วันอังคาร, พฤษภาคม 31, 2559

Thailand: ICT Ministry seeking access to internet users’ emails and logins




Overarching powers to keep a closer eye on netizens may be given to the Thai junta. Pic: AP


Source: Asian Correspondent

30th May 2016

APPARENTLY the Thai junta is attempting to take a page of out George Orwell’s dystopian novel ‘1984’, as it is looking to pass several amendments to the Computer Crime Act (CCA) that would allow the state to act like Big Brother, overseeing activities on encrypted websites.

According to documents leaked by the Thai Netizen Network (TNN) on Thursday, the Ministry of Information and Communication Technology (ICT) is proposing an amendment to Article 20 of the CCA, which would give the ministry the green light to access and censor encrypted content on websites.

One of the leaked documents mention giving authorities the power to “issue a regulation for Internet Service Providers (ISPs) to delete or restrain the dissemination of computer data, in accordance with evolving technology”.

The documents also mention deleting or stopping the dissemination of data through the Secure Sockets Layer (SSL) protocol, one of the most common encryption technologies in use today.

Many of the most widely-used websites and platforms, like Facebook and Gmail, utilize SSL, offering secure connections to users transferring sensitive information. But the amendments would allow the government to ban the use of the SSL protocol.

The changes would also force ISPs and social media users to comply with the government’s demands – at the cost of the public’s privacy and freedom of expression.

SEE ALSO: Apparent data leak leaves foreigners in southern Thailand anxious

Besides allowing the government to intercept emails and collect login details, the amendments plan to criminalize any computer data which may breach other criminal laws, as well as content that could spark public disturbance.

Article 15 of the revised bill stipulates that “any provider who either cooperates or conspires in, or permits a violation of Article 14 within their service provision, shall be punishable in the same way as a violator of Article 14.”

The changes are believed to have been brought forward to help make the Single Gateway project possible. The project, which has been likened to the Great Firewall of China, is meant to aid the Thai military government’s efforts to control the internet and its use by reducing multiple internet gateways to a single one.

In April, the National Legislative Assembly (NLA), the country’s legislative body, unanimously approved the CCA amendments, which are currently under review by a committee.

SEE ALSO: Thailand: Facebook denies sharing user information with military

Human rights organizations have protested the proposal, expressing their concerns that some of the articles in the revised bill would restrict the public’s rights and infringe on their privacy.

Amnesty International Thailand’s vice chairwoman Pornpen Kongkajornkiat has sent a letter to the NLA saying that Article 14 of the bill was “ambiguous and open to broad interpretation”, reported the Nation.

Netizens have expressed their doubts and about allowing the government access to such sensitive information, as there were two massive online data leaks in March, which saw real names, nationalities, passport numbers, as well as addresses in Thailand, made available on a government-sanctioned website.

คำเดียวกันแต่คนละความหมาย อารยธรรม ไม่ได้แปลว่า Civilization และ ปฏิรูป ก็ไม่ได้แปลว่า Reform





ครับ อารยธรรม ไม่ได้แปลว่า Civilization และ ปฏิรูป ก็ไม่ได้แปลว่า Reform

อีหรีตไทยเรา ยืมคำฝร้งเหล่านั้น
มาใช้ เหมีอนๆ กับซื้อนาฬิกายี่ห้อแบรนด์เนมแพงๆ
มาใส่ โดยไม่สนใจเรื่องตรงเวลา มาสาย ผิดนัด ครับ

(อจ.นศ.ของผม ที่ท่าพระจันทร์ เป็นกันเยอะ)


Charnvit Kasetsiri shared matichononline's photo.


ooo


อารยธรรมกับ civilization โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์





มติชนออนไลน์
30 พ.ค. 59

หลังคำให้สัมภาษณ์ของเอกอัครราชทูตสหรัฐที่กระทรวงการต่างประเทศแพร่ออกไป ผู้ดีไทย (และ/หรือคนที่อยากถูกนับเป็นผู้ดีไทย) ต่างพากันออกมาประณามสหรัฐด้วยแนวคิด “อารยธรรม” โดยนัยยะก็คืออเมริกันเป็นชนชาติที่ไม่มีอารยธรรม ในขณะที่ไทยมีอารยธรรมสูง

ผู้ดีไทยเหล่านี้อาจลืมไปว่า ภาษาไทยไม่มีคำนี้ใช้มาก่อน อารยธรรมเป็นศัพท์บัญญัติสมัยหลัง-หลังจากมีสหรัฐอเมริกาไปแล้วเกือบศตวรรษครึ่ง-เพื่อให้ตรงกับคำฝรั่งว่า civilization (ในภาษาอังกฤษที่สะกดแบบอเมริกัน แต่ภาษายุโรปตะวันตกทั้งหมดที่ผมสามารถค้นได้ ก็ใช้คำที่มีรากจากละตินเดียวกันนี้เพื่อหมายถึงสิ่งเดียวกัน) ในระยะแรกที่ต้องใช้คำนี้ตั้งแต่ ร.4 เป็นต้นมา ท่านสร้างคำขึ้นทับศัพท์ เช่น ศรีวิไล, ศิวิไล เป็นต้น

แม้ไม่มีคำ แต่ไม่ได้หมายความว่าคนไทยก่อนหน้านั้นไม่มีแนวคิดที่แยกสังคมที่ยังไม่เจริญออกจากสังคมที่เจริญแล้ว เกณฑ์ที่ใช้แยกสังคมสองอย่างนี้ออกจากกันมีหลายเกณฑ์ บางครั้งก็ใช้ศาสนา ระหว่างสังคมสัมมาทิฐิกับสังคมมิจฉาทิฐิ พูดอีกอย่างหนึ่งคือสังคมของชาวพุทธ (เถรวาทสำนักลังกา) กับสังคมที่ไม่นับถือพุทธศาสนา บางครั้งก็ใช้เกณฑ์ “ป่า” กับ “เมือง” อันนี้น่าสนใจ เพราะใกล้กับรากความคิดของคำ civilization มาก แต่เมื่อขยายความแล้วก็อาจต่างจากฝรั่ง ผมสงสัยว่าในความคิดของไทย ออกจะเน้น “เมือง” ไปที่พระราชอำนาจ “เมือง” คือที่ซึ่งพระราชอำนาจแผ่ไปถึง โดยความเป็นจริงหรือโดยสัญลักษณ์ก็ตาม ในขณะที่ “บ้านป่าเมืองเถื่อน” คือที่ซึ่งพระราชอำนาจแผ่ไปไม่ถึง ในขณะที่นัยยะของคำ civilization มีมากกว่าอำนาจทางการเมือง

แต่ตลอดประวัติศาสตร์ไทย ผู้ดีไทย (และอาจจะคนไทยด้วย) ต้องเผชิญกับความขัดแย้งในความคิดเกี่ยวกับความเจริญและไม่เจริญตลอด เพราะไทยต้องสัมพันธ์กับชนชาติอื่นอีกมาก นับตั้งแต่จีน, อิหร่าน, อาหรับ, ฝรั่งชาติต่างๆ ซึ่งเราต้องยอมรับเอาบางอย่างในวัฒนธรรมของเขามาใช้ นับตั้งแต่ตัวอักษรไปจนถึงเครื่องทรงกษัตริย์ ป้อมค่ายที่สร้างด้วยอิฐปูน อาคาร หรือใช้คำในภาษาของเขาเรียกสิ่งที่ไม่เคยมีในภาษาของเรามาก่อน ฯลฯ ทั้งที่ชนชาติอื่นเหล่านั้นล้วนเป็น “มิจฉาทิฐิ” และอยู่นอกพระราชอำนาจ จนบางครั้งต้องอาศัยความช่วยเหลือของพวกเขาเพื่อให้พระราชอำนาจในดินแดนห่างไกลอาจดำรงอยู่ได้ (เช่นบริษัท VOC ของวิลันดา เป็นต้น)

ผู้ดีไทยแก้ความขัดแย้งทางความคิดของตนโดยการแบ่งความเจริญออกเป็นสองอย่าง คือความเจริญทางวัตถุกับความเจริญทางจิตใจ หากดูจากจิตรกรรมลายรดน้ำบนตู้พระธรรม และจิตรกรรมฝาผนัง จากปลายอยุธยามาจนต้นรัตนโกสินทร์ ฝรั่งและ “แขก” อิหร่านและอาหรับ ล้วนถูกจัดให้เป็นพลพรรคของกองทัพมารซึ่งยกมารังควานเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนจะตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตุ๊กตาทหารจีนและทหารซีป่ายถูกนำมาเฝ้าโบสถ์วิหารแทน “ยักษ์”

ความเจริญทางวัตถุ v.s. ความเจริญทางจิตใจ เป็นทางแก้ (resolution) ของความขัดแย้งในใจ ที่ผู้ดีไทยใช้ตั้งแต่ (อย่างน้อย) ปลายอยุธยา สืบมาจนทุกวันนี้ ดังจะเห็นจากที่ผู้ดีไทยรุ่นใหม่ลำเลิกเรื่องอารยธรรมมาใช้กับสหรัฐในครั้งนี้ นัยยะของคำว่าอารยธรรมซึ่งไทยมีแต่สหรัฐไม่มีในที่นี้ ก็คือความเจริญทางจิตใจ แม้ว่าสหรัฐจะมีไอโฟน, แอปเปิลคอมพิวเตอร์, เบอร์เกอร์คิง, สตาร์บัคส์, เครื่องบินเหนือเสียง, จรวดส่งดาวเทียมไปนอกโลก หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำหน้า แต่ก็ไม่มี “อารยธรรม”

ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ดีไทยเชื่อว่าความเจริญสองอย่างนี้ไม่มีผลต่อกันและกัน ความเจริญทางวัตถุไม่มีผลต่อความเจริญทางจิตใจ และความเจริญทางจิตใจไม่มีผลต่อความเจริญทางวัตถุ ดังนั้นการที่ประเทศตะวันตกสามารถดูแลสวัสดิการแก่พลเมืองได้หลายด้าน รวมทั้งด้านการศึกษาด้วย จึงเกิดขึ้นได้เพราะเขารวย (วัตถุ+วัตถุ=วัตถุ) การที่พลเมืองของประเทศตะวันตกสามารถรับการศึกษาสูงๆ จึงไม่มีผลต่อความเจริญทางจิตใจของพวกเขา

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเปิดประเทศเพื่อการค้าเสรีของตะวันตกใน ร.4 ทางแก้ความขัดแย้งในใจที่แบ่งความเจริญออกเป็นสองอย่างนี้ ก็ไม่ใช่ทางแก้สำเร็จรูปอย่างง่ายๆ อีกต่อไป เพราะความเป็นจริงที่ปรากฏแก่ผู้ดีไทยนั้นชัดเจนเกินกว่าที่จะใช้ทางออกเดิมได้โดยสะดวก เพื่อบรรลุความเจริญทางวัตถุ จำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างที่เฉียดกรายไปทางความเจริญทางจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ร.4 โปรดให้ฝรั่งสอนหนังสือแก่พระราชโอรส แต่ก็ห้ามแหม่มแอนนามิให้สอนเรื่องคริสต์ศาสนาเป็นอันขาด ร.5 ส่งพระราชโอรสไปศึกษาในเมืองฝรั่ง แต่โปรดให้ขุนนางที่ไว้วางใจไปควบคุมและสอน “อารยธรรม” ไทยไปพร้อมกัน มาตรฐานของความเป็น “ผู้ดี” นับตั้งแต่ ร.5 ลงมา ลอกเลียนดัดแปลงกิริยามารยาทตะวันตกไม่น้อย นับตั้งแต่มารยาทบนโต๊ะอาหาร ไปจนถึงมารยาทในที่สาธารณะ

เมื่อ ร.4 อธิบายแก่ฝรั่งว่า คนไทยนั้นเป็น “กึ่งอารยะ” (semi-civilised) แต่เขมรเป็นคนป่าเถื่อน (barbarian) ครึ่งที่เหลือของ “อารยธรรม” ที่คนไทยไม่มีนั้นคืออะไร?

หากคิดว่าคือความเจริญทางวัตถุที่คนไทยยังมีไม่เท่าตะวันตก ความเจริญทางวัตถุของเขมรก็ไม่ได้น้อยไปกว่าไทย เขาจะเป็นคนป่าเถื่อนโดยคนไทยไม่ได้เป็นได้อย่างไร หากหมายถึงวิทยาการความรู้แบบตะวันตก ซึ่งไทยพอมีอยู่บ้าง และ (สมมุติว่า) เขมรไม่มีเลย วิทยาการความรู้เป็นความเจริญทางวัตถุหรือจิตใจกันแน่ สถานการณ์ที่สับสนเช่นนี้ บังคับให้ผู้ดีไทยต้องนิยามความเจริญทางวัตถุและจิตใจกันใหม่ และเท่าที่ผมเข้าใจ ผู้ดีไทยปล่อยให้ความหมายกำกวมเมื่อต้องสัมพันธ์กับอำนาจภายนอก เราจึงสามารถเอากฎหมายตะวันตกเป็นฐานในการร่างกฎหมายไทย รวมทั้งจ้างชาวตะวันตกมาช่วยร่างกฎหมายได้ กฎหมายเป็นความเจริญทางวัตถุหรือจิตใจ ไม่ต้องนิยาม

แต่ในความสัมพันธ์ภายในกับคนไทยด้วยกันเอง ผมคิดว่ามีการนิยามที่ชัดเจนมากขึ้น นับตั้งแต่สถาปนาพระพุทธศาสนาแบบทางการขึ้น เป็นมาตรฐานของความเจริญทางจิตใจ ยืนยัน, ปรับปรุง และขยายพิธีเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ขึ้นในสังคม มีความเจริญทางจิตใจหลายอย่างในลัทธิพิธีนี้ นับตั้งแต่ความจงรักภักดี, ความรู้ที่ต่ำที่สูง, ความซื่อสัตย์สุจริตต่อพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

ใน พ.ศ.2427 ร.5 ส่งพระเจ้าน้องยาเธอไปสหรัฐ เพื่อเจรจาทำหนังสือสัญญาบางเรื่อง พระองค์เจ้าโสณบัณฑิตหนึ่งในคณะทูตได้เขียนรายงานเรื่องนี้ และหนึ่งในข้อสังเกตเกี่ยวกับอเมริกาซึ่งรายงานถวายพระเจ้าอยู่หัว เพื่อตัดสินพระทัยว่าจะเสด็จสหรัฐหรือไม่ ก็คือสภาพสังคมสหรัฐที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง คนทุกชั้นสามารถนั่งเบียดเสียดกันในพาหนะสาธารณะชนิดต่างๆ ได้ รวมทั้งคนดำ (ซึ่งน่ารังเกียจแก่ผู้รายงาน) ในความเห็นของผู้เขียน จึงนับว่าถูกต้องแล้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ได้เสด็จฯไปสหรัฐ เพราะจะอึดอัดพระทัยในสังคมอเมริกันอย่างยิ่ง

หนึ่งในนิยามที่ชัดเจนของความเจริญทางจิตใจที่ผู้ดีไทยให้แก่คนภายในก็คือ ความรู้จักที่ต่ำที่สูง พูดอีกอย่างหนึ่ง ความเจริญทางจิตใจหรืออารยธรรมแบบไทยก็คือสังคมที่มีช่วงชั้น

นี่อาจเป็นแก่นกลางของความหมายอารยธรรมที่คนไทยเข้าใจสืบมาจนทุกวันนี้ เห็นได้จากความหมายระหว่างบรรทัดที่ผู้ดีไทยประณามความไม่มีอารยธรรมของอเมริกัน และการประท้วงของผู้ดีใหม่หน้าสถานทูตสหรัฐ

ดังนั้น เมื่อผู้ดีไทยพูดถึงอเมริกันว่าไม่มีอารยธรรม เขาจึงไม่ได้หมายถึง civilization ที่ฝรั่งเข้าใจ หากใครลองแปลคำกล่าวของผู้ดีไทยในเรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษ แล้วให้คนอเมริกันที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ในสหรัฐได้อ่าน เขาก็คงงงว่าผู้ดีไทยพูดอะไรของมันวะ

อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำ civilization ก็น่าสนใจ แม้ความหมายย่อมคลี่คลายไปจากเมื่อเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่ความหมายตามแนวคิดเดิมก็ยังอยู่ และทำให้คนไทยไม่มีวัน civilized ไปได้ เช่นเดียวกับที่คนตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกันไม่มีวันมี “อารยธรรม” เช่นกัน

ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า นัยยะที่แฝงอยู่ของคำว่า civilization คือสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นในเมือง อันแตกต่างจากที่เกิดในป่าหรือแม้แต่ในชนบท (civilis แปลว่าพลเมืองของเมือง) สิ่งดีๆ ที่เกิดในเมืองนั้น นอกจากความเจริญทางวัตถุต่างๆ แล้ว ยังมีสิ่งที่เป็นนามธรรมรวมอยู่ด้วย

เมืองเป็นที่อยู่ของคนจำนวนมาก ไม่ใช่คนเป็นหัวๆ อย่างที่เรานับประชากรทุกวันนี้ แต่หมายถึงหลายตระกูล, หลายเผ่า, หลายองค์กร (เช่นระหว่างสมาคมการค้าที่แตกต่างกัน) ฯลฯ หน่วยเหล่านี้มีกฎเกณฑ์ประเพณีจัดความสัมพันธ์กันภายในอยู่แล้ว แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในเมือง ระเบียบกฎเกณฑ์จัดความสัมพันธ์ภายในไม่อาจนำไปใช้กับหน่วยอื่นกลุ่มอื่นได้ เพราะเขาไม่ได้ยอมรับ จึงจำเป็นต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์จัดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่แตกต่างหลากหลาย มิฉะนั้นก็จะเกิดความสงบเรียบร้อยในเมืองไปไม่ได้

ระเบียบกฎเกณฑ์ดังกล่าวนี้ประกอบด้วยอะไรบ้าง สรุปให้เหลือสั้นๆ ก็คือกฎหมาย, ระบอบปกครองซึ่งเป็นที่ยอมรับของคนทุกกลุ่ม, วัฒนธรรมประเพณีที่เคารพสิทธิของกันและกัน และการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีนั้น ซึ่งอาจออกมาในรูปของดนตรี, ละคร, ภาพเขียน, ประติมากรรม ฯลฯ และ/หรือออกมาในรูปของการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์ในสถานศึกษาที่เป็นสาธารณะ และแน่นอนว่าการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วย ซึ่งมักไม่เกิดในที่ใดนอกเมือง หรือเกิดได้ยากมาก

นี่เป็นสิ่งใหม่ที่มนุษย์ต้องสร้างขึ้นเมื่อเกิดเมือง เพราะเมืองเป็นสิ่งแวดล้อมใหม่ที่มนุษย์ไม่เคยรู้จักมาก่อน แต่เมื่อสร้าง civilization ขึ้นแล้ว ก็ทำให้มนุษย์มีความปลอดภัยและความสะดวกสบายมากขึ้น และในที่สุดก็อาจนำไปใช้นอกเมืองได้ด้วย

ในทุกวันนี้ เมื่อฝรั่งพูดว่าเขามาใช้ชีวิตในป่าดงพงพีที่ไกลจาก civilization สุดกู่ นอกจากจะหมายความว่าขาดสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย เช่น แอร์, ส้วมที่นั่งถ่ายได้สบาย, เรือนที่ให้ความปลอดภัยจากสัตว์ร้าย, ฯลฯ แล้ว ยังมีความหมายว่าไม่มีความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมด้วย อาจถูกปล้นหรือถูกฆ่าได้ทุกเมื่อโดยไม่สามารถไปขอความคุ้มครองจากรัฐ นักเลงใหญ่ในท้องถิ่นอาจตั้งข้อหาว่าเขาเป็นโจร แล้วนำตัวไปลงโทษโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมที่ยอมรับได้

ผมเข้าใจว่าความหมายนี้ของ civilization นักปราชญ์ไทยแต่ก่อน (ซึ่งเป็นผู้ดีไทยด้วย) เข้าใจดี นายเมืองและนายเถื่อนในแบบเรียนเรื่องพลเมืองดีของเจ้าพระยาพระเสด็จฯ เมื่อยังเป็นพระยาวิสุทธิ์สุริยศักดิ์ ก็น่าจะคิดขึ้นจาก civilization ในความหมายนี้ คำว่า civilization เคยถูกแปลในภาษาไทยว่านาครธรรม ไม่ใช่อารยธรรม

จากความหมายดั้งเดิมของ civilization ซึ่งยังแฝงอยู่ในคำนี้จนถึงปัจจุบัน จึงน่าจะหมายถึงคุณค่าอันเป็นสิ่งที่คน (ตะวันตก) ในโลกปัจจุบันยกย่องว่าอำนวยความมั่นคงทางสังคมแก่ชีวิตมนุษย์ นั่นได้แก่กฎหมายซึ่งผ่านการรับรองจากมหาชน, การใช้กฎหมายตามวิถีนิติธรรม, รัฐที่มีความยุติธรรม ไม่ใช่คู่ขัดแย้งของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง, ความเสมอภาคของทุกคนภายใต้กฎหมาย, สิทธิของทุกคนในการป้องกันตนเองในกระบวนการยุติธรรม (รวมทั้งไม่ถูกบังคับให้กล่าวโทษตนเอง), สิทธิของพลเมืองที่จะมีความเห็นเป็นอิสระของแต่ละคน ฯลฯ ทั้งหมดเหล่านี้แหละครับ รวมกันเป็นฐานของความหมายคำว่าcivilization

ฉะนั้นหากสรุปคำพูดของเอกอัครราชทูตสหรัฐให้ตรงเป๊ะก็คือ สหรัฐมีความวิตกห่วงใยต่อความไม่ civilized ของผู้ปกครองไทย แล้วผู้ดีไทยกับผู้ดีใหม่ก็ตะโกนตอบว่า มึงต่างหากไม่มีอารยธรรม ออกไปจากประเทศที่มีอารยธรรมแต่ไม่ civilized นี้เสีย แล้วเมื่อไรจะเถียงกันรู้เรื่องล่ะครับ


เมื่อ‘ส.ว.’ใจเป็นอื่น รัฐบาลก็ล้มได้ ‘มีชัย’ผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย และวุฒิสภา ตัวจริง





มติชนสุดสัปดาห์·MONDAY, MAY 30, 2016


หลักศิลากลางน้ำเชี่ยว
มุกดา สุวรรณชาติ 

มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2559 

นายกฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ตั้งรัฐบาลได้ไวเพราะ รธน.2521 และรัฐบาลนั้นไปไวก็เพราะ รธน.2521 

คนที่มีส่วนสำคัญในการร่าง คือ มือกฎหมายระดับปรมาจารย์อย่าง คุณมีชัย ฤชุพันธุ์ กลายเป็นตัวเชื่อมข้ามยุค มาร่าง รธน. ฉบับ 2559 เช่นเดียวกับตัวเชื่อมอำนาจข้ามยุคอย่าง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 

ไม่น่าเชื่อว่าแม้เวลาจะยาวนานถึง 36 ปี แต่กงล้อประวัติศาสตร์หมุนทับรอยเดิม 

ในคลื่นการเมือง ถ้าประมาท... 
เรือล่มได้ ไม่ว่าเรือใคร 

การชิงอำนาจทางการเมืองเหมือนคลื่นที่เข้าปะทะรัฐนาวา ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช บอกว่าให้เวลารัฐบาลนี้ 6 เดือน แต่...31 สิงหาคม 2522 พรรคกิจสังคมและพรรคชาติไทยก็ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี 4 กระทรวงคือ มหาดไทย อุตสาหกรรม พาณิชย์ และคมนาคม แต่รัฐบาลก็ผ่านได้ นายกฯ เกรียงศักดิ์ มัวแต่มองคู่ปรับคนสำคัญ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซึ่งสื่อมวลชนให้ฉายาว่าเฒ่าสารพัดพิษ ไม่ได้ระวังคนอื่น 

รัฐบาลบริหารประเทศมาจนถึงสิ้นปี 2522 ยังไม่ครบปี ปัญหาที่เผชิญอยู่ตรงหน้าคือปัญหาพื้นฐานเรื่องเศรษฐกิจ ในที่สุดโอกาสก็เกิดปัญหาราคาน้ำมันซึ่งดีดตัวสูงขึ้นติดต่อกันจาก 13-15 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เพียงปีเดียวขึ้นสูงถึง 26-32 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ต้องมีการประกาศขึ้นราคาน้ำมันในประเทศ 6 ครั้ง ทำให้ประชาชนเดือดร้อน รัฐบาลการ์ดตกนิดเดียวก็มีคนปล่อยหมัดน็อกทันที 

เกิดการชุมนุมของประชาชนนักศึกษา สหภาพแรงงานและฝ่ายการเมืองที่ท้องสนามหลวงในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2523 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้พรรคการเมืองต่างๆ ก็ได้เตรียมการอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ไม่สามารถทำได้อย่างที่บอกไว้ 

23 กุมภาพันธ์ 2523 พลเอกเกรียงศักดิ์ พยายามออกวิทยุโทรทัศน์ชี้แจงและโต้ตอบ ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ 27 กุมภาพันธ์ ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ 

ถ้าหากเสียงของ ส.ว. 225 เสียง และ ส.ส. จำนวนหนึ่ง ยังสนับสนุน ก็ไม่มีอะไรน่าวิตก แต่งานนี้ พลเอกเกรียงศักดิ์ ถูกจู่โจมชิงกำลังอย่างรวดเร็ว กว่าจะรู้ตัวก็ช้าไปแล้ว รัฐบาลจึงขอเปิดประชุมรัฐสภา เพื่อชี้แจงปัญหาในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจ 3 มีนาคม 2523 

เมื่อ ส.ว. มีใจเป็นอื่น... 
การแสดงก็ต้องปิดฉาก 

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 หลังจากที่พลเอกเกรียงศักดิ์แถลงต่อรัฐสภาอย่างยืดยาว สุดท้ายก็ได้แถลงลาออกโดยให้เหตุผลว่า เพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยระบบรัฐสภา...กระผมจึงได้ตัดสินใจดังนี้...กระผมขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ระบบรัฐสภาของประชาธิปไตยดำรงคงอยู่ตลอดไป...ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ท่านเลือกบุคคลที่มีความสามารถดีกว่าเข้ามาบริหารประเทศและรับใช้ประชาชนและประเทศชาติต่อไป ขอบพระคุณ... 

นายกฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ลาออกกลางสภา มีการวิเคราะห์กันต่างๆ นานาว่าทำไมพลเอกเกรียงศักดิ์ไม่ยุบสภา ทำไมยอมลาออกก่อนจะถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เบื้องหลังเหตุการณ์นั้นมีผู้วิเคราะห์ว่า
นายกฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ฐานลอยจากทุกส่วนของอำนาจคือ 

1. อำนาจทางทหารหายไปแล้ว ดังนั้น จึงไม่สามารถใช้อำนาจทางทหารเป็นตัวช่วย 

2. ไม่มีอำนาจในการควบคุมเสียงของ ส.ว. เพราะ ส.ว. ใจเป็นอื่นไปแล้ว คือเปลี่ยนไปตามขั้วอำนาจที่เป็นใหญ่ ณ ช่วงเวลานั้น ข่าวบอกว่าฐานเสียงสำคัญจาก จปร.7 ถอนตัว และช่วยล็อบบี้ ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ให้มาหนุนคนใหม่ 

3. ไม่มีอำนาจในการควบคุมเสียง ส.ส. เพราะนายกฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ มองว่านักการเมืองไม่มีน้ำยา ในสภาพประชาธิปไตยหลอกๆ จึงไม่สนใจ ฐานประชาชน แต่การปกครองระบบใดขาดการสนับสนุนจากฐานนี้ก็ไปไม่รอด 

4. พลเอกเกรียงศักดิ์ ลอยตัวจากอำนาจนอกระบบมานานแล้วนับตั้งแต่รัฐประหารตุลาคม 2520 และในช่วงหลังนโยบายต่างประเทศที่คบทุกฝ่าย ทั้งจีน รัสเซีย อเมริกา กลุ่มประเทศอาหรับ ทำให้เกิดความไม่ไว้ใจจากมหาอำนาจ 

ฝ่ายจู่โจมชิงอำนาจครั้งนี้จึงทำไม่ยาก เพราะนายกฯ ไม่มีแนวร่วมเหลืออยู่เลย ใช้เวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ เกมก็จบ 

และที่ไม่ยุบสภาก็เพราะถูกบีบบังคับให้ลาออก สมัยนั้นไม่มีตุลาการภิวัฒน์ ตอนนั้นอาจจะเรียกว่าวุฒิสภาภิวัฒน์ก็ได้ เพราะ ส.ว. ใจเป็นอื่นไปแล้ว นายกฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้รับข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ ไม่สามารถใช้การแก้ไขทั้งการทหารและการเมือง 

บางคนมองว่าเป็นการยึดอำนาจอย่างเงียบๆ เมื่อถูกล็อกหมดทุกด้าน ถ้าไม่ลาออกจะถูกอภิปรายหลายเรื่องกลางสภา แพ้มติไม่ไว้วางใจ หลุดจากตำแหน่ง 

ถึงอยากอยู่ยาวเขาก็ไม่ให้อยู่ เพราะเขาตกลงแบ่งอำนาจกันแล้ว (การชิงอำนาจจากนายกฯ สมัคร และนายกฯ สมชาย ปี 2551 โดยตุลาการภิวัฒน์ แล้วตั้งรัฐบาลในค่ายทหาร ยากกว่า) 

สิ่งเหล่านี้มาพิสูจน์ตอนที่มีการโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่หลังจากพลเอกเกรียงศักดิ์ ลาออก 3 วัน 

วันที่ 3 มีนาคม 2523 มีการจัดประชุมที่รัฐสภาซาวเสียงหานายกฯ คนใหม่ ผลปรากฏว่า 

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้คะแนนจาก ส.ส. 195 เสียง ได้จาก ส.ว. 200 เสียง รวมเป็น 395 

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้คะแนนจาก ส.ส. 79 เสียง ส.ว. 1 เสียง รวมเป็น 80 

อดีตนายกฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้คะแนนจาก ส.ส. 4 เสียง และ ส.ว. 1 เสียง รวมเป็น 5 

และพลเอกเปรม ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกรัฐมนตรีภายในวันที่ 3 มีนาคมนั้นเอง 

มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภาที่ยาวนานที่สุด 
เป็นรัฐมนตรีดูแลด้านกฎหมาย 12 ปี 

มีชัย เคยเป็นเลขานุการกรรมาธิการร่าง รธน. 2521 ทำเสร็จใน 6 เดือน และเป็น รมต. ดูแลด้านกฎหมายให้กับ 4 นายกรัฐมนตรี นาน 12 ปี 

แต่เป็นประธานวุฒิสภานานที่สุดของประเทศไทย เกือบ 8 ปี 

ในปี 2520 หลังการรัฐประหาร พลเอกเกรียงศักดิ์ ได้ตั้ง มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเข้าไปช่วยงานเป็นเลขานุการรองนายกรัฐมนตรี สมภพ โหตระกิตย์ 

ในปลายปีนั้นเอง มีชัยก็ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งให้เป็นกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ อยู่ในตำแหน่งที่สำคัญคือเลขานุการของกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และร่างเสร็จในเดือนมิถุนายน 2521 เข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติ 12 ตุลาคม จนถึงวันพิจารณาลงมติของ สนช. คือวันที่ 18 ธันวาคม 2521 มีผู้เห็นชอบ 330 คน ค้าน 9 คน ไม่นับฝ่ายนักศึกษาที่มาแปะโปสเตอร์คัดค้านอยู่ที่หน้าสภา และประชาชน 

มาถึงยุคของ พลเอกเปรม ครม. มาจากพรรคการเมืองหลายพรรค เช่น กิจสังคม ชาติไทย ประชาธิปัตย์ สยามประชาธิปไตย รวม 24 คน บางส่วนก็มาจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งขณะนั้นอายุ 42 ปี 

มีชัย ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ.2523-2531 ยังต่อไปถึงรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ระหว่าง พ.ศ.2531-2533 และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสมัยนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน ประมาณ 1 ปี เมื่อมีการเลือกตั้งในปี 2535 ก็ได้รับแต่งตั้งให้เข้าไปเป็นรองนายกรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร อยู่ได้ไม่นานก็เกิดพฤษภาทมิฬ 2535 นายมีชัยจึงต้องรักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ 22 วัน 

หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มาดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา และเป็นต่อเนื่องมาตั้งแต่นายอานันท์ กลับมาเป็นนายกฯ ชั่วคราว 

เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ได้นายกฯ ชวน หลีกภัย นายมีชัยก็ยังอยู่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา
นายกฯ ชวน ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เลือกตั้งใหม่ได้นายกฯ บรรหาร ศิลปะอาชา นายมีชัย ก็ยังเป็นประธานวุฒิสภา 

นายกฯ บรรหาร ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ได้นายกฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ประธานวุฒิสภาก็ยังคงเป็นนายมีชัย เหมือนเดิม 

นายกฯ พลเอกชวลิต ลาออก นายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้ง นายมีชัย ก็ยังเป็นประธานวุฒิสภาจนกระทั่งหมดสมัยในปี 2543 

นี่จึงกล้าพูดได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องวุฒิสภาและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาที่ยาวนานที่สุดในประเทศไทย ส่วนใหญ่แล้วประธานวุฒิสภาจะดำรงตำแหน่งแค่ 1 ปี 2 ปีเท่านั้น 

หลังรัฐประหารล้มนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ปี 2549 เมื่อตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายมีชัย จึงได้รับเลือกเป็นประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจนมีการเลือกตั้งใหม่ 

มีชัยจะทำอย่างไร 
ต่อแรงกดดันของฝ่ายต่างๆ 
เมื่อมีข้อเสนอเรื่องรัฐธรรมนูญของ คสช. 

สามสิบกว่าปีที่แล้ว มีชัยทำงานให้ พลเอกเกรียงศักดิ์ และ พลเอกเปรม ซึ่งขณะนั้น พลเอกประยุทธ์ ยังหนุ่มฟ้อหล่อเฟี้ยว คงเพิ่งจบโรงเรียนนายร้อยมาไม่นาน ส่วน พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ติดยศนายพัน 

มาวันนี้ มีชัยได้ร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้ง แต่ข้อเสนอ คสช. บอกตรงๆ ว่า ต้องการดูแลบ้านเมืองให้เรียบร้อยอีก 5 ปี 

รธน.2559 จึงเป็นฉบับที่ทุกรุ่นมาร่วมต่อสู้ ทุกฝ่ายรู้ทันกันหมด มีคนที่อยากได้เปรียบ และคนไม่อยากเสียเปรียบ ทุกฝ่ายจึงต้องมาถกเถียง มาต่อสู้เพื่อหาข้อยุติและหาทางออก ซึ่งหวังว่าจะมีข้อสรุปให้ประชาชนลงประชามติ ถึงเวลานี้จะต้องเลือกเอาว่าจะกำหนดกติกาอย่างไร? 

และถามความเห็นประชาชนจะได้รู้ความต้องการของคนส่วนใหญ่ อย่ายืดเยื้อต่อไปอีกเลย 

ในอดีต มีชัยร่าง รธน.แต่ละฉบับตามสถานการณ์ ไม่เคยถามประชาชน มาครั้งนี้ย่อมมีแรงกดดัน เพราะจะต้องผ่านประชามติ ...จะเกรงใจประชาชนหรือเกรงใจผู้มีอำนาจ? 

มีชัย ฤชุพันธุ์ จะอาศัยความเก๋าประสบการณ์ และความรู้ ฝ่าไปได้อย่างไร? โดยที่จะได้รับก้อนอิฐน้อยที่สุด ในบั้นปลายชีวิต คงต้องดูหลัง 29 มีนาคม 2559


คลิปเสวนาทางวิชาการ “รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้”





https://www.youtube.com/watch?v=nxtDrJFhMs4

รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้

prachatai


Streamed live on May 21, 2016

เสวนาทางวิชาการ “รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้”

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 13.00-16.30 น.
ณ ห้องอเนกประสงค์ริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

บรรยายพิเศษ เรื่อง “ทำไมต้องมีรัฐธรรมนูญ”
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

เสวนาวิชาการ เรื่อง “รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้”
โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายบารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจน
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บรรยายพิเศษ “ร่างรัฐธรรมนูญในทัศนะของคณะนิติราษฎร์”
โดย ผศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ.ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จัดโดย
โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการรัฐศาสตร์เสวนา หลักสูตรการเมืองและการจัดการปกครอง ภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันจันทร์, พฤษภาคม 30, 2559

ความเก่า เล่าใหม่... หนังสือพิมพ์คือเครื่องมือสำคัญของการปฏิวัติฝรั่งเศส จรัล ดิษฐาอภิชัย ตาสว่างย่อ026




https://www.youtube.com/watch?v=cG7YMASkdfA&feature=youtu.be

หนังสือพิมพ์คือเครื่องมือสำคัญของการปฏิวัติฝรั่งเศส จรัล ดิษฐาอภิชัย ตาสว่างย่อ026

Media Force

Published on May 30, 2016
9 กค 2558



‘ทอม ดันดี’ กลับคำให้การรับสารภาพ คดี112 คดีแรก เหลืออีกคดีที่ศาลทหาร เชิญอ่านเรื่องราวของ ‘ทอม ดันดี’ ฝรั่งเศส ปรีดี เสื้อแดง และมาตรา 112 จากประชาไท




ภาพจากไทยรัฐออนไลน์ พาดหัวข่าวพิพากษาคดีฝ่าฝืนคำสั่งไม่รายงานตัว (ขณะนั้นจำเลยอยู่ในเรือนจำ) ส่วนรูปประกอบคาดว่าเป็นรูปเมื่อครั้งถูกจับกุมตัวหลังรัฐประหาร


เรื่องราวของ ‘ทอม ดันดี’ ฝรั่งเศส ปรีดี เสื้อแดง และมาตรา 112


ที่มา ประชาไท
2015-05-20
ทีมข่าวกระบวนการยุติธรรม


ทอม ดันดี เป็นนักร้องที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว ช่วงหลังเขาเงียบหายไปจากหน้าสื่อ จนกระทั่งพบเห็นบนหน้าหนังสือพิมพ์อีกครั้งตอนร่วมกิจกรรมกับคนเสื้อแดง ล่าสุด เราพบเขาในสื่อบ่อยขึ้น ในสถานะของผู้ต้องหาคดีฝ่าฝืนคำสั่งไม่รายงานตัวกับ คสช. และหมิ่นสถาบัน มาตรา 112

วิกิพีเดียบอกว่าชื่อ ทอม ดันดี นั้นมีที่มาจากหนังเรื่องอินเดียน่าโจนส์และเมืองในสกอตแลนด์ แต่เจ้าตัวบอกว่าจริงๆ แล้ว อ.เสก แห่งวงซูซูเป็นคนตั้งให้ มาจากหนังเรื่อง Crocodile Dundee เนื่องจากตัวเอกของเรื่องชื่อ ดันดี มีบุคลิกทะลึ่งตึงตังและสาวๆ เยอะ .. คล้ายกัน

นอกจากการเป็นนักร้องนักแสดงแล้ว เรื่องตลกร้ายที่สร้างชื่อให้เขาเป็นที่จดจำอีกอย่างเห็นจะเป็นถุงยางยี่ห้อ “ทอม ดันดี” กลิ่น ลีลาวดี ซึ่ง อย.ไม่อนุญาต กรมศาสนาคัดค้าน กระทรวงวัฒนธรรมไม่เห็นด้วย เพราะเห็นว่าชื่อนี้ไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมประเพณีไทยและอาจยั่วยุให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์กันมากขึ้น

ในวันพุธที่ 20 พฤษภาคมนี้ ทอม ดันดี มีอายุครบ 57 ปี สองวันก่อนหน้านี้เขาไปศาลทหารในนัดตรวจสอบพยานหลักฐาน เขาให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดและเตรียมต่อสู้คดี หลังติดคุกมาแล้วเกือบ 11 เดือน ศาลนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 4 ส.ค.นี้และพิจารณาเป็นการลับ นั่นเป็นคดีแรก

คดีที่สองมาเยือนเขาในเดือนที่ 8 ในเรือนจำโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเดินทางเข้าไปแจ้งคดี 112 เพิ่มอีกหนึ่งคดี ทั้งสองกรณีเกิดจากการปราศรัยของเขา 2 ครั้งในปลายี 2556 แล้วมีการเผยแพร่เป็นคลิปวิดีโอในยูทูป ปอท.นำมาดำเนินคดีหลังรัฐประหาร ตอนแรกคดีของเขาถูกพิจารณาที่ศาลอาญา แต่นัดต่อมามันก็ถูกโอนมายังศาลทหาร

“มันคงต้องยอมรับสภาพที่เกิดมาเป็นคนของประชาชน” ทอม ดันดี ในชุดนักโทษกล่าวในวาระวันเกิดของเขา ก่อนเดินขึ้นรถผู้ต้องขังกลับเรือนจำพร้อมด้วยกุญแจมือ

หากถามว่าเขาเริ่มเข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองได้อย่างไร ความคิดทางการเมืองของเขามาจากไหน อาจต้องย้อนไปถึงวัยเด็กของเขา

“ผมน่าจะเป็นส่วนผสมของทั้งสองคน” เขากล่าวถึงอิทพลของพ่อและแม่ที่อยู่ในตัวเขา พ่อเป็นครูใหญ่โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี มีความคิดทางการเมืองแบบก้าวหน้าและเคยร่วมเป็นแพทย์เสรีไทย ส่วนแม่มีอาชีพเป็นนางละคร

เขาเล่าว่าชีวิตในวัยเด็กของเขายากลำบาก เนื่องจากพ่อแม่มีลูกถึง 11 คนและเขาค่อนข้างเกเรจึงไม่ค่อยได้รับการดูแลมากนักเขาจึงเลือกใช้ชีวิตเร่ร่อนผจญโลกภายนอกเสียมากกว่าอยู่กับครอบครัว จนโตเป็นหนุ่มจึงได้ทุนรัฐบาลไปเรียนที่ประเทศฝรั่งเศสในปี 1986 ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น 6 ปีเต็ม เขาเข้าเรียนในวิทยาลัยซึ่งคล้ายๆ กับ ปวช.-ปวส.บ้านเรา วิชาที่เรียนคือ ภาษา ดนตรี ถ่ายภาพ ควบคู่กัน

ระหว่างเรียนเขาทำงานไปด้วยหลายอย่าง เคยเป็นผู้จัดการร้านน้ำหอม เป็นไกด์และล่ามให้ทูตพาณิชย์ สอนพิเศษภาษาฝรั่งเศสให้คนไทยที่นั่น กลางคืนเล่นดนตรีที่ร้านอาหาร กระทั่งชกมวยโชว์ให้สถานทูต เพราะเขาฝึกมวยที่ค่ายผุดผาดน้อย วรวุฒิ ซึ่งเป็นค่ายมวยไทยในฝรั่งเศส

ห้วงยามนั้นเป็นช่วงท้ายๆ ของชีวิต ‘ปรีดี พนมยงค์’ พอดี เขาได้เจอปรีดีในปี 1981 ก่อนหน้าปรีดีจะเสียชีวิตเพียง 2 ปี จากการได้ทำงานกับสถานทูต เป็นประธานปฏิคมต้อนรับนักศึกษาไทยในฝรั่งเศส เขามีโอกาสได้ไปรับประทานอาหารที่บ้านของปรีดีและรู้จักสนิทสนมกับลูกของปรีดีบางคน ได้สนทนาเรื่องประวัติศาสตร์กับท่านผู้หญิงพูนศุข เขาเล่าว่านักเรียนไทยหลายคนมักไปรวมตัวที่นั่นและเล่นดนตรีด้วยกัน ตัวเขาเองยังเคยได้เรียนปรัชญาดนตรีกับลูกคนหนึ่งของปรีดี

เมื่อกลับมาเมืองไทยเขาเข้าสู่วงการดนตรี และได้มีโอกาสเป็นนักร้องนำวงซูซูจนได้ออกอัลบั้มของตัวเอง เรียกว่าช่วงนั้นเป็นช่วงพีคของชีวิต โดยเฉพาะกับผู้คนในต่างจังหวัดซึ่งเขายังคงมีเวทีคอนเสิร์ตในจังหวัดต่างๆ เสมอมา

เขาเริ่มเข้าสู่พื้นที่การเมืองจริงจังในช่วงปี 2553 ก่อนสลายการชุมนุม และตัดสินใจขึ้นเวที นปช.ด้วย ก่อนหน้านี้เขามีทัวร์คอนเสิร์ตราว 20-25 ครั้งต่อเดือน รายได้บางเดือนเกือบ 3 ล้านบาท แต่หลังออกตัวทางการเมือง แทบทั้งหมดก็ถูกแคนเซิล

“เรามองดูอยู่ ประชาชนเดือดร้อนเรื่องประชาธิปไตย ปากท้อง ความเป็นธรรม บุญคุณของประชาชนข้าวชามน้ำจอกที่ได้รับมา ได้อยู่ดีกินดีมีเงินใช้แบบนี้ก็เพราะประชาชนทั้งนั้น เลยตัดสินใจออกมาขึ้นเวที” ทอมกล่าว

“นาฬิกาไม่ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ ราคา มันขึ้นอยู่กับว่าเดินตรงกันไหม คุณเป็นใคร มาจากไหนไม่ใช่เรื่องใหญ่ คุณมีความยุติธรรมอยู่ในตัวหรือไม่ พฤติกรรมคือคำตอบเหนือสิ่งอื่นใด” ก็เขาอีกนั่นแหละที่กล่าว





การสลายการชุมนุมในปีนั้น ดูเหมือนเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เขาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองเต็มตัว ข้อมูลจากภรรยาที่ดูแลเขาในขณะนี้ระบุว่าในปี 2554 ทอม ดันดี เน้นการเดินสายพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยร่วมขบวนไปกับคนอื่นๆ ที่ทำเรื่องหมู่บ้านเสื้อแดง แต่หลังจากนั้นในปี 2555 เขาตัดสินใจออกจากกลุ่มเนื่องจากปัญหาความโปร่งใสทางการเงินของแกนนำบางส่วน แล้วอาศัยเดินสายด้วยตัวเอง

“ปี 54 นี่เดินสายต่างจังหวัดเยอะมาก แทบไม่ได้กลับบ้านเลยทั้งปี พี่ทอมไปอบรม พูดคุยกับชาวบ้านเรื่องประชาธิปไตย เรื่องความสำคัญของสหกรณ์อะไรพวกนี้ คนอื่นในทีมก็พูดเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองบ้างอะไรบ้าง แต่ตอนหลังแกนนำหลักบางคนมีปัญหาเรื่องเงิน เราเลยแยกออกมา เริ่มเดินสายเอง ออกเงินเองหมด แต่เราไม่ค่อยมีเงินเลยไม่ได้ไปบ่อย เวลาจะไปไหนทีก็นั่งรถทัวร์กันไปสองคน” ภรรยาของเขากล่าว

ทอมระบุว่าเหตุที่เดินสายต่างจังหวัดเพราะต้องการพบปะแลกเปลี่ยนกับประชาชนในชนบทให้มากที่สุด เพื่อบอกว่าพวกเขากำลังถูกเอาเปรียบ

“บ้านเรามีทรัพยากรสมบูรณ์ ทำไมประชาชนยังจนอยู่ ทำไมไม่โอกาสดีๆ บ้าง ใครเอาเปรียบเรา และใครที่ให้โอกาสเรา” ทอม ดันดีกล่าว

ปลายปี 2553 เขาถูกเครือข่ายราษฎรอาสาป้องกันสถาบันร้องเรียนกับดีเอสไอให้ดำเนินคดีกับเขาจากกรณีปราศรัยที่จ.ราชบุรี ซึ่งทางเครือข่ายเห็นว่าเข้าข่ายหมิ่นฯ แต่คดีนี้ดูเหมือนเงียบไป

หลังจากเคลื่อนไหวหนักๆ และขาดรายได้จากวงการบันเทิง ทอม ดันดี ผันตัวมาเป็นชาวไร่เต็มรูปแบบเหมือนสมัยยังเล็ก เขาได้รับที่ดิน 30 กว่าไร่ที่บ้านเกิดหลังพ่อเสียชีวิต เขาปลูกพืชหลายอย่าง หน่อไม้ มะนาว มะม่วง กล้วย มะพร้าว มะปราง หมาก ฯลฯ อาศัยรายได้จากสวนเพื่อยังชีพ

“เขาทำเอง เก็บเอง ขายเอง ตอนช่วงไปชุมนุมบ่อยๆ ก็เอาไปขายด้วย ขึ้นเวทีเสร็จก็ลงมาขาย มะนาว หน่อไม้ มะม่วง” ภรรยากล่าว

หลังการรัฐประหารครั้งล่าสุด 22 พ.ค.2557 ทอม ดันดี มีชื่ออยู่ในรายชื่อที่ คสช.เรียกรายงานตัว เขาอยู่ในไร่ บ้านไม่มีทีวี ทำให้ทราบเรื่องช้า เมื่อรู้ข่าวก็ติดต่อเจ้าหน้าที่ทหารว่าจะไปรายงานตัววันรุ่งขึ้น แต่แล้วก็ถูกบุกจับกุมตัวก่อนและถูกสอบสวนหนัก โดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าเขาอาจเกี่ยวข้องกับอาวุธสงคราม (อ่านรายละเอียดที่ ทอม ดันดี: จดหมายระบายความในใจ-การถูกจับกุม) จากนั้นเขาถูกคุมตัวที่กองปราบหลายวันก่อนส่งตัวเข้าเรือนจำ คนอื่นที่ไม่รายงานตัวและถูกจับไล่เลี่ยกับเขาล้วนได้รับการปล่อยตัว แต่เขาถูกคุมขังและไม่ได้ประกันตัวจนปัจจุบันเนื่องจากเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหาตามมาตรา 112

ช่วงแรกเขามีอาการตึงเครียดจนกระทั่งค่อยๆ ปรับสภาพกับความแออัดและมาตรฐานชีวิตในเรือนจำได้

“เขาเป็นนักสู้ เป็นศิลปินเพื่อชีวิตคนเดียวในประเทศไทย นอกนั้นไม่ใช่ เขายืนหยัดในความเป็นเพื่อชีวิตโดยไม่เปลี่ยนแปลง จริงๆ เขาควรได้เป็นศิลปินแห่งชาติด้วยซ้ำ” สมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบก.นิตยสาร Red Power ผู้ต้องหาคดี 112 ที่อาศัยอยู่แดนเดียวกันกล่าวถึงทอม

“เขาเป็นที่พึ่งพาของนักโทษคนอื่น เป็นคนตลกโปกฮาลามก คิดถึงแต่เมียทุกวัน” อีกหนึ่งคำจำกัดความที่สมยศมอบให้เขา

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาในเรือนจำ ดูเหมือนมุขตลกของเขาจะลดลงเรื่อยๆ เสียงหัวเราะมีเพียงประปราย แทนที่ด้วยความขรึมและเคร่งเครียดจริงจัง จนกว่าจะถึงวันสืบพยานนัดแรก 4 ส.ค.และบทสุดท้ายของคดีนี้

“ในอนาคต ผู้คนคงพากันงงว่า ทำไมถึงมีคดีแบบนี้เกิดขึ้นได้ในสังคม” ทอม ดันดี กล่าว



เอาไว้ตีหรือมีไว้คลุม?




โดย ทีมข่าวการเมือง
โลกวันนี้

May 30, 2016


การเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายประชาธิปไตยเนื่องในโอกาสครบรอบ 2 ปีการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สะท้อนให้เห็นถึงอุณหภูมิทางการเมืองที่นับวันจะยิ่งร้อนระอุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจากกลุ่มต่างๆที่ต้องการให้บ้านเมืองกลับสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสากลและประชาคมโลกยอมรับ

เช่นเดียวกับกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “มีชัยปราบโกง (ฝ่ายตรงข้าม)” ซึ่งกำหนดลงประชามติวันที่ 7 สิงหาคม ต่างก็ออกมาเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะรัฐบาล คสช. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู ก. ข. ค. และอาสาสมัครต่างๆที่จะออกมาเคาะประตูบ้านชี้แจงเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ก็ถูกตั้งคำถามถึงความเป็นกลางซึ่งระบุไว้ใน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็แสดงจุดยืนชัดเจนว่าต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติเพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์บอกว่า ความจริงร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้สามารถประกาศใช้ได้ทันที เพราะอำนาจอยู่ที่ คสช. ประเทศอื่นก็ไม่เห็นต้องทำ แต่ประเทศไทยไม่ได้ เพราะเป็นประชาธิปไตย แล้วก็เอามาเป็นพิธีกรรมอ้างประชาธิปไตยและทำให้ประเทศชาติมีแต่ปัญหา

จึงไม่แปลกที่ พล.อ.ประยุทธ์จะอุทานในที่ประชุมสัมมนา “การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศไทยแบบบูรณาการ” ว่า “กูละเบื่อจริงๆ” เพราะพูดกันแต่ประชามติ ทั้งยังตัดพ้อที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า 2 ปีรัฐบาลและ คสช. ไม่มีผลงานทั้งที่ทำแทบตาย “บอกไม่ได้ทำอะไรเลย เดี๋ยวจะทำให้เห็นว่า 2 ปีทำอะไร”

เช่นเดียวกับการใช้อำนาจมาตรา 44 ที่มีการเรียกร้องให้ คสช. ยกเลิกนั้น พล.อ.ประยุทธ์ก็ยืนยันว่า มาตรา 44 ทำให้เกิดความมั่นคง และตนสามารถเมตตาผ่อนผันอะไรก็ได้ โดยเฉพาะคดีที่ไม่ร้ายแรงมากจนเกินไป แต่ถ้าใช้กฎหมายปรกติก็ต้องจับหมด ถ้าไม่จับก็จะมีความผิดมาตรา 157 ฐานละเว้น

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ยังกล่าวถึงการร่างรัฐธรรมนูญว่า เป็นแค่หลักประกันว่าประเทศไทยมีหลักการที่สากลยอมรับ ระหว่างนั้นต้องมี ส.ว. เป็นหลักประกันไม่ให้เกิดปัญหาอย่างที่ผ่านมา แต่ไม่มีใครสามารถสั่งการอะไร ส.ว. ได้ ซึ่งกรณี ส.ว.ลากตั้งเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่ฝ่ายประชาธิปไตยไม่เห็นด้วย เพราะในอดีตที่ผ่านมา ส.ว.ลากตั้งทุกสมัยก็ถูกตั้งฉายาว่า “สภาฝักถั่ว” เพราะไม่ต่างกับหุ่นยนต์ที่ทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหรือผู้ที่แต่งตั้ง โดยเฉพาะ ส.ว. ที่มาจากข้าราชการทั้งที่ยังรับราชการและเกษียณอายุ

“สุเทพ” อ้าง“คนดี..จะมายังไงก็ได้”

ไม่ว่า พล.อ.ประยุทธ์จะรู้สึกเบื่อหน่ายอย่างไร การลงประชามติจะเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองจนถึงวันที่ 7 สิงหาคม ไม่ว่าประชามติจะผ่านหรือไม่ผ่านก็จะสะท้อนถึงอนาคตประเทศไทยว่าจะไปทางไหน และมีความสำคัญกับรัฐบาลและ คสช. อย่างมาก เพราะหากร่างรัฐธรรมนูญผ่านก็เหมือนหลักประกันหรือใบรับประกันความชอบธรรมที่จะสถาปนา “อำนาจพิเศษ” ในบทเฉพาะกาล 5 ปี โดยมี ส.ว.ลากตั้ง 250 คน รวมถึงอำนาจในการโหวตนายกรัฐมนตรีคนนอก ซึ่งฝ่ายประชาธิปไตยและประชาคมโลกตั้งคำถามว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของ คสช. หรือไม่

ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและ คสช. ก็ออกมาปกป้องทุกรูปแบบ ล่าสุดนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ก็ออกมายกย่องร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัยว่า ส่วนใหญ่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของมวลมหาประชาชน โดยเฉพาะเรื่องปราบทุจริตคอร์รัปชัน การปฏิรูประบบราชการให้ถึงมือประชาชน การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และสาธารณสุข รวมทั้งการปฏิรูปตำรวจภายใน 1 ปี เพื่อไม่ให้อยู่ในการควบคุมของนักการเมือง ซึ่งถือว่าเด็ดที่สุดของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำให้การโยกย้ายแต่งตั้งตำรวจต้องเป็นระบบที่มีคุณธรรม

ส่วนกรณีนายกฯคนนอกนั้น นายสุเทพระบุว่า เป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว แต่เป็นการดีมากกว่า เพราะทำให้ประเทศไม่ตกอยู่ในภาวะทางตัน ตนในฐานะศิษย์สวนโมกข์อาจารย์พุทธทาสที่บอกว่า คนที่เป็นผู้นำมาอย่างไรนั้นไม่สำคัญเท่ากับคนมีธรรมะ มีศีลธรรม ขอให้ได้คนดีก็แล้วกัน เพราะไม่ได้อยู่ที่วิธีการมา แต่อยู่ที่คน

การออกมาของนายสุเทพและกลุ่ม กปปส. ถือเป็นเรื่องปรกติ เหมือนกลุ่มที่เกลียดทักษิณซึ่งสนับสนุนรัฐบาลและ คสช. ให้มีอำนาจต่อไปผ่านบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ หรือผ่านนอมินีกลุ่มต่างๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญออกแบบให้เป็นรัฐบาลผสม และการเข้ามาของนายกฯคนนอก

ปฏิกิริยา “คนกันเอง”

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของกลุ่มไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นอกจาก 2 พรรคการเมืองใหญ่คือพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ (ส่วนหนึ่ง) กลุ่มนักศึกษา นักวิชาการ และภาคประชาชนแล้ว ยังมีกลุ่ม “คนกันเอง” ที่เคยร่วมกับกลุ่ม กปปส. อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลือง ออกมาเคลื่อนไหวไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และวิจารณ์การทำงาน 2 ปีของรัฐบาลและ คสช. ว่าล้มเหลว ไม่ได้เป็นไปตามโรดแม็พที่ประกาศไว้

โดยเฉพาะนายธัชพงศ์ แกดำ อดีตโฆษกเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊คส่วนตัว (24 พฤษภาคม) ว่า “ผมขอโทษพี่น้องสิทธิชุมชนและนักเคลื่อนไหวทุกคนที่กำลังถูกทหารใช้อำนาจเผด็จการกดขี่ โดยเฉพาะพี่น้องสิทธิชุมชน ผมขอโทษที่เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เกิดรัฐประหาร แม้ผมจะไม่ใช่คนที่เรียกร้องให้ทหารออกมายึดอำนาจ แม้ผมจะพูดบนเวทีเสมอว่าต้องเปลี่ยนแปลงโดยประชาชน

ผมเฝ้าดูรัฐบาลมา 2 ปี เคยร่วมทำงานปฏิรูปเป็นอนุกรรมาธิการใน สปช. สุดท้ายแล้ววันนี้สรุปได้ว่าการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเป็นแค่วาทกรรมลอยๆของคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ แค่เรียกมวลชนหาทางไปต่อ แท้ที่จริงการปฏิรูปไม่มีอยู่จริง ผมเคยขึ้นเวที กปปส. ด้วยความเชื่อว่าเราอาจช่วยเติมเต็มพี่น้องประชาชนที่มาร่วมได้ไม่มากก็น้อยในเรื่องของปัญหาสิทธิชุมชนที่ขาดหายและต่อสู้กับระบอบทักษิณ

มาวันนี้ผมกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งอย่างปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่าทำให้เกิดการรัฐประหาร แม้จะไม่ได้เรียกร้องหรือไม่มีอำนาจสั่งการ จริงอยู่รัฐประหารทำให้พี่น้องผู้ชุมนุมทุกเวทีไม่ตายและไม่บาดเจ็บรายวัน แต่ผมไม่เคยคาดหวังและเชื่อว่า คสช. จะปฏิรูปประเทศตามสัญญา เมื่อวันนี้ผมเห็นน้ำตาเพื่อนที่เคยถูกจับพร้อมกับผมต้องติดคุก ถูกคุกคามถึงบ้าน ผมยอมรับจริงๆผมยังไม่เอาระบอบทักษิณเช่นเดิม และต่อนี้ไปผมจะสู้กับ คสช. แม้จะมีแค่ผมคนเดียวผมก็จะสู้ ผมจะไม่ยอมรัฐทหารที่รับใช้นายทุน ขุนนางอีกต่อไป ผมจะสู้ในฐานะสามัญชนคนธรรมดา ไม่ต้องมีราคา ไม่ต้องเป็นเซเล็บ ไม่ต้องเป็นแกนนำ ไม่ต้องมีตำแหน่ง แค่มีหัวใจและความคิดตรงกันเราก็สู้ได้”

ขณะที่กลุ่มที่เคลื่อนไหวให้ปฏิรูปพลังงานก็มีการเผยแพร่โปสเตอร์ผ่านโซเชียลมีเดีย โดยมีข้อความว่า “ครบรอบ 2 ปีพ่ายแพ้ทักษิณ” และข้อความด้านล่างภาพว่า “ก่อนและหลัง 22 พ.ค. 57 ของการเรียกร้องเพื่อประชาชนเคยได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ที่ไม่ได้เรียกร้องได้เพียบ “สัมปทานแหล่งปิโตรเลียมยังอยู่ ราคาพลังงานแพงเหมือนเดิม เปิด AEC เปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่าที่ดิน 99 ปี ม.44 งดอีไอเอผังเมือง เหมืองทองยังอยู่ ไฟฟ้าจากถ่านหินก็จะเอา ไฟฟ้าปรมาณูก็จะมา หนองจานไม่เอาคืน ได้เขาพระวิหารปลอมที่ผามออีแดง ไม่ปฏิรูปตำรวจ (ให้ รบ.หน้าทำ) ไม่ช่วยจับธัมมชโยเข้าคุก…ไม่ทำอะไรที่เป็นของทักษิณหรือที่ทักษิณเกี่ยวข้อง ฯลฯ”

“อาทิตย์ ม.รังสิต”จี้ใจดำระบบอุปถัมภ์

ที่เป็นประเด็นร้อนถึงเรื่องธรรมาภิบาลของรัฐบาลและลุกลามถึงผลงานของรัฐบาลคือ กรณีนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คถึงการปฏิรูปตำรวจและการซื้อขายตำแหน่งในการแต่งตั้งตำรวจว่า ปฏิรูปตำรวจหรือ? ที่มีข่าวซื้อตำแหน่งทั้งระดับผู้บัญชาการ รองผู้บัญชาการ ผู้กำกับ ผู้บังคับการ รองผู้บังคับการ สารวัตรอีกหลายพันตำแหน่ง “ปฏิรูปตำรวจใช้ระบบคุณธรรม อย่าใช้ระบบอุปถัมภ์”

โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ในความรับผิดชอบของ พล.อ.ประวิตร และมีผู้กดไลค์ความเห็นของนายอาทิตย์เป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป สมาชิก สปท. และอดีตหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษฯ ก็เคยโพสต์เรื่องการซื้อขายตำแหน่งตำรวจจนโดยหมายเรียกเพื่อดำเนินคดีในความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ โดย พล.อ.ประวิตรท้าให้เอาหลักฐานเพื่อชี้ตัวคนกระทำผิดเหมือนครั้งการกล่าวหาของ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ซึ่งล่าสุดกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีก็ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนายอาทิตย์กรณีโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จผ่านเฟซบุ๊คตามความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

ด้านนายอาทิตย์ได้โพสต์หลังถูกกล่าวโทษว่า “ผมไม่ได้สงสัยหรือมีส่วนได้เสียอะไร และผมไม่ได้กล่าวหาลอยๆ ถึงผมไม่พูดคนอื่นเขาก็พูดกันทั่ว และยังบอกอีกว่าที่ผมพูดนั้นน้อยเกินไปและมีมานานแล้ว ทุกครั้งที่มีการแต่งตั้ง ผมพูดเพื่อต้องการให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบว่าสังคมรู้กันว่าอย่างไร ควรมองเห็นในความหวังดีของผมบ้าง ผมไม่ต้องการไปพบท่านหรอกครับ และผมก็ไม่ทราบว่าท่านเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะผมรักและอยากให้บ้านเมืองนี้สงบ สันติสุข และเจริญรุ่งเรืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผมไม่ใช่เสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อเขียว เสื้อฟ้า ผมใส่ทุกสี บางทีก็ไม่ใส่ แต่ผมมีหัวใจสีเลือดแห่งสุวรรณภูมิ ใจเย็นๆ และขอพระผู้เป็นเจ้าจงประทานพรให้สงบและสันติสุข”

ขู่ฟ้องหากบิดเบือนเศรษฐกิจ

การวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของรัฐบาลและ คสช. ไม่ได้มาจากฝ่ายการเมืองและนักวิชาการที่เห็นต่างเท่านั้น แต่ยังมาจากกลุ่มที่ไม่มีสี ไม่มีฝ่าย รวมถึงกลุ่มที่เคยสนับสนุนรัฐประหารหรือเกลียดทักษิณอีกด้วย โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ พล.อ.ประยุทธ์ถึงกับประกาศว่าจะให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฟ้องหากใครบิดเบือนว่าเศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงการกล่าวหาว่าทหารโกง หากมีหลักฐานก็ไปฟ้อง หรือถ้าบอกว่าตำรวจไม่ดีก็ต้องยุบตำรวจหมด ยุบโรงเรียนนายร้อย ซึ่งต้องให้ความเป็นธรรมกับตำรวจด้วย

ขณะที่ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คในโอกาสครบรอบ 2 ปีรัฐประหารให้ คสช. ทำตามที่ให้สัญญาว่า คสช. ได้แก้ปัญหาตั้งแต่วันแรกที่เข้ามา แก้ปัญหาปากท้องเรื่องเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดำเนินทุกมาตรการที่จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ จึงเชื่อว่าที่มีบางส่วนแสดงความคิดเห็นทางการเมืองก็เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือทางด้านเศรษฐกิจ

ส่วนเรื่องสิทธิเสรีภาพและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งก็ดำเนินการมาโดยตลอด เวลานี้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีสิทธิเสรีภาพ แต่ความคิดเห็นต้องไม่พาดพิงบุคคลหรือองค์กรใด ไม่ทำให้เกิดความเกลียดชัง ไม่ยั่วยุหรือนำไปสู่การแตกความสามัคคี ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจหรือสิทธิเสรีภาพนั้น ไม่ใช่แค่พรรคเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ที่ออกมาระบุว่ารัฐบาลและ คสช. ล้มเหลว แต่ล่าสุดคณะผู้แทนรัฐสภาสหภาพยุโรป (อียู) ที่นำโดยนายเวอร์เนอร์ แลงเก็น ซึ่งเดินทางมาประเทศไทยเป็นเวลา 3 วัน เพื่อสอบถามข้อมูลด้านสิทธิมนุษยชนทั้งจากฝ่ายการเมืองคือพรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ สนช. และ สปท. ก็ตั้งข้อสังเกตถึง พ.ร.บ.ประชามติที่กีดกันการแสดงความคิดเห็นว่า อาจทำให้ประชาธิปไตยของไทยยืดยาวออกไปอีกนาน ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอียูก็ขึ้นอยู่กับการมีเลือกตั้งที่ free and fair และการกลับคืนสู่ระบอบประชาธิปไตยว่ามีการเลือกตั้งอย่างเสรีและยุติธรรมหรือไม่

คณะผู้แทนอียูยังได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการขอเข้ามาสังเกตการณ์การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในเดือนสิงหาคมนี้ แต่ยังมีการตอบรับใดๆจากรัฐบาลและ คสช. เช่นเดียวกับกรณีที่ประชุมทบทวนสภาวะสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่ตั้งคำถามถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย และให้ยอมรับคำแนะนำจากที่ประชุมถึง 181 ข้อ

จะเสียสละต่อไปอีกกี่ปี?

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ค (24 พฤษภาคม) ว่าสิ่งที่ผู้มีอำนาจทั้ง พล.อ.ประยุทธ์และ พล.อ.ประวิตรพูดเกี่ยวกับการทำประชามติ ยิ่งย้ำว่าการหารือของ กกต. ที่ผ่านมาไม่มีประโยชน์อะไรเลย คนหนึ่งบอกว่าได้คืบจะเอาศอก อีกคนว่าไม่แก้กฎหมายประชามติก็เท่ากับทุกอย่างเหมือนเดิมคือ พูดให้รับได้ฝ่ายเดียว ฝ่ายไม่เห็นด้วยทำอะไรไม่ได้ต่อไป

ที่ว่า กกต. จะจัดเวทีให้นักการเมืองพูดเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญทั่วประเทศนั้น ต้องถามว่าให้พูดกับใคร ถ้าพูดกับ กกต. ก็ไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเปล่า นาทีนี้ต้องให้ทุกฝ่ายพูดกับประชาชนได้ ไม่ใช่ให้ กกต. หรือรัฐบาลฟัง เวลาพูดต้องให้สื่อฟังและรายงาน จะให้ดีต้องถ่ายทอดสดไปเลย

ที่ถามว่าให้พูดหมดแล้วจะเอายังไงอีก แสดงว่าคนที่ถามยังไม่เข้าใจว่าเขากำลังเสนอกันว่าการทำประชามติต้องเสรี ให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ขอแค่ให้ได้พูดระบายอารมณ์กับ กกต. ซึ่งไม่มีหน้าที่แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ สักแต่ได้ชื่อว่าได้พูดแล้วก็พอ ประชาชนควรได้ฟังทุกฝ่าย

ที่ว่าเสียสละเข้ามาทำให้คนไทยมีความสุข คงมีคนโต้แย้งอีกเยอะ แต่ผมอยากถามว่า แล้วจะเสียสละต่อไปอีกกี่ปี 5 หรือ 10 หรือ 20 ปี??

ส่วนการป้องกันการโกงและการรณรงค์ให้คนไปใช้สิทธินั้น นายจาตุรนต์ได้เรียกร้องให้ประชาชนไปใช้สิทธิกันมากๆจะได้โกงยาก ส่วนบทบาท กกต. ต้องส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนกันได้อย่างเสรี ไม่ใช่ช่วยทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ

“ปี๊บผลงาน คสช.” เอาไว้ตีหรือมีไว้คลุม?

การลงประชามติ 7 สิงหาคม จึงเป็นวันสำคัญที่จะชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยแบบไทยๆจะไปทางไหน แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีใครกล้ารับประกันว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง (ฝ่ายตรงข้าม) จะเกิดขึ้น 100% หรือไม่ เพราะอะไรก็เกิดขึ้นได้ในยุคเปลี่ยนผ่านและภายใต้มาตรา 44

ท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจ การละเมิดสิทธิมนุษยชน และความขัดแย้งของกลุ่มต่างๆที่ยังฝังลึก ขณะที่กระแสความไม่พอใจรัฐบาลและ คสช. ก็มากขึ้นเรื่อยๆ แม้รัฐบาลและ คสช. จะออกมาตอบโต้ทุกข่าวทุกประเด็นว่าไม่เป็นความจริง หรือเป็นการบิดเบือนเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลและ คสช. ก็ตาม
โดยเฉพาะปัญหาเศรษญกิจ ซึ่งตัวเลขเศรษฐกิจของภาครัฐกับการวิเคราะห์ของนักวิชาการหรือนักธุรกิจแตกต่างกันสิ้นเชิง (อ่านเพิ่มเติม โลกอสังหาฯ หน้า 8) รวมถึงเศรษฐกิจที่แท้จริงที่มาจากประชาชนนั้นก็มีคำถามมาตลอดว่า ข้อมูลที่รัฐบาลและ คสช. ได้รับนั้น รับฟังมาจากประชาชนที่แท้จริงหรือประชาชนที่ถูกระดมมา อย่างที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย ย้อนถาม พล.อ.ประยุทธ์ว่า ถ้าอยากรู้ว่าประชาชนมีความสุขหรือเดือดร้อน มีรายได้พอกับรายจ่ายหรือไม่ ก็ลงพื้นที่พบประชาชนอย่างอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่ได้จากประชาชนที่ระดมกันมาต้อนรับ ส่วนผลงาน 2 ปีที่ คสช. จะแถลงก็คงเป็นเรื่องเดิมที่พูดทุกวันในรายการคืนความสุขแล้วเอามาเรียบเรียงและขัดเกลาใหม่ ซึ่งจะเป็นผลงานที่ประสบความสำเร็จจริงๆหรือไม่ หรือจะเอาของเก่าที่อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์และทักษิณทำไว้ในอดีตแล้วเอามาปัดฝุ่นทำลอกเลียนแบบ แต่ถ้าทำให้ประชาชนมีความสุขที่แท้จริงก็ดีใจด้วย

เวลาของ คสช. ผ่านมาแล้ว 2 ปี แต่หนทางข้างหน้าก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ท่ามกลางประชาคมโลกที่จับตาเรื่องสิทธิเสรีภาพและการละเมิดสิทธิมนุษยชน ขณะที่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญว่าไม่เป็นประชาธิปไตยในหลายประเด็นก็ดังกระหึ่ม บรรยากาศการลงประชามติอยู่ในภาวะที่หวาดระแวงว่าการแสดงความเห็นร่างรัฐธรรมนูญจะถูกตีความว่าผิดกฎหมาย อีกทั้งยังมีคำถามว่าหากประชามติไม่ผ่าน ประเทศจะเดินหน้าไปอย่างไร ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ก็ไม่มีคำตอบ นอกจากนายมีชัยที่ปรารภว่าแก้อะไรไม่ได้แล้ว ไม่ทันแล้ว

การออกมา “ตีปี๊บ” โหมประชาสัมพันธ์อย่างพร้อมเพรียงจากรัฐบาล คสช. และสื่อในเครือข่ายว่ามีผลงานมากมาย เศรษฐกิจไทยกำลังโชติช่วงชัชวาล ดัชนีมวลความสุขของคนไทยพุ่งกระฉูด ต่างชาติเข้าใจและให้การยอมรับ มีแต่พวกทูตไม่กี่คน อย่างเช่นทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่เพิ่งมาใหม่ เลยไม่เข้าใจความจริงว่าทุกวันนี้คนไทยมีสิทธิเสรีภาพแบบไทยๆภายใต้ระบอบการปกครองแบบไทยๆที่โลกสากลไม่เข้าใจ

มหกรรมตีปี๊บจะสำเร็จหรือไม่ สุดท้ายก็อยู่ที่อะไรคือความจริง อะไรคือความเท็จ อะไรคือความจริงครึ่งเดียว อะไรคือการประชาสัมพันธ์ อะไรคือการโฆษณา อะไรคือการโฆษณาชวนเชื่อ ประชาชนเท่านั้นคือผู้ที่จะตอบได้ดีที่สุดว่า ใครที่พูดจริง ใครที่บิดเบือน?

“ปี๊บ” มีประโยชน์เอาไว้เตะให้มีเสียงดังโชว์ว่าไม่ว่าแก่แค่ไหนก็ยังมีพลัง มีอำนาจ หรือจะเอาไว้ตีให้มีเสียงดังเพื่อการโฆษณาก็ดีเหลือหลาย นอกจากนี้ยังมีไว้คลุมหัวก็ได้เมื่อถึงคราวจำเป็น

วันนี้เอาไว้ตี.. ไม่แน่พรุ่งนี้อาจมีไว้คลุมก็ได้!!?

กรี๊สสสโรงยิมแตก!! ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยี่ยม ร.ร.บึงกาฬ นักเรียนเซลฟี่สนั่น 30พค2559




https://www.youtube.com/watch?v=fkKqMiMGBgw&feature=youtu.be&a

กรี๊สสสโรงยิมแตก!! ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยี่ยม ร.ร.บึงกาฬ นักเรียนเซลฟี่สนั่น 30พค2559

bamboo network

Published on May 30, 2016

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ประชาชนต้อนรับแน่น พบกับแฟนเพจอย่างใกล้ชิด เป็นกันเอง เยี่ยมร.ร.บึงกาฬ นักเรียนกรี๊ดสนั่น

ขอบคุณภาพและข่าวจาก https://www.facebook.com/%E0%B8%A2%E0...
.....



ระหว่างเดินทางจากจังหวัดสกลนครไปบึงกาฬเห็นมันปิ้งที่ทางผ่านอำเภอพังโคนแล้วคิดถึงพี่ชายตอนที่ท่านหาซื้อมันปิ้งทานที่เมืองจีน เลยต้องซื้อมาทานให้หายคิดถึงค่ะ




ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ประชาชนต้อนรับแน่น พบกับแฟนเพจอย่างใกล้ชิด เป็นกันเอง เยี่ยมร.ร.บึงกาฬ นักเรียนกรี๊ดสนั่น



เดินทางมาจังหวัดที่ 77 ของไทย ซึ่งได้รับการโหวตสูงสุดเป็นอันดับ2ในโครงการ "5เหตุผลที่นายกฯยิ่งลักษณ์ต้องมาจังหวัดฉัน" ได้มากราบสักการะอัฐิหลวงปู่จวน ที่ภูทอก วัดเจติยาคีรียาวิหาร ซึ่งท่านเป็นผู้บุกเบิกสร้างวัดและสถานที่ปฏิบัติธรรมจนเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ท่านยังเป็นริเริ่มสร้างบันไดขึ้นภูทอกทำให้ปัจจุบันนอกจากสถานที่ดังกล่าวจะเป็นสถานที่ปฏิบัตธรรมแล้วยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงแสวงบุญอีกด้วยค่ะ

ซึ่งหลักธรรมคำสอนของหลวงปู่จวนพี่น้องประชาชนก็ยึดถือปฎิบัติมาจนถึงทุกวันนี้

แฟนเพจท่านใดสนใจที่จะแสวงธรรมและมาท่องเที่ยวเชิง "พุทธรักษ์" พร้อมเที่ยวชมความงามและความเป็นธรรมชาติของภูทอกก็เรียนเชิญได้ที่ อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ นะคะ




บรรยากาศวันสบายๆของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะเดินทางเยือน จ.บึงกาฬ โดยแวะซื้อไก่ย่างที่ จ.สกลนคร พร้อมทักทายพ่อค้าแม่ค้า ‪#‎NEWSROOM‬ ‪#‎TV24‬




ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึงภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ ประชาชนต้อนรับแน่น พบกับแฟนเพจอย่างใกล้ชิด เป็นกันเอง เยี่ยมร.ร.บึงกาฬ นักเรียนกรี๊ดสนั่น




มาบึงกาฬ อดไม่ได้ที่จะแวะมาเยี่ยมน้องๆที่โรงเรียนบึงกาฬ ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 ค่ะหลังจากเคยมาแล้วช่วงหาเสียงปี 54 และครั้งที่ 2 ตอนปี 56 เพื่อมอบทุนการศึกษา มาวันนี้น้องๆ ยังคงน่ารักและสร้างความประทับใจในการต้อนรับเหมือนเดิมค่ะ


7 เรื่องน่ารู้ก่อนลงประชามติ 7 สิงหา





ที่มา ILaw
30 พ.ค. 2559

หลายคนยังคงสับสนและงุนงงในหลายประเด็นสำหรับการออกเสียงประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เพื่อการเตรียมความพร้อม เราข้อย้ำเตือน 7 ประเด็นก่อนเข้าคูหาลงประชามติ


1. อาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นวันลงประชามติ
อย่าหลงอย่าลืม กกต.กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559 วันนี้วันเดียวเท่านั้นเป็นวันออกเสียงประชามติ

2. เริ่มออกเสียง ตั้งแต่เวลา 08.00 – 16.00 น.
วันออกเสียงประชามติคูหาลงคะแนนเริ่มเปิดเวลา 08.00 น. และจะปิดลงในเวลา 16.00 น. อย่าลืมเตรียมบัตรประจำตัวประชาชน, บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ, บัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและมีเลขประจำตัวประชาชนของผู้ถือบัตร ให้พร้อมเพื่อแสดงตนในการไปออกเสียง

3. ไม่มีการลงคะแนนล่วงหน้าหรือลงคะแนนนอกประเทศ
ย้ำอีกครั้งวันออกเสียงประชามติจะเกิดพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เท่านั้น ไม่มีการออกเสียงล่วงหน้า และไม่มีการออกเสียงนอกประเทศไทย

4. ออกเสียงเสียงนอกพื้นที่ได้ ถ้าไม่สะดวกกลับบ้าน
สำหรับใครก็ตามที่ไม่สามารถออกเสียงประชามติที่บ้านตามที่อยู่ในสำเนาทะเบียนบ้าน สามารถลงทะเบียนออกเสียงนอกพื้นที่ได้ โดยลงทะเบียนผ่าน 3 ช่องทางคือ (1) ยื่นผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต (2) ยื่นทางไปรษณีย์ (3) ยื่นด้วยตนเอง ที่สำนักงานเขต สำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งวันที่ 17 กรกฎาคม 2559 จะเป็นวันประกาศบัญชีรายชื่อผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขตจังหวัด (คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม)

5. ลงทะเบียนออนไลน์ออกเสียงนอกเขต ถึง 30 มิถุนายน 2559
ช่องทางในการลงทะเบียนออกเสียงประชามตินอกพื้นที่แบบออนไลน์น่าจะเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายดายที่สุด ผู้ที่ต้องการออกเสียงนอกพื้นที่สามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่ http://election.dopa.go.th ภายในเวลา 24.00 น. ของวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ทั้งนี้ทาง กกต.จะแจ้งไปที่บ้านของผู้ลงทะเบียนเพื่อยืนยันการใช้สิทธินอกเขต หาก กกต.ไม่ติดต่อมาอย่าลืมทวงถาม ไม่งั้นต้องกลับไปใช้สิทธิที่บ้าน

6. อายุ 18 ปี บริบูรณ์ในวันออกเสียงมีสิทธิออกเสียง (เกิดไม่เกิน 7 สิงหาคม 2541)
ใครที่อายุ 18 บริบูรณ์ในวันออกเสียงประชามติ (เกิดไม่เกิน 7 สิงหาคม 2541) ก็มีสิทธิไปลงคะแนนเสียงได้แล้ว โดยก่อนวันออกเสียง กกต.จะจัดส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้านเพื่อแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงไม่เกินวันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ซึ่งหากรู้ว่าตัวเองมีสิทธิแต่ไม่มีรายชื่อ ต้องไปเพิ่มรายชื่อต่อนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น ภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2559

7. การลงประชามติมีสองคำถาม
เน้นย้ำกันอีกที่ 7 สิงหาคมนี้ การลงประชามติมีสองคำถาม คำถามแรกคือ "ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธ์ ทั้งฉบับ" และคำถามที่สองคือ ให้ความเห็นชอบ หรือ ไม่เห็นชอบ ประเด็นเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่า “เห็นชอบหรือไม่ ให้ ส.ว.แต่งตั้งร่วมกับ ส.ส.เลือกนายกรัฐมนตรีในระหว่าง 5 ปีแรกของรัฐธรรมนูญนี้”


เรื่องที่เกี่ยวข้อง:


ขอแจกความสุขวัน Memorial Day ในอเมริกา ท่ามกลางกระแส ‘เสียงแตก’ ระหว่าง 'โหวตโน' กะ ‘โนโหวต’ หวังว่าผู้รักประชาธิปไตยจะตัดสินใจเดินไปพร้อมกันในทางใด โดยไม่ใช่เดินไปคนละเส้นทาง





มันเป็นประดุจทางแพร่งที่คนเสื้อแดงต้องเลือก ตรงรอยต่อของการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการฉวยโอกาสไปสู่เผด็จการซึมเนียนนาน (+๒๕ ปี)

การออกเสียงประชามติต่อร่างรัฐธรรมนูญที่ คสช.กำหนด พร้อมบทเฉพาะกาลและคำถามพ่วง อันจะบันดาลให้ คสช. (หรือตัวจริงคือคณะทหารทั้งระบบเบื้องหลังกลุ่มยึดอำนาจรัฐเมื่อ ๒๒ พฤษภา ๕๙) ได้ครองอำนาจไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมต่อไปอีกนาน หลังวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙

นี้ก่อให้เกิด dilemma ละล้าละลัง ติดขัดไม่รู้จะเดินทางไหนดีกว่ากัน ‘โหวตโน’ หรือ ‘โนโหวต’ กลับเป็นประเด็นให้ถกเถียงเพื่อทางเลือกดีที่สุด

ในสถานการณ์ที่ไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ยังเป็นเบี้ยรองบ่อนของฝ่ายทหารและอำมาตย์ รวมทั้งข้าทาสบริวารของฝ่ายนั้น ดันประเทศไปสู่แบบแผนการปกครอง ‘ไทยๆ’ ที่ทหารและชนชั้นนำมีเสียงในทางการเมืองหนักแน่นกว่าประชาชนทั่วไปหลายเท่าเช่นเดิม

เหตุนี้จึงเกิดปรากฏการณ์ ‘เบียด’ กัน ระหว่างกระแสโหวตโนกับโนโหวตในหมู่คนเสื้อแดง และคนที่ต้องการให้บ้านเมืองกลับไปสู่การปกครองประชาธิปไตย ที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง

โหวตโน คือไปออกเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ๕๙ นี้ โนโหวต คือไม่ไปออกเสียง บอยคอตประชามติ แสดงการไม่รับร่างฯ ทั้งกระบวนการที่ คสช. เป็น producer ผู้จัดทำ ไม่เพียงแค่ผลิตผล หรือ product ที่เป็น ‘ร่างฯ มีชัย’ ซึ่ง คสช. คิดว่าแยบยลและดูดีที่สุดสำหรับความทะเยอทะยานของพวกตน

ในที่นี้เราใคร่ชักนำให้บรรดาท่านที่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญนี้ และที่ไม่ต้องการให้ทหารกุมอำนาจการบริหารปกครองบ้านเมืองต่อจากวันลงประชามติไปอีกนานถึง ๕ ปี หรือกว่านั้นอีก ๒๐ ปีตามยุทธศาสตร์ของ คสช. ได้พินิจและถกเถียงเลือกทางเหมาะควรที่สุดระหว่างสองแนว (เท่านั้น)

จึงขอนำการถกเถียงทางสื่อสังคมเท่าที่เราได้สัมผัส มานำร่องไว้พอเป็นสังเขป

“มีความพยายามที่จะปลุกระแส ‘โนโหวต’ ด้วยการชูป้ายบอยคอตรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือบอยคอตประชามติ” เป็นโพสต์จาก พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ล่าสุดทางเฟชบุ๊ค อธิบายว่า

“โดยอ้างว่าเป็นประชามติจอมปลอมภายใต้กฎหมายเผด็จการ ออกไปโหวตยังไงก็แพ้แน่นอน ฉะนั้น การไปโหวต ‘ไม่รับร่างรธน.’ ก็เท่ากับไป ‘สร้างความชอบธรรมให้เผด็จการ’

ประชามติวันที่ ๗ สิงหา ๕๙ จะมีผู้มีสิทธิ์จำนวน ๕๐ ล้านคน ถ้าเรายึดตามข้อมูลประชามติปี ๒๕๕๐ ที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ ๕๗% ก็จะเท่ากับว่า ประชามติ ๗ สิงหา๕๙ จะมีผู้มาใช้สิทธิ์ ๓๐ ล้านคนและไม่มาใช้สิทธิ์อีก ๒๐ ล้านคน!...

การบอยคอตประชามติจะไม่มีผลสะเทือนทางการเมืองใด ๆ เพราะไม่มีทางรู้ปริมาณที่แท้จริง สุดท้ายคนที่โนโหวตก็จะไปกองรวมอยู่กับพวกนอนหลับทับสิทธิ์อีก ๒๐ ล้านเสียงเท่านั้น

ข้อเสนอบอยคอตประชามติ คือข้อเสนอของคนแพ้ เชื่อว่าถ้าออกไปใช้สิทธิ์ยังไงก็แพ้แน่นอน ก็เลยไม่ใช้สิทธิ์ แล้วอ้างว่านี่คือแนวทางการต่อสู้ที่ได้มรรคผล ทั้งที่ไม่มีทางรู้ว่ามรรคผลนั้นเป็นเท่าใด

ฉะนั้น ต้องออกไปโหวตไม่รับร่างรธน. เท่านั้น จึงจะมีผลสะเทือนชัดเจนว่าเท่าใด ทั้งยังมีโอกาสที่จะคว่ำร่างรธน.นี้ได้

และถึงแม้ร่างรธน.อาจผ่านประชามติในที่สุด แต่ก็มีเสียง ‘ไม่รับ’ ชัดเจนว่าเป็นเท่าใด ซึ่งยังส่งผลทางการเมืองได้ ดังเช่นประชามติปี ๒๕๕๐”

ผู้ที่ออกมาตอบโต้ความเห็นของ อจ.พิชิต ทันใด (เท่าที่เราได้สัมผัส) เห็นจะเป็น Jittra Cotchadet นักกิจกรรมแรงงานสิ่งทอ ที่โด่งดังมาจากการยกป้ายประท้วงอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของพรรคประชาธิปัตย์ว่า ‘ดีแต่พูด’

“ขอมองคนละมุมกับอาจารย์นะคะ” จิตราค้าน “จิตราเป็นคนหนึ่งที่สนับสนุนบอยคอต ซึ่งเห็นว่ามันเป็นประชามติจอมปลอมจริง พวกเราต้องการมีพื้นที่หลังจากโหวตเยสชนะ เพื่อจะบอกได้ว่ายังมีพวกเราที่ไม่ได้ไปเป็นตราประทับให้กับประชามติจอมปลอม

ไม่มีคนแพ้ที่ไหนจะเสนอบอยคอต คนแพ้ต้องเงียบและหุบปากไม่พูดอะไรเลยค่ะ แต่พวกเราคือพวกที่กล้าท้าทายอำนาจของเผด็จการที่ไม่ยอมตามคำสั่งของเขามากกว่า”

ก่อนหน้านี้เธอได้แสดงความตั้งใจโนโหวตเอาไว้บนกระดานอภิปรายเฟชบุ๊คเช่นกัน

“ฟังชัดๆ กันอีกรอบ การที่แสดงตัวว่าจะบอยคอต รธน.มีชัย นั้นไม่ได้เห็นว่ากลุ่มโหวตโนเป็นฝ่ายตรงข้ามนะคะ เราเคารพการแสดงออกทุกเสียงและพวกเรายังเป็นเพื่อนกัน

คือความคิดมันมาในเส้นเดียวกัน ไม่ได้มีความเห็นต่างกันในเรื่องของเนื้อหาสาระของ รธน. คือบอยคอตนั้นไม่เอา รธน.เช่นเดียวกัน แต่บอยคอตนั้นไปไกลกว่าคือไม่การลงประชามติที่จัดขึ้นโดยเผด็จการควบคุมอำนาจทั้งหมด

ส่วนใครจะกล่าวหาว่าบอยคอตเป็นพวกไม่เอาประชาธิปไตย นั่นแสดงว่าคนกล่าวหาก็ยังไม่เข้าใจเรื่องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง:)”


อีกคนที่เราเห็นแสดงตนไม่เอาร่าง รธน. ฉบับมีชัยทั้งกระบวน ด้วยการบอยคอตประชามติ ก็คือ Tewarit Bus Maneechai เขาโพสต์ไว้ก่อนหน้าจิตราไม่กี่ชั่วโมง

“ข่าวว่านักประชาธิปไตยบางท่านไปไกลถึงขนาดกล่าวหาว่าพวกที่ชูธง ‘บอยคอต ร่าง รธน. มีชัย’ ว่าเป็นพวก ‪#‎รับงานคสช‬. มา เพื่อทำให้เสียงแตกบ้าง เพื่อทำให้ร่าง รธน. ผ่านบ้าง (เพราะเมื่อคนบอยคอตเยอะก็จะทำให้เสียงโหวตโนสู้ไม่ได้ แล้วเสียงโหวตเยสจะชนะ)...

ส่วนผมเชื่อว่า ถ้าเรามีประชามติ ๗ สิงหา คสช.ก็มั่นใจพอสมควรว่าเขาจะผ่าน

ที่ผ่านมาก็มีคำสั่ง มีนโยบายต่างๆ ลงกลไกต่างๆ ของรัฐระดับมวลชน ทั้งข้าราชการและท้องถิ่น รวมทั้งนโยบายปราบผู้มีอิทธิพลที่เล็งไปที่นักการเมืองด้วย ยังมี ครู ก. ครู ข. ครู ค. ที่จะไปเคาะตามบ้านอีก แน่นมากๆ ยังไม่รวมคนที่อยากให้มันผ่านๆ ไป เพื่อเห็นความชัดเจนมากกว่าอนาคตที่ไม่รู้ว่าอะไรรออยู่ (ซึ่ง คสช. ก็พยายามทำให้มันดูคลุมเครือ)”

ความเห็นของ ‘บัส’ นี้ดูจะไปคล้องจองกับความรู้สึกของเสื้อแดงบางส่วน ที่คิดว่าการต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญกันมากๆ ทั้งจากฝ่ายโน้นและฝ่ายนี้ (เหลืองและแดง) อาจทำให้ คสช. ฝ่อ จัดการล้มประชามติเหมือนกับที่คว่ำร่างฯ บวรศักดิ์ก็ได้

แล้วหันไปใช้วิธีรวบรัด นำร่างรัฐธรรมนูญสองฉบับมาปรับแก้ใหม่ ประกาศใช้เลย เพื่อให้มีการเลือกตั้งตามแผนโร้ดแม็พ

หากประเมินตามเสียงที่ชักจะดังของกลุ่มปฏิรูปพลังงาน ปฏิรูปตำรวจ และขอคืนสิทธิชุมชน ที่ คสช. คงจะเงี่ยฟังไม่มากก็น้อย (มากกว่าเสื้อแดง) ละก็

ทางออกที่รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ได้แสดงความเห็นไว้ต่อกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติว่า อาจจะนำรัฐธรรมนูญสี่ฉบับมาปรับแก้แล้วประกาศใช้ ไม่ใช่เรื่องยากอันใดสำหรับ คสช. จะเลือกทำโดยไม่ต้องผ่านประชามติ

แม้แต่การนำร่างฯ มีชัยมาเพิ่มสิทธิชุมชนตามร่างของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ แล้วยอมตัดข้อความที่จะให้วุฒิสมาชิกมีส่วนในการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไป ก็น่าจะทำให้เสียงต้านจากฝ่ายเหลืองเงียบได้ มีแต่เสียงค้านไกลๆ ของฝ่ายแดงที่พวกเขาไม่คิดจะฟังอยู่แล้ว

Dilemma อันอึดอัดติดขัดสำหรับเสื้อแดงปรากฏอยู่ที่ถ้อยถามจากโพสต์ของ อจ. Charnvit Kasetsiri

“7 สิงหา 1965 วันเสียงปืนแตก 7 สิงหา 2016 วันเสียงแตก โหวต No หรือ no vote ดีครับ ???”

นั่นละ ‘เสียงแตก’ คือเป้าหมายหวังผลในปฏิบัติการ blitzkrieg รุกหนักดันด้วยกำลัง รด. ครู และข้าราชการปกครอง ให้ร่าง รธน.ผ่านประชามติอย่างง่ายดาย ขณะที่ห้ามพลเมืองวิจารณ์ข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดโทษจำคุกไว้สูงถึง ๑๐ ปี (มาตรา ๔๑ พรบ.ประชามติ)

คำตอบไม่ได้อยู่ในสายลม แต่อยู่ที่สายใจของผู้ที่เห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ‘มีชัย’ นี้จะกำหนดรูปแบบการปกครองประเทศให้เป็นเผด็จการจำบังอย่างยั่งยืน จะตัดสินใจเดินไปพร้อมกันในทางใด โดยไม่ใช่เดินไปคนละเส้นทาง

“คนละไม้ละมือ ด้วยมือเธอและด้วยมือฉัน หลายๆ มือช่วยกัน อะไรจะมาทนทานต้านเรา...”

ดั่งคำร้องในเพลง ‘วันของเรา’ โดย ดอน สอนระเบียบ (https://www.youtube.com/watch?v=4jwUFBYLQeY)

ด้วยรำลึกถึงมิตรร่วมรบเพื่อประชาธิปไตย ขอแจกความสุขวัน Memorial Day ในอเมริกา


ooo




ooo


ศึกษาจากอดีต บท BBCสัมภาษณ์ท่านปรีดี พนมยงค์ปี2525 เรื่องประชาธิปไตยไทย และจุดอ่อนและข้อผิดพลาด


https://www.youtube.com/watch?v=SuzsddVHPGY&feature=youtu.be

BBCสัมภาษณ์ปรีดี พนมยงค์2525

fengshui OkNation

Uploaded on Jun 24, 2010
BBCสัมภาษณ์ปรีดี พนมยงค์2525


555 ลุงกำนวย คืนกำไร ปรี๊ด ปรี๊ด ปรี๊ด





555
ลุงกำนวย คืนกำไร ลดราคาจาก 399 บาท เหลือ 99 บาท เชิญอุดหนุนกันได้ที่เอเซียบุ้ค เซ็นทรัลเวิร์ล

The Power of Change
แม่ง
Changeทีประหยัดไป 300 บาท



Sa-nguan Khumrungroj

.....

อ้าว 55 สลิ่มไม่ช่วยซื้อเลยเรอะ ไหนว่าอ่านหนังสือเกิน 8 บรรทัด

ใครอยากซื้อมาเช็ด...อดใจไว้ เด๋วอาจลดเหลือ 9 บาท



Atukkit Sawangsuk shared Sa-nguan Khumrungroj's post.

ooo

THAITANIC is going down!!!




From the archives.

Thaitanic.

Chitpas: I love you Rear Admirer.
Rear Admirer: Oh shut up little girl even I know how much crap you talk.
Chitpas: I feel cold.
Rear Admirer: Everyone knows that.
Chitpas: I can't feel my body.
Rear Admirer: That's ok, everyone else had a good feel already.
Rear Admirer: Jump Chitpas, jump, that's a Rohingya slave boat in the distance, jump, jump, jump, I know the captain, he'll save us, Thaitanic is going down.




Declan Lakes




Thai Voice Media สัมภาษณ์ อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม การคุกคามเสรีภาพวิชาการ ม.ราชภัฎฯฉะเชิงเทรา เหตุจาก




https://www.youtube.com/watch?v=gbmQF5BX2t8

นายกสภาฯชื่อ"มีชัย ฤชุพันธ์"เหตุให้คุกคามเสรีภาพวิชาการ ม.ราชภัฎฯฉะเชิงเทรา

jom voice

Published on May 29, 2016

นายอาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ฉะเชิงเทรา ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณีถูกอธิการบดีเตือนหลังจากโพสต์วิพากษ์­วิจารณ์สภามหาวิทยาลัยและร่างรัฐธรรมนูญใน­เฟสบุ๊ค จนผู้บริหารมหาวิทยาลัยออกหนังสือเวียนห้า­มบุคลากรมหาวิทยาลัยวิจารณ์คสช.และควรให้ค­วามร่วมมือกับรัฐบาลเพราะมหาวิทยาลัยเป็นส­่วนหนึ่งของรัฐบาลว่า ตนยืนยันกับอธิการบดีว่าการวิจารณ์การบริห­ารงานของมหาวิทยาลัยในประเด็นที่สร้างความ­เดือดร้อนให้กับบุคลากรสามารถทำได้ ส่วนร่างรัฐธรรมนูญนั้นตนมีท่าทีชัดเจนมาน­านแล้วว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่แปลกใจคือหนังสือที่ออกมาห้ามบุว่าให้บ­ุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องให้ความร่วมมือกั­บรัฐบาล ถ้าอย่างนั้นจะมีมหาวิทยาลัยไว้ทำไม และเชื่อว่าเหตุที่ตนถูกเล่นงานเป็นเพราะ นายกสภามหาวิทยาลัยคือ นายมีชัย ฤชุพันธ์ ซึ่งมีตำแหน่ง ประธานร่างรัฐธรรมนูญอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องที่จะเอาคนที่­มีตำแหน่งทางการเมืองมานั่งเป็นผู้บริหารส­ูงสุดในมหาวิทยาลัยเพราะจะเป็นอุปสรรคต่อก­ารดำเนินกิจกรรมทางวิชาการ และทำให้มหาวิทยาลัยไม่เป็นกลาง และน่าเศร้าใจคือ สภามหาวิทยาลัยกลับไม่ทำหน้าที่ปกป้องเสรี­ภาพทางวิชาการของอาจารย์ อย่างไรก็ตามไม่ทราบว่า เหตุที่สภามหาวิทยาลัยมีการตั้งกรรมการสอบ­สวนข้อเท็จจริงเพื่อถอดถอนอธิการบดีนั้น มาจากสาเหตุเพราะตนด้วยหรือไม่

ooo


ติเตียน ม.ราชภัฏราชนครินทร์ เตือนบุคลากรโพสต์เฟซบุ๊ก หลังพบวิจารณ์ร่างรธน.มีชัย

Sat, 2016-05-28 12:29
ประชาไท

ม.ราชภัฏราชนครินทร์ ซึ่งมี 'มีชัย ฤชุพันธุ์' นั่งนายกสภามหาวิทยาลัย ออกบันทึกเตือนบุคลากรโพสต์เฟซบุ๊ก หลังพบวิจารณ์ร่าง รธน.มีชัย ชี้เป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ไม่ควรโพสต์ข้อความที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคม หรือไม่สร้างสรรค์ เสี่ยงผิด พ.ร.บ.คอมฯ

28 พ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กชื่อ 'Arjinjonathan Arjinkit' ของ อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ อาจารย์ประจำสาขาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ได้เผยแพร่บันทึำข้อความ ซึ่งออกโดยผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เรื่องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ถึง คณบดีทุกคณะ ผู้อำนวยการสถาบัน สำนักและศูนย์ ในมหาวิทยาลัย โดยระบุว่าผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้นสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งพบว่ามีบุคลากรบางคนได้โพสต์ข้ความไม่เหมาะสม
บันทึกดังกล่าวระบุด้วยว่า มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาล ให้การว่ากล่าวตักเตือนหรือห้ามปรามบุคลากร ว่าไม่ควรโพสต์ข้อความที่ก่อใหเกิดความขัดแย้งในสังคม หรือไม่สร้างสรรค์หรือเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550





อาจิณโจนาธาน โพสต์ข้อความวิจารณ์บันทึกดังกล่าวด้วยว่า เมื่อมหาวิทยาลัยสอดส่องเฟซบุ๊กคุณ


"ผมได้รับหนังสือเวียนนี้ เป็นบันทึกข้อความส่งถึงคณบดีทุกคนให้กับชับการใช้เฟสบุคของบุคลากรของมหาวิทยาลัย มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่มากดังนี้

1. บุคลากรของมหาวิทยาลัยมีจำนวนร่วม 1,000 คน มหาวิทยาลัยรู้ได้อย่างไรว่าใคร ใช้เฟสบุคชื่ออะไร และใช้หน่วยงานไหนเป็นคนสอดส่อง

2. ในหนังสือระบุว่า “มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานของรัฐต้องให้ความร่วมมือกับรัฐ” หมายความว่าอย่างไร คือห้ามบุคลากรของมหาวิทยาลัยวิจารณ์ คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รัฐบาล ร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ หรืออย่างไร???????

3. การโพสต์ข้อความหรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเฟสบุค เป็นความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยหรือไม่? หากข้อความดังกล่าวสร้างความแตกแยก ความไม่สงบ หรือผิด พรบ.คอมฯ มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องรับผิดชอบ หรือเป็นเรื่องส่วนบุคคลที่ต้องรับผิดชอบ

4. การที่มหาวิทยาลัยสอดส่องการใช้เฟสบุคของบุคลากร (ผมสันนิษฐานว่ามีการสอดส่องเรียบร้อยแล้ว ถึงมีหนังสือเวียนฉบับนี้ออกมา) เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และเป็นการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่

ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยอาจจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ต่อสาธารณะชนครับ" อาจิณโจนาธาน โพสต์


มีชัยนั่งนายกสภาฯ จ่อถอดอธิการ ชี้เตือนบุคลากรเหตุมีคนโพสต์วิจารณ์ร่างรธน.

มติชนออนไลน์ รายงานด้วยว่า นพพร ขุนค้า อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 พฤษภาคมนี้ ที่ประชุมสภา มรภ.ราชนครินทร์ ที่มี มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธาน จะประชุมวาระพิเศษ ซึ่งมีวาระลับ พิจารณาถอดถอน อุทัย ศิริภักดิ์ ออกจากตำแหน่งอธิการบดี อ้างว่า ตั้งแต่นายอุทัย ดำรงตำแหน่งมาเป็นเวลา 3 ปี ได้กระทำความผิดในการอาศัยอำนาจหน้าที่ราชการเพื่อให้ตนเอง และผู้อื่น ได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยทุจริต ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ใช้จ่ายเงินของทางราชการโดยไม่เหมาะสม หย่อนความสามารถ และบริหารงานขาดประสิทธิภาพหลายประการ จึงไม่อาจวางใจให้นายอุทัยปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอธิการบดีต่อไปได้

นอกจากนี้ นพพร ยังเปิดเผยว่า เหตุการณ์ที่มีการออกคำสั่งให้บุคลากรร่วมมือรัฐ ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะล่าสุด มีอาจารย์มหาวิทยาลัยรายหนึ่งโพสต์แสดงความเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญในทิศทางที่ขัดแย้งกับนายกสภาฯ อีกด้วย

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 29, 2559

Inspirational story - Learn to put the glass down





https://www.youtube.com/watch?v=Rxjp-fkuc-U

"A glass of water" An inspirational story

Ivan Ling

Published on Jun 14, 2014

"A glass of water" Is a must watch inspirational story which will change your perspective of life. When you have stress and worries, you should let it go as soon as possible.

The longer you hold on to your stresses and worries, the heavier your heart gets. Soon, you will be paralyzed by your anxieties and worries.

Let your worries flow away, the sooner you let go, the faster you'll recover from the stress. Share this video to whoever you think is in a state of stress and worries.



นักเขียนอาวุโส นักวิชาการ จวกยับโรงเรียนจับเด็กใส่ชุดทหาร





นักเขียนอาวุโส จวกยับโรงเรียนจับเด็กใส่ชุดทหาร ยกเทียบลัทธิฟาสซิสต์


ที่มา Kapook.com

สุชาติ สวัสดิ์ศรี นักเขียนอาวุโส ซัดโรงเรียนจับเด็กอนุบาลใส่ชุดทหาร บอกคือความฉิบหายของประเทศ ชี้พวกนักวิชาการ ศิลปิน ขึ้นเวทีเป่านกหวีด ยังไม่หนักเท่า เหน็บ สพฐ. ทัศนคติแย่หวังแต่ประจบนาย เปรียบได้กับพวกฟาสซิสต์

จากกรณีโรงเรียนชุมชนดูนสาด ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น ได้สร้างความฮือฮาแก่สังคม โดยการให้เด็กนักเรียนอนุบาลแต่งชุดทหารมาเรียน ในโครงการ "ทหารน้อยลูกแม่ฟ้าหลวง" เพื่อเป็นการสำนักในแม่ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทย และสร้างระเบียบวินัย พร้อมกับเรียกจิดสำนึกของเด็ก

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี นักเขียนอาวุโส เจ้าของนามปากกา สิงห์สนามหลวง ผู้ก่อตั้ง รางวัลช่อการะเกด ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว สุชาติ สวัสดิ์ศรี ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า ถ้าสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ของกระทรวงศึกษาธิการ มีทัศนคติและค่านิยมแบบนี้ ก็เหมือนประกาศตัวเป็นพวก "ฟาสซิสต์" ความฉิบหายจะเข้ามาเยือนประเทศ เรื่องเหล่านี้แย่กว่า นักวิชาการ นักเขียน ศิลปิน ที่ไปขึ้นเวทีเป่านกหวีดเสียอีก







โดยข้อความในเฟซบุ๊กของนายสุชาติ สุชาติ สวัสดิ์ศรี มีรายละเอียดดังนี้




ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สุชาติ สวัสดิ์ศรี,

ooo


นักวิชาการค้านให้นร.แต่งทหาร ชี้โรงเรียนไม่ใช่สถานที่ปลูกฝังเรื่องนี้ แนะให้ศึกษาปชต.





ที่มา ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17:10 น.

จากกรณีโรงเรียนชุมชนดูนสาด ต.ดูนสาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น จัดโครงการ “ทหารน้อยลูกแม่ฟ้าหลวง” ให้เด็กประถมวัยระดับอนุบาล 1-3 จำนวน 134 คน แต่งชุดทหารมาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวันพฤหัสบดี เพื่อสร้างจิตสำนึกความเป็นระเบียบ และมีจิตสาธารณะบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการร่วมกันเก็บขยะบริเวณโรงเรียน ขณะที่ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ต้นสังกัดยกย่องว่าเป็นแนวคิดที่น่าชื่นชมของสถานศึกษา ที่ใช้กิจกรรมมาเป็นเครื่องมือซึมซับวินัยให้กับเด็กตั้งแต่ยังเยาว์วัย อีกทั้งยังสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ต้องการให้หน่วยงานสถานศึกษาร่วมกันปลูกฝังจิตสำนึกสร้างวินัย จิตสาธารณะ ให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักสิทธิ์ของตนเองและเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น ตามที่ “ข่าวสด” นำเสนอไปแล้วนั้น

สำหรับความคืบหน้า เมื่อวันที่ 28 พ.ค. ศ.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ ในฐานะผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาเด็กและเยาวชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงผลลัพธ์ที่เด็กเล็กจะได้รับจากการปลูกฝังแนวคิดต่างๆ ผ่านรูปแบบกิจกรรมให้กับเด็กกล่าวว่า ถ้ามองเป็นแค่กิจกรรมหนึ่งที่ต้องการสร้างให้เด็กมีวินัย และทำเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนก็สามารถมองได้ แต่ถ้ามองในมุมของผู้รับ ซึ่งในที่นี้ก็คือเด็กในช่วงก่อนประถมวัย ก็จำเป็นต้องระมัดระวัง เพราะถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากเด็กในวัยนี้จำเป็นต้องได้รับการสร้างและพัฒนาอย่างถูกวิธี การใส่อุดมการณ์ ลัทธิ อำนาจหรือวิธีการคิดแบบสุดขั้ว ทั้งคิดแบบทุนนิยม คิดแบบทหารหรือคิดแบบการเมืองเข้าไปในสมองจะมีผลต่อเด็กในอนาคตได้

“เด็กอนุบาลเป็นวัยที่สะอาดบริสุทธิ์ เมื่อเราใส่เรื่องเหล่านี้ให้กับเขา ก็จะเก็บไว้ในความทรงจำ ซึ่งในแง่ของพัฒนาการเด็กแล้วถือเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ต้องระมัดระวัง ประเด็นต่อมาคือโรงเรียนไม่ใช่สถานที่ปลูกฝังเรื่องพวกนี้ แต่มีหน้าที่เป็นกลางและไม่ไขว้เขวกับบทบาทของตนเองนั้น ก็คือการสร้างเสริมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้กับเด็ก ปัจจุบันเราเริ่มเห็นการใส่เรื่องพวกนี้เข้าไปในสมองของเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น ทั้ง ที่เราจำเป็นต้องสร้างค่านิยม หลักการเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ถูกต้องมากกว่า เราต้องไม่ลืมว่าเรื่องประชาธิปไตยเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับคนทุกช่วงวัย ฉะนั้นการส่งเสริมให้เด็กมีวินัยผ่านกิจกรรมประชาธิปไตย น่าจะเป็นเรื่องที่ถูกต้องมากกว่า เพราะการส่งเสริมให้มนุษย์รู้จักรับผิดชอบ รู้จักสิทธิหน้าที่ของตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น มีคุณธรรมและจริยธรรม ล้วนเป็นกิจกรรมที่ผ่านกระบวนการขัดเกล้าทางประชาธิปไตยทั้งนั้น” ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาเด็กและเยาวชน กล่าว

อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวอีกว่า บ้านเราเคยมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการให้เด็กที่เรียนจบระดับอนุบาลใส่ชุดครุยมาแล้ว ซึ่งกรณีนั้นถือเป็นการปลูกฝังค่านิยมเรื่องปริญญาบัตรกับเด็กตั้งแต่ยังเล็กๆ ส่วนตัวจึงไม่เห็นด้วยกับการกำหนดให้เด็กช่วงก่อนปฐมวัยใส่ชุดทหาร และอยากให้ระมัดระวังมากกว่านี้ เพราะเด็กอนุบาลคือวัยที่บริสุทธิ์ขาวสะอาด จึงควรใส่สิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับพวกเขา แต่หากคุณแย้งว่าสิ่งที่ทำถูกต้อง เกรงว่าอีกหน่อยจะกลายเป็นข้ออ้างได้ เช่น อาจมีคนใส่ชุดสีเหลือง สีแดงหรือสีเขียว เข้าไปในสถานศึกษาแล้วแจ้งว่าจะจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน คุณคิดว่าเหมาะสมหรือไม่


Thongchai Winichakul asks some important questions - Should academics boycott international conferences in Thailand?





Questions about international conferences in Thailand in 2017


BY THONGCHAI WINICHAKUL
GUEST CONTRIBUTOR
29 MAY 2016

Source: New Mandala

In 2017, there will be at least three major international academic conferences in Thailand:

1. The 13th International Conference on Thai Studies (ICTS), hosted by Chiang Mai University, 15-18 July 2017 (deadlines for proposals: 30 August 2016 for panels, and 30 November 2016 for individual papers);

2. The 10th International Convention of Asian Scholars (ICAS) by the International Institute for Asian Studies (IIAS), hosted by Chiang Mai University, 20-23 July 2017 (deadline for proposals: 10 October 2016);

3. The 2nd Conference for Southeast Asian Studies in Asia, by the Consortium for Southeast Asian Studies in Asia (SEASIA), hosted by Chulalongkorn University.*

As the academic atmosphere in Thailand becomes more difficult and our colleagues in Thailand face troubles every day, some scholars may consider boycotting these events. Another approach to support our colleagues in Thailand is to make these events as vibrant, academically rigorous and critical as possible, to help push the boundaries of debate further.

But to do the latter, it is time to put the following questions to the organisers of these conferences:

1. What will the hosts and the partnering international organisations (ICAS/IIAS and Chiang Mai Univerity; Chulalongkorn University and the SEASIA Consortium) do if a panel or paper proposal is academically qualified but it is potentially unacceptable to the Thai authorities – such as proposals on the military, the coup, the monarchy, or Article 112? Can the hosts and the partnering international organisations guarantee that they will not censor a proposal for political reasons?

2. Are the hosts and the partnering international organisations willing to deal with the Thai authorities to help guarantee academic freedom and freedom of expression?

3. While I assume that the international organisations would not deny their responsibility — to leave the host institutions face trouble by themselves — I hope they would also keep a close eye on the conduct of the host organisations. Can these international organisations ensure that the program committees will not be dominated by pro-junta people? Can they give assurances that the hosts will not make these academic events part of an institutional agenda which is unacceptable to the international community of scholars, such as to celebrate the junta, the coup or the monarchy?

I hope the organisers will hear this open message posted on New Mandala. I believe that the community of international scholars of Asian, Southeast Asian and Thai Studies deserves a clear response in the public space so that individuals can make decisions about these upcoming events and deadlines. The organisers should not write to me directly in private. For transparency, it would be best if they responded here on New Mandala.

* Note: ICAS and the SEASIA Consortium made their decisions to hold their events in Thailand at their respective meetings in 2015, long after the coup in May 2014. For the ICTS, there is no international body partnering with the host (CMU) and the decision in favour of Chiang Mai was made at the ICTS meeting in Sydney in April 2014.

Thongchai Winichakul is Professor of History at the University of Wisconsin-Madison.



กรณี"ธรรมกาย"ได้เวลาแยก"ศาสนา"ออกจาก"รัฐ"แล้วหรือยัง?




https://www.youtube.com/watch?v=mmv-emUQJtQ

คสช.ไม่กล้าจับสึก"ธัมมชโย"หวังเพียงใช้อำนาจหยุด"ธรรมกาย"

jom voice

Published on May 28, 2016

นายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา วิเคราะห์การดำเนินคดี พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย คดีฉ้อโกงและฟอกเงิน กับ Thaivoicemedia ว่า กระบวนการกฎหมายที่จะดำเนินคดีกับพระธัมมช­โย ขาดความชอบธรรม เป็นการตั้งธงเอาไว้แล้วว่ามีความผิดและจะ­จับสึกให้ได้ ซึ่งเชื่อว่าไม่สามารถทำได้ เพราะหาก คสช.แตกหักกับวัดพระธรรมกาย คสช. จะเดือดร้อนและยุ่งยากเอง สุดท้ายแล้วเพียงแค่ใช้อำนาจที่คสช.มีอยู่­ในมือจัดการให้วัดพระธรรมกายอยู่เฉย ๆ เพื่อไม่ให้เคลื่อนไหวต่อต้าน คสช.และไม่ให้สนับสนุนฝ่ายทักษิณมากกว่า และเชื่อว่าสุดท้ายแล้วไม่ถึงขั้นจับสึกพร­ะธัมมชโยเพียงให้กำจัดบริเวณอยู่ภายในวัดเ­ท่านั้น

.....


กรณี"ธรรมกาย"ได้เวลาแยก"ศาสนา"ออกจาก"รัฐ"แล้วหรือยัง?



https://www.youtube.com/watch?v=eao4tTAU88E&feature=youtu.be

jom voice

Published on May 28, 2016

นายสุรพศ ทวีศักดิ์ นักวิชาการด้านปรัชญาศาสนา ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia ว่า กรณีวัดพระธรรมกายสังคมไทยควรจะได้ศึกษา และถกเถียงกันอย่างจริงจังถึงการจะให้ ศาสนา เป็นอิสระจากรัฐ เพราะรัฐไทยใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องมือเพื­่อปกป้องรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของชนชั้น­ปกครองมาโดยตลอด และบังคับให้คนเชื่อเหมือนกันปฎิบัติเหมือ­นกัน ทำให้พุทธศาสนาจึงไม่ตอบสนองจิตวิญญาณที่แ­ท้จริงของมนุษย์ได้ สังคมไทยควรจะปล่อยให้ศาสนาเป็นเรื่องปัจเ­จก และให้เรื่องสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ความเป็นประชาธิปไตย เป็นเรื่องการเมืองอย่ามาปนกัน หากประเทศไทย สามารถแยกพุทธศาสนาออกจากรัฐได้ จะลดปัญหาเช่นกรณีวัดธรรมกาย หรือปัญหาพระดัง ๆ ก่อนหน้านี้ที่ถูกรัฐจัดการอย่างไม่เป็นธร­รม


เศรษฐกิจไทยฝืด ถึงขั้นรัฐบาลต้องขอร้องให้เอกชนช่วยลงทุน




https://www.youtube.com/watch?v=jFfP_xkMFgI

เศรษฐกิจไทยฝืด ถึงขั้นรัฐบาลต้องขอร้องให้เอกชนช่วยลงทุน

VOICE TV

Published on May 29, 2016

รับชมรายการเต็มได้ที่ http://shows.voicetv.co.th/wakeup-tha...

เศรษฐกิจไทยฝืดจริง ภาคเอกชนไม่ลงทุนถึงขั้น "สมคิด" ขอร้องให้หอการค้าให้ช่วยลงทุนแล้ว เผยจีดีพีต้นปีโต 3.2% เพราะรัฐอัดเงินเต็มที่ ส่วนภาคเอกชนลงทุนแค่ 19ู% เมื่อเทียบกับที่เคยลงทุน 30-40% ของเศรษฐกิจประเทศก่อนปี 40 ย้ำพึ่งรัฐอย่างเดียวไม่ได้ ถึงแม้เอกชนจะไม่ลงทุนเพราะไมเชื้่อมั้นก็­ตาม

ooo

‘สมคิด’โชว์ตัวเลข ‘เอกชน’ลงทุนฮวบ จากเดิม40เหลือ20% รัฐทุ่มฝ่ายเดียว-ศก.ไม่โต





ที่มา มติชนออนไลน์
29 พ.ค. 59


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานประชุมใหญ่หอการค้า 5 ภาค ประจำปี 2559 ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น โดยเศรษฐกิจไตรมาสแรกขยายตัวได้ 3.2% มีแรงขับเคลื่อนมาจากในประเทศเป็นหลักจากนโยบายกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุนของรัฐบาล รวมทั้งการท่องเที่ยว ส่วนการส่งออกยังชะลอตามภาวะเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี พบว่าการลงทุนเอกชนในช่วงที่ผ่านมายังขยายตัวได้ต่ำ โดยธนาคารไทยพาณิชย์เก็บข้อมูลสัดส่วนสินทรัพย์ต่อการลงทุน พบว่าอยู่ที่ 1.2-1.3% จากที่เคยมีสัดส่วนมากกว่า 2% แปลว่าเอกชนไทยส่วนใหญ่ไม่ลงทุน ขณะที่เอกชนของสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีสัดส่วนกว่า 1.7-1.8% บางประเทศมากกว่า 2%

“การที่เอกชนไทยไม่ลงทุนแต่ให้รัฐบาลทำอย่างเร็ว วิ่งอยู่คนเดียว จะให้เศรษฐกิจไทยสามารถยืนอยู่ได้ต่อ ในภาวะที่การส่งออกชะลอตัว ต่อไปจะไหวหรือ” นายสมคิดกล่าว

นายสมคิดกล่าวว่า ที่ผ่านมาบีโอไอมีนโยบายชัดเจนว่า หากผู้ประกอบการที่มาขอส่งเสริมการลงทุนและมีการลงทุนภายในปีนี้จะได้สิทธิพิเศษ เช่น ลงทุน 40% ลงทุน 70% จะได้อะไร ล่าสุดในส่วนของกระทรวงการคลังกำลังจะมีการนำเสนอ ครม.พิจารณา ในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ เรื่องหักค่าใช้จ่าย 2 เท่าว่าไม่ต้องลงทุนแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ แต่ลงทุนไปเท่าไรสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่า เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เอกชนมีการลงทุน ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ต้องลงทุนกันแล้ว ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ หากไม่ลงทุนตอนนี้เงินก็จะท่วมธนาคาร ดอกเบี้ยก็จะยิ่งต่ำไปอีก เหมือนอย่างญี่ปุ่นที่ใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ จะฝากเงินแต่กลับต้องจ่ายเงินธนาคารแทน

@ ลงเอ็มโอยูเคลื่อนดิจิตอล

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานลงนามความร่วมมือ (เอ็มโอยู) เครือข่ายศูนย์บ่มเพาะสตาร์ตอัพ เอ็มโอยูยกระดับศูนย์ดิจิตอลชุมชน และเอ็มโอยูส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล รวม 3 ฉบับ ร่วมกับทางภาครัฐ เอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ขอบคุณภาคเอกชนที่ช่วยรัฐบาลขับเคลื่อนเรื่องของดิจิตอลให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัญหาใหญ่ของคนไทย คือ เรื่องของความเหลื่อมล้ำ ดังนั้นดิจิตอลจะเป็นรากฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ช่วยผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงแหล่งความรู้และข้อมูล อาทิ ชาวไร่ ชาวนา หากเข้าถึงเรื่องของดิจิตอลได้ สามารถรู้ต้นทุนที่แท้จริงของผลผลิตตนเอง และนำไปขายได้ทั่วทุกพื้นที่ไม่เพียงแต่จำกัดในท้องถิ่นของตนเอง อีกทั้งส่งผลให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย

@ เอกชนลงทุนในไทยลดลง

นายสมคิดกล่าวต่อว่า ในส่วนของปัญหาด้านเศรษฐกิจเวลานี้จากที่ได้มีการหารือกับทางหอการค้าแห่งประเทศไทย เห็นว่าภาคเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น มีปัจจัยหลักมาจากภาคการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของภาครัฐ แต่ส่วนตัวเห็นว่าปัญหาใหญ่สุดของภาคเศรษฐกิจในเวลานี้ เรื่องของการลงทุนของภาคเอกชน เนื่องจากอ้างอิงจากข้อมูลพบว่า เมื่อช่วงปี 2540 ภาคเอกชนมีอัตราการลงทุน 40% ของการเติบโตผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) แต่ปัจจุบันกลับเหลือเพียง 19-20% ของจีดีพี สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าภาคเอกชนไม่ยอมลงทุน และมีการกำเงินสดไว้ในมือเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นเมื่อสามารถใช้เรื่องของการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอลแสดงให้ภาคเอกชนเห็นได้ ก็เชื่อว่าจะสามารถช่วยให้ภาคเอกชนกล้าที่จะกลับมาลงทุนได้มากขึ้น

@ แนะโมเดลจีนหนุนสตาร์ตอัพ

นายสมคิดกล่าวด้วยว่า เมื่อโครงสร้างพื้นฐานของดิจิตอลได้มีเริ่มมีการขับเคลื่อนไปแล้ว หัวใจหลักจากนี้ไปที่จะต้องให้การสนับสนุน คือ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ (สตาร์ตอัพ) เชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้จะมีสตาร์ตอัพเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ปัญหาของสตาร์ตอัพเวลานี้ คือ กฎหมายของประเทศไทยที่หลายข้อยังเป็นกฎหมายฉบับเก่า ไม่เอื้อต่อนวัตกรรมของสตาร์ตอัพ ที่ในบางเรื่องเมื่อมีออกมาแล้วอาจไปเข้าข่ายผิดกฎหมาย ฉะนั้นจึงได้สั่งการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดรับไปจัดการปรับปรุงเรื่องกฎหมาย เพื่อไม่ให้เป็นการปิดการเติบโตด้านนวัตกรรมต่างๆ ของสตาร์ตอัพ ทั้งนี้ในเรื่องการสนับสนุนสตาร์ตอัพอยากให้มองประเทศจีนเป็นตัวอย่าง ที่เปลี่ยนจากประเทศที่พึ่งพาด้านการส่งออกมาสนับสนุนสตาร์ตอัพ เน้นการเติบโตจากภายในประเทศ ส่งผลให้ขณะนี้ประเทศจีนมีแนวโน้มในการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจได้ก่อนสหภาพยุโรป (อียู) หรือสหรัฐอเมริกา ที่ยังไม่ออกมาสนับสนุนเรื่องดังกล่าวเท่าที่ควร

“ประเทศไทยถ้าไม่ก้าวไปด้วยเรื่องของดิจิตอลจะทำให้ตกโลก ไปแข่งขันกับใครไม่ได้ ต้องขอฝากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นหน่วยงานหลักในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยครั้งนี้ หากทำสำเร็จก็จะสามารถยกระดับประเทศได้” นายสมคิดกล่าว