ย้ายพรรค (28 พ.ย. 61)
ตกใจไปใยเรื่องย้ายพรรค
คนมีชนักติดหลังต้องฟังเขา
บาปที่ซุ่มซ่อนเร้นยังเห็นเงา
เขาก็เอากลับมาหลอกเป็นปลอกคอ
แถมเงินสดกอบใหญ่ให้เป็นทาส
คนสะอาดอยู่ได้ไม่ต้องขอ
คนสกปรกไม่ต้องดูดยกตูดรอ
ไหลมาขอกอดส้นเท้าก็เข้าใจ
เพราะการเมืองไร้ซึ่งอุดมการณ์
จึงเลือกพรรคตามสันดานไม่ขานไข
ชั่วอยู่ชั่ว-ดีอยู่ดี มิเป็นไร
แค่ย้ายไปให้ลิบลับอย่ากลับมา!
กาหลิบ.
ที่มา FB
Sa-nguan Khumrungrojooo
ตรวจรายชื่อ-อดีตส.ส.ย้ายพรรค28 พฤศจิกายน 2561
ข่าวสดออนไลน์
ตรวจรายชื่อ-อดีตส.ส.ย้ายพรรค – หลังพ้นกำหนดเส้นตาย 26 พ.ย.ที่นักการเมืองต้องหาสังกัดให้ได้ตามกรอบ 90 วัน ก่อนลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.พ.2562 ทำให้เห็นภาพชัดเจนว่ามีใครบ้างที่ ย้ายพรรคย้ายขั้ว
ซึ่งปรากฏชื่อของอดีตรัฐมนตรี อดีตส.ส. ที่ย้ายพรรคจำนวนมาก โดยมีมากกว่า 150 คน ทั้งแบบที่ย้ายไปสังกัดพรรคพันธมิตร และพลิกไปอยู่กับพรรคขั้วตรงข้าม
ตามที่ปรากฏเป็นข่าว อดีตส.ส.เพื่อไทยมีสมาชิกย้ายพรรคมากที่สุด ส่วนหนึ่งเพราะถูกพลังดูดจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่มี 4 รัฐมนตรีในรัฐบาลคสช. เป็นแกนนำ อดีตส.ส.เพื่อไทยย้ายไปอยู่พรรคนี้เกือบ 40 คน
อีกส่วนย้ายไปสังกัดพรรคที่แตกตัวจากเพื่อไทย ทั้งพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ที่มี ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช เป็นหัวหน้าพรรค, พรรคเพื่อชาติ ของนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ พรรคประชาชาติ ของนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และพรรคเพื่อธรรม
โดยมีบางส่วนกระจายไปสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ของ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา และพรรคภูมิใจไทย (ภท.) ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) มีอดีตส.ส.ย้ายพรรครองลงมากว่า 20 คน ถูกพปชร.ดึงตัวไปมากที่สุด รวมทั้งที่ย้ายไปสังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และย้ายไปอยู่กับ ภท.บางส่วน
ในส่วนของพรรคขนาดกลางอย่างชทพ. และภท. มีอดีตส.ส.ย้ายไปพรรคอื่น แต่ก็มีอดีตส.ส.จากพรรคอื่นย้ายเข้ามาทดแทน
ขณะที่พรรคเก่าเกิดภาวะเลือดไหลออก พรรคใหม่อย่าง พปชร. กับ ทษช. กลับอยู่ในสภาพตรงกันข้าม โดยเฉพาะ พปชร.นั้นคึกคักอย่างยิ่ง ดึงอดีตรัฐมนตรีและอดีตส.ส.ย้ายเข้าสังกัดสูงกว่า 80 คน
ตรวจสอบรายชื่อตามที่ปรากฏเป็นข่าว มีรายชื่ออดีตรัฐมนตรี และอดีตส.ส.ย้ายไปเข้าพรรคต่างๆ ดังนี้
พรรคพลังประชารัฐอดีตรัฐมนตรีและอดีตส.ส.จากพรรคต่างๆ ที่มาโดยการทาบทามของกลุ่มสามมิตร และโดย 4 รัฐมนตรีแกนนำพรรค สมาชิกของพปชร.วันนี้จึงเต็มไปด้วยอดีตส.ส.จากพรรคต่างๆแยกได้ดังนี้
พรรคเพื่อไทย ส่วนใหญ่เป็นอดีตส.ส.เพื่อไทย บางรายเป็นส.ส.ในยุคไทยรักไทย และพลังประชาชน ประกอบด้วย กำแพงเพชร ซึ่งเป็นอดีตส.ส.ในกลุ่มของนายวราเทพ รัตนากร คือ พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ นายไผ่ ลิกค์ นายปริญญา ฤกษ์หร่าย นายอนันต์ ผลอำนวย นายสุรสิทธิ์ วงศ์วิทยานันท์
เพชรบูรณ์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ นางวันเพ็ญ พร้อมพัฒน์ นายเอี่ยม ทองใจสด นายจักรัตน์ พั้วช่วย นายสุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์, สุโขทัย นายจักรวาล ชัยวิรัตน์กูล, ลำปาง นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์, นครสวรรค์ นายวีระกร คำประกอบ
อุบลฯ นายสุพล ฟองงาม นายสุทธิชัย จรูญเนตร นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์, เลย นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข นายวันชัย บุษบา, นครราชสีมา นายจำลอง ครุฑขุนทด นายวิรัช รัตนเศรษฐ นางทัศนียา รัตนเศรษฐ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
ร้อยเอ็ด นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล นายเวียง วรเชษฐ์, ศรีสะเกษ นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์, ขอนแก่น นายศุภสิธ เตชะตานนท์ นายสมศักดิ์ คุณเงิน, นครพนม นายชูกัน กุลวงษา นายกล่ำคาน ปาทาน, สระแก้ว นายฐานิสร์ เทียนทอง น.ส.ตรีนุช เทียนทอง, กาญจนบุรี พล.อ.สมชาย วิษณุวงษ์, ลพบุรี นายอำนวย คลังผา, นนทบุรี นายฉลอง เรี่ยวแรง, ตรัง นายทวี สุระบาล
พรรคประชาธิปัตย์ กทม. นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นาย พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกฯ นายสกลธี ภัททิยกุล รองผู้ว่าฯ กทม. กาญจนบุรี นายอัฏฐพล โพธิพิพิธ นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
จันทบุรี นายธวัชชัย อนามพงษ์ นายแสนคม อนามพงษ์, ฉะเชิงเทรา พล.ต.ท.พิทักษ์ จารุสมบัติ นายบุญเลิศ ไพรินทร์, สระบุรี นางกัลยา รุ่งวิจิตรชัย, นนทบุรี นายทศพล เพ็งส้ม, ชลบุรี นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์, ระยอง นายวิชัย ล้ำสุทธิ
พรรคภูมิใจไทย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตแกนนำพรรคภูมิใจไทย หัวหน้ากลุ่มสามมิตร, สุโขทัย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตแกนนำกลุ่มมัชฌิมา แกนนำกลุ่มสามมิตร นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ, ชัยนาท นายอนุชา นาคาศัย แกนนำกลุ่มสามมิตร, นครราชสีมา นายภิรมย์ พลวิเศษ แกนนำกลุ่มสามมิตร นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
ฉะเชิงเทรา นายสุชาติ ตันเจริญ แกนนำกลุ่มบ้านริมน้ำ, ราชบุรี นายมานิต นพอมรบดี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา, สมุทรปราการ นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก, ยโสธร นาย รณฤทธิชัย คานเขต นายพิกิฏ ศรีชนะ, หนองบัวลำภู ว่าที่ พ.ต.สรชาติ สุวรรณพรหม
พรรคชาติพัฒนา ชัยนาท นายมณเฑียร สงฆ์ประชา, ราชบุรี นายทวี ไกรคุปต์, นางปารีณา ไกรคุปต์ ปาจรียางกูร, ฉะเชิงเทรา นายชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์, นครพนม นพ.อลงกต มณีกาศ, สุรินทร์ นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา, นราธิวาส นายวัชระ ยาวอหะซัน, นครสวรรค์ นายภิญโญ นิโรจน์
พรรคพลังพลเมืองไทย ศรีสะเกษ นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์, นพ.วิชัย ชัยจิตวณิชกุล, นายมงคล จงสุทธานามณี
พรรคพลังชล ชลบุรี นายอิทธิพล คุณปลื้ม, นายสันต์ศักย์ จรูญงามพิเชษฐ์, นายสุรสิทธิ์ นิธิวุฒิวรรักษ์, ศรีสะเกษ นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ
พรรคชาติไทยพัฒนา สิงห์บุรี นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์รวมทั้งนายสุชน อินทเสม อดีตส.ว.ประจวบคีรีขันธ์
และคนดัง ‘มาดามเดียร์’ น.ส.วทันยา วงษ์โอภาสี อดีต ผู้จัดการฟุตบอลทีมชาติไทยชุดอายุ 23 ปี พริตตี้อ้อแอ้- น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น
พรรครวมพลังประชาชาติไทยส่วนใหญ่มาจากอดีตส.ส.ภาคใต้ของปชป. นำโดยนาย สุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการกปปส. ร่วมด้วย อดีตส.ส. สุราษฎร์ธานี นายเชน เทือกสุบรรณ, นายธานี เทือกสุบรรณ, นราธิวาส นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ นายรำรี มามะ, นายเจะอามิง โตะตาหยง, ยะลา นายอับดุลการิม เต็งกะรีนา, ปัตตานี นายรามัน นายซาตา
คนดัง ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล หัวหน้าพรรค, นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รวมทั้ง นายพิเชฐ พัฒนโชติ และนายประสาร มฤคพิทักษ์ แนวร่วมกปปส.
พรรคประชาธิปัตย์ถ้าไม่นับรวมการเปิดตัวกลุ่มนิวเด็ม คนรุ่นใหม่ เท่าที่ปรากฏอดีตส.ส.ที่ย้ายมามีเพียงนายอร่ามอาชว์วัต โล่ห์วีระ อดีตส.ส.ชัยภูมิ พรรคความหวังใหม่
สำหรับคนดังประกอบด้วย นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกกต., พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ หรือผู้การแต้ม อดีตรองผบช.น., นายจงรวย สมจิตนา หรือ หยอง ลูกหยี นายกสมาชิกศิลปินตลก, นายธัญญ์นิธิ ชวรัตน์นิธิโชติ หรือ เช็ง สุพรรณ คนดังวงการพระเครื่อง
พรรคภูมิใจไทยแม้จะมีอดีตส.ส.ย้ายไป พปชร.ไม่น้อย แต่สามารถดึงอดีตส.ส.จากพรรคอื่นเข้ามาเสริมได้ดังนี้
พรรคชาติพัฒนา ย้ายมามากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม นิวบลัด ประกอบด้วย อ่างทอง นายภราดร ปริศนานันทกุล, นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล, ศรีสะเกษ นายสิริพงษ์ อังคสกุลเกียรติ, พิจิตร นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รวมทั้งอุทัยธานี นายชาดา ไทยเศรษฐ์, ชัยภูมิ นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์
พรรคเพื่อไทย ชัยภูมิ นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ น.ส.สุนทรี ชัยวิรัตนะ, หนองคาย ว่าที่ ร.ต.พงศ์พันธ์ สุนทรชัย
พรรคประชาธิปัตย์ นครสวรรค์ นายสมควร โอบอ้อม, ชลบุรี นายมานิตย์ ภาวสุทธิ์
ร่วมด้วย นายมงคล ศรีกำแหง อดีตส.ว.จันทบุรี นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ อดีตส.ว.ราชบุรี
พรรคชาติไทยพัฒนาเช่นเดียวกับ ภท. เมื่อมีอดีตส.ส.ที่ถูกดูดก็มีไปดึงจากพรรคอื่นมาเสริม ประกอบด้วย
พรรคภูมิใจไทย ขอนแก่น นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
พรรคเพื่อไทย นครปฐม นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ นายอนุชา สะสมทรัพย์ นายก่อเกียรติ สิริยะเสถียร, สุพรรณบุรีนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ, สมุทรสาคร นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์
พรรคชาติพัฒนา นครราชสีมา นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก
พรรคมาตุภูมิ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
พรรคไทยรักษาชาติแตกตัวมาจากพรรคเพื่อไทย อดีตส.ส.ที่ย้ายมาแทบทั้งหมดจึงมาจากแกนนำและอดีตส.ส.เพื่อไทย
พรรคเพื่อไทย ขอนแก่น ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค, ฉะเชิงเทรา นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายวุฒิพงษ์ ฉายแสง นางฐิติมา ฉายแสง, แพร่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล, พิจิตร น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร, พิษณุโลก นายหัสนัย สอนสิทธิ์, สิงห์บุรี นายพายัพ ปั้นเกตุ
อดีตส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์-แกนนำนปช. นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายพิชัย นริพทะพันธุ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท นพ.เหวง โตจิราการ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ
พรรคประชาธิปัตย์ สตูล นพ.อสิ มะหะมัดยังกี รวมทั้ง นิคม ไวยรัชพานิช อดีตรองประธานส.ว.
พรรคเพื่อธรรมนางนลินี ทวีสิน อดีตรมต.ประจำสำนักนายกฯ พรรค เพื่อไทย
พรรคเพื่อชาติสมาชิกที่เปิดตัวล้วนมาจากอดีตส.ส.เพื่อไทย และไทยรักไทย ทั้งนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรค นายยงยุทธ ติยะไพรัช และ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ผู้สนับสนุนพรรค
ยังมี พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ และ นางลินดา เชิดชัย อดีตส.ส.นครราชสีมา นางบุศรินทร์ ติยะไพรัช อดีตส.ส.เชียงราย นางลลิตา ฤกษ์สำราญ อดีตส.ส.กทม.
พรรคประชาชาติมีอดีตส.ส.ภาคใต้หลากหลายพรรคเข้าร่วม ดังนี้ กลุ่มวาดะห์พรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรค อดีตส.ส.ยะลา นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ อดีตส.ส.นราธิวาส
ร่วมทั้ง นายสุดิน ภูยุทธานนท์ อดีตส.ส.ปัตตานี พรรคความหวังใหม่ นายนัจมุดดีน อูมา อดีตส.ส.นราธิวาส พรรคมาตุภูมิ นายมูฮำมัดอารีฟีน จะปะกิยา อดีตส.ส.ปัตตานี พรรคชาติไทยพัฒนา นายอนุมัติ ชูสารอ อดีตส.ส.ปัตตานี พรรคมาตุภูมิ นายนิมุคตาร์ วาบา อดีตส.ส.ปัตตานี พรรคภูมิใจไทย
ยังมีอดีตส.ว. คือ นายต่วนอับดุลเล๊าะ ดาโอ๊ะมารียอ อดีตส.ว.ยะลา นายอับดุลลายี สาแม็ง อดีตส.ว.ยะลา นายวรวิทย์ บารู อดีตส.ว.ปัตตานี นายมุข สุไลมาน อดีตส.ว.ปัตตานี นายภิญโญ สายนุ้ย อดีตส.ว.กระบี่
มีคนดังร่วมเป็นแกนนำ อาทิ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตเลขาธิการศอ.บต.เป็น เลขาธิการพรรค นายวรวีร์ มะกูดี อดีตนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ นายนิติภูมิธณัฐ มิ่งรุจิราลัย น.ส.ณหทัย ทิวไผ่งาม และ พล.ต.ท.ไพฑูรย์ ชูชัยยะ ผู้แทนพิเศษรัฐบาลแก้ปัญหาชายแดนใต้ เป็นรองหัวหน้าพรรค