วันศุกร์, เมษายน 28, 2566

อ.พวงทอง กับ พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ ไม่เห็นด้วยกับ อ.ปวิน เรื่อง ICC กับการปราบ คนเสื้อแดงปี 53 ว่า ไม่ได้เป็นสเกลใหญ่ระดับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ICC จึงไม่น่าจะรับพิจารณากรณีนี้


Puangthong Pawakapan
10h ·
.
ขอแลกเปลี่ยนความเห็นกับ อ.ปวิน กรณี ICC ที่อ.ปวินให้สัมภาษณ์รายการอะไรสักอย่าง ทำนองว่า 1.การปราบเสื้อแดงปี 53 ไม่ได้เป็นสเกลใหญ่ระดับฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ICC จึงไม่น่าจะรับพิจารณากรณีนี้ และ 2. การยอมรับเขตอำนาจของ ICC ไม่ได้ช่วยป้องกันการรัฐประหาร
1. จริงอยู่ว่ากรณีปี 53 จำนวนคนตายสเกลเล็กกว่าคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crimes against humanity) ที่เคยเกิดในประเทศอื่นๆ เช่น กัมพูชาในยุคเขมรแดง หรือรัสเซียบุกยูเครน แต่ก็ไม่เคยมีใครกำหนดจำนวนที่แน่ชัดตายตัวว่าต้องตายกี่หมื่นกี่แสนคนจึงจะเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ เรารู้แค่ว่าต้องมีขนาดใหญ่ ซึ่งนี่เป็นจุดที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น
ตัวอย่างเช่น ในปี 2557 ครอบครัวและกลุ่มประชาสังคมในอิรัคเรียกร้องให้ ICC เข้ามาตรวจสอบการกระทำของทหารอังกฤษในช่วงสงครามอ่าวในปี 2547-2552 ที่มีการซ้อมทรมานชาวอิรัคนับพันคน และสังหารชาวอิรัค 300 กว่านายในลักษณะที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
เดิมทีญาติของเหยื่อพยายามฟ้องร้องเอาผิดและเรียกร้องการเยียวยาจากอังกฤษ ผ่านกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษ ๆ ซึ่งยอมรับเขตอำนาจของ ICC และมีกฎหมายสิทธิมนุษยชนของตน ก็จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวน เวลาผ่านไปหลายปี แทบไม่มีความคืบหน้าเลย ครอบครัวเหยื่อจึงยื่นเรื่องต่อ ICC ในปี 2557 ICC ก็จึงประกาศว่าจะตั้งคณะทำงานเพื่อเข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเอง ซึ่งส่งผลให้ฝ่ายอังกฤษต้องลุกขึ้นมาทำงานมากขึ้น
*** จะเห็นได้ว่าในกรณีนี้ คนตาย 300 กว่าคนก็ไม่ใช่สเกลระดับอาชญากรรมต่อมนุษยชาติที่เรามักจะเข้าใจกัน แต่อัยการของ ICC ก็ยังรับพิจารณาเรื่องนี้
ที่น่าสนใจกว่าก็คือกรณีประเทศไทย อัยการของ ICC เคยแสดงความสนใจอย่างชัดแจ้งมาแล้ว ในเดือนพฤศจิกายน 2555 คุณฟาตู เบนซูดา (Fatou Bensouda) ได้เดินทางมาไทยเพื่อเข้าพบนายสุรพงษ์ โตวิจักรชัยกุล รมต.ต่างประเทศ เพื่อชี้แจงขั้นตอนการยอมรับเขตอำนาจของ ICC แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่ทำอะไรเลยแม้จะมีเสียงเรียกร้องจากคนเสื้อแดงก็ตาม
การเดินทางมาไทยของคุณเบนซูดาเป็นผลโดยตรงจากความพยายามของกลุ่มบุคคลที่พยายามแสวงหาความยุติธรรมผ่านช่องทาง ICC ได้แก่ อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ, คุณพะเยาว์ อัคฮาด, อ.ธงชัย วินิจจะกูล, และนายโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
*** การที่อัยการของ ICC สนใจคดีปี 53 น่าจะเป็นผลจาก “เหตุผล” ที่อยู่ในจดหมายที่ อ.ธงชัย เป็นผู้ร่างและยื่นต่อนางเบนซูดา ***
โดยจดหมายเล่าถึงความรุนแรงที่รัฐไทยกระทำต่อประชาชนครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่ 14 ตุลา 2516, 6 ตุลา 2519, พฤษภา 2535 แต่ผู้เกี่ยวข้องกลับไม่เคยต้องรับผิดเลยสักครั้ง ฉะนั้น หาก ICC สามารถเข้ามาสอบสวนคดีปี 53 จะไม่เพียงช่วยคืนความยุติธรรมให้กับเหยื่อปี 53 เท่านั้น แต่อาจช่วย ***ยุติการลอยนวลพ้นผิด (impunity) ที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในไทยได้ด้วย*** ซึ่ง “การยุติการลอยนวลพ้นผิด” เป็นหลักการที่ ICC ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง หากไม่สามารถยุติการลอยนวลพ้นผิดได้ ก็จะไม่สามารถยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดใหญ่ที่รัฐกระทำต่อประชาชนในอนาคตได้
คุณเบนซูดาจึงได้กล่าวกับคณะที่เข้าพบว่ากรณีปี 53 อยู่ในเงื่อนไขที่ ICC จะรับพิจารณา แต่รัฐบาลไทยจักต้องให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรม เพื่อรับเขตอำนาจของ ICC ก่อน ICC จึงจะสามารถดำเนินการใดๆ
2. ดิฉันเห็นด้วยว่าการยอมรับเขตอำนาจ ICC ไม่สามารถป้องกันการรัฐประหารได้โดยตรง (ข้อนี้เป็นปัญหาของผู้สัมภาษณ์มากกว่า เพราะคำถาม misleading เกินไป) แต่การยอมรับเขตอำนาจ ICC และผลักดันให้ ICC สามารถเข้ามาสอบสวนกรณีปี 53 ได้ในทันที ย้ำว่าควรทำทันที จะส่งผลให้ผู้ที่คิดจะใช้กำลังปราบปรามประชาชนในอนาคตจะต้องคิดหนักขึ้น อาจส่งผลเป็นการยับยั้งทั้งต่อผู้ตัดสินใจ ผู้ร่วมวางแผน และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ด้วย
หากเราทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ ดิฉันเชื่อว่านี่คือการปลดอาวุธกองทัพที่สำคัญที่สุด ความน่ากลัวของกองทัพคืออาวุธ แต่พวกเขาต้องรับรู้ว่าถ้าจะใช้ โอกาสที่จะลอยนวลพ้นผิดก็ยากมากขึ้นทุกที
ดูจดหมายฉบับเต็มที่ยื่นต่อคุณเบนซูดา ได้ที่ https://prachatai.com/english/node/3281.
ดูเทปสัมภาษณ์ ศ.ธงชัย กรณีเข้าพบอัยการ ICC ได้ที่ https://voicetv.co.th/watch/44685.
ขอแก้ไข รายการสัมภาษณ์ไม่ใช่รายการของพรรคเพื่อไทยค่ะ ขออภัยที่เข้าใจผิด
Phayaw Akkahad

https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/6407920872591951



Pipob Udomittipong
9h
·
ประเด็นที่ว่าศาล ICC จะรับพิจารณากรณีสังหารหมู่ 53 หรือไม่ ขึ้นอยู่กับนิยมของ “Crimes against humanity” หรือ “อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ”ซึ่งตามข้อบทที่ 7 ของธรรมกรุงโรม ต้องมีองค์ประกอบ 3 ข้อ (1) เป็นการโจมตีต่อพลเรือน (2) เป็นการโจมตีที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง และ (3) เป็นการโจมตีที่เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ “a widespread or systematic attack directed against any civilian population” , with knowledge of the attack โดยมีเจตนาเล็งเห็นผล
ไม่มีสักคำที่ระบุตัวเลขขั้นต่ำของคำว่า “widespread” และความจริงเขาใช้คำว่า “หรือ” แสดงว่าจะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางก็ได้ หรือเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบก็ได้ และที่อ.พวงทองบอกคือ
“อัยการของ ICC เคยแสดงความสนใจอย่างชัดแจ้งมาแล้ว ในเดือนพฤศจิกายน 2555 คุณฟาตู เบนซูดา (Fatou Bensouda) ได้เดินทางมาไทยเพื่อเข้าพบนายสุรพงษ์ โตวิจักรชัยกุล รมต.ต่างประเทศ เพื่อชี้แจงขั้นตอนการยอมรับเขตอำนาจของ ICC แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่ทำอะไรเลยแม้จะมีเสียงเรียกร้องจากคนเสื้อแดงก็ตาม”
ถ้าอัยการศาล ICC สนใจ แสดงว่าการสังหารหมู่ที่นี่อาจเข้านิยามของความผิดอาญาในเขตอำนาจศาล อ.ปวินไม่น่าจะมีความรู้ด้านกม.ระหว่างประเทศ มากกว่าคนเป็นอัยการศาล ICC นะครับ