วันอังคาร, มกราคม 31, 2566

ตำรวจไทยยังเล่น ‘งูกินหาง’ กันต่อไปกับคดีรีดไถนักท่องเที่ยวสาวไต้หวัน

เอ๊ะ ยังไง (ไม่ใช่เกี่ยวกับรูปของสำนักข่าวอมรินทร์หรอกนะ) แต่คือว่า ผบช.นครบาลพูดอย่าง ห่างกันไม่นานทั่นรองฯ พูดอีกอย่าง จากที่บอกว่าจะตั้งข้อหาตำรวจ สน.ห้วยขวาง ฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ผิดอาญามาตรา ๑๕๗

เพราะ “พบผู้ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าแล้วไม่จับกุมดำเนินคดี ส่วนคดีเรียกรับผลประโยชน์ตาม ป.อาญา ม.๑๔๙ กำลังรวบรวมพยานหลักฐาน” ต้องใช้เวลาหน่อยเนื่องจากหลักฐานทั้งหมดอยู่ต่างประเทศ ตอนนี้ก็ดำเนินการกับผู้บังคับบัญชาไปพลางๆ

ย้ายเข้ากรุไปแล้ว ผู้กำกับฯ สน.ห้วยขวาง ไปอยู่ศูนย์ปฏิบัติการกองบัญชาการตำรวจนครบาล แต่ตำรวจ ๕ คนที่ตั้งด่านหน้าสถานทูตจีนเป็นกรณีพิเศษ (ปกติไม่มีด่านที่จุดนี้) พล.ต.ต.นิตินันท์ เพชรบรม รอง ผบช.น. ยืนยันหลังสอบปากคำ ทั้งหมดปฏิเสธ

ก่อนอื่น เรื่อง#บุหรี่ไฟฟ้านี่ “การพกหรือสูบ โดยตัวมันเองไม่ได้เป็นความผิด” นะ @SaiSeeMaP ให้ความรู้ไว้บนทวิตเตอร์ “จะมีความผิดในกรณีที่มีหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นได้มาจากการลักลอบนำเข้า (โทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี/ปรับ) หลังประกาศห้าม

...แต่ถ้าเป็นบุหรี่ไฟฟ้าที่นำเข้ามาก่อน (๑๗ ธันวา ๕๗) หรือเป็นแบบ DIY หรือผลิตเองในประเทศ อันนี้ไม่ผิด” ส่วนภาพข่าวอมรินทร์ทีวี มีคนเม้นต์ว่า สีกากีที่ยืน ‘vaping’ กันอยู่นั่น ใช้น้ำมันผิดกฎหมายหรือเปล่า พูติกาล เขาถึงได้ว่า

“อยู่ไทยถ้าไม่อยากปวดหัวให้สูบกัญชา อย่าไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่คุ้มปวดเฮด” นั่นละ น่าจะทำให้ ผบ.ตร.หัวหน้าใหญ่ ปวดอยู่ขณะนี้ ทั้งที่ คนขับแกร๊บออกมายันอีกว่าพูดความจริงตอนไปให้กาลตำรวจ ว่าเห็นสาวไต้หวันเมาโวยวาย

“ประเด็นที่ดาราสาวไต้หวันถูกรีดทรัพย์จริงหรือไม่นั้น ตนไม่สามารถตอบได้” ข่าวช่อง วันรายงาน “มองผ่านกระจกเห็นว่าดาราสาวไต้หวันโวยวายอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ก่อนที่ผู้ชายจะเอาเงินมาให้แล้วบอกให้ ไปๆ

มันเลยไปคล้องจองกับข่าวเมื่อวันก่อน ที่ว่าหญิงไทยเพื่อนของสาวไต้หวันซึ่งไปท่องผับย่านอาร์ซีเอมาด้วยกัน บอกกับตำรวจว่า เงิน ๒ หมื่น ๗ พันที่ให้ตำรวจด่านไปนั้น เพื่อนชายของเธอที่เป็นคนสิงคโปร์ พูดไทยได้ เป็นคนเอามาให้

ด้านข่าวเดลินิวส์เมื่อวาน แจ้งว่ามีการสอบสวนปากคำตำรวจ สน.ห้วยขวางอย่างละเอียดที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ “ทำให้มีผู้ยอมรับสารภาพว่า ในวันดังกล่าวมีการเรียกเก็บเงินจริง และมีการแบ่งเงินกันที่บริเวณด่านในคืนเกิดเหตุ”

ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ เลยได้ทีขย่ม ผบช.น.อีก บอก “ผมรอฟังความจริงจาก ผบช.น....หากครั้งนี้ยังโกหกอีกแม้แต่คำเดียว ผมจะแถลงข่าวเปิดโปงให้ดู หลักฐานอยู่ในมือผมแล้ว” ไม่รู้ว่าถ้ามีการย้าย ผบช.น.เข้ากรุอีกคน ชูวิทย์จะหยุดไหม

(https://www.dailynews.co.th/news/1942960/, https://www.one31.net/news/detail/60761 และ https://twitter.com/KhaosodOnline/status/1619997320959111168) 

"ระบบ" ที่ใหญ่กว่า "ระบอบประยุทธ์" - ธงชัย วินิจจะกูล

#ธงชัยวินิจจะกูล
I ซีรีส์พิเศษ I “ธงชัย วินิจจะกูล" ประชาธิปไตย นิติอธรรม มาตรา112 : Matichon TV

matichon tv

Premiered Oct 15, 2022

10ปีมติชนทีวี 10 ปีการเมืองไทย สัมภาษณ์พิเศษ “ธงชัย วินิจจะกูล"นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องประชาธิปไตย เปลี่ยนให้ผ่านนิติอธรรม และมาตรา 112

ประชาธิปไตยที่เหมาะสม + ไปทะลุทำเนียบแทน = ทักษิณเชียร์ให้คงระบอบปรสิตอย่างเปิดเผย


Somsak Jeamteerasakul
11h
ขี้เกียจเถียง ให้ทักษิณเถียงทักษิณแทนก็แล้วกัน
"ทักษิณกล่าวว่าหนึ่งในวาระของเขา (เข้าใจว่าอยู่ในร่างจดหมายของเขา) คือความจำเป็นที่จะล้มเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพออกจากบทบัญญัติกฎหมายอาญา ประเทศไทยไม่อาจอ้างความเป็นประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง ตราบใดที่ยังมีคำขู่ที่จะดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

08BANGKOK3191


การไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพื่อไทยประกาศยกเลิก 112 ของทะลุวัง 31 มค. แม้จะไม่มีเสียงตอบรับ น่าจะมีผลต่อคะแนนเสียงเลือกตั้งเพื่อไทยแน่นอน


ประเวศ ประภานุกูลกิจ
16h

ผมเห็นด้วยกับคุณปุ๊ ธนพล ว่าการไปยื่นหนังสือเรียกร้องให้เพื่อไทยประกาศยกเลิก 112 เพื่อไทยจะไม่ตอบรับ
แต่ผมเห็นด้วยกับน้องๆที่จะไปยื่นหนังสือ
ถ้าเพื่อไทยเงียบ = ปฏเสธไม่แตะ 112
ในภาวะใกล้เลือกตั้งเช่นนี้ ท่าทีของเพื่อไทยต่อประเด็นนี้ น่าจะมีผลต่อคะแนนเสียงเพื่อไทยบ้าง...ไม่มากก็น้อย
การยื่นหนังสือต่อเพื่อไทย เป็นการดึงเพื่อไทยลงมาคลุกประเด็นนี้ ไม่ใช่ลอยตัวทำกำกวมไปวันๆ
การยื่นหนังสือ เป็นการส่งต่อข้อเรียกร้องของแบมกับตะวันถึงพรรคเพื่อไทยโดยตรง
หากไม่มีการตอบรับจากเพื่อไทย...ไม่ประกาศแก้ 112...ย่อมมีเหตุผลสมบูรณ์แบบที่จะรณรงค์ไม่เลือกเพื่อไทย


Thanapol Eawsakul
1d
หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรทักษิณ ชินวัตรเจ้าของพรรค เพื่อไทย ก็ไม่คิดว่ามาตรา 112 เป็นปัญหาในตัวกฎหมาย
( ทุกครั้งทักษิณจะโยนให้เป็นเรื่องของการบังคับใช้)
ดังนั้นพรรคเพื่อไทย จึงไม่มีนโยบายที่จะแก้ไขหรือยกเลิก112
กลุ่มทะลุวังจะเดินทางไปพรรคเพื่อไทยในวันอังคารนี้เพื่อทวงถามว่า "วันไหนจะยกเลิก 112"
จึงเสียเวลาเปล่า
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=727211245435709&id=100044405197180&mibextid=Nif5oz

ถ้าทักษิณไม่ "Bury head in the sand" ต้องรู้ 10 ปัญหามาตรา 112


รวม 10 ปัญหามาตรา 112

By ilaw-freedom 
on 3 February 2021

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”

มาตรา 112 หรือความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ถูกพูดถึงมานานแล้วภายใต้บริบทความขัดแย้งทางการเมือง และกำลังถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่มีการนำข้อหานี้กลับมาใช้กับผู้ชุมนุมระลอกใหม่อีกครั้งตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 และดูเหมือนว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ปริมาณคดี และขอบเขตการกระทำที่ถูกดำเนินคดี สถานการณ์เช่นนี้เองทำให้กระแสการเรียกร้องให้ "ยกเลิกมาตรา 112" ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ผ่านการแสดงออกทางสัญลักษณ์หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะในการชุมนุมขนาดใหญ่ หรือการกระจายไปหลายๆพื้นที่ในรูปแบบของการติดป้ายผ้า การพ่นสีสเปรย์ หรือการฉายเลเซอร์บนอาคาร เป็นต้น

สาเหตุที่กฎหมาย "หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ" มีปัญหาและกลายเป็นประเด็นของความขัดแย้งอยู่หลายระลอก ไม่ใช่เพียงเพราะตัวบทกฎหมายหรือการบังคับใช้ที่มีปัญหาเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงปัญหาที่ส่งผลต่ออุดมการณ์และความคิดความเชื่อของคนในสังคมอีกด้วย

๐ ปัญหาของ "มาตรา 112" อย่างน้อย 10 ข้อ ที่เป็นประเด็นในการถกเถียงมากที่สุด ; โดยแบ่งเป็น 4 ปัญหาตัวบท 4 ปัญหาการใช้ และ 2 ปัญหาโครงสร้าง

1. ปัญหาตัวบท : คนริเริ่มคดีเป็นใครก็ได้

ด้วยเหตุที่ มาตรา 112 เป็นความผิดในหมวด "ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร" บุคคลทั่วไปสามารถเป็น "ผู้กล่าวโทษ" ได้ ทำให้คนที่เดินไปบอกกับตำรวจเพื่อให้ริเริ่มการดำเนินคดีนั้นจะเป็นใครก็ได้ ไม่ต้องให้ผู้เสียหายเป็นคนเริ่มต้นคดีเอง ส่งผลให้คดีตามมาตรา 112 มีจำนวนมาก และเกิดขึ้นได้ทุกหนแห่งขอเพียงแค่มีคนเดินไปกล่าวโทษกับตำรวจเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เองทำให้กฎหมายนี้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้เพื่อกลั่นแกล้งฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง หรือกลั่นแกล้งคนที่มีความขัดแย้งกันในเรื่องส่วนตัว เช่น คดีของยุทธภูมิ เรื่องราวของพี่น้องที่อยู่บ้านเดียวกัน มีปัญหากัน และจุดยืนทางการเมืองไม่ตรงกัน พี่ชายจึงกล่าวโทษให้ตำรวจดำเนินคดีกับน้องชายตัวเองจากการสบถขณะดูทีวีภายในบ้าน

2. ปัญหาตัวบท : โทษหนักเกินไป

มาตรา 112 กำหนดอัตราโทษจำคุกไว้ที่สามถึงสิบห้าปี ซึ่งหมายความว่า เมื่อศาลตัดสินว่ากระทำความผิดจริงหนึ่งครั้ง โทษอย่างน้อยที่สุดที่ศาลจะลงโทษได้ คือ สามปี แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่เล็กน้อยเพียงใดศาลก็ไม่อาจลงโทษต่ำกว่านั้นได้ ซึ่งเป็นอัตราโทษเดียวกับความผิดฐานตระเตรียมการกบฏ หรือฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ถ้าหากเทียบกับความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคล จะพบว่ามีโทษจำคุกเพียงไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือเทียบกับในประเทศอื่นที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ญี่ปุ่น ได้มีการยกเลิกกฎหมายฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักรและนอร์เวย์ การหมิ่นประมาทกษัตริย์และบุคคลธรรมดา ต่างก็ไม่มีโทษทางอาญา หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียและบรูไน ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

3. ปัญหาตัวบท : ไม่มีขอบเขตชัดเจน

ความผิดฐาน "หมิ่นประมาท" บุคคลธรรมดา มีบทนิยามที่ระบุองค์ประกอบชัดเจนในมาตรา 326 ซึ่งแยกต่างหากกับความผิดฐาน "ดูหมิ่น" และการ "แสดงความอาฆาตมาดร้าย" บุคคลธรรมดาก็ไม่เป็นความผิด แต่มาตรา 112 รวมทั้งการ "หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย" เข้ามาเป็นความผิดในมาตราเดียวกันซึ่งกำหนดโทษเท่ากันทั้งหมด โดยประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าใจได้ทันทีเมื่ออ่านตัวบทว่า การแสดงความคิดเห็นเช่นใดจะเป็นความผิดบ้าง

4. ปัญหาตัวบท : ไม่ยกเว้นให้การแสดงความเห็นโดยสุจริต

ความผิดฐาน "หมิ่นประมาท" บุคคลธรรมดามีข้อยกเว้นในมาตรา 329-330 สำหรับการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ติชมด้วยความเป็นธรรม ให้ไม่เป็นความผิด และการพูดความจริงในเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะไม่ต้องรับโทษ แต่มาตรา 112 ไม่ได้นำข้อยกเว้นเหล่านี้มาเขียนให้ชัดเจนด้วย ทำให้การแสดงความคิดเห็นที่แม้จะเป็นไปโดยสุจริต เป็นความจริง และเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง อย่างไรก็ดี กฎหมายลักษณะอาญาที่แก้ไขเมื่อปี 2477 เคยยกเว้นให้การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่ก็ถูกตัดออกเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาในปี 2499

5.ปัญหาการใช้ : ตีความกว้างขวางเกินไป

มาตรา 112 ถูกตีความและบังคับใช้อย่างกว้างขวาง เพื่อดำเนินคดีและเอาผิดกับการกระทำหลายรูปแบบอย่างไม่มีขอบเขต ประชาชนไม่สามารถเข้าใจได้ว่าการกระทำแบบใดผิดกฎหมายบ้าง ยกตัวอย่างกรณีที่ตีความกฎหมายกว้างขวางมาก เช่น การแต่งชุดไทยเดินแฟชั่น หรือการสวมเสื้อครอปท็อป ในอดีตศาลเคยตีความและตัดสินเอาผิดจำเลยเกินตัวบท เช่น คำพิพากษาที่วินิจฉัยให้มาตรา 112 ครอบคลุมถึง รัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพฯ ทั้งที่สองพระองค์นี้ไม่ได้อยู่ในบุคคลที่มาตรา 112 บัญญัติคุ้มครองโดยตรงไว้

6. ปัญหาการใช้ : เจ้าหน้าที่ไม่ใช้ดุลพินิจให้เป็นประโยชน์แก่จำเลย

เมื่อประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องอ่อนไหว และมาตรา 112 กำหนดโทษไว้สูงในฐานะ "ข้อหาร้ายแรง" จึงส่งผลต่อดุลพินิจการตีความและบังคับใช้ของทั้งตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา แม้โดยหลักการแล้วการตีความและบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัดเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา แต่ในคดีลักษณะนี้ เจ้าหน้าที่เองก็ได้รับแรงกดดันจนไม่กล้าใช้ดุลพินิจให้เป็นประโยชน์ต่อจำเลย เช่น การสั่งไม่ฟ้องคดี หรือการให้ผู้ต้องหาได้รับสิทธิประกันตัว หรือการพิพากษายกฟ้อง เพราะกลัวจะถูกตำหนิจากสังคม หรือกลัวส่งผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของตัวเอง สถิติคดีมาตรา 112 ช่วงหลังรัฐประหารปี 2557 ถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2560 มีผู้ต้องหาหรือจำเลยเพียง 15 คนจากทั้งหมด 94 คนที่ได้ประกันตัว คิดเป็น 16 เปอร์เซ็นเท่านั้น โดยศาลมักจะให้เหตุผลในการไม่อนุญาตว่า เป็นเรื่องที่มีความร้ายแรง กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความรู้สึกของประชาชน

7. ปัญหาการใช้ : จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี

นอกจากจำเลยคดีมาตรา 112 จำนวนมากจะไม่ได้ประกันตัวในระหว่างการพิจารณาแล้ว การแสวงหาพยานหลักฐานฝ่ายจำเลยมักเป็นไปได้ยาก พยานส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญมักไม่กล้ามาเบิกความเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ให้จำเลยเนื่องจากกลัวว่าจะมีผลกระทบถึงตัวเอง การหาหลักฐานข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ก็เป็นอำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่เท่านั้น จำเลยไม่อาจขอข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเข้าถึงข้อมูลในความครอบครองของคนอื่นได้ นอกจากนี้ จำเลยหลายคนเมื่อต้องเจออุปสรรคต่างๆ ในการต่อสู้คดีก็ตกอยู่ในสภาวะ "จำยอม" ให้ต้องรับสารภาพ เพื่อหวังให้ศาลพิพากษา "ลดโทษ" ลงครึ่งหนึ่ง และหวังได้สิทธิ "ลดหย่อน" ระหว่างอยู่ในเรือนจำ รวมถึงหวังกระบวนการ "ขอพระราชทานอภัยโทษ" เพื่อให้ได้กลับสู่อิสรภาพโดยเร็วที่สุด โดยไม่อาจมุ่งมั่นกับการพิสูจน์ความจริงที่อาจต้องแลกมากับการจำคุกที่ยาวนานขึ้น

8. ปัญหาการใช้ : มากน้อย-หนักเบา ตามบรรยากาศการเมือง

การบังคับใช้มาตรา 112 ได้ทำลายหลักการปกครองด้วยกฎหมาย หรือหลักนิติธรรม เพราะเป็นการใช้กฎหมายที่ปริมาณการดำเนินคดีจะมากหรือน้อย และการลงโทษจะหนักหรือเบา แปรผันตามบรรยากาศทางการเมือง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำที่ถูกกล่าวหาและตัวบทกฎหมายตามที่ควรจะเป็นเช่นเดียวกับคดีประเภทอื่น กล่าวคือ มาตรา 112 เป็นที่รู้จักในสถานการณ์การเมืองหลังการรัฐประหารปี 2549 และเริ่มใช้กันมากท่ามกลางความขัดแย้ง "เสื้อเหลือง-เสื้อแดง" จนกระทั่งหลังการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 ก็มีการกวาดจับแนวร่วมผู้ชุมนุมดำเนินคดีอย่างน้อย 20 คน เมื่อเลือกตั้งและเปลี่ยนเป็นยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จำนวนคดีก็ไม่เพิ่มขึ้นนัก แต่เมื่อการรัฐประหารโดย คสช. ช่วงปี 2557-2558 มีการจับกุมรายใหม่กว่า 60 คน คดีต้องขึ้นศาลทหารที่ตัดสินลงโทษอย่างรุนแรง ช่วงหลังเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 9 ก็มีคดีเพิ่มขึ้นชุดใหญ่อีกครั้งก่อนที่นโยบายจะเปลี่ยน ทำให้ระหว่างเดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนตุลาคม 2563 ไม่มีการจับกุมรายใหม่เลย จนกระทั่งพล.อ.ประยุทธ์ ประกาศว่าจะใช้กฎหมาย "ทุกบท ทุกมาตรา" ทำให้นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงสิ้นเดือนมกราคม 2564 มีคดีเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 42 คดี ผู้ต้องหาอย่างน้อย 55 คน

9. ปัญหาโครงสร้าง : สร้างผลกระทบต่อสังคม

การดำนินคดีมาตรา 112 สร้างบรรยากาศความหวาดกลัวขึ้นอย่างกว้างขวาง สังคมตกอยู่ภายใต้วัฒนธรรมที่เชื่อว่า สถาบันพระมหากษัตริย์นั้น "แตะต้องไม่ได้" ประชาชนต้องเซ็นเซอร์ตัวเองอย่างสูงสุด และหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงประเด็นนี้ ทั้งในพื้นที่ส่วนตัวและในทางสาธารณะ สื่อมวลชนก็ไม่กล้ารายงานสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาทั้งข้อเรียกร้องของการชุมนุมทางการเมือง หรือรายละเอียดการดำเนินคดีมาตรา 112 ภาวะเช่นนี้เอง ทำให้ข้อเท็จจริงหรือความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยมีอยู่อย่างจำกัดอันจะส่งผลต่อความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองไทย และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของประชาชน

10. ปัญหาโครงสร้าง : สร้างผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

เมื่อปรากฏข่าวในทางสาธารณะว่า มีการดำเนินคดีมาตรา 112 กับประชาชนจำนวนมาก และมีการลงโทษหนัก ประชาชนจึงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็ส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีภาพลักษณ์ที่ประกอบด้วยความหวาดกลัว ห่างไกลจากความรู้ความเข้าใจของสังคม ไม่อาจถูกตรวจสอบ และไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่ได้ เมื่อมีข่าวการจับกุมดำเนินคดีสู่สายตาต่างประเทศ ชาวต่างชาติก็อาจเกิดความรู้สึกในแง่ลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เคยมีพระราชดำรัส ไว้ว่า "....ไม่มีใครกล้าเอาคนที่ด่าพระมหากษัตริย์เข้าคุก เพราะพระมหากษัตริย์เดือดร้อน เขาหาว่าพระมหากษัตริย์เป็นคนที่ไม่ดี อย่างน้อยที่สุด ก็เป็นคนที่จั๊กจี้ ใครว่าไรซักนิด ก็บอกให้เข้าคุก ที่จริงพระมหากษัตริย์ไม่เคยบอกให้เข้าคุก..."

คุยกับแก๊งเพื่อน 'ลุงไพโรจน์': เขาคือใคร และเกิดอะไรขึ้น - ประชาไท - ฌาปณกิจ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 16.00 น. ณ วัดตะพานหิน ต.ตะพานหิน อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร



จากกรณี 'ลุงไพโรจน์' ชายสูงวัยที่หมดสติ หัวใจวายเฉียบพลันในช่วงระหว่างการชุมนุมยื่นหยุดขัง ที่บริเวณหน้าศาลอาญาวันนี้ (29 ม.ค.) และได้เสียชีวิตลงแล้ว ผู้สื่อข่าวประชาไทคุยกับแก๊งเพื่อนคนเสื้อแดงของไพโรจน์เพื่อรู้จักเขาให้มากขึ้น

'ลุงไพโรจน์' เป็นหนึ่งในผู้ชุมนุมที่เดินเท้าไปศาลอาญาเพื่อยื่นประกันตัวนักโทษทางการเมือง เขามีอาการเหนื่อยอ่อนและนั่งพักอยู่ที่บริเวณป้ายรถเมล์หน้าศาล จากนั้นได้หมดสติพับลงไปนอนบนฟุตบาท มวลชนที่อยู่รอบข้างจึงช่วยปฐมพยาบาลและพาส่งรพ.ราชวิถีโดยเร็ว แต่สุดท้ายเขาเสียชีวิตก่อนถึงรพ. ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน

ภายหลังทราบชื่อว่า ไพโรจน์ โชติศรีพันธ์พร อายุราว 67 ปี เป็นประชาชนผู้รักประชาธิปไตย เขาเข้าร่วมในการต่อสู้อย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่สมัยคนเสื้อแดง และในวันนี้ก็เช่นเดียวกัน

14.30 น. ที่ รพ.ราชวิถี ผู้สื่อข่าวพูดคุยกับ 'มาลีและปุ๊ย' แก๊งเพื่อนเสื้อแดงของไพโรจน์


(จากซ้าย) ปุ๊ย-มาลี

มาลี เล่าว่าเธอเจอกับไพโรจน์ในม็อบคนเสื้อแดง ต่างคนต่างมาแต่ว่าเป็นขาประจำทั้งคู่จึงทำให้สนิทสนมและคอยดูแลกันตลอดมา

"ปกติเวลาอยู่ในม็อบ พี่กับเขานี่ดูโอ้เลย เราจะคอยดูเขาตลอด แต่เมื่อเช้าพี่ไม่ได้ไป"

มาลีบอก พร้อมเล่าว่าสนิทกันมาก บ้านของเขาที่ จ.พิจิตร เธอก็เคยไปเที่ยวมาแล้ว

ไพโรจน์เป็นชายสูงวัยจาก จ.พิจิตร มีพี่สาว 2 คนอยู่ที่บ้านเกิด แต่เขามาทำธุรกิจและอาศัยอยู่กรุงเทพฯ ตัวคนเดียว

ด้วยความที่บ้านของมาลี ปุ๊ยและไพโรจน์อยู่ในละแวกเดียวกัน ปกติก็จะนัดทานข้าวด้วยกันทุกวันศุกร์ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งที่กลุ่มเพื่อนจะมาเจอกันได้ง่าย

สำหรับคนสูงวัย ทุกศุกร์ที่ได้ออกมาเจอกัน กินข้าว คุยการเมือง ระบายเรื่องเครียด ถือเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่ายิ่ง

แต่ว่าเมื่อศุกร์ที่ผ่านมา (27 ม.ค.) มีกิจกรรมยืนหยุดขัง พวกเขารู้สึกเป็นห่วงเด็กๆ ที่อดอาหารอยู่ในเรือนจำจนทำให้ทานข้าวไม่ลง จึงเปลี่ยนสถานที่มานัดพบกันในม็อบที่หอศิลป์แทน ทำให้ไม่ได้มีเวลาคุยกัน

"เขายังพูดๆ อยู่ว่าเป็นห่วงเจ้าตะวัน" มาลีบอก

มาลีและปุ๊ยเล่าว่า เมื่อก่อนไพโรจน์มักนำอาหารมาแจกในม็อบ และเมื่อมีการเคลื่อนไหวของม็อบราษฎรกลุ่มต่างๆ ในปี 63 แล้วมีการจับกุมเหล่าแนวหน้า พวกตนก็ผันตัวมาเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับคนหน้างาน เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของเด็กๆ

"เขาไปสบายแล้ว" ปุ๊ยเสริม

ผู้สื่อข่าวถามว่าทั้งคู่รู้เรื่องโรคประจำตัวของไพโรจน์บ้างไหม มาลีบอกว่า ไม่เคยรู้ว่าเขามีโรคประจำตัวใดอื่น นอกจากอาการปวดหลังที่เจ้าตัวมักบ่นเป็นประจำ ซึ่งสอดคล้องกับคำพูดของ บรรศักดิ์ เกิดชัยฤทธิ์ หรือ 'ศักดิ์' หลานเขยของไพโรจน์ที่ไม่ทราบเรื่องโรคประจำตัวเช่นกัน

"ไม่เคยเห็นกินยานะ มีแต่บ่นปวดหลัง" มาลีบอก

16.00 น. ที่หอศิลป์ กรุงเทพฯ ผู้สื่อข่าวคุยกับ 'ตึ๋ง' เพื่อนอีกคนหนึ่งของไพโรจน์และเป็นคนสุดท้ายที่ได้คุยกับเขาก่อนที่จะหมดสติล้มพับลงไป


ตึ๋ง (ขวา)

ตึ๋งบอกว่าไพโรจน์เป็นหน่วยซัพพอร์ตด้านอาหารตัวยง บางทีเขาก็เป็นคนนำกระทะมาทอดไข่ด้วยตัวเอง สอดคล้องกับที่ผู้ชุมนุมคนอื่นๆ ที่จำเขาได้ เพราะเขาเอาเฉาก๊วยมาแจก

"ก็เพิ่งรู้วันนี้นี่แหละว่าเขาเป็นโรคหัวใจ" ตึ๋งบอกว่ารู้เรื่องนี้เป็นคนแรกของแก๊ง

สำหรับเหตุการณ์ในวันนี้ ตึ๋งเล่าว่าไพโรจน์นั่ง MRT มาจากบ้าน ลงที่สถานีลาดพร้าวแล้วเดินมาที่ศาลอาญาจากนั้นคงเหนื่อย จึงนั่งพักคุยกับตนที่ตรงป้ายรถเมล์ โดยบอกข่าวว่าอาการปวดหลังที่เรื้อรังมาตลอดนั้นหายแล้ว แต่ว่าตอนนี้เจอโรคใหม่แทน นั่นคือโรคหัวใจ

มาลีและปุ๊ย ทิ้งท้ายด้วยการฝากกำลังใจถึงทะลุฟ้า พร้อมบอกว่าเด็กๆ ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิดต่อเหตุการณ์ในวันนี้ เพราะลุงไพโรจน์จากไปด้วยโรคประจำตัว ทางข้างหน้ายังต้องสู้อีกไกล พวกตนพร้อมสนับสนุนเสมอ



ที่มา ประชาไท
2023-01-29

บันทึกเยี่ยม “สิทธิโชค เศรษฐเศวต” หรือ “แท็ค” ไรเดอร์ส่งอาหารวัย 26 ปี เริ่มต้นอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่วันแรกที่ถูกคุมขัง ในวันที่ 17 ม.ค. 2566 จากนั้นได้ยกระดับอดน้ำร่วมด้วยมาตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 2566 เป็นต้นมา ซึ่งจนถึงวันนี้เป็นวันที่ 14 ของการอดอาหาร และเป็นวันที่ 5 ของการอดน้ำแล้ว


ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
8h

บันทึกเยี่ยม: เพื่อนผู้ต้องขังอดอาหารเป็นเพื่อน “สิทธิโชค” แล้ว 1 คน ยัน “สิทธิประกันตัว-ต่อสู้คดีเป็นธรรม” คือข้อเรียกร้องเพื่อทุกคน
.
.
เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2566 ทนายความได้เดินทางไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อเข้าเยี่ยม “สิทธิโชค เศรษฐเศวต” หรือ “แท็ค” ไรเดอร์ส่งอาหารวัย 26 ปี ซึ่งถูกขังระหว่างอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีข้อหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
.
สิทธิโชคได้เริ่มต้นอดอาหารประท้วงมาตั้งแต่วันแรกที่ถูกคุมขัง ในวันที่ 17 ม.ค. 2566 จากนั้นได้ยกระดับอดน้ำร่วมด้วยมาตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 2566 เป็นต้นมา ซึ่งจนถึงวันนี้เป็นวันที่ 14 ของการอดอาหาร และเป็นวันที่ 5 ของการอดน้ำแล้ว
.
วันนี้สิทธิโชคถูกเบิกตัวมาพูดคุยกับทนายที่ห้องสอบสวนของเรือนจำ พร้อมกับ “เก็ท-โสภณ” เช่นเดียวกับครั้งก่อน สิทธิโชคบอกว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (27 ม.ค.) ระหว่างที่สิทธิโชคเข้าพบทนาย มีคนในเรือนจำเซ็นชื่อผิดไปเซ็นชื่อแทนสิทธิโชค ทั้งๆ ที่สิทธิโชคยังคุยกับทนายไม่เสร็จ ทำให้เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ควานหาตัวเขาว่าอยู่ที่ไหน
.
สิทธิโชคเล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์นั้นว่า “เจ้าหน้าที่ประมาณ 30-40 คน ตามหาผมทั่วแดนเลย น่าจะไปตามหาที่แดนอื่นด้วยมั้ง เรียกทุกคนในแดน 2 ออกมานั่งข้างนอก รื้อค้นห้องขังผมทุกซอกทุกมุม เพื่อดูว่าผมกินยานอนหลับไหม หรือไปฆ่าตัวตายที่ไหนรึเปล่า”
.
.
สิทธิโชคเห็นภาพวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาทั้งตอนตื่น-หลับฝัน ด้านจิตแพทย์วินิจฉัยเป็นอาการทางจิต
.
สิทธิโชคเล่าว่าทุกครั้งที่หลับตา หรือนอนฝันมักจะเห็นภาพตัวเองยืนอยู่หน้าบัลลังก์ มีผู้พิพากษาอ่านคำพิพากษา คล้ายกับเหตุการณ์ในวันที่ศาลอาญาอ่านพิพากษาในคดีนี้ สิทธิโชคบอกว่าเขารู้สึกยอมรับกับคำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้ เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนผิดอย่างที่ถูกกล่าวหา ภาวะดังกล่าวที่สิทธิโชคเผชิญอยู่จิตแพทย์ในเรือนจำได้วินิจฉัยว่า เขามีอาการทางจิตจึงได้จ่ายยาหลับนอนให้ทานเพื่อบรรเทาอาการ สิทธิโชคเล่าว่าตั้งแต่นั้นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จะพยายามให้เขาทานยานอนหลับทุกๆ คืน แม้ว่าเขาจะไม่อยากกิน ก็จะถูกบังคับตลอด
.
จากการอดอาหารและน้ำประท้วงมาเป็นเวลาหลายวัน เมื่อคืนที่ผ่านมา (29 ม.ค.) สิทธิโชคมีอาการจุกเสียดหน้าอกอย่างรุนแรง แต่ไม่นานอาการก็บรรเทาลง จึงไม่ได้ไปพบหมอที่สถานพยาบาลของเรือนจำ
.
ขณะเข้าพบทนายความสิทธิโชคมีอาการปวดท้อง วิงเวียนศีรษะบ่อยครั้ง รู้สึกอ่อนเพลีย ปากแห้งมาก ร่างกายดูซูบผอม โดยตอนนี้น้ำหนักตัวของสิทธิโชคลดลงไปแล้วประมาณ 6-7 กิโลกรัม ระหว่างพูดคุยกันเขายังอ่อนเพลียจนฟุบหลับไปกับโต๊ะหลายครั้ง บางทีสิทธิโชคก็เอามือกุมจับท้องไว้ เนื่องจากรู้สึกปวดท้องมาก อย่างไรก็ตาม ระหว่างการอดอาหารและน้ำนี้เขายังคงพยายามออกกำลังกายด้วยการใช้แรงเบาๆ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายอีกด้วย
.
.
เพื่อนผู้ต้องขังให้กำลังใจ 1 คนร่วมอดอาหารประท้วงด้วยแล้ว อีกหลายคนกำลังตัดสินใจ
.
สิทธิโชคเล่าให้ฟังว่า ช่วงแรกๆ ของการอดอาหาร ทั้งเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และเพื่อนๆ ในเรือนจำมักจะเข้ามาถามไถ่ในลักษณะเกลี้ยกล่อมให้ยุติการอดอาหารประท้วง แต่เขาก็จะพยายามอธิบายให้ทุกคนฟังว่า การอดอาหารครั้งนี้ก็เพื่อตั้งใจเรียกร้องให้มีการยกเลิกระบบกล่าวหา และพยายามเล่าให้ทุกคนเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวสิทธิโชคเองว่าไม่เป็นธรรมอย่างไรบ้าง
.
“มีคนถามผมว่าอดอาหารแบบนี้จะทำอะไรได้ มันจะได้ผลอะไรเหรอ, ผมตอบกลับเขาว่า ทุกๆ การกระทำของเรา ไม่ว่าจะอยู่ข้างนอกหรือข้างในมันมีผลตามมาเสมอ อยู่ข้างในก็มีผลกับผู้คุม เจ้าหน้าที่ หมอ พยาบาลและเพื่อนๆ ผู้ต้องขังด้วยกัน”
.
เมื่อหลายคนเข้าใจสถานการณ์ความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับสิทธิโชคและต่อตัวพวกเขาเองมากขึ้น ส่วนใหญ่ก็ให้กำลังใจ หลายคนยังบอกอีกว่า “ถ้าไม่ไหวก็บอกกันได้เสมอนะ”
.
สิทธิโชคเชื่อว่าหลายคนรู้ดีถึงความตั้งใจของเขาว่าไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเองเพียงคนเดียว แต่เขาต่อสู้เพื่อสิทธิประกันตัวของทุกคนในเรือนจำ ทุกคนในประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามพวกเขาก็ควรได้รับสิทธิประกันตัวอย่างเป็นธรรม
.
“ผมอยากออกไปเดินเรื่อง หรือยื่นหนังสือเองด้วยซ้ำ ถ้าได้ออกไปนะ อย่างน้อยๆ ทุกคนก็ควรมีสิทธิที่จะสู้”
.
.
“ผมมีความสุขกับการช่วยเหลือคนเสมอ ที่ผมอดน้ำอดอาหารก็เพื่อทุกคน เพราะผมอยากให้ทุกคนได้ออกไปสู้คดีอย่างเต็มที่ อยากให้ทุกคนในเรือนจำได้รับความยุติธรรม ต่อให้ตอนนั้นจะไม่มีใครจำชื่อผมได้ ผมก็มีความสุขแล้ว”
.
.
“ตอนนี้ผมมีแนวร่วมมากขึ้นนะ อยู่ในเรือนจำผมเป็นช่างตัดผม ใครเข้ามาตัดผมกับผม ผมก็จะชวนเขาคุยด้วย จนหลายคนเริ่มรู้สึกตระหนักกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเองแล้วว่ามันก็มีเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นธรรมอยู่เหมือนกัน”
.
“ไม่ใช่แค่นักโทษทางการเมือง นักโทษที่เข้ามาใหม่ หรือเพื่อนร่วมห้องก็มาคุยกับผม พวกเขาอยากกอดผม พวกเขาเองก็อยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเองเหมือนกัน ไม่ใช่แค่คนไทยนะ มีชาวสิงคโปร์ ชาวมาเลเซียด้วย ตอนนี้มีเพื่อนๆ ประมาณ 6-7 คน เขารู้สึกว่าอยากอดอาหารประท้วงไปด้วยกัน”
.
“อย่างคนสิงคโปร์เขามาอยู่ประเทศไทยนานแล้ว คนที่รู้ความจริงทั้งหมดมีแค่เขาคนเดียว แต่เขาออกไปสู้คดีไม่ได้ มีน้องคนนึง อายุแค่ 18 เอง เขาโดนคดีปล้นทรัพย์ น้องเริ่มอดอาหารประท้วงมา 2 วันแล้ว ผมก็เพิ่งรู้ตอนน้องมาตัดผมกับผม แล้วน้องก็ร้องไห้ ผมก็เลยเริ่มชวนคุย”
.
“น้องเล่าให้ฟังว่าเขากินอะไรไม่ลงเลย เขาอยากอดอาหารเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัว ผมก็บอกว่าไม่ต้องเอาผมเป็นตัวอย่างนะ แต่น้องบอกว่าน้องอยากทำเอง เพราะน้องรับไม่ได้กับความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้น”
.
.
สิทธิโชคแสดงความเป็นห่วงถึง “ตะวัน-แบม” ถ้ามีโอกาสอยากเจอตัวจริงทั้งสอง
.
“ผมเล่าเรื่องแบมกับตะวันให้ทุกคนในแดน 2 ฟัง ทั้งผู้คุมและผู้ต้องขัง ส่วนใหญ่จะรู้สึกสลดและหดหู่กัน พวกเขาฝากกำลังใจมาให้ทุกคน ไม่อยากให้น้องเป็นอะไร” จากนั้นสิทธิโชคได้สอบถามอาการของแบมและตะวันต่อด้วยความเป็นห่วง และเพื่อที่จะเอาไปอัพเดทให้เพื่อนในเรือนจำได้ฟังด้วย
.
หลังการอัพเดทอาการล่าสุดของแบมและตะวันให้ฟัง เขานั่งนิ่งก่อนจะร้องไห้ออกมา เขาปาดน้ำตาพลางพูดว่า “ผมเคยเห็นน้องสองคนแค่ในข่าว ผมภาวนาว่าถ้าผมได้ประกันวันนี้ พรุ่งนี้ ผมจะขอไปเยี่ยมพวกเขา ผมอยากเจอเขาตัวเป็นๆ แต่ไม่รู้ว่าจะทันรึเปล่า
.
“ผมนับวันตลอด ตอนนี้มันเกินขีดจำกัดที่คนจะทนได้แล้วพี่” สิทธิโชคเริ่มร้องไห้อีก
.
“ถึงเราจะไม่รู้จักกัน แต่เรามีอุดมการณ์เดียวกัน มันไม่ควรมีใครมาอยู่ตรงนี้ ประเทศที่คนออกมาเรียกร้องสิทธิของตัวเองแล้วโดนคดี มันก็แค่ประเทศเผด็จการในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นแหละ ผมเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ เพราะมันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนในประเทศอยู่แล้ว”
.
.
ทั้งนี้ สิทธิโชคถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 2 ปี 4 เดือน ในคดีข้อหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากการถูกกล่าวหานำของเหลวคล้ายว่าเป็นน้ำมันไปฉีดพ่นใส่กองเพลิงที่ลุกไหม้อยู่บริเวณฐานพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 และพระราชินี บริเวณเกาะกลางถนนราชดำเนินนอก แยกผ่านฟ้าลีลาศ ระหว่างการชุมนุม #ม็อบ18กรกฎา2564 และถูกคุมขังเรื่อยมาโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว
.
.
อ่านบนเว็บไซต์: https://tlhr2014.com/archives/53018

ทักษิณบอกให้ #ทะลุวัง ไปศึกษาปวศ.การต่อสู้ของพรรคไทยรักไทย ถ้าพวกเขาศึกษาแล้วรู้ว่าพรรคเคยใช้ #ม112 เล่นงานฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมาก่อน พวกเขาจะคิดยังไง


Rishadan Port
@RishadanPort
·14h
ทักษิณบอกให้ #ทะลุวัง ไปศึกษาปวศ.การต่อสู้ของพรรคไทยรักไทย ถ้าพวกเขาศึกษาแล้วรู้ว่าพรรคเคยใช้ #ม112 เล่นงานฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองมาก่อน พวกเขาจะคิดยังไง 10 พย. 2548 ประชา ประสพดี และสิทธิชัย กิตติธเนศวร ส.ส. #พรรคไทยรักไทย แจ้ง 112, 116, พ.ร.บ.วิทยุฯ สนธิ ลิ้มทองกุล และพวก
.....
เด็ก “ทักษิณ” แจ้งจับ “สนธิ” อ้างหมิ่นเบื้องสูง - กบฏ

2 ส.ส.ไทยรักไทย ร้อนแทนนาย บุกสอบสวนกลาง แจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี “สนธิ-สโรชา-หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ” อ้างหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ขณะที่ ผบช.ก.ออกโรงรับลูกส่งต่อให้กองปราบฯ ตั้งทีมสอบสวน

วันนี้ (10 พ.ย.) นายประชา ประสพดี ส.ส.สมุทรปราการ พรรคไทยรักไทย และนายสิทธิชัย กิตติธเนศวร ส.ส.นครนายก พรรคไทยรักไทย เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อ พล.ต.ท.มนตรี จำรูญ ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (ผบช.ก.) เพื่อดำเนินคดีต่อนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์, กระทำการให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดซึ่งมิใช่แสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน และความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498

โดย นายประชา กล่าวว่า สาเหตุที่เดินทางมาแจ้งความร้องทุกข์ในวันนี้นั้น เนื่องจากวันนี้ได้อ่านหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ฉบับประจำวันพุธที่ 9 พฤศจิกายน 2548 ฉบับที่ 4653 (4651) หน้าแรกในหัวข้อเรื่อง “ตำรวจแจ้งจับสนธิ อ้างหมิ่นฯ” มีรายละเอียดปรากฏในหน้าแรก และหน้าที่ 2 และ (อ่าน...เรื่องภาพคาใจคนไทย “นายกฯทักษิณในโบสถ์วัดพระแก้ว” หน้า...14) คอลัมน์ ถาม-ตอบ โดย พายัพ วนาสุวรรณ

“จากข้อความและภาพดังกล่าวนั้น พาดพิงถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล พูดในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ สัญจร ครั้งที่ 2 จัดที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2548 และพูดซ้ำอีกในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร ครั้งที่ 7 จัดที่ลุมพินีสถาน สวนลุมพินี เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พ.ย.2548 ใส่ความ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กรณีไปประกอบพิธีในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการเหิมเกริมกระทำการเทียบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นายประชา กล่าว

นายประชา ยังกล่าวอีกว่า ซึ่งในความเป็นจริงจากรายละเอียดใน นสพ.โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 10 พ.ย.2548 คอลัมน์หน้าแรกที่ยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับพระบรมราชานุญาตอย่างถูกต้องในการประกอบพิธีในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และนอกจากนั้น นายสนธิ และ น.ส.สโรชา มีการพูดผ่านรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ในหลายๆ ครั้ง ซึ่งแพร่ภาพและเสียงผ่านเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โจมตีนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล โดยกล่าวพาดพิงโดยกล่าวเปรียบเทียบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเจตนาทุจริต ถือได้ว่าเป็นการใส่ความ พูดเท็จ และพยายามดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ตกต่ำ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด สร้างความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน อันเป็นการก่อความไม่สงบขึ้นในประเทศ

“การกระทำของนายสนธิ กับพวก มีเจตนาเพื่อหวังทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล โดยการนำสถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดซึ่งอยู่เหนือการเมืองมาพาดพิงโดยความเท็จ เป็นการดึงฟ้าให้ลงต่ำโดยหวังผลเพื่อใส่ความนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล ทำให้ประชาชนหลงเชื่อ เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน อันเป็นการกระทำผิดฐานหมิ่นพระมหากษัตริย์ และความผิดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 8 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116(2) และ พ.ร.บ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 และความผิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจนถึงที่สุด” นายประชา กล่าว

ด้าน พล.ต.ท.มนตรี จำรูญ ผบช.ก.กล่าวว่า ได้รับเรื่องแจ้งความร้องทุกข์ดังกล่าวไว้แล้ว และจะได้มอบหมายให้ พล.ต.ต.วินัย ทองสอง ผบก.ป.ตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ และให้รายงานผลกลับมายังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) อย่างต่อเนื่องอีกครั้ง

นี่..ไม่พูดบ้างไม่ได้เหรอ ?


เสรี ตาสว่าง
@Samk109100
: ท่านไม่พูดบ้างก็ได้มังครับ. อยากใด้แลนด์สไลท์ พูดออกมาแต่ละครั้ง ท่านก็ทำลายฐานเสียงคนรุ่นใหม่ตลอด : ท่านบอกไม่มีปัญหา เอาแค่คนเชียงใหม่บ้านท่านถูกแจ้งความโดยใครบางคนที่สุไหงโกลก ก็ต้องเดินทางไปรายงานตัวที่นั่น เพราะใครๆก็แจ้งความได้ ใช่มีเงินมากอย่างท่านก็คงใด้ ไปมาแค่นี้จิ๊บๆ



กลุ่มทุนก็เล่นหวย


Prachaya Nongnuch
9h

ระดม ‘ทุนประชารัฐ’
170 โต๊ะ ทะลุ 510 ล้าน
‘บิ๊กป้อม’พล.อ.ประวิตร หน.พลังประชารัฐ ปธ.จัดงานระดมทุน “พลังประชารัฐ ใจบันดาลแรง” ที่ รร.เซนทาราแกรนด์ Central World นั่งโต๊ะ ‘เบอร์ 1’ กับระดับ ‘รัฐมนตรี’ ทั้ง ‘ตรีนุช เทียนทอง’รมว.ศึกษาฯ ‘เสี่ยโอ๋-ชัยวุฒิ’รมว.ดิจิทัลฯ แกนนำ พปชร. ‘วิรัช’รองหัวหน้า พปชร. ‘นฤมล’เหรัญญิก พปชร.‘เสี่ยโต’อภิชัย เตชะอุบล และ ‘บิ๊กน้อย’พล.อ.วิชญ์ ที่พึ่งกลับเข้าพรรควันนี้
เบื้องต้นขายได้ 170 โต๊ะ ราคาโต๊ะละ 3 ล้านบาท นั่งโต๊ะละ 10 คน รวม 510 ล้านบาท …. แบ่งโควต้าให้ ‘รัฐมนตรี’ รับผิดชอบคนละ 10 โต๊ะ
.....
Thanapol Eawsakul
9h
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=6265708916795461&id=100000692431266&mibextid=Nif5oz
ระหว่างประยุทธ์ จันทร์โอชา พรรครวมไทยสร้างชาติกับประวิตร วงษ์สุวรรณพรรคพลังประชารัฐ
กลุ่มทุนอุปถัมภ์ไทย
ยังแทงหวยประวิตร วงษ์สุวรรณ พรรคพลังประชารัฐอยู่ครับ
เพราะเข้าใจว่าพรรคพลังประชารัฐสามารถจับมือได้กับทุกพรรคการเมืองในประเทศไทย
ซึ่งแน่นอนต้องมีพรรคเพื่อไทยเป็นพันธมิตรอันดับ 1
ยกเว้นพรรคก้าวไกล

หญิงอินเดียจำนวนมาก ถูกบังคับให้กลายเป็นทาสกามแก่ผู้ชาย โดยอ้างว่าเป็นการทำเพื่อถวายตนแด่เทพเจ้า

https://www.facebook.com/BBCnewsThai/videos/491106929867743

เดินขบวนไปศาลฎีกา สนับสนุน 3 ข้อเรียกร้อง ตะวัน-แบม


บีบีซีไทย - BBC Thai
· 12h

เดินขบวนไปศาลฎีกา สนับสนุน 3 ข้อเรียกร้อง ตะวัน-แบม
.
กลุ่ม “ทะลุวัง” นำรายชื่อกว่า 6,000 รายชื่อ เดินขบวนจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปยื่นต่อประธานศาลฎีกา เพื่อสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของ ตะวัน-แบม ที่อดอาหาร อดน้ำ และไม่รับการรักษา มานานตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค. 2566
.
3 ข้อเรียกร้องของ ตะวันและแบม คือ ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ยุติการดำเนินคดีกับประชานที่ใช้สิทธิเสรีภาพทางการเมือง และเรียกร้องทุกพรรคการเมืองต้องเสนอนโยบายยกเลิกมาตรา 112 และข้อหายุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
.
อ่านการต่อสู้ด้วยการอดอาหารและน้ำของ ตะวัน-แบม
ได้ทางนี้ https://bbc.in/3WJTAFz








การอดอาหารประท้วงในเรือนจำของนักกิจกรรมนักเคลื่อนไหวปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของ ตะวัน และ อรวรรณ นับเป็นระลอกที่ 3 ของการอดอาหารประท้วงของผู้ต้องหาคดีมาตรา 112

ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน บันทึกการอดอาหารของนักกิจกรรมการเมือง ซึ่งปรากฏในช่วงการชุมนุมปฏิรูปสถาบันฯ เกิดขึ้นมาแล้ว 2 ระลอก

ปี 2564 แกนนำและนักกิจกรรม รวม 8 คน เช่น
เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ อดอาหาร 58 วัน ตั้งแต่ 15 มีนาคม - 11 พฤษภาคม 2564,
รุ้ง - ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อดอาหาร 37 วัน (31 มี.ค. - 6 พ.ค. 2564),
ฟ้า-พรหมศร วีระธรรมจารี อดอาหาร 43 วัน จาก 3 ครั้ง (มี.ค.- ส.ค. 2564)

ปี 2565 นักกิจกรรม 6 คน เช่น
ตะวัน - ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ อดอาหาร 37 วัน (20 เม.ย. - 26 พ.ค. 2565),
บุ้ง และ ใบปอ อดอาหาร 48 วัน (1 มิ.ย. -18 ก.ค.),
เก็ท - โสภณ สุรฤทธิ์ธำรง อดอาหาร 20 วัน (5-24 พ.ค. 2565)

อานนท์ นำภา แกนนำกลุ่ม "ราษฎร" โพสต์บนเฟซบุ๊กถึงการอดอาหารประท้วงของตะวัน และอรวรรณว่า หากเสียงของทั้งสองคนถูกขานรับ พวกเธออาจไม่ต้องเจอจุดจบอย่างที่เคยปรากฏกับ สืบ นาคะเสถียร นวมทอง ไพรวัลย์ แท็กซี่ผู้ผูกคอตายเพื่อประท้วงการรัฐประหาร 2549 หรือการยิงตัวตายของผู้พิพากษา คณากร เพียรชนะ ที่ยิงตัวเองเสียชีวิตเมื่อเดือน ต.ค. 2563

"เชื่อว่าคนที่รักความเป็นธรรมไม่ได้นิ่งเฉยกับเรื่องความอยุติธรรม ทว่าเราจะทำอย่างไร จะสู้อย่างไร จะขานรับอย่างไร อันนี้คือสิ่งที่ต้องช่วยกันคิดในเวลาที่จำกัด"

อานนท์ ระบุด้วยว่า "การอดทั้งข้าวและน้ำ น่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน มากกว่านั้นคงไม่เกิน 10" และ "ไม่ควรมีใครเสียชีวิตเพื่อการต่อสู้ครั้งนี้ การเสียสละชีวิตของทั้งสองมันมีค่าเกินกว่าบัวใต้ตมที่จะสำนึก"

ด้าน "รุ้ง" ปนัสยา กล่าวบนเฟซบุ๊กของตัวเองว่า เหลือเวลาอีกไม่กี่วันก่อนที่ตะวันและ อรวรรณ จะถึงจุดวิกฤติจากการอดอาหารและน้ำ พร้อมทิ้งทิ้ายข้อความว่า "โปรดสนใจเรื่องนี้"

ที่มา บีบีซีไทย

“ไม่กลัวตาย หากความตายนี้จะนำมาซึ่งความยุติธรรม... การเลือกวิธีการอดอาหารและน้ำเป็นแนวคิดที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมีผลชัดเจนและรวดเร็ว...อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดไม่ใช่การตาย และเห็นว่าการมีชีวิตต่อเพื่อการต่อสู้กับสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลักสำคัญยังเป็นประเด็นที่สำคัญที่อยู่ระหว่างการพิจารณา” ตะวัน-แบม


พลเมืองโต้กลับ Resistant Citizen
4h
#ยืนหยุดขังlllday237
31 มกราคม 2566
.
“ไม่กลัวตาย หากความตายนี้จะนำมาซึ่งความยุติธรรมและอิสรภาพของผู้ที่ออกมาเรียกร้องและถูกดำเนินคดีเพียงเพราะต้องการการเปลี่ยนแปลง ที่จะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่ลดลง การมีชีวิตและประเทศชาติที่ดีขึ้น ก็ยินดีเสียชีวิต”
.
“การเลือกวิธีการอดอาหารและน้ำเป็นแนวคิดที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมีผลชัดเจนและรวดเร็ว”
.
“อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดไม่ใช่การตาย และเห็นว่าการมีชีวิตต่อเพื่อการต่อสู้กับสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลักสำคัญยังเป็นประเด็นที่สำคัญที่อยู่ระหว่างการพิจารณา”
.
“เยาวชนเป็นผู้ที่ดูแลประเทศชาตินี้ต่อไป ชาติควรดูแลให้เยาวชนเติบโตต่อไปอย่างแข็งแรง เพื่อให้ดูแลประเทศ แทนการกระทำอะไรบางอย่างให้เยาวชนเกิดอุปสรรคต่อการเติบโตพัฒนา”
---ข้อความจากการสื่อสารของตะวันและแบมต่อสังคม 30 มกราคม 2566
(ข้อมูลจากเพจทนายความ Sai Kunthika Nutcharus)
.
#ยืนหยุดขังlll ณ ลานอากง สนามราษฎร์ ทุกวัน เวลา 17.30-18.42 น.
.
#ปล่อยเพื่อนเรา
#ปล่อยผู้บริสุทธิ์
#คืนสิทธิการประกันตัว
#ยกเลิก112

.....

วันจันทร์, มกราคม 30, 2566

กลุ่มประชาธิปไตยในสหรัฐกังวลอาการของ 'ตะวันกับแบม' เรียกร้องทางการไทยปล่อยนักโทษการเมือง

สหภาพเพื่อประชาธิปไตยไทยในสหรัฐ (Association for Thai Democracy, USA) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทางการไทยยึดมั่นในหลักการแห่งกฎหมาย (Rule of Law) มอบความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้ถูกคุมขังทางการเมือง ตามที่พวกเขาควรได้รับ

ข้อเรียกร้องดังกล่าว ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้สนับสนุนประชาธิปไตยในทวีปเอเซีย หรือชื่อเดิมว่า พันธมิตรชานม ลอส แองเจลีส สหภาพชาวฟอร์โมซาเพื่อกิจการสาธารณะ ลอส แองเจลีส และฮ่องกง ฟอรั่ม ลอส แองเจลีส

แถลงการณ์กล่าวถึงความกังวลต่ออาการทรุดลงของ ตะวัน ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ แบม อรวรรณ ภู่พงษ์ ซึ่งทำการอดอาหารและน้ำประท้วงการที่ศาลไทยถอนประกัน ไม่ยอมปล่อยตัวเพื่อนนักกิจกรรมหลายคน โดยชี้ว่าขณะนี้มีนักกิจกรรมถูกคุมขังและห้ามประกัน อย่างน้อย ๒๒ คน

“ควรบันทึกไว้ด้วยว่า หลักเกณฑ์ในการให้ประกัน ปล่อยตัวชั่วคราว โดยศาลไทยไม่มีความแน่นอน สุดแท้แต่การพิจารณาโดยส่วนตัวของผู้พิพากษาแต่ละคน” คำแถลงซึ่งประกาศท่าทีสมานฉันท์กับข้อเรียกร้อง ๓ ประการของตะวันกับแบมระบุ

เอทีดีแจ้งด้วยว่าข้อเรียกร้องทั้งสามของตะวันกับแบมนั้น คือการใช้เสรีภาพในการแสดงออก ที่เป็นแก่นหัวใจของสังคมประชาธิปไตย จำเป็นสำหรับสร้างหลักประกันให้ประชาธิปไตยเบ่งบาน “เหล่านี้เป็นสิทธิพื้นฐาน

ซึ่งถูกผู้ครองอำนาจในไทยกีดกั้นจำกัดอย่างต่อเนื่อง...ขอให้ข้อเรียกร้องทั้งสาม (ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปล่อยผู้ต้องขังทางการเมือง และให้พรรคการเมืองตั้งปณิธานร่วมยึดมั่นหลักประกันเรื่องสิทธิและเสรีภาพ) เป็นก้าวแรกในการรื้อฟื้นระบบยุติธรรมและประชาธิปไตย”

(https://twitter.com/USA4THdemocracy/status/1619698388873916422)

ไม่รอดละตำหวดไทย สน.ห้วยขวางรับแล้ว ตบทรัพย์สาวไต้หวันจริง คนจ่ายเงินเป็นหญิงไทย

ไม่รอดละตำหวดไทย คดีตบทรัพย์สาวไต้หวัน ๒ หมื่น ๗ พันบาท เล่นงูกินหางมาตั้งนาน เอาคนขับแกร๊บมาให้การว่าสาวเมาแอ๋ สูบบุหรี่ไฟฟ้า เปิดกล้องวงจรปิดสามจุดไม่พบการจ่ายเงิน สาวกลับไปโพนทนาที่โน่นไทเป หมาต๋าไท้กัวตอแหล

ต้องขอยืมคำ ชำนาญ(จันทร์เรือง) มาใช้หน่อย “ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่สาวไต้หวันคนนั้นเมาหรือไม่เมา สูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่สูบ หรือว่ามากับผู้ชายถึงสามคน แต่ประเด็นคือตำรวจรีดเอาตังค์สองหมื่นเจ็ดไปจริงหรือเปล่า” ท้ายที่สุด จริงอะ

วันนี้สำนักข่าวประโคมกันหึ่ม หลังจากที่ ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ ทิ้งระเบิดนครบาลลูกใหญ่เมื่อเย็นวาน “มีผู้หญิงคนไทยแฟนเป็นคนสิงคโปร์ ที่ไปร่วมวงสังสรรค์กินเหล้ากับดาราสาวไต้หวัน ให้การยืนยันว่าได้เป็นผู้จ่ายเงินให้กับตำรวจที่ตั้งด่านด้วยตัวเอง”

ซ้ำรับประกันว่า มีคลิปยืนยันตอนจ่ายเงิน ๒๗,๐๐๐ บาทจริง แม้นว่าก่อนหน้านิดเดียว โฆษกตำรวจเพิ่งแถลงฟอกผิด ว่าตรวจสอบแล้ว “ไม่มีตำรวจห้วยขวางเรียกรับผลประโยชน์” แต่อย่างใด ชูวิทย์ว่านั่นทำปากแข็งจัดฉากกันขนานใหญ่

เช่น “ลบคลิปที่ด่านหน้าสถานทูตจีน ลบคลิปกล้องบนหมวกของตำรวจที่ด่าน  กล่อมให้คนขับแกร๊บยืนยันว่าดาราสาวไต้หวันเมามาก พูดไม่รู้เรื่อง...แล้วอ้างว่ากล้องหน้ารถบันทึกได้แค่ ๒๐ วัน จึงไม่มีภาพ” ส่วนกล้องที่ใช้แก้ตัวคงเลือกดูบางจุด

บังเอิญ “ผบ.ตร. เห็นท่าไม่ดี สั่งการให้ พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผู้การฯ ศูนย์สืบสวนนครบาล รีบบินด่วนเพื่อไปสอบปากคำจากดาราสาวไต้หวัน” พร้อมกับเชิญสาวไทยเพื่อนที่ไปเที่ยวด้วยกันกับดาราไต้หวัน ไปให้การจึงทราบความจริง

จึงมีการกลับลำกันพัลวัน ข่าวว่าวันนี้ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง เตรียมแถลงด่วน ก่อนที่จะฉาวโฉ่ไปกว่านี้ “ให้กลิ่นเหม็นเน่าเข้าไปอีก เพิ่งเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว...ทำให้อับอายขายขี้หน้า” ชูวิทย์เลยซัดหนักไปที่ ผบช.น.คนนี้

อ้าง “ผมบอกท่านนายกฯ ไว้แล้ว เมื่อวันไปพบที่ศูนย์ประชุมสิริกิติ์ ดันไม่เชื่อผม ให้ ผบช.น.คนนี้อยู่นครบาลต่อไป ยังมีระเบิดลงอีกเป็นลูกระนาด เสียท่า ตู่เลยเอาเรื่องเปิดประเทศท่องเที่ยวไปหาเสียงไม่ถนัดละสิ

(https://www.facebook.com/sorrayuth9115/posts/0ZM6xUwjq) 

เรื่องเหล่านี้ ทักษิณและหลายๆคน อาจจะยังไม่ทราบ...


ประเวศ ประภานุกูลกิจ
16h

ประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทย ตามความเห็นของ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ คล้ายกับทักษิณนะ


Puangthong Pawakapan
17h
นี่ก็ประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับสังคมไทยเช่นกัน
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ: "รัฐธรรมนูญไทยทุกฉบับที่บัญญัติว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้ บทบัญญัตินี้เป็น "ผล" ของวัฒนธรรมและจริยธรรมไทยที่เป็นเอกลักษณ์นี้เอง ไม่ใช่ "เหตุ" ที่บังคับให้คนไทยเคารพพระมหากษัตริย์อย่างที่อ้างๆ กัน วัฒนธรรมการปกครองแบบ "พ่อปกครองลูก" (paternalistic governance) นี้เองที่อธิบายปรากฏการณ์ที่อาจไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ คือเมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์โดยไม่เป็นธรรม คนไทยส่วนใหญ่ก็รู้สึกเหมือนพ่อตนเองกำลังถูกทำร้ายและยอมรับไม่ได้ เหมือนๆ กับที่คนไทยยอมรับไม่ได้ที่จะให้ใครมาจาบจ้วงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแม้พระพุทธรูปที่แทนพระพุทธเจ้า"
คุณทักษิณควรเชิญบวรศักดิ์กลับมาเป็นที่ปรึกษาของตนอีกครั้ง
ข้อความข้างต้นอ้างจากบทความ "วัฒนธรรมไทยกับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เอกลักษณ์ของประชาธิปไตยไทยในกระแสประชาธิปไตยโลก"
.....
Puangthong Pawakapan
ลิงค์ของบทความข้างต้น http://web.senate.go.th/.../Image/b/b105%20jul_6_3.pdf
.....
Pipob Udomittipong
พากย์อังกฤษเขาเขียนไว้ 3 ตอน สรุปได้แค่นี้
“The bond between the Thai monarchy and the Thai people is unique. It is not one between the Head of State as a political institution and the people as holders of sovereign power. It is a special relationship with certain characteristics that may be difficult for foreigners to appreciate.”
ฝรั่งอย่างมึงไม่วันเข้าใจหรอกว่าคนไทยกับสถาบันผูกพันกันยังไง? เป็นบทความ “วิชาการ” มาก ๆ

‘บก.ลายจุด’ ชี้ แกนนำเสื้อแดงถึงจุดแยกทางเป็นเรื่องธรรมดา แต่มวลชนยังอยู่และวิวัฒน์ต่อไปอย่างไร้ขีดจำกัด

เมื่อวันที่ 29 มกราคม นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์คนเสื้อแดง โดยระบุว่า “หลายคนกังวลต่อท่าทีและบรรยากาศของแกนนำเสื้อแดงที่แสดงความเห็นผ่านสื่อในช่วงเวลานี้ ว่าขบวนเสื้อแดงจะเกิดปัญหา

ผมมองว่าเรื่องของแกนนำเป็นธรรมดาที่จะเกิดเหตุการณ์ทางแยก และต่อให้ขบวนเสื้อแดงได้จบลงแล้ว แต่ความเป็นเสื้อแดงยังคงอยู่ เครื่องแบบหรือจิตวิญญาณเป็นสิ่งที่เราตัดสินใจและแต่งตั้งให้กับตนเองว่าคุณจะเป็นเสื้อแดงหรือเปล่า

ขบวนเสื้อแดงจึงได้รับผลกระทบเพียงโครงสร้างส่วนนำ แต่มวลชนยังคงอยู่และวิวัฒน์ต่อไปแบบไร้การจัดตั้ง”

ที่มา มติชนออนไลน์
29 มกราคม 2566


Somsak Jeamteerasakul
9h
ความลับของการชุมนุมต่อ พฤษภาคม 2553 ตามการเล่าของจตุพร พรหมพันธ์ุ
ฟังการเล่าของจตุพร ถึงเบื้องหลังที่ตัดสินใจคนเดียวในที่ประชุมแกนนำ เป็นเสียงเดียวในที่ประชุมไม่ยอมเลิก
เขาเล่าว่า เขาเป็นคนเดียวที่แย้ง เพราะเขารู้ว่าทักษิณจะไม่ยอม และเตรียมที่จะเอาทีมอื่นมายึดเวที
หลังจากพักประชุม ทักษิณก็โทรศัพท์มาหาเขา บอกว่าได้ข่าวจะยุติการชุมนุม จะยุติทำไม ให้ไปต่อ เขาจึงเอาไปเล่าต่อในที่ประชุมว่าทักษิณยืนยันให้ชุมนุมต่อ
นาทีที่ 1:01 ถึง 1:18 ชั่วโมง
(เอาเฉพาะเหตุการณ์นี้ ส่วนอื่นก็น่าสนใจ ถ้าจะฟัง เสนอให้ข้ามนิติธรได้เลย น่าเบื่อ)
https://www.facebook.com/Jatuporn.UDD/videos/1300353277208750
นี่เป็นครั้งแรกที่จตุพรเล่าเบื้องหลังให้ฟัง (ดูคำสัมภาษณ์หมาแก่ ต่อวีระ มุกสิกพงศ์ ประกอบ https://www.youtube.com/watch?v=DBKFFu9Yzf8)
น่าเชื่อถือไหม? ผมว่ายังมีปัญหาอีกมากให้ถามต่อได้ในส่วนของจตุพร แต่ที่ยืนยันแล้วว่า ไม่ผิดแน่นอน คือทักษิณเป็นคนยืนยันให้ชุมนุมต่อจริง (ตามที่เชื่อกันคือเพื่อหวังจะต่อรองเพิ่มมากขึ้น ให้ตัวเองได้กลับ)

รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต เจาะทีละพรรค นโยบายเศรษฐกิจของใครทำได้จริง ? แฉหาเสียง 4 ปีแล้วไม่ทำตามที่สัญญา ได้เวลาสั่งสอน

#MatichonTV
สัมภาษณ์:อ.ธำรงศักดิ์ แฉ4ปีหาเสียงแล้วไม่ทำต้องสั่งสอน เพื่อไทย คนเชื่อว่าทำจริง ก้าวไกลได้ใจเจน Y

matichon tv

Jan 20, 2023

สัมภาษณ์พิเศษ:รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เจาะทีละพรรค นโยบายเศรษฐกิจของใครทำได้จริง ? แฉหาเสียง 4 ปีแล้วไม่ทำตามที่สัญญา ได้เวลาสั่งสอน ชี้ เพื่อไทยได้เปรียบคนเชื่อว่าทำจริง ก้าวไกล ขายนโยบายการเมืองได้ใจ คนเจนวาย

หมอเรวัต แนะหลัก แพทย์-บุคลากร ช่วย ‘แบม-ตะวัน’ และขอทำความเข้าใจกับประชาชนทุกคนว่าการช่วยชีวิตในภาวะฉุกเฉินไม่ควรมีใครก็ตาม จะไปด้อยค่า หรือลดทอน ศักดิ์ศรี เกียรติยศ ความกล้าหาญ และ เจตจำนงในการต่อสู้ของ แบม และ ตะวัน โดยเด็ดขาด เพราะในภาวะฉุกเฉินทั้งสองคนอาจหมดสติ



เมื่อวันที่ 29 มกราคม นพ.เรวัต วิศรุตเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย เปิดเผยว่าสภาวิชาชีพด้านสุขภาพ ทุกสาขา มีแพทยสภาและสภาการพยาบาล เป็นต้น ได้ร่วมกับคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ออกประกาศรับรองสิทธิผู้ป่วย เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2558 มีทั้งหมด 9 ข้อ แต่จะขอยกมาเพียง 2 ข้อ

ข้อ 2 ผู้ป่วยที่ขอรับการรักษาพยาบาลมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลที่เป็นจริงและเพียงพอเกี่ยวกับการเจ็บป่วย การตรวจ การรักษา ผลดีและผลเสียจากการตรวจ การรักษาจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ด้วยภาษาที่ผู้ป่วยสามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลือกตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพปฏิบัติต่อตน เว้นแต่ในกรณีฉุกเฉิน อันจำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต

ข้อ 3 ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือรีบด่วนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่

ในข้อที่ 2 เป็นการรับรองสิทธิของผู้ป่วยว่าจะยินยอมหรือไม่ยินยอมรับการรักษาก็ได้ แต่จะยกเว้นในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วน และเป็นอันตรายต่อชีวิต ส่วนในข้อที่ 3 ก็ยังยืนยันอีกว่า ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการรักษา ถ้าอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตอันเป็นสิทธิที่ไม่อาจแทรกแซงได้

ส่วนหลักจริยธรรมแพทย์ จัดลำดับความสำคัญในเรื่องภาวะฉุกเฉินเป็นข้อที่ 1 เพราะเห็นว่าเป็นข้อที่สำคัญที่สุดโดยบัญญัติไว้ว่าถ้าผู้ป่วยอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ต้องช่วยเสมอ แม้ว่าผู้ป่วยและญาติจะไม่ร้องขอก็ตาม

ทั้งสิทธิของผู้ป่วยและหลักจริยธรรมของแพทย์ต้องใช้กับทุกคนไม่เคยปรากฏว่ามีข้อยกเว้นใดๆ แม้จะเป็นผู้ต้องขังก็ตาม

จึงขอแสดงความเห็นมายังแพทย์และบุคลากรที่รับผิดชอบต่อชีวิตของแบมและตะวันว่าสมควรต้องยึดหลักปฏิบัติทั้ง 2 ข้อข้างต้น เพื่อประกอบการใช้วิจารณญาณบนพื้นฐานแห่งจริยธรรมและศีลธรรมอย่างดีที่สุด

เมื่อแพทย์ จำเป็นต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งจริยธรรมนั้นแล้ว จึงขอทำความเข้าใจกับประชาชนทุกคนว่าการช่วยชีวิตในภาวะฉุกเฉินไม่ควรมีใครก็ตาม จะไปด้อยค่า หรือลดทอน ศักดิ์ศรี เกียรติยศ ความกล้าหาญ และ เจตจำนงในการต่อสู้ของ แบม และ ตะวัน โดยเด็ดขาด เพราะในภาวะฉุกเฉินที่ทั้งสองคนอาจหมดสติแล้วนั้น ย่อมไม่สามารถรับรู้กับปฏิบัติการใดๆ ของบุคลากรทางการแพทย์ได้เลย

แบมและตะวันยังเป็นกังวลกับเพื่อนๆ ในคดีเดียวกันที่ยังอยู่ในเรือนจำหากได้รับการประกันตัว ก็อาจจะหลีกเลี่ย

งภาวะฉุกเฉินวิกฤตเพื่อรักษาชีวิตได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล ส่วนการปฏิรูประบบและข้อกฎหมาย ยังคงยืนยันในเจตจำนงได้อยู่ แต่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถทำได้ทันที ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากสถานการณ์ของวันนี้จึงควรจัดลำดับตามความสำคัญ (priority)

ที่มา มติชนออนไลน์
29 มกราคม 2566

ผู้ที่หยุดการใช้ 112 ผิดเพี้ยนได้ คือ นักการเมือง


Piyabutr Saengkanokkul - ปิยบุตร แสงกนกกุล
2d

[ผู้ที่หยุดการใช้ 112 ผิดเพี้ยนได้ คือ นักการเมือง]
“กฎหมาย” สัมพันธ์กับ “การเมือง”
“การเมือง” เป็นอย่างไร ก็สะท้อนการใช้ “กฎหมาย” อย่างนั้น
“กฎหมาย” เป็นเพียงตัวอักษรเปื้อนหมึกบนกระดาษ จะมีพลังได้ ก็ต่อเมื่อมีองค์กรผู้มีอำนาจตามระบบกฎหมายนำบทบัญญัติกฎหมายมาตราต่างๆ ไปใช้และตีความ
กฎหมายที่เลวร้ายที่สุด อยุติธรรมที่สุด หากไม่ถูกนำมาใช้เลย ไม่มีองค์กรเจ้าหน้าที่ใดนำมาใช้ให้เป็นผลร้ายแก่ประชาชนเลย ต่อให้กฎหมายนั้นยังไม่ถูกยกเลิก ก็เสมือนกับเป็นกฎหมายที่ตายไปแล้ว
ตรงกันข้าม กฎหมายเขียนให้รัดกุมอย่างไร คุ้มครองสิทธิอย่างไร หากมีองค์กรเจ้าหน้าที่ในการยุติธรรม ตั้งแต่ ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ เลวร้าย ไร้ซึ่งยุติธรรมและมนุษยธรรม กฎหมายเหล่านั้นก็อาจแปลงร่างกลายเป็นอาวุธลงทัณฑ์ผู้คน
กฎหมายจึงมิได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยวเอกเทศ แต่สัมพันธ์กับระบบอำนาจ
ความสัมพันธ์ทางอำนาจเป็นตัวชี้ขาดกำหนดกฎหมาย ทั้งการตรากฎหมายเป็นตัวอักษร ทั้งการนำตัวอักษรเหล่านั้นไปใช้และตีความ
ในระบบแห่งอำนาจทางกฎหมาย ประกอบไปด้วยบรรดาองค์กรของรัฐทั้งหลายที่เป็นผู้สร้าง ใช้ และประกันให้มีสภาพบังคับ ตั้งแต่ รัฐสภา รัฐบาล เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ ศาล ราชทัณฑ์
หากมาตรา 112 คงอยู่ รัฐสภาไม่ยกเลิก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ ไม่นำ 112 มาใช้อย่างบิดเบือน
112 ก็แผลงฤทธิ์ได้น้อย
หากมาตรา 112 คงอยู่ รัฐสภาไม่ยกเลิก แต่ศาลนำ 112 มาตัดสินคดีโดยไม่ขยายความเกินกว่าตัวบท มุ่งหมายคุ้มครองสิทธิของประชาชน
112 ก็แผลงฤทธิ์ได้น้อย
ตรงกันข้าม
หากมาตรา 112 คงอยู่ และองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทั้งหลายนำมาใช้อย่างขยายความ เกินขอบเขต ลิดรอนเสรีภาพของประชาชน
112 ก็แผลงฤทธิ์ได้มาก
และในบางกรณี อาจแผลงฤทธิ์ได้มากจนเกินกว่าตัวอักษรในมาตรา 112 ก็มี ตีความคำว่า “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย” จนผิดเพี้ยนไปหมด
การยุติหรือบรรเทาการใช้ 112 ผิดเพี้ยนได้ จำเป็นต้องใช้ “อำนาจหยุดยั้งอำนาจ” ก็ในเมื่อองค์กรของรัฐหนึ่ง (พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล) ใช้อำนาจตามแดนของตนเองขยาย 112 ออกไปเช่นนี้ ก็ต้องมีองค์กรของรัฐอีกหนึ่ง (รัฐสภา) ใช้อำนาจตอบโต้กลับไป
เมื่ออำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ อ้างว่า ตนใช้อำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย มาตรา 112
หากต้องการหยุดการใช้ 112 ของพวกเขา ก็ต้องให้อำนาจนิติบัญญัติ ตรากฎหมายยกเลิกมาตรา 112 หรือตรากฎหมายนิรโทษกรรมคดี 112 นั้นเสีย
นี่คือการตอบโต้กันระหว่างอำนาจในระบบ เป็นเรื่องปกติของหลักการแบ่งแยกอำนาจ
การยุติ 112 ได้ จึงไม่อาจอาศัยการรณรงค์เรียกร้อง การชุมนุม ได้แต่เพียงอย่างเดียว ผู้ที่จะทำให้ 112 ยุติได้อย่างแท้จริง บังเกิดผลในทางกฎหมาย ก็คือ รัฐสภา
ภายใต้สถานการณ์การใช้ 112 ผิดเพี้ยนกันอย่างกว้างขวางเช่นนี้ บรรดานักการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคการเมือง จึงต้องรับภารกิจเข้าไปเป็นเสียงข้างมาก ดำเนินการตรากฎหมายยกเลิก 112
การแก้ไขกฎหมายแบบ “เลาะตะเข็บ ชายขอบ” เฉพาะแค่สิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวหรือประกันตัว ไม่ยอมพูดถึง 112 โดยตรง คือ การแก้ไขปัญหาที่ไม่แก้ไขปัญหา เป็นเพียงการเล่นละครตบตา เพื่อโฆษณาให้รู้ว่า “ฉันก็ทำนะ” แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ทำ
เช่นกัน… การแก้ไข 112 แต่เพียงเล็กน้อย คือ การแก้ไขปัญหาที่ไม่เพียงพอ ในท้ายที่สุด “อสุรกาย 112” ก็พร้อมคืนชีพได้เสมอ
ประชาชนผู้รณรงค์เรียกร้องการ #ยกเลิก112 มาอย่างอดทนเหน็ดเหนื่อยมากกว่าทศวรรษ จำเป็นต้องพุ่งตรงกดดันไปที่นักการเมือง พรรคการเมือง และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะพวกเขาเหล่านี้มีอำนาจรัฐในการทำให้เกิดขึ้นจริงในระบบกฎหมาย
เรียกร้องกดดันให้หนักไปที่พรรคการเมือง
และหากพรรคการเมืองใดที่ทำเรื่องนี้จริง แล้วประสบเหตุเภทภัย จนทำให้ไม่สำเร็จ ประชาชนก็จะเป็น “ผนังทองแดงกำแพงเหล็ก” ให้
แน่ล่ะ… หากพรรคการเมืองหริอ ส.ส. เดินหน้ายกเลิก 112 ก็อาจถูกกลไกรัฐของระบอบนี้เข้าสกัดขัดขวาง
ตั้งแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายล้าหลัง สมาชิกวุฒิสภากาฝาก ศาลรัฐธรรมนูญ หรือแม้กระทั่งการประกาศใช้กฎหมาย
แต่นั่นมิใช่เหตุผลข้ออ้างในการไม่ทำอะไรเลย
หากนักการเมืองคาดการณ์ว่าอาจถูกสกัดขัดขวาง จึงไม่ทำ ผลลัพธ์ก็คือ ประชาชนไม่ได้อะไร นอกจากมีนักการเมืองเป็น “พะนะท่าน” ชูคอในสภา ในรัฐบาล เพิ่มขึ้นๆ ต่อไปๆ
ตรงกันข้าม ถ้าลงมือทำ แล้วเกิดสำเร็จ ผลดีก็จะเกิดอย่างถ้วนทั่ว แต่หากถูกสกัดขัดขวาง มันก็กลายเป็นโอกาสในการยกระดับการต่อสู้
ทุกอย่างอยู่ที่ “เจตจำนง”
.....

ผมได้พูดเรื่อง 112 หลายครั้งว่าปัญหาอยู่ที่การบังคับใช้ที่ขาดหลักนิติธรรม เลยทำให้ไประคายเจ้านาย ผมมั่นใจว่าถ้าเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะไม่มีเหตุการณ์แบบทุกวันนี้ จนแทบจะไม่รู้สึกว่ากฎหมายเป็นปัญหา การแก้ปัญหาด้วยการบริหารด้วยหลักนิติธรรมที่เป็นสากลจะง่ายและรวดเร็วกว่าการแก้กฎหมายเยอะ

อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ สนับสนุนการเคลื่อนไหวของตะวันกับแบม ชมคลิป แบม-ตะวัน กับกระบวนการยุติธรรมไทย + เปิดใจ "ไผ่ ทะลุฟ้า" คนก็คือคน นับถือใจ "ตะวัน- แบม" นี่คือการไม่สยบยอมต่อการถูกกดขี่

แบม-ตะวัน กับกระบวนการยุติธรรมไทย

Dhanadis - ธนดิศ

Jan 28, 2023

"ผู้พิพากษาที่ดีมี อัยการที่ดีก็มี ตำรวจที่ดีก็มี แต่ขบวนการสถาบันตำรวจ อัยการ และศาลนั้น เลอะเทอะเลวร้ายมาก ไม่มีจุดยืนอะไรเลย ที่สองสาวออกมาท้าท้ายนั้น ถ้าหากเมืองไทยยังมีคนที่มีจิตวิญญาณอยู่บ้าง จะต้องแก้ไขขบวนการเหล่านี้ทั้งหมด 
.
 "ที่บางคนเขาบอกว่า 'เป็นพระราชายิ่งกว่าพระราชา' ไม่ว่าสถาบันใด ชาติ ศาสนา หรือพระมหากษัตริย์ ต้องได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ได้ ถ้าเขาวิพากวิจารณ์เกินเลยไป กฎหมายหมิ่นประมาทก็มีอยู่แล้ว ทำไมถึงต้องลงโทษรุนแรงขนาดนี้ อย่ารักอะไร อย่าหลงอะไร ปกป้องจนเกินพอดีไป ทุกอย่างต้องมีความเหมาะสม ทุกอย่างแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ พวกที่ทำตัวเป็นเจ้ายิ่งกว่าเจ้า ไอ้พวกนี้อันตรายมาก พวกนี้แหละ เป็นตัวอันตรายต่อบ้านเมืองและสังคม" 
.
 ส. ศิวรักษ์ แสดงทัศนะกรณีการอดอาหารของเยาวชนนักกิจกรรมทางการเมือง โดยสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ "ตะวัน" และ "แบม" ซึ่งปลุกมโนธรรมสำนึกของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม



เปิดใจ "ไผ่ ทะลุฟ้า" คนก็คือคน นับถือใจ "ตะวัน- แบม" นี่คือการไม่สยบยอมต่อการถูกกดขี่ : Matichon TV

Jan 28, 2023

มติชนทีวี สัมภาษณ์ "ไผ่ ทะลุฟ้า " หรือ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ขณะที่ออกมาจัดกิจกรรม ยืนหยุดขัง เพื่อให้กำลัง "ตะวัน-แบม" ที่เรียกร้องด้วยการอดอาหารและน้ำในเวลานี้ ระบุ จะขอจัดกิจกรรมไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้องจะถูกปล่อยตัว และนับถือใจทั้ง 2 คนมาก ๆ เพราะฉะนั้นอะไรที่ทำได้ก็จะทำ ทั้งนี้ไผ่ยัง ระบุถึงข้อครหาที่ว่าทั้ง 2 คน ทำเพราะเป็นเกมการเมืองว่า นี่คือเรื่องของความเป็นคน เมื่อไหร่ที่มีการกดขี่มากขึ้น ก็จะเกิดความไม่สยบยอม เช่น ตะวันและแบม รวมถึงตัวเองในอดีต

พิม Yellow Fang โกนผมแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง-ยกเลิก ม.112 “ฉันเคยโกนหัวมาหลายครั้ง แต่เพื่อตัวเองทั้งนั้น ด้วยความโกรธและความเกลียด แต่ครั้งนี้ฉันทำเพื่อความรัก รักในอิสรภาพและความถูกต้อง รักในศิลปะ และชีวิต เหมือนกันในทุกคน


THE STANDARD POP
· 12h

UPDATE: พิม Yellow Fang โกนผมแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง-ยกเลิก ม.112
.
พิม-ปิยะมาศ หมื่นประเสริฐดี มือเบส Yellow Fang วงอินดี้หญิงล้วนเจ้าของเพลง เก็บผ้า, I Don’t Know, แค่เพียง ฯลฯ โพสต์ภาพโกนผมผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว พร้อมข้อความแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง และยกเลิกมาตรา 112
.
“ฉันเคยโกนหัวมาหลายครั้ง แต่เพื่อตัวเองทั้งนั้น ด้วยความโกรธและความเกลียด
แต่ครั้งนี้ฉันทำเพื่อความรัก รักในอิสรภาพและความถูกต้อง รักในศิลปะ และชีวิต เหมือนกันในทุกคน
.
“ขอให้ทุกคนช่วยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด ขอให้ลงนามประชามติต่างๆ ทุกอันที่หาได้ ที่ช่วยกดดันด้วยตัวเลขเสียงของประชาชน ร่วมกิจกรรมที่ใกล้ท่าน ทำในแบบที่ตัวเองถนัด อย่างที่ตะวันว่า
.
“พี่ถนัดแบบนี้
ด้วยรักและเคารพ”
.
สืบเนื่องจากกรณีที่ ตะวัน-ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ แบม-อรวรรณ ภู่พงษ์ ผู้ต้องหาในคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ถอนประกันตนเอง ขณะถูกคุมขังอยู่ภายในเรือนจำ ทั้งคู่ประกาศอดอาหารและน้ำเพื่อประท้วงกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ให้ประกันตัวนักโทษทางการเมืองจำนวนมาก โดยมีข้อเรียกร้องหลัก 3 ประการ ได้แก่
.
1. ต้องมีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องเป็นกลาง เป็นอิสระ ผู้บริหารศาลต้องไม่แทรกแซงกระบวนการพิจารณาคดี
2. ยุติการดำเนินคดีความกับประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพ การแสดงความคิดเห็น การชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง
3. พรรคการเมืองทุกพรรคต้องเสนอนโยบายเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยการยกเลิกมาตรา 112 และ 116
.
เมื่อวานนี้ (28 มกราคม) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การอดอาหารของนักกิจกรรมทางการเมืองว่าไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสียใดๆ จึงขอให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่ และอำนาจ โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน เคารพในสิทธิและเสรีภาพ ทั้งเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เปิดเผย ปราศจากอาวุธ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะสิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งสิทธิและเสรีภาพดังกล่าวได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยให้การรับรอง
.
กสม. ขอเสนอให้มีการเปิดพื้นที่สาธารณะในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางการเมืองที่เป็นอยู่ โดยวิถีทางประชาธิปไตยและสันติวิธี และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายช่วยกันเร่งหาทางออก ก่อนที่จะเกิดความสูญเสียซึ่งไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น ทั้งนี้ ด้วยความตระหนักว่าการปิดกั้นสิทธิและเสรีภาพจะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงในสังคมยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย โดย กสม. จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป
.
ภาพ: Yellow Fang, @pymmolecule / Instagram
.
อ้างอิง:
https://www.instagram.com/p/Cn2rr4whipw/
https://thestandard.co/nhrc-tawan-bam-statement/
.
#ปล่อยเพื่อนเรา
#ตะวันแบม
#ยืนหยุดขัง
#TheStandardPop
.....

สำนักข่าวราษฎร - Ratsadon News
7h
"พิม Yellow Fang" ศิลปินชื่อดัง โกนหัวประท้วง หน้าศาลอาญา จี้ ปล่อยตัวนักโทษการเมือง-ยกเลิกกฎหมาย มาตรา 112
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ปิยะมาศ หมื่นประเสริฐดี หรือ พิม มือเบส Yellow Fang ได้ทำการโกนผมประท้วง ต่อหน้าประชาชน ที่ปักหลักทำกิจกรรมเรียกร้องสิทธิการประกันตัวหน้าศาลอาญา
ปิยะมาศ หมื่นประเสริฐดี เปิดเผยสาเหตุของการกระทำดังกล่าว พร้อมแสดงจุดยืนเรียกผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวว่า
"อากาศหนาวขึ้นมาหลายวันแล้ว ในห้องของเราที่อบอุ่น แมวนอนอย่างไร้ความกังวลในโลกสงบสุขที่มุมเล็กๆนี้ โดยที่ไม่รู้เลยว่ามีคนอีกจำนวนหนึ่ง กำลังต่อสู้กับความเจ็บปวด ทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบสุขที่แท้จริง แมวตัวนี้ขอบคุณ เราคิดว่าแบมชอบแมวนะ ไม่ว่าน้องๆจะคิดทำอะไร ทุกคนต่างหวังว่าน้องจะได้ออกมาอย่างปลอดภัย
ฉันเคยโกนหัวมาหลายครั้ง แต่เพื่อตัวเองทั้งนั้น ด้วยความโกรธและความเกลียด แต่ครั้งนี้ฉันทำเพื่อความรัก รักในอิสรภาพและความถูกต้อง รักในศิลปะ และชีวิต เหมือนกันในทุกคน ขอให้ทุกคนช่วยติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด ขอให้ลงนามประชามติต่างๆทุกอันที่หาได้ ที่ช่วยกดดันด้วยตัวเลขเสียงของร่วมกิจกรรมที่ใกล้ท่าน ทำในแบบที่ตัวเองถนัด อย่างที่ตะวันว่า พี่ถนัดแบบนี้ ด้วยรักและเคารพ"
#สำนักข่าวราษฎร #RatsadonNews #ตะวันแบม #ปล่อยเพื่อนเรา