วันจันทร์, พฤศจิกายน 30, 2563

‘ทวิตเตอร์’ สั่งปิดบัญชี ‘โรงเรียนจิตอาสา’ พบว่าใช้วิธีบิดเบือนความจริง ‘ปั่นข่าวอวย’ และ ‘ปั้นข่าวโจมตี’


ฝนผ่านไปแล้ว ขี้หมูก็ยังไหลไม่หยุด เมื่อทั้งกองทัพบกและสำนักพระราชวังโดนจับโป๊ะ คาหนังคาเขา ทั้งเรื่องตอแหลแถว่าฝึกกำลังพล ไอ้เณรใช้โซเชียลมีเดียคุยกับญาติผู้ใหญ่ทางบ้าน เมื่อโดน รอยเตอร์ เอาหลักฐานคำสั่งมายัน

มาคราวนี้ ทวิตเตอร์สั่งปิดบัญชี โรงเรียนจิตอาสาซึ่งจัดการ (admin.) โดยสำนักพระราชวัง เพราะพบว่า ละเมิดกฏระเบียบการใช้โปรแกรมนี้ เกี่ยวกับ สแปมหรือส่งข้อความโฆษณาชวนเชื่อจำนวนมากๆ ท่วมอินเตอร์เน็ต และบิดเบี้ยวกระดานสนทนา

ฝ่ายวิจัยของรอยเตอร์พบว่ากว่า ๘๐% ของบัญชีที่ติดตาม @jitarsa_school ทางทวิตเตอร์ ๔๘,๐๐๐ ราย เพิ่งตั้งขึ้นมาตอนต้นเดือนกันยายน เช่นเดียวกับบัญชีโรงเรียนจิตอาสา และ ๔,๖๐๐ บัญชีที่เพิ่งสร้างนี้ “ได้แต่ชูแฮ้สแท็กของรอแยลลิสต์

...การทำเช่นนั้น ไม่ใช่กิจกรรมที่ผู้ใช้ทวิตเตอร์ปกติเขาทำกัน” สำนักวิจัย โดรน เอ็มพริท ซึ่งรอยเตอร์จ้างให้ทำการตรวจสอบยังพบว่า การรีทวี้ตจากบัญชีพวกนี้ ๕๕๙ ครั้งมาจากบัญชีที่มีลักษณะเป็น บ็อตหรือหุ่นยนต์บนไซเบอร์

ลักษณะการละเมิดระเบียบของทวิตเตอร์โดยข่ายงาน จิตอาสา ๙๐๔นี้เป็น ปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอเช่นเดียวกับที่กองทัพบกทำมาและกำลังทำอยู่อย่างขมักเขม้น ครั้นพอโดนจับได้ก็แถไปด้านๆ ว่าเป็นการ “training”

รอยเตอร์ได้รับและทำการตรวจสอบเนื้อหาในเอกสาร ๒๘ หน้าของกองทัพบกเกี่ยวกับปฏิบัติการบนทวิตเตอร์ พบว่ามีบัญชีทวิตเตอร์จำนวน ๑๗๘,๕๖๒ รายจัดทำโดยนายทหารทัพบก ๙,๗๔๓ คน ซึ่งแบ่งเป็นสองทีม ทีมขาว กับ ทีมเทาดำ

ทีมเหล่านี้ได้รับคำสั่งให้ทวี้ตข้อความตามแฮ้สแท็กเชิดชูราชวงศ์ กดไล้ค์ และรีทวี้ต ตามอย่างกันและกัน แรกทีเดียวเมื่อรอยเตอร์เปิดเผยเรื่องนี้ ทัพบกรีบปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ครั้นเมื่อไม่สามารถลบล้างความเป็นจริงของเอกสารได้ จึงแถ

เมื่อต้นเดือนตุลาคม บัญชีไอโอของทหารได้ถูกทวิตเตอร์ปิดไปแล้ว ๙๒๖ บัญชี เพราะใช้วิธีบิดเบือนความจริง ปั่นข่าวอวยรัฐบาลและ ปั้นข่าวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ซึ่งกองทัพบกอ้างภายหลังว่าวิธีการเหล่านั้นเป็นการฝึกฝนทักษะกำลังพล

เป็นที่น่าสังเกตุว่า ข่าวอวยเรื่องหนึ่งนั้นเกี่ยวกับพระปรีชาสามารถของพระเจ้าอยู่หัวองค์นี้ เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระบรมโอรสาธิราช ทรงกระโดดลงจาก ฮ.สูง ๑๘ เมตร และทรงบัญชาการรบในสมรภูมิกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างอาจหาญ


สุขุม สมหวัง ยังวันรำลึกเหตุการณ์ครั้งนั้นระหว่างที่ยังเป็น สหายร่วมรบกับกองทัพประชาชนปลดแอก เขต ๑๕ เขาค้อ “ราว ๆ เดือน เม.ย. ๒๕๒๐” เขาเล่า “มีสหายม้งที่เป็นทหารบ้านมาที่สำนักนี้ ๒-๓ คน เขาเล่าว่าเพิ่งไปซุ่มยิงศัตรูที่ค่ายอะไรสักแห่ง” ซึ่งอยู่ละแวกนั้น

สหายม้งบอกว่าพวกเขาออกลาดตระเวนรอบฐานที่มั่นตามปกติ เห็นค่ายทหารแห่งหนึ่งมีเฮลิค้อปเตอร์ขึ้นลงผิดปกติ และมีรถทหารเข้าไปในค่ายหลายคัน “ก็เลยนึกสนุก ตัดไม้ง่ามมาปักเป็นหลักกับพื้นดิน ใช้ปืนเล็กยาวแบบ CKC หรือเซกาเซพาดง่าม

แล้วช่วยกันยิงสุ่ม ๆ ไปคนละไม่กี่นัดจากระยะเกือบกิโล ยิงเสร็จก็มองไม่เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นเพราะอยู่ไกลมาก กำลังจะเดินทางกลับก็เห็นทหารในค่ายยิงปืน ค. ปืนใหญ่ออกมา แต่ยิงไปคนละทิศทางกับที่พวกเขาอยู่

จนรุ่งอีกวัน เราฟังข่าวจากวิทยุ จึงได้รู้ว่าสมเด็จพระบรมฯ (ยศในขณะนั้น) มาเยี่ยมทหารที่ค่ายแถวนั้นพอดี และมี ผกค.จำนวนหลายร้อยคนซุ่มโจมตีค่ายนั้น...(ทรง) สั่งให้ทหารยิงปืน ค.และปืนใหญ่ตอบโต้ และวิทยุสั่งการให้เครื่องบินกันชิพ บินขึ้นยิงกราด”

ข่าวบอกว่าเป็นผลให้ “พวก ผกค.แตกพ่ายกระเจิงไป คาดว่ามี ผกค.บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก” เสียด้วย ถึงจะอวยมากไปหน่อย คลาดเคลื่อนความจริงไปบ้างก็ยังดีกว่าที่ด็อกเต้อนิด้าคนหนึ่งเชิดชูสำนักพระราชวังไม่ลืมหูลืมตา

อ้างมั่วซั่วเรื่องการประหยัดของราชวัง ว่าขนาดองคมนตรียังไม่มีรถประจำตำแหน่งใช้กันเลย ที่ไหนได้ มีคนไปเจอหลักฐาน “ค่าครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง ๗๖ ล้าน ๗ แสนบาท” ประกอบด้วย รถประจำตำแหน่งประธานองคมนตรี ๑ คัน กับขององคมนตรีคนอื่นๆ อีก ๑๘ คัน


ความไม่ตั้งตรงและโปร่งใสเหล่านั้นนั่นแหละทำให้ขบวนการเยาวชนปลดแอกและคณะราษฎร ๖๓ ที่จัดม็อบ สันติและสนุกสนานจนเกือบจะเป็นรายวัน ชนิดตำรวจตามไม่ทัน จึงต้องยกระดับข้อเรียกร้องสนองความจริงขึ้นเรื่อยๆ

แบบที่ อานนท์ นำภา เรียกว่าเป็นการ “เปิดแผลชนชั้นศักดินาไทย” ดังที่ ม็อบราบ ๑๑ เมื่อวานชี้ให้เห็นว่า “กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว” ปิดท้ายด้วยการนัดหมายวันที่ ๒ ธันวา บ่ายสอง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ

ไปดูกันสิว่า ตลก.ที่เป็นองค์กรอิสระจากประชาชน แต่มักจะอิงแอบและเอื้อเฟื้อต่อเครือข่ายรัฐประหารนี้ จะแถอย่างไรกับความผิดของอดีต ผบ.ทบ. ที่อยู่บ้านหลวง ค่าน้ำค่าไฟฟรี มาตลอด ๖-๗ ปีหลังเกษียณอายุราชการ

(https://www.facebook.com/Youngone.Youngman/posts/10217646935073901, https://uk.reuters.com/article/uk-twitter-suspends-thai-royalist-account-idUKKBN289108 และ https://www.facebook.com/Prachatai/posts/10157950148346699) 

ความสำคัญของ #29พฤศจิกาไปราบ11




Atukkit Sawangsuk
9h ·

ทีแรกนึกว่าคนจะไม่เยอะ
เพราะมันไกล มันถี่ ค่ารถไฟฟ้าแพง
บางคนอาจไปไม่ได้ทุกครั้ง
แต่นี่คือทุกครั้งก็มาเพียบ
แม้สลิ่มอาจอ้างว่าม็อบน้อยลง
แต่ม็อบตอนนี้ไม่จำเป็นต้องระดมคนเยอะทุกครั้ง
สำคัญที่ประเด็นต่างหาก
ประเด็นคือพุ่งตรงไปที่ทรัพย์สิน
ที่กองกำลังส่วนตัว
...

Jaran Ditapichai
16h ·

คำขวัญการเมือง วันนี้
#ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว มิใช่เป็นเจ้าของบ้าน
#ทหารคือ ประชาชนใส่เครื่องแบบ จงเป็นทหารประชาชน มิใช่ทหารพระราชา
#ทหารจะต้องปกป้องเยาวชนนักเรียน นักศึกษา เป็นทหารประชาธิปไตย

ริ้วขบวนเมืดพระเกียรติกรมหลวงเกียกกายฯ งดงามมาก #ม็อบ29พฤศจิกา


พยานคดี 6 ศพวัดปทุมฯ ชวนตะโกนและสาดสีหน้ากรมทหารราบที่ 11 เรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้เสียชีวิตปี 53 ฟังแม่น้องเกด



The MATTER
6h ·

POLITICS: พยานคดี 6 ศพวัดปทุมฯ ชวนตะโกนและสาดสีหน้ากรมทหารราบที่ 11 เรียกร้องความเป็นธรรมให้ผู้เสียชีวิตปี 53
.
แหวน-ณัฎฐธิดา มีวังปลา พยาบาลอาสา และพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์ยิงผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงและพยาบาลอาสาที่วัดปทุมวนาราม เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2553 ชวนผู้ร่วมชุมนุมกับกลุ่มราษฎร ที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 ตะโกนว่า "ทหารฆ่าประชาชน ทหารฆ่าหน่วยพยาบาล" พร้อมทำกิจกรรมสาดสี เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ให้กับผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ปี พ.ศ.2553
.
โดยเหตุสลายการชุมนุมระหว่าเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ.2553 ซึ่ง ศอฉ.สั่งการ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 92 คน เป็นประชาชน 82 คน และเจ้าหน้าที่รัฐ 10 คน
.
ทั้งนี้ ศาลได้ไต่สวนชันสูตรพลิกศพและชี้ว่า มีอย่างน้อย 18 ศพที่เสียชีวิตจากกระสุนที่มาจากฝั่งทหาร โดยเฉพาะเหตุการณ์ 6 ศพที่วัดปทุมฯ แต่ผ่านมาสิบปีเศษ ก็ยังไม่มีทหารรายใดถูกนำตัวขึ้นศาลเลยแม้แต่คนเดียว
.
- ดูคลิปสัมภาษณ์ แม่ของกมนเกด อัคฮาด พยาบาลอาสา ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์วัดปทุมฯ เพิ่มเติมที่: https://www.youtube.com/watch?v=yJBESy8BxRI



#10ปีความรุนแรง2553 #6ศพวัดปทุมวนาราม #TheMATTER

แม่ผู้ตามหาความยุติธรรมให้ลูกสาวตัวเองนับ 10 ปี | The MATTER

May 18, 2020

จากแม่ค้าขายดอกไม้กลายมาเป็นนักเคลื่อนไหว จากไม่เคยสนใจการเมือง ต้องเดินทางไปดีเอสไอ อัยการ ศาล กองทัพบก จนกลายเป็นขาประจำ เมื่อผู้ถูกกระทำคือลูกแท้ๆ ในไส้ ที่เสียชีวิตเพราะตั้งใจเข้าไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในฐานะอาสาพยาบาลที่มีตรากาชาดอยู่บนเสื้อ แถมที่เกิดเหตุยังเป็นภายในวัด - ซึ่งถูกประกาศให้เป็น 'เขตอภัยทาน'
. ด้วยพลังของแม่ 'พะเยาว์ อัคฮาด' จึงเดินสายเรียกร้องให้ทหารที่ลั่นไกสังหารลูกสาว 'กมนเกด อัคฮาด' ที่วัดปทุมวนาราม 19 พ.ค.2553 เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม สิบปีที่ผ่านมา ถึงจะเหน็ดเหนื่อยแต่ไม่เคยท้อถอย
. แม้วันนี้ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่เธอก็มีความมั่นใจว่า ผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษ ก่อนคดีหมดอายุความในปี 2573


"ดิฉันเคยถูกทำอนาจารในค่ายทหารและถูกข่มขู่ว่าจะกำจัดทุกวิถีทางถ้าไม่ร่วมเดินในเส้นที่เขาขีด..(แต่)ขอเลือกเดินข้างประชาชนค่ะ" แหวน ณัฏฐธิดา มีวังปลา




Natthatida Meewangpla 
November 27 at 9:16 PM ·

ฉันเคยถูกทำอนาจารในค่ายทหารและถูกข่มขู่ว่าจะกำจัดทุกวิถีทางถ้าไม่ร่วมเดินในเส้นที่เขาขีด..แหวนขอเลือกเดินข้างประชาชนค่ะ
วานนี้หมายศาลยึดทรัพย์คอนโดลูกชายโดยชื่อแม่ (ณัฏฐธิดา มีวังปลา ) เป็นผู้ครอบครองมาแล้วค่ะ แหวนไม่เคยปิดบังที่อยู่นะ เพื่อความสะดวกและบริสุทธิ์ใจในการต่อสู้คดีอาญาที่มีอยู่ เพื่อแสดงให้ศาลได้เห็นว่าแหวนมีที่อยู่ชัดเจนตามตัวได้และไม่ได้อาศัยบ้านผู้ใด อันจะทำให้เจ้าของบ้านนั้นเดือดร้อน แหวนอาศัยอยู่ในคอนโดขนาด21 ตรม. เป็นคอนโดเก่ามือสอง ราคาไม่แพงมากเกินไป แต่วันนี้จะโดนยึดเพราะเป็นชื่อแหวน โดยความช่วยเหลือที่มาจากเงินเก็บของลูกชาย นั่นคือเงินของลูกชาย ที่เสียสละเพื่อแม่จะได้มีที่อยู่อาศัย โดยแหวนไม่เคยปริปากบอกใคร วันนี้เกินจะแบกแค่ขอระบาย จะบีบคั้นกันให้ถึงที่สุดใช่ไหม
ตอนออกมาจากคุกแรกๆอาศัยชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้านเพื่อนมาโดยตลอด ตั้งแต่ถูกจับจนออกมา พอต้นปี 62 มีการเลือกตั้ง ชื่อแหวนถูกคัดออกไปอยู่ทะเบียนกลาง ไร้สิทธิในการใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อนบอกไม่รู้จริงๆ มารู้ตอนแหวนไปหาเขาที่บ้านไปบอกให้ฟัง นี่เพื่อนแหวนแค่ให้ชื่ออาศัยในทะเบียนบ้าน ไม่ได้ให้อยู่ในบ้านเขานะ..
#หยุดคุกคามประชาชน
คดีความที่ถูกยึดทรัพย์มาจากนี้ มาจากหนี้บัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี 55-ปี 58 แหวนไม่ได้ผ่อนชำระ แหวนพยายามจะใช้หนี้บัตรเครดิตนี้มาโดยตลอด ไม่เคยหลบหนี แต่เมื่อทหารจับแหวนไปขังคุกแหวนไม่มีรายได้ใดๆ และไม่สามารถจะออกมาหาเงินชำระหนี้ก้อนนี้ได้ หากแต่การกระทำอันประกาศยึดทรัพย์นี้ มีมาหลังการถูกจองจำในคุกนาน 3 ปี 6 เดือน ทำใมไม่ส่งหมายศาลนี้เข้าไปในคุกจะได้สู้คดีทีเดียว แต่กระทำเหมือนตอนอายัดตัวด้วย ม.112 เลยค่ะ
ตอนถูกปิดตาสอบเค้นเอาข้อมูลในค่ายทหาร แหวนถูกข่มขู่สารพัดไร้ซึ่งความเป็นคน ถูกกระทำอนาจาร เป็นแค่ของเล่น ระบายเสียงหัวเราะเย้ยหยัน นั่นนมมึงของปลอมหรือของจริง มีที่ไหนเสริมมาอีกไหม ขอพวกกูเปิดดูหน่อย คำคำนี้ก้องอยู่ในหูตลอดเวลา เสียงวิงวอนแหวนร้องขอความเมตตาจากแหวนพวกคุณไม่เคยได้ยิน เป็นแค่ความสะใจ จนวันนี้..
จากวินาทีนี้แหวนจะขึ้นประกาศศักดาดาความดีงามที่คุณมีต่อผู้หญิงคนหนึ่ง แหวนจะขึ้นทุกๆเวทีที่มีโอกาส และจะประกาศให้โลกรู้ ทหารกระทำอนจารแหวนในค่าย ทหารฆ่าประชาชน ทหารฆ่าพยาบาลอาสา..
#หัวหน้าในค่ายทหารวันนั้นคุณได้ขีดเส้นให้แหวนเดินแล้วค่ะ

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=514600592830346&id=100028412290554

Thai protesters march to barracks against king's military power

#Thailand #Protests #GlobalNews
Thai protesters march to army barracks against king's military power

Nov 29, 2020

Global News

Thousands of anti-government protesters marched to an army barracks in Bangkok on Sunday to challenge the Thai king's personal control over some army units.

It was the latest act of defiance against King Maha Vajiralongkorn by protesters who have broken taboos by criticizing the monarchy.

Protesters, many carrying the large inflatable ducks which have become a protest mascot, stopped at the gates of the 11th Infantry Regiment, part of the King's Guard that played a role in the suppression of anti-establishment protests in 2010.

Lines of riot police blocked protesters at the gate.

"Control of the king's Guard should be brought under the government's rule, the government that the people elected," said Parit Chiwarak, a student protest leader who has been a frequent critic of the monarchy.

Protesters accuse the monarchy of enabling decades of military domination. There have been 13 successful coups since 1932, when absolute rule by the monarch came to an end.

Protests began in July and initially demanded the departure of Prime Minister Prayut Chan-o-cha, a former junta leader, and a new constitution.

Demonstrators have expanded their demands since then to include curbs on the powers of the king.
...


Reuters

BANGKOK (Reuters) - Thousands of anti-government Thai protesters marched to an army barracks on Sunday to challenge King Maha Vajiralongkorn’s personal control over some army units.

It was the latest act of defiance against the king by protesters who have broken taboos by criticising the monarchy. The Thai constitution says the monarchy must be revered and laws ban insulting the institution.

Protesters, many carrying inflatable ducks which have become a protest mascot, stopped at the gates of the 11th Infantry Regiment, part of the King’s Guard that played a role in the suppression of anti-establishment protests in 2010.

Lines of riot police blocked protesters at the gate.

“No democratic country sees a king control an army. In any democratic country with a king as head of state, armed forces report to the government,” said Arnon Nampa, a rights lawyer and protest leader who has been a frequent critic of the monarchy.

“We’ve been seeing the monarchy expanding its powers. That’s why we’re here today.”

The Royal Palace has made no comment since protests began, but the king hmself said recently that protesters are loved “all the same” despite their actions.



Protesters accuse the monarchy of enabling decades of military domination. There have been 13 successful coups since 1932, when absolute rule by the monarch came to an end.

Protests began in July and initially demanded the departure of Prime Minister Prayuth Chan-ocha, a former junta leader, and a new constitution. Demonstrators have expanded their demands since then to include curbs on the powers of the king.

Arnon is among several protest leaders facing charges under lese majeste laws against insulting the monarchy after speeches he made at previous rallies.

The Foreign Ministry said in a statement that Thailand adhered to the rule of law and the right to freedom of speech must stay within those boundaries.

“In every case where the law is violated, officials take action with strict adherence to the appropriate legal processes without discrimination,” the ministry said.

The prime minister has dismissed demands that he quit and rejected accusations that he engineered last year’s election to retain power after taking office in 2014.

Video shared on social media showed soldiers taking down a giant picture of the king and queen at the entrance to the barracks before the protest.

Writing by Matthew Tostevin; Editing by Robert Birsel

ป้ายนี้ถูกจัยพ่อ ?!?

https://twitter.com/TikTok80706673/status/1332660870476808195

#ราษฎรขอนแก่น #ม็อบ29พฤศจิกา ไอ่เผด็จการ ไอ่ฆาตกร ดูคลิปวินาทีนำศพจำลองนักต่อสู้อีสาน ขึ้นบนอนุสาวรีย์จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์




ทำไมม็อบถึงไป 'ราบ1' และ 'ราบ11'... เพราะทั้ง 2 หน่วยงานนี้เป็น 'ส่วนราชการในพระองค์' ส่วนหนึ่งใน 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม


'ราบ 11' ส่วนราชการในพระองค์ ตามพระราชอัธยาศัย และ 'ที่ดินสาธารณสมบัติฯ' สู่ 'เขตพระราชฐาน' ?



2020-11-29
ประชาไท

ทำไมม็อบถึงไป 'ราบ1' และ 'ราบ11' กับการแปลงสภาพเป็น 'ส่วนราชการในพระองค์' การแต่งตั้งและการให้พ้นจากตําแหน่ง การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลให้เป็นไปตาม 'พระราชอัธยาศัย' และจาก 'ที่ดินสาธารณสมบัติฯ' และ 'ที่ราชพัสดุ' สู่ 'เขตพระราชฐาน' ?

จากกรณีวันนี้ (29 พ.ย.63) ผู้ชุมนุมเดิมกำหนดนัดหมายชุมนุมที่ ราบ 1 ก่อนย้ายมาเป็น ราบ 11 นั้น ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานนี้เป็นส่วนหนึ่งใน 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม ที่เรียกร้องให้ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น

2019: สำรวจภูมิทัศน์การเมืองไทยช่วง ‘รอยต่อ’

ส่วนราชการในพระองค์

ในรายงานสำรวจภูมิทัศน์การเมืองไทยช่วง ‘รอยต่อ’ ที่ทีมข่าวการเมืองประชาไทรายงานไปเมื่อต้นปีระบุ ไว้ถึงประเด็นนี้ โดยอ้างถึง วาด รวี’ นักเขียนผู้สนใจการเมืองเคยศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ คือ ฉบับบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ที่สนช.โหวตไม่ผ่าน, ฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ ที่ผ่านประชามติ, ฉบับปัจจุบันซึ่งมีพระราชวินิจฉัยแก้บางส่วนหลังผ่านประชามติ เขานำเสนอว่าบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ ‘ส่วนราชการในพระองค์’ ไม่มีระบุไว้ในฉบับบวรศักดิ์ แต่มีระบุไว้ในมาตรา 15 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยซึ่งนำไปให้ประชาชนโหวต โดยที่ในระหว่างการทำประชามติไม่มีใครทราบนัยของมาตรานี้ และไม่มีการอภิปรายประเด็นนี้แต่อย่างใด

"มาตรา ๑๕ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตําแหน่ง ให้เป็นไปตาม พระราชอัธยาศัย
การจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกา

เดือนเมษายน 2560 หรือราว 6 เดือนหลังรัชกาลที่ 10 ทรงขึ้นครองราชย์ ได้มีการออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 โอนหน่วยงานราชการ 5 แห่งมาเป็นส่วนราชการในพระองค์ โดยการจัดระเบียบส่วนงานต่างๆ กำหนดไว้ให้เป็นไป “ตามพระราชอัธยาศัย” ได้แก่

1.สำนักราชเลขาธิการ-เดิมเป็นส่วนราชการอิสระ มีฐานะเทียบเท่ากรม ราชเลขาธิการอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
2.สำนักพระราชวัง-เดิมเป็นหน่วยราชการในพระองค์ มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง โดยขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
3.กรมราชองครักษ์-เดิมสังกัดกระทรวงกลาโหม
4.หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์-เดิมสังกัดกระทรวงกลาโหม
5.สำนักงานนายตำรวจราชสำนัก-เดิมสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

สำหรับเหตุผลในการสร้างหน่วยงานลักษณะนี้ขึ้นมา เราอาจทำความเข้าใจได้ผ่านหมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติที่ระบุว่า

โดยที่กรมราชองครักษ์และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ กระทรวงกลาโหม เป็นส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับราชการในพระองค์และพระราชกรณียกิจขององค์พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งต้องถวายงานตามโบราณราชประเพณีและพระราชอัธยาศัย การปฏิบัติราชการจึงแตกต่างจากส่วนราชการของฝ่ายบริหารทั่วไป กรณีจึงสมควรกำหนดฐานะของส่วนราชการดังกล่าวขึ้นใหม่ ให้เป็นส่วนราชการในพระองค์โดยปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ มีการจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลเป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย เพื่อให้การบริหารราชการในพระองค์เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของราชการในพระองค์ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ตามพ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดให้ส่วนราชการในพระองค์ “ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายอื่นใด” ซึ่งนั่นส่งผลให้หน่วยงานเหล่านี้ไม่อยู่ในอำนาจตรวจสอบขององค์กรตรวจสอบต่างๆ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามปรกติ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช., ผู้ตรวจการแผ่นดิน, สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือหากมีผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของหน่วยงานต้องการฟ้องร้องก็จะไม่สามารถกระทำผ่านศาลปกครองได้เหมือนกรณีกระทรวงทบวงกรมทั่วไป

อย่างไรก็ดี ในพระราชกฤษฎีกาได้กำหนดรายละเอียดว่า ส่วนราชการในพระองค์ได้แบ่งส่วนงานเป็น 3 ส่วนหลักและมีสถานะเป็น “นิติบุคคล” คือ (1) สํานักงานองคมนตรี (2) สํานักพระราชวัง (3) หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

ในร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2563 ส่วนราชการในพระองค์ตั้งงบประมาณไว้ที่ 7,685.3 ล้านบาท จากเดิมที่เคยได้ 6,800 ล้านบาทในปี 2562 เพิ่มขึ้น 885.3 ล้านบาทหรือ 13%


"มาตรา ๑๔ การโอนข้าราชการในพระองค์ไปเป็นข้าราชการฝ่ายอื่นที่ไมใช่ข้าราชการในพระองค์หรือการโอนข้าราชการฝ่ายอื่นเช่นว่านั้นมาเป็นข้าราชการในพระองค์ ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมายเพื่อให้มีการโอนตามพระราชอัธยาศัยต่อไป

มาตรานี้ในพระราชกฤษฎีกามีนัยสำคัญว่าพระมหากษัตริย์สามารถโอนย้ายกำลังพลระหว่างส่วนราชการในพระองค์และส่วนราชการอื่นได้ตามพระราชอัธยาศัย รูปธรรมสะท้อนผ่านการโอนย้ายกำลังพลที่เกิดขึ้นในกรณีที่รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพล และงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้โอนกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งพรรคอนาคตใหม่ไม่เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่คณะรัฐมนตรีจะออกเป็นพระราชกำหนด แต่สุดท้าย พ.ร.ก.นี้ก็ผ่านสภาเป็นที่เรียบร้อยเมื่อเดือนตุลาคม 2562

หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ แบ่งโครงสร้างหน่วยงานเป็น 1.สำนักงานผู้บังคับบัญชา 2.สำนักงานนายทหารปฏิบัติการพิเศษในพระองค์ 3.สำนักงานฝ่ายเสนาธิการในพระองค์ 4.กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 5.กองบัญชาการตำรวจราชองครักษ์ในพระองค์

จะเห็นได้ว่าไม่เพียงทหารเท่านั้นที่ต้องโอนย้ายไปสังกัดหน่วยราชการในพระองค์ ตำรวจก็เช่นกัน

ในวงการตำรวจ ปี 2562 ถือว่าเป็นปีที่ระส่ำระสายหนัก วันที่ 16 สิงหาคม 2562 คอลัมน์อาณาจักรโล่เงินใน นสพ.แนวหน้า ‘เกลือสมุทร’ คอลัมนิสต์ที่มักเขียนถึงเรื่องราวในวงการตำรวจได้เผยแพร่บทความที่มีอายุสั้นมากเพราะถูกถอดออกหลังเผยแพร่ได้ไม่กี่วัน บทความดังกล่าววิจารณ์ผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อย่างรุนแรงกรณีที่ปล่อยให้นายตำรวจผู้ใหญ่บางคนสร้างความก้าวหน้าให้ตนเองด้วยการ “มัดมือชก” ตำรวจจำนวนมากให้ไปเป็น “ตำรวจราบ” ซึ่ง ไม่สังกัด สตช. อีกต่อไป แม้ไม่ได้กล่าวถึงโดยตรง แต่หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์เป็นองค์กรเดียวที่มีตำรวจอยู่ใต้สังกัดและขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์

แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ระบุว่า มีหนังสือคำสั่งให้คัดเลือกนายตำรวจชั้นสัญบัตรและชั้นประทวน “ชั้นดีเลิศ” เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมและโอนย้ายไปสังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ โดยมียอดรวม 873 นายตั้งแต่ระดับ พ.ต.อ. จนถึง ส.ต.ต. คนกลุ่มนี้ต้องได้รับการฝึกปรับพื้นฐานเป็นเวลา 6 เดือน (1 ต.ค.2562-31 มี.ค.2563) เกณฑ์การคัดเลือกดูจากมีบุคลิกภาพเหมาะสม (ขาไม่โก่ง ไม่ผอมกะหร่อง ไหล่ไม่เอียง ไม่สวมแว่นตา น้ำหนักเหมาะสม สูง 170-180 ซม.) มีความจงรักภักดี มีทัศนคติที่ดี มีร่างกายแข็งแรง มีความพร้อมทุกด้านและลงนามในบันทึกสมัครใจปฏิบัติหน้าที่

อย่างไรก็ดี ภายใต้สถานการณ์นี้เกิดความขัดแย้งไม่น้อยเนื่องจากไม่มีความชัดเจนในโครงสร้างใหม่ การคัดเลือกมีการกำหนดกลุ่มเพียงคร่าวๆ ว่า เป็นข้าราชบริพารสังกัดใดก็ได้ กับ ข้าราชบริพารสังกัดตำรวจ ทำให้ตำรวจที่ถูกคัดเลือกจำนวนหนึ่งชิงลาออกจากราชการและอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่สมัครใจโอนย้ายก็ไม่ยอมมารายงานตัว กลุ่มหลังนี้ถูก “ธำรงวินัย” ด้วยฝึกยาว 9 เดือน โดยช่วงเวลาหนึ่งต้องไปฝึกในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ด้วย เบื้องต้นทราบว่ากลุ่มนี้มีกว่าร้อยนาย

26 ก.ย.2562 นิตยสาร COP’S ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับตำรวจ เผยแพร่บทความระบุว่า ตำรวจชั้นประทวนจำนวนมากรู้สึกอึดอัด “พวกผมผิดอะไร หากพวกผมไม่ไปฝึก ทำไมต้องให้พวกผมลาออก” “ผมเหมือนโดนหลอก เหมือนพ่อแท้ๆ ของตัวเอง หลอกขายลูกตัวเองให้หน่วยงานอื่น”

30 ก.ย.2562 หรือก่อนเริ่มต้นการฝึกปรับพื้นฐานตำรวจราบ 1 วัน พล.ต.ท.มนู เมฆหมอก ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 552/2562 เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการตำรวจลาออกจากราชการ ตามโครงการปรับเปลี่ยนกำลังพล รุ่นที่ 20 (งบประมาณ พ.ศ.2563) รวมทั้งสิ้น 933 นาย ตั้งแต่ระดับดาบตำรวจ ไปจนถึงพันตำรวจเอก และมีระดับพลตำรวจตรี 2 นาย นี่น่าจะเป็นการลาออกครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของวงการตำรวจหรือไม่และจะส่งกระทบอย่างไรต่อประชาชน ยังคงเป็นคำถาม

จาก 'ที่ดินสาธารณสมบัติฯ' และ 'ที่ราชพัสดุ' สู่ 'เขตพระราชฐาน' ?





เฟซบุ๊ก 'Wassana Nanuam' ของวาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวสายทหารหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โพสต์ว่า หลังจากที่ ร.11 รอ. ย้ายโอนจาก ทบ. มาเป็นหน่วยในพระองค์ และ เรียกว่า “ทม.ร.11 มหด.รอ.” กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และเป็น เขตพระราชฐานในพระองค์ (บางเขน) แล้ว

ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ 'พูติกาล ศายษีมา' โพสต์ว่า

วาสนายืนยันว่าทั้ง ร.1 และ ร.11 เป็นเขตพระราชฐานทั้งคู่ ? ทำให้เกิดคำถามคำโตว่าจากเดิมที่ดินของทั้งสองหน่วยงานมีสถานะเป็น "ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน" และ "ที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะของ" ได้กลายมาเป็น "เขตพระราชฐาน" ตั้งแต่เมื่อไหร่?

แล้วการเปลี่ยนสถานะจากที่ดินสาธารณฯสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน/ที่ราชพัสดุ มาเป็น "เขตพระราชฐาน" คือการเอาที่ดินรัฐสมบัติแผ่นดินเป็นเกือบ 2 พันไร่กลางใจเมืองให้กลายมาเป็นสมบัติส่วนตัวหรือไม่?

ราบ 11

ที่ดินของราบ 11 บริเวณบางเขนเดิมนั้นมีสถานะ 2 แบบ คือ 1. เป็น" ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน" และ 2. เป็น"ที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ" ซึ่งเมื่อเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สามารถจะโอนย้ายถ่ายเทได้ยกเว้นออกเป็น พรบ.



แต่ในวันที่ 13 กค.2562 มีการออก พ.ร.ฎ. เพื่อถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะของที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นที่ดินของ ราบ 11 ไปเป็นเนื้อที่ 1,340 ไร่... ทำให้ที่ราชพัสดุในบริเวณนั้นไม่มีสถานะเป็นสาธารณสมบัติฯอีกต่อไป การสามารถโอนเปลี่ยนสภาพเปลี่ยนเจ้าของก็ทำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องออก พ.ร.บ. ใช้เพียง มติ ครม.


แต่ในวันที่ 13 กค.2562 มีการออก พ.ร.ฎ. เพื่อถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะของที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นที่ดินของ ราบ 11 ไปเป็นเนื้อที่ 1,340 ไร่... ทำให้ที่ราชพัสดุในบริเวณนั้นไม่มีสถานะเป็นสาธารณสมบัติฯอีกต่อไป การสามารถโอนเปลี่ยนสภาพเปลี่ยนเจ้าของก็ทำได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องออก พ.ร.บ. ใช้เพียง มติ ครม.



ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 63 ก็มีการออก พ.ร.ฎ.ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอีกประมาณ 34 ไร่ ทำให้ที่ดินบริเวณ ราบ 11 ทั้งหมดไม่มีสถานะเป็นที่ดินสาธารณสมบัติอีกต่อไป การโอนเปลี่ยนสภาพสามารถทำได้ง่ายขึ้นไม่ต้องออกเป็น พ.ร.บ.

โปรดเกล้า พ.ร.ฎ. ถอนสภาพที่ดินสาธารณสมบัติ เสริมสร้างหน่วยให้ทหารมหาดเล็กราชวัลลภฯ

ราบ 1

ที่ดิน ราบ 1 (มี 2 ส่วนคือ สามเสน และ วิภาวดี) เดิมก็มีสถานะเป็น "ที่ราชพัสดุอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ" เช่นกัน


แต่เมื่อวันที่ 5 ก.ค 62 ได้มีการออก พ.ร.ฎ.เพื่อถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะของที่ราชพัสดุ บริเวณพื้นที่ ราบ 1 ทั้ง 2 ส่วนรวมกันประมาณเกือบ 500 ไร่ อย่างเงียบๆ ขนาดที่ไม่ค่อยมีสื่อรายงาน เพราะยังไม่เข้าใจในนัยยะที่แท้จริง ส่วนใหญ่คาดว่าเป็นไปตามนโยบายย้ายทหารออกนอกเมือง

เมื่อที่ราชพัสดุบริเวณนั้นไม่มีสถานะเป็นสาธารณสมบัติอีกต่อไป ก็สามารถโอนเปลี่ยนสภาพเปลี่ยนเจ้าของได้ง่าย ไม่ต้องออก พ.ร.บ. ใช้เพียง มติ ครม.

อีกราว 2 เดือนกว่า (30 ก.ย. 62) ถึงมีการออก พ.ร.ก. โอนกำลังผล ร.1 และ ร.11 ไปให้เป็นส่วนราชการในพระองค์) เมื่อถึงตอนนี้สื่อถึงพึ่งเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการถอนสภาพการเป็นสาธารณฯที่ทำไปทันที https://www.bbc.com/thai/thailand-49880897

กฎการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุฯเปลี่ยนให้ง่ายขึ้นสำหรับ "กิจการของพระมหากษัตริย์"

เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 62 มีการประกาศกฎกระทรวงเรื่อง "การโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2562" ซึ่งเป็นฉบับใหม่ โดยมีเนื้อหาที่เปลี่ยนไปที่สำคัญใน ข้อ 2 วรรค 2 ยกเว้นให้การโอนกรรมสิทธิ์ให้ "กิจการของพระมหากษัตริย์" ไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงนี้ เพียงแค่ให้ปลัดเสนอ รมต และ ให้ ครม อนุมัติก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันที ต่างจากฉบับเดิมที่ออกในปี 2550 ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นเรื่องนี้

อย่างไรก็ตามจนถึงวันนี้รัฐบาลไม่เคยมีการเปิดเผยข้อมูลว่าได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเกือบ 2 พันไร่กลางกรุงเทพฯไปให้ "กิจการของพระมหากษัตริย์" แล้วหรือไม่อย่างไร? มีเพียงการเอ่ยถึงอย่างไม่เป็นทางการเป็นครั้งคราวว่าบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็น "เขตพระราชฐาน"

สถาบันกษัตริย์ไม่ต้องมี “กองกำลังส่วนตัว” ชุมนุม 29 พ.ย. “ราษฎร” เรียกร้องยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯส่วนตัวสถาบันกษัตริย์

WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI

"ทหารจะเป็นทหารได้นั้นต้องสังกัดกับรัฐบาลที่เป็นของประชาชน" – พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม"

29 พฤศจิกายน 2020
บีบีซีไทย

ผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" อ่านประกาศราษฎรหน้ากรมทหารราบที่ 11 ชี้ "สถาบันกษัตริย์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว"

เวลาราว 20.35 น.แกนนำกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยและให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เรียกตัวเองว่า "ราษฎร" อ่านประกาศหน้ากรมทหารราบที่ 11 ให้ยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯ ของกรมทหารราบที่ 1 และ 11 ซึ่งถูกโอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์เมื่อปี 2562 คืนสู่ต้นสังกัดเดิมของกองทัพ เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ ไม่มีส่วนก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของรัฐบาล

นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ผู้อ่านประกาศฉบับนี้บอกว่า นี่เป็นประกาศที่แสดงถึง "ความผิดปกติของ ระบอบศักดินาไทย" หลังอ่านประกาศทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แกนนำและการ์ดบริเวณรอบรถปราศรัยได้ร่วมกันปากระดาษของประกาศขนาดเอสี่ ซึ่งถูบพับเป็นจรวด เข้าไปยังประตูรั้วของกรมทหารราบที่ 11

"ยกเลิกหน่วยราชการในพระองค์ซึ่งไม่มีความจำเป็น เป็นหนึ่งใน 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันของเรา" พริษฐ์ กล่าวถึงประกาศฉบับที่เพิ่งอ่านจบ

ก่อนหน้านี้ ขบวนผู้ชุมนุมกลุ่ม "ราษฎร" เคลื่อนขบวนถึงหน้ากรมทหารราบที่ 11 พร้อมด้วย "เป็ดเหลือง" และ "ไก่โอ๊ก" ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ในการเดินขบวนครั้งนี้ เดินเท้าจากบริเวณหน้าวัดพระศรีมหาธาตุ และถึงหน้าราบ 11 เมื่อเวลา 18.27 น. ประจันกับแนวลวดหนามและตำรวจควบคุมฝูงชน ที่ตรึงกำลังอยู่บริเวณหน้าประตูราบ 11 ท่ามกลางความมืดที่มีเพียงไฟจากใต้รางรถไฟฟ้าส่องสว่างไม่กี่จุด โดยด้านหลังแนวประตูมีรถฉีดน้ำแรงดันสูงประจำการอยู่ 2 คัน



ในประกาศฉบับนี้ กลุ่ม "ราษฎร" ระบุว่า ตามหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย การบังคับบัญชาหน่วยทหารเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช่ของสถาบันกษัตริย์ โดยการให้มีกองกำลังส่วนพระองค์นับเป็นการ "ก้าวก่าย" การทำงานของรัฐบาล และ "แทรกแซง" อำนาจสูงสุดที่เป็นของประชาชน

ประกาศยังระบุอีกว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ไม่มีสถาบันกษัตริย์ประชาธิปไตยใดจะมีกองกำลังส่วนตัว มีเพียงสถาบันกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้นที่จะทำการเช่นนี้ การโอนถ่ายกำลังทหารไปขึ้นตรงกับสถาบันกษัตริย์นั้นนอกจากจะบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรงแล้ว ยังไม่เป็นผลดีต่อความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์เอง"

ประกาศดังกล่าวปิดท้ายด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลฯ "เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ไทยไม่มีส่วนก้าวก่ายแทรกแซงการทำงานของรัฐบาลราษฎร และสามารถดำรงตนอย่างสง่างามภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย"

จากข้อมูลโดยโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ย้อนไปก่อนที่จะมีการลงมติรับ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ นั้น พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นผู้เสนอ พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว บอกว่า การปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการถวายอารักขาและถวายพระเกียรติและการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวจำเป็นต้องมีความพร้อมในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดอัตรากำลังพลที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียบร้อย รวดเร็ว และเกิดความปลอดภัยสูงสุด



อานนท์ นำภา ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน และแกนนำกลุ่ม "ราษฎร" เปิดปราศรัยช่วงหนึ่งว่า ขณะนี้ ประเทศไทย "กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของระบอบกษัตริย์ ซึ่งกำลังขยายพระราชอำนาจ ออกไปเรื่อย ๆ" อันเป็นเหตุให้ ประชาชนต้องมารวมตัวชุมนุมในที่นี้

ที่ด้านหน้ากรมทหารราบที่ 11 เขาชี้ว่าการโอนกำลังพล 2 หน่วย ไปเป็นส่วนราชการในพระองค์ "เป็นอีกแผลของระบอบประชาธิปไตย" และระบุว่าในประเทศประชาธิปไตย "กองกำลังติดอาวุธต้องขึ้นตรงต่อรัฐบาลเท่านั้น"

อานนท์ ยังขอให้ผู้ชุมนุมติดตามในเร็ว ๆ นี้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวไปชุมนุมในสถานที่แห่งหนึ่งในสัปดาห์ที่จะถึงเพื่อ "เปิดแผล" การปฏิรูปสถาบันฯ ในประเด็นที่เป็น 1 ใน ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ 10 ข้อ ของ "แนวร่วมธรรมศาสตร์ และการชุมนุม"

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ก. โอนกำลังพล-งบประมาณบางส่วนของกรมทหารราบที่ 1-ราบ 11 ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
สภามีมติ 374 เสียง อนุมัติ พ.ร.ก. เป็น พ.ร.บ. โอนกรมทหารราบ 1-ราบ 11 ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
10 ปีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง : สำรวจชีวิต "ตัวละครเอก" ของ ศอฉ. และ นปช.

ราบ 11 - ศอฉ. - ความเจ็บปวดของคนเสื้อแดง


ผู้ชุมนุมได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เทสีแดง ลงที่พื้นและลวดหนามหน้าแนวกั้นของตำรวจ

หนึ่งในเหตุที่ผู้ชุมนุม "ราษฎร" ใช้กรมทหารราบที่ 11 เป็นเป้าหมายในวันนี้ เพราะ "หน่วยดังกล่าวนี้คือหน่วยหลักที่ก่อการปราบปรามประชาชนในปี 2553 และยังเป็นกำลังหลักในการรัฐประหาร" ในอดีต

การปราศรัยของผู้ขึ้นเวทีหลายคน เกาะเกี่ยวประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553 ซึ่งถูกสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ภายใต้ปฏิบัติการชื่อ "กระชับพื้นที่" ในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

น.ส.ณัฏฐธิดา มีวังปลา พยาบาลอาสา พยานในเหตุการณ์ 6 ศพวัดปทุมในการสลายชุมนุมปี 2553 ปราศรัยช่วงหนึ่งว่า มาที่กรมทหารราบ 11 เพื่อทวงถามความเป็นธรรมให้ 6 ศพ ที่วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร และคนเสื้อแดงที่เสียชีวิต 99 ศพ

เธอบรรยายเหตุการณ์ภายในวัดปทุมฯ ซึ่งเป็นเขตอภัยทาน ถึงนาทีที่หลายคนต้องสิ้นชีวิต บางคนพยายามตะเกียกตะกายเพื่อขอความช่วยเหลือในเต็นท์พยาบาล มีการพยายามกู้ชีพบางคนนานกว่า 2 ชม. แต่ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้

"เราเพียงร้องขอให้รถหน่วยแพทย์ฝ่าดงกระสุนปืนเอาคนเจ็บออกไปได้ไหม แต่สิ่งที่ทหารทำคือการสาดกระสุนลงมาตอนสองทุ่ม" พยาบาลอาสากล่าว และบอกว่า "ศพทั้ง 99 ศพ ไม่มีศพไหนถูกยิงต่ำกว่าหัวเข่า"



"คนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องหีบบัตรเลือกตั้ง แต่กลับได้หีบศพ 99 ใบ"

หลังจากนั้น ผู้ชุมนุมได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เทสีแดง ลงที่พื้นและลวดหนามหน้าแนวกั้นของตำรวจ

สำหรับเหตุการณ์ในปี 2553 รายงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่แต่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 92 ราย บาดเจ็บกว่า 1,500 ราย ในช่วง 69 วันของการชุมนุม นปช.

ทว่ารายงานอีกฉบับจากศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) ชี้ว่ามีผู้สังเวยชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้น 94 ราย ในจำนวนนี้มีชายไทยอายุราว 20 ปีที่ยังไม่อาจระบุชื่อ-สกุลได้

ขณะที่ผลการไต่สวนการตายในชั้นศาลพบอย่างน้อย 18 รายเสียชีวิตด้วย "กระสุนจากฝั่งเจ้าหน้าที่/ทหาร"

ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ถูกจัดตั้งขึ้นภายในกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 รอ.) ถ.พหลโยธิน ใช้เป็นกองบัญชาการของฝ่ายรัฐบาล มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็น ผอ. ร่วมด้วยกรรมการอีก 27 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้บริหารส่วนราชการทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร และเป็นที่ทำการรัฐบาลชั่วคราวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น

การชุมนุมจบลงในเวลา 22.01 น. โดย พริษฐ์ ชิวารักษ์ ได้นัดหมายชุมนุมอีกครั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 2 ธ.ค. เวลา 14.00 น. ซึ่งจะมีการวินิจฉัยสถานะความเป็นนายกฯ ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา คดีบ้านพักหลวง

"มหาดเล็กรักษาราษฎร"

ก่อนหน้านี้ ผู้ชุมนุม "ราษฎร" ขึ้นป้ายตั้งชื่อราบ 11 ใหม่ เป็น "กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาราษฎร" โดยนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แกนนำ "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" ได้ประกาศยึดหน่วยทหารย่านบางเขนแห่งนี้ คืนมาเป็นของประชาชน ก่อนประกาศเปลี่ยนชื่อกรมทหารราบที่ 11 ใหม่ และชี้ว่าการชุมนุมวันนี้ ประชาชนที่จ่ายภาษีให้ทหารในค่าย มาทวงคืนสมบัติชาติและทหารของประชาชนคืน

ที่สะพานลอยด้านหน้าประตูราบ 11 มีการแขวนป้ายไวนิลสีดำข้อความที่ระบุว่า "กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กรักษาราษฎร"

"ต่อไปนี้ข้าพเจ้าขอประกาศว่า ข้าพเจ้าขอเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารราบที่ 11 รักษาประชาธิปไตยในมวลมหาราษฎร" นายพริษฐ์ประกาศ ก่อนโยนคำถามไปยังกำลังทหารภายในกรมทหารราบที่ 11 ถึงการทำหนเาที่ทหารรับใช้ประชาชน

"ท่านต้องเป็นทหารของชาติ และชาติคือประชาชน ท่านต้องเลือกว่าอยากเป็นทหารของชาติ หรือทหารของคน ๆ เดียว"



การชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ วันนี้ (29 พ.ย.) เป็นไปตามการนัดหมายของกลุ่ม "แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม" พันธมิตรหลักของกลุ่ม "ราษฎร" เพื่อ "ปลดอาวุธศักดินาไทย"

ทางกลุ่มยังระบุเหตุที่เลือกชุมนุมที่ราบ 11 เนื่องจาก "หน่วยดังกล่าวนี้คือหน่วยหลักที่ก่อการปราบปรามประชาชนในปี 2553 และยังเป็นกำลังหลักในการรัฐประหาร" ในอดีต



ผู้ชุมนุมได้นัดหมายรวมตัวที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสวัดพระศรีมหาธาตุก่อนเคลื่อนขบวนมายังหน้าราบ 11 ในเวลา 18.00 น. หลังเคารพธงชาติ โดยกลุ่มการ์ดของผู้ชุมนุมได้เดินทางล่วงหน้ามาช่วยกันรื้อแนวกั้นและดันรถเมล์ที่ถูกนำมาตั้งขวาง

ก่อนหน้านี้ พริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน ประกาศแก่มวลชนว่า "ทหารจะเป็นทหารได้นั้นต้องสังกัดกับรัฐบาลที่เป็นของประชาชน"

ก่อนหน้านี้ พริษฐ์ ยังได้ให้สัมภาษณ์กับThe Reporters ว่าเคลื่อนขบวนมาที่นี่เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยที่พระมหากษัตริย์มีกองกำลังส่วนพระองค์ ซึ่งขัดกับหลักประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์จะทรงไม่มีหน้าที่บังคับบัญชาโดยตรง แต่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งเข้าไปที่จะจัดตั้งหน่วยรักษาความปลอดภัยถวาย



นายพริษฐ์ย้ำว่า ผู้ชุมนุมจะไม่ใช้ความรุนแรง แต่ถ้ารัฐเลือกใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ชุมนุมหน้าค่ายทหารที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บังคับบัญชา พระมหากษัตริย์จะต้องทรงเป็นผู้รับผิดชอบ

กรมทหารราบที่ 1 และ 11 มีนัยสำคัญในการเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ของผู้ชุมนุมตรงที่ พ.ร.ก.โอนอัตรากำลังพลฯ ปี 2562 (พระราชกำหนดโอนอัตรากำลังพล และงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์ พ.ศ. 2562) เป็นการโอนกำลังพลและงบประมาณของทั้งกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และกรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ไปเป็นหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์



ส่วนนายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ กล่าวว่า "ราบ 11 จะกลายเป็นสนามเด็กเล่นของประชาชน"

กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ได้ประกาศเปลี่ยนจากสถานที่เดิม คือ กรมทหารราบที่ 1 ถนนวิภาวดีรังสิตมาเป็นกรมทหารราบที่ 11 ในช่วงสายของวันนี้ ภายหลังจากตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากและลวดหนาม ถูกนำมาติดตั้งบริเวณหน้าหน่วยทหารตั้งแต่ช่วงกลางดึกคืนที่ผ่านมา การเปลี่ยนสถานที่ชุมนุมดังกล่าว ทำให้กรมทหารราบที่ 11 ได้มีการนำรถบัสตำรวจคันเก่าจำนวน 2 คัน มาขวางกั้นหน้าประตูทางเข้าของกรมทหาร ซ้อนด้วยลวดหนามหีบเพลงอีกหนึ่งชั้น และตำรวจหน่วยควบคุมฝูงชนอีกจำนวนหนึ่ง

ย้อนที่มากรมทหารราบที่ 1-ราบ 11 ก่อนโอนย้ายไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์

พ.ร.ก. โอนอัตรากำลังพลและงบประมาณบางส่วนของกองทัพบก กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม ไปเป็นของหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ซึ่งเป็นส่วนราชการในพระองค์" โดย พ.ร.ก.ฉบับนี้ ถูกประกาศใช้หลังมีการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือน ก.ย.ปี 2562 ภายหลังสภา มีมติ 374 เสียง อนุมัติ พ.ร.ก. ดังกล่าว ไม่เห็นด้วย 70 งดออกเสียง 2 จากองค์ประชุม 446 เสียง

การออก พ.ร.ก. โดยอำนาจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งต้องให้สภาให้ความเห็นชอบ ก่อนวุฒิสภาให้ความเห็นชอบประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติ

ในการผ่าน พ.ร.ก. ฉบับนี้ ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้ลงมติไม่เห็นชอบ 70 เสียง ส่วนการอภิปราย มี ส.ส. ที่ลุกขึ้นอภิปรายมีเพียง 2 คน เป็นการอภิปรายคัดค้าน 1 คน และอภิปรายสนับสนุน 1 คน

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้อภิปรายตั้งคำถามว่า การใช้อำนาจออก พ.ร.ก. ดังกล่าวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา "เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้" จริงหรือไม่

"....ที่สำคัญที่สุด นี่คือการปกป้องรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พ.ร.ก. ฉบับนี้ตราขึ้นโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 ไม่เป็นเรื่องจำเป็นฉุกเฉินรีบด่วน และส่งผลกระทบต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผมในฐานะ ส.ส. เป็นผู้แทนของราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ผมไม่สามารถลงมติอนุมัติ พ.ร.ก. ฉบับนี้ได้ครับ" นายปิยบุตร

ดาบทื่อ - สุขุม สมหวัง ยังวัน



สุขุม สมหวัง ยังวัน
Yesterday at 5:06 AM ·

ดาบทื่อ

ดาบทื่อทื่อ ถือชู ซ้ำขู่ก้อง
หนึ่งหนึ่งสอง โทษมหันต์ ถึงบั่นหัว
มึงจงเงียบ จงก้ม พนมกลัว
จะบั่นขั้ว หัวกุด จนหลุดไป

คำกษัตริย์ ตรัสไป แล้วกลายกลับ
มิอาจนับ กษัตริย์ ชัดกษัย***
ยอมคืนคำ เพราะกษัตริย์ ขัดพระทัย
ย่อมชั่วขัย ไร้ค่า บารมี

ดาบทื่อทื่อ ถือโทงโทง ยังคงทื่อ
โลกร่ำลือ สื่อยิน จะสิ้นศรี
จะกลายดาบ หยาบเยี่ยง ขี้เมี่ยงมี
สิ้นราศี เถือลิ้น ยังบิ่นงอ.

***การสิ้นไป การหมดไป การเสื่อมไป การน้อยไป ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น

ภาพมุมสูง

https://twitter.com/pran2844/status/1333035181670768641

 

IO Factory ของกองทัพ เรามาถึงยุคที่รั้วของ​ชาติ​ต้องมานั่งปั่นทวิตเตอร์​ ต้องมานั่งกดไลค์​กดแชร์

“ทหารใช้โทรศัพท์ติดต่อกลับบ้าน???”
สังเกต ไม่มีใครโทรเลยแม้แต่คนเดียว



วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 29, 2563

พสกนิกรรอปลาบปลื้ม 'ยิ่งๆ ขึ้นไป' ถ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ "ให้บริษัทของพระองค์รับเหมาค่าใช้จ่าย" วัคซีนแก้โควิด-๑๙ ไปทั้งหมด


ถ้าเป็นชาวบ้านเขาจะบอกว่าเป็น สันดาน แก้ไม่หายเหมือนโรค สลิ่มแต่นี่เป็นปฏิบัติการจิตวิทยาทางทหาร การโป้ปด ให้ความจริงไม่หมด หรือบิดนิดๆ ไปถึงโกหกทั้งเพแบบ ผังล้มเจ้า นั่นเขาอ้างเป็นยุทธวิธีเอาชนะ ศัตรู ของนาย

ไล่มาจากเรื่องดีเบตระหว่างด็อกเต้อนิด้ากับแกนเยาวชนปลดแอก เรื่องทรัพย์สินที่กษัตริย์ครอบครอง คนมองว่า รุ้ง อ่อนหัดเถียงสู้ด็อกเต้อไม่ได้ ด็อกเต้อรู้เยอะพูดเป็นหลักเป็นฐานดี แม้ว่าไอ้ที่แกจ้อๆ เหล่านั้นผิดหลักการสากลเกือบทั้งนั้น

เสร็จแล้วมาโป๊ะภายหลังเมื่อ จอมขวัญ หลาวเพ็ชร พิธีกรและผู้จัดรายการเปิดเผยว่าฝ่าย น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นั้นถูกพันธนาการแสดงความเห็นเอาไว้ตลอดรายการ มีกรอบการใช้คำพูดต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการกระจายเสียง กสทช.ขีดเกณฑ์ไว้

ขณะที่ฝ่ายด็อกเต้อนิด้าคนนั้น “จะอวยไปจนสุดขอบฟากฟ้าก็ไม่มีใครว่า” (คำของ @topazine ให้อารมณ์ได้ตรงเผง) เช่นกันกับโป๊ะอื่นๆ ของฝ่ายทหาร พอมีอะไรโผล่มาเป็นความผิดก็แค่แถลงปฏิเสธ บิดเบือนไปเป็นอื่น แม้จะข้างๆ คูๆ กรูไม่แคร์

อย่างเรื่องที่มีหลักฐานโผล่ทางทวิตเตอร์ว่าทัพบกจ้างเท็คเอกชนทำ ไอโอสงครามจิตวิทยาแก้ต่างข้อครหา ตอบโต้กระแสยี้รัฐบาลเป็นขี้ยาและไม่มีน้ำยา ไปจนกระทั่งยุทธการรุกเร้า ปั้นน้ำกล่าวหาพวกรณรงค์ประชาธิปไตยต่างๆ นานา

วานนี้ รองโฆษกทัพบก แถลงแก้ตัวให้กองทัพน้ำขุ่นๆ “ตรวจสอบแล้ว ไม่ได้มีการว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการปฎิบัติการข่าวสารตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด” ตรวจเอง เออเอง ไม่บอกว่าเป็นการแสดงความล้ำหน้าทางเท็คโนโลยี่ของกองทัพ ก็ดีเท่าไหร่แล้ว


พ.อ.หญิงศิริจันทร์ งาทอง เลี่ยงไปพูดว่า “มีการจัดอบรมบรรยายและให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวกับกำลังพลในทุกระดับ ให้มีความเข้าใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม” เหตุเกิดที่ พล.ร.๒ รอ.ในการอบรมไฮเท็ค

โดยเชิญเอกชน “ที่มีทักษะความรู้ด้านการตลาดดิจิทัลและในการใช้สื่อออนไลน์ ที่ทันสมัย มาเป็นผู้ให้คำแนะนำการใช้งาน โดยไม่มีการว่าจ้างแต่อย่างใด” อีกทั้งแอ็ปพลิเกชั่นซ้อฟแวร์ไม่ต้องซื้อหา เป็นของฟรี เช่น Tweet Broadcast และ Free Messenger

อันนี้ █ Ghost Writer █@RITT41 แปลภาษาตะหานเป็นภาษาชาวบ้านได้ความว่า ใช่เลย“ไม่ได้จ้าง.. แค่ล้างสมองแล้วหลอกใช้ฟรีๆ งี้เหรอ?! เบิกงบฯ ด้วยมะ” แค้ปชั่นบทสนทนาของผู้ปฏิบัติการไอโอกองทัพชัดเจนออกอย่างนั้น

มันก็ยังแถกันไปจนได้ “เป้าหมายคือ โต้แย้งเงินจากท่อน้ำเลี้ยง...โจมตีข้อความ ลดความน่าเชื่อถือ/โน้มน้าว การ์ดไม่ได้รับการดูแลดีพอ” เพื่อเปิดตัวผู้บริจาค “นำไปสู่การจับกุม อายัดบัญชีท่อน้ำเลี้ยง” แล้วยังมีการสั่งต่อ

“ทีม ก, ข, ค ๒๑ ให้ปั่นแฮ้สแท็คทวิตตามทีม cat1 #3” ส่วน “ทีม 3.2 กดไล้ค์ pptv hd 36 ใต้คอมเม้นต์รูปนี้ ตอนนี้ครับ” เนี่ยนะที่รองโฆษก ทบ.บอกว่า “เป็นการประชาสัมพันธ์เชิงบวก” ไม่ตอแหลไปหน่อยหรือ จะได้เป็นบวกกับพวกคุณเท่านั้นสิ

แล้วที่ อานนท์ นำภา ติงเรื่องเซ็นสัญญาซื้อวัคซีน โควิด-๑๙ล่วงหน้าจาก แอสตร้าเซเนก้าโดยให้บริษัทสยามไบโอไซแอนซ์ ซึ่งเป็น “บริษัทในพระปรมาภิไธย” ของพระเจ้าอยู่หัวองค์นี้ เป็นผู้รับวัคซีนมาดำเนินการ บรรจุและแจกจ่าย

นั้น “ขั้นตอนการทำสัญญามีการประมูลตามกฎหมายหรือไม่ หรือรัฐบาลยกให้บริษัทของกษัตริย์ได้งานนี้ไปเลย” ก็เป็นคำถามที่ควรแก่การยกขึ้นมา อย่างน้อยๆ แสดงถึงความโปร่งใส ไม่แปดเปื้อนไปถึงองค์พระมหากษัตริย์ สมกับที่ด็อกเต้อนิด้าสดุดี

ทั้งๆ ที่บริษัทแอสตร้าเซเนก้านี้ แม้จะประกาศว่าขณะนี้การทดลองวัคซีนได้ผลแล้วประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ เทียบสู้บริษัทไฟ้เซอร์และโมเดร่าไม่ได้ สองรายนั้นแถลงผลก่อนหน้าว่าเชื่อได้ถึง ๙๐-๙๔ เปอร์เซ็นต์ มิหนำซ้ำพบว่าการทดลองของแอสตร้าฯ มีข้อผิดพลาด

แอสตร้าฯ ซึ่งเป็นบริษัทอังกฤษร่วมมือในการค้นคว้ากับมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ยอมรับว่าการทดลองของตนไม่สมบูรณ์ตามระเบียบการทางแพทย์ คือเขาแยกการทดลองออกเป็นสองส่วน ที่ใช้ ‘placebo’ ตัวยาทดลองต่างกัน

ส่วนหนึ่งทำในอังกฤษ อีกส่วนที่บราซิล ซึ่งพบภายหลังว่าที่อังกฤษใช้ยาทดลองเต็มพิกัด ‘full dose’ แต่ที่บราซิลใช้เพียงครึ่งโด๊ส แถมที่บราซิลคนที่เข้าไปรับการทดลองเป็นคนหนุ่มสาวเสียมาก ต่างกับที่อังกฤษใช้เกณฑ์อายุคละเคล้าไป

ผลปรากฏว่าที่อังกฤษได้ความน่าเชื่อถือเพียง ๖๐% กว่าๆ แต่ที่บราซิลได้ถึง ๙๐% แทนที่แอสตร้าฯ จะทดลองใหม่กลับเหมาเอาผลสองแห่งมาหาค่าเฉลี่ยได้ ๗๐% ก็คงจะรีบแข่งกับบริษัทอื่นและแข่งกับเวลา เลยสุกเอาเผากินไปหน่อย

ถึงแม้ว่าในเกณฑ์การแพทย์สำหรับวัคซีนโควิดนั้น หากทดลองได้ผลเกิน ๕๐% ก็จัดว่าใช้ได้แล้ว แต่บริษัทอื่นๆ เขาต้องทดลองจนได้ ๙๐% จึงจะประกาศ ตอนนี้แอสตร้าฯ ก็เลยต้องกลับไปทดลองซ้ำให้ถูกต้องตามระเบียบ

ฉะนั้นวัคซีนที่ไทยทำสัญญาซื้ออาจจะได้ใช้ช้ากว่าที่อเมริกา และสนนราคาอย่างไรยังไม่รู้ แหม นี่อยากฝันเพิ่มจากที่เยาวชนปลดแอกเขาฝันกันไว้อีกอย่างนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ จะทรงมีพระมหากรุณาธิคุณดังที่แซร่ซร้องกันกระหึ่ม

ให้บริษัทของพระองค์รับเหมาค่าใช้จ่ายไปทั้งหมด พสกนิกรจะได้ปลาบปลื้มกันยิ่งๆ ขึ้นไป

(https://www.bbc.com/thai/55097716M475uybc,  https://www.newscientist.com/article/2261092-do-oxford-astrazeneca-covid-19-vaccine-results-stand-up-to-scrutiny/ และ https://www.facebook.com/100001454030105/posts/3625328400858925/?d=n) 

วันที่ 2 ธันวาคมนี้ ไม่ต้องลุ้น ประยุทธจะหลุด....ก็ ตลก.รธน. ชุดนี้ ประยุทธตั้งเองกับมือ


Francisco Castro
1h ·

วันที่ 2 ธันวา 2020 นี้ประชาชนส่วนใหญ่นั่งรุ้นกันว่าศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินเกี่ยวกับคดีของประยุทธว่าผิดหรือถูกอยู่หรือไปกรณีที่อยู่บ้านหลวงฟรี แบบชาวบ้านพูดกันว่าบ้านไม่ต้องเช่าข้าวไม่ต้องซื้อแถมกินดีอยู่ดี เชื่อเถอะครับผมวิเคราะว่าไม่ต้องมานั่งรุ้นนอนรุ้นไห้เสียเวลารับรองว่าหลุดแน่
ประยุทธนั้นเป็นสุนัขทรงเลี้ยงที่เขาเลี้ยงมาตั้งแต่เด็กเป็นสุนัขผสมพันธ์ชัยภูมิผสมโคราชมันเป็นสุนัชที่เชื่องกว่าสุนัขบางแก้วพิษณุโลกปากเปราะรักเจ้าของแต่กัดไม่เก่ง ทุกครั้งที่มันไม่กัดไครมาไม่ว่าจะถูกหรือผิดพอมันวิ่งมาหาเจ้าของ เจ้าของก็จะเข้าข้างมันเสมอจนมันได้ใจ สุนัขประยุทธนั้นมาก่อนไอ้ทองแดงและ พณ อ อ ฟูฟู ทองแดงมีอายุแค่ 12 ปีเทียบเท่ากับ จอมพล ฟูฟุ ทั้งสองมันก็อายุไม่ยืนแต่ไอยุทธเขาเลี้ยงมาตั้งแต่อายุ 22 ปีปัจจุบันก็ 65 ปีแล้ว ไม่ว่าเจ้าจะไปไหนเขาก็เอามันไปด้วยเพราะเขารู้ว่าสักวันเขาต้องพึ่งมัน เท่าที่ผมรู้ประยุทธเคยเดินทางมากับเสี่ยโอที่อเมริกา 3 หน หนแรกเมื่อต้นเดือน พฤษภาคมเพื่อมาวางแผนไห้สิริกิตมาอเมริกา ครั้งที่สองเขามาด้วยกันชุดใหญ่เลยมีสิริกิต เสี่ยโอ องค์ภาประยุทธและคณะรวมทั้งหมดเกือบ 500 คนมาถึงเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2545 แล้วกลับมาอีกกลางปี พ ศ 2546 ทุกครั้งที่มานั้น ดร จิรายุ อิศรางกูล ณ อยุธยามาด้วย พร้อมทั้งทูตไทยชื่อ ศักทิพ ไกรฤก เจ้าไทยมาทำอะไรที่อเมริกาประยุทธรุ้หมด เป็นไปไม่ได้ที่เจ้าจะปล่อยไห้ศาลรัฐธรรมนูณตัดสินไห้ประยุทธแพ้ เชื่อแน่ว่าเขาต้องหาทางแถไห้หลุดจนได้ ประยุทธคือมือขวาของเขาประยุทธเคยทำเหี้ยระยำมากกว่านี้ยังหลุดได้ ตราบไดศาลไทยศาลไทยยังมีคำว่าทรงพระปรมาภิไธย อย่างหวังเลยว่าเขาจะทำลายคนของเขา ปล ผมอาจจะผิดก็ได้แต่อย่างไรผมก็ยังเชื่อในคำวิเคราะของผม

(https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=837992143695172&id=306441270183598)

เปิดรายงานสภาฯ เยอรมนี ระบุกษัตริย์ไทยได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตในประเทศ รัฐบาลไม่มีสิทธิ์สอดแนมขณะประทับในประเทศ แต่มีสิทธิ์เชิญออกนอกประเทศ หากพบหลักฐานทำผิดกฎหมายเยอรมนี

EPA
โรงแรมที่สื่อเยอรมันรายงานว่าเป็นที่ประทับของกษัตริย์ไทย

ร.10 : รายงานสภาฯ เยอรมนีระบุกษัตริย์ไทยได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตในประเทศ รัฐบาลไม่มีสิทธิ์สอดแนม

27 พฤศจิกายน 2020
บีบีซีไทย

เปิดรายงานของสภาผู้แทนราษฎร เยอรมนี ระบุกษัตริย์ไทยได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลไม่มีสิทธิ์สอดแนมขณะประทับในประเทศ แต่มีสิทธิ์เชิญออกนอกประเทศหากพบหลักฐานทำผิดกฎหมายเยอรมนี

น.ส. เซวีม ดาเดเลน ส.ส. จาก พรรคฝ่ายซ้าย (DIE LINKE) และ สมาชิกกรรมาธิการการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎร ของเยอรมนี เปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า เธอและ ส.ส.หญิงร่วมพรรคอีก 1 คน ได้ส่งคำร้องไปที่สำนักบริการวิชาการ (WD) ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนฯ เมื่อ 11 พ.ย. ที่ผ่านมา ขอให้จัดทำรายงานการเสด็จประทับในเยอรมนีของกษัตริย์ไทย ในรอบหลายปีที่ผ่านมา หลังผ่านไป 1 สัปดาห์ WD ได้นำเสนอรายงานสาธารณะ 15 หน้า ในหัวข้อ "ความเคลื่อนไหวของประมุขต่างชาติบนดินแดนเยอรมนี"

รัฐบาลเยอรมนี ระบุ ไม่พบหลักฐานกษัตริย์ไทยทรงทำผิดกฎหมายในเยอรมนี
“เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เยือนเยอรมนีสม่ำเสมอ”
ลำดับท่าทีเยอรมนีกรณีเสด็จประทับของ ร.10


หน้าบ้านพักหลังใหญ่ในเขตทุตซิงที่กลุ่มผู้ประท้วงชาวไทยในต่างแดนเชื่อว่าเป็นพระตำหนักริมทะเลสาบในแคว้นบาวาเรีย

ส.ส.หญิงวัย 45 ปีที่มีเชื้อสายเคิร์ด ระบุว่า เธอติดตามความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ประท้วงด้วยความเห็นอกเห็นใจ ได้เห็นประชาชนนับหมื่นออกมาตามท้องถนนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เรียกร้องให้ยกเลิกระบบเพื่อชนชั้นสูง และยุติการคุกคามประชาชน ดังนั้นพรรคฝ่ายซ้ายขอร่วมใน "ภราดรภาพกับกลุ่มพลังก้าวหน้าทั่วโลกที่ยืนหยัดเพื่อสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย เสรีภาพ และความยุติธรรม"

ด้วยเหตุนี้ เธอตัดสินใจร้องต่อสำนักบริการวิชาการ ให้จัดทำรายงานชิ้นนี้ออกมา เพราะสงสัยในข้อกฎหมาย ว่าประมุขต่างแดนสามารถบริหารราชการแผ่นดินขณะพำนักในเยอรมนีเป็นเวลานานได้หรือไม่

"กษัตริย์วชิราลงกรณ์ของไทยประทับอยู่ที่โรงแรมหรูในแคว้นบาวาเรียเป็นเวลาหลายเดือน คงเป็นเรื่องไร้เดียงสาที่จะเชื่อว่ากษัตริย์ของไทยไม่ทรงงานขณะพำนักอยู่ที่นี่ ทั้งที่มีข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่าพระองค์ไม่ได้ทรงแต่งตั้งผู้แทนพระองค์ให้ปฏิบัติงานแทนขณะไม่ได้พำนักในประเทศไทย แม้แต่รัฐบาลเยอรมนีก็มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา" 1 ใน 69 ส.ส. ของพรรคฝ่ายซ้าย กล่าวกับบีบีซีไทย

สภาผู้แทนราษฎรของเยอรมนีมีสมาชิกทั้งหมด 709 คน


น.ส. เซวีม ดาเดเลน ส.ส. จาก พรรคฝ่ายซ้าย

รัฐบาลไทยไม่เคยชี้แจง

นับตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. รัฐบาลและรัฐสภาของเยอรมนีหยิบยกเรื่องการประทับในเยอรมนีของพระมหากษัตริย์ไทยมาพูดในที่สาธารณะบ่อยครั้ง หลังสื่อมวลชนเยอรมันรายงานพระจริยวัตรของในหลวงรัชกาลที่ 10 ในรัฐบาวาเรียมาตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พ.ย. สำนักข่าวดีพีเอของเยอรมนีรายงานว่า รัฐบาลเยอรมนี ระบุว่า ไม่มีหลักฐานว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำการใดที่ผิดกฎหมาย ในเยอรมนี ประเทศที่พระองค์ทรงประทับอยู่เกือบตลอดปีนี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศในกรุงเบอร์ลินเปิดเผยกับบีบีซีไทย เมื่อ 13 พ.ย. ว่า"กระทรวงการต่างประเทศรับรู้มาตลอดว่าพระมหากษัตริย์ของไทยเสด็จเป็นการส่วนพระองค์เยือนเยอรมนีสม่ำเสมอ ในขณะนี้พระองค์มิได้ประทับอยู่ในเยอรมนี"

ทว่า รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่หลังรัฐประหาร 22 พ.ค. 2557 ไม่เคยออกมาชี้แจงต่อประชาชนในเรื่องนี้ จนกระทั่งวันที่ 12 พ.ย. ปีนี้ ม.ร.ว. จิราคม กิติยากร สมาชิกราชสกุลกิติยากร โพสต์ข้อความผ่านบัญชีเฟซบุ๊ก Chirakom Kitiyakara ออกมาอธิบายสาเหตุการเสด็จเยอรมนี

"ที่พวกฝรั่งออสเตรเลียร่วมมือกับพวกคอยล้มล้างสถาบันฯ พูดว่า ร.10 เอาแต่ไปอยู่เยอรมันนี ..


.......และใส่ร้ายพระองค์หลายเรื่องโดยไม่รู้เบื้องหลังความจริง มีพี่คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่า การที่ท่านไปอยู่เยอรมันบ่อยในช่วงก่อน เพราะพระองค์ท่านเข้ามาสังฆยานาพวกกร่าง และโกงกินในวัง และพวกที่ถูกลงโทษมีความเจ็บแค้น อาจคิดลอบปลงพระชนม์ จึงต้องป้องกันไว้ก่อน โดยเฉพาะเรื่องอาหาร"


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทอดพระเนตรทัศนียภาพบริเวณสระบ่อดินขาว โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เฝ้าฯรับเสด็จ ณ สระบ่อดินขาว ตำบลพรหมนิมิต อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 24 พ.ย. 2563

ประเด็นศึกษาในรายงาน

รายงานฉบับนี้ แบ่งประเด็นการศึกษาออกเป็น 3 หัวข้อหลัก คือ
  • กษัตริย์ไทยในรัฐบาวาเรีย
  • ขอบเขตกฎหมายระหว่างประเทศสำหรับพฤติการณ์ของผู้นำต่างชาติในเยอรมนี
  • ข้อพิจารณาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพำนักในบาเยิร์
สาระสำคัญของรายงานคือ การเริ่มพิจารณาจาก มาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ระบุว่า "ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้น ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ"

เมื่อไม่พบว่าทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ คณะผู้ศึกษารายงานนี้จึงไปพิจารณาว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชกรณียกิจใดบ้าง ขณะประทับในเยอรมนี และทรงกระทำการใดที่ผิดกฎหมายเยอรมนีหรือไม่

ผลการศึกษาในกรอบที่ตั้งไว้พบว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับความคุ้มครองทางการทูต ขณะทรงพำนักที่วิลลาหรูในรัฐบาวาเรีย รัฐบาลเยอรมนีแทบไม่มีอำนาจใดเลยที่จะดำเนินคดีกับพระองค์ หรือเฝ้าติดตามพระจริยวัตรของพระองค์ หากสงสัยว่าทรงกระทำความผิดในเยอรมนี


หน้าปกรายงาน 15 หน้า โดย สำนักบริการวิชาการ (WD) ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนฯ

ไมเคิล ฟิชเชอร์ ผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวดีพีเอรายงานจากกรุงเบอร์ลินว่า เมื่อ 11 พ.ย. ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเจ้าของวิลลาแถบเทือกเขาบาวาเรียนแอลป์ส ขณะที่ในช่วงก่อนหน้าของปีนี้ ระหว่างล็อกดาวน์ซึ่งสืบเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 พระองค์ทรงประทับอยู่ที่โรงแรมหรูแห่งหนึ่งใน การ์มิช-พาร์เทินเคียร์เชิน (เมืองชนบททางใต้ของรัฐบาวาเรีย ติดกับพรมแดนประเทศออสเตรีย ถือเป็นแหล่งเล่นสกีที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง) แม้ว่าจะมีกฎห้ามพักค้างคืน

รายงานของสภาผู้แทนฯ ฉบับนี้ระบุด้วยว่า อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลมี "หลักฐานที่เชื่อถือได้" ว่า พระองค์ทรงกระทำผิดกฎหมายเยอรมนี รัฐบาลก็มีสิทธิ์ที่จะกราบทูลเชิญให้ออกนอกประเทศ หรือไม่ให้วีซ่าเข้าประเทศอีก

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว เว็บไซต์วอลสตรีตเจอร์นัล รายงานคำชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศไทยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระประมุขของประเทศ "ทรงปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" และทรงประกอบพระราชกรณียกิจในพิธีต่าง ๆ ของพระองค์ หากแต่ "ทรงไม่ยุ่งเกี่ยวในการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล


ชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ 25 พ.ย. 2563

พรรคฝ่ายซ้ายจะทำอะไรต่อ

น.ส. ดาเดเลน บอกว่า เธอจะผลักดันร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ในสภาผู้แทนฯ เพื่อกดดันรัฐบาลเยอรมนีไม่ให้การต้อนรับกษัตริย์วชิราลงกรณ์ อีกต่อไป และต้องผลักดันให้พักการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป และประเทศไทย

"ขณะนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากษัตริย์ไทยจะเสด็จฯ กลับเยอรมนีเมื่อไร ถ้ามีหมายกำหนดการเสด็จฯ จริง พรรคฝ่ายซ้ายของเราจะเคลื่อนไหวกดดันไปที่รัฐบาลเยอรมนีเพื่อสกัดกั้นไม่ให้ประมุขของไทยได้รับความยินยอมให้ประทับในสำนักงานสาขาที่หรูหราของพระองค์ในเยอรมนี ในที่สุดแล้ว...พระองค์ไม่ใช่บุคคลธรรมดา แน่นอนว่าเราจะทำงานร่วมกับพรรคกรีนส์และพรรคประชาธิปไตยอื่น ๆ ในการสร้างสัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตยร่วมกัน"

ก่อนหน้านี้ ฟริตยอฟ ชมิดต์ ส.ส. พรรคกรีนส์ กล่าวกับบีบีซีไทย เมื่อ ต.ค. ว่า จะเดินหน้ากดดันรัฐบาลเยอรมนี และสหภาพยุโรป (อียู) ให้ระงับการเปิดการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างอียูกับไทย เนื่องจากเห็นว่า รัฐบาลไทยปัจจุบันที่แปรสภาพมาจากคณะรัฐประหารยังดำเนินการที่ขัดขวางกระบวนการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย

ชุมนุม 19 กันยา : “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาผู้ยืนกรานปฏิรูปสถาบันฯ
ร. 10 : ส.ส.พรรคกรีนส์เผยทำไมต้องถามเรื่องกษัตริย์ไทยในสภาเยอรมนี
ทูตบอก "คนไทยในออสเตรเลียจำนวนมากไม่พอใจ" ข่าวทีวีเกี่ยวกับในหลวง

ประมุขของรัฐทำอะไรได้บ้างขณะอยู่ในต่างประเทศ

ศ.มาร์ค เวลเลอร์ ประธานสถาบันการศึกษาด้านกฎหมายและรัฐธรรมนูญระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวกับบีบีซีไทยว่า โดยปกติแล้วหากประมุขของรัฐอยู่ระหว่างเดินทางเยือนต่างประเทศ ก็จะยังสามารถปฏิบัติภารกิจที่เป็นทางการขณะอยู่ในต่างประเทศได้ อาทิ การเดินทางเยือนต่างประเทศของประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะยังสามารถบัญชาการภารกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอเมริกา ทั้งของคณะรัฐมนตรี และอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน เพราะไม่มีข้อห้ามใด ๆ ไม่ให้ปฏิบัติดังกล่าวในระหว่างการเยือนต่างประเทศซึ่งมักจะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ

ศ.เวลเลอร์ กล่าวว่าในกรณีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยอาจมีความแตกต่างออกไป เนื่องจากพระองค์ประทับในเยอรมนีเป็นเวลาต่อเนื่องซึ่งไม่น่าจะเป็นการเยือนโดยปกติทั่วไปของประมุข แต่น่าจะเป็นการเยือนส่วนพระองค์

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากเคมบริดจ์ กล่าวอีกว่าในระหว่างเยือนต่างประเทศ ประมุขของรัฐได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองจากประเทศผู้ต้อนรับโดยไม่มีเงื่อนไข โดยประเทศผู้ต้อนรับไม่สามารถจับกุม ดำเนินคดี หรือบังคับใช้กฎหมายใด ๆ ของประเทศผู้ต้อนรับกับประมุขของรัฐที่ไปเยือนได้

เขากล่าวด้วยว่าประมุขของรัฐเป็นบุคลที่ไม่อาจแตะต้องได้ เว้นเสียแต่ว่าประมุขของรัฐเองจะไม่ใช้เอกสิทธิ์ดังกล่าว…ซึ่งในกรณีของพระมหากษัตริย์ไทยเขาไม่เชื่อว่าจะเป็นเช่นนั้น

"สิ่งเดียวที่จะปฏิบัติต่อประมุขแห่งรัฐได้คือการประกาศให้เป็นบุคคลไม่พึงประสงค์…ชี้ว่าได้มีการใช้สิทธิคุ้มครองไปในทางไม่ถูกต้องและเชิญให้ออกนอกประเทศ หรือบังคับให้ออกนอกประเทศ แต่นั่นก็จะก่อให้เกิดความร้าวฉานทางการทูตระหว่างสองประเทศ"


พระอักษรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ประชาชนที่เฝ้าฯรับเสด็จ ณ สระบ่อดินขาว ตำบลพรหมนิมิต อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 24 พ.ย. 2563

ลำดับท่าทีรัฐบาลเยอรมนีต่อการเสด็จประทับของกษัตริย์ไทย

7 ต.ค. -- นายไฮโก มาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบกระทู้ของ ส.ส. พรรคกรีนส์ในสภาผู้แทนฯ ว่า "เราอธิบายไว้ชัดเจนว่าการดำเนินการทางการเมืองที่เกี่ยวกับประเทศไทยไม่ควรมาจากดินแดนของเยอรมนี...หากมีแขกของประเทศเราเข้ามาดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับประเทศของพวกเขา เราจะดำเนินการคัดค้านอย่างแน่นอน"

"เราอธิบายไว้ชัดเจนว่าการดำเนินการทางการเมืองที่เกี่ยวกับประเทศไทยไม่ควรมาจากดินแดนของเยอรมนี เราได้รับรายงานว่าเกิดเหตุการณ์แปลกประหลาดขึ้นหลายครั้งที่นี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลกลางเยอรมนีไม่เห็นด้วย และนี่แตกต่างจากกรณีที่เรามีเกี่ยวกับนายนาวาลนี (นายอเล็กเซ นาวาลนี แกนนำฝ่ายค้านรัสเซีย) หากมีแขกของประเทศเราเข้ามาดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับประเทศของพวกเขา เราจะดำเนินการคัดค้านอย่างแน่นนอน"

"ผมคิดว่านี่เป็นตัวเลือกหนึ่งที่เราจะหารือกับสหภาพยุโรป แต่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องคุยเรื่องนี้กับฝ่ายไทยอีกครั้ง ซึ่งมีความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ เพราะไทยมีผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าที่เหมาะสม และผมเชื่อว่าเราอาจใช้ข้อเรียกร้องของเราเป็นเครื่องต่อรองได้ แต่ผมไม่ตัด (ตัวเลือกการหารือกับอียู) หากรัฐบาลทหารยังคงพฤติกรรมแบบเดิม เราต้องรอดูเรื่องนี้ต่อไป และเราอาจต้องใช้มาตรการนั้น"

9 ต.ค. ไฟแนนเชียลไทมส์ (FT) อ้างคำแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ว่าได้แจ้งเอกอัครราชทูตไทยในข้อกังวลเรื่องการทรงงานในต่างแดนของในหลวง ร. 10 หลายครั้งแล้ว

FT อ้างถ้อยแถลงของ น.ส.มาเรีย อเดบาห์ร โฆษกของกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี ที่ระบุเมื่อวันที่ 9 ต.ค. รัฐบาลเยอรมนีได้เน้นย้ำหลายครั้งกับสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงเบอร์ลินว่า "การบริหารราชการแผ่นดินของชาติอื่นไม่ควรเกิดขึ้นบนแผ่นดินเยอรมนี" และ "เราได้แสดงจุดยืนเรื่องนี้ชัดเจนมาก"

ในหลวง ร. 10 ตรัสทักทาย “กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ” ต่อชายที่ชูพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวง ร.9 ไว้เหนือหัว
ร.10 : "กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจ" ปฏิกิริยา 2 ฝ่ายหลังพระราชดำรัสในหลวง
สื่อสหรัฐฯ และอังกฤษว่าอย่างไรเมื่อ “ราษฎร” ไทยไปสถานทูตเยอรมนี


นายไฮโก มาส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงในสภาฯ

26 ต.ค. วันที่ผู้ชุมนุมในไทยเดินขบวนไปยื่นจดหมายที่สถานทูตเยอรมนีในกรุงเทพฯ นายไฮโก มาส แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า "รัฐบาลเยอรมนีกำลังเฝ้าดูพระจริยาวัตรของกษัตริย์ไทยในแคว้นบาวาเรีย เยอรมนีอย่างต่อเนื่อง และ "จะเกิดผลสืบเนื่องทันที หากเราประเมินแล้วว่ามีการกระทำใด ๆ ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย" และบอกอีกว่า รัฐบาลเยอรมนีแถลงไปหลายครั้งแล้วว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ที่จะให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติภารกิจทางการเมืองขณะพำนักอยู่บนดินแดนเยอรมนี

29 ต.ค. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนีว่า ผู้แทนรัฐบาลเยอรมนีได้กล่าวบรรยายสรุปในประเด็นที่เกี่ยวกับกษัตริย์ไทยให้ที่ประชุมคณะกรรมาธิการการต่างประเทศของสภาผู้แทนราษฎรฟังว่า รัฐบาลเชื่อว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับอนุญาตให้ตัดสินพระทัยเป็นครั้งคราว ตราบใดที่พระองค์ไม่ได้ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างต่อเนื่องในแผ่นดินเยอรมนี

เมื่อถามถึงพระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทย ผู้แทนรัฐบาลเยอรมนีชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ ว่า พระองค์ทรงถือวีซ่าที่อนุญาตให้ทรงประทับอยู่ในเยอรมนีได้นานหลายปีในฐานะบุคคลทั่วไป และทรงได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันทางการทูตในฐานะประมุขของรัฐ

"เป็นที่ชัดเจนว่าหลายคนมองว่าสิ่งที่พระองค์ทรงกระทำนั้นเป็นปัญหา แต่ทางรัฐบาลระบุว่านี่ยังไม่ถือว่าเป็นการทรงปฏิบัติภารกิจด้านการเมืองอย่างต่อเนื่อง" แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติม

11 พ.ย. สำนักข่าวดีพีเอของเยอรมนี รายงานว่า นายมิเกล แบร์เกอร์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศตอบกระทู้ของ ส.ส. พรรคกรีนส์เป็นลายลักษณ์อักษรว่า "จากข้อมูลที่ได้มาจากรัฐบาลไทย การประทับของพระมหากษัตริย์ไทยในเยอรมนีเป็นเรื่องส่วนพระองค์" ทางกระทรวงคาดว่า พระมหากษัตริย์ของไทยไม่ได้ทรงตัดสินพระราชหฤทัยที่ "เป็นการแทรกแซงระบบกฎหมายของเยอรมนี กฎหมายระหว่างประเทศ หรือ หลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองระหว่างประเทศ" ขณะทรงประทับอยู่บนแผ่นดินเยอรมนี

13 พ.ย. แหล่งข่าวจากกระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยกับบีบีซีไทยว่า "กระทรวงการต่างประเทศรับรู้มาตลอดว่าพระมหากษัตริย์ของไทยเสด็จเป็นการส่วนพระองค์เยือนเยอรมนีสม่ำเสมอ ในขณะนี้พระองค์มิได้ประทับอยู่ในเยอรมนี"

"โดยทั่วไป รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีคาดหวัง และสันนิษฐานว่าพระมหากษัตริย์ของไทย ในขณะที่ทรงประทับในเยอรมนี จะไม่ทรงตัดสินพระราชหฤทัยใดใดที่จะฝ่าฝืนกรอบของกฎหมายในเยอรมนี กฎหมายระหว่างประเทศ หรือ หลักสิทธิมนุษยชนที่เห็นพ้องในระดับสากล"

18 พ.ย. สำนักบริการวิชาการ (WD) ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ได้นำเสนอรายงานสาธารณะ 15 หน้า ในหัวข้อ "ความเคลื่อนไหวของประมุขต่างชาติบนดินแดนเยอรมนี" ระบุว่ากษัตริย์ไทยได้รับเอกสิทธิ์ทางการทูตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐบาลไม่มีสิทธิ์สอดแนมขณะประทับในประเทศ แต่มีสิทธิ์เชิญออกนอกประเทศหากพบหลักฐานทำผิดกฎหมายเยอรมนี

ร.10 : เยอรมนีระบุจับตาการประทับของกษัตริย์ไทยอย่างต่อเนื่อง
ทำความรู้จัก รมว. ต่างประเทศ เยอรมนี ผู้ตอบสภาเรื่องกษัตริย์ไทย
ร.10 : นักศึกษาไทยในฝรั่งเศสเปิดใจทำไมจึงตั้งกระทู้ถึงผู้นำเยอรมนีเรื่องกษัตริย์ไทย