วันอังคาร, มิถุนายน 30, 2563

หลุดโลกสากลไปยิ่งกว่าเกาหลีเหนือ ขนาด ‘ผู้ป่วย’ ยังต้องมีกฏระเบียบกำกับ


ไตแลนเดียเนี่ยยิ่งกว่าเกาหลีเหนือแล้วนะ ขนาด ผู้ป่วย ยังต้องมีกฏระเบียบกำกับไว้เป็น “หน้าที่อันพึงปฏิบัติ” หากละเลยจนเกิดความเสียหาย ก็ “อาจมีโทษ” หรือว่า เอ๊ะ ประชากรไทยนี่งั่งมาก ขาดสามัญสำนึก ต้องออกคำสั่ง แจงสี่เบี้ย

ราชกิจจานุเบกษาออกประกาศของแพทยสภา ๑๐ ข้อ แจกแจงละเอียดว่าผู้ป่วยจะต้องประพฤติปฏิบัติอย่างไร ในการ ให้ความร่วมมือ แก่ผู้ประกอบอาชีพเวชกรรม ทั้งนี้โดยอำนาจแห่ง พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ๒๕๒๕ มาตรา ๒๑(๑) ประกอบ ม.๗(๒) (๔)

ข้อแรกที่ว่าเป็น หน้าที่ของผู้ป่วยก็คือ “การเอาใจใส่ดูแลสุขภาพของตนเอง” และ “ปฏิบัติตามคำแนะนำ” ของเวชกร อันนี้คงหมายถึงหมอยา หมอฟัน หมอประสาท หมอผ่าตัด และหมอนวดแผนใหม่ (chiropractors) ไม่ทราบรวมหมอนวดแผนโบราณด้วยหรือเปล่า เห็นหมอเค้าเรียกตัวเองว่าด็อกเต้อกัน

ส่วนหมออาบและหมอนาบที่รัฐบาลนี้จะให้กลับมาเปิดบริการในวันที่ ๑ กรกฎาคมนี้พร้อมกับโรงเรียน โดยมีระเบียบกำกับชนิดผู้ประกอบการบอกว่าถึงเปิดไปก็ไม่มีประโยชน์นั้น ก็เป็นวิธีทำงานแบบทหาร สักแต่ว่าสั่ง จะได้เรื่องแค่ไหน ไม่สน

เอาละ ใครๆ ก็อยากสุขภาพดีและพร้อมที่จะปฏิบัติตนป้องกันป่วยไข้ อาจทำไม่ค่อยจะได้กันเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องมีหมอไว้คอยรักษาไง ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายมาคอยกำกับ นี่เป็นเพราะประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพ ที่รัฐบาลนี้ไม่อยากจ่ายละหรือ

ไอ้การเอาใจใส่ดูแลสุขภาพนี่นะ มันเป็นสามัญสำนึกอยู่แล้ว ในสหรัฐเท่าที่ทราบ (ที่อื่นไม่รู้) เขาเรียกว่า ‘Preventive Care’ เครือข่ายโรงพยาบาล Kaiser Permanente โด่งดังมากที่นำเอาระบบนี้มาใช้ประกอบในการดูแลคนไข้ เขามีหลักการคอยแนะให้ปฏิบัติ แต่ไม่ถึงกับเอากฎหมายมากำกับ

ข้อสองที่ว่า “ผู้ป่วยพึงเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพ” จากประสบการณ์ของตัวเองนะ เวลาไปโรงพยาบาลพบหมอทีไร จะโดนพยาบาลตรวจเช็คร่างกาย น้ำหนัก ความดัน พร้อมทั้งซักไซร้กินยาอะไรบ้าง สูบบุหรี่หรือเปล่า กินเหล้ามากไหม มันเป็นทางปฏิบัติปกติเข้าใจได้ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายค้ำคอ

ข้ออื่นๆ ล้วนอีหรอบเดียวกัน หลีกเลี่ยงการกระทำอัน รบกวน ต่อเวชกร ต้องเคารพสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลากรสาธารณสุข ต้องอ่านเอกสารยินยอมให้ถ่องแท้ น่าจะหลักสากลอยู่แล้วว่าผู้ป่วยต้องลงนามให้ความเห็นชอบต่อการรักษาบางอย่าง เช่นผ่าตัดหัวใจ
 
ในประเทศตะวันตก ความผิดตามกฎหมายที่เรียกว่า ‘Malpractice’ ของผู้ประกอบอาชีพเวชกรรม เป็นสิ่งที่บรรดาคุณหมอเป็นห่วงกันมาก หากคนไข้เป็นอะไรไปโดยไม่บังควร สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากหมอ โดยเฉพาะที่เกิดอาการง่อยเปลี้ยเสียขา หรือถึงตาย

แต่โดยทั่วไปแล้วทางปฏิบัติทั้งสิบข้อที่แพทยสภาไทยออกกฏมากำกับ นั้นเป็นเรื่องแจ้งให้ทราบหรือบอกกล่าวคุยกันให้เป็นที่เข้าใจได้ง่ายๆ ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนถึงขั้นต้องตราเป็นกฎหมาย จะว่าคนไข้เมืองไทยไม่ค่อยรู้ภาษา จริงหรือไม่จริงเพียงใดก็พูดอย่างนั้นไม่ได้

มันเป็นธรรมชาติของผู้ป่วยไข้ ต้องการให้หมอรักษารับภาระไปทั้งหมดอยู่แล้ว ส่วนหนทางป้องกันโรค เช่นเลือกบริโภคอาหารสุขภาพ ออกกำลังกายประจำ รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อโรคบางอย่าง ลดน้ำตาล ไขมัน อะไรเหล่านี้ คนไข้พร้อมทำอยู่แล้ว ทำได้มากน้อยอีกเรื่อง

การที่ต้องมีการออกกฏเป็นทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยข้อโน้นข้อนี้เป็นสิบ นี่สะท้อนลักษณะสังคมบางอย่าง ในทางอำนาจนิยม และรัฐทหาร รัฐบาลชุดนี้และชุดที่แล้วที่มาจากต้นตอเดียวกัน คือการใช้แสนยานุภาพทางทหารยึดอำนาจการปกครอง

คณะยึดอำนาจล้มล้างกฎหมายเดิมและสร้างกฎหมายใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม ในทางที่สงวนอำนาจหลายอย่างไว้แก่พวกตน และริดรอนเสรีภาพหลายอย่างสำหรับประชากรที่ไม่เห็นชอบกับการยึดอำนาจ และต่อต้านการใช้อำนาจอย่างเอาเปรียบ ไม่เท่าเทียม

คณะรัฐประหารสร้างกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่การครองเมืองยาวนานของพวกตน ผู้นำแต่ละคนชอบอ้างเสมอว่าอะไรๆ ต้องเป็นไปตามกฎหมาย (ที่ตนสร้าง) พูดแบบนั้นกับประชาชนในประเทศอารยะที่เขาใช้ระบอบประชาธิปไตยธรรมดา (ไม่มีสร้อย) ฟังไม่ขึ้น

ถึงได้บอกว่าเมืองไทยเวลานี้ ดูทีจะหลุดโลกสากลไปยิ่งกว่าเกาหลีเหนือ

ประเทศนี้ถูกสาป : ถ้าประยุทธเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจได้ นฤมล ตาลำไย หรือใครก็เป็นได้ 😉😁



Chantalak Raksayu
5555 เออจริงด้วย














เมื่อมดตัวน้อยมีพลัง... พลังประชาธิปไตยสากล คนเท่ากัน




พลังประชาธิปไตยสากล คนเท่ากัน เลือกตั้งทุกระดับ ในวันนี้ คือพลังของประชาชนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ กรณีณอน ยิ่งชี้ชัดเจน

วันนี้ เรากำลังเห็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองของพลังประชาชนกลุ่มต่างๆ ในไทย

งานศึกษาวิชาการ โดยเฉพาะด้านรัฐศาสตร์ สิ่งซึ่งต้องการเข้าใจอย่างมากคือสภาพดำรงอยู่ของสังคมการเมืองของปัจจุบัน และมองอนาคตของสังคมการเมืองนั้น ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเป็นอย่างน้อย (เพื่อจะได้ไม่ต้องถอยกลับยาวไปที่ 50 ปี และ 6 ตุลา 2519) พลังของประชาชนที่สนับสนุนการเมืองประชาธิปไตยสากล คนเท่ากัน เลือกตั้งทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชาติเลือกตั้งได้นายกรัฐมนตรี ลงไปถึงระดับเทศบาล เลือกตั้งได้นายกเทศมนตรี และระดับตำบลเลือกตั้งได้ นายก อบต. ได้เป็นพลังสังคมการเมืองที่มีมวลพลังเพิ่มปริมาณมากขึ้นตลอดเวลา

แต่พลังประชาชนที่สนับสนุนประชาธิปไตยสากลนี้ ถูกทำให้เชื่อว่า พวกเขาเป็นพลังส่วนน้อย และอ่อนแอ มีเพียงเสียงกาบัตรเลือกตั้งคนละหนึ่งเสียง นอกจากนั้น ในชีวิตต้องหมอบสยบยอมตลอดเวลา ไม่กล้ามีปากเสียงนัก ยกเว้นต่อสู้คัดค้านด้านสภาพแวดล้อมด้านธรรมชาติด้านเกษตรและเรื่องทำมากินแบบปลาเล็กปลาน้อยในถิ่นของพวกตนเองเท่านั้น ที่เหลือต้องรอคอยความเมตตากรุณาปราณีจากอำนาจรัฐทหารราชการไทย

ปรากฏการณ์ไล่ให้คนพวกนั้นไปอยู่ประเทศอื่น แผ่นดินอื่น ของผู้มีอำนาจในรัฐทหาร ของชนชั้นนำในรัฐทหาร ของสื่อบางค่าย ของดาราบางคน ที่ออกเสียงไล่คนไทยบางคน จนได้รับเสียงเฮ เสียงฮา เป็นเสมือนดาราฮีโร่นำที่ปฏิบัติภารกิจอันยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์

ฝ่ายประชาชนผู้สนับสนุนประชาธิปไตยสากลคนเท่ากัน เรียกการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการกระทำที่ "ล่าแม่มด" แบบฝรั่งยุคโบราณ

การล่าแม่มดมีเสียงดังได้ เพราะการสื่อสารของประเทศมันรวมศูนย์และทางเดียว พวกเขาสามารถพูดบนเวทีการแสดงครั้งเดียว แต่สามารถส่งเสียงดังสะท้อนก้องได้ทั้งประเทศ พร้อมพาดหัวตัวใหญ่ของหนังสือพิมพ์ และเรื่องเล่าขานที่ดูจะไม่มีวันจบสิ้น ถึงความกล้าหาญปานฮีโร่

แต่การณ์กลับตาลปัตรเมื่อมาถึงวันนี้ แม้ว่าอำนาจรัฐจะยังอยู่ในมือของรัฐทหารเช่นเดิม

ประการแรก เมื่อมดตัวน้อยรวมตัวเป็นพลัง : ฝ่ายประชาชนผู้สนับสนุนประชาธิปไตยสากลคนเท่ากัน ที่เคยเชื่อว่าพวกตนเป็นเพียงคนจำนวนน้อย เป็นคนตัวเล็กๆ ไม่มีพลังที่จะสร้างเสียงแห่งความเชื่อมั่นศรัทธาในตนเองได้ พวกเขาพบว่า พวกเขามีชุมชนขนาดใหญ่มากๆ ของพวกตนเอง พวกเขาไม่ได้อยู่คนเดียวหรือกับเพื่อนไม่กี่คน ดังนั้น พวกเขากำลังโต้ตอบฝ่ายล่าแม่มดในหลายสิบปีที่ผ่านมา ด้วยวิธีการเดียวกันในแบบออนไลน์ ซึ่งพวกเขาเริ่มค้นพบว่า มันทำงาน มันเป็นไปได้ และมันทำให้ความกลัวของพวกเขาลดน้อยลงทุกขณะ

ประการที่สอง ใครคือประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคมไทยกันแน่? ระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐทหารรัฐประหารวัฒนธรรมระบอบเก่าคนไม่เท่ากัน กับ ฝ่ายประชาชนผู้สนับสนุนประชาธิปไตยสากลคนเท่ากัน :

ข้อมูลชี้ว่า ฝ่ายประชาชนผู้สนับสนุนประชาธิปไตยสากลคนเท่ากันเป็นพลังจำนวนมากที่สุด ยึดมั่นแน่นเหนียวที่สุด และไม่เปลี่ยนแปลงเจตจำนงอุดมการณ์เพื่อร่วมสร้างอนาคตของชาติไทย อย่างน้อยที่สุดก็ 10.6 ล้านคน (สิบล้านหกแสนคน) ที่มีอายุเกิน 18 ปีขึ้นไป

ตัวเลขนี้มาจากการลงประชามติในรัฐธรรมนูญรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง

ประชามติรัฐธรรมนูญรัฐประหารฉบับปี 2550 และฉบับปี 2560 ไม่มีสิ่งซึ่งจะสร้างความจดจำให้สังคมได้เลยว่า เป็นประชามติ เพราะอยู่ใต้อำนาจรัฐประหารและห้ามการคัดค้านรณรงค์ต่อต้าน ทั้งยังถูกจับกุมคุมขัง เป็นการสร้างประชามติรัฐธรรมนูญ "เพื่อพวกเขา" ชาวรัฐประหารเท่านั้น เพื่อใช้อ้างคำเดียวว่า รัฐธรรมนูญนี้มาจากประชามติ ซึ่งฉบับปี 2550 ของรัฐทหาร ก็ถูกฉีกทิ้งโดยรัฐประหารของพวกเขากันเอง หาได้ศักดิ์สิทธิ์สำคัญอย่างแท้จริงไม่

คะแนนเสียงไม่รับรัฐธรรมนูญรัฐประหารฉบับปี 2550 มีถึง 10.74 ล้านคน (มีสิทธิตั้งแต่อายุ 18 ปี 45.09 ล้านคน, มาออกเสียง 25.47 ล้านคน ลงรับ 14.72 ล้านคน ไม่มา 19.12 ล้านคน ถูกนับบัตรเสีย 5 แสน)

คะแนนเสียงไม่รับรัฐธรรมนูญรัฐประหารฉบับปี 2560 มีถึง 10.59 ล้านคน ข้อที่ 2 มีถึง 10.92 ล้านคน (มีสิทธิตั้งแต่อายุ 18 ปี 50.07 ล้านคน, มาออกเสียง 29.74 ล้านคน ลงรับ 16.82 ล้านคน ไม่มา 20.33 ล้านคน ถูกนับบัตรเสีย 9 แสนสามหมื่นคน )

คะแนนเสียงไม่รับรัฐธรรมนูญรัฐประหารที่มีระยะห่างกันกันถึง 10 ปี แต่ยังคงระดับเดิม คือ 10.6 ล้านคนเป็นอย่างน้อย สะท้อนถึงปริมาณที่มากอย่างยิ่งที่ไม่เอากับรัฐประหารระบอบเก่า

ทว่า ที่ผ่านมา พวกเขาเหล่านี้ถูกทำให้เห็นว่าพวกเขาเป็นพวกชนส่วนน้อย แต่ที่จริง พวกเขาเหล่านี้คือชนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่อยู่กระจัดกระจายไปทั่วประเทศ จนไม่อาจสร้างสำนึกในพลังรวมหมู่ของพวกตนได้ ทำให้เชื่อว่าพวกตนคือผีเสื้อปีกบางในป่ารัฐทหาร

ประการที่สาม เมื่อสื่อกระแสหลักอ่อนระทวย สื่อสังคมออนไลน์ผงาด การโจมตีกลับของฝ่ายประชาธิปไตยสากลคนเท่ากัน

เพิ่งสิบปีมานี้เอง หรือเฉพาะเจาะจงก็ 5 ปีที่ผ่านมา สื่อทีวี วิทยุ กระแสหลักที่อยู่ภายใต้บัญชาการรัฐทหารมาตลอด 7-8 ทศวรรษ ฉับพลันนั้น คนเป็นล้านๆ ก็หลุดออกจากเครือข่ายอำนาจนำของสื่อกลุ่มนี้ แม้แต่ดารากระแสหลัก ยังถูกเมิน เพราะคนจำนวนมากมี youtuber ของกลุ่มตนเอง มีฮีโร่ทวิตเตอร์ของกลุ่มตนเอง แม้แต่ฝ่ายที่เคยไล่ล่าแม่มด ก็แตกกระจายกลายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ไม่มีปากลำโพงขยายเสียงแบบเดิมๆ อีกต่อไป

คอลัมนิสต์ในหนังสือพิมพ์ที่เคยมีสถานะเป็นพญาเป็นเจ้าพ่อ เพียงตวัดถ้อยคำไม่กี่ครั้งก็สังหารทำร้ายเหยื่อได้ ต่างมีเสียงลดเบาลงๆ ทุกขณะ พอๆ กับพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ การขาดทุน การลดขนาด การเปลี่ยนแพลทฟอร์มการสื่อสารของสื่อทีวีวิทยุหนังสือพิมพ์ที่เคยรวมศูนย์ใต้กำกับของรัฐทหาร คือภาวะกลืนกินของเสียงกัมปนาทของอดีตเหล่าผู้เคยโห่ร้องล่าแม่มดให้เริ่มร่ำไห้

แต่เหล่าผีเสื้อในป่า กลับกลายเป็นเหล่าฝูงมดแดงที่สร้างรังใหญ่โตของตนเอง เป็นเหล่าผึ้งเหล่าต่อที่พร้อมต่อยคู่ต่อสู้ และอาจกลายเป็นฝูงตั๊กแตนที่โจมตีผืนนาอันมีอาหารอุดมอย่างฉับพลันและดุร้าย

วันนี้ เรากำลังเห็นความเปลี่ยนแปลงของพลังประชาชนของกลุ่มต่างๆ ในสังคมการเมืองไทย

แน่นอน มันไม่เหมือนเดิมแล้ว

ข้าพเจ้าได้แต่หวังว่า ทุกๆ ฝ่าย จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นคนเท่ากันของทุกคน รักษาจิตใจของแก่นหลักสิทธิมนุษยชนให้ถึงที่สุด

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
นักวิชาการอิสระ

ขอบคุณภาพจากทีมมติชนทีวี


อ.หวาน พูดถึง #หมู่บ้านเสื้อแดง ถูกทำลาย




อย่าเศร้าเสียใจเลยนะคะ ที่มาถึงวันนี้ #หมู่บ้านเสื้อแดง ต้องถูกทำลายลง แม้ร่องรอยทางประวัติศาสตร์บน #ป้ายหมู่บ้าน พวกเขาก็ยังตามมาบดขยี้ เหยียบย่ำทำลาย ด้วยเงิน ด้วยอำนาจ ด้วยการข่มขู่คุกคาม

สิ่งที่พี่น้องที่มีจิตใจบริสุทธิ์ได้ร่วมกันวางรากฐานการศึกษาทางการเมือง พยายามลงหลักปักฐานกลางหมู่บ้าน บ้างถิ่นกันดารห่างไกล บ้างกลางใจเมืองของภูมิภาค มันไม่ได้สูญหายไปไหน

อะไรที่ไม่ดีเลือกทิ้งไป อะไรที่ใช้ประโยชน์ได้เราจะเก็บไว้ สานต่อภารกิจของนักต่อสู้ที่แท้จริง ไม่ใช่พวกแปลกปลอม ที่เข้ามาฉกฉวยโอกาสหาผลประโยชน์จากความกระหายความรู้การเมืองของพี่น้องในยุคนั้น

8 ปีแล้ว วันนี้ พี่น้องที่ได้ฐานความรู้การเมืองจากหมู่บ้านเสื้อแดง ก็ได้มาต่อยอดจากสื่อโซเชียล จนเป็นพลังที่แกร่งกล้าขึ้นกว่าเดิมมาก

สักวัน เราจะต้องได้ร่วมกันปักธงแดงกลางนคร!!

สีแดง คือสีของเลือดเนื้อชีวิตจิตวิญญานเสรี จริงแท้ และสากล

เราสู้ต่อไปค่ะ พี่น้อง ❤
...




แด่ทนายไพร่ ของขบวนการประชาชน... สู้ด้วยกันอีกหลายยกนะ



จาก
คนไทยเดิ้ง เซิ้งกวี



จบภารกิจวันนี้ด้วยการไปฝากเงินช่วยเหลือนักโทษการเมือง 7 คน คนละ 3,000 บาท ความจริงยังเหลือนักโทษอีกจำนวนมากที่ยังคงถูกคุมขังอยู่ด้วยข้อหาการเมือง ทั้งคดีชุมนุม , คดี 112 , คดี 116 และคดีความมั่นคงอื่นๆ

สัปดาห์นี้ อัยการฟ้องจำเลยเพิ่มอีกหลายคน ในชะตากรรมของประเทศ มีชะตากรรมของคนเล็กคนน้อยอยู่

หากการเดินทางไปทำคดีจะพอมีกำลังใจอยู่บ้าง ก็ด้วยรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของขบวนประชาชน แม้บางทีจะมีบทบาทหน้าสื่อจนหลายคนอาจมองว่าทำนั่นนี่มามาก แต่ความจริงเทียบไม่ได้เลยกับความเสียสละและหัวจิตหัวใจของคนในเรือนจำ

สูดหายใจลึกๆ สู้ด้วยกันอีกสักยก


แง่มุมหนึ่งของการอภิวัตน์ประชาธิปไตย Unsung Heroes ที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง..




.....ผู้สูงอายุที่พยายามมาร่วมงานนั้นล้วนแต่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนจากการเข้าร่วมเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆที่มีท่านปรีดีเป็นผู้นำ คนรุ่นลูกหลานที่มาร่วมงานจำนวนไม่น้อยพ่อแม่ปูย่าตายายของพวกเขาล้วนเป็นผู้เสียสละเช่นกัน และทำให้คนรุ่นลูกหลานต้องยากลำบากเพราะการเสียสละนั้น แต่ทำไมทุกคนยังเคารพท่านปรีดีอย่างมาก ไม่มีใครต่อว่าหรือน้อยเนื้อต่ำใจจากชีวิตที่เปลี่ยนไป คำตอบที่ผมพอจะนึกได้ นอกจากทุกท่านตระหนักดีว่าสิ่งที่ตนทำหรือบรรพบุรุษทำนั้นเป็นการทำเพื่อประเทศชาติแล้ว สิ่งที่ผูกใจไม่ให้ทุกคนน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตของตน คือการเสียสละของทุกคน ซึ่งไม่ใช่การเสียสละเล็กๆน้อย แต่เป็นการเสียสละทั้งชีวิต และมีผลต่อลูกหลานต่อมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญคือท่านปรีดีและครอบครัวเป็นตัวอย่างของการเสียสละ ที่ทุกคนยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ก็เพราะใช้ความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ผูกร้อยกันไว้นั่นเอง

.....เรื่องที่กล่าวถึงนี้ผมไม่เคยเล่าที่ไหนมาเลย เก็บไว้ในใจมาประมาณ 30 ปีแล้ว พอดีว่า 24 มิถุนายนปีนี้มีคนพูดถึงการอภิวัตน์ของคณะราษฎรกันมาก ผมจึงนำเรื่องนี้มาเล่าเพื่อจะฝากไปถึงผู้ปกครองและขุนศึกทั้งหลายว่าความพยายามบิดเบือนการอภิวัตน์ของคณะราษฎรอย่างน่าละอายเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง และทำลายฝ่ายตรงข้ามที่เรียกร้องประชาธิปไตยนั้น นอกจากพวกท่านกำลังนำประเทศชาติเข้าสู่ยุคทมิฬครั้งใหม่อย่างยากจะหาทางออกแล้ว พวกท่านกำลังพิสูจน์ให้เห็นอีกว่าไม่มีความเป็นมนุษย์หลงเหลืออยู่ เพราะกำลังเหยียบย่ำคนที่เขาเสียละอย่างยิ่งใหญ่เพื่อประเทศชาติ และด้วยความเสียสละของคนเหล่านี้มิใช่หรือพวกท่านจึงมีโอกาสเสวยอำนาจและกดหัวประชาชนอยู่ขณะนี้

การบิดเบือนประวัติศาสตร์คงมีวันที่พวกท่านต้องรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์ แต่การเป็นผู้ปกครองที่ปราศจากความเป็นมนุษย์ผมไม่ทราบว่าจะรับผิดชอบอย่างไร............
Atukkit Sawangsuk
..

อ่านโพสต์ของคุณ Lertchai Sirichai ต่อ

Lertchai Sirichai
Yesterday at 12:36 PM

แง่มมุหนึ่งของการอภิวัตน์ประชาธิปไตย

ผมไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะได้รู้จักครอบครัวของท่านปรีดี พนมยงค์ เพราะผมไม่มีทางจะเข้าไปเกี่ยวข้องอะไรเลยไม่ว่าจะด้านใด ผมไม่ใช่นักศึกษาธรรมศาสตร์ ไม่ได้เรียนทางกฎหมายหรือการเมืองการปกครอง ไม่มีญาติหรือมีเพื่อนที่มีประวัติหรือลู่ทางที่จะเข้าไปรู้จักครอบครัวของท่านได้เลย

ผมเป็นเช่นเดียวกับคนอีกจำนวนมากที่สนใจศึกษาความเป็นมาของสังคมไทย คือ เคารพนับถือท่านปรีดีที่เสียสละเพื่อประเทศไทยอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็รู้สึกสะเทือนใจไปกับชะตากรรมที่ท่านและครอบครัวได้รับ

ผมเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์หลายปี เจ้าของมหาวิทยาลัยคืออาจารย์ไสว สุทธิพิทักษ์ ท่านเรียนที่ธรรมศาสตร์ในยุคที่ท่านปรีดีเป็นผู้ประศาสน์การ และท่านเป็นคนหนึ่งที่ท่านปรีดีชวนร่วมขบวนการเสรีไทย เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยไม่ถูกนับว่าเป็นประเทศแพ้สงคราม ส่งผลให้ขบวนการเสรีไทยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง เมื่อมีการเลือกตั้งพรรคที่สนับสนุนท่านปรีดีจึงได้รับการเลือกตั้งเข้ามามาก อาจารย์ไสวก็ไปลงเลือกตั้งที่นครศรีธรรมราชและได้รับเลือกตั้ง เมื่อจัดตั้งรัฐบาล อ.ไสวได้รับตำแหน่งลาขานุการนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดการรัฐประหารปี 2490 ท่านปรีดีต้องหนีออกนอกประเทศ และในปี 2492 ท่านได้กลับมานำขบวนการประชาธิปไตยยึดอำนาจคืน แต่ล้มเหลว ท่านปรีดีต้องหนีออกประเทศอีกครั้ง และไม่ได้กลับประเทศอีกเลย ท่านปรีดียอมรับภายหลังว่าการรัฐประหารปี 2490 และความล้มเหลวของการยึดอำนาจคืนดังกล่าว ทำให้ความพยายามของคณะราษฎรที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้นต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง

แต่ผลจากการยึดอำนาจไม่สำเร็จทำให้รัฐบาลเผด็จการสมัยนั้นดำเนินการกวาดล้างผู้ที่สนับสนุนท่านปรีดี มีบุคคลจำนวนมากถูกปลดจากราชการ จำนวนมากถูกจับกุมคุมขัง และจำนวนมากถูกเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยม อาจารย์ไสวเห็นว่าตนเองจะไม่ปลอดภัยจึงหลบหนีไปลี้ภัยอยู่ประเทศสิงคโปร์กว่า 10 ปี

เมื่ออาจารย์ไสวกลับมาประเทศไทยก็มาก่อตั้งวิทยาลัยลัยธุรกิจบัณฑิตย์ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ผมเข้าไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งแต่ปี 2529 ก็ได้เห็นชัดเจนว่าอาจารย์ไสวพยายามตอบแทนบุญคุณท่านปรีดี ทั้งในแง่การเผยแพร่ผลงานและเกียติคุณของท่าน และการช่วยเหลืองานต่างๆที่หลายฝ่ายร่วมกันจัดเพื่อรำลึกถึงท่านหรือเผยแพร่เกียรติคุณของท่าน

ในปี 2532 มีเพื่อนในมหาวิทยาลัยบอกว่ามีลูกสาวของท่านปรีดีมาเป็นหัวหน้าสาขาภาษาจีน ผมก็นึกออกได้ทันทีว่าอาจารย์ไสวคงเชิญมา ส่วนความรู้ของท่านคงไม่ต้องห่วงเพราะผมทราบดีอยู่ก่อนแล้วจากการติดตามชีวประวัติของท่านปรีดีว่าท่านและครอบครัวพำนักอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลานาน และลูกสาวของท่านคนหนึ่งได้ศึกษาภาษาจีนจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของจีนจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท และผมยังทราบเพิ่มเติมภายหลังว่าท่านยังเป็นอาจารย์สอนภาษาจีนอยู่ในสถาบันภาษาและอารยธรรมตะวันออกในประเทศฝรั่งเศสอยู่หลายปีด้วย เมื่อท่านผู้หญิง พูนศุขและลูกคนอื่นเดินทางกลับประเทศไทยในปี 2530 ลูกสาวคนที่ผมกล่าวถึงนี้ยังเป็นอาจารย์อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสอีกช่วงหนึ่งและเดินทางกลับมาสมทบในปี 2531

ผมทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าลูกสาวท่านปรีดีที่มาเป็นอาจารย์ชื่อ “วาณี” นามสกุล “พนมยงค์ - สายประดิษฐ์” ผมยิ่งสนใจมากขึ้นอีก เพราะผมทราบมาก่อนแล้วว่าลูกสาวของท่านปรีดีคนหนึ่งแต่งงานกับลูกชายของกุหลาบ สายประดิษฐ์ ซึ่งเป็นอีกท่านหนึ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยเคารพนับถือ เพราะเป็นนักเขียนนักหนังสือพิมพ์ที่ต่อสู่เพื่อความเป็นธรรมและเสรีภาพของคนไทย ผลงานของท่านยังคงเป็นปากเสียงให้แก่คนจนและผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพมาจนถึงปัจจุบัน

ผมจึงรู้สึกว่าอาจารย์วาณีเป็นคนสำคัญสำหรับผม และผมอยากจะหาโอกาสเข้าไปแสดงความเคารพและขอความรู้จากท่าน แต่ว่าระยะแรกๆก็ยังไม่ได้พบ เนื่องจากท่านจะมาทำงานที่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์เพียงสัปดาห์ละ 1 วัน ซึ่งก็เป็นความตั้งใจของ อ.ไสว สุทธิพิทักษ์ เพราะขณะนั้นอาจารย์วาณีกำลังต่อสูกับโรคมะเร็งอยู่ คือมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ และผ่านการผ่าตัดมาแล้ว เสียงของท่านจึงแหบแห้งเวลาพูด เมื่อเห็นท่านจากภายนอกก็พอรู้ว่าร่างกายของท่านไม่สู้แข็งแรงนัก อาจารย์ไสวจึงขอให้ทำหน้าที่เป็นเพียงหัวหน้าสาขา มามหาวิทยาลัยสักสัปดาห์ละวันก็พอ ซึ่งก็พบว่าอาจารย์วาณีสามารถใช้ประสบการณ์ที่มีบริหารงานสาขาได้เป็นอย่างดี แต่ลึกกว่านั้นก็คืออาจารย์ไสวอยากจะใช้โอกาสนี้ได้ช่วยดูแลครอบครัวของท่านปรีดีบ้าง

โอกาสที่ผมรู้จักอาจารย์วาณีได้อย่างจริงจังก็มาถึง และนำผมไปรู้จักครอบครัวของท่านปรีดี ซึ่งรวมถึงท่านผู้หญิงพูนศุขและลูกๆของท่าน

โอกาสดังกล่าวนี้คือ ลูกศิษย์ของอาจารย์ปรีดีและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ ตกลงกันที่จะจัดงานรำลึกและเผยแพร่ผลงานของท่านปรีดีเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก โดยจะจัดที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ผมไม่แน่ใจว่าก่อนหน้านี้มีการจัดต่อเนื่องกันมาหรือเปล่า ดูเหมือนจะจัดในวันที่ 24 มิถุนายน แต่ก็จำได้ไม่แม่นว่าจัดวันไหนแน่ ผมมีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม 2 ปีต่อเนื่องกัน

ในวันงานในห้องประชุมใหญ่จะมีการปาฐกถา การอภิปราย และการแสดง หน้าห้องประชุมจะมีการจัดนิทรรศการ โดยอาจารย์ไสวรับผิดชอบในการจัดนิทรรศการ ตอนนั้นนอกจากสอนหนังสือแล้วผมยังมีหน้าที่ทำงานเผยแพร่วัฒนธรรม ซึ่งก็ผ่านการจัดนิทรรศการใหญ่ๆมาหลายครั้ง อาจารย์ไสวมอบหมายให้ผมช่วยจัดนิทรรศการ ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งหมดทั้งในส่วนเนื้อหาที่จะจัด และการออกแบบจัดทำ การออกแบบจัดทำคงไม่ยาก เพราะผมมีทีมงานอยู่แล้ว แต่ที่ยากคือเนื้อหาที่จะจัด เพราะผมไม่รู้เลยว่าประเด็นที่ควรจะจัดคืออะไร มีรายละเอียดอย่างไร จึงทำให้ผมและอาจารย์วาณีได้พบกัน ท่านสนับสนุนงานจัดนิทรรศการอย่างเต็มที่ โดยท่านพาผมไปที่บ้านเพื่อพูดคุยกับคุณแม่คือท่านผู้หญิงพูนศุขและพี่ๆของท่าน และติดต่อลูกศิษย์อาจารย์ปรีดีและเสรีไทยที่ยังเหลืออยู่ให้ผมสัมภาษณ์ด้วย ซึ่งทำให้ผมเบาใจไปได้มาก และสามารถจัดนิทรรศการได้เรียบร้อยทั้ง 2 ปี

เมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับอาจารย์วาณีอย่างใกล้ชิด ผมเห็นอะไรหลายอย่างจากผู้หญิงคนนี้ ร่างกายภายนอกดูไม่แข็งแรงนัก เสียงที่พูดดูไม่แจ่มใส แต่พลังแรงใจของท่านสูงมาก เมื่อท่านพูดจะมีรอยยิ้มปนอยู่กับคำพูดตลอดเวลา ไม่เคยแสดงออกถึงความอ่อนแอที่ต้องต่อสู่กับโรคร้ายให้เห็นเลย ท่านไม่พูดน้อยจนน่าอึดอัดและไม่พูดมากจนน่ากลัว ที่จริงเนื้อเรื่องต่างๆที่จะใช้จัดนิทรรศการท่านจะชี้หรือบอกได้เลย เพราะท่านรู้เรื่องของท่านปรีดีดีมากอยู่แล้ว ทั้งเรื่องความคิดและงานต่างๆที่ท่านปรีดีได้ทำให้ประเทศไทย และที่ตั้งใจทำแต่ยังทำไม่สำเร็จ แต่ที่คนภายนอกจะรู้สู้ท่านไม่ได้ก็คือท่านปรีดีและครอบครัวผ่านวันเวลาที่ทุกข์ยากและเจ็บปวดมาได้อย่างไร โดยที่ยังรักษาความดีงามให้คนเคารพนับถือได้ตลอดมา ทว่าอาจารย์กลับไม่บอกอะไรเลย แต่ช่วยจัดประสบการณ์ให้ผมไปศึกษาข้อมูลเอง ต่อเมื่อถามเรื่องต่างๆแบบเจาะจงและเป็นข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ความเห็นท่านก็ยินดีตอบ ผมจำได้ว่าผมโทรศัพท์ถึงท่านหลายครั้ง แต่ไม่ค่อยได้คำตอบเกี่ยวกับเนื้อหา แต่มักได้คำตอบว่าอยากจะคุยกับใครไหม ถ้าท่านพอจะช่วยนัดให้ได้ท่านก็จะดำเนินการให้ ทำให้ผมพอรับรู้ได้ว่าที่อาจารย์วาณีใช้วิธีการเช่นนี้ ก็เพื่อจะให้เรื่องของอาจารย์ปรีดีออกมาจากคนอื่นมากที่สุด ไม่ใช่ออกมาจากครอบครัวของท่านปรีดีเองเป็นหลัก

อาจารย์วาณีทำตัวธรรมดามาก แต่งตัวง่ายๆ อยู่ง่ายๆ ไปไหนมาไหนง่ายๆ อาจารย์ในสาขาภาษาจีนถึงจะไม่ได้พบกับท่านมากนักแต่ก็ทำงานกับท่านด้วยความสบายใจ ซึ่งที่จริงท่านมีความรู้และประสบการณ์มาก ท่านควรจะมีเรื่องพูดให้ใครต่อใครฟังได้มากมาย ทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับท่านปรีดี ที่เกี่ยวกับกุหลาบ สายประดิษฐ์ผู้เป็นบิดาของสามี และประสบการณ์อื่นๆ แต่ท่านกับทำตัวเป็นอาจารย์ที่เรียบงาย ไม่พูดในเชิงที่แสดงว่าตนรู้อะไรมากกว่าใคร ถ้าท่านจะคุยก็เป็นการถามสารทุกข์สุขดิบหรืองานเฉพาะหน้ามากกว่า แต่หากใครถามท่านถ้าเป็นความรู้ทั่วไปก็จะตอบแบบไม่ปิดบัง แต่ถ้าถามเกี่ยวกับเรื่องของท่านปรีดีท่านจะพูดน้อยมาก

ผมได้ไปสัมภาษณ์ท่านผู้หญิงพูนศุขและลูกๆที่บ้านซอยสวนพลู ซึ่งเป็นบ้านที่ท่านผู้หญิงและครอบใช้เป็นที่พำนักหลังจากกลับมาจากประเทศฝรั่งเศส ตัวบ้านเป็นบ้านไม้ 2 ชั้น รูปทรงบ้านเป็นบ้านแบบยุโรปที่นิยมปลูกกันมากในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บ้านเก่ามากแล้ว แต่ยังดูแข็งแรกและสะอาดน่าอยู่ ในบ้านมีเครื่องเรือนและเครื่องใช้ในสไตล์เก่าๆเข้ากับตัวเรือน ไม่มีเครื่องประดับหรือเครื่องอำนวยความสะดวกอะไรมากนัก

ผมเข้าไปในบ้านด้วยความรู้สึกค่อนข้างเกร็ง เพราะดูเป็นเหมือนบ้านผู้ดีเก่า และเจ้าของบ้านเป็นคนที่มีเกียรติภูมิสูง มีประสบการณ์ชีวิตที่ยากจะหาใครเทียบเท่าได้ แต่เมื่อได้เข้าไปและได้นั่งแล้วก็ลดความตื่นเต้นได้เป็นลำดับ เพราะท่านผู้หญิงพูนศุขเป็นคนใจดี ยิ้มแย้มแจ่มใส พูดกับเราเหมือนย่ายาย ลูกของท่านที่ผมเห็นตอนนั้นและร่วมให้สัมภาษณ์ด้วยมี 3 คน คือ อาจารย์วาณีซึ่งเป็นลูกคนสุดท้อง คนที่เป็นพี่ขึ้นไปคืออาจารย์ดุษฎี ซึ่งก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่สังคมรู้จักดี เนื่องจากท่านปรากฏตัวในที่สาธารณะบ่อยๆ เพราะเป็นครูดนตรีที่มีความสามารถสูง จนได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ อีกคนหนึ่งเป็นพี่สาวคนถัดขึ้นไปอีกชื่อสุดา

ผมไปวันนั้นด้วยความเกรงใจอย่างมาก ตั้งใจว่าจะรีบสัมภาษณ์แล้วรีบกลับ แต่ปรากกฎว่าไปในช่วงเย็นซึ่งเป็นเวลาอาหารพอดี ทางเจ้าของบ้านได้ชวนผมทานข้าวด้วย ซึ่งผมปฏิเสธอย่างแข็งขัน เพราะไม่ต้องการสร้างความยุ่งยากใดๆให้แก่เจ้าของบ้าน แต่ไม่อาจปฏิเสธน้ำใจได้เลย ผมจึงได้ร่วมโต๊ะอาหารแบบนั่งตัวแข็ง เพราะไม่เคยรู้จักใครมาก่อนเลยยกเว้นอาจารย์วาณี ยิ่งมีท่านผู้หญิงร่วมรับประทานอยู่ด้วยยิ่งรู้สึกว่าเราเป็นเด็กรุ่นหลังมาก แต่เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ เพราะทุกคนใจดีและมีน้ำใจมาก

ผมสังเกตได้ว่าที่บ้านนี้เขาจะไม่พูดเรื่องการเมืองกันเลย คุยกันแต่เรื่องชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องอาหารการกิน การถามถึงสารทุกข์สุขดิบของคนที่รู้จัก และที่สำคัญคือไม่พูดถึงการเมืองในสมัยนั้นเลย อาจารย์วาณีก็เองไม่เคยเอ่ยถึงเหตุการณ์บ้านเมืองเช่นกัน ที่จริงผมเองก็อยากทราบเหมือนกันว่าลูกของท่านปรีดีที่ใช้ชีวิตอยู่กับท่านปรีดีในต่างประเทศมาตลอดนั้นมองการเมืองไทยอย่างไร แต่ไม่มีโอกาสได้ยินเลย และหากติดตามข่าวสารเกี่ยวกับคนในครอบครัวของท่านปรีดีก็คงไม่มีใครเคยได้ยินเช่นกันว่ามีใครออกมาแสดงความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ตามทัศนะของผมน่าจะเป็นเพราะทั้งท่านผู้หญิงพูนศุขและลูกๆไม่อยากให้ตระกูลของท่านปรีดีต้องถูกนำไปเป็นประเด็นการเมืองขึ้นมาอีก เหมือนที่ท่านปรีดียอมใช้ชีวิตอยู่ต่างแดนอย่างยากลำบาก และยอมที่จะสิ้นชีวิตอยู่ต่างแดน เพราะเกรงว่าหากท่านกลับมาประเทศไทยก็จะมีคนหยิบประเด็นปัญหาที่อ่อนไหวมาสร้างเป็นประเด็นทางการเมือง ซึ่งก็จะสร้างความยุ่งยากให้แก่ประเทศชาติ ท่านยอมที่จะให้ความจริงตายไปกับตัวท่านดีกว่าที่จะเกิดปัญหายุ่งยากต่อบ้านเมือง มีหรือที่ภรรยาและลูกๆจะไม่เข้าใจการเสียสละของท่านปรีดี ดังนั้นท่านจึงกลับมาอยู่เมืองไทยแบบคนที่มีความหวังดีต่อประเทศชาติ ท่านจะยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองเฉพาะเรื่องของท่านปรีดี และจะพูดเฉพาะเมื่อมีคนถาม และจะพูดเฉพาะในแง่มุมว่าท่านปรีดีทำอะไร มีเจตนาดีต่อบ้านเมืองอย่างไร และเป็นคนที่มือสะอาดไม่เคยหาผลประโยชน์ใส่ตัวอย่างไร ท่านไม่เคยพูดในลักษณะโจมตีตัวบุคคล หรือต้องการรื้อฟื้นเรื่องราวเลย และอีกเรื่องที่ตระกูลของท่านยอมไม่ได้ก็คือการกล่าวหาท่านปรีดีในทางที่เสียหาย ท่านจะฟ้องร้องทุกครั้งและท่านก็ชนะคดีทุกครั้ง

การสัมภาษณ์วันนั้นก็ยิ่งช่วยชี้ให้เห็นข้อสรุปที่ผมกล่าวไว้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น คือ ผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนจะพูดอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะท่านผู้หญิงพูนศุขท่านเป็นผู้ใหญ่มาก ท่านไม่แพร่งพรายความรู้สึกนึกคิดของท่านต่อเหตุการณ์ต่างๆให้รับรู้ได้เลย ท่านตอบให้ทราบข้อเท็จจริงไม่มากนัก เหมือนท่านไม่อยากจะรื้อฟื้นเรื่องใดๆขึ้นมาอีก มีแต่ลูกๆที่จะช่วยกันตอบคำถามที่ผมถาม แต่จะตอบตามข้อเท็จจริง และไม่พูดอะไรที่ไม่ได้ถาม โดยเฉพาะไม่มีการพูดแบบกล่าวหาหรือโจมตีใคร ไม่พูดแบบโอ้อวด ไม่เรียกร้องความสำคัญ ไม่มีการตัดพ้อต่อว่าอะไรเลย

ผมขอกลับไปยังเรื่องที่คุยกับอาจารย์วาณีที่มหาวิทยาลัยอีกครั้ง ผมได้พูดคุยกับท่านถึงงานที่ท่านทำอยู่ขณะนั้น มีงานหนึ่งที่ท่านเล่าให้ฟังว่าท่านทำด้วยความสุข และพยายามทำงานอย่างเต็มความสามารถ คือท่านได้ถวายงานแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ (พระราชอิสริยยศในขณะนั้น) เป็นที่ปรึกษาด้านภาษาจีน ซึ่งอาจารย์วาณีเล่าให้ฟังว่าพระองค์สนใจภาษาจีนมาก และมีพระราชดำริที่จะทำโครงการเกี่ยวกับภาษีจีนหลายโครงการ ผมได้แสดงความคิดเห็นไปว่า น่าจะพอแสดงให้เห็นได้ว่าทางราชวงศ์ไม่มีข้อเคลือบแคลงแล้วว่าท่านปรีดีจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 อาจารย์วาณีพูดเพียงว่าขอบคุณอาจารย์มาก พร้อมด้วยรอยยิ้มกว้าง สะอาด สดใส ซึ่งผมพอรับรู้ความหมายได้ว่าเป็นรอยยิ้มที่แสดงออกถึงความสุขอีกครั้งของท่าน

สำหรับการไปสัมภาษณ์คนที่ใกล้ชิดหรือทำงานร่วมกับท่านปรีดี ผมขอยกตัวอย่างกรณีของครูฉลบชลัยย์ พลางกูร ภริยาของคุณจำกัด พลางกูร เสรีไทยคนสำคัญ โดยในคืนวันที่ญี่ปุ่นบุกประเทศไทยในปี 2484 มีคนไทยจำนวนหนึ่งได้ร่วมกันก่อตั้งองค์การต่อต้านญี่ปุ่นชื่อว่า “เสรีไทย” มีท่านปรีดี พนมยงค์ เป็นหัวหน้า คุณจำกัด พลางกูร เป็นเลขาธิการ

ตอนที่ผมไปสัมภาษณ์นั้นครูฉลบชลัยย์ยังเปิดโรงเรียนดรุโณทยานสอนหนังสืออยู่ แต่ว่าได้ย้ายจากที่เดิมคือสะพานหัวช้างออกมาอยู่ในที่แห่งใหม่แล้ว คือ ริมคลองประปา ถนนประชาชื่น ใกล้ๆกับหมู่บ้านการเคหะท่าทราย ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่รอบนอกหรือชานเมือง โรงเรียนนี้ครูฉลบชลัยย์และสามีร่วมกันจัดตั้งตั้งมาตั้งแต่ปี 2483 หลังจากแต่งงานกันได้ 1 ปี

ที่จริงเมื่อผมเริ่มไปทำงานที่ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ในปี 2529 ผมก็เห็นโรงเรียนนี้แล้ว เพราะตั้งอยู่ใกล้ๆกับมหาวิทยาลัย ซึ่งก็เพิ่งขยายสาขามาจากสามเสนไม่นานเช่นกัน โรงเรียนที่ผมเห็นเป็นโรงเรียนขนาดไม่ใหญ่นัก อาคารเรียนดูไม่โอ่โถง เห็นแล้วก็พอทราบได้ว่ามีการลงทุนไม่มากนัก แต่ก็ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย เพราะมีรั้วรอบขอบชิด ไม่เห็นนักเรียนออกมาเดินเกะกะนอกโรงเรียน แต่เดิมโรงเรียนดรุโณทยานเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษา แต่เมื่อย้ายมาในที่แห่งใหม่คงจะเปิดสอนระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา เพราะผมเห็นมีแต่เด็กๆ แต่ก็มีจำนวนหลายร้อยคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคงเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพ ผู้ปกครองถึงไว้ใจส่งลูกหลานมาเรียน ทั้งที่เป็นโรงเรียนราษฎร์และมีโรงเรียนการเคหะท่าทรายที่เปิดสอนในระดับเดียวกันอยู่ใกล้ๆ

แม้ผมจะเห็นโรงเรียนนี้เกือบทุกวัน แต่ก็ไม่เคยสนใจมาก่อนเลย นอกจากรู้สึกว่าชื่อโรงเรียนมีความหมายดี เพราะไม่เคยรู้เลยว่าโรงเรียนนี้เป็นของใคร ผมเข้าไปในโรงเรียน ได้พบกับครูฉลบชลัยย์ ท่านเป็นคนสูง ร่างท้วม ผิวคล้ำ หน้าตาเอาจริงเอาจัง เมื่อฟังเสียงที่ฉะฉาน เข้มแข็ง ก็พอรู้เลยว่าท่านคือนักสู้ ตอนนั้นท่านอายุ 70 กว่าปีแล้ว แต่ยังทั้งสอนหนังสืออย่างเอาจริงเอาจัง เป็นผู้บริหารโรงเรียน และดูแลทุกอย่างในโรงเรียนด้วยตัวเอง เมื่อได้ฟังเรื่องราวของท่านแล้ว ผมต้องอึ้งเลย เพราะเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการเสียสละ ชีวิตหลายสิบปีของท่านผ่านมาได้ก็ด้วยมีอุดมการณ์ที่สืบทอดมาจากสามีหล่อเลี้ยงเป็นกำลังใจ ทั้งครูฉลบชลัยย์และสามีต่างสำเร็จการศึกษามาจากประเทศอังกฤษ และได้พบกันขณะที่เรียนอยู่ที่อังกฤษนั่นเอง

ในปี 2486 ขบวนการเสรีไทยตกลงกันว่าให้ส่งคุณจำกัด พลางกูรไปประเทศจีนเพื่อเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตรให้ยอมรับบทบาทของเสรีไทย ซึ่งในวันเวลาดังกล่าวท่านเพิ่งแต่งงานกับครูฉลบชลัยย์ได้เพียง 3 ปีเท่านั้น การเดินทางไปประเทศจีนสมัยนั้นยากลำบากมาก แต่คุณจำกัดก็ฝ่าอุปสรรคเดินทางไปจนถึง และสามารถปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายประสบผลสำเร็จ แต่ว่าท่านก็ไม่ได้กลับมาพบกับครูฉลบชลัยย์อีกเลย เพราะท่านเสียชีวิตที่ประเทศจีน

ในวันที่ครูฉลบชลัยย์ให้สัมภาษณ์ท่านเน้นตรงนี้เป็นพิเศษว่าเพิ่งแต่งงานกันได้ไม่นาน ผมตระหนักได้ทันทีถึงคำว่าไม่นาน เพราะครู ฉลบชลัยย์ต้องอยู่ตัวคนเดียวและทุ่มเทพลังใจและความสามารถเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ของสามี ถ้านับถึงวันที่ผมไปคุยด้วยก็ประมาณ 50 ปีแล้วที่ท่านยืนต่อสู้เพียงลำพัง หากนับจนถึงท่านสิ้นชีวิตเมื่อปี 2560 ก็รวมเวลาถึง 74 ปี

อุดมการณ์ของสามีที่ส่งต่อมายังครูฉลบชลัยย์ ก็คือ การดำเนินการโรงเรียนดรุโณทยานให้สามารถสร้างเด็กที่มีความรู้ดี และเป็นคนดีที่รักประชาธิปไตยและเป็นพลเมืองดีของสังคม และการช่วยสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตย โดยครูฉลบชลัยย์เอาอุดมการณ์ทั้ง 2 อย่างนี้รวบเข้าด้วยกันได้ โดยนอกจากท่านตั้งใจทำโรงเรียนที่ดำเนินการตามแนวทางที่ท่านและสามีร่วมกันวางไว้แต่ต้นแล้ว ท่านยังรับลูกหลานของนักประชาธิปไตยที่ถูกรังแกและยากลำบากมาดูแลและให้ได้รับการศึกษาอยู่ที่โรงเรียน นอกจากนี้ท่านคอยดูแลเอื้อเฟื้อต่อนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ได้รับความยากลำบากจากอำนาจเผด็จการ ตัวอย่างกรณีนี้อยากให้ผู้สนใจศึกษาเรื่องที่ครูฉลบฉลัยย์เป็นที่รู้จักและได้รับการเคารพนับถือจากนักศึกษาที่ถูกจับกุมคุมขังหลังจากเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย ดังที่มีผู้เขียนถึงท่านว่า “คุณป้า ผู้อยู่เบื้องหลังบริสุทธิ์คดี 6 ตุลา”

ครูฉลบชลัยย์ดำเนินงานโรงเรียนดรุโณทยานอย่างจริงจัง แม้จะไม่ง่ายเลยสำหรับการดำเนินการโรงเรียนราษฎร์ที่ไม่ได้มุ่งแสวงหาประโยชน์แต่ยืนอยู่ด้วยอุดมการณ์อันดีงาม ครูฉลบชลัยย์จำต้องปิดโรงเรียนนี้ในปี 2549 ในวันที่ท่านมีอายุถึง 90 ปี เพราะท่านทำต่อไม่ไหวแล้ว และท่านก็ไม่มีทายาทที่จะรับภารกิจต่อ โรงเรียนดรุโณทยานจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ของคน 2 คนที่ยอมเสียสละทุกอย่างเพื่อแผ่นดินโดยแท้

สิ่งที่ผมประทับใจครูฉลบชลัยย์อย่างมากในวันที่ผมสัมภาษณ์ก็คือ ท่านไม่เคยมีความขุ่นข้องหมองใจใครเลยที่ส่งสามีท่านไปเสียชีวิต ท่านภูมิใจว่านั่นเป็นความต้องการของสามีของท่านเอง ท่านยังเคารพนับถือท่านปรีดีอย่างสูง กับครอบครัวท่านปรีดีก็มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ในขณะเดียวกันท่านก็ไม่เคยคุยโอ้อวดว่าท่านกับสามีเสียสละเพื่อประเทศชาติอย่างไร ไม่มีการโจมตีใคร ไม่มีการตัดพ้อต่อว่าหรือเรียกร้องความสำคัญใดๆ ท่านทำทุกสิ่งด้วยใจของท่าน ด้วยอุดมการณ์ที่สืบต่อเนื่องมาจากสามี

ผมเห็นได้ชัดเจนเลยว่าความคิดและตัวตนของครูฉลบชลัยย์นั้นไปในทางเดียวกับท่านผู้หญิงพูนศุขและลูกๆ คือ ประการแรก มีความจริงใจต่อประเทศชาติอย่างสูง ชีวิตทั้งชีวิตผูกพันอยู่กับสิ่งนี้ แม้ชีวิตจะยากลำบากอย่างไรก็ไม่เคยปริปากบ่น และทำตัวเพื่อประโยชน์จนวาระสุดท้ายโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ลองดูจดหมายที่ท่านผู้หญิงพูนศุขเขียนมอบลูกหลานไว้ให้ปฏิบัติเมื่อท่านเสียชีวิต ก็จะยิ่งซึ้งใจในเรื่องที่ผมกล่าวถึง ประการที่สอง ไม่เคยประกาศความเด่นดัง ไม่ทวงบุญคุณใคร ไม่เคยเรียกร้องผลตอบแทนจากสังคม ทั้งที่ผลการเสียสละมีผลต่อสังคมมากมายนัก ประการที่สาม ไม่นำเอางานที่เคยทำมาสร้างการเคลื่อนไหวใดๆที่จะเกิดผลกระทบต่อสังคม หากสังคมสนใจก็ให้เรียนรู้กันเอง หากจะทำอะไรก็คิดเฉพาะแง่มุมเชิงสร้างสรรค์ ไม่กระทบต่อใครหรือต่อสังคม ประการที่ 4 ไม่อาฆาตมาดร้ายใคร

ผมได้ไปสังเกตการณ์อยู่ในงานที่หอประชุมใหญ่ทั้ง 2 ปี สิ่งที่พบเห็นและประทับใจมากก็คือ ได้เห็นผู้สูงหลายท่านที่เคยมีส่วนร่วมอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆที่มีท่านปรีดีเป็นผู้นำ ได้พยายามมาร่วมงาน ทั้งที่เคลื่อนไหวไม่สะดวกแล้ว มีลูกหลานของผู้ร่วมประวัติศาสตร์หลายท่านมาร่วมงานแทนปู่ย่าตายายที่เสียชีวิตไปแล้ว

นอกจากการจัดนิทรรศการ 2 ปี ผมได้มีโอกาสได้ไปร่วมกิจกรรมอื่นที่ระลึกถึงท่านปรีดีอีก จำได้ว่าเคยไปร่วมกิจกรรมที่ลานอนุสาวรีย์ท่านปรีดีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งหนึ่ง จำไม่ได้ว่างานอะไร ซึ่งก็ได้เห็นผู้คนกลุ่มดังกล่าวพยายามมาร่วมงานเช่นกัน

ผมตั้งคำถามอยู่ในใจว่าผู้สูงอายุที่พยายามมาร่วมงานนั้นล้วนแต่เป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนจาการเข้าร่วมเหตุการณ์ทางการเมืองต่างๆที่มีท่านปรีดีเป็นผู้นำ คนรุ่นลูกหลานที่มาร่วมงานจำนวนไม่น้อยพ่อแม่ปูย่าตายายของพวกเขาล้วนเป็นผู้เสียสละเช่นกัน และทำให้คนรุ่นลูกหลานต้องยากลำบากเพราะการเสียสละนั้น แต่ทำไมทุกคนยังเคารพท่านปรีดีอย่างมาก ไม่มีใครต่อว่าหรือน้อยเนื้อต่ำใจจากชีวิตที่เปลี่ยนไป คำตอบที่ผมพอจะนึกได้ นอกจากทุกท่านตระหนักดีว่าสิ่งที่ตนทำหรือบรรพบุรุษทำนั้นเป็นการทำเพื่อประเทศชาติแล้ว สิ่งที่ผูกใจไม่ให้ทุกคนน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตของตน คือการเสียสละของทุกคน ซึ่งไม่ใช่การเสียสละเล็กๆน้อย แต่เป็นการเสียสละทั้งชีวิต และมีผลต่อลูกหลานต่อมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่สำคัญคือท่านปรีดีและครอบครัวเป็นตัวอย่างของการเสียสละ ที่ทุกคนยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี ก็เพราะใช้ความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ผูกร้อยกันไว้นั่นเอง

นอกจากนี้ในงานต่างๆดังกล่าวยังพบหลายท่านที่เคยไปศึกษาที่ยุโรปและมีโอกาสไปแวะเยี่ยมและพูดคุยกับท่านปรีดีที่ฝรั่งเศสก็มาร่วมงานกันมาก คนกลุ่มนี้ก็เคารพนับถือท่านปรีดีและครอบครัว เพราะเห็นว่าท่านปรีดีทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติอย่างมากในขณะที่ท่านไม่ได้รับผลแห่งการทำความดีอย่างที่ควรจะเป็น คนอีกกลุ่มหนึ่งที่มาร่วมกิจกรรมอย่างหนาตา คือนักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ที่ธรรมศาสตร์ขณะนั้น ผมมีโอกาสพูดคุยด้วยหลายคน พบว่าที่นักศึกษามาร่วมกิจกรรมระลึกถึงท่านปรีดีก็เนื่องจากพวกเขาคิดว่าท่านปรีดีเป็นเหมือนพ่อของชาวธรรมศาสตร์ทุกคน เหมือนกับบทกลอนที่มีอดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์เขียนไว้ว่า “พ่อสร้างชาติด้วยสมองและสองแขน พ่อสร้างแคว้นธรรมศาสตร์ประกาศศรี พ่อของข้านามระบือชื่อปรีดี.......” ต่อคำถามที่ว่าทำไมพวกเขาผูกพันเหมือนท่านปรีดีเป็นพ่อทั้งที่ไม่เคยเห็นหน้าท่านเลย คำตอบที่ได้อาจจะมีรายละเอียดต่างกันไปบ้าง แต่มีคำตอบที่สอดคล้องกันทุกคนคือท่านปรีดีสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติอย่างมาก รวมถึงสร้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย แต่ที่สิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่อาจลืมท่านปรีดีได้เลยเลยคือความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของท่านและครอบครัว รวมถึงท่านที่ร่วมต่อสู้กับท่านปรีดีทุกคน

เรื่องที่กล่าวถึงนี้ผมไม่เคยเล่าที่ไหนมาเลย เก็บไว้ในใจมาประมาณ 30 ปีแล้ว พอดีว่า 24 มิถุนายนปีนี้มีคนพูดถึงการอภิวัตน์ของคณะราษฎรกันมาก ผมจึงนำเรื่องนี้มาเล่าเพื่อจะฝากไปถึงผู้ปกครองและขุนศึกทั้งหลายว่าความพยายามบิดเบือนการอภิวัตน์ของคณะราษฎรอย่างน่าละอายเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเอง และทำลายฝ่ายตรงข้ามที่เรียกร้องประชาธิปไตยนั้น นอกจากพวกท่านกำลังนำประเทศชาติเข้าสู่ยุคทมิฬครั้งใหม่อย่างยากจะหาทางออกแล้ว พวกท่านกำลังพิสูจน์ให้เห็นอีกว่าไม่มีความเป็นมนุษย์หลงเหลืออยู่ เพราะกำลังเหยียบย่ำคนที่เขาเสียละอย่างยิ่งใหญ่เพื่อประเทศชาติ และด้วยความเสียสละของคนเหล่านี้มิใช่หรือพวกท่านจึงมีโอกาสเสวยอำนาจและกดหัวประชาชนอยู่ขณะนี้

การบิดเบือนประวัติศาสตร์คงมีวันที่พวกท่านต้องรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์ แต่การเป็นผู้ปกครองที่ปราศจากความเป็นมนุษย์ผมไม่ทราบว่าจะรับผิดชอบอย่างไร

เลิศชาย ศิริชัย
28 มิ.ย. 2563

ไลฟ์โค้ชตัวจริง 😊 ในหลายๆคน รอบตัวเรา “อย่าอายถ้าเราจน แต่ให้อายถ้าเราเลว”




คุณจำผู้หญิงคนนี้ได้ไหมครับ
.
ผมเป็นคนชอบดูโฆษณาครับ ย้อนไปในยุควิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ตอนนั้นผมเรียนอยู่ชั้น ม.2 ผมยังจำได้ว่า ช่วงปีสองปีจากปี 2540 นั้น ผมจะเห็นรูปผู้หญิงคนหนึ่งบ่อยมากตามโฆษณา เป็นตัวหลักบ้าง ตัวรองบ้าง สลับกันไป แต่ผมเห็นเธอในหลายโฆษณามากในช่วงนั้น ตอนนั้นผมยังไม่รู้ว่าเธอเป็นใคร รู้แค่ว่าเห็นเธอบ่อย และไม่รู้ทำไมผมถึงจำเธอได้ ทุกวันนี้ผมก็ยังจำภาพนี้ได้
.
ผมมารู้ทีหลังว่า นี่คือพี่หญิง กัญญา ไรวินทร์ นักแสดงและพิธีกรมืออาชีพ
.
แต่ภาพโฆษณาที่เราเห็นเธอบ่อยๆ ในยุคนั้นมีเรื่องราวเบื้องหลังที่คุณอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน
.
ย้อนไปเมื่อก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง พี่หญิงกำลังเรียนในคณะบัญชี จุฬาฯ ในยุคนั้นสูตรของเด็กบัญชีคือเรียนจบตรีแล้วไปต่อ MBA ที่เมืองนอก เพื่อนๆ ของพี่หญิงพากันบอกว่า พี่หญิงทั้งสวย เรียนเก่ง บ้านมีฐานะดี ชีวิตดีขนาดนี้น่าจะเป็นคนแรกที่ได้ไปเรียนต่อเมืองนอกแน่เลย
.
จนกระทั่งเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ธุรกิจ “ซุปก้อนรีวอง” ของครอบครัวพี่หญิงล้มละลาย พี่หญิงค่อยๆ ได้เรียนรู้สถานการณ์ในบ้านว่ามีหนี้ 30 ล้าน --- อ่านไม่ผิดครับ 30 ล้านบาท --- และรู้ว่าจากนี้ชีวิตของเธอจะเปลี่ยนไป
.
หนึ่งในเหตุการณ์ที่พี่หญิงไม่เคยลืมก็คือ ครั้งหนึ่งพี่หญิงไปธนาคารเพื่อถอนเงินหลายแสนออกมา พนักงานธนาคารเห็นพี่หญิงถอนเงินมาเยอะขนาดนั้นก็แสดงความยินดีกับพี่หญิง นึกว่าพี่หญิงจะไปซื้อรถ พี่หญิงตอบอะไรไม่ถูก ได้แต่ยิ้มแล้วเดินออกมาจากธนาคารแล้วร้องไห้
.
เพราะเงินจำนวนนั้นต้องเอาประกันตัวคุณพ่อที่โดนคดีเช็คเด้ง
.
พี่หญิงในตอนนั้นเริ่มมีงานในวงการบันเทิงบ้างแล้วผ่านโมเดลลิ่ง พอเมื่อที่บ้านล้มละลาย พี่หญิงใช้วิธีการไปแคสต์งานให้เยอะที่สุด งานบางงานพี่หญิงไปแคสต์ทั้งๆ ที่รู้ว่าไปแล้วก็ไม่ได้หรอก แต่พี่หญิงบอกว่ายังไงก็ต้องต้องไป อาจจะไม่ได้งานนี้ แต่เขาจะต้องจำพี่หญิงได้ เผื่อว่าถ้ามีงานต่อไป จะได้นึกถึงพี่หญิง อาจจะเรียกพี่หญิงมาแคสต์อีก
.
และก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ครับ พี่หญิงพบว่าการที่ออกไปแคสต์บ่อยๆ ยิ่งทำให้พี่หญิงมีโอกาสเพิ่มขึ้น ต่อให้ไม่ได้รับเลือกแต่ก็กลายเป็นคนที่ทีมแคสติ้งนึกถึงและเรียกมาแคสต์บ่อย นั่นยิ่งทำให้พี่หญิงขยันออกไปแคสต์งาน ต่อให้รู้ว่าไม่ได้ แต่ก็คิดว่าเป็นการลงทุนเพื่อไปสู่โอกาสในครั้งต่อๆ ไป
.
ใน 2 ปีนั้น พี่หญิงถ่ายโฆษณาไปแล้ว 40-50 ชิ้น ส่วนหนึ่งก็เพราะพี่หญิงไม่เคยหยุดคิดว่าตัวเองจะไม่มีโอกาส แต่ถ้ามีแคสต์งานที่ไหนพี่หญิงจะไปที่นั่น ไปทุกที่ ไม่ว่าจะมีโอกาสน้อยแค่ไหนก็ยังไป
.
เบื้องหลังโฆษณาที่พี่หญิงถ่ายไป 40-50 ชิ้นที่ผ่านสายตาเรานั้น สิ่งที่เราไม่ได้เห็นคือมีโฆษณาอีกนับไม่ถ้วนที่พี่หญิงไม่ได้รับคัดเลือก แต่การไม่ได้รับเลือกอยู่บ่อยๆ ทำให้พี่หญิงได้ฝึกการจัดการกับความรู้สึกผิดหวังที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด ได้รู้ว่าชีวิตคือความไม่แน่นอน และทำให้พี่หญิงรู้ว่าประตูของโอกาสไม่เคยปิดถาวร ประตูบานหนึ่งปิด แต่ก็ยังมีประตูบานอื่นเปิด วันนี้ไม่ได้รับเลือก แต่วันหน้าอาจได้รับเลือกก็ได้ ต้องรักษาหัวใจให้มีความหวังไว้ และต่อให้พี่หญิงได้รับเลือกแต่ก็ไม่เคยประมาท เพราะวันนี้ได้รับเลือก แต่วันหน้าอาจไม่ได้รับเลือกก็ได้
.
พี่หญิงไม่เคยเลือกงาน ตรงไหนมีโอกาสก็ทำ ต่อให้ไม่มีโอกาสก็ไปเพื่อที่จะต่อยอดโอกาสให้เกิดขึ้นให้ได้ พี่หญิงยอมเล่นละครบางเรื่องทั้งๆ ที่ไม่ชอบบทนั้น แต่เพื่อหารายได้ พี่หญิงก็เล่นอย่างเต็มที่ ปรากฏว่าบทนั้นกลายเป็นบทที่คนดูชอบ ทำให้คนดูมีความสุข กลายเป็นว่าพี่หญิงเลยได้งานต่อๆ มาจากงานที่ตัวเองไม่ชอบนั่นแหละ
.
มันจึงเป็นบทเรียนให้พี่หญิงรู้ว่า บางทีชีวิตคนเราอาจจะต้องทำสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ แต่เมื่อเป็นหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบให้ดีที่สุด แล้วผลงานที่ดีจะต่อยอดให้เราไปเจอโอกาสที่ดีต่อไป
.
ในวิกฤตนั้น พี่หญิงได้เจอเพื่อนที่ดีมาก เพื่อนพี่หญิงที่เรียนด้วยกันจะชวนพี่หญิงกินข้าวด้วย เพื่อนบอกพี่หญิงว่าเธอกินน้อยอยู่แล้ว ข้าวจานเดียวก็แบ่งทานสองคนได้ พี่หญิงได้ติดรถเพื่อนไปเรียนด้วยกัน เพื่อนไม่มีท่าทีเปลี่ยนไปเลยเพียงเพราะบ้านพี่หญิงล้มละลาย เพื่อนยังคงรักและมีน้ำใจกับพี่หญิงเหมือนเดิม ทุกวันนี้ก็ยังเป็นเพื่อนกัน
.
คนบางคนเมื่อเผชิญวิกฤตที่เปลี่ยนแปลงสถานะของตัวเองไปก็อาจจะรู้สึกกังวลว่าคนจะมองเราเปลี่ยนไปไหม จะปฏิบัติกับเราเปลี่ยนไปไหม และติดกับดักของภาพลักษณ์ พี่หญิงไม่เคยรู้สึกอายหรือกังวลว่าคนจะมองอย่างไรที่บ้านล้มละลาย เธอขายรถยุโรปที่เคยมีตั้งแต่ก่อนล้มละลายไปใช้รถราคาถูกลงมาแทน ขายบ้านหลังใหญ่แล้วไปอยู่บ้านหลังเล็กที่ภาระน้อยกว่า เอาของฟุ่มเฟือยที่เคยมีอยู่ออกขายในตลาดนัดคนเคยรวยแบบไม่เสียดาย และวิ่งเข้าหาทุกโอกาสที่เธอจะได้ใช้ความสามารถของตัวเองไปเปลี่ยนเป็นเงินมาใช้หนี้ต่อ
.
คำสอนหนึ่งที่แม่ของพี่หญิงสอนในตอนนั้นและจำขึ้นใจอยู่ถึงทุกวันนี้คือ
.
“อย่าอายถ้าเราจน แต่ให้อายถ้าเราเลว”
.
การล้มละลายในครั้งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้พี่หญิงกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องรับผิดชอบชีวิตของทุกคนในบ้าน พร้อมกับเป็นแรงผลักให้เธอต้องรู้จักการมีวินัยทางการเงินตั้งแต่อายุ 20 ต้นๆ เธอบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด คิดแล้วคิดอีกก่อนจะใช้ ที่เคยฟุ่มเฟือยสมัยก่อนต้มยำกุ้งก็เลิกหมด เธอใช้หลัก “เก็บก่อนใช้” คือแบ่งเงินทั้งใช้หนี้ เก็บออม แบ่งเงินลงทุน แล้วที่เหลือค่อยเอาไว้ใช้ ไม่ใช่ว่าใช้ก่อนแล้วเหลือเท่าไรค่อยเก็บ
.
ผมถามพี่หญิงว่าอะไรที่ทำให้พี่หญิงรู้สึกว่ายังมีความหวังอยู่ในตอนนั้น พี่หญิงบอกว่าตัวเองเหมือนคนจมน้ำที่รู้ว่าข้างบนมันต้องมีผิวน้ำ แต่ไม่รู้หรอกว่าอีกไกลแค่ไหนจะโผล่ขึ้นมาพ้นผิวน้ำได้ สิ่งเดียวที่พี่หญิงทำคือตะกายต่อไปโดยที่ไม่รู้ว่าอีกไกลแค่ไหน รู้อย่างเดียวว่ามันต้องมีผิวน้ำอยู่ข้างบน ที่ต้องสู้ขนาดนี้ก็เพราะรู้ว่าไม่ได้สู้เพื่อตัวเองคนเดียว แต่เพื่อครอบครัวทุกคน
.
มีหลายครั้งที่พี่หญิงท้อ ร้องไห้ก็หลายครั้งว่าทำไมชีวิตต้องเจอเรื่องยากแบบนี้ เคยอยู่ในจุดที่ทั้งบ้านมีเงินเหลืออยู่ 3,000 บาทและไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ เคยมีเงินติดตัวพี่หญิงอยู่ 500 บาทก็ต้องออกไปเรียนและทำงานต่อ
.
พี่หญิงต้องทำงานหนักกว่าจะได้กลับบ้านก็ดึก แต่ยังไม่ทันที่แปรงสีฟันที่เพิ่งแปรงก่อนนอนเมื่อคืนจะแห้ง เธอก็ต้องลุกขึ้นไปทำงานแต่เช้าตรู่อีกรอบ เหนื่อยแค่ไหนก็ต้องไป เป็นแบบนี้อยู่หลายปีที่ใช้ชีวิตแบบแปรงสีฟันยังไม่ทันแห้งก็ต้องลุกขึ้นสู้ในวันใหม่อีกรอบ
.
แต่สิ่งที่ทำให้พี่หญิงมีกำลังใจต่อคือครอบครัว เป็นเหมือนแบตเตอรี่สำรองที่ทำให้เธอมีพลังขึ้นมาได้อีกครั้งในวันที่ต้องยอมให้ตัวเองอ่อนแอ
.
เรื่องที่เราจะเจอมันจะร้ายแรงแค่ไหน ถ้าแต่คนในบ้านยังกอดกันแน่นอยู่ ยังรักกันเหมือนเดิม เราก็จะผ่านมันไปได้
.
พี่หญิงใช้เวลาเป็นสิบกว่าปีในการทยอยใช้หนี้จนหมด พี่หญิงบอกว่ายังจำได้เลยว่าวันที่เห็นโฉนดบ้านมีครุฑแดงอยู่ในมือเป็นวันที่มีความสุขที่สุด เพราะครั้งหนึ่งเคยล้มละลายจนต้องขายบ้านหลังใหญ่มาอยู่บ้านหลังเล็ก แต่บ้านหลังนี้ก็อบอุ่น มีครอบครัวทุกคนอยู่พร้อมหน้าทั้งในวันที่ดีและร้าย แล้วในที่สุดเธอก็ผ่อนบ้านตัวเองได้หมดจากความพยายามของเธอที่ไม่มีวันหมดและกำลังใจจากคนที่เธอรักซึ่งไม่มีที่สิ้นสุด
.
บทเรียนจากวิกฤตในวันนั้นทำให้พี่หญิงและครอบครัวแข็งแกร่งขึ้น รักกันเหนียวแน่นขึ้น และมีภูมิต้านทานชีวิตมากขึ้นไปด้วย ความทุ่มเทและความรับผิดชอบในหน้าที่การงานของพี่หญิงตลอดสิบกว่าปีงอกเงยเห็นผล พี่หญิงเองมีงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ เป็นพิธีกรที่ได้ชื่อว่านอกจากงานจะมีคุณภาพแล้ว คนทำงานด้วยยังสบายใจทุกครั้งที่ทำงานด้วยกัน นอกจากนั้น พี่หญิงยังรักษาวินัยทางการเงินเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน
.
จากวิกฤตต้มยำกุ้งมาถึงโควิด – 19 พี่หญิงเผชิญวิกฤตอีกครั้งหนึ่ง ธุรกิจของพี่หญิงทุกอันเป็นธุรกิจที่ต้องหยุดดำเนินการในช่วงล็อกดาวน์ทั้งหมด ร้านตัดผมก็เปิดไม่ได้ อีเวนท์ก็ไม่มี โรงเรียนกวดวิชาก็เปิดไม่ได้ พี่หญิงยังหัวเราะและบอกว่าแจ็กพอตจริงๆ ไม่มีอันไหนไม่โดน ทำอะไรต่อไม่ได้เลย ที่ทำได้คือปล่อยวาง มีสติแล้วค่อยๆ คิด แก้เท่าที่ทำได้ อดทนรอให้นานพอที่จะรักษาความหวังไว้ไม่ให้หมดจนถึงวันที่ฟ้าเปิดอีกครั้ง
.
พี่หญิงใช้โอกาสระหว่างที่ธุรกิจต้องหยุดชั่วคราวในการคิดหาทางใหม่ๆ ให้ธุรกิจ ทุกวันนี้ร้านตัดผม Phoenix ของเธอเปิดเพื่อให้ช่างตัดผมในสังกัดยังมีรายได้ก็พอใจแล้ว และก็ไปคิดพัฒนาเรื่องการตัดผมแบบ Delivery ถึงบ้านต่อ ซึ่งผมคิดว่าอันนี้แหละตอบโจทย์มากๆ เช่นเดียวกับส่งเสริมให้พนักงานในช่วงหยุดล็อกดาวน์ไป ไปพัฒนาทักษะให้ดีขึ้น เปิดเมืองมาเมื่อไรช่างจะได้เก่งขึ้น ธุรกิจอีเวนท์ของเธอก็หันมาทำอีเวนท์แบบ Virtual มากขึ้นเพราะแนวโน้มต่อไปงานอีเวนท์แบบให้คนมาร่วมเยอะๆ อาจจะยังทำไม่ได้ แปลว่าต้องไปลุยทำ Virtual Event ให้ดี ลูกค้าจะได้ตามมา ส่วนโรงเรียนกวดวิชาก็ไปพัฒนาเป็นการเรียนออนไลน์ต่อ และนั่นแหละครับ...ฟ้ากำลังค่อยๆ เปิดขึ้นอีกครั้ง
.
เรื่องราวของพี่หญิงน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่กำลังเผชิญอุปสรรคอยู่ ถ้าเราจะเรียนรู้จากคนเคยล้ม (ละลาย) ได้ก็คือ การอยู่กับความจริง ไม่ยึดติด ยอมรับแต่ไม่ยอมแพ้ อดทนต่อความยากลำบาก เห็นคุณค่าของโอกาส ไม่ว่าโอกาสจะมากหรือน้อยก็มีความหมายทั้งนั้น สำคัญคือเราต้องรับผิดชอบต่อโอกาสที่ได้มา เพื่อให้โอกาสในแต่ละครั้งไปต่อยอดให้เกิดโอกาสครั้งต่อๆ ไป เหนื่อยแค่ไหน ยากแค่ไหน ถ้ารู้ว่าทำไปเพื่อคนที่มีความหมาย หัวใจของเราก็คงมีแรงสู้ต่อได้
.
สมัยก่อนตอนเด็กๆ ผมเห็นภาพโฆษณาชิ้นนี้แล้วผมรู้สึกว่าผู้หญิงคนนี้สวยจัง วันนี้เมื่อได้รู้เรื่องราวเบื้องหลังของผู้หญิงในรูปว่าเธอต้องผ่านอะไรมา และผ่านมันมาได้อย่างไร ผมดูรูปนี้อีกครั้งด้วยความรู้สึกอีกแบบ...
.
ผมดูแล้วรู้สึกมีความหวัง
.
.
ท้อฟฟี่ แบรดชอว์

เทปถ่ายทอดสดจากหน้าทำเนียบรัฐบาล ยื่นจดหมายให้รัฐบาลยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินทันที - People GO network






ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินเดี๋ยวนี้! อย่าขี้ตู่ต่ออายุใช้อำนาจผูกขาดไม่เป็นธรรม

29 มิถุนายน 2563 เครือข่าย People Go Network ยื่นจดหมายถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และใช้กฎหมายปกติจัดการกับสถานการณ์แทน ณ.ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของรัฐบาล

มีผอ.พันศักดิ์ เจริญ ผู้อำนวยการฝ่ายประสานมวลชนและประชาชน
มารับเรื่อง
...


คัดค้านการอ้างโรคระบาดยึดอำนาจ
ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เดี๋ยวนี้!

รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 โดยอ้างเหตุว่า มีการระบาดของโรคโควิด 19 จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยของประชาชน และการดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน และได้ขยายระยะเวลาบังคับใช้เรื่อยๆ ไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 โดยมีท่าทีว่าจะขยายเวลาบังคับใช้ต่อไป

การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ตามมาด้วยการออกข้อกำหนดและมาตรการต่างๆ ที่กระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้คน การประกอบอาชีพ และกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง โดยกำหนดโทษการไม่ปฏิบัติตามไว้อย่างสูง คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท เป็นโทษสถานเดียวเท่ากันหมดสำหรับทุกเรื่อง จึงเป็นมาตรการที่ต้องใช้เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในสถานการณ์ที่ "เร่งด่วนจริงๆ" เท่านั้น เมื่อความจำเป็นหมดลงก็ต้องยกเลิกมาตรการที่กระทบต่อ "การดำรงชีวิตโดยปกติสุข" โดยเร็วที่สุด

จากข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) พบว่า วันสุดท้ายที่มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อภายในประเทศ คือ วันที่ 26 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเมื่อนับถึง 29 มิถุนายน 2563 ก็เท่ากับว่า เป็นเวลา 34 วันเต็มที่ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเลย ข้อมูลผู้ติดเชื้อที่ตรวจพบ เป็นผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศทั้งสิ้น

ขณะที่คำแนะนำในการดูแลตัวเองสำหรับผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และองค์การอนามัยโลก (WHO) ต่างก็ระบุตรงกันให้แยกตัวเองออกจากสังคมเป็นเวลา "14 วัน" ดังนั้น จึงนับได้ว่า ประเทศไทยปลอดจากการแพร่ระบาดภายในประเทศแล้ว

จริงอยู่ที่เชื้อโควิด 19 ยังระบาดรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก และยังมีโอกาสที่ประเทศไทยจะกลับมาระบาดระลอกใหม่ได้ ดังนั้น มาตรการที่ยังจำเป็นต้องเข้มงวดในช่วงเวลานี้ คือ การกักตัวผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและตรวจหาผู้ติดเชื้อที่ด่านพรมแดน ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 39-42 กำหนดไว้ละเอียดเพียงพอแล้ว

ที่ผ่านมาการใช้อำนาจของรัฐออกคำสั่งที่เพื่อดำเนินการควบคุมโรค เช่น การตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ก็เป็นไปตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 11 การสั่งปิดสถานบันเทิง การสั่งห้ามเดินทางข้ามพื้นที่ การสั่งห้ามรวมตัวในลักษณะเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ ก็เป็นไปตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 การสั่งห้ามกักตุนสินค้าจำเป็น ก็เป็นไปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ซึ่งกฎหมายในระบบปกตินั้นให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการควบคุมโรคระบาดไว้ได้อยู่แล้ว

การใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในช่วงเวลากว่าสามเดือนที่ผ่านมา ให้อำนาจเพิ่มแก่รัฐบาลสี่กรณี �ได้แก่
อำนาจสั่งห้ามออกนอกเคหสถาน (เคอร์ฟิว) ซึ่งหมดความจำเป็นและยกเลิกไปแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีสั่งโอนอำนาจการสั่งการจากรัฐมนตรี และหน่วยงานต่างๆ มาเพื่อเป็นผู้สั่งการเองแทนทั้งหมด ซึ่งกลายเป็นประเด็นหลักในขณะนี้
ใช้ข้อห้ามการรวมตัวสั่งห้ามประชาชนแสดงออกในประเด็นที่กระทบต่อรัฐบาลปัจจุบัน โดยมีคนถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แล้วอย่างน้อย 23 คน
การยกเว้นความรับผิดให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานและการยกเว้นการตรวจสอบโดยศาลปกครอง

การคงไว้ซึ่งการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมีประโยชน์เพียงแต่กับรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ เท่านั้น เพื่อจะบริหารประเทศได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไร้การตรวจสอบถ่วงดุล หรือเรียกว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มีไว้เพื่อการ “ยึดอำนาจ” การบริหารประเทศ ส่วนการป้องกันและควบคุมโรคระบาดเป็นมาตรการที่เดินหน้าตามกฎหมายในระบบปกติอยู่แล้ว

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นั้นไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสร้างมาตรการรับมือกับโรคระบาด แต่เป็นกฎหมายที่เน้นเพิ่มอำนาจให้รัฐกรณีมี “ภัยคุกคามทางการทหาร” หากรัฐบาลมีความจริงใจที่จะป้องกันควบคุมโรคแต่เพียงอย่างเดียว ก็ควรใช้กฎหมายในระบบปกติ หรือถ้ามีความจำเป็นก็ออกแบบระบบกฎหมายขึ้นใหม่สำหรับสถานการณ์โรคโควิด19 ที่อาจยังอยู่กับมนุษย์ไปอีกเป็นปี โดยมีระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่ชัดเจน ให้กระบวนการการแก้ปัญหาเกิดจากการมีส่วนร่วม กระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม

เครือข่าย People Go Network เห็นว่า ความจำเป็นที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหมดไปนานแล้ว และขอเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรียุติการใช้อำนาจตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เดี๋ยวนี้! และในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2563 เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ขอให้สาธารณชนเข้าสังเกตการณ์ หรือจัดถ่ายทอดสดการประชุมเพื่อให้ประชาชนติดตามและร่วมรับรู้เหตุผลในการตัดสินใจด้วย
...

ภาพจาก The Standard









เผด็จการ ก็เหี้ยแบบนี้แหละ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ยื้อกันมา 2-3 เดือน คือ ยื้อเพื่อที่จะครองอำนาจไว้กับมือตัวเอง.. ไม่ได้มีไว้เพื่อควบคุมโรคเพราะตอนนี้โควิด19ก็เริ่มดีขึ้น ไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศแล้ว"




“ต้าร์ เป็นคนรุ่นใหม่ยุคแรกๆ ที่ทำงานเคลื่อนไหวเรื่องเอดส์ด้วยกันกับพี่ น้องเป็นคนแอคทีฟ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่เขาคิดว่า มันถูก กล้าตัดสินใจ กล้าทำ แต่ก็เป็นคนที่รับฟังคนอื่นเสมอ รู้จักกันมานาน มีแค่หลังๆที่ไม่ค่อยได้เจอ”
.

“สะเทือนใจกับการหายตัวไปของต้า พี่รู้สึกว่า เขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอนาคต การที่ต้องลี้ภัย มันก็หนักหนาพอแล้วสำหรับเขา คือ เขาอาจจะมีธุรกิจ แต่พี่เชื่อว่า ลึกๆ ต้ายังอยากทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอยู่ แต่มันขาดโอกาสตรงนั้นไปแล้ว พี่คิดว่า คนรุ่นใหม่มันคือความหวังนะ อยู่ๆคนรุ่นใหม่หายไป พี่รู้สึกแย่พอสมควร"
.

นี่คือคำบอกเล่าของแสงศิริ หรือ พี่ตุ้ย จากเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวถึงวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวและผู้ลี้ภัยไทยที่ถูกอุ้มหายไปในประเทศกัมพูชาวันที่ 4 มิถุนายน 2563
.

พี่ตุ้ยเล่าถึงกิจกรรมที่ไปแสดงออกเพื่อถามหาความรับผิดชอบของกรณีวันเฉลิมว่า "พอเห็นโพสต์ของ กป.อพช. (คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน) ชวนไปยื่นหนังสือให้ติดตามกรณีการหายตัวของวันเฉลิม ส่งถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา พี่พอมีเวลา ก็ลงชื่อไปกับเขา พี่อยากทำไรสักอย่างเพื่อต้า"
.

และจากเหตุการณ์ไปยื่นจดหมายในวันที่ 8 มิถุนายน 2563 พี่ตุ้ย และเพื่อนที่ไปร่วมยื่นจดหมายอีกสามคน โดนหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ สน.วังทองหลาง ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2563 พี่ตุ้ยเล่าถึงเหตุการณ์วันนั้นว่า
.

“จากที่เห็นข่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนคนให้ไปร่วมยื่นจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่สถานทูตกัมพูชา ผ่านทางเฟซบุ๊กของทาง กป.อพช. พี่ก็ลงทะเบียนไป พอไปถึงสถานทูตเวลาประมาณ 10 โมง ก็ยังไม่เจอใคร เจอแต่ตำรวจ นักข่าว เขาก็เข้ามาถามว่า เป็นแกนนำหรือเปล่า เราก็บอกว่า เปล่า แค่มาร่วมยื่นจดหมาย”
.

“พออีกสามคนที่เหลือมาถึง เราก็ไปติดต่อที่ป้อม ถามว่า จะมีคนออกมารับจดหมายมั้ย เขาก็ตอบไม่ได้ ได้แต่บอกว่าให้รอ เรารอไป 15 นาทีก็ไม่มีไรเกิดขึ้น สุดท้ายเราก็ตัดสินใจกันว่า ให้เอาจดหมายวางทิ้งไว้ แล้วก็ทาง กป.อพช.อ่านแถลงการณ์ เสร็จก็แยกย้าย รวมแล้วใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง ไม่เกิน 2 ชั่วโมง”
.

“ถ้าเจ้าหน้าที่ออกมารับแต่แรกก็คงจบไปแล้ว ใช้เวลาไม่นานเท่านั้น ตอนที่ไป ทุกคนก็ดูแลตัวเองอย่างดี ใส่หน้ากากอนามัยกันหมด”
.

“พอได้หมายเรียก ก็ไม่ได้ตกใจมาก แต่มีความกังวลใจว่า การโดนหมายเรียกฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มันจะมีผลกับชีวิตเรามากน้อยแค่ไหน ต้องสู้คดีและใช้เวลานานแค่ไหน อย่างไร แต่เบื้องต้นได้ปรึกษากับทนาย ก็จะสู้ไปตามกระบวนการเพราะเรายืนยันว่า เราไม่ได้ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อไปทำให้เกิดโรคระบาด”
.

ในส่วนความจำเป็นของการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กับการควบคุมโรคโควิด19 พี่ตุ้ยกล่าวว่า “ตอนที่โควิดระบาดแรกๆ แล้วมีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็รู้สึกว่า มันเหมาะสม เพราะมันอาจจำเป็นที่ต้องออกคำสั่งบางอย่างเพื่อควบคุมโรค สถานการณ์ตอนนั้นทั้งในและนอกประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็เชื่อว่า มันน่าจะช่วยได้ แต่พอผ่านไปสักพัก มาตรการในการรับมือนั้นทำได้ดี กระทรวงสาธารณสุขก็มีวิธีจัดการโรคได้ดี ก็รู้สึกแปลกๆ แล้วว่า ทำไมถึงไม่ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สักที”
.

“ตอนแรกคิดว่า ประกาศใช้เดือนเดียวก็น่าจะพอ เพราะตัวเลขมันเริ่มลดลง มันทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วมันมีมาตรการอื่นที่เข้ามาจัดการได้โดยไม่ต้องใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เริ่มแรกเลยมีคนออกมาพูดว่า การออกพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มันจะเป็นการริดลอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตอนนั้นก็ยังเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งเพราะโรคมันระบาด มีความจำเป็นจริงๆ แต่หลังๆ คิดว่าไม่ใช่แล้ว”
.

“ยิ่งพอมาเจอกับตัว ก็รู้เลยว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ยื้อกันมาสองสามเดือน คือ ยื้อเพื่อที่จะครองอำนาจไว้กับมือตัวเอง เพื่อที่จะสั่งการอะไรแบบไหนก็ได้ เราคิดว่า มันเป็นการใช้ที่เกินเลยไปแล้ว มันเหมือนไม่ได้มีไว้เพื่อควบคุมโรคเพราะตอนนี้โควิด19ก็เริ่มดีขึ้น ไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศแล้ว แต่มีไว้เพื่อรัฐบาลต้องการกุมอำนาจไว้ในมือแล้วไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการพูด การสื่อสาร การร้องเรียนต่อนโยบายรัฐของประชาชนมากกว่า”

iLaw

(https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10164027546670551/?type=3&theater)
...




...



ภาพจาก
กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG

วันจันทร์, มิถุนายน 29, 2563

ปุจฉาชวนคิด ทำไมฝ่ายค้านตกอับ แต่โพลก็ยังไม่กล้าเชิดเครือข่ายสืบทอดอำนาจ คสช.


เป็นปุจฉาน่าคิดเวลานี้ ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจของประเทศ (มหภาค) ยังซบเซาไม่เห็นทางฟื้นในอนาคตอันใกล้ และปากท้องของประชาชน (รากหญ้า) ยังฝืดเคืองเรื่อยมาตลอด ๕-๖ ปี หมดหวังแก้ไขในวันมะรืนวันพรุ่ง แต่ไฉนทางการเมืองเครือข่าย คสช.กลับอ้วนพีกัน

ไม่เท่านั้น “ฝ่ายตรวจสอบ-ถ่วงดุล” หรือฝ่ายค้านในสภาผู้แทนฯ ก็ “อาการหนัก ลุ่ม ๆ ดอน ๆ...ไม่สามารถคัดง้างฝ่ายตรงข้ามได้” ดัง ประชาชาติธุรกิจออกบทวิเคราะห์เอาไว้ ว่าเมื่อตอนเริ่มต้นสูสีกัน ฝ่ายค้าน ๗ พรรค ๒๔๖ เสียง รัฐบาล ๑๙ พรรค ๒๕๔ เสียง

อยู่มา ๑ ปี รัฐบาลประยุทธ์ได้เสียงเพิ่มเป็น ๒๗๖ จากฝ่ายค้านทั้งด้วยพลังดูดและแรงโดดเกาะ โดยเฉพาะหลังจาก อำนาจที่สืบทอดจาก คสช.สามารถยุบพรรคอนาคตใหม่ได้ดังแผนพิมพ์เขียว ดูดเอางูเห่าเลื้อยเข้ารัฐบาลเป็นพรวน

ไหนจะคะแนนปัดเศษ ส.ส.เอื้ออาทร อีกทั้งการกลับมาเฟื่องฟูของการเมืองแบบเพื่อปากท้องของพรรคและพวก ทำให้พรรคเศรษฐกิจใหม่ย้ายฝั่งยกพรรค ทิ้งหัวหน้า มิ่งขวัญค้างเติ่งอย่างเดียวดาย ฝ่ายค้านเหลือแค่ ๖ พรรค กับ ๒๑๒ ส.ส.

แล้วยังเลือกตั้งซ่อมสามสี่ครั้ง “ฝ่ายค้านไม่เคยชนะ” ตั้งแต่เขต ๔ นครปฐม เขต ๒ กำแพงเพชร เขต ๒ ขอนแก่น และหมาดๆ เขต ๔ ลำปาง เพิ่มเสียงแก่ฝั่งรัฐบาลเสียจนเป็น ข้างมากหายห่วง แม้กระทั่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจข้อมูลเด็ดๆ แต่การแสดงหน่อมแน้ม

ประชาชาติยกเอากรณี “เพื่อไทยอภิปรายจนเวลาหมด ไม่เหลือให้อนาคตใหม่ได้อภิปรายในวันสุดท้าย รัฐมนตรีที่ถูกยื่นญัตติซักฟอกอย่าง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย รอดการถูกซักฟอกแบบไร้รอยขีดข่วน” มาเปิดแผล

แม้นว่า สุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้านจากเพื่อไทย อ้างเป็นเพียง “ขลุกขลักบ้าง เป็นประสบการณ์ใหม่ที่เราเพิ่งกลับมาเป็น ส.ส....พรรคร่วมฝ่ายค้านยังต้องแชร์ประสบการณ์เรียนรู้กันอีกเยอะ” และว่าต่อไป “ภาพไม่เป็นขบวนจะไม่เกิด”

แต่ความอ่อนเปลี้ยของ เพื่อไทยเป็นดัชนีชี้แนวดิ่ง ที่เริ่มต้นเป็นหัวแรงสำคัญฝ่ายค้าน พอแตกใบอ่อนกลายเป็น หางแถวไม่นับ รอยแยกในระดับแกนนำของเพื่อไทย “จนบางส่วนต้องไปตั้งกลุ่มแคร์” ที่ยังเป็นแค่ ‘Think Tank’ เสียมากกว่าพลังการเมือง


จุดหักเหน่าจะอยู่ที่ เสียงค้านอันสำคัญต่อการสืบทอดอำนาจของ คสช. ในพรรคอนาคตใหม่ ถูกคุมกำเนิดอย่างชั่วร้าย ทั้งที่พวกเขาดิ้นกันอย่างสุดฤทธิ์ โดยที่พรรคข้างเคียง มิตรร่วมอุดมการณ์ได้แต่ทำตาปริบๆ ท่ามกลางความหวาดหวั่นจะมาถึงตนด้วย

บอล ธนวัฒน์ วงค์ไชย ยกประเด็นขึ้นมาให้คิดจากนิด้าโพลล่าสุด พบว่า “คะแนนของอนาคตใหม่ไหลไปก้าวไกลแค่ ๑๓%” ส่วนคะแนนให้ใครเป็นนายกฯ ที่ ธนาธรเคยได้อันดับหนึ่ง ๓๑% “ไหลไปหาทิม พิธา แค่ ๔%”

จุดน่าสนใจอยู่ที่โพลนิด้า เลี่ยง ที่จะเชิด ประยุทธ์ จันทร์โอชา มาแทน ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เลี่ยงที่จะให้พรรคเพื่อไทยได้สวมความนิยมแทนอนาคตใหม่ โพลอันดับ ๑ กลับ “ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย” เช่นกันกับตัวนายกฯ “ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้”

ทั้งที่ประโคมกันหนักต่อการที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เข้าไปคุมพรรคพลังประชารัฐด้วยตนเอง และ เด้ง กลุ่มสี่กุมารออกจากลำดับสายการบังคับบัญชา หนำซ้ำพยายามจะดัน บิ๊กอายส์โปรเฟสเซ่อโฆษกขึ้นไปเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจแทน สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
 
พอได้กรรมการบริหารชุดใหม่และ ๑๓ อรหันต์ภายใต้เฮียป้อมหัวหน้า เลขาฯ ใหม่ อนุชา นาคาสัย พยายามชงให้ ศาสตราจารย์ด็อกเต้อ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ได้เป็นเหรัญญิกของพรรค เทียบชั้นกูรูเศรษฐกิจ แต่ไม่สำเร็จ

เสียงวิจารณ์ว่าผลงานทางบริหารไม่มี เคยสอนหนังสืออยู่ที่นิด้าก็งั้นๆ ไต่เต้าตามช่องทางของกระแสน้ำจนกระทั่ง สมคิด ดึงไปเป็นผู้ช่วย อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลังในรัฐบาล คสช. แม้จะย้ายไปเป็นโปรเฟสเซ่อโฆษกก็มีแต่เสียงยี้

มาได้ดิบได้ดีตอนช่วงหัวต่อโควิด-๑๙ กับการเปลี่ยนม้าศึกเศรษฐกิจทีมประชารัฐเดิม พอ อาจารย์แหม่มลดบทบาทจากโฆษกฯ ไปเป็นเลขานุการรองนายกฯ ประวิตร เท่านั้นแหละดวงรุ่งอย่างไม่กระโตกกระตาก ก่อนที่จะทำท่าเป็นดาวร่วงขณะนี้

ขนาดที่เสียงนินทาบอก ก่อนหน้านี้ พปชร.พยายามทาบทามมืออาชีพทางเศรษฐกิจอย่าง “ประสาร ไตรรัตน์วรกุล และ ปรีดี ดาวฉาย จากค่ายกสิกรไทย” ไปร่วมทีม แต่ถูกปฏิเสธเป็นแถว “พอรู้ว่าต้องมาอยู่ภายใต้การกำกับของนฤมล”

ซ้ำมีข่าว มิร้าย เรื่อง แม่บิ๊กอายส์เอาใจลุงป้อม ว่าจ้าง ๓ แสน ให้ ฌอน บูรณะหิรัญ ทำพีอาร์ชื่นชมประธาน ป่ารอยต่อ เป็นผู้ใหญ่น่ารัก ในงานโค่นป่าปลูกต้นไม้ใหม่ อันทำให้ฌอนโดนถล่มไม่หยุดจนบัดนี้ ยิ่งกว่า ตายหยังเขียด


ถึงตรงนี้ ฝ่ายค้านควรที่จะคิดออกแล้วละ ว่าทำไมถึงได้กลายเป็น เบี้ยรองบ่อน ของพวกเสือสิงห์กระทิงแรด ที่นำวิชามารทางการเมืองกลับมาใช้กันอย่างเริงร่าได้

ข่าวราชสำนักรอการยืนยัน : ในหลวงหายโกรธ "ก้อย" แล้ว ครั้งหน้าจะรีเทิร์นพร้อม "ก้อย" โดย อ.สมศักดิ์ เจียมฯ






ถ้าดูจากประวัติศาสตร์การ "เลื่อนยศ ถอดยศ แล้วกลับมามอบยศใหม่" ของหลายๆคนในแวดวงนี้แล้ว มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่า "ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย" อีกครั้ง

มิตรท่านหนึ่ง
...



ข่าวล่า - เครื่องบินโบอิ้ง 737 ลำหนึ่งจากฝูงบินส่วนตัวของกษัตริย์วชิราลงกรณ์ ที่บินไปสนามบินซูริค เขาอาจจะกลับไปมิวนิค หลังจากแวะไปเยี่ยมเมีย ราชินีสุทิดา ในสวิตเซอร์แลนด์ ได้แป๊ปนึง
อัพเดต – เครื่องลำนี้ได้กลับมาลงแตะพื้นที่มิวนิคแล้ว คาดว่าวชิราลงกรณ์อยู่ในเครื่องด้วย
BREAKING—Another flight to Zurich by one of King Vajiralongkorn’s private fleet of Boeing 737s. He may be about to return to Munich after a quick visit to see Queen Suthida in Switzerland.
UPDATE—Plane has landed back in Munich, presumably with Vajiralongkorn aboard


อ.สมศักดิ์ เห็นต่างต่อคลิปฮือฮา อ.สุลักษณ์พูดที่ FCCT อ.สมศักดิ์เห็นว่า อ.สุลักษณ์ ไม่ได้แตะถึงวชิราลงกรณ์เลย หรือแตะก็น้อยมาก (เรียกว่าไม่ได้แตะเลย)



ผมออกจะขี้เกียจที่จะคอมเม้นท์ทัศนะของสุลักษณ์เรื่องสถาบันกษัตริย์ เพราะทัศนะของสุลักษณ์เอาแน่ไม่ได้ (อันที่จริงเอาได้เหมือนกันแหละ แต่ไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไร)

การพูดครั้งหลังสุดของสุลักษณ์นี้ "สร้างความฮือฮา" อยู่บ้าง ("โหย สุลักษณ์ไล่วชิราลงกรณ์อยู่เยอรมัน" ฯลฯ) ซึ่งผมก็ออกจะแปลกใจ เพราะฟังกี่เที่ยวๆก็ไม่ใช่อย่างนั้น อันที่จริง ไม่ได้แตะถึงวชิราลงกรณ์เลย หรือแตะก็น้อยมาก (เรียกว่าไม่ได้แตะเลย)

ขอให้ดูดีๆ สุลักษณ์พูดว่า

"ถ้าจะสอนเรื่องสถาบันกษัตริย์ เป็นสถาบันที่ศักดิ์สิทธ์ แตะต้องไม่ได้ ยกย่องกันอย่างเดียว พังครับ สถาบันนี้ จะสอนได้อย่างเดียว รับใช้ราษฎรหรือไม่ โปร่งใสไหม แตะต้องได้ไหม วิพากษ์วิจารณ์ได้ไหม #ถ้าไม่สอนเช่นนี้ ไม่ต้องเอามาสอน แล้วให้ในหลวงอยู่เยอรมันตลอดไปไม่ต้องกลับมาเลย"

(ในภาษาอังกฤษก็ไม่ต่างกันนัก "It should be accountable.... otherwise don't talk about the monarchy. Let the king remain in Germany for good.")

งานสัมนาที่ FCCT "Thai History and nationhood since 1932" เผ็ดมัน... ฟังอ.สุลักษณ์ บอก #กษัตริย์ ต้องวิจารณ์ได้




นาทีที่ 1.26.50 ไทย
1.28.00 อ.สุลักษณ์แปลอังกฤษเอง


Jun 26, 2020

FCCT Events

Thai Night Panel: Thai History and nationhood since 1932 เสวนาวิชาการ หัวข้อ “ประวัติศาสตร์-ไทย หลัง 2475

การเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 มิได้แค่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงมุมมองด้าน “ชาติ” ที่เปลี่ยนไปด้วย

นับแต่เหตุการณ์ 2475 เป็นต้นมา แนวคิดชาตินิยมของไทยวิวัฒนาการเปลี่ยนความหมายหลายครั้ง ตั้งแต่ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” มาถึง “ชาติไทยในสงครามเย็น” และการปกครองในระบอบการเมืองแบบเลือกตั้ง

ในโอกาสครบรอบ 88 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ขอเชิญทุกท่านร่วมรับฟังเสวนาและตามหาความหมายของ “ชาติ” ในบริบทสังคมและการเมืองปัจจุบัน

1. คริส เบเคอร์, นักเขียน และ นักประวัติศาสตร์ 2. กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด, นักรัฐศาสตร์ 3. สุลักษณ์ ศิวรักษ์, นักวิชาการอิสระ 4. ณัฏฐา มหัทธนา, นักเคลื่อนไหวทางการเมือง

Clubhouse event (onsite & livestreamed) with English translation:

Thai nationalism has gone through significant transformations since the bloodless coup on June 24, 1932 which led to promulgation of the Thailand’s first constitution. Revolving around the three pillars of “nation, religion and king,” the society’s sense of nationhood played an important role as a bulwark against the spread of Communism during the Cold War. In subsequent years, it has continued to assert huge influence over the country’s politics and democracy.

More recently, debate across the political spectrum has focused on public symbols and monuments of that era, and has raised questions about the dialogue between past and present in Thai society.

How do the Thai people relate to their historical identity since the political changes initiated after 1932, and what are the legacies from that period, 88 years on? Come and listen to the discussion at the FCCT clubhouse or watch the livestream on Facebook. Panellists include:

Chris Baker, historian and co-author of “A History of Thailand”

Kullada Kesboonchoo-Mead, political scientist and author of “The Rise and Decline of Thai Absolutism” 

Sulak Sivaraksa, Social critic and scholar 

Nutta Mahattana, political activist 

Interpreter: Pia Hathai Techakitteranun, 

FCCT board member Moderator: Panu Wongcha-Um, Senior Correspondent, Reuters
... 

เวอร์ชั่นสั้น ของอ.ปวิน

https://www.facebook.com/pavinchachavalpongpun/videos/2642534159181664/?t=1
...


"อารยะขัดขืน! เราไม่ขอยอมรับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" อย่าปล่อยให้พวกถูกคุกคามและยัดคดีเดินเพียงลำพัง สนท. เตรียมชุมนุมหน้า สน.ปทุมวัน 10.00 น. วันที่ 30 มิถุนายน




[อารยะขัดขืน! เราไม่ขอยอมรับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน]
.
พวกเราไม่ยอมรับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและข้อกล่าวหาโดยรัฐ เราพร้อมสู้โดยสิ้น และนี้คือการอารยขัดขืนจากผู้ที่ถูกคุกคามและยัดคดีจากรัฐทมิฬมาร
.
เวลา 10.00 น. วันที่ 30 มิถุนายน หน้า สน.ปทุมวัน
.
อย่าปล่อยให้พวกเขาเดินเพียงลำพัง
.
*โปรดเตรียมหน้ากากอนามัยมาด้วย
.
#สนท #SUT
...


สารน์จากน้องที่ออกมาทำแคมเปญ #เลิกบังคับหรือจับตัด






การเมืองไทย ในกะลา
22 hrs ·

ขอสนับสนุนอีกหนึ่งเสียงครับ
#เลิกบังคับหรือจับตัด
.....................
มีรายงานว่ามีนักเรียนนั่งแสดงออกเชิงสัญลักษณ์พร้อมป้ายข้อความและกรรไกรตัดผม "นักเรียนไว้ผมยาวผิดระเบียบ เชิญลงโทษ" ใกล้สยามสแควร์วัน
สนับสนุน #เลิกบังคับหรือจับตัด ใครทำควรมีความผิดอาญาค่ะ
TWITTER : 'ครูโบว์' ณัฎฐา มหัทธนา
https://twitter.com/NuttaaBow/status/1276846929830268929?s=09


"รางวัลศรีบูรพา" ประจำปีนี้ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ขอเสนอ วิสา คัญทัพ และ "ผู้ลี้ภัยทางการเมือง"





.....



นำเสนอคลิปอ่านบทกวี "ฟ้าสีทอง"
ยังมีแรงอ่านก็อ่าน ยังมีแรงเขียนก็เขียน
ไม่หยุดยั้งจนกว่าหมดแรงและหมดลม

Visa Khanthap
15 hrs ·
.....



ปีหลังๆไม่ค่อยนึกถึงวันที่ออกนอกประเทศเท่าไหร่ บางปีลืมด้วยซ้ำ แต่วันนี้ครบรอบ 10 ปีพอดีที่ออกนอกประเทศ นอนไม่หลับ เลยมานั่งดูรูป
3 อาทิตย์หลังจากโดนจับด้วยคดี 112 ตัดสินใจทิ้งทุกอย่าง ออกนอกประเทศ บ่ายวันที่ 27 มิถุนายน 2553 นั่งกินเบียร์ที่ร้านเส่ย ตรงสถานีสามเสน แล้วนั่งรถไฟจากกรุงเทพ มาถึงชายแดนปาดังเบซาร์สายๆ ของวันที่ 28
น่าจะเป็นเวลาราวๆประมาณนี้พอดี ที่ถ่ายภาพเมืองไทยภาพสุดท้ายนี้ ตอนหันไปมองจากขบวนรถไฟที่เคลื่อนตัวออกจากประเทศ ตรงด่านปาดังเบซาร์
สิบปีแล้ว ออกจากประเทศไทย ไปอยู่มาหลายที่ มาเลย์เซีย เนปาล อินเดีย มาเลย์เซีย สิงค์โปร์ กัมพูชา จนมาที่นี่
มองกลับไป ดูเหมือนประเทศไทยจะถอยหลังไปกว่าเดิมด้วยซ้ำ เหมือนตอนที่มองภาพนี้จากขบวนรถไฟ
ประเทศไทยค่อยๆถอยไกลออกไปๆๆๆๆ