วันจันทร์, กุมภาพันธ์ 29, 2559

ขอแสดงความยินดีกับ ขวัญข้าว ตั้งประเสริฐ นักเรียนชั้นป.6 ที่เดินทางมาจากมุกดาหาร เพื่อนำเสนอ PetchaKucha 20x20 ในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญที่เด็กต้องการ"




ที่มา เวป
Prachamati - ประชามติ

ขวัญข้าว ตั้งประเสริฐ 

ผู้ชนะรางวัล PetchaKucha ได้รับเงินรางวัล 5,000 บาท 

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อายุ 12 ปี เสนอเรื่องรัฐธรรมนูญในแง่มุมของเด็กบ้าง

ระหว่างที่ผู้ใหญ่ก็ยังเถียงกันเอาเป็นเอาตาย
"รัฐธรรมนูญที่เด็กต้องการ" คือชื่อที่ตั้งมาเองในกิจกรรมนี้
ข้อเสนอหลากหลายถ้าได้ใช้จริงก็ดีกับเด็กและก็ดีกับผู้ใหญ่ด้วยเหมือนกัน

...

'Prachamati - ประชามติ' กล่าวขอบคุณ

"ขอบคุณผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน/ทีม กรรมการ แขกรับเชิญ และผู้เข้าร่วมงานทุกท่านที่มาสนุกด้วยกันในวันนี้ พร้อมกับรฟังแลกเปลี่ยนประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในแง่มุมที่หลากหลายอย่างไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะหาฟังได้ที่ไหน

แม้จะมีอุปสรรคบ้างเล็กน้อยก่อนหน้านี้ 2-3 วัน แต่สุดท้ายงานก็ผ่านไปได้ด้วยดี ขอบคุณอีกครั้งสำหรับคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในช่วงเวลาเร่งด่วน

สำหรับผู้ที่พลาดไปงานสามารถติดตามรับชมคลิปการนำเสนอ PetchaKucha 20x20 ของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน/ทีม และแขกพิเศษ อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ และชูวัส ฤกษ์ศิริสุข ได้เร็วๆ นี้

เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติจะเดินหน้าจัดกิจกรรมเพื่อสร้างพื้นที่การแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี และสร้างพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนเรื่องรัฐธรรมนูญต่อไป โปรดติดตามกิจกรรมต่อๆ ไปของเราได้ทั้งทางเพจเฟซบุ๊ก และเว็บไซต์prachamati.org"



...
กิจกรรม Pechakucha รัฐธรรมนูญ เริ่มแล้ว




.....
เรื่องเกี่ยวเนื่อง...


28 ก.พ. | ข่าว 19.00 น.หลังยุติกิจกรรมเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญใหม่เอายังไงดีจ๊ะ" ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานค...
Posted by Thai PBS News on Sunday, February 28, 2016
https://www.facebook.com/ThaiPBSNews/videos/966352456773814/


ooo

เรื่องเกี่ยวข้องที่ เวป 'Prachamati - ประชามติ' นำเสนอ


ยุทธพร อิสระชัย
อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช




ปัญหาของร่างรัฐธรรมนูญก็คือ กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้สร้างความรู้สึกร่วมกับการร่างรัฐธรรมนูญ แม้ในบางประเด็นจะมีบทบัญญัติที่เพิ่มขึ้น ดีขึ้น แต่ทิศทางความ รู้สึกของประชาชนก็ไม่มองว่า จะเห็นอนาคตของประเทศจะดีขึ้นได้
.
ปัญหาในเชิงเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยกตัวอย่างก็เช่น ส่วนบทบัญญัติในเรื่องหน้าที่ของรัฐมันจะยิ่งทำให้เกิดการขยายตัวของรัฐ โดยเป็นมุมมองที่เห็นว่ารัฐเป็นใหญ่ เป็นการขยายฐานระบบราชการ ไม่ได้มองว่าสังคมเป็นใหญ่ ทั้งที่ ระบบเหล่านี้ควรจะต้องเอาสังคมเป็นตัวตั้ง
.
และที่เป็นข้อวิจารณ์อย่าง เปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ หรืออย่างระบบเลือกตั้งก็น่าสนใจว่าจะเอา
บัตรใบเดียวหรือสองใบ
.
และที่สำคัญก็คือ การเขียนข้อความว่า "ทั้งนี้ให้เป็นตามกฎหมายบัญญัติ" ในหลายประเด็นสำคัญ เช่น ระบบตรวจสอบอำนาจ ที่มา ส.ส. และ ส.ว. ดูเหมือนเป็นการเซ็นเช็คเปล่าให้กับผู้ร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะสุดท้ายกลายเป็นว่าผู้กำหนดโครงสร้างโดยละเอียดแล้วยังอยู่ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ถ้ามองจากฐานคิดเรื่องสัญญาประชาคมจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ได้ทำลายหลักการการควบคุมอำนาจรัฐโดยประชาชนไป
.
ประเด็นสุดท้ายก็คือ หากไม่อยากให้การประชามติครั้งนี้เป็นการลงประชามติบนความว่างเปล่า ต้องสร้างการมีส่วนร่วม คือต้องให้ประชาชนคิด เข้าใจในหลักการของรัฐธรรมนูญ และมีการรับฟังของแก้ไขเนื้อหา มีพื้นที่ในการพูดคุย และสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะเพิ่มแนวโน้มให้การลงประชามตินี้มีโอกาสจะผ่านได้มากขึ้น
.
นอกจากนี้ ในส่วนของบทเฉพาะกาลที่ยืดอำนาจมาตรา 44 ออกไป ก็จะเกิดอำนาจคู่ขนาน ถ้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกับรัฐบาลที่มาจากอำนาจปกติเห็นไม่ตรงกันถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาตามมาอีก

......
กรรณิการ์ กิตติเวชกุล
นักเคลื่อนไหวกลุ่ม FTA Watch





รู้สึกวิตกกับร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมา อย่างเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ตนเป็นผู้เกี่ยวข้อง เช่น การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศในมาตรา 173 ของร่างรัฐธรรมนูญ เพราะ กำหนดให้การทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่กระทบต่อเศรษฐกิจ-สังคม ให้เป็นหน้าที่ของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเห็นชอบภายในหกสิบวัน แต่ขาดการมีส่วนร่วมที่ต้อง "การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน" อย่างที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 50
.
ส่วนตัวไม่ค่อยมีความหวังกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เท่าไร เพราะไม่ว่าจะทำหนังสือไปก็ไปถึงแต่ไม่ได้ยิน อย่างในมาตรา 173 ที่ได้กล่าวไป แม้ผู้ร่างจะออกมาบอกว่า เมื่อขึ้นในกฎหมายลูกก็จะดีขึ้น แต่ก็มีปัญหาเรื่องความไว้วางใจจะไม่เกิดขึ้นแล้ว แต่ยังไงก็ต้องเคลื่อนไหวต่อไปอยู่ดี
.
กระบวนการหลังจากนี้ ต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องมีพื้นที่ในการถกเถียงกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างการทำเวทีสาธารณะที่หอศิลปฯก็ไม่สามารถที่จะทำได้ซึ่งเป็นปัญหา เพราะถ้าไปดูในหลายๆ ประเทศ จะเห็นว่า กระบวนการประชามติต้องมีการถกเถียงได้อย่างเสรี
.
ไม่เช่นนั้น การลงประชามติจะอยู่บนความสูญเปล่า ดังนั้น มันต้องมีความชัดเจนว่า ถ้า Yes คืออะไร No คืออะไร สำหรับร่างประชามติมันต้องมีทิศทางที่ชัดเจนว่า หากเลือกแล้วจะได้อะไร ไม่ใช่อย่างที่ออกมาพูดว่า จะขออยู่ต่อไปอีก 5 ปี ทั้งที่ จริงๆ ต้องให้ประชาชนทั้งสองฟากเป็นคนตัดสินว่า ถ้าเอาแล้วจะได้อะไร ถ้าไม่เอาแล้วจะได้อะไร

......
บุญยืน สิริธรรม
อดีตสมาชิกวุฒิสภาและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิผู้บริโภค




รู้สึกตกใจที่ร่างรัฐธรรมนูญออกมาในลักษณะนี้อย่างเรื่องสิทธิผู้บริโภคตอนนี้ไม่อยู่หมวดสิทธิเสรีภาพแต่ไปอยู่หมวดหน้าที่รัฐ ซึ่งต่อไปนี้การเคลื่อนไหวก็จะทำได้ลำบากเพราะรัฐก็จะบอกว่าเป็นหน้าที่ของรัฐและรัฐดูแลแล้ว จากประสบการณ์ที่ผ่านมารัฐไม่เคยยืนเคียงข้างประชาชน ครั้งนี้ในการร่างรัฐธรรมนูญรัฐก็ปิดกั้นการเคลื่อนไหวให้ข้อมูลของอีกฝ่าย ทำให้การประชามติครั้งนี้แม้จะมีก็จะพิกลพิกาลและจะเป็นปัญหาต่อไปไม่รู้จบ

มนุษญ์ต้องอยู่ด้วยความหวัง การร่างครั้งนี้ต้องการให้รัฐใหญ่รัฐจัดการทั้งหมด แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมารัฐไม่เคยยืนข้างประชาชน ครั้งนี้เลวร้ายมีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น ต้องยื่นเรื่องคัดค้านตามเขาบอก เสนอไปม่รู้จะรับไหมแต่ก็หวังว่าจะฟังกันบ้าง ถ้าร่างมีการริดรอนสิทธิจะไม่ได้นำไปสู่การกติรูปแต่จะเป็นการสร้างปัญหาไม่รู้จบ ตนอายุห้าสิบกว่าแล้วหวังว่าจะไม่ต้องมาพูดเรื่องร่างรธนฉบับอื่นอีก ตอนนี้ดูเหมือนมีฝายเดียวที่ให้ความรู้ได้แต่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ การลงประชาติพิกาลแต่เบื้องต้น พิกลพิกาล

.....
ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์
อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์












....
...





ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาทั้งในเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการ อย่างในเชิงกระบวนการจะเห็นได้ว่า ที่มาของรัฐธรรรมนูญฉบับนี้มาจากคนกลุ่มน้อย ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน 

ส่วนในเชิงเนื้อหานั้น ต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของการกำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอย่างหน้าที่ของรัฐทำให้รัฐมีขนาดใหญ่และย้อนแย้งกับการสนับสนุนให้ประชาชนเป็นใหญ่

นอกจากนี้ ในการกำหนดหน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยทางการเงินการคลังก็มีปัญหา เพราะไม่แน่ว่าจะตีความได้แบบไหน เช่น ห้ามทำงบขาดดุลหรือไม่ ในเมื่อรัฐต้องใช้เงินงบประมาณในการจัดสวัสดิการสังคมและมีโอกาส จะขาดดุลได้ แล้วการสร้างมาตรการเหล่านี้จะผูกมัดไม่ให้รัฐจัดสวัสดิการได้อย่างเต็มที่หรือไม่

และส่วนสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือการผลิตซ้ำคำว่า ความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีในร่างรัฐธรรมนูญ โดยปัญหาของการกำหนดคำดังกล่าวเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญก็คือ เปิดช่องให้รตีความข้อความดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เพราะขอบเขตของคำว่าศีลธรรมไม่รู้อยู่ตรงไหน

** หมายเหตุ: หลังเวทีเสวนา "รัฐธรรมนูญใหม่ เอาไงดีจ๊ะ?" ไม่ได้จัดที่หอศิลป์ตามกำหนดเดิม เพราะถูกทหารตำรวจส่งจดหมายไปจนหอศิลป์ยกเลิกการใช้สถานที่ แต่วิทยากรทุกคนยังได้นำประเด็นมาออกรายการเวทีสาธารณะ ที่สถานีโทรทัศน์ThaiPBS ตามกำหนดวันและเวลาเดิม
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหาทั้งในเชิงเนื้อหาและเชิงกระบวนการ อย่างในเชิงกระบวนการจะเห็นได้ว่า ที่มาของรัฐธรรรมนูญฉบับนี้มาจากคนกลุ่มน้อย ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน 

ส่วนในเชิงเนื้อหานั้น ต้องเข้าใจก่อนว่ารัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของการกำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหาอย่างหน้าที่ของรัฐทำให้รัฐมีขนาดใหญ่และย้อนแย้งกับการสนับสนุนให้ประชาชนเป็นใหญ่

นอกจากนี้ ในการกำหนดหน้าที่ของรัฐในการรักษาวินัยทางการเงินการคลังก็มีปัญหา เพราะไม่แน่ว่าจะตีความได้แบบไหน เช่น ห้ามทำงบขาดดุลหรือไม่ ในเมื่อรัฐต้องใช้เงินงบประมาณในการจัดสวัสดิการสังคมและมีโอกาส จะขาดดุลได้ แล้วการสร้างมาตรการเหล่านี้จะผูกมัดไม่ให้รัฐจัดสวัสดิการได้อย่างเต็มที่หรือไม่

และส่วนสุดท้ายที่เป็นปัญหาคือการผลิตซ้ำคำว่า ความมั่นคงแห่งรัฐ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีในร่างรัฐธรรมนูญ โดยปัญหาของการกำหนดคำดังกล่าวเข้าไปในร่างรัฐธรรมนูญก็คือ เปิดช่องให้รตีความข้อความดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เพราะขอบเขตของคำว่าศีลธรรมไม่รู้อยู่ตรงไหน



"เส้นทางสีแดง" เดิน ถ.ข้าวสาร แจกสติ๊กเกอร์ vote no ให้นักท่องเที่ยว หวังต่างชาติรับรู้การร่าง รธน.ไทย + ประชาสังคมจวก ร่างรธน.ลิดรอนสิทธิ เรียกร้องเปิดพื้นที่คนเห็นต่างแสดงความเห็น


"เส้นทางสีแดง" เดิน ถ.ข้าวสาร แจกสติ๊กเกอร์ vote no ให้นักท่องเที่ยว หวังต่างชาติรับรู้การร่าง รธน.ไทย ไม่ฟังประชาชนกล...
Posted by Fahroong Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว on Saturday, February 27, 2016
https://www.facebook.com/300084093490011/videos/556452904519794/

...

“เส้นทางสีแดง” เผยสันติบาลแนะอย่าใส่ ‘เสื้อแดง’ รณรงค์ Vote No - กิจกรรม ถ.ข้าวสารวันนี้ไม่ถูกตำรวจควบคุมตัวช่วงเช้าวั...
Posted by Fahroong Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว on Sunday, February 28, 2016
https://www.facebook.com/300084093490011/videos/556503681181383/


ooo

ประชาสังคมจวก ร่างรธน.ลิดรอนสิทธิ เรียกร้องเปิดพื้นที่คนเห็นต่างแสดงความเห็น





Sun, 2016-02-28 20:49
ที่มา ประชาไท

28 ก.พ. 2559 ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส มีการบันทึกเทปรายการเวทีสาธารณะเกี่ยวกับความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ โดยยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ตัวแทนเว็บไซต์ประชามติ ชี้แจงว่า เดิม การจัดเวทีเสวนา "รัฐธรรมนูญใหม่เอายังไงดีจ๊ะ?" จะจัดที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร แต่ สน.ปทุมวัน ส่งจดหมายแจ้งว่า เกรงจะเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมืองต้องขออนุญาตก่อน ทำให้ต้องยกเลิกการจัดที่หอศิลป์ฯ ต่อมา เมื่อรายการเวทีสาธารณะเชิญผู้ร่วมเสวนาในเวทีเดิมมาบันทึกเทปรายการ ทางผู้จัดเห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ จึงได้เชิญสื่อมวลชนมาทำข่าวด้วย

ประชามติจะมีคุณภาพ ต้องสร้างบรรยากาศให้แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา


สุรชัย ตรงงาม ทนายความมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้เปลี่ยนหลักการสำคัญหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องสิทธิเสรีภาพ เช่น เดิม สิทธิชุมชน ประชาชนจะเป็นประธานแห่งสิทธิ คือมีสิทธิเรียกร้อง ไม่ว่า รัฐบาล หรือเอกชน ต้องเคารพสิทธิของชุมชน แต่ร่างนี้กลับมีการตัดบางส่วนออก เช่น สิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ บ้างย้ายไปอยู่ในหมวดหน้าที่แห่งรัฐ ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียกร้องสิทธิของประชาชนในอนาคต

นอกจากนี้ ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งระบุประเด็นที่รัฐบาลใดๆ ต้องมาสานต่อ ยังมีการตัดหลายเรื่องออกไป เช่น เรื่องผังเมือง ซึ่งระบุให้รัฐต้องจัดวางพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตรงนี้สอดคล้องกับกรณีมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2559 และ 4/2559 ที่ยกเว้นการใช้ผังเมือง เน้นแนวคิดว่า รัฐจะเป็นผู้จัดการให้

สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ บทเฉพาะกาลที่ให้ คสช.อยู่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะรับหน้าที่ โดยให้มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว เท่ากับจนกว่าครม.ใหม่จะเข้ามา คสช. จะใช้อำนาจตามมาตรา 44 ได้

เขาชี้ว่า แม้จะมีผู้อ้างว่า ในต่างประเทศก็เคยมีการใช้กฎหมายในลักษณะเดียวกับมาตรา 44 ในกรณีที่ต้องการยาแรง แต่ คสช.กลับใช้เสมือนเป็นยาสาสมัญประจำบ้านไปแล้ว โดยไม่แยกแยะว่าจำเป็นแค่ไหน

เขาเสนอด้วยว่า หากจะทำให้การทำประชามติมีคุณภาพ จะต้องทำให้ประชาชนสามารถแสดงความเห็นได้อย่างตรงไปตรงมาและปราศจากความกลัว ผ่านการยกเลิกคำสั่ง คสช.เรื่องห้ามการชุมนุมเกิน 5 คน เนื่องจากบางครั้งกิจกรรมพูดคุยก็ถูกนำมาตีความว่าเข้าข่ายการชุมนุม รวมถึงยกเลิกการให้พลเมืองขึ้นศาลทหาร และระบุในบทเฉพาะกาลให้ชัดเจนว่า เมื่อเข้าสู่ภาวะเลือกตั้งแล้ว คำสั่ง คสช. จะยกเลิกเมื่อใด

อยากได้ความชัดเจน รับ-ไม่รับแล้วไงต่อ

กรรณิการ์ กิตติเวชกุล FTW Watch กล่าวว่า ทันทีเห็นร่างนี้ตกใจมาก เพราะสิทธิของประชาชนที่รัฐควรให้การรับรองหายไป เหลือเพียงสิทธิที่รัฐจะให้เท่านั้น โดยในมาตรา 173 ของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย เรื่องหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ (มาตรา 190 เดิมในรัฐธรรมนูญ 2550) สิ่งที่หายไปคือ กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและสภานิติบัญญัติ ก่อนการเจรจา โดยให้เวลารัฐสภาพิจารณาให้แล้วเสร็จใน 60 วันเท่านั้น หากพิจารณาไม่แล้วเสร็จให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบ ทั้งที่นี่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียมหาศาล

ส่วนตัวไม่ได้มีความหวังกับร่างรัฐธรรมนูญนี้มากนัก เพราะก่อนหน้านี้ เคยมีการเชิญภาคส่วนอื่นๆ ไปแสดงความเห็นแล้ว แต่ก็เหมือนฟังแต่ไม่ได้ยิน เพราะร่างออกมาเหมือนมีโจทย์มาอยู่แล้ว

กรรณิการ์เสนอว่า ก่อนการประชามติต้องมีการถกแถลง เปิดให้ฝ่ายเห็นด้วยและเห็นต่างมาให้ข้อมูลในเวลาเท่าๆ กัน เพื่อเปิดโอกาสให้ กรธ. มีข้อมูลไปแก้ไข รวมถึงควรระบุให้ชัดเจนว่า หากรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จะเป็นอย่างไรต่อไป

กรรณิการ์ ชี้ว่า สิ่งที่ทำได้เลย คือ ยกเลิกรายการแกะกล่องรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ออกอากาศหลัง 18.00 น. ประมาณ 15 นาที แล้วให้แต่ละช่องผลิตรายงานโดยหยิบประเด็นบางประเด็นหรือภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญมาถกแถลง แทนการกรอกหูประชาชนอยู่ข้างเดียว

ทั้งนี้ กรรณิการณ์กล่าวถึงเหตุการณ์ที่งานเสวนานี้ถูกยกเลิกเพราะถูกตีความว่าอาจเป็นการชุมนุมทางการเมืองว่า แสดงให้เห็นแล้วว่า ประชามติแบบคุณภาพทำไม่ได้เลยในภาวการณ์แบบนี้

เหลวทั้งกระบวนการ-ผลลัพธ์

ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญ โดยแบ่งเป็นสองส่วนคือ กระบวนการ และผลลัพธ์ ในด้านกระบวนการ มองว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนน้อยมาก และผู้ร่วมร่างก็ไม่ได้เป็นตัวแทนประชาชนส่วนใหญ่

ขณะที่ด้านผลลัพธ์ ชี้ว่า ตามหลักรัฐศาสตร์ รัฐธรรมนูญมีขึ้นเพื่อกำหนดกรอบความสัมพันธ์เชิงอำนาจของคนในสังคม เมื่อร่างรัฐธรรมนูญออกมามีรายละเอียดซับซ้อน ตั้งคำถามว่า จะเปิดโอกาสให้มีการต่อรองในทางการเมือง มากน้อยแค่ไหน เพราะเหมือนว่าจะเขียนไว้เรียบร้อย ไม่มีพื้นที่ให้ตีความได้อีก

นอกจากนี้ ในหมวดหน้าที่ของรัฐ พบว่าทำให้รัฐมีขนาดใหญ่ อำนาจถูกถ่ายเทจากประชาชนสู่ตัวของรัฐ และมีความย้อนแย้ง อาทิ การกำหนดให้หน้าที่รัฐ คือการรักษาวินัยทางการเงินการคลัง ซึ่งเรื่องนี้คลุมเครือในตัวเอง ถามว่าเท่ากับห้ามรัฐขาดดุลหรือไม่ ขณะที่รัฐต้องทำหน้าที่จำนวนมาก อาจทำให้ต้องขาดดุลทางการคลัง ถามว่าแล้วรัฐจะต้องเลือกแบบไหน

อีกประเด็นที่พบซ้ำๆ ในหลายจุด คือการใช้ถ้อยคำอย่าง "ความมั่นคงของรัฐ" "ความสงบเรียร้อย" "ศีลธรรมอันดีของประชาชน" กรณี "ความมั่นคงของรัฐ" อาจพอเข้าใจได้เพราะเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญหลายประเทศก็ระบุไว้ แต่ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี นั้นมีความเป็นอัตวิสัยพอสมควร เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละบุคคล

ปองขวัญ ระบุว่า ความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้นสูง ระหว่างผู้ร่างรัฐธรรมนูญกับประชาชน และประชาชนกับนักการเมือง เป็นเพราะมีความไม่สมดุลของอำนาจอย่างมาก ประชาชนถูกควบคุม เสียงผู้มีอำนาจดังกว่า ฝ่ายร่างได้เวลาออนแอร์มากกว่าฝ่ายวิพากษ์ ทั้งยังมีเสียงขู่ว่าไม่รับร่างจะไม่ได้เลือกตั้ง และบอกว่านักวิชาการไม่ควรวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ เพราะจะเกิดความวุ่นวาย ภาวะเช่นนี้ไม่เอื้อให้เกิดการประชามติที่มีคุณภาพได้

เราต้องยอมรับก่อนว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมาเป็นความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมืองจะแก้ได้ดีที่สุดด้วยการใช้การเมืองในการแก้ไข ต่อรองผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน แต่กลับมีกลุ่มๆ หนึ่งขึ้นมาออกกฎเพื่อแก้ปัญหา ซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้ ความเห็นต่างไม่ถูกปะทะสังสรรค์

สิ่งที่ควรทำขณะนี้คือ ควรมีพื้นที่ให้พูดและเห็นต่างได้มากขึ้น แต่หากถามว่าทำได้แค่ไหน สภาพวันนี้ทำให้เห็นแล้วว่าเราทำไม่ได้

แนะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับร่าง รธน.-ปรับแก้ส่วนที่เป็นปัญหา

ยุทธพร อิสรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ชี้ว่า แม้ร่างนี้อาจจะมีการบัญญัติเพิ่มเติมให้ดีขึ้น แต่สังคมไม่คิดว่าเป็นประโยชน์และมองเป็นปัญหามุมกลับ เพราะกระบวนการร่างไม่ได้สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของคนในสังคม

เขากล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีประเด็นที่เป็นปัญหา เช่น ที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาจเปิดช่องให้มี นายกฯ คนนอก, ที่มาของ ส.ส. ที่น่าจะมีบัตรเลือกตั้งสองใบ, ที่มา ส.ว. แม้จะกำหนดให้เลือกไขว้และข้ามกลุ่ม แต่ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะไม่เกิดบล็อคโหวต, กลไกการตรวจสอบ ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้แม้กระทั่งเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ, การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีกลไกยุ่งยาก ทั้งที่การแก้รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจโดยแท้ของฝ่ายนิติบัญญัติด้วยซ้ำ เพราะเชื่อมโยงกับประชาชนมากที่สุด และบทเฉพาะกาลที่ให้ยืดอำนาจของมาตรา 44 อาจทำให้เกิดภาวะอำนาจสูงสุดคู่ขนาน หากวันหนึ่ง คสช. และรัฐบาลที่มาจากอำนาจปกติ มีความเห็นต่างกัน จะเกิดปัญหาขึ้นทันที

ทั้งนี้ เขาชี้ว่า หลักการร่างรัฐธรรมนูญในระดับสากล ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และของรัฐสภาจากการเลือกตั้ง ร่างนี้ ข้อสุดท้ายทำไม่ได้ เพราะแม้จะมีการให้ สปท. สนช.ให้ความเห็น แต่องค์กรเหล่านี้ก็ไม่ได้มาจากเลือกตั้ง ดังนั้น ก่อนการประชามติ สิ่งที่จะทำได้คือ การทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับร่างรัฐธรรมนูญนี้ และปรับแก้ในส่วนที่เป็นปัญหา เพื่อไม่ให้ประชามติที่จะเกิดขึ้นเป็นประชามติบนความว่างเปล่า

เสนอเพิ่มคำถามในประชามติ ถ้าไม่รับแล้วอยากให้ทำไงต่อ

โคทม อารียา อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า เขียนได้กระชับ สละสลวย, ชอบระบบเลือกตั้ง ส.ส. สัดส่วนแบบผสม แต่หากเปลี่ยนเป็นมีบัตรเลือกตั้งสองใบจะเหมาะยิ่งขึ้น

โคทม กล่าวต่อว่า ส่วนข้อด้อยนั้น มองว่า มีการให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญมากเกินไป เช่น มีอำนาจให้ ครม.ทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง หากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตงบประมาณ นอกจากนี้ ยังแทรกอำนาจเหนือรัฐบาลชุดต่อๆ ไปผ่านการกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ขณะที่กำหนดให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยากเกินไป

ทั้งนี้ เขาเสนอว่า ก่อนประชามติ รัฐบาลควรดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญอย่างเพียงพอ และเปิดให้ฝ่ายเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วยเข้าถึงระบบสื่อสารของรัฐอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมเปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนได้ถกแถลง

ทั้งนี้ เสนอให้ถามประชาชนในการลงประชามติสองประเด็นคือ รับหรือไม่รับร่างนี้ และหากไม่รับ ควรทำอย่างไร เช่น เอารัฐธรรมนูญ 2540, 2550 มาทำให้เป็นปัจจุบันและประกาศใช้ภายในระยะเวลาที่กำหนด เป็นต้น

จวกร่าง รธน.รอบนี้ปิดกั้นกว่าทุกครั้ง

บุญยืน ศิริธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา เครือข่ายภาคประชาชนด้านผู้บริโภค กล่าวถึงประเด็นสิทธิผู้บริโภคว่า เดิม อยู่ในหมวดสิทธิและเขียนไว้ชัดเจนให้มีองค์กรที่เป็นอิสระจากรัฐและมีหน้าที่อย่างไรบ้าง แต่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กลับย้ายไปอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 57) และกำหนดเพียงว่ารัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกคุ้มครองสิทธิ และส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้บริโภครวมตัวกัน ซึ่งแม้จะเหมือนดูดี แต่เชื่อว่า เมื่อผู้บริโภคไม่ได้รับการคุ้มครอง ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะได้คำตอบว่า มีกลไกและสนับสนุนการรวมตัวอยู่แล้ว และจะไม่สามารถผลักดันให้เกิดการปฏิรูปโดยอาศัยรัฐธรรมนูญได้เลย

บุญยืนระบุว่า ที่น่าตกใจที่สุด คือ มีการกำหนดหน้าที่ของรัฐไว้บางประการ ทั้งที่เป็นเรื่องที่ต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอยู่แล้ว ทำให้เกิดข้อสังเกตว่า ประเด็นใดที่ไม่บัญญัติไว้ จะเท่ากับรัฐไม่ต้องทำตามใช่หรือไม่

การร่างครั้งนี้ ดูเหมือนจะมีเป้าอยู่ที่รัฐเป็นใหญ่ จัดการควบคุมทั้งหมด จากประสบการณ์การทำงานกับชุมชน พบว่ารัฐไม่เคยยืนอยู่ข้างประชาชนเลย ถามว่าจะเอาอย่างไร จริงๆ ก็ไม่มีทางเลือก และงวดนี้ก็ยิ่งกว่าทุกครั้ง มีการปิดกั้นการแสดงความเห็น การจัดเวทีมีข้อจำกัดมาก จะยื่นเอกสารต้องไปตามช่องทางที่กำหนด และไม่รู้เลยว่า กรธ.จะฟังแค่ไหน

ต่อคำถามว่า หากมีการขยายเวลาเลือกตั้งออกไปก่อนจะเห็นด้วยหรือไม่ บุญยืน กล่าวว่า การขยายเวลาหรือไม่ ไม่สำคัญ สำคัญที่การร่างกติกาอยู่ร่วมกันในอนาคตมากกว่า ถ้าปรับแก้ให้ยอมรับกติกาอยู่ร่วมกันได้ การเลือกตั้งจะเดินไป แต่หากยังร่างแบบกดประชาชน และรัฐเป็นใหญ่ ถึงจะไม่ขยายเวลา สุดท้าย เมื่อประชาชนรับไม่ได้ ก็ต้องขยายเวลาอยู่ดี

ชี้สิ่งที่หายไปคือเสรีภาพ-คนชายขอบ


เคท ครั้งพิบูลย์ นักกิจกรรมทางสังคม มองว่า สิ่งที่ขาดหายในรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ สิทธิเสรีภาพ และกลุ่มคนชายขอบ ซึ่งจะทำให้การคิดถึงนโยบายสนับสนุนคนชายขอบเป็นเรื่องที่ถูกทำหลังสุด นอกจากนี้ เคทกล่าวถึงการกำหนดขอบเขตการใช้เสรีภาพที่ต้องไม่กระทบความมั่นคงว่า เรื่องนี้ตรงข้ามกับการทำหน้าที่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน พร้อมเสนอว่า ความมั่นคงของมนุษย์ควรต้องถูกทำให้มองเห็นมากกว่าความมั่นคงของรัฐ

นอกจากนี้ เคทยังมองว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้มองปัญหาประชาชนแบบไม่เข้าใจ โดยจากเดิมที่ประชาชนใช้หลักการตามรัฐธรรมนูญในการฟ้องร้อง เพื่อเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม กลับให้อำนาจให้เป็นหน้าที่รัฐในแก้ปัญหาประชาชน ทำให้สุดท้ายคนจะเข้าถึงสิทธิยากมากขึ้น

ตราบใดที่ยังมีมาตรา 44 บรรยากาศแลกเปลี่ยนความเห็นคงไม่เกิด

ปกรณ์ อารีกุล นักกิจกรรม กล่าวว่า เมื่อดูเนื้อหาแล้ว สะท้อนชัดเจนว่า กรธ.ไม่ได้เชื่อมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบบตัวแทนอีกต่อไป ทำลายความตื่นตัวด้านประชาธิปไตยของประชาชนที่ทุกฝ่ายออกมาตรวจสอบ โดยให้มีองค์กรต่างๆ มาควบคุมดูแลซ้อนรัฐอีกทีหนึ่ง ต้องทบทวนว่า สุดท้ายแล้ว กรธ อยากให้มีการปกครองแบบตัวแทนหรือไม่ นอกจากนี้ เขาตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ลดช่วงเวลาที่ประชาชนจะเข้าถึงการศึกษาภาคบังคับเหลือ 9 ปี

ปกรณ์ กล่าวว่า แม้จะมีบางคนบอกว่าการเขียนรัฐธรรมนูญกะทัดรัด แต่อยากชี้ว่าหมวดปวงชนชาวไทยนั้น เหลือเพียง 21 มาตราเท่านั้น ทำให้ภาคส่วนต่างๆ วิจารณ์และพยายามเสนอมาตลอด อย่างไีก็ตาม ตราบใดที่มียังมีมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว บรรยากาศการแลกเปลี่ยนจะไม่มีทางเกิดขึ้น ดังนั้น หากจะทำให้การลงประชามติในเดือนกรกฎาคมนี้ไม่ว่างเปล่า ต้องยกเลิกมาตรา 44

แนะอย่าดูเงื่อนไขรับ-ไม่รับ ให้ดูว่า รธน.ดี-ไม่ดี

เสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่เคยร่างรัฐธรรมนูญ มองว่า ต้องเขียนให้สั้น กระชับ แล้วใส่รายละเอียดในกฎหมายประกอบ ส่วนที่มีคนกลัวว่าจะเป็นการเซ็นเช็คเปล่าหรือไม่ ก็ต้องมีความชัดเจนว่ากฎหมายที่จะเกิดมีอะไรและจะจัดกระบวนการร่างอย่างไรเพื่อทำให้เกิดความไว้วางใจ พร้อมกันนี้ เขาเสนอว่า อย่าไปสนใจว่า ถ้ารัฐธรรมนูญผ่านหรือไม่ผ่านแล้วจะทำอย่างไรต่อ เพราะอย่างไรก็มีโรดแมปเลือกตั้งอยู่แล้ว ส่วนตัวมองว่า ถ้าดีก็ควรผ่าน ถ้าไม่ดีก็ไม่ต้องผ่าน แล้วไปร่างกันใหม่

ส่วนที่มีข้อเสนอให้ขยายเวลาเลือกตั้งออกไป เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญนั้น เขามองว่า ไม่ควรขยายเวลา เพราะอาจถูกเล่นงานว่าขยายอำนาจ เพราะฉะนั้น หลักการอะไรที่วางไว้ ก็ให้เดินตามนั้น จะทำให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ

คนรู้ปัญหา รธน. ไม่ได้ร่าง

จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ แสดงความเห็นว่า ไม่แปลกใจที่ร่างรัฐธรรมนูญเขียนแบบนี้ เพราะเมื่อคนที่ใช้รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นผู้เห็นปัญหาไม่มีส่วนร่วมร่าง ก็จะเกิดปัญหาขึ้น ถ้าอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่ดีต้องเน้นการมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงตอนนี้แล้ว ก็ควรคิดว่าจะทำอย่างไรให้คนมีส่วนร่วมมากกว่านี้ นอกจากนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้จะไม่เกิดปัญหาเลย หากผู้ร่างรับฟังว่าเรื่องใดบ้างที่ประชาชนมองว่าเป็นปัญหา เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วไปแก้ไขตรงนั้น อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่า เรื่องเหล่านั้นไม่ได้ถูกแก้เลย

หมอเทพพนม ชี้ UFO เตือนให้ไทยคืนเพชรซาอุฯ (เฮ้ยๆๆๆ เจี๊ยกๆๆ ‪#‎เด่วก้อหนาวตายร๊อกคิกๆๆ‬ - พาลี ตรีเพชร)



หมอเทพพนม เตือนมนุษย์ต่างดาววิกฤตบ้านเมืองประเทศไทย ที่มาจากแรงสาปแช่งของ เพชรซาอุฯ ที่ถูกขโมย และคาดยังอยู่ในประเทศไทย พร้อมกับเตือนท่าน “ผู้นำ” เจอบึ้ม ช่วงปีนี้จนถึงสิ้นปีหน้า ขณะที่ภัยพิบัติธรรมชาติ ทั้งมหันตภัยน้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุหมุนเปลี่ยนทิศ สามารถทำให้กรุงเทพจมหาย ขณะเดียวกันมีการสร้างพระขรรค์เหล็กน้ำพี้สีขาวถวายในหลวง ไว้ปกป้องบ้านเมือง

ที่มา เวป horoworld


ด่าใครอ่ะ!!! - ดราม่าหรือไม่ !! อี๊ด พี่ชาย “แอ๊ด คาราบาว” ออกมาโพสต์ข้อความให้นัยยะลึกๆ




ดราม่าหรือไม่ !! อี๊ด พี่ชาย “แอ๊ด คาราบาว” ออกมาโพสต์ข้อความให้นัยยะลึกๆ
ที่มา เวป kanomjeeb
27 ก.พ. 2559

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2559 โลกออนไลน์มีการแชร์สนั่นกรณี "อี๊ด โอภากุล" ซึ่งเป็นพี่ชายของ "แอ๊ด คาราบาว" มีการออกมาเคลื่อนไหวบนเฟซบุ๊คโดยการแต่งกวี เรื่อง “คนเชือดควาย” ระบุว่า




 ทั้งนี้เมื่อโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า เหมือนกำลังเป็นการตัดพ้อถึงคนในครอบครัวอยู่หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้คงต้องรอให้เจ้าตัวเข้ามาแถลงข้อเท็จจริงด้วยตัวเองจะดีกว่า เพราะอาจเป็นเพียงบทกวีที่ต้องการนำเสนอเรื่องราวของสังคม อาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับครอบครัวอย่างที่เข้าใจกันก็เป็นได้  





ประเภท : บันเทิง-ดารา
ที่มา : Eed Opakul

Talk to Al Jazeera - Thaksin: Let Thailand return to democracy





Please watch the video via YouTube
https://www.youtube.com/watch?v=oU6dVxYIEYU

Source: Al Jazeera
28 Feb 2016

The former Thai PM speaks about military rule, his self-imposed exile, and the challenges facing the country.

Despite living in self-imposed exile for the best part of 10 years, Thailand's former prime minister, Thaksin Shinawatra, continues to shape and influence Thai politics.

Elected to power in 2001, he was the first democratically elected prime minister to serve a full term in office before being re-elected in a 2005 landslide victory.

A former telecommunications billionaire, the business tycoon-turned-politician drew his support from Thailand's rural poor, with his populist healthcare programmes and assistance for farmers schemes, winning him great levels of support.

However, loathed by the elite who saw him as a threat to the monarchy, Thaksin would face increasing allegations of corruption, with attention soon turning towards his tremendous wealth.

Coupled with accusations that he insulted the revered monarchy, protests would pave the way for the military to launch a bloodless coup in September 2006 while he was in the US.

Apart from a brief return to Thailand in 2008, Thaksin has based himself in self-imposed exile in Dubai, the United Arab Emirates, ever since.

He has since been found guilty by Thai courts of abusing his power over a land deal while also being stripped of around $1.4bn for concealing ownership of shares in a telecommunications company and for amending government policies to benefit it.

Thaksin told Al Jazeera that fears over his safety were stopping him from returning to the country.

"If I was there, who could guarantee my safety?" he asked. When asked if his life was in danger, Thaksin replied: "Definitely", pausing before adding that while he was prime minister, there were 14 attempts on his life, including a 2006 foiled car-bomb assassination near his residence.

Thaksin's younger sister, Yingluck Shinawatra, would later become the country's first female prime minister in 2011, but when her government tried to push through a bill that would have granted amnesty to those found guilty of political crimes, protests gripped the country.

Yingluck was removed from office in a coup in May 2014 when a military government, headed by General Prayuth Chan-ocha, came to power.

With the military continuing to run the country under the so-called National Council for Peace and Order, elections have repeatedly been delayed with rights groups accusing the military government of trying to solidify its hold on power.

"The draft constitution is [a] bad constitution; I don't even know if we can compare [it] to North Korea," Thaksin said.

In this episode of Talk to Al Jazeera, Thaksin Shinawatra, who has largely remained silent since the coup forced him from office, talks to Wayne Hay about the challenges facing the country and what lies ahead.

Source: Al Jazeera


คลิปหลักฐานพุทธอิสระและกปปส.สร้างสถานการณ์เพื่อนำสู่การยึดอำนาจแ จากปากของพุทธอิสระเอง




https://www.youtube.com/watch?v=D7wD7mFTWTc&feature=youtu.be

พุทธะอิสระยอมรับ : ฉันเป็นคนส่งสัญญาณ(ให้ทหาร)!!!

Published on Feb 22, 2016

"ฉันเป็นคนเขี่ยลูกให้ทหารออกมาเล่นบ่อยๆ"

"ฉันเขี่ยลูกให้ทหารเล่นบ่อยๆ"

"ฉันเนี่ยเป็นคนส่งสัญญาณ (ให้ทหาร)"

"ฉันก็มีพรายกระซิบ มีสาย(ทหาร)ของฉัน"

"ฉันก็ทหารเก่าไม่ใช่หรอคุณก็รู้นิ"

ooo



สวัสดี เราชื่อ ‪#‎พุทธไถ‬!!





อยากดูต่อ กดนี่แลย...

รออาไร...

ที่มา 

อาณาจักรไบกอน Returns




กระทู้รวมหลิ่ม "เงิบ" ‪(ยังจำกันได้ชิมิ‬?!?)




นี่เป็นกระทู้รวม "เงิบ" แห่งมวลมหาประชาชนล้มล้างระบอบทักษิณ อันมี Facebook เป็นอาวุธนะครัช

ที่มา เวปพันทิป

ไม่รู้ว่าเพราะเหตุอันใดผมถึงอยากเป็นกระทู้แนะนำ อิๆ จึงทำการรวบรวมความเงิบที่สุดจะบรรยาย ไม่ต้องใช้เหตุผลใด เพียงแค่แชร์เราก็พอใจ ใครที่มีข้อมูลความเงิบ แล้วผมตกหล่นเอามาเติมได้เลยนะครัช ผมอาจโง่เขลาเบาปัญญาเอามาแชร์กันครับ
.
.

ขอบคุณสำหรับข้อมูล ความเงิบ เพียบจากคุณ Rational
#01 แดงอยุธยามาดักรอทำร้ายนักเรียน ??
#02 หมายจับ สท.รชต มือปาระเบิดสาวรีย์ชัย ?
#03 เสื้อแดงเข้าแถวรับแจกเงิน ?
#04 หน่วยพลร่มหริอทหารเขมร ?
#05 กปปส.คนที่ไปรื้อป้าย สตช. = ถูกสั่งเก็บ ?
#06 ตำรวจไทยจ้าง รปภ. เขมร มาคุมม๊อป ปชป. ?
#07 โกตี๋ยกพวก ไปปะทะ ม๊อปแจ้งวัฒนะ ?
#08 ส.ส.Tammy หญิงเหล็กอเมริกันเชื้อสายไทย โจมตีทักษิณ !
#09 กลุ่มคนถือไม้ที่ลาดกระบัง เป็นกลุ่มคนหนุนเลือกตั้ง ?
#10 ยิ่งลักษณ์ เข้าพักเรือนรับรองที่จัดไว้เฉพาะ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์?
#11 ตั๊น จิตภัสร์ โกหก เรื่องชายนอนบาดเจ็บหน้า ไอทีสแควร์หลักสี่ ?
#12 เพจบลูสกาย กับชายชุดดำถืออาวุธ หน้าห้าง IT สแควร์ ??
#13 เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ __ นายกปูหย่อนบัตรเลือกตั้งผิดกล่อง ??
#14 เจริญ วรรธนะสิน! __ ภาพหลุด ตำรวจช่วยกาบัตรเลือกตั้งเป็นกองๆ ?
#15 นายกปูแจก... ช่วงเลือกตั้ง__ ต้องโดนใบแดง ?
#16 ณัฐวุฒิ กับคำพูดที่เวทีราชมังคลา ??
#17 นายตั้ง อาชีวะ โผล่!!!! เหตุปะทะ @ไอทีสแควร์ หลักสี่ ??
#18 ทูตสวิสเซอร์แลนด์ ต้อนรับพูดคุย กำนันสุเทพ ??
#19 นางเพ็ญศินีย์ ทองช้อย ผูกคอตายเพราะไม่ได้เงินจำนำข้าว ??
#20 ประชาชนพากันแห่ถอนเงินธนาคารออมสิน ??
#21 ตำรวจกระทืบผู้หญิงที่เหตุการณ์ผ่านฟ้า ??
#22 ชายที่ผ่านฟ้า แค่โบกธงแล้วถูกยิง ??
#23 นายทหารนอกเครื่องแบบ ที่ดูแล กปปส. ถูกซุ่มยิงบริเวณ ถ.แจ้งวัฒนะ ??


...

คัดมาพอเป็นกระสาย...
อ่านต่อได้ที่




เอ้ามาดูหมอ วรงค์ เงิบกันบ้างนะครับ




มาดูด้าน Respect my Vote กันบ้าง




อันนี้ของพี่โน๊ตเลยนะฮาฟฟฟ......แชร์กันเพียบบบ





ตั้งโต๊ะแถลง แฉถูกทหาร-ตร.สั่งยกเลิกให้ใช้ที่จัดเสวนาปมประชามติ ถึง2งาน




ที่มา มติชนออนไลน์
28 ก.พ. 59

ภาคประชาสังคม ตั้งโต๊ะแถลง ถูกสั่งห้ามใช้พื้นที่จัดเสวนา-แสดงความเห็นปมรธน.อย่างสันติ

เมื่อเวลา 15.30 น. ที่คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เว็บไซต์ประชามติจัดงานแถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงต่อเหตุการณ์ กรณีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเข้ากดดันไม่ให้มีการจัดกิจกรรม รัฐธรรมนูญใหม่ เอาไงดีจ๊ะ? และแถลงจุดยืนของเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญภายใต้บรรยากาศที่เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นถูกปิดกั้น ร่วมแถลงข่าวโดย นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล ผู้ร่วมก่อตั้งสำนักข่าวไทยพับลิก้า นายเอกพันธุ์ ปิณฑวณิช สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการ iLaw

นายยิ่งชีพ กล่าวถึงแถลงการณ์ “ขอยึดมั่นในหลักเสรีภาพการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชน” ว่า ตามที่เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติกำหนดจัดกิจกรรมเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญสองกิจกรรม คือ งานเสวนาสาธารณะหัวข้อ “รัฐธรรมนูญใหม่เอายังไงดีจ๊ะ?” และงานประกวดนำเสนอ PetchaKucha หัวข้อรัฐธรรมนูญที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แต่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวันและกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ แจ้งมายังหอศิลป์ฯ ว่ากิจกรรมนี้อาจเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมือง จึงยกเลิกการใช้พื้นที่จัดกิจกรรมดังกล่าว ทำให้กิจกรรมทั้งสองมีอุปสรรค ต้องย้ายสถานที่จัดงานอย่างเร่งด่วนนั้น ทางเครือข่ายเว็บไซต์ประชามติมีข้อสังเกตดังนี้

“ข้อหนึ่ง เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติก่อตั้งขึ้น และดำเนินกิจกรรมโดยตั้งอยู่บนหลักเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปฏิรูปสังคม เพราะเชื่อว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนในบรรยากาศที่เปิดกว้างเท่านั้นที่เป็นเครื่องรับประกันได้ว่ารัฐธรรมนูญและนโยบายสาธารณะทุกรูปแบบจะถูกออกแบบขึ้นโดยสอดรับกับความต้องการของประชาชน นำไปสู่การแก้ปัญหาอันซับซ้อนของสังคมได้จริง

“ข้อสอง ความพยายามปิดกั้นการแสดงความคิดเห็น หรือการต้องได้รับอนุญาตจากทางการก่อนแสดงความคิดเห็นในประเด็นอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่วิธีการที่จะค้นหาคำตอบให้กับสังคมอย่างยั่งยืนได้ มีแต่จะสร้างความรู้สึกอึดอัดและแตกแยก จนบ่มเพาะให้สังคมเต็มไปด้วยความแตกแยกที่ฝังรากลึกมากขึ้นทุกวัน ช่วงเวลาที่สังคมมีความขัดแย้งสูงอย่างในปัจจุบัน ไม่มีกระบวนการใดที่จะเป็นเครื่องมือพาสังคมเดินหน้าไปได้นอกจากการเปิดพื้นที่ให้ทุกความคิดเห็นได้มีส่วนร่วมในการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างเป็นอิสระ

“ข้อสาม ในบรรยากาศจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และกำลังจะมีการทำประชามติโดยประชาชน หลักการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น หากประชาชนถูกปิดกั้นหรือขัดขวางไม่ให้พูดคุุยในประเด็นรัฐธรรมนูญ ย่อมทำให้กระบวนที่ที่ขาดความชอบธรรมอยู่แล้วยิ่งสูญเสียความชอบธรรมยิ่งขึ้น

“เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติยืนยันเดินหน้าทำกิจกรรมเพื่อสร้างบทสนทนาเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญที่เปิดกว้างสำหรับทุกฝ่ายจ่อไปขอชักชวนประชาชนทุกฝ่ายยึดมั่นเสรีภาพการแสดงออกและการมีส่วนร่วมของประชาชนพยายามสร้างพื้นที่พูดคุยและเปลี่ยนความเห็นในประเด็นรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปสังคมมากที่สุด แม้ภายใต้บรรยากาศที่มีข้อจำกัดในนามของความมั่นคงอย่างในปัจจุบัน”

ส่วนตัวเป็นคนประสานกับเจ้าหน้าที่ทางหอศิลป์และเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารโดยตรง และเห็นได้ชัดว่าผู้ที่ไม่อยากให้มีการจัดกิจกรรมนี้คือเจ้าหน้าที่ทหาร มีความพยายามจะไม่ออกหน้าเอง โดยให้ตำรวจเป็นผู้ออกสื่อ

“หลังจากที่ตนชี้แจงกับทหาร ทหารก็ชี้แจงว่ากำลังพิจารณาแต่อันที่จริงไม่ได้พิจารณาตามที่กล่าวไว้ และบีบให้หอศิลป์เป็นฝ่ายออกคำสั่งยกเลิกงาน ส่วนตัวคิดว่าทหารควรจะกล้าออกหน้าด้วยครับ” นายยิ่งชีพกล่าวในที่สุด

น.ส.สฤณี กล่าวว่า เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ควรเกิด การจะให้ลงประชามติภายใต้บรรยากาศที่มีคำสั่งของ คสช. นั้นเป็นการลงประชามติแบบไม่เปิดกว้าง

นายจอน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญเป็นของปวงชนชาวไทย หมายความว่าประเทศนี้มีประชาชนเป็นเจ้าของร่วมกันรัฐธรรมนูญคือการอยู่ร่วมกันของประชาชน ประชาชนต้องมาตกลงกันว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร แต่ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่ารัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นไม่ได้ร่างขึ้นโดยประชาชนหรือรับฟังความเห็นของประชาชนในระดับกว้าง

“ทางผู้มีอำนาจพยายามให้มีการจัดประชามติเพื่อรับรองรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งประชามติควรเกิดขึ้นหลังจากประชาชนรับรู้ข้อมูลอย่างทั่วด้าน แต่ขณะนี้ การที่ประชาชนจะได้รับทราบรายละเอียดของรัฐธรรมนูญนั้นถูกปิดกั้น ซึ่งถ้าสถานการณ์นี้ยังมีต่อไปจนถึงเวลาประชามติ ประชามติที่ได้มาก็ไม่มีความหมาย เป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น” นายจอนกล่าว และว่า ผู้มีอำนาจควรเปิดโอกาสให้คนได้แสดงความเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญ สื่อมวลชนก็ควรมีสิทธิเสรีภาพในการเสนอมุมมองในส่วนต่างๆ ของสังคม และต่อข้ออ้างที่ว่าการจัดกิจกรรมนี้จะเป็นสาเหตุของความวุ่นวายนั้น คิดว่าเป็นเพียงข้ออ้างของผู้มีอำนาจที่กลัวว่าตนจะถูกวิพากษ์วิจารณ์มากกว่า เพราะถ้ามองว่าประเทศนี้เป็นของประชาชน ก็ต้องยึดมั่นว่าประชาชนคือผู้กำหนดอนาคตของประเทศชาติ

“เราไม่มีเจตนาให้เกิดความวุ่นวาย แต่อยากเปิดเวทีให้ประชาชนได้แสดงความเห็นอย่างสันติเท่านั้น” นายจอนกล่าวในที่สุด

นายเอกพันธุ์ กล่าวว่า ในกระบวนการที่จะเกิดการลงประชามติก็เป็นกระบวนการที่ตั้งบนฐานการตัดสินใจของประชาชน และจะเกิดได้เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในอำนาจที่ตนจะได้ใช้ ประชาชนควรรับทราบว่าร่างรัฐธรรมนูญ มีจุดบกพร่องและมีข้อดีอย่างไร

“กระบวนการที่ไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนจึงผิดหลักของประชาธิปไตย ทางกลุ่มจึงยืนยันว่าการแลกเปลี่ยนของประชาชนนั้นเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด ไม่ว่ารัฐธรรมนูญนี้จะผ่านหรือไม่ แต่ถ้าประชาชนได้ตัดสินใจทำประชามติบนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจ ผลที่ออกมาก็เป็นที่ยอมรับได้แน่นอน” นายเอกพันธุ์กล่าว




ooo




28 ก.พ. | ข่าว 19.00 น.หลังยุติกิจกรรมเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ "รัฐธรรมนูญใหม่เอายังไงดีจ๊ะ" ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานค...
Posted by Thai PBS News on Sunday, February 28, 2016
https://www.facebook.com/ThaiPBSNews/videos/966352456773814/


วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 28, 2559

รำลึก 40 ปีที่จากไป "ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน"





รำลึก ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน นักวิชาการและปัญญาชนปฏิวัติ และนักสังคมนิยมดีเด่นคนหนึ่งของประเทศ ท่านถูกสังหารเมื่อวันที่28กุมภาพันธ์2519 จากชุดล่าสังหารของกอรมน. ผู้กุมกลไกปราบปรามของรัฐ อย่างแน่นอน

ผมรู้จักดร.บุญสนอง มาตั้งแต่เป็นนักศึกษาแต่มาสนิทหลังกรณี14ตุลาคม2516 เมื่อมาตั้งพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ด้วยกัน ท่านเป็นนักวิชาการฝ่ายซ้ายมีความรู้มีอุดมการณ์สังคมนิยม ท่านเสียสละ อุทิศเวลา เงินทอง ให้บ้านเป็นที่พบปะประขุมก่อตั้งและดำเนินงานขอบพรรคช่วงแรก และเข้าแบกรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค นำเคลื่อนไหวต่อสู้ของพรรคและร่วมขบวนการนักศึกษาประชาชนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยแม้ในยามถูกข่มขู่คุกคามจากฝ่ายขวา

ช่วงหลังๆ ผมไปใหนมาใหนกับท่านบ่อยๆ บ่ายวันหนึ่ง ผมออกจากสำนักงานพรรคฯ ไปกับท่าน เพราะท่านมีรถ จำไม่ได้ว่าไปใหน แต่พอท่านขับรถผ่านวังสวนจิตร ท่านบอกว่า ผมถูกปองร้าย จรัลหาทางหลบไว้ให้ผมเร็วๆด้วย ผมตอบว่า อาจารย์คงมีทางอยู่แล้ว 2 วันต่อมา ท่านถูกสังหาร เสียสละชีวิต ผมรู้เศร้าโศกเสียใจและรู้สึกผิดที่ช่วยท่านไม่ทัน

ความตายของดร.บุญสนอง เป็นการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของพรรคและของขบวนการประชาธิปไตยและสังคมนิยม แล้วเป็นสัญญานเผด็จศึกของฝ่ายขวาจัดกษัตริย์นิยม นำไสู่นองเลือดและรัฐประหาร6ตุลาคม2519

40 ปี เหมือนท่านกับตายเปล่า เพราะนอกจากผู้ก่อสังหารท่านยังลอยนวล ขบวนการสังคมนิยมถูกทำลาย เสื่อมสลายไปโดยพื้นฐาน ผู้ร่วมทางของท่านจำนวนหนึ่งกลายเป็นฝ่ายนิยมเผด็จการ เป็นผู้จงรักภักดี อีกด้วย

มิตรสหายท่านหนึ่ง

ooo


ไม้หนึ่งอ่านบทกวีในงานรำลึก ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน มีนา2556

https://www.youtube.com/watch?v=a3jqT-owOC8


ooo

เรื่องเกี่ยวข้อง... บทความจากมติชน 3 ปีที่แล้ว...


รำลึก 37 ปีที่จากไป "ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน"




ที่มา มติชนออนไลน์
รายงานพิเศษ โดย ธิติ มีแต้ม

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

คนหนุ่มคนหนึ่งกลับมาจากเมืองนอกหลังเรียนจบปริญญาเอก เลือกเดินตามเส้นทางที่มุ่งหวังได้เพียง 4 ปี ก็ถูกยิงเสียชีวิตคารถเก๋ง ในท้องที่เขตพญาไท กรุงเทพฯ ในคืนวันที่ 28 ก.พ. 2519 สิ้นชีวิตในวัย 40 ปี
หลังจากนั้นเพียง 7 เดือนเศษ สังคมไทยก็เข้าสู่ยุคมืด ด้วยการสังหารนักศึกษาและประชาชนในเหตุการณ์ 6 ตุลา 19

เรื่องราวของคนหนุ่มชื่อ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน อดีตเลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ดูเหมือนจะเงียบหายไปกับประวัติศาสตร์ เช่นเดียวกับผู้นำแรงงาน กรรมกร และชาวนาคนอื่นๆ ที่ถูกสังหารไปในเวลานั้น

ทว่างานรำลึก 37 ปี การจากไปของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน พร้อมทั้งเปิดตัวโครงการเว็บไซต์ www.doctorboonsanong.org จัดขึ้นที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ เมื่อต้นเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา ก็พอหวนภาพอดีตกลับมาได้ด้วยการปะติดปะต่อความทรงจำจากลูกศิษย์และมิตรสหายของ ดร.บุญสนอง

อาทิ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย, นายสุธรรม แสงประทุม, คำสิงห์ ศรีนอก, ประเดิม ดำรงเจริญ และวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ โดยมี พ.อ. สมคิด ศรีสังคม อดีตหัวหน้าพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ใน วัย 97 ปี มาร่วมรำลึกด้วย

ย้อนไปเมื่อราวปีพ.ศ.2514 ดร.บุญสนองศึกษาจบปริญญาเอกด้านสังคมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐอเมริกา ช่วงเวลาเดียวกับนักวิชาการคนสำคัญของไทยอย่าง ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอีกหลายคนก็กำลังศึกษาอยู่ที่นั่นด้วย

ดร.บุญสนองกลับมาถึงมาตุภูมิในปีพ.ศ.2515 เข้าสอนหนังสือในฐานะหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นอกจากการเป็นอาจารย์และนักวิชาการ ด้วยบรรยากาศบ้านเมืองภายใต้กฎอัยการศึกสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ผลักให้ ดร.บุญสนองร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และเข้าเป็นสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ หรือ "สภาสนามม้า" ทำหน้าที่พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แทนธรรมนูญการปกครองเดิม พ.ศ.2515

เช้าวันที่ 6 ต.ค. 2516 "กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ที่ประกอบด้วยบุคคลหลากสาขาอาชีพ ทั้งอดีตรัฐมนตรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทน นักการเมือง ข้าราชการ นักศึกษา นักหนังสือพิมพ์ นักร้อง จำนวน 100 คน อาทิ สุเทพ วงค์กำแหง, ธีรยุทธ บุญมี, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, นพพร สุวรรณพานิช, อรุณ วัชรสวัสดิ์

จุดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเกิดขึ้นของกลุ่ม "13 กบฏ" ที่ถูกรัฐบาลจับกุม จนนำไปสู่การชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษาจากหลายสถาบัน

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 แนวคิดสังคมนิยมได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง ความหวังที่จะเห็นสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในทุกมิติ

ทำให้แนวคิดในการจัดตั้งพรรคการเมืองแนวทางสังคมนิยมได้รับการขานรับขึ้นมา โดยการรวมตัวกันจากคน 3 กลุ่ม ได้แก่ นักการเมืองแนวสังคมนิยมที่เคยต่อสู้มาในระบบรัฐสภา นักวิชาการสายก้าวหน้า และบรรดาผู้นำนักศึกษา

ปีพ.ศ.2517 พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย จดทะเบียนจัดตั้งตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ.2517 ได้สำเร็จ มี พ.อ.สมคิด ศรีสังคม เป็นหัวหน้าพรรค และ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เป็นเลขาธิการพรรค

กระทั่งการเลือกตั้งในวันที่ 26 ม.ค. 2518 พรรคสังคมนิยมฯ ได้รับเลือกตั้ง ส.ส. 15 คน จากผู้สมัครทั่วประเทศ 82 คน ในสมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

ปีเตอร์ เลนบี้ ผู้สื่อข่าวชาวสวีเดน ได้เขียนบันทึกการสัมภาษณ์ ดร.บุญสนอง เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2519 ก่อนหน้าถูกยิงเสียชีวิต 1 วัน แล้วตีพิมพ์ในนิตยสารจตุรัส ฉบับวันที่ 16 มี.ค. 2519 โดยระบุในตอนหนึ่งว่า

"เราสนทนากันถึงสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยและสงครามอินโดจีน เราคุยกันถึงการคุกคามที่ฝ่ายซ้ายกำลังเผชิญอยู่ และการคุกคามอื่นๆ ที่มีผลให้ผู้นำฝ่ายซ้ายเสียชีวิตไปแล้วถึง 27 คน ตั้งแต่การเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ดร.บุญสนองแสดงความเห็นประณามการใช้ความรุนแรงทางการเมืองอย่างแข็งขัน แต่เพียงไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง

เขาก็ได้กลายเป็นเหยื่อรายที่ 28 ของการล่าสังหารที่กระทำกันอย่างเป็นขบวนการ"

เช่นเดียวกับ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในขณะนั้น ได้เขียนไว้อาลัย ดร.บุญสนอง ด้วยว่า

"การที่อาจารย์ บุญสนองต้องมาเสียชีวิตในขณะที่ยังจะทำประโยชน์ให้ได้แก่ส่วนรวมเช่นนี้ ย่อมทำให้อาจารย์และนักศึกษาเป็นจำนวนมากของมหา วิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดจนอาจารย์หลายคนในต่างประเทศที่เคยรู้จักอาจารย์บุญสนองมีความเศร้าสลดและอาลัยเป็นอย่างยิ่ง"

และในวาระรำลึก 37 ปีแห่งการจากไป นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ในฐานะอดีตแกนนำนักศึกษาช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ร่วมกล่าวถึงความทรงจำที่มีต่อดร.บุญสนอง ว่าอาจารย์บุญสนองเป็นนักวิชาการ ที่เสียสละเพื่อสังคม สมัยนั้นแกนนำที่มีรถมีแค่ 3 คน คือ ไขแสง สุกใส นพพร สุวรรณพานิช และอาจารย์บุญสนอง

"ก่อนเสียชีวิต 3 วัน ผมมีโอกาสนั่งรถไปกับอาจารย์ ระหว่างทางอาจารย์บอกว่าตัวเองกำลังตกเป็นเป้า อยากให้ผมช่วยติดต่อสายจัดตั้งในป่าให้ แต่ก็รู้ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจารย์เป็นถึงเลขาธิการพรรค คงไม่เหมาะหากจะหายไปช่วงเลือกตั้ง หลัง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีขณะนั้นประกาศยุบสภา จากนั้นการไล่ปราบกวาดล้างพวกฝ่ายซ้ายก็รุนแรงขึ้นจนแทบหมดเกลี้ยง และอาจารย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น" อาจารย์จรัลย้อนอดีตเมื่อ 37 ปีที่แล้ว

ขณะที่ วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีน อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวว่าได้ยิน วีรุทัย บุณโยทยาน ลูกสาวของอาจารย์บุญสนอง บอกคดีพ่อของเธอเหมือนถูกปิดไว้ ในแฟ้ม ราวกับเป็นนักโทษการเมือง

พร้อมทั้งออกตัวด้วย หลายคนบอกเป็นเสื้อเหลือง แต่วันนี้ขอบอกว่าหยุดแล้ว แม้จะไม่ได้เป็นเสื้อแดง แต่ก็นึกถึงการช่วยเหลือนักโทษการเมืองในวันนี้ ว่าทำไมจะนิรโทษกรรมไม่ได้ แม้แต่คดี 112 เอง เพราะตนหรือ นายสุธรรม แสงประทุม และอีกหลายคนที่ถูกจับสมัย 6 ตุลา 19 ก็โดนข้อหานี้ด้วยกัน แต่ได้รับการนิรโทษ ในที่สุด วันนี้มีนักโทษการเมืองอีกหลายคนที่รอการช่วยเหลืออยู่

"วันนี้ผมตั้งใจขึ้นรถเมล์มาโดยทิ้งรถส่วนตัวไว้ที่บ้าน เพราะอยากนึกถึงวันที่เดินเท้าจากธรรมศาสตร์พาศพอาจารย์บุญสนองไปที่วัดตรีทศเทพ ถนนประชาธิปไตย ประชาชนจำนวนมากมาร่วมเดินไว้อาลัยด้วย วันนั้นขบวนพวกเราเดินกันไปอย่างกลมเกลียวมาก" อาจารย์วิโรจน์ทิ้งท้าย

ส่วน นายประเดิม ดำรงเจริญ อดีตบรรณาธิการวารสารสัจจธรรม ของพรรคสัจจธรรม มหาวิทยาลัยราม คำแหง และอดีตหัวหน้าพรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย ร่วมกล่าวว่าเวลาพบและพูดคุยกับอาจารย์ บุญสนอง จะคุยกันเป็นภาษาล้านนา เนื่องจากอาจารย์เป็นชาวเชียงราย แต่เวลามีคนคุยด้วยสำเนียงกรุงเทพฯ อาจารย์จะพูดสำเนียงกรุงเทพฯ ทันที ซึ่งสมัยนั้นความเหลื่อมล้ำสูง แม้แต่การใช้ภาษายังรู้สึกเป็นปัญหา

นายประเดิมกล่าวอีกว่าอาจารย์บุญสนองไม่ใช่คนฐานะไม่ดี เป็นคนที่มีฐานะดีพอสมควร ทำให้เห็นว่าอาจารย์ได้เสียสละ เพื่อส่วนรวมจริง ไม่ได้อ้างอุดมการณ์ไปหากินส่วนตัว

"อุดมการณ์สังคมนิยมที่ถูกโจมตีนั้น จากการที่ผมเคยไปอยู่สวีเดน พรรคสังคมนิยมสวีเดนชนะการเลือกตั้งมานานถึง 30 กว่าปี จากประเทศที่เคยยากจนที่สุดในยุโรป ฟื้นขึ้นมาเป็นประเทศที่รวยที่สุดในยุโรปได้ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่อุดมการณ์ แต่อยู่ที่จิตสำนึกของผู้ปกครองด้วย" นายประเดิมกล่าว

ด้าน นายสุธรรม แสงประทุม อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย กล่าวว่าอาจารย์บุญสนองเป็นนักวิชาการที่เสียสละตัวเองเข้าสู่การเมือง สมัยนั้นนักการเมืองส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มทนายความ และดอกผลจากการต่อสู้ในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ทำให้เราเห็นนักการเมืองที่มีอุดมการณ์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

ขณะนั้นมีพรรคการเมืองสายก้าวหน้า ทั้งหมด 3 พรรค ได้แก่ พรรคพลังใหม่ พรรคแนวร่วมสังคมนิยม และพรรคพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ซึ่งอาจารย์บุญสนองถือเป็นต้นแบบให้คนที่อยากทำงานการเมือง ได้มีไฟที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นประกายไฟให้คนรุ่นต่อไป

ปิดท้ายที่ คำสิงห์ ศรีนอก ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย อาวุโสกว่า ดร.บุญสนอง ถึง 6 ปี กล่าวอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งในการเกิดมาบนแผ่นดินไทย คือ ได้เป็นเพื่อนกับชาวสังคมนิยม ที่พิสูจน์ตัวเองว่าปรารถนาดีกับบ้านเมืองและประชาชน

"บุคคลที่ผมเห็นว่าเขาได้พิสูจน์ตัวเองแล้ว คนแรกคือ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน และอีกคนคือ พ.อ.สมคิด ศรีสังคม เวลาที่ผมท้อแท้เหนื่อยหน่าย ผมจะคิดถึงท่านเหล่านี้" ลุงคำสิงห์ทิ้งท้าย ท่ามกลางเสียงปรบมือ

หากวันนี้ ดร.บุญสนอง ยังมีชีวิตอยู่ จะอายุ 77 ปี เป็นนักวิชาการ นักสังคมนิยม และนักการเมืองผู้จุดประกายให้หลายต่อหลายคน

บทความใน น.ส.พ. เดอะเนชั่น โดยนางพอลีน กาญจนลักษณ์ ‘เปิดกระป๋องไส้เดือน’ ‘Toiletgate’ ออกมายั๊วเยี๊ยะกันใหญ่





บทความใน น.ส.พ. เดอะเนชั่น โดยนางพอลีน กาญจนลักษณ์ เมื่อสองสามวันก่อน แม้จะจงใจ ‘โหนเจ้า’ แต่กลับกลายเป็นการ ‘เปิดกระป๋องไส้เดือน’ (opened a can of worms) ออกมายั๊วเยี๊ยะกันใหญ่




จากกรณี ‘Toiletgate’ ที่จังหวัดรัตนาคีรีของกัมปูเจีย ซึ่งสื่อไทยพยายาม ‘ไม่เล่น’ อาจเพราะกลัวเหม็นนาน แต่เดอะเนชั่นใจกล้า อาจเพราะเห็นว่าเป็นการโจมตีฝรั่งปากบอน ที่เขียนเรื่องเมืองไทยเป็นคุ้งเป็นแคว เรื่อง ‘A kingdom in crisis’ ขายดิบขายดีอยู่ที่แอเมอซอนด็อทคอมขณะนี้

แต่ที่ไหนได้ Andrew MacGregor Marshall ฝรั่งปากบอนคนนั้นไม่ยั่นย่อ ต่อความยาว โต้กลับหนักกว่า

แอนดรูว์เริ่มจดหมายเปิดผนึกของเขาว่า “คุณพอลีนมีเสรีที่จะวิพากษ์ผมมากแค่ไหนก็ได้ที่เธอมุ่งหมาย แต่ถ้าเดอะเนชั่นต้องการจะเป็นสื่อที่ได้รับการเชื่อถือในระดับนานาชาติ ท่านและนักเขียนบทความของท่านจำเป็นต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ถูกต้องเสียหน่อย”

แอนดรูว์ชี้ข้อผิดพลาดในบทความของพอลีนว่าอยู่ที่ เธอกล่าวหาเขาเป็นคนเขียนข่าวเรื่องบริษัทปูนซีเม็นต์ไทยทำการสร้างเรือนสุขา (outhouse) ราคาสี่หมื่นดอลลาร์สำหรับให้พระเทพรัตนราชสุดาทรงใช้ครั้งเดียวในระหว่างเสด็จเยือนทะเลสาบ Yeak Lom ในกัมพูชา เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์

แท้จริงเรื่องห้องส้วมสุดแพงนี้นักข่าวเขมรของหนังสือพิมพ์แขมร์ไทมส์เป็นคนเขียน ต่อมาหนังสือพิมพ์แคมโบเดียเดลี่ย์นำเสนอบ้าง โดยคราวนี้มีการสัมภาษณ์แอนดรูว์ประกอบ จากนั้นสำนักข่าวต่างประเทศจำนวนมากพากันเสนอข่าวนี้กันจ้าละหวั่น ทั้งเดอะการ์เดียน เอเอฟพี เดอสปีเกิล (เยอรมนี) และ ไชน่าเดลี่

ครั้นถึงวันพระเทพฯ เสด็จจริงก็มิได้ทรงใช้ส้วมนี้แต่อย่างใด เพียงทรงไปทอดพระเนตรดูจากภายนอกเท่านั้น อย่างไรก็ดีบริษัทปูนซีเม็นต์ไทยแถลงว่าจะมอบห้องสุขาที่สร้างใหม่นี้ให้ท้องที่นำไปใช้เป็นสำนักงานต่อไป





แต่กระนั้นบทความของพอลีนกล่าวหาแอนดรูว์เขียนข่าวแจกนักสือพิมพ์ต่างๆ โดยได้รับการว่าจ้างมาทำการโจมตีราชนิกุลแห่งสถาบันกษัตริย์ไทย จึงถูกแอนดรูว์ย้อนเอาว่า ผู้ที่กระทำผิดอาญาโดยการติดสินบนคอรัปชั่นนั่นเป็นพอลีนเองต่างหากที่ถูกศาลสหรัฐพิพากษาความผิด

ในตอนท้ายๆ ของจดหมาย แอนดรูว์บอกให้พอลีนและเดอะเนชั่น (อันรวมถึงรายชื่อที่เขาอ้าง อัจฉรา ดีบุญมี บรรณาธิการ จินตนา ปัญญาอาวุธ บรรณาธิการผู้จัดการ และเทพชัย หย่อง หัวหน้ากองบรรณาธิการ) ไปลงทะเบียนเรียนวิชา ‘นิเทศ ๑๐๑’ เสียหน่อยก็จะดี

เขายังกล่าวถึงพรพิมลว่าไม่ได้มีพื้นฐานทางด้านการหนังสือพิมพ์มาเลย แต่มาเป็นคอลัมนิสต์ประจำของเนชั่นที่เขียนถึงเรื่องจรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ ในบทความชื่อ ‘A tale of an outhouse and the ignominy of journalism’ ที่เต็มไปด้วยการโจมตีเขานั้น จึงเป็นเรื่องประหลาดอย่างยิ่ง

ชื่อเสียงของพอลีนมีอยู่อย่างเดียวที่อ้างได้ มาจากการที่เธอถูกพิพากษามีความผิดในสหรัฐเมื่อปี ๒๕๔๓ โทษฐานติดสินบนคณะกรรมการพรรคเดโมแครทด้วยเงินจำนวน ๖๙๐,๐๐๐ ดอลลาร์ เพื่อซื้ออิทธิพลให้กับบริษัทแห่งหนึ่งที่เธอรับจ้างเป็นตัวแทน

ต่อมาในปี ๒๕๔๔ คดีดังกล่าวศาลสหรัฐตัดสินลงทัณฑ์ด้วยการจองจำนางพรพิมลในบ้านเป็นเวลา ๖ เดือน ปรับอีก ๓ พันเหรียญ ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเบาไป




บทความวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ชิ้นนั้นในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น อ้างว่าแอนดรูว์ไม่รู้จักตรวจสอบความจริงที่ทูตไทยประจำกัมพูชา นายณัฐวุฒิ โพธิสาโร เป็นผู้ทาบทามให้สยามซีเม็นต์ทำการก่อสร้างห้องส้วมรับเสด็จฯ พระเทพฯ แอนดรูว์ตอบว่าเขาไม่เคยกล่าวเลยว่าพระเทพฯ ทรงขอให้มีการสร้างห้องส้วมติดแอร์หลังนี้

อีกทั้งประเด็นที่พอลีนเขียนว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือหุ้นจำนวนมากอยู่ในบริษัทปูนซีเม็นต์ไทยผู้ควักกระเป๋าจ่ายค่าส้วมราคาแพงนี้ เป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่ใช่กิจการส่วนพระองค์ ก็ถูกแอนดรูว์แย้งด้วยข้อมูลจาการวิจัยของ Porphant Ouyyanont และ Somsak Jeamteerasakul ที่พบว่า

“เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้วที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ไม่เคยได้รับการดูแลตรวจสอบโดยรัฐบาลใด ไม่มีรัฐบาลไหนสามารถเข้าไปจัดการกับ ‘ทรัพย์สินฯ’ ได้”

ดังนั้นแอนดรูว์จึงชี้ว่าในเมื่อทรัพย์สินฯ เป็นผู้จ่ายค่าส้วมแล้ว การที่ทูตไทยประจำกัมพูชาจะสั่งสร้างส้วมโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจาก สนง.ทรัพย์สินฯ ได้อย่างไร

“ถ้าพอลีนบอกว่าค่าจัดสร้างส้วมนี้รัฐบาลคณะทหารฮุนต้าเป็นผู้สั่งจ่าย เงินภาษีของประชาชนน่ะหรือ ข้อเขียนของพอลีนยิ่งเลอะเทอะไปใหญ่"


ooo

Related Story:
News Beat

https://www.facebook.com/NewsBeatSocial/videos/1003697503043624/



เห็นปัญญาชนผู้รักประชาธิปไตยพูดเรื่องคนเสื้อแดงต้องก้าวข้ามทักษิณแล้วหดหู่แบบพูดไม่ออก








เห็นปัญญาชนผู้รักประชาธิปไตยพูดเรื่องคนเสื้อแดงต้องก้าวข้ามทักษิณแล้วหดหู่แบบพูดไม่ออก

โดย Sarayut Tangprasert .

ได้ข่าว ช.อ้วน หรือ ศักดิ์สิทธิ์ กิ่งมาลา คนขายกาแฟ วัย 53 ปี เมีย 1 ลูก 3 คนเสื้อแดง จ.อุบล เส้นเลือดในสมองแตก พึ่งเสียชีวิตไปเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
.
ก่อนหน้านั้นเพียงวันเดียว เขาและคนเสื้อแดง อุบล อีกจำนวนหนึ่ง ได้ไปรายงานตัวกับทหารในค่าย .
.
พวกเขาต้องไปทุกวันจันทร์ ทุกสัปดาห์หลังรัฐประหาร เป็นเวลาเกือบสองปีแล้ว
.
ความตึงเครียดข้างต้น ไม่รวมถึงการโดนติดตาม โดนโทรตามไม่เลือกเวลา ตลอดช่วงปีเศษที่ผ่านมา
.
ช.อ้วน บอกเล่ากับศูนย์ทนายว่า .เขาผิดหวังที่กระบวนการยุติธรรมไทยไม่ได้ให้ความเป็นธรรมกับพี่น้องของเขา กับคนเสื้อแดงที่ถูกยิงตายเหมือนหมาที่ "ราชดำเนิน" และ "ราชประสงค์" เมือเมษา-พฤษภา 53
.
เขาทำเพียงแค่ยืนยันจุดยืนในระบอบประชาธิปไตย เขาประกาศว่าชอบพรรคไทยรักไทย-เพื่อไทย ชอบทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ เพียงเท่านั้น
.
เขายืนยันเพียงแค่จะยังใส่เสื้อแดงอยู่ ที่ร้านของเขาจะยังมีรูป ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ติดอยู่ เพียงเท่านี้ที่เขาต้องแลกกับการถูกคุกคาม กดดันอย่างต่อเนื่อง
.
ขนาดยังไม่ (แสดงออกว่า) ก้าวข้าม พวกเขายังต้องเผชิญกับสภาวะอย่างนี้
.
และหากเขายังไม่เสียชีวิต ความคิดของเขา คำพูดของเขาก็คงจะไม่มีใครได้ยิน
.
อาจด้วยมันเป็น น้ำเสียง สำเนียง ภาษาที่มันด้อยค่า ฟังไม่เข้าใจ ไม่ต้องรสนิยม
.
หรือ ในอีกด้าน หากเขาพูดทั้งหมดทั้งมวลที่คิดออกมา แรงกดดันที่พวกเขาจะได้รับก็คงไม่เพียงแค่ นัดกินกาแฟ หรือ เข้าค่าย AF อาหารดีดนตรีเพราะเป็นแน่
.
หากพวกเขาประกาศตัวว่าก้าวข้ามตามที่ท่านทั้งหลายบอก การเป็นคนนอกกฎหมาย คุก ตะราง หรือการต้องสังเวยด้วยชีวิตอย่างเช่น สราวุฒิ ( สิงห์เหล้าขาว อีกหนึ่งคนกล้าของอุบล) เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญ
.
เจ้าของข้อเสนอสามารถรับผิดชอบกับความชิบหายของชีวิตและครอบครัวพวกเขาได้ไหม ?

ที่เขียนมายืดยาวเพราะอยากบอกบรรดาผู้มีต้นทุนทางสังคมทั้งหลายว่า ก่อนที่จะเรียกร้องอะไรจากพวกเขา ก่อนที่จะเรียกร้องจากคนเสื้อแดง เรียกร้องจากตัวเองเพิ่มขึ้นอีกซักนิดจะดีไหม
.
เสนอว่าก่อนที่จะพร่ำบอกว่าพวกเขา "ต้องก้าวข้าม" อะไร ศึกษาทำความเข้าใจวิธีคิดและสภาวะการคุกคามที่พวกเขาต้องเผชิญก่อนจะดีไหม
.
เพราะบางที การศึกษาอาจทำให้คำว่า "ก้าวข้าม" คำว่า "ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์" จะได้ไม่เป็นกับดักสำหรับปัญญาชนเสรีผู้รักประชาธิปไตยอีกต่อไป
.
ที่มาของข้อมูล: ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน / เสื้อแดงอุบลฯ เข้าโรงพยาบาลหลังกลับจากรายงานตัวที่ มทบ.22 เส้นเลือดในสมองแตกเสียชีวิตแล้ว

https://tlhr2014.wordpress.com/2016/02/25/Saksit_ubon/

ปล. ถ้าอยู่ใกล้ ไปงานเผาศพ ช.อ้วนศักดิ์สิทธิ์ กิ่งมาลา พรุ่งนี้ที่วัดป่าบ้านหว่านไฟ ม.8 ต.บ้านดู่ อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด

ภาพจาก
Krekyut Competed



...

ไม่จำเป็นต้องก้าวข้าม ก็ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จนวันตาย
ขอคารวะ



Atukkit Sawangsuk shared Sarayut Tangprasert's album.