iLaw16 hours ago
·
เรียกร้อง
#กกต ต้องตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัคร
#สว67 และผู้ที่ได้รับเลือกก่อนประกาศผลอย่างเป็นทางการ หากขาดคุณสมบัติต้องตัดสิทธิ
.
ผลการเลือกสว. ระดับประเทศอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ในกลุ่ม 17 “กลุ่มประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ หรืออื่นๆ ในทํานองเดียวกัน” มีผู้หนึ่งที่ผ่านการคัดเลือก คือ ชาญชัย ไชยพิศ จากจังหวัดบุรีรัมย์ ที่เขียนแนะนำตัวในเอกสารสว.3 ว่า เป็นข้าราชการบำนาญ และเป็นอดีตผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งเป็นตำแหน่งงานราชการไม่ใช่งานภาคประชาสังคม
แม้ชาญชัยจะแนะนำตัวด้วยว่า เป็นนายกสมาคมผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นตำแหน่งงานเอกชน แต่ก็ทำอยู่เพียงสามปีระหว่างปี 2564-2566 จึงยังไม่ปรากฏว่ามีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครอย่างน้อยสิบปีหรือไม่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้สมัครสว. ตามมาตรา 13(3)
โดยกฎหมายไทยไม่เคยมีคำนิยามของ "กลุ่มประชาสังคม" อย่างชัดเจน แต่องค์การสหประชาชาติเคยให้นิยามของ Civil Society Organisation (CSOs) ไว้ว่า A civil society organization (CSO) or non-governmental organizaiton (NGO) is any non-profit, voluntary citizens’ group which is organized on a local, national or international level. Task-oriented and driven by people with a common interest, civil society organisations (CSOs) perform a variety of services and humanitarian functions, bring citizens’ concerns to Governments, monitor policies, and encourage political participation at the community level.
https://www.un.org/en/civil-society/page/about-us...แปลสรุปได้ว่า องค์กรภาคประชาสังคม คือ กลุ่ม "พลเมือง" ที่ไม่แสวงหากำไร จัดตั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ องค์กรภาคประชาสังคมทำงานบริการและงานด้านมนุษยธรรมที่หลากลาย เช่น นำความต้องการของประชาชนไปสู่รัฐบาล, จับตานโยบาย, สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชุมชน ฯลฯ ซึ่งตำแหน่งการทำงานในฐานะข้าราชการครูไม่เข้าลักษณะของ CSOs ตามนิยามนี้
หากดูประวัติของชาญชัยตามเอกสารสว.3 ก็ไม่มีคุณสมบัติที่จะสมัครสว.ในกลุ่ม 17 ได้ อย่างไรก็ดี ชาญชัย อาจจะมีกิจกรรมหรือมีงานอื่นที่เข้าร่วมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาครบสิบปี จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญในฐานะภาคประชาสังคม แต่ไม่ได้เขียนอธิบายไว้ก็ได้ ซึ่งกกต. ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่า ผู้ได้รับเลือกคนนี้มีคุณสมบัติครบถ้วน สามารถเป็นสว.ในกลุ่มประชาสังคมได้ และชาญชัยมีหน้าที่ต้องแสดงหลักฐานให้ปรากฏว่าตัวเองมีคุณสมบัติ มีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ทำงานอย่างไร หากแสดงหลักฐานไม่ได้แล้วก็จะต้องถูกตัดสิทธิ
นอกจากชาญชัยแล้ว ในกลุ่ม 17 ภาคประชาสังคมยังมีผู้สมัครอีกหลายคนที่เขียนแนะนำตัวในเอกสารสว.3 ไม่ได้ครบองค์ประกอบตามคุณสมบัติที่จะสมัครสว. ในกลุ่มนี้ได้ หรือเขียนไม่เพียงพอให้ประชาชนเข้าใจได้ ซึ่งเมื่อการเลือกเสร็จสิ้นแล้วหลายคนไม่ได้รับเลือก แต่กกต. ก็ยังมีหน้าที่ตรวจสอบย้อนหลัง หากพบว่าสมัครสว. โดยไม่มีคุณสมบัติก็ต้องดำเนินคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น 20 ปี
https://www.ilaw.or.th/articles/21272ชวนดูข้อมูลของผู้เข้ารอบระดับประเทศในกลุ่ม 17 ภาคประชาสังคม ซึ่งมีหลายคนที่การแนะนำตัวในเอกสารสว.3 ไม่มีคุณสมบัติที่จะสมัครในกลุ่มนี้ได้
https://www.ilaw.or.th/articles/39376.....
iLaw9 hours ago
·
เรียกร้อง
#กกต ต้องตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติของผู้สมัคร
#สว67 และผู้ที่ได้รับเลือกก่อนประกาศผลอย่างเป็นทางการ หากขาดคุณสมบัติต้องตัดสิทธิ
.
ผลการเลือกสว. ระดับประเทศอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 ในกลุ่ม 10 ผู้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม (9) มีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกสองคนจากจังหวัดอำนาจเจริญทั้งคู่ คือ สมพาน พละศักดิ์ มีอาชีพค้าขายก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ และแดง กองมา มีอาชีพขายหมูและร่วมพัฒนาตลาด ตามที่ปรากฏในเอกสารสว.3 ของทั้งสองคน
การแบ่งกลุ่มอาชีพตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งวุฒิสภา (พ.ร.ป.สว.ฯ) แบ่งดังนี้
(๙) กลุ่มผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรืออื่นๆในทํานองเดียวกัน
(๑๐) กลุ่มผ้ประกอบกิจการอื่นนอกจากกิจการตาม (๙)
ในกลุ่มที่ 9 เรียกกันสั้นๆว่า กลุ่ม SMEs เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นกิจการค้าขายหรือให้บริการขนาดไม่ใหญ่มาก ซึ่งมีคำนิยามอยู่ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2562
https://www.oic.go.th/.../GENERAL/DATA0000/00000469.PDF โดยกฎกระทรวงกำหนดว่า วิสาหกิจขนาดย่อม ได้แก่ กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 50 คน หรือมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 100 ล้านบาท กิจการให้บริการ ค้าส่ง ค้าปลีก ที่มีจำนวนการจ้างงานไม่เกิน 30 คน หรือมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 50 ล้านบาท วิสาหกิจขนาดกลาง ได้แก่ กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงาน 50-200 คน หรือมีรายได้ต่อปี 100-500 ล้านบาท กิจการให้บริการ ค้าส่ง ค้าปลีก ที่มีจำนวนการจ้างงาน 30-100 คน หรือมีรายได้ต่อปี 50-300 ล้านบาท สำหรับกิจการที่ไม่มีลูกจ้างเลยมีเจ้าของทำงานของตัวเองก็ยังอยู่ในขอบข่ายจำนวนการจ้างงาน "ไม่เกิน" 50 คน และถือเป็น SMEs
ดังนั้นผู้ที่จะสมัครในกลุ่มที่ 10 ได้ จึงต้องเป็นผู้ประกอบกิจการที่ "ใหญ่" กว่า SMEs อันได้แก่ กิจการผลิตสินค้าที่มีจำนวนการจ้างงานเกิน 200 คน หรือมีรายได้ต่อปีเกิน 500 ล้านบาท กิจการให้บริการ ค้าส่ง ค้าปลีก ที่มีจำนวนการจ้างงานเกิน 100 คน หรือมีรายได้ต่อปีเกิน 300 ล้านบาท
การขายก๋วยเตี๋ยวไก่มะระ และการขายหมูในตลาด โดยปกติแล้วไม่ได้มีการจ้างงานมากขนาดเกิน 200 คน และไม่ได้มีรายได้ต่อปีเกิน 300 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ดี สมพาน พละศักดิ์ และแดง กองมา อาจมีอาชีพหรือกิจการอื่น หรือทำกิจการนี้ในลักษณะพิเศษที่เข้าข่ายกิจการที่ใหญ่กว่า SMEs ก็ได้ จึงมาสมัครเป็นสว. ในกลุ่ม 10 ซึ่งกกต. มีหน้าที่ตรวจสอบและทั้งสองมีหน้าที่ต้องชี้แจงแสดงพยานหลักฐานว่า เป็นผู้ประกอบกิจการที่เข้าข่ายสมัครในกลุ่มที่ 10 ได้
ผู้สังเกตการณ์ยังพบด้วยว่า ในวันเลือกระดับประเทศที่อิมแพคฟอรั่ม ผู้สมัครจากจังหวัดอำนาจเจริญจะใส่เสื้อสีเหลืองเหมือนกันและนั่งด้วยกันตลอดก่อนกระบวนการเลือก ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกทั้งสองคนนี้ก็อยู่ในกลุ่มของคนทึ่นั่งด้วยกันและแต่งตัวเหมือนกันด้วย
พ.ร.ป.สว.ฯ มาตรา 74 ระบุว่า
ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกไม่ว่าเพราะเหตุใด ได้สมัครรับเลือกต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกําหนดยี่สิบปี
ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ซึ่งได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ให้ศาลมีคําสั่งให้ผู้นั้นคืนเงินประจําตําแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่ได้รับมาเนื่องจากการดํารงตําแหน่งดังกล่าวให้แก่สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาด้วย