วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 28, 2564

แก้รัฐธรรมนูญไปถึงไหน "ได้คืบ ถอยไปหนี่งศอก"


ได้คืบ ถอยไปหนี่งศอก การแก้รัฐธรรมนูญผ่านวาระสองมาแล้ว หลังการประชุมร่วมสองสภาเมื่อ ๒๔ และ ๒๕ ก.พ. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปตามที่พรรคฝ่ายรัฐบาลชงและ สว.เท ยกเว้นประเด็นที่ สว.ลิ่วล้อตู่พยายาม ห้ามแตะพระราชอำนาจกษัตริย์ ๓๘ มาตรา

เรื่องนั้นคนเสนอ (สมชาย แสวงการ) มั่วมาก อำนาจเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นพิธีการหรือเพียงสัญญลักษณ์ในทางปฏิบัติ ที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำแล้วให้ประมุขรับรองเท่านั้น ขืนยกไปให้กษัตริย์จัดทำเองทั้งหมด ยุ่งตายห่ คนที่เป็นพระเจ้าอยู่หัวเองนั่นละจะปวดหัว

ขอนำเอาคำอธิบายของ Atukkit Sawangsuk ซึ่งยกเป็นตัวอย่างไว้เรื่องอำนาจยุบสภา ตามมาตรา ๑๐๓ “ต้องตราพระราชกฤษฎีกา ให้ประมุขออกพระราชโองการ โดยนายกฯ ลงนามรับสนอง...ไม่เคยมีที่กษัตริย์ประกาศยุบสภาเอง

หรือนายกฯ ทูลเกล้าพระราชกฤษฎีกายุบสภา แล้วกษัตริย์ไม่ยอมลงพระปรมาภิไธย” ไม่เช่นนั้นกษัตริย์จะต้องทรงเตรียมงานเพื่อการยุบสภา คอยติดตามการประชุมรัฐสภา เข้าไปพัวพันการอภิปรายกรรมาธิการ กินเวลาเกือบทั้งปี ไม่มีเวลาพอเสด็จ โคกหนองนา

อธึกกิตบอกว่าแบบนั้น ไม่ใช่ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่เป็นยิ่งกว่าผู้ว่าฯ ซีอีโอ ของทักษิณ ถ้าเป็นจริงต้องเรียกกษัตริย์ซีอีโอ สมชายมาช้าไปหน่อย น่าจะเสนอในสมัย ร.๙ เพราะทรงปรีชาสามารถมากในทุกๆ แขนง ทุกสิ่งทุกอย่าง

สรุปที่ได้มาคืบหนึ่งจากวาระสอง ก็คือยอมให้มี สสร.จากการเลือกตั้ง ๒๐๐ คน แต่ให้แบ่งเขตเลือกตั้ง ๑ เขตเลือก ๑ คน และไม่ห้ามแม่น้ำ ๕ สายของ คสช.มาลงสมัคร ผลได้เห็นจะจะขณะนี้ก็คือ สว.ชุดตู่ตั้งนี่มีสิทธิเข้าไปเป็น สสร.กันพร้อมหน้า

อีกเรื่องที่ฝ่ายค้านพยายามอภิปรายแจกแจงว่าหากเอาจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง (เขตใหญ่ ๗๑ เขต ไม่ใช่เขตเล็ก ๒๐๐ เขต) “จะทำให้ซื้อเสียงยาก” แต่ถ้าเขตเล็ก จะทำให้กลุ่มการเมืองเดิมๆ กำหนดคน (ของตน)เป็นตัวแทนร่างทรง” ไปลง

อีกอย่าง ในความเห็นนักรัฐศาสตร์จุฬาฯ ศิริพรรณ นกสวน สวัสดี “ระบุปัญหาของระบบเลือกตั้งแบบแบ่งเขตที่ใช้เสียงมากธรรมดาไว้ว่า ระบบนี้จะตัดโอกาสพรรคการเมืองขนาดเล็กหรือโอกาสของคนกลุ่มน้อย ทำให้ผู้หญิงได้รับเลือกตั้งยาก”

และการแก้ไขมาตรา ๒๕๖ เกี่ยวกับการลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญนั้น ฝ่ายค้านพยายามอภิปรายว่า การเสนอให้มติผ่านร่างวาระแรกและสาม เป็นสองในสามนั้นไม่จำเป็น “ให้ใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของทั้งสองสภาก็เพียงพอแล้ว”

สุดท้ายเมื่อโหวตลงมติ เสียง สว.ตั้งแง่ไม่เล่นด้วยกับฝ่ายค้าน รวมกับพรรครัฐบาลเป็น ๔๔๑ เสียง ตีตกข้อเสนอของฝ่ายค้าน มาตรา ๒๕๖ จึงกลับไปเป็นตามร่างเดิม คือใช้เกณฑ์นับคะแนน ๓ ใน ๕ (๔๕๐ เสียง) ของทั้งสองสภาจึงจะผ่านได้

แล้วยังตั้งเงื่อนไขพิเศษที่จะผ่านร่างแก้ไข รธน.ได้ ต้องไม่แตะ หมวดหนึ่งบททั่วไป (สถานะแห่งรัฐ) และหมวดสอง (พระมหากษัตริย์) อีกทั้งการผ่านร่างฯ ในวาระสาม ต้องมีเสียง สว.ไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ เห็นชอบ กับเสียง ส.ส.อย่างน้อย ๒๐%

เท่ากับว่าข้อเสนอต่างๆ จากภาคประชาชน (ครป. และไอลอว์ เป็นอาทิ) ไม่ได้รับความเห็นพ้องโดยเสียงข้างมาก ของพรรครัฐบาลและ สว.ตู่ตั้ง ทั้งสิ้น ยิ่งข้อเรียกร้องของคณะราษฎรสามข้อ อันรวมถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ไม่ได้รับการเหลียวแล


มิหนำซ้ำบรรดาแกนนำคณะราษฎรรุ่นบุกเบิกสี่คนที่ยังถูกควบคุมตัว ถูกศาลอุทธรณ์ปฏิเสธให้ประกันปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภา แม้นว่าคำร้องอุทธรณ์ครั้งนี้ทนายชี้ว่า ควรได้รับเหมือนกับแกนนำ กปปส. ๘ คนที่ได้รับการปล่อยตัวอย่างง่ายดาย

ศาลก็ทำเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ไม่รู้ไม่ชี้ว่าเกิดอะไรขึ้น ทั้งๆ คำสั่งปล่อยตัว กปปส. โดยไม่ให้เหตุผลที่สนองตรงกับคำร้องที่ตีตก ไม่มีทั้งชื่อและลายเซ็นต์ของผู้พิพากษาที่สั่งการ ผิดทำนองคลองธรรม กลายเป็นคำสั่งอสูรประทับตราแผ่นดิน

(https://ilaw.or.th/node/5829, https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10165106508220551-R, https://www.facebook.com/thestandardth/posts/2688934288066113-R และ https://ilaw.or.th/node/5545) 

ความยุติธรรมไม่เคยได้มาจากการร้องขอ นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่จะต้องไปชุมนุม 28 กุมภาฯ



Krisadang-Pawadee Nutcharus
12h ·

27 ก.พ. 64

อานนท์ เพนกวิน สมยศ แบงค์

ความจริงวันจันทร์ผมต้องเข้าไปพบพวกคุณเพื่อแจ้งให้พวกคุณรู้ว่า วันนี้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวพวกคุณในระหว่างการพิจารณาคดีอีกครั้งแล้ว ด้วยเหตุผลเดิมๆ

บังเอิญผมเข้าไปพบพวกคุณไม่ได้เพราะว่าติดภารกิจบางอย่าง ซึ่งความจริงภารกิจนั้นมันก็ไม่ได้สลักสำคัญอะไร เหตุผลลึกๆ ก็คือผมละอายใจแทนผู้มีอำนาจในเรื่องนี้จริงๆ จนพูดไม่ออก เลยฝากให้น้องทนายมาแจ้งให้คุณทราบแทน

คิดว่าวันสองวันนี้ก่อนขึ้นศาลผมจะเข้าไปเยี่ยมพวกคุณที่เรือนจำ

คิดถึงและเป็นกำลังใจให้เสมอ
พี่ด่าง

ป.ล. ได้โปรดอย่าถามว่าทำไมศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัวพวกคุณไปต่อสู้คดี มันไม่ยุติธรรมเลย ซึ่งมันเป็นคำถามที่พี่น้องเพื่อนฝูงของคุณถามผมทุกๆ ครั้ง

ก็อย่างที่ผมเคยบอกแล้วว่า ความยุติธรรมกับกฎหมายนั้นมันเป็นคนละเรื่องกัน ใครก็ตามที่สักแต่อ้างว่าใช้กฎหมายเพียงอย่างเดียวเพื่อแสวงหาความยุติธรรมนั้น ถ้าไม่โง่ก็ชั่วช้า เพราะกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งเท่านั้นในการแสวงหาความยุติธรรม

ถ้าใครทำสิ่งที่ไม่ยุติธรรมโดยอ้างว่าเป็นไปตามกฎหมาย (โดยเฉพาะกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม) เขาผู้นั้นทำชั่วอย่างร้ายแรง

ในฐานะทนายความของคุณ ผมคงทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ ในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพระหว่างการพิจารณาคดีของคุณนั้น พวกคุณและพี่น้องของพวกคุณคงต้องต่อสู้เพื่อให้ได้ความยุติธรรมและสิทธิของคุณคืนมาเอง คุณต้องเลือกวิถีทางของพวกคุณเอง

ไม่ต้องบอกผม เพราะว่าความยุติธรรมไม่เคยได้มาจากการร้องขอ

ศาลหนักขวา!! ถึงเวลาของราษฎรที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศ ที่จะต้องออกมาตามหาความยุติธรรมที่หายไปกลับคืนมา



แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม - United Front of Thammasat and Demonstration
12h ·

วันนี้(27 ก.พ. 64) เวลา 10.15 น. ศาลอาญาได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว 4 นักกิจกรรม แกนนำ “ราษฎร” ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หลังจากเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 64 ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร รวมทั้งคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ ชิวารักษ์ ในคดี #ม็อบ14พฤศจิกา หรือ Mob Fest ทั้งสองคดีมีข้อกล่าวหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116
.
ผลการยื่นขอประกันตัวเพื่อนเราทั้ง 4 คน ของศาลอุทธรณ์วันนี้นั้น แสดงให้เห็นชัดแล้วว่าศาลในแบบที่ประชาชนนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์ และยุติธรรม นั้น ได้จากเราไปแล้ว และคงเหลือไว้เพียงสถานะของ"ศาลตามสั่ง"ที่รอรับคำสั่งจากศักดินาให้บัญชา และตัดสินคดีตามที่ตนพอใจ
โดยไม่ใส่ใจและใยดีเสียงของราษฎรเลย
.
มิหนำซ้ำ คำสั่งศาลที่ออกมา กลับไม่มีตราประทับลงชื่อผู้พิพากษาที่ตัดสินพิจารณายกคำร้องขอประกันตัวเพื่อนเรา นี่แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจต่อการพิจารณาคำร้อง และยังแสดงให้เห็นว่าคำสั่งของศาลในครั้งนี้ อาจถูก "อำนาจมืด" แทรกแซงและควบคุมผลอยู่เบื้องหลัง?
.
เมื่อศาลไม่ได้เป็นที่สถิตย์ซึ่งความยุติธรรมแล้ว คงจะถึงเวลาของราษฎรที่เป็นเสียงส่วนใหญ่ของประเทศประชาธิปไตยทุกประเทศบนโลกนี้ ที่จะต้องออกมาตามหาความยุติธรรมที่หายไปกลับคืนมา และปฏิรูปศักดินาให้ปราศจาก "อำนาจมืด" ที่คุกคามประเทศดังเช่นทุกวันนี้
.
#ทวงคืนความยุติธรรม
#ปล่อยเพื่อนเรา

ราบ 1 มีอะไร? ทำไมมวลชน REDEM เลือกเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยไปที่นั่น #28กุมภาบุกรังขี้ข้าปรสิต



เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH
12h ·

ราบ 1 มีอะไร? ทำไมมวลชน REDEM เลือกเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ชัยไปที่นั่น #28กุมภาบุกรังขี้ข้าปรสิต

นอกจากจะเป็นค่ายซึ่งมีที่ดินกว้างใหญ่ใจกลางกรุงเทพและมีบ้านพักหลวงที่ประยุทธ์พักอาศัยอยู่ฟรีๆ โดยประชาชนเป็นผู้จ่ายค่าน้ำค่าไฟแล้ว

ที่นี่ยังเป็นค่ายทหารที่กษัตริย์วชิราลงกรณ์โอนไปเป็นกองกำลังของตัวเอง โดยราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ประกาศว่า ให้โอน “กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์” ในระบบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ กษัตริย์จะมีบทบาทเพียงปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง ซึ่งเป็นไปตามหลักการ “กษัตริย์ทำผิดไม่ได้ (The king can do no wrong)” แต่การโอนกองกำลังไปเป็นของกษัตริย์เช่นนี้ คือการทำให้กษัตริย์มีอำนาจปกครองเหนือกองทัพ ซึ่งอาจส่งผลให้กษัตริย์ “ทำผิดได้”
 
การเดินขบวนของ REDEM ในวันที่ 28 กุมภานี้ จึงเปรียบเสมือนการออกสาสน์ให้กษัตริย์คืนค่ายทหาร พร้อมจ่ายค่าเสียหายและค่าน้ำค่าไฟให้ประชาชนด้วย นี่คือการปฏิบัติการไม่ก้มหัวต่อเผด็จการ

มาร่วมทวงคืนสมบัติส่วนรวมไปด้วยกัน!

What is wrong with the 1st Infantry Regiment? Why must REDEM march there?

Apart from being a military camp with large land in the heart of Bangkok and a military house where Prayut lives free of charge, though water and electricity are paid by people.

This is also a military camp that King Vajiralongkorn recently transferred to his personal control. On 30th September 2019, Royal Gazette announced that the “1st Infantry Regiment, King's Close Bodyguard and the 11th Infantry Regiment, King's Close Bodyguard will be transferred to the Royal Security Command which is under the king”. Under the constitutional monarchy, the king will reign but will not rule since “the king can do no wrong”. But transferring the camp to the king’s personal control gives him the power to rule over the military, this might result in “the king is doing wrong".

The march on this 28 Feb by REDEM will be a message to the king to return the infantry regiments and pay compensation and water and electricity bills to people. This is an act against dictatorship!

Let’s take everything back!

#REDEM

กล้าทำ ไม่กล้ารับ "ถ้าคิดว่ายุติธรรม ก็ต้องกล้าลงชื่อให้ประจักษ์ไปชั่วลูกชั่วหลานเป็นเกียรติยศชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ไม่อย่างนั้นจะแปลว่าอายตัวเอง ต้องมุดๆ" อ่าน หนังสือถึงอธิบดีศาลอุทธรณ์ และ ประธานศาลฏีกา



Atukkit Sawangsuk
8h ·

ถ้าคิดว่ายุติธรรม ก็ต้องกล้าลงชื่อให้ประจักษ์ไปชั่วลูกชั่วหลานเป็นเกียรติยศชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
ไม่อย่างนั้นจะแปลว่าอายตัวเอง ต้องมุดๆ

"....การลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งที่ตนเป็นผู้สั่งนั้น เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาอันพึงมีต่อประชาชนเป็นเบื้องต้น อันสืบเนื่องมาจากหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หากกรณีการไม่ลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งดังกล่าวข้างต้นมิใช่เรื่องเฉพาะกรณี แต่เป็นแนวปฏิบัติทั่วไปของศาลอุทธรณ์ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะเป็นองค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เสนอให้ท่านทบทวนการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำสำนวน โดยเฉพาะคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวที่จะมีขึ้นในอนาคต จะเป็นไปตามมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา"
.....
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
20h ·

ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนส่งหนังสือถึงอธิบดีศาลอุทธรณ์ และ ประธานศาลฎีกา เรื่องการลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งศาลและการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราว โดยรายละเอียดในหนังสือมีดังนี้
.
สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ กับพวกรวม 4 คน ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.287/2564 ของศาลอาญา ฉบับลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 รายละเอียดปรากฏตามที่ท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น
.
ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีหนังสือฉบับนี้มายังท่านเพื่อสอบถามและขอคำชี้แจงใน 2 กรณี ดังนี้
.
กรณีที่หนึ่ง ภาคีฯ เห็นว่า การที่ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ลงชื่อในคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่นั้น ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 10 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปบัญญัติว่า
“ถ้อยคำสำนวนต้องระบุชื่อศาล สถานที่ และวันเดือนปีที่จด ถ้าศาลจดถ้อยคำสำนวนตามคำสั่งหรือประเด็นของศาลอื่น ให้กล่าวเช่นนั้น และแสดงด้วยว่าได้ทำไปอย่างใด
ผู้พิพากษาที่จดถ้อยคำสำนวนต้องลงลายมือชื่อของตนในถ้อยคำสำนวนนั้น”
.
จึงเรียนมาเพื่อสอบถามท่านว่า ท่านอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด หรือข้อยกเว้นใด้เป็นเหตุให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ทำคำสั่งไม่ต้องลงชื่อในคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว และกรณีดังกล่าวเป็นกรณียกเว้นหรือเป็นกรณีโดยปกติทั่วไปในการทำหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ลงลายมือชื่อในคำสั่งปล่อยชั่วคราว และข้อยกเว้นหรือแนวปฏิบัติดังกล่าว ขัดหรือแย้งกับมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือไม่
.
ทั้งนี้ ภาคีฯ เห็นว่าการลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งที่ตนเป็นผู้สั่งนั้น เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาอันพึงมีต่อประชาชนเป็นเบื้องต้น อันสืบเนื่องมาจากหลักการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย หากกรณีการไม่ลงชื่อผู้พิพากษาในคำสั่งดังกล่าวข้างต้นมิใช่เรื่องเฉพาะกรณี แต่เป็นแนวปฏิบัติทั่วไปของศาลอุทธรณ์ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะเป็นองค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม เสนอให้ท่านทบทวนการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคำสั่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับถ้อยคำสำนวน โดยเฉพาะคำสั่งเกี่ยวกับการปล่อยชั่วคราวที่จะมีขึ้นในอนาคต จะเป็นไปตามมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
.
กรณีที่สอง ระยะเวลาในการพิจารณาสั่งคดีดำหมายเลข อ.287/2564 ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปยังศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ใช้ระยะเวลาในการทำคำสั่งรวม 3 วันเศษ ส่วนคดีหมายเลขดำที่ อ.247/2561 ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กับพวกรวม 39 คน ถูกศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุก ศาลชั้นต้นส่งคำร้องขอปล่อยชั่วคราวไปยังศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 ใช้ระยะเวลาในการทำคำสั่งไม่ถึง 1 วัน จึงขอสอบถามมายังท่านว่า เหตุใดคดีทั้งสองจึงใช้ระยะเวลาพิจารณาแตกต่างกัน และนอกจากประเด็นเรื่องระยะเวลาในการพิจารณาทำคำสั่งแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวที่แตกต่างกันอีกด้วย ทั้งที่คดีหมายเลขดำที่ อ.284/2564 และคดีหมายเลขดำที่ อ.247/2561 ต่างก็เป็นคดีที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งควรได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราวเช่นเดียวกันตามหลักการสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่กลับแตกต่างกันโดยชิ้นเชิง และไม่อาจเข้าใจได้ภายใต้หลักการแห่งกฎหมาย กรณีดังกล่าว ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องความคิดเห็นทางการเมืองตามมาตรา 27 และมาตรา 29 แห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่
.
ภาคีฯ ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำงานด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และในฐานะประชาชนพลเมืองที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมาย และหลักนิติธรรม จึงขอท่านได้โปรดชี้แจงเหตุผลและข้อกฎหมายดังที่ได้สอบถามข้างต้น เพื่อที่ภาคีฯ รวมทั้งประชาชนในสังคมประชาธิปไตยจะสามารถเข้าใจเหตุผล การใช้ และการตีความกฎหมายของศาลอุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวได้มากขึ้น


Thanapol Eawsakul
19h ·

กล้าทำ ไม่กล้ารับ
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัว
กลุ่มราษฎร นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ กับพวก
โดยให้เหตุผลว่า “ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม”
แต่ไม่กล้าลงชื่อ
สมแล้วที่คนจะด่าศาลกันทั้งบ้านทั้งเมือง

คำบอกเล่าของ "ทนายแจม" ภรรยาตำรวจผู้ถูกธำรงวินัย



"ไม่น่าจะมีอะไรแย่ไปกว่านี้แล้วมั้ง" ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ทนายความสังกัดศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวกับบีบีซีไทย

เธอไม่ได้พูดถึงสถานการณ์การเมืองในฐานะ "ทนายแจม" อย่างที่นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยหลายคนรู้จักกันดี แต่กำลังพูดถึงความเสี่ยงในฐานะ "ภรรยา" ที่ตัดสินใจออกมาบอกเล่าเรื่องราวของคู่ชีวิตและพ่อของลูกเธอ

สามีของศศินันท์เป็นหนึ่งในตำรวจ 97 นาย ที่ รังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ออกมาเปิดประเด็นว่าถูก "ธำรงวินัย" เพราะปฏิเสธที่จะถูกโอนย้ายไปเป็น "ข้าราชบริพาร"

"นั่งร้องไห้อยู่คนเดียวเป็นชั่วโมงเลย" ศศินันท์เล่าถึงตอนได้ฟังรังสิมันต์อภิปรายประเด็นนี้ในสภา "ได้มีคนรู้สักทีว่ามันมีเรื่องบ้า ๆ นี้เกิดขึ้น เราอยากพูดมานาน ไม่ใช่พูดไม่ได้ แต่มันไม่มีใครฟัง"

นี่เป็นประเด็นใหญ่ไม่แพ้เรื่องของ "ตั๋วช้าง" ที่ว่าด้วยการแทรกแซงแต่งตั้งตำรวจ ทำให้สังคมออกมาตั้งคำถามว่านี่เป็นเรื่องจริงหรือไม่ "ตำรวจราบในพระองค์" คืออะไร และใช้กระบวนการและกฎหมายอะไรในการโยกย้ายตำรวจหลายร้อยนายจากที่สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปเป็น "ข้าราชบริพาร"

ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 19 ก.พ. นายรังสิมันต์ได้นำเสนอ "เอกสารชั้นต้น" ต่าง ๆ ที่มีตั้งแต่หนังสือจากสำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ เมื่อเดือน ม.ค. 2562 ซึ่งลงนามโดย พล.อ.อ.สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์ ส่งถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรื่องที่กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์จะคัดเลือกนายตำรวจมาบรรจุลงในกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904

ส.ส.พรรคก้าวไกลผู้นี้ เสนอข้อมูลต่อว่า หลังจากคัดเลือกได้ตำรวจ 1,319 นาย จากเคยสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับมีหนังสือภายใน สตช.ในช่วงปลาย ก.ย. 2562 ให้ผู้ผ่านการฝึก 873 คน ไป "ช่วยราชการในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยในพระองค์" โดยเข้าฝึกหลักสูตร "ตำรวจราบในพระองค์"

บีบีซีไทยไม่สามารถพิสูจน์และยืนยันเอกสารของรังสิมันต์ ได้ แต่ข้อมูลทั้งหมดสอดคล้องกับคำบอกเล่าจากศศินันท์ เธอเล่าว่า กระบวนการคัดเลือกก่อนจะได้นายตำรวจกว่า 1,300 นาย ทำโดยละเอียด "ไม่สูง ไม่เตี้ย ไม่อ้วน แล้วก็ไม่ใส่แว่นตา แล้วก็นับถือศาสนาพุทธ ขาไม่โก่ง หลังไม่โก่ง..."

เธอเล่าว่า สามีและเพื่อนตำรวจเริ่มตั้งคำถามเมื่อคนที่มาอบรมผู้ผ่านการคัดเลือกกว่า 800 คนกลับเป็นทหาร และมีกระบวนการจิตวิทยาทำให้คนกลัว "คนที่ยกมือ ที่พูดคนแรกว่าจะสละสิทธิ์ เขาสั่งให้ถอดเสื้อตำรวจออกเลย แล้วก็บอกว่า มึงเอายศออกมา มึงเป็นคนธรรมดาแล้ว ไม่มียศแล้ว แล้วก็ให้คลานเข่า"

หลังจากมีคำสั่งให้ไปรายการตัวรอบสุดท้ายก่อนเข้ารับการฝึก สามีของศศินันท์ตัดสินใจยื่นหนังสือพยายามให้เหตุผลว่าไม่สะดวก มีภาระทั้งครอบครัวและหนี้สิน และก็อยากสังกัดตำรวจต่อไป "แต่ปรากฏว่าก็ไม่ได้มีการรับฟัง ...ตอนแรกเขาจะลาออก ทำหนังสือลาออก ปรากฏว่าไม่มีใครกล้าเซ็นให้ออก"

หลังจากนั้น สามีเธอกลายเป็นหนึ่งในตำรวจ 100 นาย (ต่อมามี 3 นายที่ลาออกไป) ที่ถูกส่งตัวไป "ฝึกธำรงวินัย" ที่ จ.ยะลา 1 เดือน และที่ จ.นครราชสีมา อีก 8 เดือน

ตลอดเวลา 1 เดือนที่ยะลา ศศินันท์เล่าว่า การฝึกประกอบไปด้วยการให้เดินป่า ไม่ให้อาบน้ำ ให้ออกตรวจพื้นที่สีแดงที่มีความเสี่ยงสูง "กดดันทุกวิถีทาง ...เขาจะพูดอยู่ตลอดว่าถ้าใครไม่ไหวกลับไปก็ยังทัน กลับไปเข้ารับการฝึก[หลักสูตรตำรวจราบในพระองค์] เพื่อให้ทุกคนยอม คือไม่ลาออกก็ต้องกลับ ยอมโอนย้ายตามระเบียบ"

"มันเป็นวิธีการสู้ในวิถีทางของเขา สู้เพื่ออยากจะเป็นตำรวจต่อ" ศศินันท์เล่าถึงการตัดสินใจของสามี "เขาบอกว่าเขาคิดไม่ออกเลยว่าเขาจะเป็นอะไรนอกจากตำรวจ เขาก็รู้สึกว่าถ้าเขายอมลาออก โดยที่เขายังไม่ได้ลองสู้ในวิธีของเขาก่อน มันจะติดค้างใจไปตลอดชีวิต"

ขณะที่ศศินันท์ต้องรับภาระงานที่หนักไปตามกระแสการเคลื่อนไหวทางการเมือง สามีเธอเคยรับหน้าที่เลี้ยงลูกเป็นหลัก "ตั้งแต่ลูกเกิด ล้างก้น อาบน้ำ ป้อนข้าว เขาทำทุกอย่างเลย"

แต่การถูกธำรงวินัยหมายความว่า สามีเธอต้องพลาดช่วงสำคัญ ๆ ในชีวิตลูกไป "ไม่ได้เห็นตอนที่ลูกเริ่มหัดเดิน เริ่มโต ตอนที่เขาเข้าไป ลูกยังไม่คลานเลย พอเขาออกมาลูกพูดเก่งแล้ว วิ่งแล้ว"

"เป็นห่วง ทำใจทุกวัน ไม่อยากดูหนังสือพิมพ์ เวลามีระเบิด เราก็กลัวไปหมด จุดที่ระเบิดมันเป็นจุดที่แฟนเราอยู่หรือเปล่า เราไม่รุ้เลยว่าเขาอยุ่ตรงไหน เขาทำอะไร" ศศินันท์เล่าถึงช่วงที่สามีไปอยู่ยะลา เธอเล่าต่ออีกว่าคนที่มาคุมฝึกจะมีทัศนคติด้านลบกับตำรวจกลุ่มนี้ "ว่าเป็นพวกไม่จงรักภักดี พวกหนีคำสั่ง เป็นพวกแบบเลวร้าย"

ศศินันท์บอกว่า ตลอดชีวิต เธอมักเป็นคนที่ควบคุมทุกอย่างได้เสมอ วางแผนระยะยาวว่า 3-5 ปี ว่าชีวิตตัวเองและครอบครัวจะไปอยู่​ ณ จุดไหน แต่เรื่องนี้ทำให้เธอเครียดจนนอนไม่หลับอยู่เป็นเดือน ๆ จนต้องไปหาจิตแพทย์ในที่สุด

ในฐานะทนายความ จากที่เคยเอากฎหมาย "ไปจับ" ปัญหาได้ แต่กรณีที่เกิดขึ้นกับสามี เธอไม่รู้เลยว่า "วัตถุแห่งคดี" คืออะไร "ศาลปกครองไม่ได้ละ มันไม่เป็นคำสั่ง คำสั่งสิ้นผลไปแล้ว ...ศาลรัฐธรรมนูญไหม [แต่]จะเอาหลักการอะไรไปจับล่ะ ก็ได้แค่เสรีภาพในการประกอบอาชีพเหรอ"

"ตำรวจเอง พอเจอกลุ่มแบบเนี้ย ที่ไม่ยอมไป เหมือนเขาก็กลัวกันนะว่าเรื่องจะไปถึงข้างบนหรือเปล่า ด้วยความที่การเอาคนมาธำรงวินัยมันไม่ได้อยู่ในหลักกฎหมายหรือระเบียบอะไร"

ศศินันท์ เล่าว่า เมื่อรู้ว่า "การเอาคนมาไว้อย่างนี้ไม่มีกฎหมายรองรับ เขาก็เลยสร้างหลักสูตรให้ฝึกไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ให้กลับบ้าน 9 เดือน" ไม่ว่าจะเป็น "การตั้งฐานปฏิบัติการชั่วคราว, "การขับเรือยางตั้งเครื่องยนต์ขั้นพื้นฐาน", "เทคนิคการยิงปืนโดยไม่ใช้ศูนย์" ไปจนถึง "จักรยานยุทธวิธีและสายตรวจ" เป็นต้น

"พวกกระผมมีความรักในอาชีพตำรวจอย่างแท้จริง แม้จะถูกลงโทษให้เข้ารับการธำรงวินัยนานถึง 9 เดือน ก็ยอมรับแต่โดยดี ไม่ปริปาก เพียงแค่หวังว่าผู้บังคับบัญชาจะเห็นใจและให้โอกาส พวกกระผมมีความจงรักภักดีต่อสถาบันจากใจจริง เพียงแต่ความจำเป็นทางครอบครัวที่ทำให้ไม่พร้อมที่จะโอนย้ายไปยังหน่วยงานดังกล่าว…." คือข้อความส่วนหนึ่งจากจดหมาย "ขอความเมตตา" โดยตำรวจทั้ง 97 คน ที่ส่งไปยัง ผบ.ตร.


แต่หลังจากการฝึก 9 เดือนผ่านไป จากที่เคยเป็นนายตำรวจติดตามผู้บังคับบัญชา ศศินันท์บอกว่าสามีถูกย้ายไป "ดอง" อยู่ส่วนกลาง "ทำใจว่าคงจะไม่ได้ก้าวหน้าแล้ว คงได้เป็นตำรวจแบบนี้ อย่างน้อยก็ยังได้เป็นตำรวจอยู่"

อย่างไรก็ดี ศศินันท์ก็ยังนับว่าตัวเองโชคดีกว่าครอบครัวตำรวจคนอื่น ๆ ในจำนวน 97 คน ที่ส่วนใหญ่เป็นตำรวจระดับนายสิบ มีเงินเดือนแค่หลักพัน ปกติแล้ว พวกเขาเหล่านี้จะได้เงินเสริมจากการเข้าเวร ได้เบี้ยเลี้ยงเพิ่ม แต่การถูกไปธำรงวินัยเท่ากับเงินที่ต้องนำไปใช้ดูแลครอบครัวตัวเองและญาติพี่น้องด้วยต้องหายไปโดยปริยาย

"แต่ละคนคือน่าสงสารมาก พวกแม่บ้านต้องเลี้ยงลูกคนเดียว แล้วสามีไม่อยู่ ...สภาพจิตใจแย่กันหมด บางคนที่กำลังตั้งท้อง วันที่คลอดต้องไปคลอดเอง ผัวไม่อยู่ วันที่ลูกคลอดก็ไม่ได้ออกไปเจอหน้าลูก"

สังคมแห่งการนิ่งเฉย

ศศินันท์บอกว่า เรื่องที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า สังคมเรา "รู้อยู่แล้วว่าอะไรที่มันแย่ คนนี้ไม่ดี ระบบนี้มันห่วย มันแย่ แต่มันก็มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งที่นิ่งเฉยกับสิ่งนั้น เพียงแค่วันมันไม่ได้เกิดกับตัวเอง"

เธอบอกว่า ทุกคนต่างบอกกับเธอว่าสิ่งที่สามีเธอเผชิญเป็นเรื่องแย่ แต่ช่วงที่เกิดเหตุการณ์ กลับไม่ไม่มีใครพูดอะไร

"ทำไมถึงยอมเห็นคนกลุ่มหนึ่งถูกกระทำอยู่อย่างนั้น ทุกคนรู้ว่ามันไม่เป็นธรรมกับเขา แต่ทุกคนก็ยังยอมอยู่อย่างนั้น ไม่มีใครทำอะไรเพราะทุกคนกลัว"

ศศินันท์ยกประเด็นนี้เทียบกับประเด็นเรื่องประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 "ทุกคนก็รู้ว่ามันแย่ ...หลาย ๆ คนก็พูดกันลับหลังเยอะแยะมากมาย แต่ก็ไม่มีใครทำอะไร ไม่มีใครออกมามากพอ"

เธอบอกว่าสิ่งที่เหมือนกันในตัว อานนท์ นำภา ที่เธอเรียกว่าเป็น "ทนายพี่เลี้ยง" สอนงานเธอมาหลายปี, พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ เพนกวิน ซึ่งเป็นรุ่นน้องที่เธอสนิท และสามีเธอเอง คือการคิดไปไกลกว่าตัวเอง

"ถ้าคนเราคิดแค่ตัวเอง ไม่ทำอะไรพวกนี้หรอก คิดว่าทำไป เดี๋ยวเมีย เดี๋ยวลูกลำบาก" ศศินันท์กล่าว "...แฟนแจมพูดว่าการที่เขายอมโดนธำรงวินัย ยอมขัดคำสั่ง เพราะเขาต้องการให้ไม่มีการคัดตัวแบบนี้อีก ไม่ให้รุ่นน้องเขาต้องมาอยู่ในความไม่มั่นคงแบบนี้อีก ...เขาไม่ได้คิดแค่ว่าเมียและลูกจะลำบาก เขามองแค่ว่ามันจะเป็นผลดีกับตำรวจอีกหลายคนมาก ๆ ที่อาจจะต้องเจอแบบเขาในอนาคต"

ในทางเดียวกัน ตอนที่ศศินันท์เพิ่งมีลูก คนรอบตัวมักจะพูดว่า "ลาออกไปทำงานอื่นไหม ทนายความมันเสี่ยงถ้าเป็นอะไรขึ้นมา ถ้าติดคุกขึ้นมา ลูกจะอยู่ยังไง" แต่เธอบอกว่า เธอมองไกลกว่านั้น มองถึงสังคมที่ลูกเธอจะต้องอยู่ในอนาคต

ศศินันท์บอกว่า 1-2 ปีที่ผ่านมา ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนที่เธอทำงานอยู่ "เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น" และเริ่มเห็นผลของสิ่งที่ทีมได้ลงแรงไป

"[ถ้าวันหนึ่งลูกมาถามว่า] ตอนที่เขาวุ่นวายกัน แม่ทำอะไรอยู่ เราอยากจะเป็นคนที่ลูกภูมิใจว่าในเวลาที่สังคมมันบ้าบอวุ่นวาย แม่เป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ช่วยให้โลกมันเปลี่ยแปลง"

ในบรรยากาศการเมืองที่คุกรุ่นและดูจะผลักให้คนสายอาชีพอย่างตำรวจและทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนไปอยู่ขั้วตรงข้ามกัน ศศินันท์บอกว่ามีสิ่งหนึ่งที่เธอและสามีคิดตรงกันมาตั้งแต่เขาสองคนเริ่มชอบกัน

"...เราจะสนับสนุนงานของกันและกันตลอด ไม่ทำให้ใครคนใดคนหนึ่งต้องเสียตัวตน หรือเสียอุดมการณ์ในสิ่งที่ตัวเองทำ"

อ่านบทความเต็ม
ธำรงวินัย : ทนายสิทธิฯ บอกเล่าเรื่องราวของสามีที่ถูก “ทำโทษ” 9 เดือนเพียงเพราะอยากเป็นตำรวจต่อ
https://www.bbc.com/thai/thailand-56196375

หัวอกแม่... ผู้หญิง 3 คน บ้านอยู่ห่างกันนับร้อยกิโลเมตร มีชีวิตแตกต่างกันในเกือบทุกด้าน แต่สิ่งที่พวกเธอมีเหมือนกัน คือลูกชายในวัยไล่เลี่ยกันและเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กำลังตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยในคดี 112

https://www.facebook.com/BBCnewsThai/videos/252048869861938

https://www.facebook.com/TheReportersTH/videos/252697482982308

จะรักจะชังจะแค้น แท้จริงล้วนเป็นไปเพื่อตน ...



คนบ้าหนังสือ - Madman Books
July 26, 2016 ·

จะรักจะชังจะแค้น แท้จริงล้วนเป็นไปเพื่อตน ...

วันหนึ่ง ฉันตายไป
คนที่เกลียดฉัน ลุกขึ้นเริงรำ
คนที่รักฉัน น้ำตารินไหล

วันที่สอง
ศพฉันถูกฝังใต้ดินลึก หันหัวทางทิศตะวันตก
คนที่เกลียดฉัน แย้มยิ้มยินดี
คนที่รักฉัน ไม่กล้าเหลียวดู

หนึ่งปีต่อมา
ศพฉันเน่าเปื่อย หลุมศพถูกลมพัดฝนกระหน่ำ
คนที่เกลียดฉัน สีหน้าโกรธขึ้งเกิดพูดถึงฉันหลังอาหาร
คนที่รักฉัน ยามดึกดื่นเงียบสงัด น้ำตาร่วงเงียบงัน

สิบปีต่อมา
ศพฉันหาไม่ เหลือเพียงโครงกระดูกผุๆ
คนที่เกลียดฉัน จำชื่อฉันได้เลือนราง แต่ลืมหน้าตาฉันแล้ว
ส่วนคนที่รักฉันแท้จริง
เงียบลงชั่วครู่ เมื่อคิดถึงฉัน
ชีวิตทำให้ทุกสิ่งค่อยๆ พร่ามัว

หลายสิบปีต่อมา
มูนดินเหนือหลุมฝังศพฉันถูกลมฝนชะหาย
เหลือเพียงผืนดินรกร้าง
คนที่เกลียดฉัน ลืมฉันไปแล้ว
คนที่รักฉันจริงแท้ ตามลงหลุมฝังศพไปด้วย

สำหรับโลกนี้ ฉันเป็นความไม่มีอยู่โดยสิ้นเชิง
ฉันสู้ชีวิตชั่วชีวิต
ตายไป เอาไปไม่ได้แม้หญ้าสักใบไม้สักต้น
ฉันยึดมั่นชั่วชีวิต ความรักความฟุ้งเฟ้อเอาไปไม่ได้แม้แต่น้อย

ชีวิตนี้ ไม่ว่ายากดีมีจน
สักวันล้วนต้องเดินถึงก้าวสุดท้ายนี้
ชาติต่อไป เมื่อหันมอง จึงเห็นว่าชาตินี้ช่างว่างเปล่า
ฉันอยากร้องไห้ แต่ไร้เสียง
ฉันอยากสำนึกผิด แต่สายเกินไป

ตั้งใจใช้ชีวิต อย่าเอาสายตาคนอื่นเป็นไม้บรรทัด
จะรักจะชังจะแค้น แท้จริงล้วนเป็นไปเพื่อตน
อยู่ให้เป็นสุขทุกวันเป็นพอ
ถนอมสิ่งที่ในใจอยากถนอมที่สุด
ถึงรุ่งเรืองร้อยสีพันอย่าง
แต่ร้อยปีผ่านไป เพียงลัดนิ้วมือ
เหลือเพียงทรายเหลืองกองเดียว

... "วันหนึ่ง ฉันตายไป" 有一天, 我去世了
... คำจีน : ไม่ทราบผู้เขียน
... แปล : วิภาดา กิตติโกวิท #MADMANBOOKS
... เครดิตภาพ : http://www.weixinyidu.com/n_2096977

有一天, 我去世了…

有一天,我去世了,
恨我的人,翩翩起舞,
愛我的人,眼淚如露。

第二天,
我的屍體頭朝西埋在地下深處,
恨我的人,看著我的墳墓,
一臉笑意,
愛我的人,不敢回頭看那麼一眼。

一年後,我的屍骨已經腐爛,
我的墳堆雨打風吹,
恨我的人,
偶爾在茶餘飯後提到我時,
仍然一臉惱怒,
愛我的人,夜深人靜時,
無聲的眼淚向誰哭訴。

十年後,
我沒有了屍體,只剩一些殘骨。
恨我的人,只隱約記得我的名字,
已經忘了我的面目,
愛我至深的人啊,想起我時,
有短暫的沉默,生活把一切都漸漸模糊。

幾十年後,我的墳堆雨打風吹去,
唯有一片荒蕪,
恨我的人,把我遺忘,
愛我至深的人,也跟著進入了墳墓

對這個世界來說,
我徹底變成了虛無。
我奮鬥一生,帶不走一草一木。
我一生執著,帶不走一分虛榮愛慕

今生,無論貴賤貧富,
總有一天都要走到這最後一步。

到了後世,霍然回首,
我的這一生,形同虛度!

我想痛哭,卻發不出一點聲音,
我想懺悔,卻已遲暮!

用心去生活,別以他人的眼光為尺度。
愛恨情仇其實都只是對自身活著的,
每一天幸福就好。
珍惜內心最想要珍惜的,
三千繁華,彈指剎那,
百年之後,不過一捧黃沙 。

"We don't love them all the same" : ศาลอาญาได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว 4 นักกิจกรรม แกนนำ “ราษฎร” ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น

สมศักดิ์ เจียม
@somsakjeam

·17h
ผมสังหรณ์ใจตั้งแต่เมื่อวานว่า จะออกมาแบบนี้
งานนี้เป็นคำสั่ง... สั่งแล้วไม่มีคำสั่งอีก คนระดับล่างก็ทำตามกันมา ไม่ว่าจะขัดความจริงอย่างไร
.....

 
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
17h ·

27 ก.พ. 64 เวลา 10.15 น. ศาลอาญาได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ประกันตัว 4 นักกิจกรรม แกนนำ “ราษฎร” ยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น หลังจากเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 64 ทนายความเข้ายื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์, อานนท์ นำภา, “หมอลำแบงค์” ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม และสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในคดีชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร รวมทั้งคำสั่งไม่อนุญาตปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ ชิวารักษ์ ในคดี #ม็อบ14พฤศจิกา หรือ Mob Fest ทั้งสองคดีมีข้อกล่าวหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116
.
รายละเอียดของการอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวของศาลชั้นต้นมีเนื้อหา โดยสรุปว่า

1.จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 64 โดยใช้เงินสดเป็นหลักประกันจำนวน 400,000 บาท เพิ่มสูงขึ้นจากการขอปล่อยตัวชั่วคราวในครั้งก่อน และมีศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นบุคคลคลที่น่าเชื่อถือ เป็นนายประกันจำเลยทั้งสี่ จึงมีเหตุผลอันควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยจะไม่หลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไปก่อเหตุภยันตรายประการอื่น และการปล่อยตัวไม่เป็นอุปสรรคต่อการพิจารณาคดี
.
2. จำเลยไม่เคยมีพฤติการณ์หลบหนี หรือไม่มาตามกำหนดนัด กล่าวคือ
เมื่อพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกจำเลยมารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำเลยได้เดินทางไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกและปฏิบัติตามนัดของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการทุกนัด ในวันนัดส่งตัวฟ้องคดี จำเลยก็เดินทางมาศาลตามกำหนดของพนักงานอัยการโจทก์ และประการสำคัญโจทก์ก็ไม่คัดค้านการประกันตัว

สำหรับคดีความผิดลักษณะเดียวกันนี้ พริษฐ์เคยได้รับการประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.1012/2563 และ เมื่อวันที่ 19 ต.ค.63 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว ในคดีหมายเลขดำที่ ฝ.500/2563 ของศาลจังหวัดธัญบุรี พริษฐ์ก็ไม่เคยหลบหนีแต่อย่างใด หรือไม่ไปตามนัดแต่อย่างใด

อานนท์ นำภา เคยได้รับการปล่อยประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.1437/2563 ,ได้รับการประกันตัวในคดีของศาลอาญา คดีหมายเลขดำที่ ฝ.971/2563 และศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ก็เคยมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวอานนท์ นำภา ซึ่งอานน์ได้เดินทางไปศาลในทุกคดีตามกำหนดนัดโดยตลอดไม่มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใด
.
3. จำเลยทั้งสี่คนเป็นเพียงผู้ถูกฟ้องคดีเท่านั้น ยังไม่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด ควรจะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ กล่าวคือ
จำเลยเป็นเป็นเพียงคนที่ถูกฟ้องเท่านั้น ยังไม่มีการพิจารณาพิพากษาของศาลว่าเป็นผู้กระทำผิด ควรจะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 และสิทธิดังกล่าวยังได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29 วรรค 2 และในคดีข้อหาทางการเมืองคดีอื่น แม้ศาลชั้นต้นจะได้พิพากษาแล้วว่าจำเลยได้กระทำความผิดลงโทษจำคุกจำเลย ศาลอุทธรณ์ก็อนุญาตให้ประกัน อันถือเป็นแนวบรรทัดฐานที่ดีในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในคดีอาญา จึงขอศาลอุทธรณ์ให้ประกันตัว เพื่อให้จำเลยได้รับสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นธรรม
.
4. จำเลยทุกคนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน กล่าวคือ
4.1) พริษฐ์ ชิวารักษ์ เป็นนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ปัจจุบันอยู่ในระหว่างช่วงการเรียนการสอนที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด จึงมีหน้าที่จะต้องเข้าเรียน จัดทำรายงานต่าง ๆ และเข้าสอบให้ครบตามกำหนดหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย และหากต้องถูกคุมขังไว้ต่อ โดยไม่ได้รับการประกันตัว ก็จะไม่สามารถไปศึกษาต่อตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ อาจจะทำให้เรียนไม่จบ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิทธิทางการศึกษาและอนาคตของเพนกวิน

4.2) อานนท์ นำภา ประกอบวิชาชีพทนายความ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ต้องเดินทางมาศาลเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง มีภาระหน้าที่จะต้องรับผิดชอบว่าความหรือให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายในคดีสิทธิมนุษยชนหลายคดี และตลอดทั้งมีนาคม 64 และเดือนอื่น ๆ ก็ต้องทำหน้าที่ทนายความจำเลยที่ศาลอาญาและศาลอื่น ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย

4.3) หมอลำแบงค์ ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม.ประกอบอาชีพเป็นหมอลำ ก็มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก หรือกำหนดนัด ก็มาตามนัดโดยตลอด

4.4) สมยศ พฤกษาเกษมสุข ประกอบอาชีพรับจ้างอิสระ
มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน พนักงานสอบสวนออกหมายเรียก หรือกำหนดนัด ก็มาตามนัดโดยตลอด ย่อมสามารถติดตามตัวได้โดยง่าย
.
จำเลยทั้งสี่เป็นผู้เชื่อมั่นในหลักการประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ และหลักสิทธิมนุษยชน ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่กำลังเดือดร้อน ประชาชนได้รับความทุกข์ยากลำบากทางด้านชีวิตความเป็นอยู่และทางด้านเศรษฐกิจ ระบบกฎหมายพังทลายลง ไร้ซึ่งหลักนิติรัฐ นิติธรรม เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกหย่อมหญ้าเช่นนี้ ก็คงมีเพียงอำนาจศาลเท่านั้น ที่จะช่วยถ่วงดุล ตรวจสอบ คานอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติมิให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงเป็นเสาหลักอันสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน ช่วยสร้างหลักประกันสิทธิและฟื้นฟูให้ระบบกฎหมาย หลักนิติรัฐ นิติธรรม กลับคืนสู่ประเทศโดยเร็ว
.
อาศัยเหตุผลตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น จำเลยทั้งสี่จึงขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดมีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยทั้งสี่ด้วย เพื่อให้จำเลยทั้งสี่ได้มีโอกาสต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่และเป็นธรรม จำเลยขอให้คำมั่นว่าจำเลย จะไม่หลบหนี และจะปฏิบัติตามนัดของศาลโดยเคร่งครัด หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าจำเลยทั้งสี่จะต้องวางหลักประกันเป็นจำนวนเท่าใด ขอศาลอุทธรณ์ได้โปรดกำหนดวงเงินหลักประกันตามควรแก่กรณี และจำเลยทั้งสี่ยินดีวางหลักประกันตามวงเงินที่ศาลเรียกต่อไป
.
อ่านรายละเอียด : https://tlhr2014.com/archives/26336
.
TLHR Supporters - สนับสนุนศูนย์ทนายฯ
บัญชีออมทรัพย์ในนามบัญชี: มูลนิธิสิทธิเพื่อความยุติธรรม
ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซี ลาดพร้าว 2
ประเภทออมทรัพย์ เลขบัญชี 800-9-54209-4 
.....

#ทหารมีไว้ทำไม : มีไว้รักชาติ มีไว้เสวยสุข...





ThaiFreeNews
@NatMother


#มีทหารไวทำไม

อ่าน เทือกเถาเหล่ากอ “ตั๊น จิตถัสร์” แล้วก็อย่าได้แปลกใจว่าทำไมนังตั๊นจึงได้สิทธิพิเศษและใหญ่คับฟ้าที่กฏหมายเข้าไม่ถึง ที่สำคัญเหตุใดชื่อของเธอจึงหลุดจากกลุ่มกปปส.ที่มีความผิดฐานผู้ก่อการร้าย


(บทความจากไลน์)

เปิดเทือกเถาเหล่ากอ “ตั๊น จิตถัสร์”

ตั๊น จิตภัสร์ ภิรมย์ภักดี เป็นบุตรสาวคนโตของนายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กับ ม.ล.ปิ

ยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี มีชื่อเล่นว่าคุณต้น ความเป็นมาของตระกูลภิรมย์ภักดีผู้พ่อไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ที่ซับซ้อนและน่าสนใจกลับกลายเป็นครอบครัวคุณต้นผู้เป็นแม่

ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี (เดิมนามสกุลกฤดากร) ซึ่งเป็นลูกสาวของม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กับ ท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา นางพระกำนัลในพระนางเจ้าสิริกิตติ์พระบรมราชินีนาถ

ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร เป็นโอรสของ ม.จ. เสริมสวาสดิ์ กฤดากร กับ ม.ล.แส กฤดากร (นามสกุลเดิมสนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ถึงชั้นนี้จะมีความน่าสนใจที่ท่านผู้อ่านต้องอ่านด้วยความตั้งใจ

ม.จ.เสริมสวาสดิ์ กฤดากร เป็นโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร (ต้นตระกูลกฤดากร) ที่เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร .4)

เมื่อไล่เลียงโคตรเหง้าตระกูลกฤดากรแล้วก็จะพบความสำคัญมีจุดเริ่มต้นจาก ม.จ.เสริมสวาสดิ์ กฤดา ที่แต่งงานกับม.ล.แส กฤดากร (นามสกุลเดิมสนิทวงศ์ ณ อยุธยา) พี่สาวแท้ๆของ ม.ล.บัว กิติยากร (นามสกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ซึ่งเป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ดังนั้น ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากรจึงเป็นลูกพี่ลูกน้องของราชินีสิริกิตติ์ (พระยศเดิมม.ร.ว.สิริกิตติ์...ชั้นพระยศเท่ากัน)

เมื่อม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากรจึงเป็นลูกพี่ลูกน้องของราชินีสิริกิตติ์ ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี แม่ของตั๊นจึงเป็นหลานสาวของราชินีสิริกิตติ์....ดังนั้นนังตั๊นจิตภัสร์ กฤดากร (สกุลเดิมภิรมย์ภักดี) จึงเป็นหลานสาวของกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงเป็นหลานสาวของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

เมื่อท่านผู้อ่านได้ตาสว่างกันทั่วถึงแล้วก็อย่าได้สงสัยว่าเหตุใดนังจิตภัสร์จึงเปลี่ยนนามสกุลจากภิรมย์ภักดีมาเป็นกฤดากร แล้วก็อย่าได้แปลกใจว่าทำไมนังตั๊นจึงได้สิทธิพิเศษและใหญ่คับฟ้าที่กฏหมายเข้าไม่ถึง ที่สำคัญเหตุใดชื่อของเธอจึงหลุดจากกลุ่มกปปส.ที่มีความผิดฐานผู้ก่อการร้าย

อาคม ซิดนี่ย์
27 กุมภาพันธ์ 2564
...



ช่วยกันหน่อยครับ... ระดมทุนช่วยชีวิต“ลูกตาล”(สุวรรณา ตาลเหล็ก) 1 ในแกนนำกลุ่มราษฎร รุ่นบุกเบิก เพื่อช่วยเหลือเธอในการผ่าตัดครั้งใหญ่นี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายราว 150,000-200,000






Jom Petchpradab
Yesterday at 12:08 AM ·

ระดมทุนช่วยชีวิต“ลูกตาล”(สุวรรณา ตาลเหล็ก) 1 ในแกนนำกลุ่มราษฎร รุ่นบุกเบิก

บนเส้นทางการต่อสู้กับความเหี้ยมโหดของเผด็จการราชานิยมในประเทศไทย มีวีรชนที่แกร่งกล้า เสียสละอุทิศตัวเปิดหน้าสู้กับความโหดเหี้ยมนี้กันมากมายหลายคน จากที่มีเพียงเม็ดฝนเม็ดเล็ก ๆ เพียงไม่กี่เม็ด เมื่อสิบกว่าปีก่อน ทำให้ขณะนี้ได้กลายเป็นพายุลมฝนที่มีพลังทำลายล้างมากขึ้นเป็นลำดับ และไม่ขาดสาย
เมื่อ 10 กว่าปีก่อน เม็ดฝนเม็ดแรก ที่ทำให้ผมตาสว่าง ก็คือ “ลูกตาล” หรือ คุณสุวรรณา ตาลเหล็ก นักต่อสู้ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย ในทุกเวทีของการพูดคุย อภิปราย เพื่อให้ปัญญากับประชาชน เธอคือแม่เหล็ก หรือแม่งาน ที่จับไมค์ส่งเสียงตรึงมวลชนให้ร่วมฟังและร่วมแสดงพลังอย่างเป็นเอกภาพ แม้จะไม่ใช่แกนนำเบอร์หนึ่งในการปราศรัย แต่ทุกเวทีสำคัญที่อยู่ในการจับจ้องของเจ้าหน้าที่รัฐ เธอจะเป็นไมค์แรกในการส่งเสียงเพื่อขับไล่เผด็จการ
แน่นอน 10 กว่าปีบนเส้นทางการต่อสู้เพื่อสร้างอนาคตประเทศ เธอมีคดีเป็นบาดแผลของนักสู้รวมแล้วมากกว่า 12 คดี อาจไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เพราะแกนนำหลายคนก็มีคดีความไม่น้อยหน้าไปกว่าเธอ แต่ที่น่าตกใจในขณะนี้ก็คือว่า เธอกำลังต่อสู้กับโรคร้ายอย่างเงียบ ๆ
มีเพียงคนใกล้ชิดเท่านั้นที่จะรู้ว่า เธอเป็นเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งเนื้องอกนี้ หมอพบครั้งแรก ขนาด 2 ซม แต่ขณะนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 7 - 8 ซม.แล้ว
หมอบอกว่า หากปล่อยให้เนื้องอกขยายตัวมากขึ้น ก็จะเสี่ยงที่จะไปกดทับหลอดลม ซึ่งจะทำให้หลอดลมติดขัดและเกิดอาการหอบหืด หมอจึงแนะนำให้ผ่าตัดไทรอยด์โดยเร็ว แต่การผ่าตัดก็มีความเสี่ยงสูง เพราะจะส่งผลกระทบต่อกล่องเสียงและเส้นเสียงในระยะยาว
ด้วยความเกรงใจอันเป็นนิสัยประจำตัวของ"ลูกตาล"ที่ไม่อยากให้มวลชนหรือใคร ๆ เป็นกังวลในตัวเธอ เธอจึงเลือกที่จะรักษาตามสิทธิประกันสังคม แต่ปัญหาคือต้องรีบผ่าตัดเอาเนื้อออกอย่างเร่งด่วน ซึ่งสิทธิประกันสังคมไม่อาจจะครอบคลุมเรื่องนี้ได้
เพื่อน ๆ จึงพร้อมใจกันเปิดระดมทุนเพื่อช่วยเหลือเธอในการผ่าตัดครั้งใหญ่นี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายราว 150,000-200,000 บาท เพื่อน ๆ จึงร่วมกันออกแคมเปญ #ระดมทุนค่าผ่าตัดให้พี่ลูกตาล
ดังนั้นเพื่อนผู้ร่วมอุดมการณ์ ที่เห็นถึงความเสียสละกล้าหาญในตัวของ “ลูกตาล” และเพื่อต่อชีวิตให้เธอเข้มแข็ง แข็งแรง ใช้เสียงเป็นอาวุธต่อสู้กับเผด็จการในประเทศไทยได้ต่อไป โปรดกรุณา ระดมทุนให้ชีวิตใหม่แก่เธอด้วย โดยส่งผ่านบัญชี สุวรรณา ตาลเหล็ก ธนาคารกสิกรไทย เลขบัญชี 610-219538-6
กราบขอบพระคุณ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

https://www.facebook.com/jom.petchpradab/posts/10158909722853965

"สมเด็จพระสังฆราช" กับ "สามเณรโฟล์ค" พระรูปใดรับใช้ประชาชน..?


"สมเด็จพระสงฆราช" กับ "สามเณรโฟล์ค" พระรูปใดรับใช้ประชาชน..?
“สมเด็จพระสังฆราช” ในฐานะประธาน กก.มหาเถรสมาคม มีมติสั่งให้ลงทัณฑกรรม“สามเณรโฟล์ค” หรือสามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า นักศึกษาปริญญาตรี วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในภาคีนักศึกษาศาลายา สมาชิกแก๊งแครอท ที่ร่วมชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมา
โดยระบุความผิดไว้หลายกระทงเช่น มีพฤติกรรมขัดคำสั่งเถรสมาคม เที่ยวเตร่ พักค้างแรมตามบ้านเรือน อันเป็นที่น่ารังเกียจทางพระวินัย ยุ่งเกี่ยวข้องกับการเมือง รวมถึงมีพฤติกรรมเข้าข่ายหมิ่นสมเด็จพระสังฆราช ใส่ความคณะสงฆ์ ให้เสื่อมเสียแตกแยก
และเมื่อวันที่ 25 กุมพาพันธ์ที่ผ่านมา มีตำรวจนอกเครื่องแบบหลายนาย จะเข้าไปจับกุมตัว สามเณรโฟล์ค ในกุฏิที่พัก ที่วัดสุทธิฯ โดยอ้างว่า เณรโฟล์ค ขาดจากความเป็นพระแล้ว ต้องนำตัวไปสึก เนื่องจากมีพฤติกรรมหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาตฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระสังฆราช ทำให้คณะสงฆ์มีความแตกแยก ตามประกาศจากสำนักพุทธฯ
อ้าว..ตกลงแล้ว“เณรโฟล์ค”ผิดพระธรรมวินัยข้อไหนใน 4 ข้อ (เสพเมถุน ฆ่าคน ลักทรัพย์ และอวดอุตริมนุสธรรม) ถึงต้องจับสึกครับ และดูแล้ว .. ตำรวจ มุ่งความผิดเพียงเพราะ ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อสมเด็จพระสังฆราช ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ซึ่งความผิดนี้ มันอยู่ในพระธรรมวินัย ข้อไหนหรือ ..
อ้าวแล้ว..มส.จะยึดอะไรเป็นหลักใหญ่ ในการปกครองสงฆ์ ระหว่าง พระธรรมวินัย กับ กม.คณะสงฆ์ ที่กำหนดโดยปุถุชนที่มากด้วยกิเลส
“สมเด็จพระสังฆราช” เองก็น่าจะรู้ตัวดีว่า เข้ามามีอำนาจได้ ก็เพราะการอุ้มชูช่วยเหลือจากผู้คนมีอำนาจที่มากด้วยกิเลศ ตัณหา อย่าทำตัวเองให้ศาสนาพุทธต้องมัวหมองมีมลทินไปมากกว่านี้อีกเลย
จำคำที่ตัวเองพร่ำสอนคนอื่นในโอกาสต่าง ๆ ได้หรือไม่. โดยเฉพาะเมื่อวันมาฆบูชาที่ผ่านมาที่บอกให้คนไทย มีขันติธรรม อดทน อดกลั้นต่อความทุกข์ และการถูกวิจารณ์ล่วงเกิน แล้ววันนี้ตัวเองกลับมีมติให้ลงโทษ “เณรโฟล์ค”พ้นไปจากความเป็นพระ ตกลงใครกันแน่ที่ขาดขันติธรรม ไม่มีความอดทน อดกลั้นต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งๆ ที่เณรโฟล์ค ไม่ได้กระผิดพระธรรมวินัย แม้แต่ข้อเดียว.
จะบอกว่ามีพฤติกรรม ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระสังฆราช ทำให้คณะสงฆ์แตกแยก ..มีที่ไหน? เห็นแต่ “เณรโฟล์ค” เสียสละตัวเองออกมาเพื่อหาทางทำให้ คณะสงฆ์ไทย ทำหน้าที่รับใช้ชาวพุทธได้อย่างแท้จริงมากกว่า มากกว่าบรรดา กก.มส. และตัวสังฆราช เองด้วยซ้ำ ที่ทำตัวเป็นพระเทวดา ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความทุกข์ร้อนของชาวพุทธได้เลย มีแต่รับคอยใช้พวกกิเลศหนา ราคะเยอะ ผู้ดีจอมปลอม แต่ไม่ใส่ใจความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ขออยู่ขอกินจากพวกเขาทุกวัน
ท่านยังไม่รู้อีกหรือว่า ชาวพุทธรุ่นใหม่ ไม่เหลือความศรัทธาใด ๆ ต่อ มส. หรือไม่ว่าต่อ เทวดาหน้าไหนอีกต่อไปแล้ว
พูดมากเจ็บคอ ไปฟังความรู้สึกของ “เณรโฟล์ค” แล้วกันว่า คิดอย่างไรต่อข้อกล่าวหาที่มาจาก มติของ มส.ในวันนี้
(ผม)...ท่านจะชี้แจงต่อข้อกล่าวหานี้อย่างไร (ละเมิดพระวินัยปิฎก ติพระธรรม ติพระสงฆ์ มีความเห็นไม่เหมาะสมแห่งสมณะ หมิ่นประมาทดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายสมเด็จพระสังฆราช ใส่ความคณะสงฆ์ ให้เสื่อมเสียหรือแตกแยก)
(เณรโฟล์ค)....เป็นข้อกล่าวหา ที่ไม่มีมูลความจริงเลยแม้แต่น้อย การกล่าววิพากษ์วิจารณ์ ในพรมชาลสูตร ก็เคยบอกกับสงฆ์ว่า ท่านอย่าโกรธเลย เมื่อมีคนติเตียน พระธรรม พระสงฆ์ อย่าถือความ ถือโทษโกรธเขาเลย
(ผม)...มีอะไรจะย้ำเพิ่มเติมอีกหรือไม่
(เณรโฟล์ค)...ผมอยากจะย้ำแค่ว่าเราเป็นผู้ที่ขอข้าวเขากิน พระอยู่ได้ด้วยสังคมอุปถัมภ์ ไม่ใช่แค่ใครคนหนึ่งที่เลี้ยงหรือให้ตำแหน่งท่าน หากการยุ่งการเมืองของผมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็อยากให้มีจิตเมตตามองเห็นความเป็นคนของคนที่ทุกข์ยากจากโครงสร้างทางสังคมที่กดขี่เขาอยู่ และอำนาจเผด็จการมันจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีใครร่วมมือกับเขาครับ เรายังมีความเป็นคนอยู่ เราไม่ใช่เครื่องจักรสังหาร หากพระทำแต่คำสั่ง โดยไม่พิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมแล้ว เขาคงไม่ใช่พระแล้วครับ. อันไหนเป็นสิ่งที่เขาพูดความจริง หรือไม่จริงก็ขอให้ท่านช่วยแจ้งไขนะครับ
(ผม)...หากถึงขั้นต้องถูกจับสึกจริง ๆ
(เณรโฟล์ค)..จริงๆ ก็จะไม่เอ๋ยคำสึกครับ
(หมายเหตุ..พูดคุยผ่านเฟสบุ๊ควันที่ 25 ก.พ.เกือบเที่ยงคืนตามเวลาไทย)
เป็นไงครับ ... คำชี้แจงข้อกล่าวหาของ “สามเณรโฟล์ค” เป็น “เณรน้อย” ที่น่ากราบไหว้บูชา มากกว่า “สมเด็จพระสงฆราช” ที่เป็นร่างทรงของเทวดาหน้าเลือดด้วยซ้ำ
.....
เส้นทางการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20

8 กุมภาพันธ์ 2017
บีบีซีไทย

วานนี้ (7 ก.พ.) ในหลวงรัชกาลที่ 10 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หลังจากตำแหน่งสำคัญนี้ว่างลงมากว่า 3 ปี

เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2559 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเห็นชอบการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์) โดยกำหนดให้เรื่องการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นการตัดข้อความว่าด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมในการเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะออกไป

ข้อมูลจากเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ระบุว่า สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ มีนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2470 (เกิดปีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือในหลวงรัชกาลที่ 9) ที่ ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี โยมบิดา-มารดาชื่อ นับ และ ตาล ประสัตถพงศ์ ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย ปัจจุบันสิริอายุได้ 89 ปี

ปัจจุบันมีตำแหน่งมากมายด้านงานปกครองในคณะสงฆ์ อาทิ

เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 14-15 (ธรรมยุต)
กรรมการมหาเถรสมาคม
กรรมการคณะธรรมยุต
นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร)
กรรมการบริหารมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
แม่กองงานพระธรรมทูต
ประธานมูลนิธิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และเป็นศิษย์พระอาจารย์ฝั้นที่มีสมณศักดิ์สูงสุดในปัจจุบัน

ย้อนรอยเส้นทางการแต่งตั้งสมเด็จพระสังฆราช



24 ตุลาคม 2556 - สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สิ้นพระชนม์ ณ เวลา 19.30 น. ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ขณะมีพระชันษา 100 ปี หลังจากดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระสังฆราชนานกว่า 24 ปี



5 มกราคม 2559 - มหาเถรสมาคม (มส.) นัดประชุมวาระลับพิเศษและมีมติให้ สมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หลังว่างเว้นผู้ดำรงตำแหน่งมากว่า 2 ปี

11 มกราคม 2559 - พระพุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม นำหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชน 300,000 รายชื่อ ยื่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนา คัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 โดยอ้างเหตุผลว่ามีพฤติกรรมไม่เหมาะสม



WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
พระพุทธอิสระคัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20

19 มกราคม 2559 - นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ยื่นหนังสือต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้วินิจฉัยขั้นตอนการเสนอชื่อสมเด็จพระสังฆราช ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ที่เขียนไว้ว่า "ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช"

15 กุมภาพันธ์ 2559 - เครือข่ายคณะสงฆ์ นำโดยพระเมธีธรรมมาจารย์ เลขาศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เป็นแกนนำชุมนุมที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม เพื่อสกัดแผนล้มล้างการปกครองคณะสงฆ์ และสนับสนุนมติ มส. ที่เสนอสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20



WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
18 กุมภาพันธ์ 2559 - กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) สรุปว่า รถเบนซ์โบราณที่สมเด็จช่วงครอบครองอยู่ มีการใช้เอกสารปลอมในการจดประกอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี

3 มีนาคม 2559 - ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติว่า มส. ทำผิดขั้นตอนเกี่ยวกับการเสนอชื่อสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 เนื่องจากต้องไปเริ่มต้นที่นายกรัฐมนตรีก่อน


11 กรกฎาคม 2559 - คณะกรรมการกฤษฎีกา มีมติว่า ขั้นตอนการแต่งตั้งสมเด็จช่วงเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI
คดีรถหรูเลี่ยงภาษีที่ดีเอสไอตรวจสอบได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีราคาเกิน 4 ล้านขึ้นไป จำนวน 5,000 คัน และอีกกลุ่มคือ ราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาท

11 กรกฎาคม 2559 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 หากยังมีปัญหากันอยู่

29 ธันวาคม 2559 - ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติสามวาระรวดแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ให้พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านความเห็นชอบจากมหาเถรสมาคม และไม่จำเป็นต้องเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุด ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 182 เสียง


6 มกราคม 2560 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นฉบับใหม่ ให้มีผลใช้บังคับได้ทันที

WASAWAT LUKHARANG/BBC THAIสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ

7 กุมภาพันธ์ 2560 - สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 27, 2564

เลื่อนไม่มีกำหนด ประยุทธ์โชว์รับการฉีดวัคซีน น่าจะเพราะ 'ซิโนแว็ค' ไม่ค่อยปลอดภัย


ว่าไว้ไหมล่ะ วัคซีน ซิโนแว็ค จากจีนถึงไทยแล้วมีปัญหา ทั้งเรื่องเป็นล็อตที่ทดสอบกับคนอายุ ๑๘-๕๙ ปี น่าจะไม่เหมาะฉีดให้ผู้มีอายุมากหรือน้อยกว่าเกณฑ์นั้น ครั้นโฆษณาไว้เยอะแบบไม่ดูข้อเท็จจริงว่านายกฯ จะรับการฉีดโชว์ ๒๘ กุมภาพันธ์

มาวันนี้ “นพ.อภิชาติ วชิระพันธ์ ผอ.สถาบันบำราศนราดูร ได้เตรียมสถานที่สำหรับการฉีดวัคซีนให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ไว้เรียบร้อยแล้ว” แต่ “นายกรัฐมนตรีขอเลื่อนกำหนดการฉีดวัคซีนออกไปโดยไม่มีกำหนด และไม่ได้แจ้งเหตุผลแต่อย่างใด”

ทั้งๆ ที่ก่อนวันที่ ๒๔ กุมภา กำหนดวัคซีนถึงไทย นักข่าวถามไถ่ รมว.สาธารณสุข ว่าจะเอาแน่หรือ “มีรายงานไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป จะฉีดให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ ที่มีอายุ ๖๖ ปี ได้หรือไม่” อนุทิน ชาญวีรกูล ก็ยังพะว้าพะวัง

ตอบอย่างเหยียบเรือสองแคมว่า “ถ้ามีข้อจำกัดอายุ อย่างซิโนแว็ค...ก็ฉีดไม่ได้ แต่ถ้ามีวัคซีนยี่ห้ออื่นเข้ามาในช่วงนี้ และไม่มีข้อจำกัดเรื่องนี้ ท่านก็ฉีดได้...เมื่อถามว่าเข็มแรกที่จะฉีดคือวันที่ ๒๘ ก.พ.นี้หรือไม่ นายอนุทินไม่ขอออกความเห็น”

นี่ละวิธีทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้ ขอไปทีเพราะไม่ค่อยรู้อะไรจริง และขาดหลักการที่เชื่อถือได้ แล้วมาบ่นว่าผู้คนให้ความสนใจอยู่เสมอกับอดีตนายกฯ คนที่ถูกแย่งอำนาจ อ้างซ้ำซากว่าเขาไม่ทำตามกฎหมายที่พวกตนบิดเบือน

อีกเหตุซึ่งน่าจะทำให้ต้องเบรคการฉีดโชว์ตัวโก่ง ก็คือความไม่หนักแน่นในประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแว็ค “ความเห็นของหมอคือ Sinovac ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีที่ใช้ฆ่าเชื้อ มันล้าสมัยมาก” หากฉีดไปแล้วเกิดอะไรไม่เข้าร่องรอย

มีอาการแพ้อย่างหนัก หรือผลกระทบข้างเคียงรุนแรง ละก็ไม่ใช่แค่หน้าแตก แต่อาจเกิดการคาดไม่ถึงได้ ยิ่งมีเสียงแซวแรงๆ “ถ้าประยุทธ์ฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วเป็นอะไรไป วัคซีนซื้อมาแพงเท่าไหร่ก็คุ้ม” ถือแถน @pran2844 ทวี้ตแช่งไม่ยั้ง

ก็เลยโยนไปให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับการฉีดวัคซีนของจีนเข็มแรกแทน และเหตุที่ประยุทธ์ไม่ยอมระงับการฉีดเสียตั้งแต่ก่อนวัคซีนมาถึง คงหวังจะได้วัคซีน ของสูงมาแทน หากแต่ “บ.แอสตร้ายังไม่นำส่งเอกสารเพื่อตรวจรับรอง” อนุทินเผย


อันความขลาดกลัว ปุถุชนย่อมมี ไม่ว่ากัน แต่การอวดตัว ทั้งที่ไม่แน่จริง หากบ้านเมืองมีครรลองตามคลองธรรม คนอย่างนี้ไม่ควรเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะจะทำให้คนทั้งประเทศจำนวนมากเดือดร้อน เช่นที่เป็นอยู่นี้ มีโอกาสขยายความเลวร้ายออกไปยิ่งขึ้น

นับวันความ ขี้เท่อแต่ละโมบ ของประยุทธ์ปรากฏออกมาไม่ขาดสาย ส่วนที่หมกเม็ดมาตลอด ๖-๗ ปียิ่งโผล่ ดังกรณีบ้านพักฟรีทุกอย่างอันหรูหราของประยุทธ์ในบริเวณค่ายทหาร ร.๑.รอ. นอกจาก “งบก่อสร้างคฤหาสน์หลังนี้ ๗๘ ล้านบาท”

แล้วยัง “ทาสีรั้วบ้าน ๑.๒ แสนบาท...กำจัดศัตรูทำลายไม้ ๑๗๒,๐๕๖ บาท...ทุ่ม ๔ แสนจัดซื้อชุดโต๊ะกินข้าว...ติดแอร์ ๒๒ เครื่องทั่วบ้าน ๒.๗ ล้าน” ส่วนหนึ่งของการปรับปรุงทั้งบ้าน ๒๐ ล้านบาท ก่อนจะมาถึงรายการจัดระบบปั๊มน้ำใหม่

เนื่องจากความ เว่อวังอลังการของโครงการมูลค่า ๑๓๕,๙๐๐ บาท ไหนจะปั๊มน้ำขนาดใหญ่ ๑๕๐๐ วัตต์ ๒ ตัว ขณะที่บ้านคนปกติใช้แค่ ๓๐๐ วัตต์ บ้านคฤหาสน์สำหรับคหบดียังแค่ ๕๐๐ วัตต์ นี่บ้านประยุทธ์ต้องพลังน้ำแรงสูง จ่ายน้ำพร้อมกันทีเดียว ๗๐ ก็อก

Saiseema Phutikarn เขาว่า แล้วถาม “อันนี้มันระบบปั้มน้ำสำหรับบ้าน หรือ อาบอบนวด”

(https://actai.co/ProjectDetail/59016233823, https://www.pptvhd36.com/news/=142869 และ https://www.pptvhd36.com/news/nUBkA) 

ภาพนี้บอกหลาย



Jaran Ditapichai
18h ·

วันนี้ ศาลจักต้องให้ประกันตัวอานนท์ เพนกวิน ปติวัฒน์ และสมยศ มาตรฐานเดียวกับแกนนำ กปปส.
# สิทธิประกันตัว เป็นสิทธิมนุษยชน

ทุกวันนี้ สี่คนยังถูกขังอยู่ ใครก็ตามที่มัวแต่เอาใจเจ้า และบอกว่าต้องสู้ทางอื่น อย่าแตะสถาบันกษัตริย์ สมควรถูกวิจารณ์ - สมศักดิ์ เจียมฯ



Somsak Jeamteerasakul
February 23 at 11:53 PM ·

ใครที่มีความเห็นต่อการต่อสู้ของทักษิณ ("สู้ไป กราบไป") สมควรมีได้ ผมมองไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องลบทิ้ง-ขอโทษแต่อย่างใด
ทุกวันนี้ สี่คนยังถูกขังอยู่ ใครก็ตามที่มัวแต่เอาใจเจ้า และบอกว่าต้องสู้ทางอื่น อย่าแตะสถาบันกษัตริย์ สมควรถูกวิจารณ์


Somsak Jeamteerasakul
Yesterday at 2:06 AM ·

"ทักษิณกล่าวว่า หนึ่งในรายการที่เขาจะทำ.... คือความจำเป็นที่ต้องเอากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพออกจากประมวลกฎหมายอาญา; ประเทศไทยไม่สามารถอ้างได้ว่าเป็นประชาธิปไตย ตราบเท่าที่ยังมีการข่มขู่ว่าจะดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"
ทักษิณ พูดกับทูตอเมริกัน โทขเลขวิกิลีกส์ 22 ตุลาคม 2551
............................
นี่เป็นสิ่งที่ใกล้ที่สุดที่ทักษิณอ้างว่าจะเอากฎหมายหมิ่นฯออกจากกฎหมายอาญา แต่แน่นอนว่า สุดท้ายไม่ได้ทำ และนี่เป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบเท่านั้น ภายนอกก็ไม่พูดเลย
พรรคก้าวไกล ธนาธร ปิยบุตร ก็ไม่ยอมทำเรื่องกฎหมายนี้ จนกระทั่งถูกยุบพรรค จึงขยับยื่นต่อสภา
ประเทศไทย การต่อสู้ทางการเมือง ไม่ยอมยืนยัน สิ่งที่ตัวเองเชื่อมั่น และต่อสู้เพื่อให้ได้สิ่งนั้นมา

ธนาคารไทยพาณิชย์อนุมัติปันผลหุ้นละ 2.30 บาท อยากรู้ กษัตริย์วชิราลงกรณ์ กระเป๋าตุงขึ้นอีกเท่าไหร่ อ่านต่อ...



กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย Democracy Restoration Group - DRG
7h ·

18 กุมภาพันธ์ 2564 ธนาคารไทยพาณิชย์นัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2563 ซึ่งจะประชุมในวันที่ 8 เมษายน 2564 ในอัตราหุ้นละ 2.30 บาท กำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 7 พฤษภาคม 2564
https://www.matichon.co.th/economy/news_2585829
.
กษัตริย์วชิราลงกรณ์ ถือหุ้น 793,832,359 หุ้น (23.38%)
https://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=SCB-F
.
จะได้เงินปันผลเป็นจำนวน 1,825,814,425.7 บาท
.
หุ้นทั้ง 793,832,359 หุ้นนี้ เดิมเคยเป็นของประเทศ (ถือโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งจริงๆ ก็มีปัญหาในรายละเอียดว่าใครเป็นคนคุมที่แท้จริง แต่ก็ยังต้องถือว่าเป็นของประเทศโดยนิตินัย) เงินที่ปันผลมา จึงตกเป็นของประเทศด้วย
.
แต่ในปัจจุบัน หุ้นทั้งหมดถูกถือโดยบุคคลเพียงคนเดียว เงินปันผลทั้งหมด ตกแก่เขาแต่เพียงผู้เดียว
.
แม้ใครจะช่วนอ้างให้ว่าเขาก็เสียภาษีให้ประเทศ แต่ว่าเดิมทีนั้น เงินทั้งหมดก็เป็นของประเทศอยู่แล้ว และไม่ควรกลายเป็นของใครคนใดคนหนึ่งตั้งแต่แรก

เรื่องเกี่ยวข้อง
SCB อนุมัติจ่ายปันผลปี’63 หุ้นละ 2.30 บาท มูลค่ารวม 7.8 พันล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-616370

หาไม่ได้หรอก ข้าราชการไทย ที่กล้าหาญยืนหยัดปกป้องประชาธิปไตยของประเทศ แบบนี้ ทูตเมียนมาประจำ UN Kyaw Moe Tun แถลงประณาม รัฐบาลทหารพม่า! (คลิป)



Kyaw Moe Tun พูด นาทีที่ 27.20
(A yae taw bone aung ya mye) means "The revolution must succeed."

สู้สุดใจ! เมียนมาส่อธนาคารล้ม! ปชช.บอยคอตถอนเงินหมดบัญชี พนง.แบงก์ชวนหยุดทำงานต้านกองทัพ



ชมคลิปข่าวที่
https://ch3plus.com/news/program/231608

วันที่ 24 ก.พ. 2564 หลังจากที่ประชาชนยังต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพอย่างไม่ท้อถอย บรรดาพนักงานธนาคารหลายแห่งหยุดงานประท้วงตามคำเรียกร้องของชาวเมียนมา ให้บอยคอตธุรกิจทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับทางการ โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่มีความเกี่ยวโยงกับกองทัพ อาจส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินเดือนในช่วงสิ้นเดือนนี้

ชาวเมียนมาจำนวนมาก พากันเดินทางไปถอนเงินฝากออกจากธนาคาร เนื่องจากเกิดความไม่มั่นใจ อาทิ ธนาคารเมียวดีของรัฐ ชาวเมียนมาจำนวนมากไปเข้าแถวถอนเงินกันทุกวัน บางคนยอมเช่าที่พักใกล้ๆ เพื่อเดินทางมาถอนเงินออกเต็มจำนวนโควต้าทุกวันจนหมดบัญชีเงินฝาก

ด้านหนังสือพิมพ์ นิว ไลต์ ออฟ เมียนมา สื่อกระบอกเสียงของกองทัพเมียนมา กลับรายงานไปในทิศทางตรงกันข้ามว่า ธนาคารทั่วไปยังเปิดให้บริการตามปกติ และประชาชนชาวเมียนมาล้วนแล้วแต่เดินทางมาขอมีส่วนร่วม ด้วยเห็นแก่ความสำคัญต่อเสถียรภาพของเศรษฐกิจของประเทศชาติ

ขณะที่เมื่อวานนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียมีแพลนจะเดินทางไปเยือนเมียนมาในวันที่ 25 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งถือเป็นการเดินทางเข้าไปยังเมียนมา โดยนางเร็ตโนได้เปลี่ยนแผน เดิมจะเดินทางเข้าไปยังกรุงเนปยีดอ เมืองหลวงของเมียนมาและเปลี่ยนกำหนดการเดินทางมายังประเทศไทย ทำให้ชาวเมียนมาหลายร้อยคนไปรวมตัวประท้วงหน้าสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ในนครย่างกุ้ง

นางเร็ตโน ออกแถลงการเรียกร้องให้ทุกฝ่ายหลีกเลี่ยงใช้ความรุนแรง โดยอธิบายว่า ที่ต้องเปลี่ยนแผนเดินทางไปยังเมียนมาไม่ได้หมายความว่า ทำให้การสื่อสานระหว่างอินโดนีเซียและทุกฝ่ายต้องสะดุดลง

สำหรับสถานการณ์การประท้วงดำเนินขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ที่นครย่างกุ้ง ชาวเมียนมาจำนวนมากเดินทางเคารพศพชายวัย 30 ปี ที่ถูกตำรวจยิงเสียชีวิตเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนที่เมืองมัณฑะเลย์ ทั้งครูและนักเรียนกว่า 3,000 คน รวมตัวประท้วง มีตำรวจติดอาวุธตั้งแนวคอยสกัดไว้ แต่ไม่มีรายงานเกิดความรุนแรงขึ้น

เหตุเกิดที่พม่า


เคสคุ้นๆ นะ สหรัฐเอาจริงพวกมือเปื้อนเลือด เปิดข้อมูลลับ Saudi crown prince approved operation to capture or kill Khashoggi มกุฎราชกุมารและพวก 76 คนถูกแบนเข้าเมืองสหรัฐ


Saudi Crown Prince Mohammed bin Salman

Saudi de facto ruler approved operation that led to Khashoggi murder - U.S.

Source: Reuters

WASHINGTON (Reuters) - Saudi Arabia’s de facto ruler approved an operation to capture or kill murdered journalist Jamal Khashoggi in 2018, according to a U.S. intelligence assessment released on Friday as the United States sanctioned some of those involved but not the crown prince himself.

Khashoggi, a U.S. resident who wrote opinion columns for the Washington Post critical of Crown Prince Mohammed bin Salman’s policies, was killed and dismembered by a team of operatives linked to the prince in the kingdom’s consulate in Istanbul.

Riyadh has denied any involvement by the crown prince.

The Biden administration appeared to be trying to make clear that killings of political opponents were not acceptable to the United States while preserving relations with the crown prince, who may rule one of the world’s top oil exporters for decades and be an ally against common foe Iran.

“We assess that Saudi Arabia’s Crown Prince Muhammad bin Salman approved an operation in Istanbul, Turkey to capture or kill Saudi journalist Jamal Khashoggi,” the U.S. Office of the Director of National Intelligence said in the report.

The intelligence agency based its assessment on the crown price’s control of decision-making, the direct involvement of one of his key advisers and his own protective detail, and his “support for using violent measures to silence dissidents abroad, including Khashoggi,” it added.

“Since 2017, the Crown Prince has had absolute control of the Kingdom’s security and intelligence organizations, making it highly unlikely that Saudi officials would have carried out an operation of this nature without the Crown Prince’s authorization,” the report said.

In declassifying the report, President Joe Biden reversed his predecessor Donald Trump’s refusal to release it in defiance of a 2019 law, reflecting a new U.S. willingness to challenge the kingdom on issues from human rights to the war in Yemen.

However, Biden is treading a fine line to preserve ties with the kingdom as he seeks to revive the 2015 nuclear deal with its regional rival Iran and to address other challenges including fighting Islamist extremism and advancing Arab-Israeli ties.

The United States banned entry by 76 people from Saudi Arabia, saying it will not tolerate those who threaten or assault activists, dissidents and journalists on behalf of foreign governments, Secretary of State Antony Blinken said.

Blinken announced the State Department’s “Khashoggi Ban,” a visa restriction policy “on individuals who, acting on behalf of a foreign government, are believed to have been directly engaged in serious, extraterritorial counter-dissident activities.”

Previewing the announcement, U.S. officials had said the sanctions and visa bans would not target the crown prince.

Speaking on condition of anonymity, a senior U.S. official said the approach aims to create a new launching-off point for ties with the kingdom without breaking a core relationship in the Middle East.

“The aim is a recalibration (in ties) - not a rupture. That’s because of the important interests that we do share,” the senior Biden administration official said.
....

US sanctions elite Saudi force known as "Tiger Squad" and former Saudi intel official over Khashoggi murder

Source: CNN

The US Treasury slapped sanctions on the Saudi Rapid Intervention Force known as the "Tiger Squad" and former deputy head of Saudi General Intelligence Presidency for their role in the murder of Saudi journalist Jamal Khashoggi.

“Those involved in the abhorrent killing of Jamal Khashoggi must be held accountable. With this action, Treasury is sanctioning Saudi Arabia’s Rapid Intervention Force and a senior Saudi official who was directly involved in Jamal Khashoggi’s murder,” Treasury Secretary Janet Yellen said in a statement Friday. “The United States stands united with journalists and political dissidents in opposing threats of violence and intimidation. We will continue to defend the freedom of expression, which is the bedrock of a free society.”

The Rapid Intervention Force was mentioned in the US intelligence report on the murder of Khashoggi which was declassified today.

“The RIF-a subset of the Saudi Royal Guard-exists to defend the Crown Prince, answers only to him, and had directly participated in earlier dissident suppression operations in the Kingdom and abroad at the Crown Prince's direction. We judge that members of the RIF would not have participated in the operation against Khashoggi without Muhammad bin Salman's approval,” the Office of the Director of National Intelligence report wrote.