วันอาทิตย์, กรกฎาคม 31, 2559

สื่อเทศ (TIME) ฟันธง คนรุ่นใหม่ โหวตโน





สื่อเทศฟันธง คนรุ่นใหม่ โหวตโน


by Sathit M.
30 กรกฎาคม 2559
Voice TV

นิตยสารไทม์คาด คนไทยวัยหนุ่มสาวโหวตไม่รับ ชี้ระบอบทหารได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ กองทัพสืบทอดอำนาจ ถ้าไม่ผ่าน คณะรัฐประหารอยู่ต่อ

ในวันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม เว็บไซต์นิตยสารไทม์เผยแพร่บทวิเคราะห์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญของไทย ระบุว่า ประเทศไทยยังคงมีความแตกแยกทางการเมือง ฝ่ายหนึ่งเชิดชูว่าร่างฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง แต่อีกฝ่ายวิจารณ์ว่าการโหวตรับจะเปิดทางให้ทหารครองอำนาจต่อไป สามารถบงการรัฐบาลได้ และว่า กระบวนการออกเสียงประชามติครั้งนี้มีการปิดปากผู้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญด้วยการจับกุมดำเนินคดี

ไทม์สอบถามประชาชนในกรุงเทพฯกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งสองบอกว่าตนจะโหวตเยส เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะปราบรัฐบาลโกงกิน และมีสวัสดิการเรียนฟรี 12 ปี ขณะที่ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่บอกว่า ตนจะโหวตโน “เอาเผด็จการ โหวตรับ เอาประชาธิปไตย โหวตโน” นายแพทย์ผู้หนึ่งบอกว่า ประชามติครั้งนี้ไร้ความหมาย เผด็จการจะยังอยู่ต่อไป ไม่ว่าร่างฯจะผ่านประชามติหรือไม่

บทวิเคราะห์รายงานว่า ก่อนถึงวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม รัฐบาลทหารของไทยบังคับใช้กฎหมายห้ามรณรงค์อย่างเข้มงวด โดยเฉพาะการชักชวนให้โหวตโน จนถึงขณะนี้ มีประชาชนถูกเล่นงานแล้วอย่างน้อย 113 คน รวมทั้งมีการปิดสถานีโทรทัศน์ พีซทีวี ที่สนับสนุนคนเสื้อแดงด้วย

นายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นกับไทม์ว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เอื้อให้ระบอบทหารสืบทอดอำนาจต่อไป

“ประเมินโดยรอบด้านแล้ว ร่างฯคงผ่านประชามติ เพราะมีการใช้ทั้งกฎหมายและกลไกราชการผลักดัน ถ้าไม่ผ่านก็จะส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลทหารอย่างหนัก และเผยให้เห็นสภาพไร้ความชอบธรรมของระบอบนี้ อย่างไรก็ตาม โอกาสไม่ผ่านมีอยู่เช่นกัน เพราะพรรคการเมืองใหญ่ ทั้งเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ ไม่ยอมรับ” นายฐิตินันท์กล่าว

รายงานระบุว่า เบาะแสหลายประการบ่งชี้ว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติในกลุ่มคนหนุ่มสาว โดยเฉพาะนักศึกษา จะโหวตโน ขณะที่กลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งยังคงภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และไม่ปลื้มนักการเมืองรุ่นใหม่ จะออกเสียงรับรัฐธรรมนูญของทหาร

คำถามคือ ถ้าร่างฯไม่ผ่านประชามติ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะยกร่างภายใต้หลักการอะไร ใครจะเป็นคนยกร่าง ใช้เวลาอีกนานแค่ไหน การเลือกตั้งจะเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดหรือ

บทวิเคราะห์สรุปว่า ไม่ว่าผลประชามติจะเป็นเช่นไร หัวหน้ารัฐบาลทหาร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับพวก จะเป็นฝ่ายชนะวันยังค่ำ.

Source: Time

Photo: AFP

ooo


Thailand’s Future Hinges on a Controversial Political Referendum





Colin Hinshelwood / Chiang Mai 

July 29, 2016
TIME

The draft constitution is touted as an edict to finally combat corruption but many fear it favors the current regime retaining a stranglehold on power


Thais head to the polls next week to vote in a referendum designed to breathe life into what has become a stagnant democratic process. An affirmative vote on Aug. 7 will see Thailand adopt a new constitution — its twentieth since 1932.

Junta leader Gen. Prayuth Chan-ocha, who seized power in 2014, has promised general elections next year — but not before a fresh constitution is adopted. But that next step is by no means a fait accompli for, once again, Thailand is polarized as many fear that Prayuth and his cadres are getting a little too comfortable in the government’s shoes.

While there are undoubtedly some who approve of the substance of the draft charter, which was painstakingly drawn up by a military-appointed committee, millions of disillusioned Thai citizens just want to see the wheels of democracy moving again.

Released publicly in March, the revised constitution has been touted as an edict to finally combat the endemic culture of corruption that pervades the country’s politics. The word “corruption” is mentioned no less than 46 times in the draft charter, with robust promises of organic laws and mechanisms “to rigorously prevent and eradicate corruption and misconduct,” as well as sweeping powers bestowed upon a nine-member National Counter Corruption Commission, which will be appointed by the King. The 94-page document also contains strong provisions on healthcare and education.

But critics say approval of the charter would entrench the junta’s grip on power, allowing it a large say in government even after it has left office. The new constitution would allow the military the opportunity to advocate its own candidate for prime minister, and permit it to step in and dissolve parliament at whim.

“I will vote ‘yes’,” says Nina, 48, a Bangkok businesswoman. “Because I believe it will solve the problem of government corruption.”

Father-of-two Komol, a furniture retailer in the southern city of Suratthani, says he will vote “yes” to the draft constitution because it includes 12 years of free public education for children.

In the northern city of Chiang Mai — a traditional stronghold of the opposition “Red Shirts” and their patriarch former Prime Minister Thaksin Shinawatra (ousted in a 2006 military coup) and his sister Yingluck (ousted in the 2014 coup) — opinion is mostly unequivocal.

“I will definitely vote ‘no’,” says university lecturer Namwaan. “Yes is a vote for dictatorship. No is for democracy.”

Physician Dr. Voravit echoes the sentiment. “The message is clear: this process is simply an exercise in legitimizing an illegitimate dictatorship. The bottom line is that the vote is meaningless — the dictatorship will continue one way or another,” he says. (Some of the interviewees in this story did not want to give their full name for security reasons or fear of reprisals.)

In the lead-up to the referendum, a ban has been imposed on campaigning, or more specifically, campaigning for a “no” vote. Thai media have been threatened with closure under the guise of national security, and to date, no less than 113 individuals have been prosecuted for voicing opposition to or criticizing the roadmap.

People read the new draft constitution displayed on the wall during the VOTE NO campaign at Thammasat University.

“The government has tried to censure opinion on the draft constitution by arresting and charging opponents under its Referendum Act,” says Sor Rattanamanee Polkla, a human rights lawyer with the Community Resource Centre Foundation in Bangkok. “It does not allow dissenters to campaign,” she tells TIME, pointing to even the mildest of political activities, such as the distribution of leaflets, and in particular an incident a few weeks ago at a university campus when students were detained by police for releasing balloons into the air inscribed with the message: “Campaigning is not wrong.”

Official paranoia hit fever pitch in the central town of Kampaeng Phet last weekend when two eight-year-old girls were charged with “obstructing the referendum process, destroying official documents and destroying common public property.” The pair had simply torn a voter list from a notice board because they wanted to play with “the pretty pink paper.”

Press coverage of the referendum has been similarly discouraged. On July 22, a 30-day blackout was ordered on Peace TV, a station loyal to the opposition Red Shirts. The National Broadcasting and Telecommunication Commission accused it of “reporting information that caused confusion, provocation, incited conflict and caused divisiveness”.

Prayuth, who is now acting prime minister, has been the focus of much whispered derision. He endures a tumultuous relationship with the Thai media, frequently losing his temper and ridiculing members of the press. His behavior at press briefings has been, at times, bizarre. In November, he astounded onlookers by massaging the ear and ruffling the hair of a reporter; then, a few weeks later, he tossed a banana skin at a cameraman. Most famously, when asked what he would do with journalists who did not toe the government line, with a dead-pan expression he quipped, “Probably just execute them.”

In early July, another attempt at levity seemed to go over the heads of reporters when he said that if the draft constitution were rejected in the polls, he might just have to write a new one himself. He later claimed the remark was made tongue-in-cheek.

But not everyone’s laughing. International media watchdogs have come out strongly against the interim government in recent weeks. On July 12, Reporters Without Borders noted that Thailand has “seen drastic curbs placed on media freedom since the military staged a coup in May 2014.”

The Committee to Protect Journalists’ senior Southeast Asia representative Shawn Crispin tells TIME, “Nobody is sure where the line lies for permissible comment, so criticism of the draft and process has been significantly limited.”

Both watchdogs, alongside the Bangkok-based Foreign Correspondents’ Club and domestic press associations, have called for charges to be dropped against Taweesak Kerdpoka, a reporter for the news group Prachatai, who was arrested on July 9 in the western province of Ratchaburi along with four campaigners from an anti-coup student organization, accused of possessing materials urging a “no” vote. If convicted, the five each face a maximum prison sentence of 10 years under the junta’s Referendum Act — for publishing or distributing content about the draft constitution “which deviates from the facts.”

A similar crackdown took place in northern Thailand in early July, when the Election Commission announced it had intercepted more than 2,000 leaflets that carried false information, most notably that the new constitution would annul pensions, free education and healthcare.

So what then is the choice for Thailand’s 50 million voters a week on Sunday?

Question 1. on the ballot is simple: “Do you accept the 2016 draft of the constitution?” (Not that many citizens have read it). Question 2. is somewhat more nebulous: “Should the Senate be allowed to join the House of Representatives in the voting process to select a prime minister for a five-year period?”

Herein lies what critics claim is written proof that the military junta will likely resist giving up power overnight.

Both the Upper and Lower Houses of parliament were abolished after the 2014 coup. The Upper House, or Senate, consisted of 150 members. The new charter would enshrine a new Senate made up of 250 members, all of whom would be initially appointed by the ruling junta. Although the House of Representatives would continue to comprise 500 lawmakers under the 2016 constitution, the collective strength of a military-friendly Senate could tip the scales against any majority political party in a bicameral parliament, opening the doors to a non-elected prime minister — in effect, a constitution-backed military general or ally.

The few academics who are not too afraid to speak out say that the junta’s draft constitution is weighted heavily in favor of the current regime retaining a stranglehold on power.

“By all accounts, the referendum will be approved because the law and the bureaucratic apparatus have been mobilized to ram it through. A rejection would be a huge blow to the military government and a bare exposure of its lack of legitimacy,” political scientist Thitinan Pongsudhirak of Bangkok’s Chulalongkorn University tells TIME.

“Yet there is an outside chance of rejection because the two main […] parties — the Pheu Thai and Democrats, respectively — are against it.”

Though no polls or forecasts are permitted, indications are that younger voters, especially students, will vote “no.” The elderly, who maintain steadfast loyalty to the monarchy and are far less enthused by the new generation of politicians, will probably accept the military’s charter.

If the referendum fails to deliver a majority “yes” vote, some immediate questions arise: What criteria will be placed on a fresh constitution? Who will draw it up? How long will it take? Can elections be postponed indefinitely while this process drags on?

Kavi Chongkittavorn, a senior fellow at Bangkok’s Institute of Strategic and International Studies, believes that, whatever the result, Thailand’s economy will not be adversely affected.

“Thai private sectors are used to political uncertainties. In this case, the stock market will respond to the long-term potential of [the] Thai economy, not the short reactions,” he says.

And so, for Prayuth and his clique any result may be a winning hand: either they are given a seal of approval by the Thai populace, or they remain in power as caretakers for the foreseeable future while the country wrestles with a constitutional crisis.


Read More: The Draconian Legal Weapon Being Used to Silence Thai Dissent







ความน่ารังเกียจของกลุ่มโหวตรับร่างมีชัยคือการทำทุกอย่างให้ตัวเองชนะ เรื่องใช้งบรัฐใช้สื่อรัฐให้ข้อมูลด้านเดียว




http://news.voicetv.co.th/thailand/395049.html


ความน่ารังเกียจของกลุ่มโหวตรับร่างมีชัยคือการทำทุกอย่างให้ตัวเองชนะ เรื่องใช้งบรัฐใช้สื่อรัฐให้ข้อมูลด้านเดียวก็โดนสังคมประนามไปทั่ว แต่อีกเรื่องที่น่าเกลียดยิ่งกว่าคือการใช้ข้อมูลเท็จปลุกปั่นประชาชน หลักฐานที่เห็นชัดๆ คือ line ลวงโลกที่บอกว่าร่างมีชัยดี ปราบโกงที่สุด ประหารนักการเมืองโกงชาติ ห้ามนักการเมืองบินฟรี ห้ามออกนอกประเทศ ฯลฯ

นักการเมืองเขาไม่ได้เดินทางไปไหนมาไหนฟรี เขาเบิกงบสภาเวลาไปทำงานตามระเบียบที่สภากำหนด เขาเดินทางตามเพดานงบที่เทียบ ส.ส.กับหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง สภาจ่ายให้เขาแบบเดียวกับทหารหรือเอกชนจ่ายให้คนเดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ จะอาชีพไหนก็มีจ่ายค่าเดินทางแบบนี้ทั้งนั้น ส.ส.ก็เหมือนกันคือเขาเบิกได้ก็เฉพาะกรณีมีผู้รับรอง

มันไม่เคยมีเหตุการณ์ที่ไลน์ลวงโลกนี้พูดเลยว่านักการเมืองขึ้นเครื่องบินฟรีตามใจ

คุณอภิสิทธิ์พูดถูกว่าร่างนี้ไม่ได้ปราบโกง กลุ่มหนุนร่างมีชัย่ใช้ความรังเกียจการโกงเป็นเครื่องมือสนองผู้มีอำนาจ พูดอีกอย่างคือกลุ่มหนุนใช้ความรักบ้านเมืองของประชาชนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพวกตัวเอง

การปั้นน้ำเป็นตัวอย่างเป็นระบบเป็นพฤติกรรมของกลุ่มหนุนร่างมีชัยที่อัปยศจนต้องถามต่อว่าทำไมต้องหนุนร่างนี้ด้วยวิธีโกหกไม่เลิกรา

.....




http://news.voicetv.co.th/thailand/395058.html


กรรมการร่างให้ข้อมูลด้านเดียวมาเป็นเดือน แถมอาทิตย์หน้ายังใช้งบรัฐจัดรายการพูดข้างเดียวผ่านสื่อรัฐและสื่อเอกชนอีก แต่กลุ่ม 'ไม่รับ' ขยับอะไรกลับถูกปิดกั้นไปหมด ล่าสุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นตัดน้ำตัดไฟกิจกรรม 'ดาวดิน' เรื่องไม่รับร่างไปเรียบร้อยแล้ว กดดันคนเห็นต่างนั่งกับพื้นราวเศษธุลี ส่วนมหาวิทยาลัยมหิดลห้าม 'โคทม' พูดเรื่องการเมือง ขณะที่โซเชียลมีเดียแฉอธิการบดีปัจจุบันเป่านกหวีดกับ กปปส.แบบเต็มตัว

กลุ่มหนุนร่างมีชัยไม่รู้หรือไงว่ายิ่งกดมาก ผลประชมติจะยิ่ง่ตรงข้ามกับที่่พวกโหวตรับต้องการ


ที่มา FB

Sirote Klampaiboon


ooo





ไปๆ มาๆ คนที่กล้า "บิดเบือนรัฐธรรมนูญ" มากที่สุด คือสลิ่มที่เชียร์ให้รับร่างฯ แล้วฟอร์เวิร์ดข้อมูลต่อๆ กัน ทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งแต่ละข้อความ หาความจริงแทบไม่ได้เลย..!!

ไม่ว่าจะเรื่องโกงต้องถูกประหารชีวิต คดีไม่มีหมดอายุความ ร่ำรวยผิดปกติถูกยึดทรัพย์จำคุก ต้องคดีห้ามออกนอกประเทศ ห้ามนักการเมืองอัพเกรดตั๋วเครื่องบิน ไม่มีเรื่องพวกนี้สักข้อเดียวในรัฐธรรมนูญที่ร่างมาในครั้งนี้

กลายเป็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ อาศัยจุดแข็ง (จอมปลอม) คือ การฟอร์เวิร์ดข้อมูลเหมาเข่งว่า นักการเมืองเลวทั้งหมด ดังนั้นการที่นักการเมืองออกมาคัดค้านรัฐธรรมนูญ แปลว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีเลิศ แถมยังแนะนำด้วยว่า ไม่ต้องอ่านรายละเอียด ให้ไปลงมติสวนทางกับนักการเมืองได้เลย

ข้อมูลเหล่านี้ สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ โดยเฉพาะของโฆษกรัฐบาล ที่พยายามใช้วาจายัดเยียดความเกลียดชัง (Hate Speech) ยุยงว่านักการเมืองพยายามบิดเบือนรัฐธรรมนูญ ดังนั้นพี่น้องประชาชน อย่าไปหลงกลเชื่อ

การกระทำในลักษณะนี้ จะทำให้รัฐบาล คสช. ที่อ้างตั้งแต่แรกว่า จำเป็นต้องเข้ามาบริหารประเทศ เพื่อยุติข้อขัดแย้งทางการเมือง กลับกลายเป็น

"รัฐบาลนี้ คือคู่กรณีที่สร้างความขัดแย้งกับนักการเมืองเสียเอง"

Hate Speech ดังกล่าว ยิ่งโฆษกรัฐบาลพยายามป้ายสีมากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้พี่น้องประชาชนที่หลงเชื่อ กับนักการเมืองของไทย ห่างไกลกันออกไปเรื่อยๆ ทำแบบนี้ระบอบเผด็จการฯ อาจได้ประโยชน์ เพราะจะทำให้เกิดการสืบทอดอำนาจได้ง่ายขึ้น แต่ประชาธิปไตยก็จะไกลห่างออกจากประเทศไทยไปทุกที จนทำให้เกิดการเปรียบเทียบกันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ว่า "ไทยจะมาแทนพม่า พม่าจะมาแทนไทย"

การที่ห้ามนักวิชาการ ห้ามพี่น้องประชาชน เสวนาวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญอย่างเสรี จนคนทั้งประเทศไม่กล้าพูดข้อเท็จจริงที่เป็นข้อเสียของรัฐธรรมนูญ แต่การฟอร์เวิร์ดข้อความโกหกที่เชียร์ให้รับร่างฯ กลับกระทำได้โดยเสรี หากรัฐธรรมนูญนี่เกิดผ่าน และมีผลบังคับใช้ในอนาคต เมื่อประชาชนเริ่มรู้ว่าตัวเองถูกหลอก ปัญหาความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นอีก และจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นไม่รู้จบ

>>ใครจะกาโน ตัดไฟแต่ต้นลม

>>ใครจะกาเยส แล้วไปแก้ปัญหากันดาบหน้า

วันที่ 7 สิงหาฯ ออกไปใช้สิทธิ์กันให้เยอะๆ มีส่วนร่วมในการชี้ชะตา ชี้อนาคต ลูกหลานไทย ด้วยกันครับ..!!



Oak Panthongtae Shinawatra


"เสรีภาพอยู่หนใด ทำไมจึงจัดไม่ได้" ม.ขอนแก่น ตัดน้ำตัดไฟ ขอให้เลิกจัด "พูดเพื่อเสรีภาพ"-ผู้จัดปักหลักเฝ้าเวที-ยันจัดต่อ




https://www.youtube.com/watch?v=z2J7w5qw-qM

เดินหน้าจัด "พูดเพื่อเสรีภาพ" ที่ขอนแก่น แม้ถูกรื้อเวที-ตำรวจประกาศให้เลิก

prachatai

Published on Jul 31, 2016

นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเดินหน้าจัดงาน พูดเพื่อเสรีภาพ แม้ถูกตัดน้ำตัดไฟ ให้ร้านโต๊ะจีนโทรมาขอเก็บเก้าอี้ ห้ามใช้เครื่องเสียง และโดนรื้อฉากหลังบนเวที ท่ามกลางการจับตามองของเจ้าหน้าที่ทหาร-ตำรวจ ขณะที่เมื่อเริ่มงานแล้วและใกล้จะเลิกงานมีเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งให้ยุติกิจกรรมโดยอ้าง พ.ร.บ.การชุมนุม

ooo


ม.ขอนแก่น ตัดน้ำตัดไฟ ขอให้เลิกจัด "พูดเพื่อเสรีภาพ"-ผู้จัดปักหลักเฝ้าเวที-ยันจัดต่อ


Sat, 2016-07-30 23:24
ที่มา ประชาไท

รองคณบดีเกษตร ม.ขอนแก่น ขอให้นักศึกษาเลิกจัดงาน "พูดเพื่อเสรีภาพ" ที่เชิญรังสิมันต์ โรม และปิยบุตร มาร่วมเสวนาเรื่องรัฐธรรมนูญ อ้างจะทำให้สถาบันไม่เป็นกลาง ส่วนสถานที่จัดงานน้ำไม่ไหล-ไฟดับมาตั้งแต่บ่าย ขณะที่ ไผ่ ดาวดิน ยืนยันจัดงานต่อ เพราะทำหนังสือขอใช้สถานที่และจ่ายค่าบำรุงสถานที่แล้ว โดยตลอดคืนผู้จัดงานนอนปักหลักเฝ้าสถานที่





นักศึกษาซึ่งกำลังเตรียมสถานที่จัดงาน "พูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน?" ที่อาคารจตุรมุข คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงกลางดึกของวันที่ 30 ก.ค. โดยอาศัยแสงไฟจากแบตเตอรีที่เช่ามาใช้จัดเวที เนื่องจากบริเวณสถานที่จัดงานไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาไม่ไหลมาตั้งแต่ช่วงบ่าย โดยในภาพมีเจ้าหน้าที่ รปภ. เข้ามาเจรจาให้ออกจากพื้นที่

ตามที่ในวันอาทิตย์ที่ 13.00 น. ที่อาคารจตุรมุข คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนเเก่น จะมีการจัดกิจกรรม "พูดเพื่อเสรีภาพ รัฐธรรมนูญกับคนอีสาน?" โดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่อีสาน (NDM) และกลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่อีสานนั้น ล่าสุด จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา แกนนำผู้จัดงานได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวประชาไทว่า เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้โทรศัพท์มาแจ้งกับผู้จัดงานว่า ขอยกเลิกไม่สามารถที่จะให้ใช้สถานที่จัดงานได้ เนื่องจากเป็นการจัดกิจกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการเมือง โดยทางนายจตุภัทรได้โต้แย้งไปว่าได้ทำหนังสือขออนุมัติใช้สถานที่ พร้อมทั้งได้จ่ายค่าบำรุงสถานที่ไปแล้ว ทางวิทยากรก็ได้เชิญและตอบรับการเข้าร่วมแล้วจึงไม่สามารถที่จะยุติการจัดงานได้

ต่อมาในเวลา 13.00 น. ทางกลุ่มผู้จัดงานได้เข้ามาในอาคารจตุรมุขเพื่อจัดสถานที่ จนถึงตอนค่ำ ก็พบว่า สถานที่จัดงานถูกตัดไฟตัดน้ำ

เวลา 20.50 น. ทางรองคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ นายจิรวัฒน์ สนิทชน ได้เข้ามาเจรจาโดยยืนยันว่าไม่สามารถให้จัดงาน โดยระบุว่าทำให้ภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษาไม่เป็นกลาง แต่ทางกลุ่มผู้จัดกิจกรรมก็ยังยืนยันว่าจะจัดต่อ




เวลา 21.15 น. หัวหน้า รปภ. เข้ามาเพื่อขอให้นักศึกษาออกจากพื้นที่อีกครั้งโดยทางคณะแจ้งว่าไม่ได้มีการอนุมัติให้ใช้สถานที่ แต่นักศึกษา ยืนยันว่าทำหนังสือขอใช้สถานที่ถูกต้อง ทางคณะได้อนุมัติเป็นที่เรียบร้อย โดยทางกลุ่มได้วางเงินมัดจำสถานที่ไว้กับทางคณะ โดยมีเอกสารใบรับเงินเป็นที่เรียบร้อย ทาง รปภ. บอกว่ามาแจ้งเป็นหน้าที่ สุดท้ายแล้วการตัดสินใจอยู่ที่คณะ

จตุภัทร์กล่าวว่า ที่ผ่านมาถูกกดดันไม่ให้จัดกิจกรรมตลอด มีการขอสถานที่จัดงานไป 3-4 แห่ง แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ เมื่อได้รับการอนุมัติให้ใช้สถานที่ก็ทำการเช่าเก้าอี้เครื่องเสียง อุปกรณ์จัดงาน และวิทยากกรก็ได้เชิญแล้ว ประชาสัมพันธ์ไปแล้ว จึงยืนยันว่าจะจัดงานต่อ






ล่าสุดเมื่อเวลา 22.53 น. ผู้จัดกิจกรรมยังคงเฝ้าสถานที่จัดกิจกรรม และรายงานว่าเหตุการณ์ยังปกติ






เวลา 23.30 น. มีรายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหารนอกเครื่องแบบเข้ามาพบนักศึกษาบริเวณสถานที่จัดงาน โดยเข้ามาเจรจาและถ่ายภาพเอกสารที่เตรียมใช้จัดงาน






เมื่อเวลา 00.05 น. วันที่ 31 ก.ค. นักศึกษาผู้จัดงาน "พูดเพื่อเสรีภาพ" ช่วยกันเก็บเก้าอี้และชุดคลุมเก้าอี้ นำไปคืนร้านโต๊ะจีนที่ได้เช่ามา หลังจากเจ้าของร้านโต๊ะจีนติดต่อขอคืนเก้าอี้ เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่ตำรวจโทรศัพท์มาที่ร้านโต๊ะจีนและอ้างว่าไม่สบายใจ ด้านผู้จัดงานยืนยันไม่มีเก้าอี้ก็จะจัดงานต่อไปโดยจะหาปูเสื่อแทน

.....



รายงานร้อนเวอร์ชั่น ‘สุก’เพิ่งขึ้นจากเตา ไปทำข่าว ‘แดงอเมริกาโน’ เดินรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คสช. กันบนถนนฮอลลีหวูด คึกๆ ฮึกเหิม





รายงานร้อนเพิ่งขึ้นจากเตา ไปทำข่าว ‘แดงอเมริกาโน’ เดินรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คสช. กันบนถนนฮอลลีหวูด คึกๆ ฮึกเหิม

ท่านที่เป็นขาประจำ Jom Petchpradab, Voice of Thailand, มหาวิทยาลัยประชาชน, Red USA และอีกหลาย Facebook lives คงได้ชมถ่ายทอดสดกันไปบ้างแล้ว

นี่เป็นเวอร์ชั่น ‘สุก’ ผู้สื่อข่าวพิเศษไทยอีนิวส์เก็บมาให้อ่านกัน

กิจกรรมเพื่อก่อการเริ่มเมื่อเวลาประมาณก่อนห้าโมงเย็น ท่ามกลางอากาศที่ยังระอุของฤดูร้อนในมหานครลอส แองเจลีส บริเวณริมทางหน้าที่ทำการสถานกงสุลไทย ถนนล้าชม้อนต์





กลุ่มคนไทยจากหลายท้องที่ทั้งในและนอกอาณาเขตมลรัฐแคลิฟอร์เนีย อาทิ ซาน ฟรานซิสโก แซคคราเม็นโต ซาน ดิเอโก เนวาด้า (ลาส เวกัส) อริโซน่า ชิคาโก และพิตสเบิร์ก (เพ็นวิลเวเนีย) ราวหนึ่งร้อย ขาดเกินไม่ถึงสิบ พร้อมหน้ากัน

ส่วนใหญ่สวมเสื้อแดง ถือป้าย โหวตโน ฟรีไทยแลนด์ เดม็อคเครซี่ฟอร์ไทยแลนด์ อีก ๗ คนสวมชุดเสื้อคอกลม กางเกงขาสั้น สีส้ม ข้อมือข้อเท้าล่ามด้วยโซ่ สะท้อนภาพการกดขี่กีดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก ต่อนักศึกษาที่ไม่ยอมสยบให้กับรัฐบาลเผด็จการทหาร คสช.

มีการอ่านแถลงการณ์ประณามความพยายามใช้การออกเสียงประชามติ รับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำหนดให้คณะรัฐประหารสืบทอดอำนาจอย่างถาวร เหนือฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง

จากนั้นผู้ร่วมกิจกรรมแยกย้ายกันไปรวมตัวอีกครั้งบนถนนฮอลลีหวูด แล้วพากันเดินเป็นขบวนบนทางเท้ามุ่งหน้าสู่โรงละครโดลบี้สถานที่จัดงานแจกรางวัลตุ๊กตาทองออสก้ามุมถนนฮอลลีหวูดกับไฮแลนด์ และหน้าโรงภาพยนตร์ไชนีสซึ่งอยู่ติดกัน อันเป็นบริเวณที่เนืองแน่นไปด้วยนักท่องเที่ยวเดินชมรอยประทับมือ-เท้าดาราบนพื้นถนนคอนกรีต





ตลอดการเดินทั้งไปและกลับเป็นระยะทางกว่า ๓ ไมล์ ประกอบด้วยเสียงโห่ร้อง “โหวตโน” “ฟรีไทยแลนด์” และประยุทธ์ “เก็ตเอ๊าท์” พร้อมด้วยเสียงเพลงจากวง ‘ไฟเย็น’ บนถนนมีรถตำรวจแอล.เอ. ๓ คันเคลื่อนช้าๆ ขนานไปกับขบวน คอยให้ความสะดวกการจราจรและดูแลความเรียบร้อย นอกจากนั้นยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกสามนายเดินเท้าขนาบแถวขบวน

ระหว่างเส้นทางริมถนนฮอลลีหวูดผู้สื่อข่าวพิเศษได้สนทนากับชายหนุ่มอาฟริกัน-อเมริกันคนหนึ่ง ซึ่งเดิมยืนอยู่ข้างทาง หลังจากสอบถามได้ความว่าเดินรณรงค์กันเรื่องอะไรก็เข้ามาร่วมเดินและขอป้ายข้อความ ‘Free Thailand’ ไปถือ

เขาบอกว่าเข้ามาร่วมเพราะเห็นด้วยกับการเรียกร้องสิทธิในการแสดงออกอย่างเสรี หรือ ‘free speech’ เขาว่าการเรียกร้อง ‘ฟรีสปีช’ ไม่มีที่จำกัดจะต้องเป็นชาติไหน แล้วยังเที่ยวบอกกับผู้ชมข้างทางว่า “คุณไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนของประเทศนี้ (ไทย) ในการเรียกร้อง”

ในช่วงขากลับ ผู้ร่วมขบวนซึ่งเป้นคนไทยอาศัยอยู่ในท้องที่ลอส แองเจลีสมาเป็นเวลานานนับสี่สิบปี และไม่เคยไปร่วมกิจกรรมใดๆ กับกลุ่มเสื้อแดง ให้ความเห็นกับผู้สื่อข่าวว่า “ไม่เห็นว่าพวกเพื่อนๆ เสื้อเหลืองยังทนเห็นร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการสุดกู่อย่างนี้ได้อย่างไร”





“นึกไม่ถึงว่าบางคนจะมีความคิดงี่เง่ายอมรับเผด็จการได้เพียงนี้ ทั้งที่เห็นอยู่ชัดๆ ว่ามันกดขี่ประชาชน” เป้นส่วนหนึ่งที่เขาวิจารณ์พวกที่ยอมรับ คสช. อย่างสาดเสีย

การเดินสิ้นสุดลงเมื่อเวลาราวทุ่มครึ่ง จึงแยกย้ายไปพบกันอีกครั้งในร้านอาหารไทยบนถนนเวอร์ม้อนต์ ในย่านลอสฟีลิซของเมืองฮอลลีหวูดตะวันออก เพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน โดยหลังอาหารมีการปาฐกถาของแกนนำกลุ่มต่างๆ อาทิ เชาว์ ซื่อแท้ และประจวบ เจริญสุข แห่งเร็ดยูเอสเอ อเนก ชัยชนะ และเพียงดิน รักไทย จากภาคีสิทธิมนุษยชนไทย คุณริค นิวแมน นักการเมืองอเมริกันในท้องที่ คุณแอน นอร์แมน นักสิทธิมนุษยชนจากเพ็นซิลเวเนีย และคุณจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการองค์การเสรีไทย





คุณจารุพงษ์กล่าวถึงการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ ๗ สิงหาคมนี้ว่า ผลที่จะเกิดสองแนวถ้าหากคะแนนเสียงผ่านและไม่ผ่าน

ถ้าผ่านคณะทหาร สาม ป. ก็จะอยู่กันต่อไปยาวนาน ทำให้เศรษฐกิจไทยที่จมดิ่งมาตั้งแต่หลังจากการยึดอำนาจเมื่อสองปีที่แล้วจะไม่มีทางฟื้น ต่อไปในวันข้างหน้า คนไทยจะต้องไปเป็นแรงงานต่างด้าวในพม่า ลาว เวียตนาม มาเลย์เซีย กันบ้าง

ในกรณีที่ร่าง รธน. ไม่ผ่านประชามติ อดีตรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ทำนายว่า “ภายในสามเดือน ประยุทธ์ (จันทร์โอชา) จะต้องไป” แต่จะมีทหารคนใหม่มาแทน จากพวก คสช. ด้วยกันนั่นเอง





รายงานสดจาก Jom Petchpradab March for Democracy หลังประท้วงหน้าสถานกงสุลฯ



https://www.facebook.com/jom.petchpradab/videos/10154333952758965/

https://www.facebook.com/jom.petchpradab?fref=ts



https://www.facebook.com/jom.petchpradab/videos/10154334038388965/


ดูภาพผู้รักประชาฮิปไตยไทยนครนิวยอร์ก รณรงค์ Vote No หน้า UN ร่วมกับผู้รักประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในไทย และต่างประเทศทั่วโลก































ขอบคุณภาพจากผู้รักประชาธิปไตยไทยนครนิวยอร์ก

วิดีโอเทป รายงานสด. การเดินรณรงค์ Vote No ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ คนไทยในอเมริกา จาก FB LIVE Jom Petchpradab








https://www.facebook.com/jom.petchpradab?fref=ts


FB LIVE RED USA March for Democracy July 30, 2016 - LA California



Royal Thai Consulate General Los Angeles


FB คุณ จอม เพชรประดับก็มีการถ่ายทอดสด

https://www.facebook.com/jom.petchpradab?fref=ts


ภาพวอร์มอัพเบาๆก่อนถึงวันจริง RED USA กระจายแปะสติ๊กเกอร์ L.A. say No - March for Democracy July 30, 2016 LA

















วอร์มอัพเบาๆก่อนถึงวันจริง
RED USA กระจายแปะสติ๊กเกอร์
L.A. say No - August 7, 2016
ไปแล้วนับสิบในย่านท่องเที่ยวสำคัญของแอลเอ

ชมภาพกันเพลินๆไปพลางๆ
เป็นการเติมพลัง เพิ่มกำลังใจก่อนถึงวันจริง
March for Democracy, Los Angeles - July 30, 2016
พร้อมๆกับจินตนาการเดินตามภาพไปด้วยอย่างร่าเริงและสนุกสนาน ว่าสติ๊กเกอร์ L.A. Say No - August 7, 2016 ถูกนำไปแปะไว้ ณ ที่ใดบ้าง

งานนี้มีถ่ายทอดสดออนไลน์
ผ่านหลายเครือข่ายตั้งแต่เวลา 5 โมงเย็นวันเสาร์ที่ 30
ตรงกับเวลา 7 โมงเช้าวันอาทิตย์ที่ 31 กค.ตามเวลาในเมืองไทย มีเครือข่าย Media Force ของอาจารย์หวาน - สุดา รังกุพันธ์, เครือข่ายมหาวิทยาลัยประชาชน - มดแดงล้มช้าง ของดอกเตอร์เพียงดิน รักไทย, เครือข่าย นปชอียูสวีเดนของสเว้นสก้าแห่งสวีเดน, เครือข่าย Thaivoicemedia - ของจอม เพชรประดับ และ RED USA FaceBook Live

ตำรวจท้องที่ทั้ง Wilshire Police Station, Hollywood Police Station และ Monterey Park Police Station ได้รับรายงานและรับรู้ถึงกิจกรรม March for Democracy เรียบร้อยแล้ว และจะส่งรถตำรวจ 3 คันพร้อมตำรวจอีก 6 นายมาอำนวยความสะดวกในการทำกิจกรรมครั้งนี้

อาจมีผู้สงสัยว่าทำไม
Monterey Park Police Station จึงมาเกี่ยวข้องด้วยทั้งๆที่กิจกรรมจัดที่หน้าสถานกงสุลไทยแอลเอในเขตความรับผิดชอบของ Wilshire Police Station และการเดินขบวนจัดบนถนน Hollywood ซึ่งอยู่ในเขตความรับผิดชอบของ Hollywood Police Station

ก็ไม่มีอะไรมาก
เพียงแต่ว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีข่มขู่คณะกรรมการจัดกิจกรรมครั้งนี้ทั้งตัวบุคคลและสถานประกอบธุรกิจของคณะกรรมการ RED USA จึงจำเป็นต้องรายงานให้สถานีตำรวจทั้ง 3 แห่งรับรู้เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

เชิญหาความสำราญจากภาพ
ที่ RED USA นำสติ๊กเกอร์ไปเผยแพร่
ให้ผู้คนในลอสแองเจลิสได้รับรู้ไว้ล่วงหน้าได้ ณ บัดนี้

RED USA
July 27, 2016