วันจันทร์, พฤษภาคม 31, 2564

"ยาเสพติด ยาบ้า ยาไอ๊ซ์ส่งออกเป็นเฟสติวัล" ฤๅจะเป็นเพราะวิกฤตโควิดส่งออกสินค้าอื่นไม่ค่อยได้


การระบาดไม่หยุดยั้งของไวรัสโควิด กลายพันธุ์ยังเป็นปัญหาแก้ไม่ตกของรัฐบาลประยุทธ์ หนักหนาที่สุดตรงที่ไม่สามารถปูพรมฉีดวัคซีนสกัดกั้นได้ เนื่องเพราะการบริหารสถานการณ์อย่างไม่เอาไหน ด้วยข้อจำกัดที่เตรียมการวัคซีนอย่างบกพร่อง

วันนี้มีข่าวดี ที่จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดลดลงไปเหลือเพียง ๑๙ ราย ไม่นับอีกจำนวนสิบที่อ้างข้างๆ คูๆ ว่าตายเพราะโรคประจำตัว แต่จำนวนคนตายสะสมในระลอกนี้เพียงเดือนกว่าๆ เข้าไป ๑ พันกว่าราย ขณะที่ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น ๕,๔๘๕ สูงสุดของการระบาดครั้งนี้

ความไร้ประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา ล้วนแล้วแต่เป็นผลจากความผิดพลาดหรือปราศจากความสามารถของรัฐบาลเองเกือบทั้งนั้น แต่ทุกอย่างไม่เคยยอมรับ อ้างเหตุอื่นๆ นอกตัวทั้งสิ้น รวมทั้งโทษประชาชนไม่รู้จักปกปักรักษาตนเอง

การระบาดที่ขยายตัวรวดเร็วอย่างนี้ เป็นที่พิสูจน์ในนานาประเทศแล้วว่าจะชลอลงได้ต่อเมื่อมีการระดมตรวจหาเชื้อ รักษา และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้มากที่สุดในเวลารวดเร็ว อังกฤษ สหรัฐ และจีน เป็นตัวอย่างเห็นชัดว่าปฏิบัติถูกทาง

สำหรับรัฐบาลประยุทธ์ดูเหมือนทำท่าว่าจะไม่โง่เง่าเหมือนผู้นำสหรัฐคนก่อน หรือผู้นำบราซิลคนนี้ ที่ปรามาสพิษสงของไวรัสโคโรน่า และหยามหมิ่นสรรพคุณของวัคซีน มีความพยายามจะฉีดวัคซีนให้ประชากรอยู่เหมือนกัน

นับแต่เมื่อต้นปี ประกาศเป้าหมายฉีดวัคซีนให้ได้ ๗๐ ล้านโด๊สเซส เริ่มที่กุมภาพันธ์ ๒ แสนโด๊สเซส มีนาอีก ๘ แสน พอเมษา ๑ ล้าน ถึงพฤษภา ๒๖ ล้านโด๊สเซส กับจะจัดหาเพิ่มอีก ๓๕ ล้านโด๊สเซส แต่ในความเป็นจริงจำนวนฉีดสักล้านเดียวได้ไหม

มิใยที่เสียงครหาอึงอื้อ ว่ารัฐบาลเอาความเป็นความตายของคนในชาติไปผูกไว้กับบริษัทผลิตวัคซีนแห่งหนึ่ง ซึ่งแซ่ซร้องกันว่ากษัตริย์รัชกาลที่แล้วทรงดำริห์ก่อตั้ง ทั้งที่นับแต่เปิดดำเนินการมา ก็เพิ่งมาเรียนรู้วิธีผลิตวัคซีนสำหรับไวรัสโคโรน่า เมื่อเกิดการระบาดระลอกแรก

แม้แต่เมื่อถูกตั้งข้อกังขาว่าภายในต้นเดือนมิถุนา จะมีวัคซีนที่ผลิตเองออกมาฉีดให้ประชาชนตามที่คุยไว้หรือไม่ ปรากฏมีข่าว ลับลวงพรางวงในพลายกระซิบว่าถ้ามีวัคซีนมาฉีดทันวันที่ ๗ มิถุนาละก็ อาจไม่ใช่ที่สยามไบโอไซน์ผลิต

แพทย์ชนบทปูดใหญ่ “รัฐบาลจ่ายหนัก สั่งด่วนมาจากเกาหลี ๕ แสนโด๊สเซส” ไว้แก้ขัดหากเกิดมีอันเป็นไป แอ้สตร้าเซเนก้าตำหรับสยามไบโอไซน์ไม่คลอด พร้อมกันนั้นยังมีการเตรียมเพิ่มวัคซีน ซิโนแว็ค อีกกว่า ๓ ล้านโด๊สเซสด้วย

อีกทั้งมีความพยายามที่จะใช้วัคซีนแอ้สตร้าฯ ให้ได้อย่างคุ้มค่า ปกติวัคซีนปริมาณ ๑๐ โด๊สเซสในขวดหนึ่ง จะมีการเพิ่มปริมาณเผื่อติดคอขวดอีกเกือบโด๊ส มีข่าวลอดมาว่าศูนย์โควิดฯ สั่งให้ผู้ฉีดพยายามเฉลี่ยให้ได้ ๑๒ โด๊สเซสต่อขวด

ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ก็น่าจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนแอ้สตร้าฯ อาจไม่สมบูรณ์เต็มร้อยดังที่ประชาชนวาดหวัง เรื่องที่อาจมองข้ามว่าเล็กๆ น้อยๆ อย่างนี้ ในกระบวนการบริหารสถานการณ์โควิดของรัฐบาล ทำให้ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลทวียิ่งขึ้น

ไหนจะปัญหาเศรษฐกิจที่ทับถมมาตั้งแต่สมัยเป็นรัฐบาลแย่งอำนาจด้วยการรัฐประหาร กระทั่งบัดนี้ท่องจำเป็นบทอาขยานว่าย่ำแย่เพราะโควิด เพื่อให้พ้นผิดซึ่งก่อนโควิดมาก็แย่อยู่แล้ว ไหนจะปัญหาคอรัปชั่นที่แก้เก้อกันด้วยการขู่ฟ้องร้องใครแชร์ข่าว

ไหนจะปัญหายาเสพติด ยาบ้า ยาไอ๊ซ์ส่งออกเป็นเฟสติวัล มันคล้องจองกับการที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรเคยเป็นผู้ต้องโทษจำคุกฐานลักลอบนำเข้ายาเสพติดในออสเตรเลีย แล้วศาลรัฐธรรมนูญอุ้มชูว่ามีคุณสมบัติสมกับตำแหน่งเพราะไม่ได้ติดคุกไทย

เมื่อเดือนที่แล้วตำรวจออสเตรเลียจับได้ มีการพยายามลักลอบนำยาไอ๊ซ์เข้าประเทศอีกมูลค่าเป็นหมื่นๆ ล้าน นั่นถ้าเป็นน้ำมือของรัฐมนตรีธรรมนัส คงบอกกับที่ประชุมรัฐสภาว่า มันคือผงชูรส แต่แล้วไม่ทันไรวานนี้ ศุลกากรฮ่องกงยึดยาเสพติดจากไทยได้อีก


“เฮโรอีนน้ำหนัก ๒๓.๕ กิโลกรัม มูลค่าราว ๒๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๙๐๐ ล้านบาท” ซ่อนอยู่ในสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นเครื่องกรองน้ำและเครื่องชงกาแฟ ฤๅจะเป็นเพราะวิกฤตโควิดประเทศไทยไม่ค่อยมีสินค้าส่งออก เลยหันไปส่ง ยา

นี่สภากำลังเตรียมอภิปรายร่างกฎหมายให้อำนาจกระทรวงคลังกู้ยืมเงินเพิ่มอีกล็อตใหญ่ ๕ แสนล้านบาท อ้างว่าจะเอาไปแก้ปัญหาโควิด ส่วนหนึ่งเป็นการเยียวยา ส่วนย่อมรับมือโควิด ส่วนเยอะอัดฉีดองคาพยพรัฐบาลให้เหนียวแน่น ทนทานเสียงด่า

ภาระหนี้รัฐบาลหน้ารับไปหากเป็นสายพันธุ์พลเรือน แต่ถ้าเป็นรัฐบาลทหารกลายพันธุ์อย่างเดิมละก็ ถมใส่รุ่นลูกรุ่นหลานตามเคย

(https://www.voicetv.co.th/read/ExR3irsPC, https://info.gov.hk/gia/general/202105/30/P2021053000310 และ https://www.facebook.com/102229915029914/posts/256236832962554/) 

ภราดรภาพอันยิ่งใหญ่ของซามีร์ กับโมฮัมเหม็ด ที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย 100 กว่าปีมาแล้ว



คนบ้าหนังสือ - Madman Books
16h ·

... เรื่องนี้ อ่านแล้ว อยากฝากเพื่อน ... :
... นี่เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เทพนิยาย
มันงดงาม
ภาพนี้ถ่ายที่เมืองดามัสกัส ประเทศซีเรีย ปี 1899
คนทั้งสองในภาพคือซามีร์ กับโมฮัมเหม็ด และเรื่องราวของทั้งสองคือความเป็นมนุษย์อันตรึงใจ
คนแคระที่เดินไม่ได้คือซามีร์ เขาเป็นคริสเตียน คนที่แบกเขาคือโมฮัมเหม็ด เขาเป็นมุสลิม ตาบอด อาศัยซามีร์บอกทิศทาง ขณะที่ซามีร์ได้แผ่นหลังเพื่อนพาไปตามถนนสายต่างๆ รอบเมือง
ทั้งสองกำพร้า ไม่มีครอบครัว อาศัยอยู่ในห้องเดียวกัน ซามีร์เป็น "hakawati" หรือนักเล่านิทาน และเล่านิทานจาก "อาหรับราตรี" ให้ลูกค้าที่ร้านกาแฟในดามัสกัสฟัง โมฮัมเหม็ดขาย Bolbolas (ไม่รู้อะไร หาข้อมูลไม่พบ) หน้าสถานที่เดียวกัน และชอบฟังนิทานจากเพื่อน
เมื่อคนคริสเตียนตาย เพื่อนมุสลิมถอนตัวไปอยู่ในห้องคนเดียว เกินกว่าจะปลอบประโลม และถูกพบว่าตายหลังจากร้องไห้ให้กับเพื่อนเจ็ดวันติดต่อกัน
ภาพถ่ายเหลืองใบนี้ 119 ปี จับภาพภราดรภาพแห่งมนุษย์ในดามัสกัสไว้ได้
... เรื่องและภาพจาก FB ของ Uno Sandvik
วิภาดา กิตติโกวิท ถ่ายทอดต่อ
©#MADMAN_BOOKS

ทำไมระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยถึงกดันกันถึงขนาดนี้ ทำไมไม่ให้เด็กทุกคนได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียน ใทำไมไม่ห้เด็กได้รู้จักตัวเองและใช้ชีวิตอย่างเต็มที่



นักเรียนเลว
12h ·

ทำไมถึงเครียดขนาดนี้ ทำไมต้องกดดันกันขนาดนี้ เมื่อระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่มีนักเรียนอยู่ในสมการ ถอดบทเรียนจากการสอบเข้าในช่วง COVID-19

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม มีการประกาศผลการคัดเลือก TCAS64 รอบที่ 3 ครั้งที่ 1 ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีผู้สมัครกว่า 110,000 คน และจะมีการประกาศผลรอบที่ 3 ครั้งที่ 2 อีกครั้งในวันที่ 1 มิถุนายน นักเรียนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในปีการศึกษานี้ต้องพบเจอกับอุปสรรคมากมาย ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 บางโรงเรียนการยังมีการจัดการเรียนการสอนยังเข้มข้นเหมือนเดิมแม้ว่าจะต้องเรียนออนไลน์ ทั้งการเปิดเทอมที่ช้าลง แต่ตารางสอบก็ยังคงไว้เช่นเดิม ไม่มีการเปลี่ยนวันแม้ว่านักเรียนชั้น ม.6 จะลุกขึ้นมาทำแคมเปญ #เลื่อนสอบ กันก็ตาม การสอบมาราธอนกว่า 25-35 วิชาในเวลาไม่กี่วัน ยิ่งเพิ่มความเครียดและความกดดันของการสอบเข้ามหาวิทยาลัยขึ้นไปอีก

ปัญหาความเครียดจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้เพิ่งจะเกิดขึ้นในช่วงปีนี้ แต่คงอยู่มานานจากรุ่นสู่รุ่นแล้ว ระบบการศึกษาไทยที่กดดันเด็กให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง สอบเข้าคณะที่สามารถจบไปแล้วทำงานหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ จนบางคนอาจต้องละทิ้งความฝันของตัวเอง เพื่อทำตามสิ่งที่ครอบครัวต้องการ และเพื่อดิ้นรนเอาชีวิตรอดในสังคมทุนนิยมเช่นนี้ สำหรับบางคนแล้ว การสอบเข้าที่สร้างความกดดันไม่ได้เริ่มขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย แต่ต้องพบเจอมันมาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เราจึงเห็นได้ว่านักเรียนไทยถูกระบบกดทับมาตั้งแต่วันแรกที่ก้าวขาเข้าโรงเรียน จนถึงวันสุดท้ายที่ได้ใส่ชุดนักเรียนเลยทีเดียว

ระบบตัดสินเด็กผ่านคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย หากคะแนนลดลงไปเพียงนิดเดียวก็อาจเปลี่ยนอนาคตเด็กได้ ข้อสอบที่ใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัยบางวิชาก็เป็นวิชาที่ไม่ได้เรียนที่โรงเรียน แต่กลับต้องไปเรียนที่สถาบันกวดวิชา ทำให้เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายซ้ำสองให้ธุรกิจการศึกษา ในขณะที่ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยบีบบังคับให้เราต้องไปเรียนพิเศษ นักเรียนก็ยังต้องมาเจอกับวิชาในโรงเรียนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันอีก เกณฑ์การตัดสินใจรับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย จึงไม่ได้เป็นการวัดความสามารถและระดับความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นการวัดฐานะทางการเงินของผู้ปกครองอีกด้วย

การศึกษาที่ดีควรเป็นการศึกษาที่เด็กทุกคนได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียน ปล่อยให้เด็กได้รู้จักตัวเองและใช้ชีวิตอย่างเต็มที่ โดยไม่บั่นทอนสุขภาพจิตกันขนาดนี้ ทั้งรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการควรปรับเปลี่ยนนโยบายโดยคำนึงถึงนักเรียนเป็นหลัก วิชาที่สอบควรสมเหตุสมผลกับหลักสูตรการเรียนการสอน เหมาะสมกับสาขาวิชาและของตน ต้องลดความเหลื่อมมล้ำทางการศึกษา ถ้าเด็กมีความสามารถเท่า ๆ กัน ก็ควรมีโอกาสได้เรียนต่อเท่า ๆ กัน และไม่ควรซับซ้อนจนเกินไป จนทำให้เด็กต้องบอบช้ำจากการเรียนซ้ำแล้วซ้ำเล่า

——
#นักเรียนเลว

My Hero แคทธารีน เรื่องราวของเธอเมื่อตอนอายุแค่ 5 ขวบ



Wiriyah Eduzones
May 28 at 8:37 PM ·

เด็กน้อยอายุแค่ 5 ขวบ
ดูสารคดี
มีเด็กในแอฟริกา
คนหนึ่งตาย เพราะโรคมาลาเรีย เฉลี่ย 30 วินาที ต่อคน
เธอ เริ่มนับนิ้ว 1-2-3-4..... ตอนเธอนับถึง 30
ก็สีหน้าตกใจ ตะโกนบอกแม่ว่า

“แม่ ๆ เด็กแอฟริกาตายไปแล้ว 1 คน เราต้องทำอะไรสักอย่าง”

แม่เธอก็เข้าหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แล้วบอกแคตเธอรีนว่า

“มาลาเรียเป็นโรคที่น่ากลัว เด็ก ๆ เมื่อเป็นโรคนี้ มักจะเสียชีวิต”

“แล้วทำไมถึงเป็นมาลาเรีย ?”

“มาลาเรียติดต่อโดยยุง แอฟริกามียุงเยอะมาก”

“แล้วทำไงดี ?”

“ตอนนี้มีมุ้งที่แช่น้ำยากันยุง เมื่อมีสิ่งนี้ ก็จะป้องกันคนไม่โดนยุงกัด”

“แล้วทำไมพวกเขาไม่ใช่มุ้งแบบนี้ละ ?”

“มุ้งนี้แพงเกินไปสำหรับพวกเขา ๆ ไม่มีปัญญาซื้อ”
“ไม่ได้ เราต้องทำอะไรแล้ว

“ถ้าหนู ไม่กินขนม ไม่ซื้อตุ๊กตาบาร์บี้ อย่างนี้เอาเงิน พอจะซื้อมุ้งได้ไหมคะ ?”

แม่พาแคตเธอรีนไปห้าง ใช้เงิน 10 เหรียญ ซื้อมุ้งใหญ่ หลังนึง แล้วก็โทรหาองค์กรการกุศลที่ทำงานในแอฟริกา ว่าจะส่งมุ้งไปได้ยังไง และก็บังเอิญเจอหน่วยงานนึ่งที่ชื่อ Nothing but net “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง”

หน่วยงานนี้ จะส่งมุ้งไปให้เด็กแอฟริกาโดยเฉพาะ
แคตเธอรีนจึงจัดการส่งมุ้งไปให้หน่วยงานนี้ด้วยมือของตัวเอง

ผ่านไป 1 สัปดาห์เธอได้รับจดหมายขอบคุณจากหน่วยงานนี้ ใน จม. บอกว่าเธอเป็นผู้บริจาคที่อายุน้อยที่สุด
และบอกอีกว่า ถ้าบริจาคครบ 10 อัน จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

แคตเธอรีนขอให้แม่ไปเปิดท้ายขายของกับเธอ เอาหนังสือเก่า ของเล่น เสื้อผ้าเก่ามาขาย ๆ ได้เงินจะได้เอาไปบริจาค แต่ขายไม่ดีเลย เธอคิดว่า “ตอนหนูบริจาคมุ้ง เขายังให้ใบประกาศเกียรติคุณ งั้นคนอื่นซื้อของหนู ให้เงินหนู งั้นเขาก็ต้องได้รับเหมือนกัน”

แล้วเธอก็เริ่มลงมือทำ ใบประกาศเกียรติคุณ แม่ช่วยเธอซื้อวัสดุ พ่อช่วยจัดห้อง น้องชายช่วยวาดรูปหัวใจแห่งรัก ใบประกาศเกียรติคุณทุกใบมีลายมือที่เขียนโดยตัวเธอเองว่า “ในนามของคุณ เราได้ซื้อมุ้ง 1 อัน ส่งไปแอฟริกา” แน่นอน มีลายเซ็นต์เธอด้วย
แค่บริจาค 10 เหรียญ ซื้อมุ้ง 1 อัน ก็จะได้ใบประกาศเกียรติคุณ
เพื่อนบ้านเห็นใบประกาศเกียรติคุณของเธอ รู้สึกว่าไร้เดียงสาอย่างน่ารักมากและก็ซาบซึ้ง แค่ไม่นาน ใบประกาศเกียรติคุณก็ถูกแจกออกไป 10 ใบ
เธอก็ส่งเงินไปที่หน่วยงาน “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง” หน่วยงานก็ส่งใบประกาศเกียรติคุณและตั้งเธอเป็น “ทูตแห่งมุ้ง”

คนที่หน่วยงานบอกแคตเธอรีนว่า มุ้งที่เธอบริจาคถูกส่งไปยังหมู่บ้านหนึ่งในประเทศกาน่า ในหมู่บ้านมี 550 คน
“โอ่ พระเจ้า แล้ว 10 อันพอใช้ที่ไหน”

เพื่อนบ้านนอกจากซื้อมุ้งจากแคตเธอรีนยังช่วยเธอทำใบประกาศเกียรติคุณ กลายเป็นทีมงานแคตเธอรีน
บาทหลวงในชุมชนก็เชิญเธอไปพูดในโบสถ์ พูดแค่ 3 นาที ก็ได้เงินบริจาคมา 800 เหรียญ ทำให้เธอมีกำลังใจเพิ่มขึ้นมาก เดินทางไปพูดที่โบสถ์อื่น
ตอนเธออายุครบ 6 ขอบ ได้รับเงินบริจาคแล้ว 6316 เหรียญ
โครงการ
“ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง”
Nothing but net
เอาเรื่องของเธอลงในเวป

วันหนึ่งเธอเห็นเดวิด เบคแฮ่ม นักฟุตบอลดัง ปรากฎตัวทาง TV ช่วยทำประชาสัมพันธ์การกุศลให้ “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง” เธอรีบเขียนจดหมายขอบคุณไปให้เขา และแน่นอน เธอได้ส่งใบประกาศเกียรติคุณไปให้เขาด้วย 1 ใบ
จากนั้นเบคแฮ่มเอาใบประกาศเกียรติคุณนี้ขึ้นเวปส่วนตัว
เรื่องจึงแพร่กระจายออกไปอีก

2007-6-8.... เธอได้รับจดหมายจากหมู่บ้านที่รับมุ้ง
เด็กในหมู่บ้านเขียนว่า

“ขอบคุณมุ้งของเธอ เราเห็นรูปเธอ เรารู้สึกว่าเธอสวยมาก”

แคตเธอรีนดีใจมาก ทำให้มีกำลังใจเพิ่มอีก เธอและทีมงานลงมือทำใบประกาศเกียรติคุณ 100 ใบ
ส่งให้มหาเศรษฐีที่ติดอันดับ
ในนิตยาสาร ฟร๊อบ

ในนั้นมีอยู่ใบนึงเขียนว่า
“คุณบิลเกตที่เคารพ ไม่มีมุ้ง เด็กแอฟริกาจะตายเพราะมาลาเรีย พวกเขาต้องการเงิน แต่เงินอยู่ที่คุณ....”

2007-11-5..... มูลนิธิบิลเกตประกาศบริจาคเงิน 3 ล้านเหรีญให้ “ไม่เอาอะไรนอกจากมุ้ง”

บิลเกตบอกว่า “ผมได้รับใบประกาศเกียรติคุณพร้อมจดหมายฉบับหนึ่ง บอกว่า เงินที่จะซื้อมุ้งให้เด็กแอฟริกาได้มากๆนั้น อยู่ที่ผม ถ้าผมไม่เอาเงินออกมา ไม่ได้แน่”

ปี 2008..... มูลนิธิบิลเกตออกเงินถ่ายทำสารคดี “เด็กช่วยเด็ก” แคตเธอรีนจึงได้เหยียบแผ่นดินแอฟริกา ตอนเธอเห็นพวกเด็ก ๆ เขียนชื่อเธอไว้บนมุ้ง พวกเขาเรียกมุ้งช่วยชีวิตนี้ว่า "มุ้งแคตเธอรีน"

หมู่บ้านนี้ เดี๋ยวนี้ชื่อว่า "หมู่บ้านแคตเธอรีน"

หนูน้อยแคตเธอรีนอายุ 7 ขวบ ได้ช่วยชีวิตเด็กแอฟริกาแล้ว 20,000 คน
เรื่องนี้ผมเคยแปลมาให้อ่านกัน
หลายปีแล้ว
ไม่ทราบผู้เขียน
ตอนนี้ แคทธารีน
โตแล้วครับ
.....


Jumpar Bulletbwoyz
โตมาละสวยมาก สวยและมีจิตคิดถึงผู้อื่น
เป็นบ้านเราผู้ใหญ่คงบอกให้เอาเวลาไปตั้งใจเรียน จะได้มีงานทำดีดี เป็นเจ้าคนนายคน
...

Katherine Commale

by Vivian Chiou - High School - from Taipei in Taiwan



“To Mr. Bill Gates, if there is no netting, then children in Africa will die and they will be exposed to malaria. They don’t have the money, and I heard that there is a lot of money on you……”. A six-year-old little girl wrote a letter with her team to one of America’s richest men. She is Katherine Commale, who raises money for mosquito nets and protects millions of Africans from malaria.

The idea of donating mosquito nets came to Katherine’s mind when she was only five years old. She watched a documentary about Africa, which mentioned that on average, every 30 seconds one child dies of malaria there. This made her astonished, but it also motivated her to do something to save their lives. Therefore, Katherine started raising money for mosquito nets in order to protect Africans from suffering from malaria. She sent nets to Africa through an organization called Nothing But Nets. By making hand-decorated certificates with her family and giving them to those who donated money, Katherine inspired people to join her. Her story has been posted on the website of Nothing But Nets. People all over the world were touched by her sympathy, which went beyond age and race. Donations were pouring in from around the world.


as a teenager

Nevertheless, Katherine still seemed unsatisfied. She and her friends wrote letters to the rich who were on the list of The World’s Billionaires, hoping they could contribute money. After receiving the letter, the Bill & Melinda Gates Foundation declared that it would donate three million dollars to Nothing But Nets. Additionally, the foundation invested in filming a public welfare documentary to have more people know Katherine’s good deeds. Thanks to Katherine, the frequency of African children who die of malaria today has decreased to one person every 120 seconds.

Katherine's kindness urged her to influence the world even though she was only a little girl. She showed that everyone can change the world into a better place regardless of their age.

Source: https://myhero.com/katherine-commale

👩🏻‍🍼ยุพิน ราษมัมกับความหวังได้พาลูกกลับบ้าน


iLaw
10h ·

ยุพิน ราษมัมกับความหวังได้พาลูกกลับบ้าน
.
.
ยุพิน มะณีวงศ์ แม่ของไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก หนึ่งในราษมัมที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิการประกันตัวให้แก่บรรดานักกิจกรรมและลูกของเธอในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นับจนถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2564 ไมค์-ภาณุพงศ์ ต้องอยู่ในเรือนจำระหว่างการพิจารณาคดีมาแล้ว 84 วัน โดยยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวมาแล้วหกครั้ง ซึ่งในการยื่นครั้งที่ห้าศาลเลื่อนการไต่สวนออกไปสองครั้งด้วยเหตุการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ศาลอาญามีนัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวไมค์-ภาณุพงศ์, อานนท์ นำภา และจัสติน-ชูเกียรติ แสงวงค์
.
.
"...ต่างคนก็รู้แก่ใจว่า จะต้องโดนขัง...ไมค์ก็สั่งเสียว่า ให้แม่ดูแลตัวเอง ต่างคนต่างรู้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น แต่ไมค์ก็คือไมค์ เขาไม่ยอมจำนน..."
.
.
เดิมทีแล้วไมค์-ภาณุพงศ์ทำงานเกี่ยวกับเยาวชนในพื้นที่ระยองมาตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมศึกษา เขาจัดกิจกรรมกับเยาวชนเพื่อสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืน ความฝันปลายทางของเขาคือ สวัสดิการที่ตอบแทนประชาชนให้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ประชาชนทุกคนถูกปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า เขาเคยบอกว่า ที่มาเคลื่อนไหวเรียกร้องกับราษฎรเพราะเป็นการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงจากฐานการเมืองอันจะนำไปสู่การพัฒนาชีวิตเยาวชนและประชาชนในประเทศนี้อย่างแท้จริง
.
การทำงานเรื่องเยาวชนมาตลอด เมื่อต้องเบนเข็มมาเรียกร้องและเผชิญหน้ากับผู้มีอำนาจโดยตรง นั่นทำให้ยุพินค่อนข้างตกใจ แต่เธอไม่ได้คัดค้านด้วยเคารพในการตัดสินใจของลูก
.
“ครั้งแรกที่แม่เห็นคือแม่ตกใจ เราก็คุยกันในรายละเอียดตามประสาแม่ลูกกัน เขาบอกว่า อุดมการณ์เขา แม่รู้ใช่ไหม ถ้าอันไหนทำลูกรู้ว่า มันทำแล้วมันเป็นสิ่งที่ดีกับเพื่อนมนุษย์...แม่คิดว่า แม่ห้ามลูกก็ไม่ฟังและตั้งใจแล้ว แม่เลยถามเขาว่า ลูกเลือกแล้วใช่ไหม เขาบอกแม่ว่า เลือกแล้ว แม่ไม่ต้องเครียดนะ แม่ปล่อยลูกไปแต่แม่ทำใจไว้บ้าง แต่ถ้าจะเกิดอะไรขึ้น ขอให้แม่จงภูมิใจว่า แม่เป็นแม่นักสู้"
.
"...แรกๆ ถามว่า กังวลไหม กังวล เครียดไหม เครียด คนเป็นแม่ พอหนักๆ เขาก็ต้องบอกเขา โทรศัพท์หาลูกให้ลูกสู้ๆ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นแม่ยืนเคียงข้างไมค์เสมอ”
.
.
ยุพินเล่าว่า ที่ผ่านมาเวลาไมค์ถูกจับหรือถูกคุมตัวระหว่างการพิจารณาคดีก่อนหน้านี้เธอไม่ได้อยู่กับไมค์เลย แต่ก่อนหน้าที่ศาลอาญาจะมีคำสั่งไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราวไมค์เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564 เธอและไมค์มีโอกาสร่วมกิจกรรมเดินทะลุฟ้าจากนครราชสีมาสู่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยร่วมเดินเท้าอยู่ด้วยกันประมาณหนึ่งสัปดาห์ เป็นโอกาสให้ใช้เวลาร่วมกันหลังจากที่ก่อนหน้านี้ต่างคนต่างอยู่ด้วยความจำเป็นทางหน้าที่การงาน
.
"แม่ก็กินข้าวกันกับไมค์ตามประสาแม่ลูก ไม่ได้มีการพูดกันเรื่องโดนฝากขัง แต่คือต่างคนก็รู้แก่ใจว่า จะต้องโดนขัง...ไมค์ก็สั่งเสียว่า ให้แม่ดูแลตัวเอง ต่างคนต่างรู้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น แต่ไมค์ก็คือไมค์ เขาไม่ยอมจำนนเพราะสิ่งที่ทำทุกสิ่งทุกอย่างเขารู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตเขาบ้าง แต่เขายอมรับมัน”
.
ยุพินบอกว่า ที่ผ่านมาสิ่งที่เธอยอมรับไม่ได้คือ เรื่องการคุมขังระหว่างการพิจารณา กระบวนการยุติธรรมที่จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ตั้งแต่ถูกคุมขังมาเธอได้เจอไมค์ครั้งหรือสองครั้งไม่ได้ใกล้ชิดกันนัก “มีครั้งหนึ่งที่แม่รั้นไปกอด ครั้งแรกๆ ที่โควิดยังไม่แรง” และอีกครั้งหนึ่งตอนที่ตำรวจไปแจ้งข้อกล่าวหาไมค์เพิ่มเติมในเรือนจำ ทำให้เธอในฐานะผู้ไว้วางใจได้เข้าไปร่วมรับฟังด้วย โดยเป็นการพูดคุยผ่านคอนเฟอเรนซ์ วันนั้นเธอถามว่า โอเคไหม ปลอดภัยดีไหม ต้องการอาหารอะไร แต่สิ่งที่สำคัญคือ "ขอให้เราได้เห็นหน้าลูกเรา ขอให้เราได้เห็นหน้าว่า คุณมีชีวิตอยู่ คุณปลอดภัยดี แค่เราได้ยินเสียงคือ เราโอเคแล้ว"
.
.
"....วันนี้ไม่ไต่สวนกลัวโควิด ท่านคงลืมนึกว่า ลูกเราก็กลัวตายเป็นเหมือนกัน ถ้าตายอย่างสมศักดิ์ศรีเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ลูกเราไปตายด้วยโควิดแบบนั้น มันไม่ใช่..."
.
.
เมื่อถามถึงการต่อสู้เพื่อสิทธิการประกันตัวของลูกในช่วงเกือบสามเดือนที่ผ่านมานี้เธอตอบว่า "แม่ไม่รู้สึกเลยว่า ที่ผ่านมาต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง แม่มีหน้าที่ต้องช่วยไมค์" โดยถ้าเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาและมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วก็จะยอมรับ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นยังไม่ได้สิ้นสุดกระบวนความ "แต่คุณเอาลูกเราไปขังและประกันเท่าไหร่ก็ไม่ได้ เราพยายามยื่นขอประกันตัวเพราะรู้ว่า ข้างในติดโควิด"
.
เธอเล่าว่า ก่อนหน้านี้ทราบข่าวมาว่า เรือนจำมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ไม่ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และรอให้กรมราชทัณฑ์ออกมาแถลง แต่ตอนนั้นยังไม่มีความคืบหน้า ด้วยความเป็นห่วงลูกของเธอจึงพยายามยื่นขอประกันตัวหลายครั้งตามที่เป็นข่าว ไมค์ก็ยังไม่ได้รับการปล่อยตัวออกจนกระทั่งติดเชื้อโควิด-19 ในที่สุด ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาเธอบอกว่า "มันทำให้เราลืมเหนื่อย เราจะต้องเอาลูกเราออกมาแบบปลอดภัยให้ได้" ก่อนหน้านี้ทนายความยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกอย่างน้อยสองครั้ง แต่ยังไม่ได้ไต่สวน
.
.
"วันที่แม่มารอทั้งวัน แล้วไม่ได้เจอลูกวันนั้น [วันที่ 11 พฤษภาคม 2564] คือแม่สงสารความรู้สึกของลูกมากที่สุดในขณะที่ลูกเราคอยตั้งแต่เช้าจนถึงห้าโมง-หกโมงเย็น ความหวังของคนที่อยู่ข้างในที่คิดว่า เขาน่าจะมีโอกาสได้ไต่สวน วันนี้เขาน่าจะมีโอกาสได้กลับบ้านกับแม่ แต่เปล่าเลย คุณให้ลูกเรารอตั้งแต่เช้าจนตะวันตกดิน บอกกับเราว่า วันนี้ไม่ไต่สวนกลัวโควิด ท่านคงลืมนึกว่า ลูกเราก็กลัวตายเป็นเหมือนกัน ถ้าตายอย่างสมศักดิ์ศรีเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ลูกเราจะไปตายด้วยโควิดแบบนั้น มันไม่ใช่"
.
หลังจากที่ไมค์ติดเชื้อโควิด-19 ทำให้เธอยื่นคำร้องขอให้เรือนจำส่งตัวไมค์ไปรักษาโรงพยาบาลด้านนอกจนสำเร็จในที่สุด โดยขณะนี้ไมค์รักษาอาการที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ "เมื่ออิสรภาพยังไม่ได้แต่เราขอชีวิตลูกเรา ให้ออกไปรักษาในที่ที่เรามั่นใจ สภาพแวดล้อมที่โอเค ส่วนนี้เราก็ได้รับความเมตตาแต่กว่าจะได้ก็เหนื่อยเหมือนกัน"
.
ตอนนี้มีแกนนำที่ถูกฝากขังระหว่างการพิจารณาคดีสามคนคือ ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก, อานนท์ นำภา และจัสติน-ชูเกียรติ แสงวงค์ วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวทั้งสามคน "แม่ไม่รู้ว่า จะได้ตามใจหวังไหม แม่ก็มีความหวังว่า วันที่ 1 มิถุนายน 2564 แม่จะได้พาลูกกลับบ้าน ครั้งนี้เป็นครั้งที่ไมค์กับแม่ห่างกันมากที่สุดในชีวิต ปกติจะสี่วันห้าวัน"
.
.
"...ก่อนหน้านี้ถ้าจะต้องเลือกระหว่างไมค์กับเพนกวิน แม่ขอให้กวิ้นได้ออกก่อนเพราะไมค์เขาบอกกับแม่ว่า เขาแข็งแรงดี..."
.
.
ในตอนท้ายยุพินเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างราษมัมว่า แม่ของนักกิจกรรมทุกคนก็จะนำความรู้สึกมาตีแผ่พูดคุยกัน ส่วนใหญ่ก็คือเรื่องลูกเป็นหลัก ลูกของแต่ละคนร่วมสู้มา พ่อแม่ก็ห่วงทุกคนเหมือนกัน "แม่บอกจากใจจริงเลย ก่อนหน้านี้ถ้าจะต้องเลือกระหว่างไมค์กับเพนกวิน แม่ขอให้กวิ้นได้ออกก่อนเพราะไมค์เขาบอกกับแม่ว่า เขาแข็งแรงดี...บางคนว่าแม่เห็นลูกคนอื่นดีกว่าลูกตัวเอง แต่มีครั้งหนึ่งที่เพนกวินอยู่กับไมค์ ในขณะที่ไมค์สลบ เขาร้องตะโกนว่า ช่วยพี่ไมค์ด้วยๆ เหตุการณ์นั้นแม่จำได้เสมอ"
.
ทุกวันนี้ถ้าไม่มีเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในเรือนจำไมค์ก็ยังอยู่ได้เพราะออกมาเขาก็จะกังวลและห่วงเพื่อนที่อยู่ข้างในอยู่ดี ไมค์บอกกับเธอว่า "ไมค์ก็ใจเดียวกับแม่เหมือนที่แม่คิดเพราะว่า ทุกคนร่วมสู้แล้วมันไม่ทิ้งกันอยู่แล้ว ตอนที่อยู่ข้างในมันทำให้ความรักเขาแน่นแฟ้นกว่าเดิม"
.
.
"แม่ขอขอบคุณพี่น้องมวลชนมากๆ แม่มีความภูมิใจมากเลยที่ทุกคนเป็นกำลังใจให้เรา ไม่ทิ้งเรา ไม่ปล่อยเรากับลูกให้สู้เพียงลำพัง ไปตรงไหนก็มีแต่คนให้กำลังใจ มีแต่คนดีกับเรา ขอบคุณทุกคน"

https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10165484815615551

ตามติดชีวิตอินเดีย : "ขิมกลัวว่าไทยเริ่มขยับเข้าใกล้จุดที่อินเดียเป็น คนจนก็จนลงเรื่อยๆ คนรวยก็รวยขึ้นเรื่อยๆ มันไม่มีการพัฒนาว่าคนจนจะเริ่มมีโอกาสอะไรมากขึ้น มีแต่รับแจกแต่ไม่ได้รับโอกาส..."



Branding by Boy
May 28 at 10:00 AM ·

"ขิมกลัวว่าไทยเริ่มขยับเข้าใกล้จุดที่อินเดียเป็น คนจนก็จนลงเรื่อยๆ คนรวยก็รวยขึ้นเรื่อยๆ มันไม่มีการพัฒนาว่าคนจนจะเริ่มมีโอกาสอะไรมากขึ้น มีแต่รับแจกแต่ไม่ได้รับโอกาส...
ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ คนที่เข้าถึงโอกาสจะมีแค่คนกลุ่มเดียว อย่าปล่อยให้ไทยไปถึงขั้นนั้น คนจนมีแค่ส่วนหนึ่งที่ไปประท้วงอะไร แต่บางคนก็เหมือนเกิดมาจน ก็อยู่ไปอย่างนี้แหละ เขาให้อะไรมาก็เอา ไม่เห็นต้องเรียกร้อง ไม่มีก็ไปขโมย ก็ไปขอทาน
มันเหมือนเขาปล่อยให้ตัวเองเป็นแบบนี้ ยอมรับในสิ่งที่ไม่ควรจะเป็น ยอมรับไปนานๆ จนมันกลายเป็นสิ่งที่โอเค มันควรจะพัฒนา และแก้ไข แต่คนกลับชินและยอมรับได้กับสิ่งนี้ จนมันเลยตามเลย เลยแก้อะไรไม่ได้แล้ว"
ขิม-พัทธมญส์ กาญจนพันธุ์
เจ้าของเพจ ตามติดชีวิตอินเดีย
อินเดีย = ภาพสะท้อนไทยถึงความเหลื่อมล้ำที่เกินเยียวยา
CR : Voice TV
written by Branding by Boy
วันก่อนดู VDO นี้จาก Voice TV แล้วเจอประเด็นที่น้ำตาซึม ประเทศเราใกล้สู่จุดที่อินเดียกำลังเผชิญจริงๆ มันมีประเด็นที่บอยจับต้องได้หลายเรื่องเลยคือ
1) การ ignorant แบบไม่แยแสสังคม อยู่แบบตัวใครตัวมัน และเฉยๆกับปัญหาที่เจอ มันทำให้พอเกิดปัญหาแล้วไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาว จนไม่เห็นคุณค่าในเสียงของตนเอง ปล่อยให้ตัวเองอยู่บนความลำบากเพราะเคยชิน เป็นเรื่องน่ากลัวมากเลย ไปสู่จุดที่ #ยากจนและยอมอยู่กับมันจนชิน
2) การที่ความจน และความรวยห่างชั้นกันขนาดที่ทำให้คนจนรู้สึกว่า วันๆ การไป #รอรับแจกของฟรี มันง่ายกว่าความดิ้นรน หรือพยายามต่อสู้ มันคือภาพที่เหี้ยมาก ที่ไม่ควรเกิดขึ้นในประเทศ เมื่อคนไม่เห็นคุณค่าของตนเอง และมองความยากจนเป็นชีวิตที่อยู่ได้ปกติ มันคือ #ประเทศแห่งการรอรับบริจาค และขาดความพยายามในการใช้ชีวิต ไม่ถีบตัวเองไปสู่จุดที่ดีกว่า อยู่กับชีวิตที่กลายเป็น 'ชะตากรรม'
3) การแจก หรือการบริจาคไม่ใช่ทุกอย่างของการขับเคลื่อนประเทศหรือการพัฒนาชาติ เพราะมันทำให้คนไม่เรียนรู้คุณค่าของความพยายาม หรือการสร้างโอกาสให้ตัวเอง รอรับจนชิน จนรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก เดี๋ยวก็จะมีคนมาช่วย สุดท้าย มันคือความเข้าใจผิดในการใช้ชีวิต การไม่เห็นคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของตัวเอง และไม่ได้ศักยภาพของตัวเองขับเคลื่อนชีวิต มันทำให้ประเทศทั้งประเทศเป็นภาพของประเทศด้อยพัฒนาในที่สุด
แน่นอนว่าอินเดียมีคนมากกว่าเรา เพราะเขา 1 พันกว่าล้านคน คนรวย 30% และจน 70% เหลื่อมล้ำโคตรๆจริงๆ แต่เรายังไม่ได้ไปจุดนั้น จะทำอะไรก็ต้องรีบทำ รีบพาตัวเองหนีจากจุดนี้ จุดที่ไม่ควรยอมรับ
"อย่าคิดว่ารับเศษเนื้อจากคนรวยที่โยนมาให้ก็สุขสบายดี เพราะสุดท้ายแล้ว ประเทศไทยจะเป็น India's Model ในที่สุด ในวันที่แก้อะไรไม่ทันแล้ว"
คือถ้าที่ไทยมีวรรณะ ก็คือ India เลยค่ะ พร้อมใส่ส่าหรีสวยๆ อิห่า
IG : BrandingbyBoy
#BrandingbyBoy

อันนี้จะฮา ก็ไม่ว่ากัน



Pravit Rojanaphruk
@PravitR


อันนี้ฮา #ป #วัคซีนโควิด19 #วัคซีนโควิด #วัคซีนซิโนแวค #วัคซีนซิโนฟาร์ม #วัคซีนไฟเซอร์ #วัคซีนทางเลือก #555

ในมุมกฎหมาย เหตุใดราชวิจัยจุฬาภรณ์ฯ (รวมถึงโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ) จึงสามารถนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้ และหากโรงเรียนแพทย์อื่น เช่น ศิริราช จุฬาฯ จะนำเข้าบ้าง สามารถทำได้หรือไม่?



Pum Chakartnit is feeling curious.
Yesterday at 2:03 AM ·

โรงเรียนแพทย์อื่น สั่งซื้อวัคซีนทางเลือกเหมือนโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ ได้หรือไม่?
...
หลังจากราชกิจจานุเบกษาได้ลงประกาศสำคัญเมื่อไม่กี่วันก่อน ทำให้เกิดคำถามกันขึ้นมากมายว่า เหตุใดราชวิจัยจุฬาภรณ์ฯ (รวมถึงโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ) จึงสามารถนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้
และหากโรงเรียนแพทย์อื่น เช่น ศิริราช จุฬาฯ จะนำเข้าบ้าง สามารถทำได้หรือไม่?
ด้วยส่วนตัวก็สนใจคำถามนี้เหมือนกัน ผมจึงไปค้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมา และพบข้อมูลที่น่าสนใจ จึงอยากนำมาสรุปให้ฟัง เผื่อเพื่อนๆ ท่านใดก็สนใจในคำถามนี้เช่นเดียวกันครับ
...
1. โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ
มีฐานะเป็นส่วนงานหนึ่งภายใต้ราชวิทยาลัย ตามมาตรา 8 วรรค 2 แห่งพ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 2559
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 4 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ 2559
การนำเข้าวัคซีนของโรงพยาบาลจึงต้องทำผ่าน "ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐเท่านั้น
2. โรงพยาบาลศิริราช
มีฐานะเป็นส่วนงานหนึ่งภายใต้มหาวิทยาลัยมหิดล ตามมาตรา 10 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล 2550
มหาวิทยาลัยมหิดล มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 5 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล 2550
การนำเข้าวัคซีนของโรงพยาบาลศิริราช จึงต้องทำผ่าน "มหาวิทยาลัยมหิดล" ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ตัวโรงพยาบาลเองทำไม่ได้
3. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
มีฐานะเป็น กองงานหนึ่ง ภายใต้สภากาชาดไทย ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยสภากาชาดไทย 2461 (ไม่ใช่ พ.ร.บ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ)
สภากาชาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินการอันเป็นสาธารณกุศลเพื่อมนุษยธรรมตามหลักการของกาชาดสากล และพึงได้รับการสนับสนุนการดำเนินการจากรัฐ ตามมาตรา 1 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยสภากาชาดไทย 2461
การนำเข้าวัคซีนของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นั้น ในความเห็นผมจึงแตกต่างกับทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และ โรงพยาบาลศิริราช อย่างชัดเจน เพราะสภากาชาดไทย มิใช่หน่วยงานในกำกับของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด
ฉะนั้น ถ้าว่ากันตามหลักกฎหมายแล้ว โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงไม่น่าจะสามารถนำเข้าวัคซีนโดยตรงได้แบบ โรงพยาบาลศิริราช หรือ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ฯ
...
ข้อสังเกตุและประเด็นที่น่าสนใจของเรื่องนี้ก็คือ ในชั้นแรกรัฐบาลอ้างว่า บริษัทผู้ผลิตวัคซีนต้องการจะ deal กับหน่วยงานของรัฐโดยตรงเท่านั้น โดยไม่ deal กับเอกชน ซึ่งเราก็เข้าใจกันว่า คงเป็นการ deal ผ่านหน่วยงานราชการหลักๆ เช่น สถาบันวัคซีน องค์การเภสัชกรรม หรือ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ อะไรทำนองนั้น
แต่หากดูจากการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ แสดงให้เห็นว่า หน่วยงานรัฐที่ว่านั้น หมายถึงหน่วยงานรัฐใดๆ ในประเทศไทยก็ได้ทั้งสิ้น เช่น ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น (ซึ่งไม่ได้เป็นทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ก็สามารถนำเข้าวัคซีนทางเลือกได้
ถ้าหลักการเดียวกันนี้ ย่อมแสดงว่าหน่วยงานรัฐอื่น ซึ่งรวมถึงรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้า การรถไฟ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ ก็น่าจะ deal กับผู้ผลิตวัคซีนได้โดยตรงเช่นเดียวกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ใช่หรือไม่
ดังนั้น คำถามสำคัญคือ ทำไมที่ผ่านมารัฐบาลจึงไม่ใช้แนวทางแบบนี้ตั้งแต่ต้น แต่กลับปฏิบัติราวกับว่าหน่วยงานที่สามารถ deal ได้ มีเพียงองค์การเภสัชกรรม หรือ สถาบันวัคซีนแห่งชาติเท่านั้น
มิเช่นนั้น เราอาจจะมีวัคซีนทางเลือกเร็วกว่านี้ก็เป็นได้ น่าเสียดายจริงๆ ครับ
#นำเข้าวัคซีน
#หน่วยงานของรัฐ
#COVID19


วิวาทะ V2
May 28 at 8:37 AM ·
"..
22 เม.ย. 40CEOออกมาโวยการรับมือระลอก3ของรัฐบาล ประกาศจัดตั้งหน่วยงานจัดหาวัคซีนเอง
.
27 เม.ย. ประยุทธ์ออกพ.ร.ก.รวบอำนาจ31ฉบับ เข้ามาจัดการเบ็ดเสร็จ เอกชนถอยโดยเอารายชื่อที่รวมให้รัฐบาลจัดหาวัคซีน
.
ต้นพ.ค. โรงพยาบาลเอกชนเริ่มสำรวจความเห็นความต้องการวัคซีนทางเลือก
.
23 พ.ค. Sinopharm ยื่นขอ อย.
.
27 พ.ค. มีข่าวราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ฯจะเอา Sinopharm เข้ามา
.
28 พ.ค. อย.รับรองก่อนแถลง1ชั่วโมง สรุปของลอตแรกจะถูกส่งไปสภาอุตสาหกรรมและปตท.ซึ่งเคยจะจัดหาวัคซีนเอง
..."
#มิตรสหายท่านหนึ่ง

ไทยแลนด์ 4.0

สุดยอด​พิซซ่า​หลากหลาย​หน้า​ ในการ​แสดง​ออก​เชิง​สัญลักษณ์ ​ของ​คนไทยที่ต่างประเทศ..


ตามไปดูได้ที่ลิงค์นี้

"เราชนะ" เห็นแล้วจุก



#art #artoftheday #artist #artwork
#artistsoninstagram #oilpainting #arte
#acrylic #วาดรูป #วาดรูปเหมือน #วาดภาพ
#painting🎨 #เราชนะ #เราชนะออนไลน์
#artsy #arts

ที่มา https://www.instagram.com/p/CPfxIeLA4_p/?utm_medium=copy_link

เพื่อมุ่งเอาผิดให้ได้ เราเดินทางมาถึงจุดนี้กันแล้วว่า มาตรา 112 ถูกตีความ"กว้างไกล"จนผิดปกติ จนยากที่จะยอมรับ หรือทำความเข้าใจได้



iLaw
Yesterday at 1:00 AM ·

ขอบเขตของมาตรา 112 ที่ถูกทำให้มองไม่เห็น

แม้ตัวบทของมาตรา 112 จะไม่ได้ยืดยาวหรือซับซ้อน ซ่อนเงื่อนปมจนยากต่อการตีความ แต่จากการเก็บข้อมูลของไอลอว์พบว่า มีคดีมาตรา 112 บางส่วนที่การตีความของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ อัยการ พยาน หรือศาล ที่ยังคง “ค้างคาใจ” ต้องหยิบยกมาถกเถียงต่อไปอีกยาวนาน

ซึ่งการตีความมาตรา 112 บางกรณีก็อาจเป็นการตีความอย่าง “กว้างขวาง” เพื่อมุ่งให้เอาผิดให้ได้ หรือบางกรณีก็ตีความอย่าง “เคร่งครัด” มาก จนผิดปกติ ซึ่งทั้งสองกรณีอาจเกิดขึ้นได้ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเด็นปัญหาในทางกฎหมายเท่านั้น แต่อาจเปลี่ยนแปลงไปในบรรยากาศทางการเมืองที่แตกต่างกัน และแนวนโยบายของแต่ละยุคสมัย

แนวทางการตีความที่ไม่คงที่แน่นอน และเมื่อมีข่าว ตัวอย่างของการตีความที่ “กว้างขวาง” จนยากที่จะยอมรับ หรือทำความเข้าใจได้ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนเกิดความสับสนว่า ขอบเขตของมาตรา 112 อยู่ที่ใดกันแน่ การกระทำใดบ้างที่จะถูกเอาผิดตามมาตรา 112 และการกระทำใดบ้างที่ทำแล้วจะรับรองได้ว่า “ปลอดภัย”

จากตัวอย่างการตีความที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ทำให้คำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ “ตอบยากที่สุด” เพราะการกระทำอย่างหนึ่งที่อาจ “ไม่ผิด” ในช่วงเวลาหนึ่งๆ ก็อาจถูกพลิกกลับเป็นผิดก็ได้ภายใต้บรรยากาศทางการเมืองแตกต่างไป บางกรณีการคาดหมายผลของคดีโดยพิจารณาจาก “ช่วงเวลา” ที่ศาลจะอ่านคำพิพากษาอาจเป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าตัวบทกฎหมาย
 
สถานการณ์ที่การตีความกฎหมายขาดความมั่นคงแน่นอนนี้ แสดงให้เห็นว่า เมื่อมาตรา 112 ถูกนำมาใช้ “ระบบนิติรัฐ” ไม่ได้มีอยู่อีกต่อไป และสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน เมื่อไม่อาจมั่นใจได้ก็ต้องเลือกที่จะปิดปากเงียบไว้ก่อน

จึงชวนพิจารณา ประเด็นปัญหาในการตีความมาตรา 112 ที่เคยมีตัวอย่างการตีความกว้างขวางให้รู้สึกแปลกตาแปลกใจ โดยประเด็นหลัก ที่จะต้องตีความและถกเถียงกัน มีอยู่ 2 ประเด็นเท่านั้น
 
ประเด็นที่หนึ่ง คือ ขอบเขตว่า บุคคลใดบ้างที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้
ประเด็นที่สอง คือ การกระทำลักษณะใดบ้างที่จะเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายนี้

ประเด็นที่หนึ่ง มาตรา 112 คุ้มครองบุคคลใดบ้าง

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เขียนไว้ชัดเจนแล้วว่า บุคคลที่อยู่ในข่ายได้รับความคุ้มครองมีสี่ตำแหน่ง ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
 
และหากพิจารณาจากเจตนารมณ์ของกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองบุคคลที่อยู่ระหว่างดำรงตำแหน่งสำคัญของรัฐ ก็ชัดเจนว่า บุคคลที่ได้รับความคุ้มครองต้องอยู่ระหว่างดำรงตำแหน่งทั้งสี่นี้ และการกระทำที่จะผิดมาตรา 112 ต้องเกิดขึ้นระหว่างที่บุคคลข้างต้นอยู่ระหว่างดำรงตำแหน่ง อย่างไรก็ตาม

ตำแหน่ง “พระหากษัตริย์” และ “พระราชินี" มีประเด็นที่ต้องตีความว่า หากพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคตแล้ว บุคคลนั้นจะได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 112 ต่อไปหรือไม่ รวมถึงพระราชินีของพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตแล้ว จะยังได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 112 ต่อไปหรือไม่

ตำแหน่ง “รัชทายาท” ทั้งรัฐธรรมนูญและกฎมณเฑียรบาลพ.ศ. 2467 ไม่ได้นิยามเอาไว้เฉพาะ แต่ในกฎหมายทั้งสองฉบับจะใช้คำว่า "พระรัชทายาท" ซึ่งกฎมณเฑียรบาลกำหนดนิยามว่า "เจ้านายเชื้อพระบรมราชวงศ์พระองค์ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสมมติขึ้น เพื่อเป็นผู้ทรงสืบราชสันตติวงศ์สนองพระองค์ต่อไป" จึงมีประเด็นต้องตีความคำว่าว่า “รัชทายาท” ตามมาตรา 112 คุ้มครองใครบ้าง หากพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไว้ให้ชัดเจนก็จะไม่มีปัญหาต้องตีความอีก

ตำแหน่ง “ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 16 กำหนดว่า “ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้..."

และยังกำหนดวิธีปฏิบัติในกรณีที่ไม่ได้แต่งตั้งไว้ รวมถึงการพ้นจากตำแหน่งด้วย ตำแหน่งนี้จึงยังไม่มีปัญหาการตีความากนัก

เท่าที่มีข้อมูลนับจากปี 2552 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ยังไม่พบว่า มีคดีมาตรา 112 จากการหมิ่นประมาทผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เนื่องจากตลอดช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การกระทำความผิดจึงจำกัดอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาทเท่านั้น
 
คดีที่มีปัญหาข้อกฎหมายว่า บุคคลที่ถูกเอ่ยถึงเป็นบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้หรือไม่ ได้แก่
คดีหมิ่นประมาทรัชกาลที่ 4

ในปี 2548 ณัชกฤช ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่งในจังหวัดชลบุรีจัดรายการวิทยุพูดถึงกรณีที่เขาแพ้ในการเลือกตั้งทำนองว่า ส่วนหนึ่งที่เขาแพ้การเลือกตั้งเป็นเพราะเขาไม่สยบยอมเป็นทาสเหมือนในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นเหตุให้เขาถูกดำเนินคดี ณัชกฤชสู้คดีถึงสามชั้นศาล ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเขามีความผิด ต่อมาศาลอุทธรณ์จึงมีคำพิพากษายกฟ้อง ก่อนที่ศาฎีกาจะพิพากษาให้มีความผิด โดยให้เหตุผลตอนหนึ่งว่า

"ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต้นราชวงศ์ตลอดมาจนกระทั่งรัชกาลปัจจุบัน ประชาชนในประเทศจึงผูกพันกับพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นที่เคารพสักการะซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือ บุคคลใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องในทางใดๆ มิได้ ด้วยเหตุนี้การที่กฎหมายมิได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์จะต้องครองราชย์อยู่เท่านั้น ผู้กระทำจึงจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะกระทำต่ออดีตพระมหากษัตริย์ซึ่งสวรรคตไปแล้ว ก็ยังเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์ก็ย่อมกระทบถึงพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ยังคงครองราชย์อยู่ ดังจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นพระอัยกาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน หากตีความว่าพระมหากษัตริย์ต้องเป็นองค์ปัจจุบันที่ยังทรงครองราชย์อยู่ ก็จะเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิด หมิ่นประมาท ให้กระทบต่อพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันได้ ดังได้กล่าวในเบื้องต้นมาแล้วว่าประชาชนชาวไทยผูกพันกับสถาบันกษัตริย์มาตลอด แม้จะเสด็จสวรรคตไปแล้วประชาชนก็ยังเคารพพสักการะ ยังมีพิธีรำลึกถึงโดยทางราชการจัดพิธีวางพวงมาลาทุกปี ดังนั้น หากมีการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตไปแล้วก็ยังกระทบกระเทือนต่อความรู้สึกของประชาชนอันจะนำไปสู่ความไม่พอใจและอาจส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรได้"

คดีหมิ่นประมาทพระนเรศวร
 
ในเดือนตุลาคม 2557 กลุ่มสภาหน้าโดมจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์ ว่าด้วยการชำระ และสร้าง” ที่ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สุลักษณ์ ศิวรักษ์หรือ ส.ศิวรักษ์ นักวิชาการอิสระเข้าร่วมเสวนาด้วย ตอนหนึ่งของการเสวนาสุลักษณ์แสดงความเห็นทำนองว่า
 
ความจริงในทางประวัติศาสตร์ว่าอาจจะมีการต่อเติม ตัดออก หรือเขียนขึ้นใหม่ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความจริงอาจจะไม่ตรงกันเสมอไป โดยยกตัวอย่างกรณีพระนเรศวรชนช้างกับพระมหาอุปราชา โดยความจริงด้านหนึ่งบอกว่าพระนเรศวรทรงท้าพระมหาอุปราชาชนช้างแล้วทรงได้ชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาด้วยการฟันพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง แต่ก็มีประวัติศาสตร์ที่เล่าความจริงอีกชุดหนึ่งที่ถูกเล่าในฝั่งประเทศพม่า เล่าว่าพระนเรศวรใช้ปืนยิงพระมหาอุปราชา สรุปแล้วความจริงคืออะไร แล้วเราจะเชื่อความจริงแบบไหน

พล.ท.ผดุง นิเวศวรรณ และ พล.ท.พิทยา วิมะลินเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษสุลักษณ์ต่อสน.ชนะสงคราม สุลักษณ์ถูกออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาก่อนที่พนักงานสอบสวนจะมีความเห็นสั่งในเดือนตุลาคม 2560 ต่อมาในเดือนมกราคม 2561 อัยการศาลทหารกรุงเทพมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาโดยให้เหตุผลว่าหลักฐานไม่พอฟ้องคดี https://prachatai.com/journal/2018/01/74980 เนื่องจากไม่มีการเปิดเผยเอกสารของทางราชการ จึงไม่ทราบว่าประโยคที่ผู้กล่าวหาทั้งสองคนนำมาร้องทุกข์กล่าว

โทษสุลักษณ์ที่ปรากฎตามบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาคือประโยคใด

คดี "อานันท์" คุยเรื่องราชวงศ์กับเพื่อน

“อานันท์” เป็นนามสมมติของชายที่ถูกตั้งข้อกล่าวหามาตรา 112 ในปี 2555 โดยตำรวจยยังไม่สั่งฟ้อง แต่หลังรัฐประหารในปี 2557 อานันท์ถูกนำตัวกลับมาดำเนินคดีอีกครั้ง ในวันที่ 27 ธันวาคม 2561 ศาลฎีกาพิพากษาว่า อานันท์มีคำผิดฐานหมิ่นประมาทสมเด็จพระเทพฯและพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ซึ่งคดีนี้ศาลชั้นต้นเคยวินิจฉัยโดยอิงเอกสารจากสำนักพระราชวังว่า "รัชทายาท" หมายถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเพียงพระองค์เดียว และประเด็นนี้จบไปที่ศาลชั้นต้นแล้ว

ส่วนหนึ่งของคำพิพากษาศาลฎีกา ระบุว่า "ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นความผิดในภาค 2 ลักษณะ 1 ของประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นความผิดเกี่ยวกับ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ซึ่งพันตรีสมศักดิ์เป็นผู้กล่าวโทษให้ดําเนินคดีแก่จําเลยโดยชอบแล้ว แต่คดีไม่อาจลงโทษจําเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้เนื่องจากไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

แต่อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงได้ความว่า จําเลยพูดใส่ความพระองค์ท่านทั้งสองจริง อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 เมื่อความผิดทั้งสองฐานเป็นความผิดที่รวมการกระทําหลายอย่างซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองและมีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และความมั่นคงของรัฐ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์และความมั่นคงของรัฐ การกล่าวโทษในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พนักงานสอบสวนทําการสอบสวนไว้โดยชอบแล้ว จึงเท่ากับมีการสอบสวนโดยชอบในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย ดังนั้น เมื่อมีการสอบสวนความผิดทั้งสองฐานแล้ว โจทก์ย่อมมีอํานาจฟ้องความผิดทั้งสองฐาน และศาลมีอํานาจลงโทษจําเลยฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ได้..."
 
ความน่าสนใจของคำพิพากษาฎีกานี้จึงอยู่ที่การวางบรรทัดฐานว่า "รัชทายาท" หมายถึงผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ต่อจากพระมหากษัตริย์พระองค์ที่กำลังครองราชย์อยู่ ซึ่งขณะเกิดเหตุคดีนี้หมายถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ฯ การหมิ่นประมาทสมเด็จพระเทพฯและพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ จึงเป็นความผิดตามมาตรา 326 ไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 112

ความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 ถือเป็นความผิดต่อตัว ต้องให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีเท่านั้นเท่านั้นที่มีสิทธิแจ้งความดำเนินคดี และในกรณีนี้ทั้งสองพระองค์ก็ไม่ได้ทรงเป็นผู้แจ้งความดำเนินคดีจำเลย แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องคดี แม้ความผิดฐานหมิ่นประมาทจะเป็นความผิดส่วนตัว แต่ก็มีผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และความมั่นคงของรัฐ ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์และความมั่นคงของรัฐ
 
คดี "บุปผา" โพสต์เฟซบุ๊กหมิ่นพระบรมวงศานุวงศ์

"บุปผา" ถูกฟ้องว่าโพสต์ภาพและข้อความในลักษณะที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์รวม 13 ข้อความ แม้ต่อมาศาลจะยกฟ้อง"บุปผา" ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพราะเห็นว่าจำเลยมีอาการทางจิตและไม่ได้มีเจตนา และลงโทษจำเลย

ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯมาตรา 14(3) แทน ในตอนหนึ่งของคำพิพากษาคดีนี้ ศาลจังหวัดชลบุรีวินิจฉัยถึงขอบเขตของคำว่า "รัชทายาท" ไว้ด้วยว่า
 
"คดีนี้ เกี่ยวเนื่องโดยตรงต่อสถาบันพระมหากษัติรย์ อันเป็นสถาบันหลักที่ปวงชนชาวไทยต่างรู้ด้วยจิตสำนึกว่า หาอาจมีบุคคลใดล่วงละเมิดมิได้ ความเป็นสถาบันนอกจากหมายถึงองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี แล้ว ยังหมายรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ด้วย

คำว่า รัชทายาทตามพจนานุกรมฉบับราชฑิตยสถาน พ.ศ.2554 หมายถึงผู้ที่จะสืบราชสมบัติ มิได้ระบุถึงคำว่า “สิทธิ” (Right) แต่อย่างใด เมื่อประมวลประกอบกับบทบัญญัติมาตรา 112 เพื่อการตีความแล้วย่อมต้องสอดคล้อง เชื่อมโยง ต่อเนื่อง กับคำว่า “พระมหากษัตริย์” “พระราชินี” ที่บัญญัติไว้ก่อนหน้าคำว่า “รัชทายาท” ดังนี้ คำว่า “รัชทายาท” แห่งมาตรา 112 จึงหาใช่หมายความเพียงลำพังแต่พระองค์ใดพระองค์หนึ่งไม่
 
ดังนั้น มาตรา 112 ซึ่งประมวลกฎหมายอาญาจัดลำดับไว้ในลักษณะ 1 หมวด 1 เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และที่สำคัญเป็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัขทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่างหากจากความผิดฐานดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาท บุคคลหรือตำแหน่งอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นอย่างชัดแจ้งแล้ว และเห็นว่าเป็นการบัญญัติไว้โดยเฉพาะต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยแท้จึงเห็นว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระองค์เจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงอยู่ในความหมายของคำว่า “รัชทายาท” แห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่มิได้ก้าวล่วงไปวินิจฉัยถึงคำว่า พระรัชทายาท ตามกฎมลเฑียรบาลแต่อย่างใด"
 
นอกจากตัวอย่างที่กล่าวมา ในปี 2564 มีกรณีนักกิจกรรม 5 คน แขวนป้ายผ้าเขียนข้อความ "งบสถาบันกษัตริย์>วัคซีนCOVID19” ( งบสถาบันกษัตริย์มากกว่าวัคซีนCOVID19 ) ที่สะพานรัษฎาภิเศก จ.ลำปาง ซึ่งข้อความในป้ายไม่ได้เขียนถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ก็ถูกดำนินคดีมาตรา 112 ด้วย
 
ประเด็นที่สอง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ครอบคลุมการกระทำลักษณะใดบ้าง

ตัวบทของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กำหนดฐานความผิดไว้ชัดเจนว่าผู้ใด ดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย
 
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2554 มีความหมายของทั้งสามคำ ดังนี้
ดูหมิ่น ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูด หรือเขียน เป็นเชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อยหรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า.

หมิ่นประมาท น. เป็นฐานความผิดอาญา ที่ผู้กระทำใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง.

ส่วนคำว่าแสดงความอาฆาตมาดร้ายไม่มีคำศัพท์บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ มีเพียง
อาฆาตมาดร้าย ก. พยาบาทมุ่งจะทำร้ายให้ได้
 
หากตีความกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยเคร่งครัด การกระทำที่อยู่ในข่ายจะถูกลงโทษโดยมาตรานี้ จะต้องมีเจตนาแสดงออกไม่ว่าจะโดย การพูด การเขียน หรือการแสดงท่าท่าง ในลักษณะดูถูก ว่าร้าย ใส่ความบุคคลผู้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้ หรือแสดงท่าทาง พยาบาทหรือมุ่งร้ายต่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนี้ เท่านั้น

ตามหลักกฎหมายพื้นฐาน การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความโดย “เคร่งครัด” หมายความว่าต้องตีความให้แคบ ไม่ให้ขยายออกไปเอาผิดการกระทำนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าเป็นความผิดด้วย ดังนั้น ในทางทฤษฎีการกระทำที่ไม่ชัดเจนว่าเข้าข่ายความหมายเหล่านี้ ต้องไม่ผิดตามมาตรา 112

แต่ในทางปฏิบัติพบข้อมูลว่า มีการดำเนินคดีกับกระทำลักษณะที่ยังไม่ชัดเจนว่า เข้าข่ายความผิดมาตรา 112 เพราะจากการกระทำที่เกิดขึ้นยังไม่แสดงชัดเจนถึง “เจตนา” ที่แท้จริงได้ เช่น การแอบอ้างสถาบันพระมหากษัตริย์เพื่อเรียกรับผลประโยชน์ การทำลายซุ้มเฉลิมพระเกียรติ รวมถึงการพูดหรือการแสดงออกแบบอ้อมๆ การเลียนแบบพฤติกรรม

การแอบอ้างพระนามเพื่อแสวงหาผลประโยชน์
 
การแอบอ้างสถาบันพรระมหากษัตริย์เพื่อเรียกรับผลประโยชน์เป็นการส่วนตัว เป็นพฤติกรรมที่เลวร้ายและอาจจะเข้าข่ายความผิดฐาน “ฉ้อโกง” แต่ไม่แน่ชัดว่า เข้าข่าวความผิดฐานดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือการแสดงความอาฆาตมาดร้าย เพราะอาจไม่ได้มุ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกียรติยศของผู้ได้รับการคุ้มครองตามอาญามาตรา 112 หากแต่มุ่งหมายเอาประโยชน์ส่วนตน ในยุคของ คสช. มีกระบวนการ “กวาดล้าง” ผู้กระทำผิดเหล่านี้ด้วยมาตรา 112 เช่น

กรณีของสุริยัน สุจริตพลวงศ์หรือ “หมอหยอง”, พ.ต.ต.ปรากรม วารุณประภา และ จิรวงศ์ วัฒนเทวาศิลป์ซึ่งถูกจับกุมด้วยอำนาจพิเศษของ คสช. ทั้งสาม ถูกควบคุมตัวและปรากฎตัวที่ศาลทหารกรุงเทพเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ในสภาพที่ถูกโกนศีรษะ วันที่ 23 ตุลาคม 2558 พ.ต.ต.ปรากรมฆ่าตัวตายด้วยการแขวนคอระหว่างถูกคุมขัง และต่อมาวันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 สุริยันเสียชีวิตในเรือนจำเดียวกันด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด
ผู้จัดการออนไลน์ระบุพฤติการณ์ของคดีนี้ว่า ในเดือนมิถุนายน 2558 ผู้ต้องหากับพวก แอบอ้างสถาบันเบื้องสูง ขอรับการสนับสนุนจัดทำสิ่งของและได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวเป็นเงินจำนวน 100,000 บาท, เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2558 และวันที่ 3 กันยายน 2558 ผู้ต้องหาทั้งสามร่วมกันแอบอ้างเป็นผู้แทนพระองค์ นำการ์ดขอบคุณไปมอบให้กับบริษัทเอกชน และในวันที่ 28 กันยายน 2558 ผู้ต้องหา กับพวก ได้แอบอ้างสถาบันเบื้องสูงเรียกและรับผลประโยชน์จากภาคเอกชน เป็นต้น
 
วันที่ 1 สิงหาคม 2559 ศาลทหารกรุงเทพมีคำพิพากษาจำคุกจิรวงศ์ จำเลยคนเดียยวที่เหลืออยู่ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นเวลา 7 ปี ก่อนลดโทษเหลือ 3 ปี 6 เดือน
 
นอกจากนี้ก็มีกรณีของบุญธรรม บุญเทพประทาน หรือ ป๋าชื่น กรรมการผู้มีอำนาจ บริษัท บ้านชุมทอง จำกัด และบริษัท เขาใหญ่ เบเวอร์ลี่ฮิลล์ จำกัด ที่ถูกกล่าวหาว่าแอบอ้างสถาบันเพื่อหาประโยชน์กับบุคคลที่สาม ซึ่งถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 12 ปี แต่ก็ไม่ปรากฎรายละเอียดว่าจำเลยกระทำการแอบอ้างในลักษณะใดและพฤติการณ์ใดที่ศาลชี้ว่าการแอบอ้างถือเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย
 
ทั้งนี้ระหว่างปี 2557 - 2558 ไอลอว์ยืนยันได้ว่ามีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จากพฤติการณ์แอบอ้างสถาบันอย่างน้อย 37 คน โดยมีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล จำเลยบางคนอย่างน้อยสองคดีพยายามปิดบังเรื่องคดีความและติดต่อเพื่อขอให้ลบชื่อออกจากฐานข้อมูลออนไลน์ของไอลอว์
การเผาหรือทำลายซุ้มเฉลิมพระเกียรติ

มีกรณีการเผา - ทำลายซุ้มเฉลิมเพราะเกียรติ ที่จำเลยถูกตั้งข้อกล่าวหามาตรา 112 หลายกรณี
 
สมัคร เกษตรกรชาวจังหวัดเชียงราย ถูกกล่าวหาว่า ใช้มีดพร้าทำลายซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ผู้จับกุมจำเลยเบิกความว่า จำเลยมีอาการคล้ายคนมึนเมาและมีกลิ่นสุรานอกจากนั้น พยานอีกหลายยปากบอกว่า จำเลยมีอาการทางจิตและเคยทำลายทรัพย์สินของตัวเองมาก่อน จึงยังมีข้อน่าสงสัยว่า จำเลยทำลายซุ้มเฉลิมพระเกียรติโดยมีเจตนาไม่ หรือควรจะเป็นเพียงความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์เท่านั้น ศาลทหารเชียงรายพิพากษาจำคุกสมัคร ตามมาตรา 112 เป็นเวลา 10 ปีก่อนลดโทษจำคุกเหลือ 5 ปี เพราะจำเลยรับสารภาพ

อีกกรณีหนึ่ง ที่จังหวัดขอนแก่นในปี 2560 มีกลุ่มวัยรุ่นวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 10 หลายแห่ง ผู้ต้องหาถูกจับกุม 6 คน แยกดำเนินคดีรวม 2 คดี จำเลยให้การรับสารภาพในเดือนมกราคม 2561 ศาลจังหวัดพลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด รวมทั้งตามมาตรา 112 โดยในตอนหนึ่งของคำพิพากษา ศาลวินิจฉัยว่า "จำเลยทั้ง 6 ร่วมกันวางเพลิงเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติซึ่งประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 10 อันเป็นที่เคารพสักการะของปวงชนชาวไทย นับเป็นการกระทำที่อุกอาจร้ายแรง ไม่มีเหตุรอการลงโทษ" และในคำพิพากษาคดีที่สองตอนหนึ่งว่า "การกระทำของจำเลยทั้ง 4 ส่งผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพเทิดทูนของปวงชนชาวไทย จำเลยกระทำความผิดโดยไม่ยำเกรงต่อกฎหมาย พฤติการณ์มีความร้ายแรง เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างจึงสมควรให้ลงโทษสถานหนัก" อย่างไรก็ตามในเดือนกันยายน 2561 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลยเฉพาะข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 โดยให้เหตุผลเหมือนกันว่า ไม่ปรากฏว่า "จำเลยทั้งหกมีความมุ่งหมายที่จะกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112"

ในปี 2563 หลังมีการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาและราษฎร มีกรณีนำสติกเกอร์ชื่อเพจเสียดสีการเมือง กูkult ไปปิดทับพระบรมฉายาลักษณ์ระหว่างการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร, มีกรณีการทำลายพระบรมฉายาลักษณ์ที่จังหวัดลำปาง และกรณีการพ่นสีข้อความว่า “ยกเลิก112” ที่รูปของพระบราวงศานุวงศ์ ที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 112 และในเดือนมีนาคม 2564 แอมมี่ ไชยอมร ถูกจับจากการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ที่ตั้งอยู่หน้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพ

การกระทำลักษณะเลียนแบบ

หลังเกิดกระแสการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์และเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันตั้งแต่หลังเดือนสิงหาคม 2563 มีผู้ถูกกล่าวหาในความผิดตามมาตรา 112 จากกรณีแต่งชุดไทยร่วมกิจกรรม “เดินแฟชัน” ที่ถนนสีลม ซึ่งตำรวจอ้างว่า ผู้ต้องหาแต่งกายและแสดงท่าทางประกอบการเดินแบบในลักษณะที่ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่า เป็นการเยี่ยมเยียนผสกนิกรของสมเด็จพระราชินี เป็นล้อเลียนสมเด็จพระราชินี ทำให้ประชาชนทั่วไปรู้สึกเป็นการดูหมิ่นและเกลียดชัง
 
นอกจากนั้นมีกรณี นักกิจกรรมสี่คนและเยาวชนสองคนแต่งชุด “ครอปท็อป” ไปเดินห้างสยามพารากอน มีการแสดงออกให้ประชาชนทั่วไปเห็นว่า กำลังแสดงเป็นรัชกาลที่สิบและพระราชินี พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ผู้ต้องหาสองคนยังถือลูกโป่งรูปสุนัข และบอกประชาชนทั่วไปว่า ถือสุนัขชื่อ “ฟ่องฟู” กับ “ฟูฟ่อง” เพื่อสื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นการล้อเลียนรัชกาลที่ 10 ที่มีสุนัขทรงโปรดชื่อ “ฟูฟู” ทั้งผู้ต้องหายังเขียนข้อความบนร่างกาย เช่น ยกเลิก 112, ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ เป็นต้น

ดูอ้างอิงในบทความบนเว็บไซต์ https://freedom.ilaw.or.th/node/915


ภาพถ่ายหมู่ประวัติศาสตร์ ที่จอมพล ป. ต้องการ ถึงออกปากว่า เท่าไหร่ก็จ่าย


ภาพถ่ายหมู่ ที่จอมพล ป. ต้องการ แต่เป็นสมบัตินายควง อภัยวงศ์ ที่เผยแพร่ในนิตยสารไท-สัปดาห์

ภาพถ่ายอะไร? ทำไมทำให้จอมพล ป. อยากได้มากถึงออกปากว่า เท่าไหร่ก็จ่าย

15 มกราคม พ.ศ.2564
ศิลปวัฒนธรรม

ในเหตุการณ์ต่อไปนี้ คำพูดที่ว่า “ภาพหนึ่งภาพแทนคำพูดนับพัน” คงจะใช้อ้างอิงได้ดี ยิ่งเมื่อเห็นภาพบุคคลที่รู้จัก หรือภาพตัวเองอยู่ด้วยแล้ว บางที “คำพูดนับพัน” ก็อาจจะไม่พอใช้บรรยายเรื่องทั้งหมด เหมือนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เห็นภาพเก่าภาพหนึ่งที่บนปกนิตยสาร “ไท-สัปดาห์” (ปีที่ 1 ฉบับที่ 8 วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2499) ที่มีตนเองร่วมอยู่ด้วย แล้วต้องการภาพดังกล่าวอย่างมาก

ข้อมูลเรื่องนี้ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ เรียบเรียงไว้ในบทความชื่อ “ข้างหลังภาพ ‘คณะราษฎร’ ณ กรุงปารีส” ภาพนี้ถ่ายเมื่อใด, ที่ไหน, มีใครบ้าง ฯลฯ นริศ จรัสจรรยาวงศ์ ได้รวบรวมไว้ดังนี้

เริ่มจาก “บุคคลในภาพ” ที่ประกอบด้วย (เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา)

1. นายชม จารุรัตน์ หรือ หลวงคหกรรมบดี (พ.ศ. 2447-2522) ในรายชื่อสมาชิกคณะราษฎรบางรายการได้บรรจุชื่อด้วย มีความคุ้นเคยกับนายควง อภัยวงศ์เป็นพิเศษ

2. นายแดง (วิเลียม) คุณะดิลก (พ.ศ. 2445-2540) พี่ชายแท้ๆของคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ สมาชิกเสรีไทย บุตรชายพระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด ติลเลกี) นักกฎหมายชาวศรีลังกา ต้นสกุล “คุณะดิลก”

3. นางสาวเล็ก คุณะดิลก หรือ คุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ (พ.ศ. 2449-2526) ภรรยานายควง อภัยวงศ์ ในงานแต่งงานของทั้งคู่ นายปรีดีและนายแนบ สองผู้ก่อการสำคัญของคณะราฎรในอนาคตเป็นเพื่อนเจ้าบ่าว

4. นายควง อภัยวงศ์ (พ.ศ. 2445-2511) สมาชิกคณะราษฎร แต่เป็นผู้เดียวในภาพที่ไม่นับเป็นผู้ริเริ่มใน 7 ผู้ก่อการที่ฝรั่งเศส นายปรีดีชักชวนนายควงเมื่อใกล้จะทำการยึดอำนาจไม่นานหลังกลับสู่ประเทศไทยแล้ว

5. ม.จ.ธานีเสิกสงัด ชุมพล (พ.ศ. 2445-2524)

6. ม.จ.ลายฉลุทอง ทองใหญ่ (พ.ศ. 2448-2534)

7. นายปรีดี พนมยงค์ (พ.ศ. 2443-2526) มันสมองคณะราษฎร

8. ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ (พ.ศ. 2440-2507) หรือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ยืนสูบบุหรี่ขณะก้มหน้าดูหนังสือ ทำให้ไม่เห็นใบหน้า มีฉายาว่า “กัปตัน” ในหมู่ผู้ก่อการคณะราษฎร

9. นายประยูร ภมรมนตรี (พ.ศ.2440-2525) คณะราษฎรผู้ริเริ่มก่อการ

10. นายแนบ พหลโยธิน (พ.ศ. 2443-2514) 1 ใน 7 คณะราษฎรผู้เริ่มต้น

ส่วน “วันเวลา และสถานที่ที่ถ่าย” นั้น รูปนี้ระบุวันถ่ายว่า ถ่ายเมื่อวันชาติฝรั่งเศสเมื่อ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) ที่ Place du Trocadéro ซึ่งอ้างอิงตามบันทึกลายมือของคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์ ภาพนี้จึงถ่ายครึ่งปีก่อนการประชุมของ 7 ผู้ริเริ่มคณะราษฎรที่หอพักแห่งหนึ่ง ณ ‘Rue de Sommerard’

กองบรรณาธิการไท-สัปดาห์ ยังเขียนถึงภาพนี้ว่า

“ภาพชนิดนี้จะหาดูได้ยาก เมื่อย้อนหลังลงไป แม้เพียงได้เห็นแต่ในภาพนั้นก็จะพบได้ว่าคนไทยกลุ่มนั้นยังหนุ่มแน่นแข็งแรง กำลังมีมันสมองสติปัญญาเปรื่องปาดเหมาะที่จะคิดการใหญ่การโตสำหรับอนาคตของตนต่อไป แต่ทว่าเขาหาได้คิดเพื่อเฉพาะอนาคตของเขาเท่านั้นไม่ เขาพากันคิดถึงอนาคตของคนทั้งชาติเลยทีเดียว และอนาคตของชาติที่เขาคิดไว้นั้นเขาได้กระทำแล้วแต่ภาพนี้เฉพาะอย่างยิ่ง จอมพล ป.พิบูลสงคราม อาจดูด้วยความสะท้อนสะท้านใจ ถ้าหากหวลนึกถึงความหลังระหว่างเพื่อนน้ำมิตร นายควง อภัยวงศ์ อาจจะดูภาพนี้อย่างยิ้มหวัว อีกหลายท่านดูภาพนี้ก็อาจจะดูด้วยความปลงตกว่า จะเอาอะไรจริงจังกับความจีรังยั่งยืนทั้งหลายในโลกนี้เล่า ถ้าหากว่าโลกยังต้องการความวิวัฒนาการอยู่เสมอไม่ว่าคนหรือสัตว์”

ไม่ว่าจะด้วยข้อความข้างต้นที่ไท-สัปดาห์บรรยายไว้, บุคคลในภาพที่จอมพล ป. ถ่ายภาพร่วมกัน หรือเหตุผลอื่นใด แต่เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อจอมพล ป. เห็นภาพดังกล่าวขึ้นปก “ไท-สัปดาห์” ปีที่1 ฉบับที่ 8 วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2499 ก็ส่งคนสนิมมาติดต่อขอภาพดังกล่าว

ส่วนผลลัพธ์เป็นอย่างไรคงต้องฟังจากบรรณาธิการไท-สัปดาห์ เขียนอธิบบายเรื่องนี้ว่า (ในบทบรรณาธิการไท-สัปดาห์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 11 จันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2499) ว่า


ปก “ไท-สัปดาห์” ปีที่1 ฉบับที่ 8 วันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2499

“นึกแล้วไม่ผิดเลยว่าภาพหน้าปก ‘ไท-สัปดาห์’ ฉบับที่ 8 ซึ่งเป็นภาพประวัติศาสตร์ ของนักการเมืองคนสำคัญในยุคนี้จะต้องทำให้ใครคนหนึ่งสดุ้งเฮือกขึ้นมาทันที ผู้ที่ถึงแก่สดุ้งเฮือกนั้นคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งมองเห็นภาพตัวของเขาเองอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ ‘คู่ปรปักษ์ทางการเมือง’ ในปัจจุบัน ซึ่งมีนามกรบันลือโลกว่านายควง อภัยวงศ์ หรือตามยศทหารซึ่งเรียกว่านายพันตรีควง อภัยวงศ์ และนายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ต้องหาคดีปลงประชนม์ฯ

ที่จอมพล ป.พิบูลสงครามสดุ้งขึ้นนั้น อาจเป็นเพราะเกิดปฏิกิริยาทางใจ แห่งความสำนึกชีวิตและเหตุการณ์ในอดีตอาจผุดขึ้นมาในความทรงจำว่า ครั้งหนึ่งในปารีสประเทศฝรั่งเศส เขากับ ‘คู่ปรปักษ์ทางการเมือง’ ในปัจจุบันนี้ได้เคยร่วมรู้ร่วมคิดการใหญ่ และร่วมตระเวณปารีสมาด้วยกัน มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันอย่างที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กลับมาร่วมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นผลสำเร็จ.

ภาพในอดีตจะเตือนความทรงจำรำลึกขึ้นมาอย่างไรก็ตาม จอม ป.พิบูลสงคราม จึงอยากได้ภาพนี้อย่างเหลือสติกำลัง ถึงแก่สั่งให้คนสนิทนำภาพนี้ไปให้จงได้ ในที่สุดก็มาถึง ‘ไท-สัปดาห์’ พร้อมกับแจ้งว่า จะเสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ไม่ว่าขอแต่ให้ได้ภาพนี้ไปให้ท่านจอมพลเท่านั้น.

‘ไท-สัปดาห์’ รู้สึกเห็นใจทั้งผู้มาติดต่อและผู้ที่ใช้ให้มาติดต่อเป็นอันมาก แต่ก็ไม่ทราบว่าจะสนองความประสงค์นั้นด้วยวิธีใด เพราะเป็นภาพที่ยืมเขามาเหมือนกัน จึงได้แต่แสดงความเสียใจว่า ‘ขอได้โปรดไปติดต่อขอจากคุณควง อภัยวงศ์กันเองเถิด’

แต่จอมพล ป.พิบูลสงคราม จะส่งให้ใครไปติดต่อกับนายควง เพื่อขอภาพในอดีตนี้แล้วหรือยัง…..ยังไม่มีใครรู้!”

ถึงต้องมูลเหตุที่จอมพล ป. อยากได้รูปคงพอจะประมวลได้ แต่ดูแนวโน้มจอมพล ป. คงจะไม่ได้รูป หรือท่านคิดอย่างไร

ลด 40% กลับมาแล้ว! สมัครรับนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 1 ปี (12 ฉบับ) ลดเหลือเพียง 1,200 บาท เฉพาะสมัครวันที่ 9-31 ม.ค. 2564 เท่านั้น คลิกสมัครและดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

ข้อมูลจาก

นริศ จรัสจรรยาวงศ์. “ข้างหลังภาพ ‘คณะราษฎร’ ณ กรุงปารีส” ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมิถุนายน 2563

เผยแพร่ในระบบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 15 มกราคม 2564

วันอาทิตย์, พฤษภาคม 30, 2564

‘Herd Immunity’ สร้างด้วยการเปิดฉีดฟรีแล้วมีสินล่อใจ รางวัลล็อตเตอรี่ ๑.๕ ล้านดอลลาร์ (กรณีแคลิฟอร์เนีย)


ชื่นใจที่เพ็นกวิ้นออกมาทำกิจกรรมได้อีกแล้ว วานนี้เขาไปร่วม “#ยืนหยุดขัง ที่ลานอากงหน้าศาลฎีกา สนามหลวง เรียกร้องสิทธิประกันตัวให้กับผู้ต้องหาคดี #มาตรา๑๑๒ ซึ่งยังมีผู้ต้องขังอยู่ในเรือนจำ อาทิ ทนายอานนท์ และไม้ค์”

แม้นว่าบางช่วงต้องลงนั่งรถเข็นเพราะร่างกายยังอ่อนเพลีย โดยมี แม่สุมารดาของเขากับแม่ของภาณุพงศ์ จาดนอก แม่ของอานนท์ นำภา ในกลุ่มราษมัม และสมยศ พฤฏษาเกษมสุข ร่วมกันยืนสงบ ๑ ชั่วโมง ๑๒ นาฑี “ให้กำลังใจคนที่ยังอยู่ในคุก”

โดยเฉพาะผู้ที่ติดคุกเพราะเหตุความมั่นคงทางการเมือง ของคณะผู้ปกครองและชนชั้นติดฟ้า หุ้นส่วนผลประโยชน์ทางอำนาจของพวกเขา ในเมื่อนับตั้งแต่เกิดการระบาดไวรัสโควิดระลอกใหม่มานี่ ในคุกเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ติดเชื้อเพิ่มทุกวันละพันสองพัน

ดังสถิติวันที่ ๓๐ พฤษภา ผู้ติดเชื้อใหม่ทั้งสิ้น ๔,๕๒๘ ราย มาจากในคุกเสีย ๑,๙๐๒ ราย ซึ่งเคยมีเสียงจากหมอในเรือนจำบางคน อวดรู้มองแง่ดีอ้างทฤษฎี ‘Herd Immunity’ ภูมิคุ้มกันหมู่ ว่าติดกันมากๆ ตายบ้างหายบ้าง เดี๋ยวก็เกิดภูมิคุ้มกันรวมเอง

มันเป็นการตีความทฤษฎีที่โหดเหี้ยมเสียนี่กระไร ทั้งๆ ที่วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันรวมหมู่ในดินแดนที่เจริญแล้วทั้งทางวัตถุและจิตใจ อยู่ที่การระดมฉีดวัคซีนแก่ผู้คนให้เร็วที่สุดและมากที่สุด อย่างน้อย ๗๐% ของประชากร ดังที่รัฐบาลอเมริกันยืนยันว่าได้แน่ภายใน ๔ กรกฎา วันชาติ

เสียงสะท้อนจาก Bobby Smith รอยัลลิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง บอก “ในสหรัฐอเมริกา แจกเงิน แจกสิ่งของ จูงใจให้ประชาชนมาฉีดวัคซีนที่ดีที่สุดในโลกกันเยอะๆ...หลายรัฐให้รางวัล ให้เงิน ให้ของขวัญ” โอไฮโอเพิ่มให้เป็นทุนการศึกษา

ในรัฐแคลิฟอร์เนียออกมาตรการจูงใจให้คนเร่งไปฉีดวัคซีน ซึ่งเปิดเกือบเสรี สามารถเดินเข้าร้านขายยาหรือสถานคลีนิคมากมายหลายแห่ง แล้วขอรับการฉีดวัคซีนได้เลย ก็คือโครงการออกล็อตเตอรี่ในหมู่ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว


‘Vax for the Win’ เป็นชื่อโครงการล็อตเตอรี่เฉพาะกิจ จะมีการจับรางวัลกันในวันที่ ๑๕ มิถุนายนนี้ มีรางวัลใหญ่เป็นเงิน ๑.๕ ล้านดอลลาร์ (เกือบ ๕๐ ล้านบาทไทย) จำนวน ๑๐ รางวัล ผู้อยู่อาศัยในมลรัฐที่ฉีดวัคซีนแล้วได้เข้ารับการจับสลากโดยอัตโนมัติ

ไม่ว่าจะฉีดเข็มเดียวหรือครบสองเข็ม แม้แต่เด็กอายุ ๑๒ ปีถึง ๑๕ ปีที่เพิ่งจะเริ่มได้รับวัคซีนไฟ้เซอร์ กับอายุ ๑๒-๑๘ ปีสำหรับวัคซีนโมเดอร์น่าในไม่ช้า หากได้รับการจับรายชื่อขึ้นมาสำหรับรางวัลทางการจะโอนเงินเข้าเป็นกองทุนไว้ให้จนกว่าจะอายุครบ ๑๘ ปี

ไม่เท่านั้น ล็อตเตอรี่วัคซีนของแคลิฟอร์เนียยังมีรางวัลย่อยอีก ๓๐ รางวัล รางวัลละ ๕ หมื่นดอลลาร์ (ประมาณ ๑.๕ ล้านบาทไทย) จะเริ่มทำการจับรางวัลส่วนหนึ่งในวันที่ ๔ กรกฎาคม และที่เหลือวันที่ ๑๑ กรกฎาคม

นั่นจะช่วยให้คนที่ยังสองจิตสองใจไม่กล้าฉีด หรือแม้แต่พวก ทรั้มปี้แอนตี้วัคซีน เกิดเปลี่ยนใจเพราะเงินรางวัลก็ได้ ส่วนบรรดาพวกผลัดวันประกันพรุ่งหรือชอบเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ มีเงินล้านๆ เป็นแรงกระตุ้นล่อใจ ฉีดฟรีแล้วยังมีชิงโชคเอาแจ็คพ็อตด้วย

ต่างกับในประเทศที่เกลื่อนไปด้วยไพร่ฟ้าหน้าใสและผู้วิเศษ คนส่วนใหญ่ถูกสอนให้พอเพียง อยากฉีดแม้จะแพง แต่วัคซีนไม่เพียงพอ วันนี้ตาย ๒๔ ศพ เทียบกับเพื่อนบ้านอาจไม่ร้ายเท่า ที่มาเลเซียจำนวนผู้ติดเชื้อถึง ๙ พัน ตาย ๙๘ ราย จนต้องมีล็อคดาวน์เป็นเวลา ๒ อาทิตย์

แต่ว่าชาวมาเลย์ก็ยังไม่ห่อเหี่ยวมากเหมือนชาวไทย พวกเขามีความหวังสูงและตั้งหน้ารอวัคซีนแอ้สตร้าเซเนก้า ๑๒.๘ ล้านโด๊สเซสที่จองไว้กับโครงการ โคแว็กสำหรับเดือนมิถุนายน ซึ่งครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้จะส่งตรงจากผู้ผลิตในประเทศไทย

มิหนำซ้ำวัคซีนที่พอมีใช้ในราคาแพง เป็นชนิดที่มาตรฐานต่ำชนิดที่จากการตรวจสอบคุณภาพจากบางแหล่ง ไม่ถึง ๕๐% ผู้ที่ต้องการฉีดจึงร้องยี้ ต่างรู้สึกว่าไหนๆ จะต้องเสียอัฐรสกันแล้ว อยากได้ที่มันดูดีหน่อยก้เลือกไม่ได้


ซ้ำร้ายโดนผู้อำนวยการของวิทยาลัยผู้วิเศษตวาดเอาอีก “ด้วยความหงุดหงิด” เมื่อถูกตั้งคำถามเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน “ไปเทียบกัน ๗๘% ๘๒% เนี่ย มันไร้สาระมาก” โหย สินค้าคุณมีราคาพันบาทต่อโด๊ส คนซื้อเขาอยากรู้ว่าจะได้น้ำเกลือหรือน้ำแร่ อะ

อย่างที่ @sleeplessbkk ว่า “สมมุติคุณนิธิแกเดินไปซื้อมือถือ แกถามพนักงานขายว่าเครื่องนี้แรมเท่าไหร่ จอแบบไหน...แล้วเจอพนักงานขายตอบว่า คุณจะรู้ไปทำไมฟร่ะ ผมโคตรหงุดหงิดเลย...คุณว่านิธิแกจะโกรธมั๊ย” ไร้สาระไหมล่ะ

(https://www.latimes.com/california/story/2021-05-27/california-launches-incentive-program-642601, https://codeblue.galencentre.org/2021/03/31/malaysia-getting-600000-astrazeneca-vaccine-doses-in-june/ และ https://twitter.com/iLawFX/status/1398617656844980225)