๗.นายจา จักรวาล รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านดง ต.สันโป่ง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นผู้เรียกร้อง พรบ.ควบคุมค่าเช่านา พ.ศ. ๒๕๑๗ ขัดขวางการถอดถอนที่นา เตรียมการซักฟอกสภาตำบลทุจริต ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๑๘
๑๘.นายบุญช่วย ดิเรกชัย ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ แกนในการจัดตั้งสหพันธ์ฯ อ.ฝาง ผู้นำกรณีปัญหาป่าสงวนแห่งชาติ ซักฟอกการทุจริตค่าธรรมเนียมที่ดิน ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘
๑๙.นายประสาท สิริม่วง ตัวแทนชาวนา จ.สุรินทร์ ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘
๒๐.นายบุญทา โยธา (ปันโญใหญ่) กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ห้วยไซเหนือ ต.ห้วยยาบ อ.เมือง จ.ลำพูน เปิดโปงการทุจริตโครงการเงินผันของสภาตำบล ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๘
๒๑.นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ผู้นำการเคลื่อนไหวกรณีเหมืองแร่ เรียกร้องการจัดสรรที่ดินแก่ชาวนา และขับไล่บริษัทต่างชาติที่รุกที่ดิน ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านสันกำแพง จ.ลำปาง เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๑๘
๒๒.นายอินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ และรองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ผู้นำการร้องเรียนความเป็นธรรมจากทางการในเขตอำเภอต่าง ๆ เช่น การโกงที่ดิน การโกงภาษีอากรของทางการ ผู้นำการเรียกร้อง พรบ.ค่าเช่านา ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๑๘
๒๓.นายสวัสดิ์ ตาถาวรรณ รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านแม่ร้อยเงิน หมู่ที่ ๒ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ผู้นำการคัดค้านการทุจริตของข้าราชการและเจ้าของที่ดิน เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๑๘ ขณะเดินทางกลับจากงานศพพ่อหลวงอินถา ศรีบุญเรือง
๒๔.นายมี สวนพลู
๒๕.นายต๋า แก้วประเสริฐ
๒๖.นายตา อินต๊ะคำ
ทั้ง ๓ คน เป็นประธานและกรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
หายสาบสูญลึกลับไปจากบ้าน เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๑๘
๒๗.นายนวล สิทธิศรี สมาชิกสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ ต.แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
๒๘.นายพุฒ ทรายคำ ผู้นำชาวนาบ้านแม่งอนกลาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ประชาสัมพันธ์สหพันธ์าวนาชาวไร่ บ้านร้องวัว ผู้นำการเปิดโปงการทุจริตโครงการเงินผันของกำนัน ถูกยิงได้รับบาดเจ็บ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๘ มีผู้พบและนำส่งศูนย์รวมแพทย์ อ.ฝาง ต่อมาในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ คนร้ายไม่ทราบจำนวน ตามไปยิงซำ้ที่ศูนย์รวมแพทย์ เสียชีวิตต่อหน้าแพทย์และพยาบาลที่เข้าเวร
๒๙.นายช้วน เนียมวีระ กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๑๘
๓๐.นายแสวง จันทาพูน รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านหนองคุ้ม ต.เรียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เปิดโปงการยึดครองที่ดินสาธารณะ ขับไล่ นายอำเภอ พนักงานที่ดิน และข้าราชการทุจริต ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๑๘
๓๑.นายนวล กาวิโล ผู้นำชาวนาแม่เลียง ต.เสริมขวา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
ถูกระเบิดเสียชีวิต ขณะปะทะกับฝ่ายเหมืองที่แม่เลียง วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๑๘
๓๒.นายมี กาวิโล ผู้นำชาวนาแม่เลียง ต.เสริมขวา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส ขณะปะทะกับฝ่ายเหมืองที่แม่เลียง วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๑๘
๓๓.นายบุญรัตน์ ใจเย็น รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านหนองป่าแซะ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมค่าเช่านา พ.ศ.๒๕๑๗ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๘
๓๔.นายจันเติม แก้วดวงดี ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านทุ่งหลุก ต.ท่าวังพร้าว อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ กรรมการควบคุมค่าเช่านาประจำตำบล-จังหวัด ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๘
๓๕.นายลา สุภาจันทร์ กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผู้นำการเคลื่อนไหวกรณีเหมืองแม่เลียง ถูกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๘
๓๖.นายปั๋น สูญใส รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านปางพะเยา ต.เมืองราย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เปิดโปงการทุจริตของนายอำเภอเชียงดาว และเรียกร้องการจัดสรรที่ดินแก่ชาวบ้านที่ไร้ที่ทำกิน ถูกยิงบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๙
๓๗.นายคำ ต๊ะมูล ผู้นำชาวนาชาวไร่แม่เลียง ต.เสริมขวา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผู้นำการเคลื่อนไหวกรณีเหมืองแม่เลียง ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๑๙
๓๘.นายวงศ์ มูลอ้าย
๓๙.นายพุฒ บัววงศ์
๔๐.นายทรง กาวิโล เป็นตัวแทนชาวบ้านบ้านปงป๋อ ต.เสริมขวา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง หายไปพร้อมกัน เมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๑๙ ต่อมา ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาภาคเหนือ (ศนน.) เปิดเผยรายชื่อทั้ง ๓ คน ว่าเป็นผู้นำชาวนาที่ถูกฆ่าตาย ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๑๙
๔๑.นายดวงคำ พรหมแดง ตัวแทนชาวไร่ยาสูบ บ้านไหลหน้า ต.เวียง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ผู้นำการเคลื่อนไหวให้ประกันราคายาสูบร่วมกับกลุ่มชาวไร่ยาสูบ จ.เชียงใหม่ จ.ลำพูน ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๑๙
๔๒.นายนวล ดาวตาด ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านสันทรายมูล ต.แม่ร้อยเงิน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ คณะกรรมการควบคุมค่าเช่านาประจำตำบล ผู้นำชาวไร่ยาสูบ และการแบ่งค่าเช่านาตามกฎหมาย เปิดโปงการทุจริตโครงการเงินผัน ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๑๙
๔๓.นายศรีธน ยอดกันทา ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ พ.ศ.๒๕๑๙ รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ถูกคนร้ายปาระเบิดขณะนอนอยู่บนบ้านที่ ต.ตลาดใหญ่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๑๙ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บ
๔๔.นายชิต คงเพชร ผู้นำชาวนาบ้านทุ่งฟ้าผ่า อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน
ถูกยิงเสียชีวิตที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๑๙
๔๕.นายหรอด ธานี ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคอิสาน รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๑๗ ผู้นำการคัดค้านเขื่อนชีบน จ.ชัยภูมิ ถูกยิงเสียชีวิต ที่บ้านห้วยคนธา ต.กุดชุมแสง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๒๑
๔๖.นายจำรัส ม่วงยาม ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคตะวันออก พ.ศ.๒๕๑๗ ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๑๘-๒๕๑๙
ถูกยิงเสียชีวิต ที่บ้านมาบข้าวต้ม ต.หนองขอ อ.บ้านด่าน จ.ระยอง เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒
...............
หมายเหตุ
1. นายเมตตา เหล่าอุดม และนายล้วน ผู้นำชาวไร่ จ.ชลบุรี เป็นบุคคลเดียวกัน จากคำให้สัมภาษณ์ของสุวิทย์ วัดหนู และสมภพ บุนนาค ผู้ปฏิบัติงานสหพันธ์นักศึกษาเสรีภาคตะวันออก
2. นายอ้าย สิทธิ และนายตา สิทธิ เป็นบุคคลคนเดียวกัน จากคำให้สัมภาษณ์ของนายปัน สิทธิ ปัจจุบันยังมีชีวิต ในช่วงนั้นเกิดความสับสนว่าสูญหาย แต่ข้อเท็จจริง คือ หลบไปอยู่ในที่ปลอดภัย
---------------------
ที่มา บทวิเคราะห์ สชท. อ.กนกศักดิ์ แก้วเทพ //และหนังสือ 25 ปี สชท. โครงการรำลึก 25 ปี สชท. นฤมล ทับจุมพล และ นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์


.....


Suchart Sawadsri shared a memory.
18h ·

นายจำรัส ม่วงยาม ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไรภาคตะวันออก พ.ศ.2517 รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย พ.ศ.2518-2519 ถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2522 และผู้ทำความผิดลอยนวล

Nitirat Zapatista
November 20, 2014 · ·

นายจำรัส ม่วงยาม
"การต่อสู้ของชาวนาชาวไร่นั้น ความจริงไม่ใช่มาเริ่มเอาหลังวันที่ ๑๔ ตุลาเท่านั้น บรรพบุรุษต่างก็ได้ดิ้นรนกันมาเป็นเวลาช้านาน ทุกยุคทุกสมัย"
ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคตะวันออก พ.ศ.๒๕๑๗ ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๑๘–๒๕๑๙
ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนฝั่งธนบุรี เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๒ อายุ ๕๐ ปี ต่อมาได้อพยพครอบครัวไปบุกเบิกหักร้างถางพงที่บ้านมาบข้าวต้ม ต.หนองขอ อ.บ้านด่าน จ.ระยอง สมรสกับนางระนอง มีบุตร ๓ คน
เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและมีบทบาทสำคัญในสหพันธ์ฯ ภายหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ จำรัสถูกจับกุมในวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๑๙ ด้วยข้อหาภัยสังคม ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ รวมทั้งมีอาวุธร้ายแรงที่ใช้ในราชการสงคราม ทั้ง ๆ ที่มีปืนลูกกรดอยู่ในครอบครองเพียงกระบอกเดียว จากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำกลางบางเขน
หลังถูกจับกุมนาน ๗ เดือน ในราวต้นปี ๒๕๒๑ ก็ถูกปล่อย โดยไม่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรม
นายจำรัส ม่วงยาม ได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่า การต่อสู้ของชาวนาชาวไร่นั้น ความจริงไม่ใช่มาเริ่มเอาหลังวันที่ ๑๔ ตุลาเท่านั้น บรรพบุรุษต่างก็ได้ดิ้นรนกันมาเป็นเวลาช้านาน ทุกยุคทุกสมัย
วันเสาร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๒๒ ในช่วงค่ำ นายจำรัสกับภรรยาเดินกลับบ้านหลังจากไปร่วมทำวัตรกับพระ ได้มีคนร้ายยิงนายจำรัสด้วยปืนเอ็ม ๑๖
จากนั้น ภรรยาเข้าประคองร่าง แล้วกวาดสายตามองคนร้าย และได้ตะโกนไปว่า "ทำไมมึงไม่ฆ่ากูด้วย" คนร้ายกล่าวตอบว่า "ไม่หรอก ผมต้องการคนเดียว" จึงกล่าวว่า "ตายแล้ว ตายสมใจมึงแล้ว"
จากนั้น บุตรสาวไปแจ้งความที่สถานีตำรวจหนองกลับ แต่เจ้าหน้าที่ให้ไปแจ้งที่สถานีบ้านค่าย โดยถามเพียงว่า "ถูกยิงที่ไหน" "ตายหรือยัง " หลังจากรออยู่นาน เจ้าหน้าที่กล่าวว่า "ให้กลับบ้านและให้เอาศพไปเก็บที่บ้าน"
นางระนองนั่งเฝ้าศพจนมดขึ้น จนกระทั่งเวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น. รถบุตรสาวกลับมาถึงจึงนำศพไปเก็บที่บ้าน จากนั้นเวลาประมาณ ๓.๐๐ น. เจ้าหน้าที่มาพิสูจน์ศพ โดยการเปิดหน้าศพ แล้วกล่าวว่า "อ๋อ มันแน่ มันทำแน่" แล้วก็กลับไป
สภาพศพลุงจำรัส ถูกยิงที่สีข้าง ๒ นัด และบริเวณใบหน้าจนเละไม่ทราบว่ากี่นัดด้วยปืน เอ็ม ๑๖
รำลึก 40 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (19 พฤศจิกายน 2517-2557)
.....


Suchart Sawadsri shared a memory.
18h ·

นายโหง่น ลาววงษ์ ผู้นำชาวนา กรรมการหมู่บ้าน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ถูกรัดคอและทุบศีระเสียชีวิตเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ.2518

Nitirat Zapatista
November 20, 2014 ·

นายโหง่น ลาววงษ์
กรรมการหมู่บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ถูกรัดคอและทุบศีรษะตาย เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๘
นายโหง่นเคยเป็นลูกเสือชาวบ้าน มีบุตร ๑๒ คน อาชีพทำนา
นายโหง่นเป็นผู้นำการคัดค้านการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จนต้องเผชิญกับการคุกคามอย่างหนัก ถูกขู่ฆ่า ถูกสะกดรอยตาม กระทั่งการฝังระเบิดรอบหมู่บ้าน จนต้องจัดเวรยามรักษาความปลอดภัยภายในหมู่บ้าน
วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๑๘ นายโหง่นเดินทางไปงานศพ กระทั่งรุ่งเช้า มีผู้พบศพเขาอยู่ในท่อทางโค้งเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง สภาพศพศีรษะแตก ขาหัก มัดมือมัดเท้า และคอมีรอยเชือกรัด เมื่อแจ้งเจ้าหน้าที่ ๆ ได้นำศพไปฝังทันที โดยไม่มีการสอบสวนหรือแจ้งให้ญาติทราบ ชาวบ้านที่ทราบเรื่องไปขุดเอาศพคืนในวันที่ ๒๔ เมษายน
รำลึก 40 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (19 พฤศจิกายน 2517-2557)
.....


Suchart Sawadsri shared a memory.
18h ·

นายเมตตา เหล่าอุดม ผู้นำที่เป็นตัวแทนชาวนาชาวไร่จังหวัดชลบุรี ในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถูกลอบยิงเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.2517 ฆาตกรผู้ทำผิดหลบหนีลอยนวล

Nitirat Zapatista
November 20, 2014 ·

นายเมตตา (ล้วน) เหล่าอุดม
ตัวแทนชาวนาชาวไร่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๗
นายเมตตาหรือนายล้วน เป็นชาว ต.โป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มีบุตร ๓ คน
นายเมตตาเป็นนักพูด และผู้นำชาวนาชาวไร่คัดค้านกรณีบริษัทสุริยนต์ ไรวา Suriyont Riva SR (เอส.อาร์) รับซื้อหัวมันสดทำแป้ง ใช้อิทธิพลยึดที่ดิน ๕๐๐ ไร่ จนได้รับที่ดินคืน
นายเมตตาเป็นผู้นำการคัดค้านโครงการอ่างเก็บน้ำมาบประชันของกรมชลประทาน จนรัฐบาลระงับเรื่องไว้ชั่วคราว แม้เขาจะไม่ได้รับผลกระทบจากโครงการ แต่มีชาวบ้านและญาติที่น้ำท่วมจากการสร้างอ่างเก็บน้ำกว่า ๒๐๐ ครอบครัว โดยที่ผลประโยชน์ตกกับกลุ่มอิทธิพลและกำนัน
วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๗ เวลาประมาณ ๒๐.๔๕ น. ขณะที่นายเมตตายืนที่ร้านขายของใกล้บ้าน บริเวณสี่แยกเขาเพียงแก้ว คนร้ายแสร้งทำปัสสาวะ แล้วถือปืนยิงนายเมตตา ๓ นัด เสียชีวิต
รำลึก 40 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (ส.ช.ท.) ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517
.....


Suchart Sawadsri shared a memory.
18h ·

นายใช่ วังตระกู ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517-2518 ตัดสินใจเข้าร่วมกับพรรคคอมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และเสียชีวิตในการต่อสู้เมื่อ พ.ศ.2521

Nitirat Zapatista
November 20, 2014 · ·

รำลึก 40 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (ส.ช.ท.) ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517 ระหว่างการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง
นายใช่ วังตะกู
ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย คนแรก ปี พ.ศ.๒๕๑๗–๒๕๑๘
ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดพิจิตร อายุประมาณ ๔๐ ปีเศษ บ้านอยู่ที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก รอยต่อบางกระทุ่ม เริ่มเข้าร่วมในการต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม เนื่องจากปัญหาหนี้สินจากนายทุนเงินกู้ ชื่อ นางสายบัว (มารดาของ สส. จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.๒๕๔๒)
นายใช่ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เราจะชนะศัตรูได้ก็ต้องอาศัยมวลชนพี่น้องชาวนาชาวไร่ที่ถูกกดขี่ และเพื่อนมนุษย์ที่รักความเป็นธรรมเท่านั้น ทั้งนี้ นายใช่ เคยชี้หน้านายทุนเงินกู้ว่า ทีเอ็งข้าไม่ว่า ทีข้าเอ็งอย่าโวย ที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก
นายใช่ได้เข้าร่วมการต่อสู้ด้วยอาวุธกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ภายหลังเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และถูกยิงเสียชีวิตที่บริเวณชายป่าทุ่งหญ้าต่อป่าดงดิบ ในพื้นที่เขตงานพรรคคอมมิวนิสต์ ในช่วงปี ๒๕๒๑
.....


Suchart Sawadsri shared a memory.
19h ·

นายอินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไรภาคเหนือ และรองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประทศไทย ( ส.ช.ท.) พ.ศ.2517-2518 ถูกลอบยิงเสียชีวิต เมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2518 ฆาตกรผู้ทำความผิดหลบหนีลอยนวล

Nitirat Zapatista
November 20, 2014 ·

นายอินถา ศรีบุญเรือง
“คุณเชื่อเถอะว่า ตราบใดที่รัฐบาลชุดทุนนิยมยังอยู่ เราไม่มีทางจะได้อยู่ดีกินดี ถ้าอำนาจรัฐไม่ได้อยู่ในมือเรา ก็ยังจะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ การที่ผู้นำชาวนาถูกลอบยิง เพราะการเคลื่อนไหวเรียกร้องไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าของที่ดิน เรื่องค่าเช่านา เรื่องที่นา เกี่ยวกับการเงิน แต่ผมก็ต้องสู้ ผมไม่ได้หวาดกลัวเลย เรื่องความตายถ้าเราไม่สู้ก็ตาย เราจะไม่ยอมถอยอีกแล้ว “
ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ และรองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๑๗–๒๕๑๘
ภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านสอง หมู่ที่ ๒ ต.ป่าปง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ สมรสกับนางเรืองคำ มีบุตร ๕ คน เป็นชาวนาไร้ที่ดิน อายุ ๔๔ ปี
นายอินถาเป็นผู้ใหญ่บ้าน ๕ ปี อยู่ที่บ้านเลขที่ ๔๘ บ้านสอง หมู่ที่ ๒ ต.ป่าปง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นผู้นำชาวนาชาวไร่ร้องเรียนความเป็นธรรม เช่น การโกงที่ดิน การโกงภาษีอากร เป็นผู้นำการเรียกร้อง พรบ.ค่าเช่านา เป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือกับชาวนาหลายแห่งในจังหวัดภาคเหนือ
นายอินถาได้ให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์จัตุรัส ก่อนเสียชีวิต เพียง 10 วัน ว่า “คุณเชื่อเถอะว่า ตราบใดที่รัฐบาลชุดทุนนิยมยังอยู่ เราไม่มีทางจะได้อยู่ดีกินดี ถ้าอำนาจรัฐไม่ได้อยู่ในมือเรา ก็ยังจะต้องเป็นอยู่อย่างนี้ การที่ผู้นำชาวนาถูกลอบยิง เพราะการเคลื่อนไหวเรียกร้องไปขัดผลประโยชน์กับเจ้าของที่ดิน เรื่องค่าเช่านา เรื่องที่นา เกี่ยวกับการเงิน แต่ผมก็ต้องสู้ ผมไม่ได้หวาดกลัวเลย เรื่องความตายถ้าเราไม่สู้ก็ตาย เราจะไม่ยอมถอยอีกแล้ว “
ในวันเสาร์ที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๑๘ นายอินถา ขายของอยู่ที่บ้าน แทนภรรยาที่ไปอบรมอาสาสมัครอนามัยประจำหมู่บ้านป่าปง มีคนร้าย ๒ คน ขี่มอเตอร์ไซค์เข้ามาซื้อบุหรี่ ขณะที่นายอินถาก้มลงหยิบเพื่อทอนเงิน ก็ถูกคนร้ายจ่อยิงที่หัว ๑ นัด เสียชีวิตทันที
รำลึก 40 ปี สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (19 พฤศจิกายน 2517-2557)



ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับผู้เกี่ยวข้องกับสงครามอิสราเอล-กาซา ๓ คน เนื่องจากมีหลักฐานพอเพียงว่าทั้ง ๓ คนรับผิดชอบทางอาญาต่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ


(https://www.bbc.com/news/articles/cly2exvx944o)

Benjamin Netanyahu (L), Prime Minister of Israel

Yoav Gallant (C), Minister of Defense and

Mohammed Deif (R) Palestinian militant and the head of the Izz al-Din al-Qassam Brigades, the military wing of the Islamist organization Hamas.
.....

Kasian Tejapira
1h ·

ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับผู้เกี่ยวข้องกับสงครามอิสราเอล-กาซา ๓ คน เนื่องจากมีหลักฐานพอเพียงว่าทั้ง ๓ คนรับผิดชอบทางอาญาต่ออาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
๑) นายกฯอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู
๒) รมว.กลาโหมอิสราเอล ยูอาฟ กัลแลนท์
๓) ผู้บัญชาการทหารฮามาส โมฮัมหมัด เดฟ (มีรายงานข่าวว่าเสียชีวิตแล้ว)


วิเคราะห์: ภารกิจอันหนักหน่วงของ 'อิลอน มัสก์' ในกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล


วิเคราะห์: ภารกิจอันหนักหน่วงของ 'อิลอน มัสก์' ในกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล

VOA Thai

Nov 20, 2024

ในช่วงที่ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ เป็นสมัยที่ 2 ในเดือนมกราคมปีหน้า บุคคลดังซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทรัมป์ 2 คน จะได้รับหน้าที่ในหน่วยงานที่ออกแบบมาเพื่อหั่นการใช้จ่ายภาครัฐและยกระดับศักยภาพของรัฐบาลกลางให้ดีขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์มองว่าเป็นภารกิจใหญ่ที่ดูไร้ความชัดเจน

https://www.youtube.com/watch?v=VoXI2zez_H0


ใครให้คำแนะนำนายกฯแพทองธารขึ้นเวที Forbes CEO ตอบคำถามสดเป็นภาษาอังกฤษวันนี้ควรถูกไล่ออก - สุทธิชัย หยุ่น


Suthichai Yoon
8h ·

ใครให้คำแนะนำนายกฯแพทองธารขึ้นเวที Forbes CEO ตอบคำถามสดเป็นภาษาอังกฤษวันนี้ควรถูกไล่ออก
คุณอุ๊งอิ๊งยังไม่พร้อมจริง ๆ ครับ ไม่ใช่เรื่องภาษา แต่เป็นเรื่องความเข้าใจต่อคำถาม, วิธีคิดและเนื้อหาสาระที่ไม่สามารถสื่อสารให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นในประเทศไทย…ต้องลุ้นกันตลอดงาน!
ในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ผมเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับคุณอุ๊งอิ๊ง และยิ่งไม่เป็นธรรมกับประเทศชาติอย่างมากครับ
ฝรั่งบอกว่า Thailand deserves better!
Suthichai Live 19.15 น.





https://x.com/Js_live2/status/1859589157951242339



คลิปเต็ม
โหดร้าย! นายกฯอุ๊งอึ้งบนเวที Forbes CEO: Suthichai Live 21-11-2567
https://www.facebook.com/SuthichaiLive/videos/1757746284999400



คดีที่น่าจับตามอง ศาลอาญาสืบพยานลับหลัง “ต้นไผ่” อีกคดี กรณีโพสต์ทวิตเตอร์พาดพิง ร.10 ทนายจำเลย โต้แย้งการพิจารณาคดี ม.112 ที่ไม่เป็นธรรม เพื่อให้คดียุติ โดยไม่เปิดโอกาสให้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
13h ·

ศาลอาญาสืบพยานลับหลัง “ต้นไผ่” อีกคดี กรณีโพสต์ทวิตเตอร์พาดพิง ร.10 ด้านทนายจำเลยยื่นคำร้องตั้งข้อรังเกียจศาล - โต้แย้งการพิจารณาคดี ม.112 ที่ไม่เป็นธรรม
.
.
วันที่ 22 ต.ค. 2567 เวลา 09.00 น. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ มีนัดสืบพยานคดีของ “ต้นไผ่” (นามสมมติ) ซึ่งถูกฟ้องในข้อหา “หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) กรณีถูกกล่าวหาว่าใช้บัญชีทวิตเตอร์ “Guillotine 2475” โพสต์ภาพและข้อความพาดพิงรัชกาลที่ 10 รวม 10 โพสต์ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงมีนาคม 2565
.
การสืบพยานมีขึ้นลับหลังจำเลยที่ไม่มาศาล โจทก์นำพยานเข้าสืบทั้งสิ้น 6 ปาก และศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนสืบพยานโจทก์ปากพนักงานสอบสวนซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาต่อที่ต่างประเทศตามที่พนักงานอัยการขอ อ้างเหตุว่าเป็นการเนิ่นช้าเกินไปโดยไม่มีเหตุสมควร ส่งผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรม จึงให้งดสืบพยานปากดังกล่าว ส่วนฝ่ายจำเลยไม่มีพยานจำเลยเข้าสืบ คดีจึงเสร็จการพิจารณา ศาลให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ทวิ/1 (การพิจารณาคดีลับหลังจำเลย) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 หรือไม่ โดยให้นัดพร้อมเพื่อรอฟังผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 25 ก.พ. 2568 เวลา 09.00 น.
.
ศาลยกคำร้องเบิกตัวอานนท์มาทำหน้าที่ทนายจำเลย อ้างไม่สามารถสวมครุยได้ แต่ให้ตามตัวให้มาทำหน้าที่หลังจำเลยไม่มาศาล – สั่งให้สืบพยานลับหลังจำเลย ชี้เพื่อให้คดีไม่ล่าช้า และจำเลยมีทนายความ
.
คดีนี้ เดิมมีนัดสืบพยานในวันที่ 11 – 12 มิ.ย. 2567 ก่อนหน้านั้นในวันที่ 3 พ.ค. 2567 ทนายจำเลย คือ อานนท์ นำภา ได้ยื่นคำร้องขอให้เบิกตัวทนายจำเลยจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ มาศาลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทนายความ แต่ในวันที่ 20 พ.ค. 2567 ศาลมีคำสั่งยกคำร้อง โดยอ้างเหตุว่า อานนท์เป็นจำเลยในคดีอาญาซึ่งถูกคุมขังในคดีอื่นและเป็นผู้ต้องขัง ต้องแต่งกายตามแบบที่ระเบียบกรมราชทัณฑ์กำหนด ทั้งยังมีข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาทในการแต่งกาย ข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาเกี่ยวกับการสวมครุยเนติบัณฑิต และ พ.ร.บ.เสื้อครุยเนติบัณฑิตฯ ที่ห้ามมิให้สวมเสื้อครุยเนติบัณฑิตในเวลาที่เป็นจำเลยในคดีอาญา กรณีตามคำร้องยังไม่มีเหตุสมควรที่จะเบิกตัวมาทำหน้าที่ทนายความ
.
ในวันที่ 11 มิ.ย. 2567 ต้นไผ่ไม่ได้เดินทางมาศาล นายประกันได้แถลงว่า ไม่สามารถติดต่อจำเลยได้และจำเลยไม่ได้เดินทางมาศาลตามนัดในคดีตามมาตรา 112 อีกคดีที่ศาลอาญา ซึ่งนัดสืบพยานช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2567 ด้วยเช่นกัน
.
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 11 มิ.ย. 2567 อานนท์ถูกเบิกตัวมาศาลในคดีมาตรา 112 จากกรณีเขียนและโพสต์จดหมาย #ราษฏรสาส์น ถึงกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นจำเลยอยู่ก่อนแล้ว ศาลจึงให้ตามตัวอานนท์มาทำหน้าที่ทนายจำเลยในคดีนี้ ก่อนมีคำสั่งให้ออกหมายจับจำเลย ให้ปรับนายประกันเต็มตามสัญญา และเพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยไม่ล่าช้า ประกอบกับจำเลยมีทนายความแล้ว อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ทวิ/1 ศาลจึงให้เลื่อนไปสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยลับหลังในวันที่ 19 พ.ย. และ 6 ธ.ค. 2567 ซึ่งทนายจำเลยได้แถลงคัดค้านการกำหนดนัดสืบพยานลับหลัง เนื่องจากไม่เป็นธรรมกับจำเลย
.
ต่อมา ในวันที่ 8 ต.ค. 2567 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย โดยขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว เมื่อจับจำเลยได้แล้วค่อยยกคดีขึ้นพิจารณา เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
.
ศาลยกคำร้องคัดค้านการพิจารณาคดีลับหลังและขอถอนทนาย แต่ให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สืบพยานลับหลังจำเลยขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
.
ในวันที่ 11 ต.ค. 2567 จำเลยได้ส่งคำร้องคัดค้านการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยตามมาตรา 172 ทวิ/1 และขอถอนทนายจำเลย เข้ามาทางอีเมลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ทนายจำเลยจึงได้ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลในวันที่ 15 ต.ค. 2567
.
วันเดียวกันทนายจำเลยยังได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและรอการพิพากษาไว้ชั่วคราว ในประเด็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172 ทวิ/1 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 29 หรือไม่
.
โดยในคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและรอการพิพากษาไว้ชั่วคราวข้างต้น มีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับที่ทนายจำเลยได้เคยยื่นไปในคดีตามมาตรา 112 อีกคดีของต้นไผ่ที่ศาลมีคำสั่งสืบพยานลับหลังจำเลยเช่นกัน
.
วันที่ 19 พ.ย. 2567 จำเลยไม่ได้เดินทางมาศาล ส่วนอานนท์ถูกเบิกตัวมาเพื่อทำหน้าที่ทนายจำเลย โดยถูกพันธนาการด้วยกุญแจข้อเท้า นอกจากนี้ ยังมีประชาชนจำนวนมากเดินทางมาสังเกตการณ์คดี รวมถึง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่
.
ก่อนเริ่มการสืบพยานลับหลัง ทนายจำเลยได้ยื่นคำแถลงไม่ประสงค์ให้ทนายความปฏิบัติหน้าที่และถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ส่งเข้ามาในอีเมลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
.
เนื้อหาในคำแถลงดังกล่าวระบุว่า จำเลยมีความประสงค์ขอศาลได้โปรดจำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว หากศาลมีคำสั่งให้สืบพยานลับหลังจำเลย จำเลยไม่ประสงค์ให้อานนท์ทำหน้าที่ในฐานะทนายความจำเลย และซักค้านพยานโจทก์ เนื่องจากหากทนายจำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อรูปคดีและทำให้จำเลยเสียเปรียบไม่อาจต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่
.
เมื่อศาลออกนั่งพิจารณาคดี ศาลได้มีคำสั่งต่อคำร้องทั้งหมดข้างต้น โดยไม่จำหน่ายคดีและให้สืบพยานลับหลังจำเลยต่อไป และไม่อนุญาตให้ถอนทนายความ ส่วนคำร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญนั้น เห็นว่า คำร้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ จึงให้ส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ไม่เป็นเหตุให้จำหน่ายคดีชั่วคราว ให้ยกคำร้องในส่วนนี้ และให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป โดยให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
.
ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า แม้ศาลจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ถอนทนายความ แต่ศาลไม่สามารถสั่งให้ทนายความถามความหรือปฏิบัติหน้าที่ทนายความได้ โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องระหว่างตัวความและทนายความ
.
ในช่วงเช้า โจทก์นำพยานโจทก์เข้าสืบจำนวน 2 ปาก ได้แก่ ร.ต.อ.ธรรมชาติ ดำรงจักษ์ และ ร.ต.อ.กษิดิศ ดิลกคุณานันท์ สองตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) โดยทนายจำเลยยืนยันไม่ถามค้าน ไม่ลงชื่อในคำเบิกความพยานโจทก์และรายงานกระบวนพิจารณา เนื่องจากเป็นความประสงค์ของจำเลย และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอถอนทนายแล้ว
.
ทนายจำเลยตั้งข้อรังเกียจศาล – โต้แย้งการพิจารณาคดีมาตรา 112 ที่ไม่เป็นธรรม ระบุ กระบวนพิจารณาส่อไปในทางไม่ยุติธรรมและรวบรัดเพื่อให้คดียุติ โดยไม่เปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
.
ต่อมา ก่อนเริ่มสืบพยานในช่วงบ่าย ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาและตั้งข้อรังเกียจศาล สืบเนื่องจากการที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ถอนทนายความและให้สืบพยานลับหลังจำเลยต่อไป อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ โดยทนายจำเลยขอให้ศาลมีคำสั่ง 4 ข้อ ดังนี้
.
1. ขอให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี ไม่สืบพยานลับหลังจำเลย อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อความยุติธรรมอย่างชัดแจ้ง
.
2. ขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี รอจนกว่าจะมีตัวจำเลยมาพิจารณาคดี และให้ถอน อานนท์ นำภา ออกจากการเป็นทนายจำเลย
.
3. ขอให้ส่งสำนวนคดีไปยังอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา เพื่อเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา เนื่องจากหากพิจารณาคดีต่อไปย่อมเกิดความไม่เป็นธรรมแก่จำเลย
.
4. ขอให้ส่งสำนวนไปคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม เพื่อพิจารณาการทำคำสั่งขององค์คณะที่ทำคำสั่งคำร้องในคดีนี้ว่า ผิดต่อกฎหมาย ต่อรัฐธรรมนูญ และจริยธรรมของข้าราชการตุลาการหรือไม่
.
ศาลได้นำคำร้องและสำนวนคดีนี้เสนอต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาเพื่อพิจารณาสั่งตามข้อ 3 ต่อมา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้ยกคำขอ โดยให้องค์คณะผู้พิพากษาทำหน้าที่ต่อไป
.
ส่วนข้อ 1 และข้อ 2 นั้น ศาลมีคำสั่งเองโดยระบุว่า เห็นว่า จำเลยหลบหนีไม่มาศาล อันแสดงถึงเจตนาของจำเลยที่ไม่ต้องการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาที่เป็นขั้นตอนตามกฎหมายเพื่อพิสูจน์ความผิด และศาลได้มีคำสั่งออกหมายจับจำเลย ทั้งนี้ คดีนี้เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 172 ทวิ/1 เพื่อมิให้คดีล่าช้า จึงเห็นควรให้สืบพยานลับหลังจำเลย
.
ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานวันนี้ (19 พ.ย. 2567) จำเลยยังคงหลบหนีไม่มาศาลและได้ยื่นคำร้องคัดค้านการพิจารณาคดีลับหลังและขอถอนทนายความ รวมถึงยื่นคำแถลงไม่ประสงค์ให้ทนายความปฏิบัติหน้าที่และถามค้าน กับขอให้จำหน่ายคดีชั่วคราว อ้างว่า การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ ซึ่งแสดงให้เห็นพฤติการณ์ของจำเลยที่หลบเลี่ยงการเข้าสู่กระบวนพิจารณาคดีตามปกติ อันมีลักษณะเป็นการประวิงคดี จึงไม่มีเหตุสมควรให้ศาลสั่งจำหน่ายคดี ไม่สืบพยานลับหลังและเพิกถอนกระบวนพิจารณา กับให้ทนายจำเลยถอนตัว ให้ยกคำขอทั้งสองข้อนี้
.
สำหรับคำขอข้อ 4 นั้น หากทนายจำเลยประสงค์ดำเนินการก็สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ให้ยกคำขอเช่นกัน
.
จากนั้นโจทก์ได้นำพยานเข้าสืบต่ออีก 4 ปาก ได้แก่ พ.ต.ท.แทน ไชยแสง, พ.ต.อ.วราวุธ เมฆชัย, พ.ต.ต.ชยกฤต จันหา และ ร.ต.อ.ประเสริฐ สังข์ทอง จากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล โดยทนายจำเลยยืนยันไม่ถามค้าน ไม่ลงชื่อในคำเบิกความพยานโจทก์และรายงานกระบวนพิจารณาเช่นกัน
.
โจทก์แถลงต่อศาลว่า ติดใจสืบพยานปาก พ.ต.ต.หญิง เศวรัตน์ ปุริสาย พนักงานสอบสวน ซึ่งลาราชการเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศจนถึงวันที่ 6 ก.ค. 2568 และขอให้เลื่อนคดีเพื่อรอ พ.ต.ต.หญิง เศวรัตน์ กลับจากต่างประเทศ ทนายจำเลยแถลงไม่ค้าน
.
ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาต เห็นว่าเป็นการเนิ่นช้าไปโดยไม่มีเหตุสมควร กระทบต่อการอำนวยความยุติธรรม ไม่มีเหตุให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานปากดังกล่าว
.
ทนายจำเลยแถลงโต้แย้งว่า คดีมาตรา 112 เป็นคดีนโยบาย หากจำเป็นต้องเลื่อนก็ควรเลื่อน โดยทนายความอาจต้องการถามค้านเกี่ยวกับการสอบสวนว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากไม่สืบพยานปากพนักงานสอบสวนจะเป็นการไม่ถูกต้อง หากศาลไม่เลื่อนคดีด้วยเหตุผลว่านานไป ทนายจำเลยเห็นว่าเป็นการเร่งรัดคดีเกินไป ไม่ยุติธรรม
.
ศาลแจ้งว่า ทุกคำร้องที่ทนายจำเลยและอัยการยื่นมาในคดี ศาลปรึกษากับผู้บริหารแล้วทั้งหมด ไม่ได้ใช้ดุลยพินิจโดยลำพัง เมื่อพนักงานสอบสวนซึ่งโจทก์ต้องนำสืบไม่มาก็ขึ้นกับว่าพยานโจทก์ฟังได้หรือฟังไม่ได้
.
ทนายจำเลยแถลงว่า ต้องการความชัดเจนว่าที่ศาลไม่ให้สืบพยานปากพนักงานสอบสวนเพราะอะไร แม้ในทางคดีจะสู้ไม่ได้ แต่ในทางการเมืองและทางวิชาการสามารถบันทึกและโต้แย้งได้ว่ากระบวนพิจารณาคดีมาตรา 112 เป็นอย่างไร
.
ศาลกล่าวว่า คดีมาตรา 112 ไม่ใช่คดีทางการเมือง ศาลมองว่าเป็นคดีอาญาปกติ และไม่แน่ชัดว่าพนักงานสอบสวนจะกลับมาในช่วงเวลาดังกล่าวหรือไม่ เป็นการเนิ่นช้าเกินไป ศาลจึงให้งดการสืบพยาน
.
ต่อมา ศาลขึ้นไปปรึกษาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาอีกครั้ง ก่อนมีคำสั่งว่า คดีนี้มีการกำหนดนัดสืบพยานไว้ล่วงหน้าแล้ว และเป็นเวลาก่อนที่ พ.ต.ต.หญิง เศวรัตน์ จะลาราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งโจทก์สามารถยื่นคำร้องขอศาลสืบพยานล่วงหน้าได้ แต่โจทก์ไม่ได้ดำเนินการใด ทั้งการทำหน้าที่ของพนักงานสอบสวนเป็นเพียงการรวบรวมพยานหลักฐานในสำนวนและทำความเห็นในคดีจึงถือเป็นพยานบอกเล่า หากมีเหตุขัดข้องที่พนักงานสอบสวนไม่สามารถมาเบิกความได้ โจทก์อาจนำตัวผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแลการสอบสวนในคดีนี้หรือพยานบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมาเบิกความในส่วนนี้แทนได้ การให้เลื่อนคดีไปจนกว่า พ.ต.ต.หญิง เศวรัตน์ จะกลับจากต่างประเทศเป็นการเนิ่นช้าเกินไปโดยไม่มีเหตุสมควร ส่งผลกระทบต่อการอำนวยความยุติธรรม จึงไม่มีเหตุให้เลื่อนคดีและเห็นควรให้งดสืบพยานโจทก์ปากดังกล่าว
.
เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์จึงแถลงหมดพยาน ส่วนทนายจำเลยแถลงว่าไม่มีพยานที่จะเข้าสืบต่อในวันที่ 6 ธ.ค. 2567 คดีจึงเสร็จการพิจารณา ศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้นัดพร้อมเพื่อรอฟังผลคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 25 ก.พ. 2568 เวลา 09.00 น.
.
หลังคดีเสร็จการพิจารณา อานนท์ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งการพิจารณาคดีมาตรา 112 ที่ไม่เป็นธรรม ระบุว่า ทนายความจำเลยยื่นคำร้องหลายฉบับเพื่อโต้แย้งกระบวนพิจารณาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งทนายความจำเลยเห็นว่ามีหลายขั้นตอนที่ส่อให้เห็นถึงความผิดปกติและไม่ยุติธรรมในคดีมาตรา 112 สรุปได้ดังนี้
.
1. เดิมคดีนี้ศาลมีคำสั่งไม่ให้ทนายความทำหน้าที่ทนายความโดยอ้างว่าทนายเป็นผู้ต้องขัง แต่งกายไม่สุภาพ และทราบจากนายประกันว่าจำเลยไม่มาศาล ศาลจึงให้ทนายทำหน้าที่เพื่อจะได้พิจารณาลับหลังจำเลย โดยขังทนายจำเลยในคดีของศาลนี้ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ย. 2566 ทำให้จำเลยและทนายจำเลยไม่สามารถปรึกษาเตรียมต่อสู้คดีได้
.
2. ทนายจำเลยจึงขอให้ศาลจำหน่ายคดีเพื่อให้ได้ตัวจำเลยมาพิจารณาต่อหน้าเสียก่อน ศาลยกคำร้อง โดยให้พิจารณาคดีลับหลังต่อไป
.
3. ต่อมา วันที่ 15 ต.ค. 2567 จำเลยยื่นถอนทนายและขอให้จำหน่ายคดี และยื่นอีกครั้งในวันนี้ ศาลยกคำร้องโดยให้สืบพยานโดยไม่มีตัวจำเลยต่อไป
.
4. และในวันนี้ระหว่างสืบพยาน โจทก์ขอเลื่อนสืบพยานโดยพนักงานสอบสวนติดภารกิจ ศาลสอบถามแล้วสามารถมาได้ในเดือนกรกฎาคม 2568 ทนายความจำเลยเห็นพ้องด้วยเพราะเห็นว่าการสอบสวนไม่ชอบ ควรนำตัวพนักงานสอบสวนมาเบิกความ ศาลกลับไม่ให้เลื่อนโดยเห็นว่านานไป ทำให้คดีจบการพิจารณา
.
ทนายความจำเลยเห็นว่า กระบวนพิจารณาทั้งหมดส่อไปในทางไม่ยุติธรรมและรวบรัด ตัดตอน เพื่อให้คดียุติ โดยไม่เปิดโอกาสให้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เพราะการไม่มีตัวจำเลยและขังทนายจำเลยทำให้คำสั่งศาลไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ชอบหรือไม่ชอบ ก็ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลสูงได้ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่อาจเรียกว่า “กระบวนยุติธรรม” ได้ จึงแถลงคัดค้านให้เห็นปรากฏในสำนวน
.
.
อ่านข่าวบนเว็บไซต์ : https://tlhr2014.com/archives/71198


สรุปเสวนา “นิรโทษกรรม 112 เอายังไงต่อ?”: ทบทวนผลกระทบการกลับมา และอนาคตข้างหน้าของการนิรโทษกรรม ม.112

 
21/11/2567
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

19 พ.ย. 2567 ครบรอบ 4 ปี หลังการกลับมาบังคับใช้ กฎหมายอาญา มาตรา 112 จากอดีตสู่ปัจจุบันชวนทบทวนผลกระทบที่ผ่านมา ภายในงาน “4 ปี ใต้เงา ม.112 (Under Section 112)” โดยมีการจัดกิจกรรมพูดคุยในประเด็นจากวงเสวนา “นิรโทษกรรม 112 เอายังไงต่อ?” ณ คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

นิรโทษกรรมมาตรา 112 ไม่ใช่วาทกรรม คือความจำเป็นที่ต้องทำ

พูนสุข พูนสุขเจริญ จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชวนพูดคุยในประเด็นที่มักมีข้อโต้แย้งว่า มาตรา 112 ไม่ใช่คดีการเมือง เป็นเพียงวาทกรรม โดยชี้ให้เห็นว่า จะเป็นคดีการเมืองหรือไม่ พิจารณาจากมูลเหตุจูงใจของการกระทำ ว่ามีมูลเหตุมาจากการเมือง หรือมีการดำเนินคดี เพราะสถานการณ์ทางการเมืองหรือไม่ เมื่อพูดถึงความเป็นคดีการเมืองแล้ว คดีมาตรา 112 ถือว่ามีความเด่นชัดมากที่สุด เมื่อเทียบกับความผิดฐานอื่น ๆ การบังคับใช้มาตรา 112 มีความผันผวนมากที่สุดในรอบ 10 ปี

ยกตัวอย่าง คดีมาตรา 112 ในช่วงแรก เช่น คดีคุณดา ตอร์ปิโด ที่มีการลงโทษจำคุก 6 ปี ต่อมาหลังการรัฐประหารปี 2557 คดีมาตรา 112 ถูกประกาศให้เป็นคดีที่พลเรือนต้องขึ้นพิจารณาที่ศาลทหาร และเกิดการลงโทษจำคุกเฉลี่ยกระทงละ 8-10 ปี และต่อมาช่วงปี 2561-2563 การบังคับใช้มาตรา 112 ก็หยุดลงชะงักลงไป เช่น คดีคุณทอม ดันดี ศาลยกฟ้อง โดยที่จำเลยให้การรับสารภาพ ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

พูนสุข กล่าวว่า สิ่งที่น่ากลัวไม่ได้เริ่มต้นในปี 2563 ที่แม้จะมีการประกาศบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรา แต่สิ่งที่น่ากลัวเริ่มตั้งแต่ปี 2561 ที่มีการบังคับใช้กฎหมายมาตรานี้แบบกลับหน้ามือเป็นหลังมือ มันแสดงให้เห็นว่า มีอำนาจที่เหนือกว่ากระบวนการยุติธรรมทั้งหมดตั้งแต่ต้นทางยันปลายทาง ก่อนเพิ่มเติมถึงกรณีการประกาศบังคับใช้กฎหมายทุกมาตรา นัยยะก็คือ ใช้มาตรา 112 กลับมา โดยจากสถิติของศูนย์ทนายฯ 4 ปี ที่ผ่านมา มีจำนวนคดีอย่างน้อย 307 คดีแล้ว

พูนสุข อธิบายในประเด็นที่มีการโต้แย้งว่า คดีมาตรา 112 เป็นคดีอาญา เกี่ยวกับความมั่นคง และเป็นคดีอาญาร้ายแรง โดยระบุว่า ทุกคดีที่ได้รับการนิรโทษกรรมต่างเป็นคดีอาญาทั้งสิ้น ส่วนเรื่องความมั่นคง เมื่อเทียบกับความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงอื่น ๆ เช่น มาตรา 113 ล้มล้างการปกครอง หรือ มาตรา 116 ยุยงปลุกปั่น การกระทำของ พล.อ.ประยุทธ์ ถือว่าเข้าข่าย มาตรา 113 ซึ่งมีโทษสูงสุดที่การประหารชีวิต แต่ก็นิรโทษกรรมตัวเองผ่านรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว

ดังนั้นการบอกว่าเป็นคดีความมั่นคงและเป็นคดีอาญาร้ายแรงนิรโทษกรรมไม่ได้ จึงไม่เป็นความจริง แต่หากพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของโทษคดีมาตรา 112 ในทางสากล ถือว่าเป็นโทษที่มีความรุนแรงเกินกว่าการกระทำ และไม่ได้สัดส่วน

ในประเด็นถัดมา หากนิรโทษกรรมจะสร้างวัฒนธรรมการลอยนวลพ้นผิด กลับมากระทำผิดซ้ำหรือไม่ พูนสุข มีความเห็นว่า ตั้งแต่เริ่ม คดีมาตรา 112 ถือเป็นคดีที่ไม่ควรมีการถูกดำเนินคดีมากไปกว่าคดีประเภทอื่น ๆ เสียด้วยซ้ำ ด้วยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก และมีโทษสูงเกินไปไม่ได้สัดส่วน ทั้งยังมีความแปลกประหลาดในระหว่างการดำเนินคดี ดังนั้นหากโต้แย้งเรื่องการกระทำผิดซ้ำ ก็ต้องดูอีกด้านว่า การนิรโทษกรรมมาตรา 113 หรือมาตรา 116 ก็ไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าจะไม่มีการกระทำผิดซ้ำอีก

พูนสุข ได้ชวนพูดคุยในประเด็น การดำเนินคดีมาตรา 112 มักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ที่มีผลกระทบต่อทุกคน ควรเป็นเรื่องที่แม้จะถูกดำเนินคดี แต่หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็ควรเป็นสิ่งที่พูดคุยกล่าวถึงได้ เพื่อเป็นการนำความจริงมาสู่สังคม

“กลไกของกฎหมายในปัจจุบันไม่มีช่องว่างสำหรับการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อประโยชน์สาธารณะต่าง ๆ นี่จึงเป็นปัญหาใหญ่ โอกาสที่จะมีคนกระทำผิดซ้ำมีหรือไม่ ก็อาจจะมี เพราะปัญหายังไม่ถูกแก้ไข ซึ่งเราเสนอเรื่องนี้เพื่อให้มีการคลี่คลายบรรยากาศของความขัดแย้งที่มีอยู่ ณ ตอนนี้ และเพื่อสร้างโอกาสในการพูดคุยเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่อไปได้จริง ๆ ว่าเราจะอยู่กันได้อย่างไรภายใต้สังคมนี้ ภายใต้สถานะอำนาจของบุคคลที่ยังไม่เท่ากัน ณ ตอนนี้” พูนสุข ระบุ

สำหรับการนิรโทษกรรมควรจะเป็นอย่างไรต่อไป พูนสุข มีความเห็นว่า ในการเลือกตั้งปี 2566 ประชาชนไม่ได้แพ้ คะแนนเสียงฝั่งประชาธิปไตยเราชนะ มีคนฝันถึงสังคมที่ดีกว่าเพิ่มขึ้น นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด ปัญหาและความขัดแย้งไม่สามารถจบได้โดยการใช้อำนาจกดปราบ หรือซุกปัญหาไว้ใต้พรม การกลับมาคุยกัน คือสิ่งที่ควรจะเป็นและเป็นทางออกที่ดีที่สุด ปัญหานิรโทษกรรมเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จึงมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องทำ ถ้ามองในระยะยาวการนิรโทษกรรมมาตรา 112 จะเป็นประโยชน์มากกว่า

พูนสุขทิ้งท้ายเพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนิรโทษกรรม โดยเมื่อคำนึงถึงประโยชน์สังคม และ ประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมถึงประโยชน์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต การนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 เป็นเรื่องที่ต้องทำ

.


ในวันที่กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองทางอำนาจ

ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยายาพิทักษ์ ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) พูดคุยถึงบริบทของมาตรา 112 ที่ถูกใช้ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองในการต่อรองทางอำนาจกับประชาชนหรือไม่ โดยได้หยิบยกเอาประเด็นที่น่าสนใจจากหนังสือ The Prince โดยผู้เขียน Machiavelli (นักปรัชญาชาวอิตาเลียน) เกี่ยวกับการปกครองอย่างไรของผู้ปกครองเพื่อให้ปกครองประชาชนได้ สิ่งที่สำคัญ คือ ผู้ปกครองต้องเข้าใจประชาชนของเขา

ย้อนกลับไปในเหตุการณ์เมื่อครั้ง 14 ตุลา 2516 ที่มีการชุมนุมเรียกร้องของประชาชนนำโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษา จากนักศึกษาเพียงไม่กี่คน แต่เพราะความเข้าใจว่าปัญหาของประชาชนคืออะไร ผนวกกับปัญหาที่สะสมในสังคมขณะนั้น ทำให้สิ่งที่นิสิตนักศึกษาพูด “จี้จุด” และสามารถเรียกผู้คนออกมาได้อย่างมหาศาล ซึ่งฝั่งผู้ปกครองไม่ได้นิ่งเฉย จนมาสู่เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 อันเป็นการหยุดขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนอย่างชะงัก

ต่อมาถึงช่วงการรัฐประหารของ รสช. (คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ปี 2534) ที่ขบวนการนักศึกษาซบเซาลง สถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไป จนมาสู่หลังการรัฐประหารปี 2557 ที่นักศึกษากลับมาเคลื่อนไหว ช่วงปี 2563 เป็นช่วงที่ ลัดดาวัลย์ กล่าวว่า “เป็นสิ่งที่สวยงามมาก” การเข้าถึงข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม ฝ่ายผู้มีอำนาจไม่อาจควบคุม หรือเลือกใช้เหตุการณ์เช่นเดียวกับ 6 ตุลา ได้อีก จึงเลือกใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแทน และดูเหมือนว่าเครื่องมือชิ้นนี้จะได้ผลในที่สุด

ลัดดาวัลย์ มองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2563 ที่มีการลุกฮือของนักศึกษา มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ผนวกกับการกระตุ้นของสังคมอย่างต่อเนื่อง ทำให้พลิกประวัติศาสตร์การเลือกตั้งปี 2566 ลัดดาวัลย์เห็นว่าครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่สะอาดที่สุด จนผู้มีอำนาจตระหนักได้ว่า อำนาจกำลังจะเปลี่ยนมือ และมีการใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือจนมาสู่การยุบพรรคการเมืองในที่สุด

ลัดดาวัลย์ กล่าวว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในทางการเมือง ซึ่งประเด็นอยู่ที่ว่าเราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร จึงให้ข้อสังเกตถึงการมองบริบทสังคมที่กว้างขึ้น โดยการเคลื่อนไหวในประเด็นที่จะเข้าถึงใจประชาชนได้ พร้อมทั้งคำนึงถึงองค์ประกอบด้านอื่น ๆ ประกอบกัน

.


แม้การนิรโทษกรรมไม่สำเร็จในเร็ววัน แต่เป็นสิ่งต้องทำ

กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เปรียบเทียบกระบวนยุติธรรมเสมือนตะแกรงที่ผุกร่อน เกรอะกรัง คาดหวังสิ่งใดไม่ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาในเรื่องโครงสร้างในกระบวนการยุติธรรม

ในความคิดเห็นของ กฤษฎางค์ การนิรโทษกรรมมาตรา 112 ไม่อาจสำเร็จได้ภายในรัฐบาลชุดปัจจุบัน ด้วยเหตุผลว่า พรรคการเมืองต่างไม่ได้รับผลประโยชน์อันใดจากการนิรโทษกรรม จึงไม่มีเหตุผลให้มีการนิรโทษกรรม ซึ่งแตกต่างกันเมื่อเทียบกับการนิรโทษกรรมในอดีตจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องของสถานการณ์การเมืองขณะนั้น โดยแม้การนิรโทษกรรมอาจไม่สำเร็จในเร็ววัน แต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่

การที่จะทำให้เกิดการนิรโทษกรรมได้ ต้องเป็นการสร้างอำนาจต่อรอง ไม่ใช่เพียงข้อเรียกร้องเป็นหนังสือต่อรอง กฤษฎางค์จึงเสนอแนวทางว่า อาจเป็นการลงชื่อประชาชนเพื่อยื่นกฎหมาย กระบวนการอาจไม่นำมาซึ่งชัยชนะ แต่ประชาชนจะมีโอกาสได้พูดคุยในประเด็นต่าง ๆ

.


.
เชื่อว่าสังคมได้เปลี่ยนไปแล้ว อยากให้พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา

นิราภร อ่อนขาว ผู้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เล่าถึงความรู้สึกของตนว่า รู้สึกหมดหวังกับการนิรโทษกรรม แม้ตนควรจะเป็นผู้ที่มีความหวังต่อการนิรโทษกรรมมากที่สุดก็ตาม แต่ด้วยสถานการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ความหวังริบหรี่ลงเรื่อย ๆ เหมือนเดินในอุโมงค์ที่ทั้งยาวและมืดมิด แม้ยังพอมองเห็นแสงริบหรี่ที่ปลายอุโมงค์ แต่ต้องใช้ทั้งเวลา ความอดทน แรงกายแรงใจ สิ่งที่เป็นแรงผลักดันที่สำคัญ คือ ทุก ๆ คนที่ยังอยู่ด้วยกัน คนที่เชื่อและฝันถึงสังคมเดียวกัน พร้อมทั้งเชื่อว่า กำลังใจ และการช่วยเหลือกัน คือ สิ่งที่ทำให้กระบวนการประชาธิปไตยยังเดินต่อไปได้

นิราภร มองว่า สังคมได้เปลี่ยนไปแล้ว เราสามารถพูดเรื่องสถาบันพระมหาษัตริย์ เรื่องการยกเลิก 112 ได้อย่างตรงไปตรงมาที่สุด อย่างที่สังคมไทยไม่เคยมีมาก่อน เหลือที่ว่าเราจะต่อกรกับผู้มีอำนาจ หรือผู้ที่ถือกฎหมายตอนนี้อย่างไร แต่เราเชื่อว่าสักวันการนิรโทษกรรมจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

สุดท้าย นิราภร ได้กล่าวว่า ในประเด็นปัญหาที่มีการถกเถียงกัน อยากให้มีการพูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมา เหนือสิ่งอื่นใดในการถกเถียงอยากให้คำนึงถึงว่า ในฐานะที่ไทยได้เป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ควรรับรองการใช้เสรีภาพในการแสดงออก และมองว่าการดำเนินดคีโดยใช้มาตรา 112 เป็นการขัดต่อหลักการเรื่องเสรีภาพเป็นอย่างมาก และอยากให้ผู้มีอำนาจคำนึงถึงหนังสือร้องเรียงจากทาง UN เกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพแสดงออกให้มากขึ้น

.


https://tlhr2014.com/archives/71188


ศาลยกฟ้องคดีเพกาซัสสปายแวร์ ชี้ไม่มีหลักฐานการละเมิด เพราะไม่ได้นำผู้เชี่ยวชาญ Citizen Lab จากแคนาดามาเบิกความ

https://www.facebook.com/the101.world/videos/1132146061663738

The101.world
11h ·

ศาลยกฟ้องคดีเพกาซัสสปายแวร์ ชี้ไม่มีหลักฐานการละเมิด
.
21 พ.ย. 2567 ศาลแพ่งยกฟ้องคดีเพกาซัสสปายแวร์ที่ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ 'ไผ่ ดาวดิน' เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง NSO Group บริษัทผู้ผลิต โดยเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว 2,500,000 บาท
.
ศาลเห็นว่า NSO Group ไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เนื่องจากโจทก์มีเพียงพยานที่อ้างถึงการเก็บข้อมูลตรวจสอบ แต่ไม่ได้นำผู้เชี่ยวชาญจาก Citizen Lab (ประเทศแคนาดา) มาเบิกความว่ามีการตรวจวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ชุดข้อมูลของโจทก์ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผลการตรวจสอบจึงรับฟังไม่ได้ ศาลพิพากษายกฟ้อง


ถ้าชี้แจงได้ จะกลัวอะไร😜🍓 ‘ก.ยุติธรรม’ แถลง ไม่สบายใจ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญไปให้ข้อมูลกรณี ‘ทักษิณ’ ครั้งที่ 2 เผย ส่งหนังสือแจ้งข้อกังวลด้านกฎหมาย


ภาพจาก มติชน
...
สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
14h ·

‘ก.ยุติธรรม’ แถลง ไม่สบายใจ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ เชิญไปให้ข้อมูลกรณี ‘ทักษิณ’ ครั้งที่ 2 เผย ส่งหนังสือแจ้งข้อกังวลด้านกฎหมายว่า ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ กมธ.คณะนี้-ซ้ำซ้อนกับ กมธ.ตำรวจ-องค์กรอิสระ ยังไม่ทราบ รมว.ยุติธรรม จะไปให้ข้อมูลพรุ่งนี้หรือไม่
วันที่ 21 พ.ย.67 นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรม และผู้บริหารกรมราชทัณฑ์ แถลงข่าวเกี่ยวกับการชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร กรณีการรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร ที่โรงพยาบาลตำรวจ ขณะต้องโทษ หลังมีหนังสือเรียกให้ไปให้ข้อมูลเป็นครั้งที่ 2
นายสมบูรณ์ กล่าวว่า กรณีการรักษาตัวของนายทักษิณ ในสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการตรวจสอบกระทรวงยุติธรรม โดยคณะกรรมาธิการ 2 ชุด ชุดแรกคือ คณะกรรมาธิการการตำรวจ ที่ได้มีหนังสือแจ้งให้กรมราชทัณฑ์ไปให้ข้อเท็จจริงตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566 และต่อมาได้มีการนัดหมายไปดูสถานที่เกิดเหตุที่โรงพยาบาลตำรวจแล้ว
ส่วนชุดที่ 2 คือ คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ ที่ได้มีหนังสือให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของกรมราชทัณฑ์ไปชี้แจงและส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง ครั้วแรกเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องไปชี้แจง และล่าสุด กมธ.ชุดนี้ มีหนังสือเชิญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม , อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลายคนเข้าไปชี้แจงเพิ่มเติม โดยนัดหมายในวันพรุ่งนี้ (22 พย 67) ช่วงเช้า
ที่ปรึกษา รมว.ยุติธรรมกล่าวว่า เรื่องนี้กระทรวงยุติธรรม มีความไม่สบายใจ เพราะก็ต้องการที่จะให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎรอย่างเต็มที่ แต่เมื่อพิจารณาอำนาจหน้าที่ตามกรอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ และข้อระเบียบการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว กรมราชทัณฑ์เห็นว่า เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ที่จะเข้ามาตรวจสอบ หรือเชิญเจ้าหน้าที่ไปให้ข้อมูล
ดังนั้น เมื่อกรมราชทัณฑ์ได้รับหนังสือเชิญดังกล่าว จึงมีการเสนอพิจารณาความเห็นไปตามลำดับ และเมื่อวานนี้ (20 พ.ย. 67) รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้มีหนังสือส่งไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรและ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ถึงข้อกังวลเรื่องข้อกฎหมาย โดยมีเหตุผล 3 ข้อ ที่กรมราชทัณฑ์ไม่เห็นด้วยกับการตรวจสอบของ กมธ. ชุดนี้
ข้อ 1. รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า การที่คณะกรรมาธิการจะศึกษาข้อเท็จจริงเรื่องใด ต้องเป็นเรื่องในอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในการตั้งคณะกรรมาธิการดังกล่าว ซึ่งในส่วนของ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ มีการระบุกรอบอำนาจหน้าที่โดยสรุปไว้ว่า เกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคงแห่งรัฐ การค้าชายแดน การค้าผ่านแดน จุดผ่านแดนถาวร จุดผ่านแดนชั่วคราว จุดผ่อนปรนเพื่อการค้า ช่องทางธรรมชาติ ช่องทางตามกฏหมายศุลกากร การเดินทางข้ามแดน การจัดการแรงงานข้ามแดน การส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน การแก้ปัญหาชายแดนไทย ยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่กระทบต่อความมั่นคง การส่งเสริมสนับสนุนแก้ไขปัญหาดินแดนและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งเรื่องที่เชิญไปให้ข้อมูลนั้น ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่
ข้อ 2. การดำเนินการเรื่องนี้ ซ้ำซ้อนกับคณะกรรมาธิการชุดอื่นของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งตามรัฐธรรมนูญระบุไว้ว่า การดำเนินการของคณะกรรมาธิการ ต้องไม่เป็นเรื่องซ้ำซ้อน หากมีเรื่องที่อาจเกี่ยวข้องกับหลายคณะกรรมาธิการ ก็มีระเบียบกำหนดไว้โดยเฉพาะว่า ต้องรวมเป็นเรื่องเดียว โดยประธานสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นผู้ชี้ว่าคณะกรรมาธิการใด จะเป็นประธานในการตรวจสอบ ดังนั้นกรณีนี้ที่ กมธ.ตำรวจ ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ต่อให้จะเข้าอำนาจหน้าที่ของ กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐฯ ก็ต้องเอาไปรวมกัน จะแยกไม่ได้
ข้อ 3. ปัจจุบันมีองค์กรอิสระหลายองค์กรที่ทำการไต่สวนรวบรวมข้อเท็จจริงเรื่องนี้อยู่ เช่น ป.ป.ช. , สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน , คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งกรมราชทัณฑ์มีความเห็นว่า คณะ กมธ. ควรต้องคำนึงว่า ตอนนี้มีการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระอยู่แล้วด้วย
นายสมบูรณ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นเดียวกับที่กรมราชทัณฑ์กังวลว่า คณะกรรมาธิการชุดนี้ทำถูกต้องตามกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมา รัฐมนตรีฯ ให้ความสำคัญและความร่วมมือกับสภาผู้แทนราษฎรมาโดยตลอด แต่ในวันพรุ่งนี้จะไปให้ข้อมูลหรือไม่ ท่านเองก็ยังไม่ได้ให้คำตอบ ส่วนเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ก็ยังไม่ทราบว่าใครจะไปหรือไม่ไปบ้าง เพราะครั้งนี้มีการเชิญมาหลายท่านมาก
“ยืนยันว่า เรื่องนี้ ไม่ได้นำมาอ้างเพื่อที่จะปกปิดหรือไม่ให้ข้อมูล หรือไม่มีหลักฐานที่จะแสดงต่อคณะกรรมาธิการ เพราะตอนนี้ก็มีหลายหน่วยงานที่ทำการตรวจสอบอยู่แล้วอย่างเข้มข้น จึงไม่มีสิ่งไหนที่จะปกปิดได้อยู่แล้ว และทุกหน่วยงานที่เคยได้ชี้แจงไปแล้ว ก็มีเอกสารให้ครบถ้วน”
ทั้งนี้ ความเห็นดังกล่าว ไม่ได้เป็นการปิดประตูการตรวจสอบของคณะกรรมาธิการชุดนี้ เพียงแต่เป็นการทำหนังสือท้วงติง แสดงความเห็นไป ซึ่งผู้ที่จะชี้ขาดได้ก็คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร หากท่านมีดุลพินิจว่า อยู่ในอำนาจหน้าที่ ก็ต้องเข้าไปให้ข้อมูลอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า เหตุใดในการที่คณะ กมธ.ชุดนี้ เชิญไปครั้งแรก จึงเข้าไปให้ข้อมูล ไม่โต้แย้งว่าไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ นายสมบูรณ์ กล่าวว่า ทุกฝ่ายต้องการให้ความร่วมมือในการตรวจสอบมากที่สุดอยู่แล้ว ครั้งแรกที่มีหนังสือมา จึงขออะไรก็ให้ไป และไม่ได้มีการเชิญบุคคลเข้าไปให้ข้อมูลเยอะเท่าครั้งนี้ แต่เมื่อครั้งนี้มีการเชิญมาหลายคน รวมถึงผู้บริหารระดับสูง จึงได้มีการพูดคุยกันหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายเลขาฯ และฝ่ายกฎหมาย ซึ่งมีการแสดงข้อกังวลเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณา
แต่ยืนยันว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ไปชี้แจงในครั้งแรก แล้วมีวิวาทะกับประธานคณะ กมธ. คือ นายรังสิมันต์ โรม แต่ยอมรับว่าเมื่อโดนตรวจสอบก็ต้องกลัวอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นการกระทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้นายทักษิณ โดยเรื่องนี้เป็นเหตุการณ์ที่จบไปแล้ว ตอนนี้เป็นเพียงขั้นตอนของการตรวจสอบ และไม่ขอตอบกรณีที่ว่า หากอนาคต เกิดกรณีเดียวกันกับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะมีความวุ่นวายเช่นนี้หรือไม่

(https://www.facebook.com/photo/?fbid=1189256192561318&set=a.328293581990921)


'พริษฐ์' เผยผลหารือประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชัดเจนทำประชามติ 2 ครั้ง จ่อคุยประธานสภาฯ พุธหน้า


The Reporters
10h ·

POLITICS: 'พริษฐ์' เผยผลหารือประธานศาลรัฐธรรมนูญ ชัดเจนทำประชามติ 2 ครั้ง จ่อคุยประธานสภาฯ พุธหน้า ปัดตอบปม 'ชูศักดิ์' เสนอตีความกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน

วันนี้ (21 พ.ย.67) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมแบบไม่เป็นทางการ ความเห็นที่ออกมาจึงไม่ใช่ความเห็นที่เป็นทางการของศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ได้พบกับตุลาการทั้งคณะ พบเพียงประธานศาลรัฐธรรมนูญ และผู้เข้าร่วมประชุม สิ่งที่พูดคุยกัน จึงเป็นความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม จึงไม่ใช่ความเห็นของทั้งองค์คณะ

จากการหารือพบว่า ได้มีการทบทวนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งระบุไว้ชัดไว้ในย่อหน้าสุดท้ายว่ามีการพูดถึงประชามติ 2 ครั้ง คือ 1 ครั้งก่อนและ 1 ครั้งหลัง จึงหารือว่าความหมายดังกล่าว ไม่ได้มีการแสดงความเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง

ส่วนการทำประชามติทั้งก่อนและหลัง ขั้นตอนจะเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่รัฐสภาต้องตัดสินใจร่วมกัน ข้อเสนอที่พรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย เคยพูดมาก่อนหน้านี้คือ ให้ทำประชามติ 2 ครั้ง โดยใช้วิธีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพิ่มหมวด 15/1 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไป หากผ่าน 3 วาระของรัฐสภาแล้วจะต้องทำประชามติครั้งแรก เพื่อถามว่าประชาชนเห็นชอบกับแนวทางดังกล่าวหรือไม่ ก่อนจะมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วจึงทำประชามติครั้งที่ 2 เพื่อถามว่าประชาชนจะเห็นชอบกับเนื้อหาที่ถูกจัดทำมาในฉบับใหม่หรือไม่

จากการหารือเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ดังนั้นก็จะนำแนวทางนี้ไปหารือกันประธานรัฐสภาในวันที่ 27 พ.ย.67 เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยหวังว่าประธานรัฐสภาจะทบทวนและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเพิ่มหมวด 15/1 เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีที่ทำให้มีการพิจารณามุมมองต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และถ้าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภามาได้ จะมีการจัดทำประชามติหลังจากที่ผ่านวาระ 3

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า การหารือไม่มีใครแสดงความคิดเห็นว่าจำเป็นต้องทำประชามติ 3 ครั้ง คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 พูดถึงการทำประชามติแค่ 2 ครั้ง แต่ 2 ครั้งจะเกิดขึ้นตอนไหน พรรคประชาชนและพรรคเพื่อไทย เสนอไปสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จึงคิดว่าผลของการหารือดังกล่าวจะนำไปสู่การพูดคุยกับสภาฯ ให้ทบทวนและบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็คิดว่ารัฐสภาจะเดินหน้าพิจารณาได้ แต่แน่นอนว่าเป็นสิทธิบางกลุ่มอาจจะยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะไปคาดการณ์ 100% คำวินิจฉัยที่จะออกมาคงไม่ได้ แต่ก็เชื่อว่าผลที่ออกมาจะยืนยันว่าสิ่งที่เราเสนอนั้นไม่ได้ขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564

สำหรับความเป็นไปได้ที่สภาฯ จะเสนอให้มีการตีความว่ากฎหมายประชามติ เข้าข่ายเป็นกฎหมายการเงินเพื่อที่จะได้ไม่ต้องรอ 180 วัน ตามที่นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอนั้น คงต้องไปดูในรายละเอียด ตนเองยังไม่ทราบรายละเอียดที่นายชูศักดิ์ เสนอ จึงขอไม่ให้ความเห็น แต่ถ้ามีการเสนอพรรคประชาชน ในฐานะพรรคการเมืองในสภาฯ ก็ต้องมีความเห็นในเรื่องนี้อยู่แล้ว ขณะนี้หลายคนกังวลใจว่า เมื่อข้อสรุปของคณะกรรมาธิการร่วมเห็นชอบร่างของ สว. เมื่อส่งกลับมาที่ สส. สภาฯ อาจยืนยันในหลักการเดิมคือ ใช้เสียงข้างมากหนึ่งชั้น ถ้าหากเป็นเช่นนั้นร่าง พ.ร.บ.ประชามติจะต้องถูกชะลอไป 180 วัน ซึ่งถ้าจะยึดตามแผนเดิมให้มีประชามติ 3 ครั้ง และจะไม่จัดครั้งแรก จนกว่า พ.ร.บ.ประชามติจะแก้ไขเสร็จสิ้น คาดว่าจะกระทบต่อกรอบเวลา

แต่ถ้าผลสรุปที่ได้จากวันนี้สามารถทำให้เราโน้มน้าวทุกฝ่าย หันมาใช้โรดแมพในการทำประชามติ 2 ครั้ง พ.ร.บ.ประชามติจะล่าช้า และคงไม่กระทบต่อไทม์ไลน์ดังกล่าว เพราะถ้าเราทำประชามติ 2 ครั้ง ขั้นตอนแรกไม่ใช่การจัดทำประชามติเลย แต่เป็นการรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับ ส.ส.ร. และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ใน 3 วาระของรัฐสภา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในระดับหนึ่ง แต่หากเราดำเนินการตามขั้นตอนเช่นนี้ 6 เดือนที่ชะลอไปก็คงจะไม่กระทบไทม์ไลน์ ถ้าเราไม่อยากให้ความล่าช้าของ พ.ร.บ.ประชามติ เป็นปัญหาก็หันมาใช้กลไกหรือโรดแมพประชามติ 2 ครั้งก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี

#TheReporters #เดอะรีพอร์ตเตอร์ #ไอติมพริษฐ์ #พริษฐ์ #พรรคประชาชน

(https://www.facebook.com/photo?fbid=926575906331112&set=a.534942252161148)


ทำไมสนามเลือกตั้งนายก อบจ. อุดรธานี ‘เมืองหลวงคนเสื้อแดง’ จึงกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีระหว่าง ‘ส้ม-แดง’ ? ประชาไทวิเคราะห์เรื่องนี้



ศึกชิง อบจ. อุดรธานี เดือด ‘ส้ม-แดง’ เทสต์ระบบ วางเกมเลือกตั้งใหญ่

21 พฤศจิกายน 2567
ประชาไท

ทำไมสนามเลือกตั้งนายก อบจ. อุดรธานี จึงกลายเป็นศึกแห่งศักดิ์ศรีระหว่าง ‘ส้ม-แดง’ ? ประชาไทวิเคราะห์เรื่องนี้จากหลายปัจจัย ไล่มาตั้งแต่ความพิเศษของพื้นที่ในฐานะ ‘เมืองหลวงคนเสื้อแดง’ , ข้อค้นพบเมื่อเปรียบเทียบตัวเลขผลการเลือกตั้งปี 2562 กับปี 2566 ที่กระแสส้มรุกคืบจนแชมป์เก่าหวั่นใจ รวมถึงมุมมองจากแกนนำระดับแม่เหล็กของทั้ง 2 พรรค

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานีในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย. ที่จะถึงนี้ เป็นการแข่งขันระหว่างผู้สมัครจาก 2 พรรคหลัก คือ

พรรคประชาชน เบอร์ 1 - คณิศร ขุริรัง ประธานสภาทนายความจังหวัดอุดรธานี 2 สมัยติด และอดีตรองนายก อบจ. (2552-2555)

พรรคเพื่อไทย เบอร์ 2 - ศราวุธ เพชรพนมพร อดีต สส. 4 สมัย

ทว่าศึกชิงนายก อบจ.ในครั้งนี้ถูกจับตามากกว่าสนามท้องถิ่นอื่นใด เพราะเป็นการประชันกันระหว่างพรรคส้ม-แดงเป็นครั้งแรกในภาคอีสานนับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งล่าสุดที่พลังส้มกสามารถแทรกตัวผ่านกำแพง ‘บ้านใหญ่’ ได้หลายจังหวัด

ในขณะที่อุดรธานียังมีความพิเศษเชิงพื้นที่เพราะเป็นพื้นที่พรรคเพื่อไทยมาตลอด 2 ทศวรรษ และถูกเรียกว่าเป็นเมืองหลวงของคนเสื้อแดง การเลือกตั้ง 2548, 2554, 2562 อุดรธานีแบ่งพื้นที่เป็น 8-10 เขต เรียกว่า เพื่อไทยได้ สส. กวาดทุกเขตยกจังหวัด

จนมาปี 2566 นี้เองที่กระแสของก้าวไกลผงาดขึ้นช่วงชิงความนิยมเดิม แม้จะคว้า สส.เขตในจังหวัดอุดรได้เพียงเขต 1 เขตเดียว แต่หากดูคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ จะพบว่า ในความ “อันดับ 2” นั้น หลายพื้นที่ก็สูสีกับอันดับ 1 มากขึ้นทุกที

คะแนน สส.บัญชีรายชื่อ 10 เขต อุดรธานี

เขต 1
ก้าวไกล 39,529
เพื่อไทย 26,599

เขต 2
เพื่อไทย 37,194
ก้าวไกล 37,024

เขต 3
พื่อไทย 32,096
ก้าวไกล 28,124

เขต 4
เพื่อไทย 33,209
ก้าวไกล 24,956

เขต 5
เพื่อไทย 36,683
ก้าวไกล 26,633

เขต 6
เพื่อไทย 36,134
ก้าวไกล 26,368

เขต 7
เพื่อไทย 36,301
ก้าวไกล 31,191

เขต 8
เพื่อไทย 36,527
ก้าวไกล 27,505

เขต 9
เพื่อไทย 39,407
ก้าวไกล 29,012

เขต 10
เพื่อไทย 39,167
ก้าวไกล 27,585

หากมองระดับภาคอีสาน เทียบปี 2562 กับ 2566 จะพบว่า

เพื่อไทย จากที่เคยได้ สส.เขต ทั้งหมด 84 คน ลดเหลือ 73 คน
ก้าวไกล จากที่เคยได้ สส.เขต ทั้งหมด 1 คน เพิ่มเป็น 8 คน
ภูมิใจไทย จากที่เคยได้ สส.เขตทั้งหมด 16 คน เพิ่มเป็น 35 คน

ดังนั้น การเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ จึงไม่ใช่การเลือกตั้งท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว (โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีลักษณะสูสี) แต่เป็นการวัดกระแสของ 2 พรรคใหญ่ เพื่อไทย-ประชาชน เพื่อดูทิศทางอนาคตการเลือกตั้งใหญ่ระดับประเทศในครั้งหน้า

แม้หลายคนจะบอกว่า ‘วิธีเลือก’ ของประชาชนตอนเลือกตั้งท้องถิ่นต่างจากการเลือกตั้งใหญ่ เพราะท้องถิ่นอาศัยความสัมพันธ์กันจริงๆ ขณะที่เลือกตั้งประเทศนั้นอาศัยกระแส แต่ดูเหมือนตอนนี้ ‘อุดร’ กลายเป็นกระแสท้ารบกันเสียแล้ว

ในช่วงสัปดาห์ที่แล้วแกนนำระดับแม่เหล็กของทั้ง 2 พรรคต่างทุ่มสรรพกำลังในการลงพื้นที่หาเสียงและเนื้อหาปรากฏตอบโต้กันในหน้าข่าวอยู่หลายวัน

เทียบวิธีหาเสียง-นโยบาย

พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนต่างลงพื้นที่หาเสียงในช่วงไล่เลี่ยกัน แต่แตกต่างกันที่จุดขายที่นำมาใช้หาเสียง สะท้อนมุมมองต่อท้องถิ่นที่ต่างกัน

สำหรับพรรคเพื่อไทย มีการปรากฏตัวของทักษิณ แกนนำพรรคเพื่อไทยและอดีตแกนนำคนเสื้อแดง อาทิ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี, วิเชียร ขาวขำ อดีตนายก อบจ.อุดรธานี, พิพัฒน์ชัย ไพบูลย์ อดีตแกนนำ นปช., จิราพร สินธุไพร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, ก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ, ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ

ทางด้านณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้เคยเป็นแกนนำ นปช. ได้โพสต์ภาพคู่กับ “ขวัญชัย สาราคำ” อดีตแกนนำ นปช. ผู้มีดำแหน่งเป็นประธานชมรมคนรักอุดรฯ พร้อมบอกด้วยว่าการต่อสู้ในอดีตส่งผลให้สุขภาพของขวัญชัยไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนเก่า แต่ว่าหัวใจยังเหมือนเดิม

ในช่วงวันที่ 13-14 พ.ย. อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณเปิดหน้าบนเวทีหาเสียงอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงของผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี และเป็นครั้งแรกที่เดินทางมาอุดรธานี นับตั้งแต่กลับเมืองไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว

ทักษิณอ้อนขอคะแนนจากคนเสื้อแดงหลายครั้ง ตั้งแต่ “คิดฮอตหลาย” “อย่าลืมผมนะ” และ “ผมกลับมาแล้ว” ปราศรัยหวนคืนความทรงจำเมื่อ 20 ปีที่แล้วเรื่องความสำเร็จของนโยบายไทยรักไทยและปลุกความเชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐบาลแพทองธาร อาทิ ดิจิทัลวอลเล็ต รวมทั้งการแก้ปัญหาหนี้สิน, การปราบยาเสพติด, การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวัน

ขณะที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อปราศรัยตอนหนึ่งว่างบประมาณท้องถิ่นมีไม่มาก แต่ถ้า อบจ. กับรัฐบาลมาจากพรรคเดียวกัน เชื่อมประสานกัน การทำงานก็หนุนส่งกันได้

ส่วนทางฝั่งพรรคประชาชนขนทัพ สส. และแกนนำระดับแม่เหล็กของพรรคส้มเดิมไปช่วยหาเสียงในช่วง 15-17 พ.ย. อาทิ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ, พรรณิการ์ วานิช รวมทั้ง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่บินกลับจากสหรัฐอเมริกามาช่วยอ้อนขอคะแนนให้คณิศร โดยในช่วงก่อนหน้านั้น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกกุล และศิริกัญญา ตันสกุล ก็ได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาปราศรัยก่อนแล้ว แต่อาจไม่ได้เป็นกระแสมากนัก

พรรคประชาชนชูสโลแกน “เปลี่ยนอุดรให้ก้าวไกล อบจ.รับใช้ประชาชน” แนวคิดหลักคือการกระจายอำนาจและงบประมาณลงสู่ท้องถิ่นเพื่อพัฒนาบริการสาธารณะ โดยชูโครงการเรือธงอย่าง “น้ำประปาดื่มได้” เป็นนโยบายด่วนทำทันทีภายใน 1 ปี นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงนโยบายรถเมล์ไฟฟ้า กำหนดเส้นทางเชื่อมโยงกลางเมืองอุดรธานี, ถนนปลอดหลุม ไฟสว่าง มีกล้องวงจรปิด เป็นต้น

พรรคสีแดงมีแต้มต่อ

ถ้ามองตามสภาพพื้นที่ เพื่อไทยมีความได้เปรียบอยู่หลายประการ ได้แก่

หนึ่ง – ก่อนหน้านี้ตำแหน่งนายก อบจ. อุดรธานีเป็นของ “วิเชียร ขาวขำ” คนของเพื่อไทย 2 สมัยติดต่อกัน การส่งศราวุธลงเลือกตั้งในครั้งนี้จึงคือการรักษาเก้าอี้ให้ฝ่ายแชมป์

สอง – ศราวุธมีฐานเสียงในเมืองอยู่แล้วพอสมควร เขาเป็นอดีต สส.อุดรธานี เขต 1 อำเภอเมืองมาถึง 4 สมัยติดต่อกัน บวกกับเขายังเป็นลูกเขยของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อดีตรองนายกฯ และรมว.ยุติธรรมในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ส่วน “หทัยรัตน์ เพชรพนมพร” ผู้เป็นน้องสาวของศราวุธก็เป็น สส.อุดรธานี เขต 2 พรรคเพื่อไทย

ทว่าในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาปี 2566 เขาเพิ่งสอบตกครั้งแรก หลังพ่ายแพ้ให้กระแสพรรคส้มที่ลามเข้ามาถึงอำเภอเมืองอุดรธานี

สาม – พรรคสีส้มที่มีฐานเสียงเป็นคนรุ่นใหม่จำนวนมากเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสนามท้องถิ่น เนื่องจากการเลือกตั้งท้องถิ่นมีปัจจัยที่แตกต่างจากการเลือกตั้งทั่วไปคือ ไม่มีการเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งทำให้กลุ่มฐานเสียงของพรรคประชาชนที่ไปเรียนหรือไปทำงานที่จังหวัดอื่น ไม่สามารถมาโหวตให้พรรคประชาชนได้

ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งปี 2566 เมื่อดูคะแนนของจังหวัดอุดรธานีทั้ง 10 เขตเลือกตั้ง โดยดูเฉพาะส่วนของบัตรเลือกตั้งนอกเขตและนอกราชอาณาจักร จะพบว่าพรรคก้าวไกลได้คะแนนส่วนนี้เป็นอันดับ 1 ทั้งแบบเขตและบัญชีรายชื่อ (อ้างอิงข้อมูลจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง)

พรรคสีส้มก็มีแต้มต่อ

หนึ่ง - ผู้สมัครพรรคเพื่อไทยถูกยื่นเรื่องร้องเรียนกับ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งก่อนหน้านี้สำนักข่าวอิศราเปิดเผยว่าภรรยาของเขาได้ร่วมถือหุ้นบริษัทอสังหาฯ ในภูเก็ตเมื่อปี 2557 ร่วมกับ ‘ตู้ห่าว’ นักธุรกิจจีนผู้ต้องหาคดียาเสพติด แม้ศราวุธได้มีการยื่นเพิ่มเติมบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเติมแล้วและเคยให้สัมภาษณ์ว่า บริษัทดังกล่าวยังไม่ได้ทำธุรกิจอะไร ภรรยาก็ยังไม่ได้รับประโยชน์ใด ผลสอบสวนก็ยังไม่มีความชัดเจน แต่เรื่องนี้ก็สุ่มเสี่ยงกลายเป็นเป้าสร้างความลังเลให้กับผู้ลงคะแนนได้

ชัยธวัช ตุลาธน ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชนก็หยิบยกเรื่องนี้มาปราศรัยบนเวทีอุดรฯ จนท้ายที่สุดศราวุธได้มอบหมายทนายความให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกับชัยธวัช และร้องเรียนกับ กกต.ว่าเป็นการจงใจปราศรัยใส่ร้าย

สอง แม้ไม่มีเลือกตั้งล่วงหน้า แต่การเลือกตั้งใหญ่ปี 2566 ก็เห็นพลังของ ‘หัวคะแนนธรรมชาติ’ อย่างคนรุ่นใหม่แล้วว่าพวกเขาจำนวนไม่น้อยติดต่อสื่อสารและบอก ‘ที่บ้าน’ ว่าควรเลือกใคร

ทั้งนี้ ปัจจุบันพรรคประชาชนประกาศตัวแล้วว่าจะส่งผู้สมัครลงชิงนายก อบจ.12 ​จังหวัด ล็อคเป้าพร้อมประกาศชัดเจนว่าจะเลือกสู้ในพื้นที่ใดบ้าง

แกนนำ 2 พรรคมองเกมนี้ยังไง

พรรณิการ์ วานิช แกนนำคณะก้าวหน้า กล่าวในรายการ The Politics ทางมติชนทีวีว่า พรรคเพื่อไทยใช้เวทีเลือกตั้ง อบจ.อุดร เพื่อสนองเป้าหมายการเมืองภาพใหญ่ เห็นได้จากการที่ทักษิณปราศรัยพาดพิงพรรคส้มรวมถึงให้สัมภาษณ์พาดพิงธนาธร ทำให้คนหันมาสนใจสนามเลือกตั้งท้องถิ่นอุดรธานีในฐานะที่เป็นเวทีปะทะกันของส้ม-แดง

“พอบอลมันถูกเตะเข้ามาสู่พวกเราแล้วกลายเป็นการเมืองระดับชาติ ดิฉันต้องใช้คำว่ามันไปกระตุ้นต่อมผู้รักประชาธิปไตยในอุดรธานี คำว่า “ตระบัดสัตย์ข้ามขั้ว” “ไปหลอมรวมกับอำมาตย์” หรือคำอย่างเช่น “ประชาชนเข้าใจผิด” “สีตก” มันไปกระตุ้นต่อมให้คนรู้สึกว่า เฮ้ยไม่ได้แล้ว นี่ไม่ใช่แค่การเมือง อบจ. ที่เป็นเรื่องน้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ แต่มันเป็นการแสดงพลังให้เห็นว่าคนอุดรจะต้องการการเมืองแบบไหน ไม่ใช่แค่เฉพาะ อบจ.”

พรรณิการ์กล่าวว่า สถานการณ์ที่โทนอารมณ์ของผู้คนเป็นแบบนี้ถือเป็นคุณกับพรรคส้ม เพราะมันสอดคล้องกับสิ่งที่พรรคส้มสื่อสื่อสารมาตลอดในภาพใหญ่อยู่แล้ว และจากที่เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนเองได้ไปเดินแจกแผ่นพับหาเสียง เจอชาวบ้านหลายคนบอกว่าลูกๆ ของพวกเขากำลังจะบ้านมาเลือกตั้ง ซึ่งก็อาจเป็นผลมาจากการหาเสียงเลือกตั้ง อบจ.ที่ถูกโหมกระแสให้เป็นเรื่องการเมืองภาพใหญ่ “เป็นการเทสต์ว่าอีสานหลังจากตั้งรัฐบาลข้ามขั้วเป็นแบบไหน”

พรรณิการ์กล่าวว่า สมรภูมินี้คล้ายกับการ “เทสต์ระบบ” เพราะเมื่อมองย้อนดูสนามการเลือกตั้งท้องถิ่นในพื้นที่อื่นๆ ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ปะทะกันอย่างชัดเจนระหว่างพรรคเพื่อไทยกับประชาชน แต่อุดรธานีเป็นสนามการเลือกตั้งท้องถิ่นแรกที่แดงกับส้มต้องแข่งกันในภาคอีสาน และก็เป็นธรรมดาที่พรรคการเมืองจะมองยาวไปถึงเลือกตั้งใหญ่ปี 2570 ฉะนั้นสนาม อบจ.อุดรธานีจึงสามารถบอกความนิยมได้ระดับหนึ่ง

ทางด้าน ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับจอมขวัญ หลาวเพ็ชร์ ในรายการมีเรื่อง (อยาก) Live ว่าพรรคส้มเคยขึ้นสู่กระแสสูงในการเลือกตั้งครั้งที่แล้วก็จริง แต่มันก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไปในทุกกรณี ถ้าดูจากโพลสำรวจความนิยมในช่วงหลัง เราจะเห็นว่าระดับความนิยมพรรคประชาชน ทั้งในตัวพรรคและผู้นำพรรคลดลง ในขณะที่ระดับคะแนนนิยมของพรรคเพื่อไทยและผู้นำพรรคอย่างแพทองธารก็เพิ่มขึ้น

“ถ้าเป็นสนามการเมืองท้องถิ่น ส่วนตัวผมให้น้ำหนักกับความเป็นจริงทางการเมือง ก็คือนักการเมืองหรือกลุ่มการเมืองที่เกาะติดกับคนในพื้นที่ ทำงานเครือข่าย ทำงานกับประชาชนมายาวนาน โอกาสเขาจะสูงกว่า ซึ่งพรรคประชาชนยังไม่เด่นในเรื่องนี้”

ณัฐวุฒิกล่าวว่าตั้งแต่อนาคตใหม่มาจนถึงก้าวไกล พรรคสีส้มก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในสนาม อบจ.สักครั้งเลย ส่วนหนึ่งจึงต้องยอมรับว่าผู้สมัครที่อยู่ติดพื้นที่ มีผลงาน หรือวงศ์ตระกูลที่ผูกพันใกล้ชิดกับชาวบ้านก็มีโอกาสจะได้รับเลือกตั้งสูงกว่า ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการเลือกตั้งระดับประเทศเมื่อปีที่แล้ว กระแส “มีลุงไม่มีเรา” ที่สอดรับกับวาระทางการเมืองในตอนนั้น “มันก็วูบเดียวนำพาไปสู่ชัยชนะได้” แต่ในการเลือกตั้งท้องถิ่นมันไม่สามารถใช้กระแสแบบนั้นได้

มุมมองนักวิชาการ

รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาให้มุมมองกับสำนักข่าวทูเดย์ว่า การลงพื้นที่ของทักษิณในครั้งนี้สามารถมองได้ว่าเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกทั้งฝูง กล่าวคือเป็นการปลุกกระแสนิยมพรรคเพื่อไทยเพื่อหวังผลการเลือกตั้งในปี 2570 อีกทั้งยังป้องกันการรุกคืบของพรรคภูมิใจไทยที่จะขยับดึงคะแนนเสียงจากอีสานใต้ เริ่มเข้ามาอีสานกลางแล้ว รวมถึงเป็นการส่งสัญญาณไปถึงกลุ่มบ้านใหญ่ที่อาจยังลังเลในการเข้าร่วมกับเพื่อไทย

ทางด้าน ดร. สติธร ธนานิธิโชติ ผอ.สำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า วิเคราะห์กับสำนักข่าวพีพีทีวีว่า การที่ทักษิณเดินเกมปลุกกระแสชนกับพรรคส้ม อาจเป็นไปเพื่อรักษาบรรยากาศการต่อสู้ของ 2 พรรค ซึ่งในมุมหนึ่งก็อาจมองได้ว่าเป็นไปเพื่อสกัดความเคลื่อนไหวของกลุ่มที่หวังจัดการกับทักษิณและพรรคเพื่อไทยผ่านกระบวนการทางกฎหมายและนักร้องต่างๆ

https://prachatai.com/journal/2024/11/111448