Thapanee Eadsrichai1d
·
คนเท่ากัน ไม่ได้มีอยู่จริง
สิทธิในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างเท่าเทียม ก็ไม่มีจริง
หญิงนักต่อสู้คนหนึ่ง ตายไปเพราะโรคไข้เลือดออก
อ
าจเป็นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้ แต่สำหรับชาวบางกลอย
นี่คือการสุญเสียที่ไม่ควรเกิดขึ้น
หาก คนเท่ากัน มีอยู่จริง
แด่ กิ๊ฟ ต้นน้ำเพชร
.....
ฅนกะเหรี่ยง 4d
·
ค่ำวานทราบจากการโพสของน้ำ คีตาญชลี ว่า กิ๊ฟ ต้นน้ำเพชร ได้จากพวกเราไปแล้วเมื่อ 6 โมงเย็น จากการเป็นโรคไข้เลือดออก ถามน้ำไปว่าแล้วศพอยู่ที่ไหน น้ำบอกตอนนี้ยังไม่ทราบ น้องจันยังไม่ตอบ เพราะคงไม่เสร็จจากการจัดการศพแม่ที่โรงพยาบาล
ผมรู้สึกเสียใจเศร้าใจต่อการจากไปของกิ๊ฟ เธอเป็นชาวบางกลอยที่ถูกกระทำจากนโยบายอันไม่เป็นธรรมของรัฐ เธอและพี่น้องบางกลอยถูกเผาบ้านไล่ที่ลงมาจากบ้านของตัวเอง จนทำให้ต้องทำมาหากินยากลำบาก เพราะที่บางกลอยล่างที่ให้มาอยู่เป็นที่ดินเสื่อมโทรม ชาวบ้านต้องเป็นโรคขาดสารอาหาร และกิ๊ฟมีปัญหาเลือดจางไม่แข็งแรงเหมือนก่อน จากการที่สุขภาพไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เมื่อต้องมาเผชิญกับไข้เลือดออก น่าจะทำให้เธอมีภูมิคุ้มกันไม่พอ จนต้องเสียชีวิตไป
ผมหวังและลุ้นเป็นอย่างยิ่งว่าหากได้รัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย เราจะสามารถผลักดันให้ชาวบางกลอยกลับไปอยู่ที่เดิม ให้เขามีชีวิตอย่างที่เขาเคยมี เขามีสิทธิ์นั้นเต็มที่ ผมพยายามทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยเขา
ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 สิงหาที่ผ่านมา กิ๊ฟและน้องจันเดินทางมาขึ้นศาล พวกเธอมาพักที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เมื่อผมทราบจึงรีบไปหาพร้อมเอาเสื้อไปฝากกิ๊ฟ ผมขอสัมภาษณ์น้องจันเสร็จ ก็ชวนพวกเธอมากินข้าว ทีแรกกิ๊ฟปฏิเสธ แต่ผมคะยั้นคะยอ กะว่าจะพาไปกินร้านอาหารดีๆ แต่น้องจันบอกแม่ไม่อยากไปไกล ไม่อยากไปนาน แม่อยากกินกะเพราปลาหมึก เอาร้านง่ายๆ ผมจึงพามากินร้านอาหารตามสั่งในซอยเทพลีลา ได้เลี้ยงข้าวแม่ลูกคู่นี้ ผมนับเป็นเกียรติมากกว่าไปกินข้าวกับศิลปินแห่งชาติที่ไม่เห็นคุณค่าความลำบากของประชาชนรากหญ้า แต่กลับไปสวามิภักดิ์ให้กับพวกศักดิ
นาและเผด็จการอย่างไร้ยางอาย
ผมคิดว่ากิ๊ฟมีเกียรติ เธอได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ ทวงสิทธิเสรีความเป็นธรรมที่ชาวชาติพันธุ์พึงมีพึงได้ และเธอจากไปอย่างมีเกียรติ สู่สุขคตินะกิ๊ฟ
..
Wara Chanmanee4d
.
ค่ำวานทราบจากการโพสของน้ำ คีตาญชลี ว่า กิ๊ฟ ต้นน้ำเพชร ได้จากพวกเราไปแล้วเมื่อ 6 โมงเย็น จากการเป็นโรคไข้เลือดออก ถามน้ำไปว่าแล้วศพอยู่ที่ไหน น้ำบอกตอนนี้ยังไม่ทราบ น้องจันยังไม่ตอบ เพราะคงไม่เสร็จจากการจัดการศพแม่ที่โรงพยาบาล
ผมรู้สึกเสียใจเศร้าใจต่อการจากไปของกิ๊ฟ เธอเป็นชาวบางกลอยที่ถูกกระทำจากนโยบายอันไม่เป็นธรรมของรัฐ เธอและพี่น้องบางกลอยถูกเผาบ้านไล่ที่ลงมาจากบ้านของตัวเอง จนทำให้ต้องทำมาหากินยากลำบาก เพราะที่บางกลอยล่างที่ให้มาอยู่เป็นที่ดินเสื่อมโทรม ชาวบ้านต้องเป็นโรคขาดสารอาหาร และกิ๊ฟมีปัญหาเลือดจางไม่แข็งแรงเหมือนก่อน จากการที่สุขภาพไม่แข็งแรงอยู่แล้ว เมื่อต้องมาเผชิญกับไข้เลือดออก น่าจะทำให้เธอมีภูมิคุ้มกันไม่พอ จนต้องเสียชีวิตไป
ผมหวังและลุ้นเป็นอย่างยิ่งว่าหากได้รัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตย เราจะสามารถผลักดันให้ชาวบางกลอยกลับไปอยู่ที่เดิม ให้เขามีชีวิตอย่างที่เขาเคยมี เขามีสิทธิ์นั้นเต็มที่ ผมพยายามทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อช่วยเขา
ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 สิงหาที่ผ่านมา กิ๊ฟและน้องจันเดินทางมาขึ้นศาล พวกเธอมาพักที่มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย เมื่อผมทราบจึงรีบไปหาพร้อมเอาเสื้อไปฝากกิ๊ฟ ผมขอสัมภาษณ์น้องจันเสร็จ ก็ชวนพวกเธอมากินข้าว ทีแรกกิ๊ฟปฏิเสธ แต่ผมคะยั้นคะยอ กะว่าจะพาไปกินร้านอาหารดีๆ แต่น้องจันบอกแม่ไม่อยากไปไกล ไม่อยากไปนาน แม่อยากกินกะเพราปลาหมึก เอาร้านง่ายๆ ผมจึงพามากินร้านอาหารตามสั่งในซอยเทพลีลา ได้เลี้ยงข้าวแม่ลูกคู่นี้ ผมนับเป็นเกียรติมากกว่าไปกินข้าวกับศิลปินแห่งชาติที่ไม่เห็นคุณค่าความลำบากของประชาชนรากหญ้า แต่กลับไปสวามิภักดิ์ให้กับพวกศักดินาและเผด็จการอย่างไร้ยางอาย
ผมคิดว่ากิ๊ฟมีเกียรติ เธอได้ทำหน้าที่ของมนุษย์ ทวงสิทธิเสรีความเป็นธรรมที่ชาวชาติพันธุ์พึงมีพึงได้ และเธอจากไปอย่างมีเกียรติ สู่สุขคตินะกิ๊ฟ
.....
Lertchai Sirichai3d
·
ยิ่งเศร้าสะเทือนใจต่อชะตากรรมของป้ากิ๊บ บางกลอย
ผมเรียก “ป้ากิ๊บ” ตามที่คนอื่นเรียกกัน ที่จริงอายุของเธอเพิ่ง 44 ปีเท่านั้น
เมื่อคืนวานผมเขียนบทความด้วยความรู้สึกเจ็บปวด พร้อมกับตั้งคำถามว่าถ้าป้ากิ๊บเป็นเหมือนคนไทยกลุ่มอื่น ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธ์ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยงบางกลอย ป้ากิ๊บจะตายง่ายๆ เหมือนระบบสาธารณสุขไทยยังเป็นแบบบ้านป่าเมืองเถื่อนอย่างนี้ไหม
วันนี้ผมได้ข้อมูลเพิ่มเติม ยิ่งทำให้ผมเศร้าสะเทือนใจเพิ่มอีกหลายเท่า
วันอาทิตย์ 21 พ.ค. ป้ากิ๊บอาการไม่ดี สามีจึงพยายามพาไปโรงพยาบาล แต่ว่าหมู่บ้านพวกเขาอยู่ในป่า ระยะทางไกลมากจากเมือง หนทางก็ยากลำบาก เงินทองพวกเขาก็ไม่ค่อยมี ทำให้เวลาที่ป้ากิ๊บไปถึงโรงพยาบาลก็บ่ายแล้ว คือประมาณบ่าย 2-3 โมง
โรงพยาบาลที่ว่านี้คือโรงพยาบาลระดับอำเภอของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหากป้ากิ๊บต้องการใช้สิทธิ์บัตรทองหรือรักษาฟรีก็ต้องมาที่นี่เท่านั้นตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากจะเลือกไปที่อื่นก็ต้องออกเงินเอง ซึ่งสำหรับชาวกะเหรี่ยงบางกลอยไม่มีสิทธิ์ที่จะทำเช่นนั้นแน่ เพราะแม้จะมีอาหารกินไปแต่ละวันก็ยังยาก
สามีพาป้ากิ๊บไปถึงโรงพยาบาล ด้วยรู้อยู่เต็มอกว่าป้ากิ๊บอาการหนักแล้ว แต่คำตอบที่พวกเขาได้รับจากผู้รับผิดชอบของโรงพยาบาลในบ่ายวันนั้น คือ หมดเวลาเจาะเลือดแล้ว พรุ่งนี้ค่อยมาใหม่ ทั้งที่เวลาตอนนั้นยังไม่ถึง 4 โมงเย็นด้วยซ้ำ
ลองคิดดูสิครับสามีที่หอบหิ้วภรรยาที่ป่วยหนักไปถึงโรงพยาบาลอย่างแสนยาก เขาก็คิดว่าคงจะได้รับความเมตตา เพราะใครๆย่อมคิดว่าผู้ป่วยหนักเมื่อไปถึงโรงพยาบาลไม่ว่าเวลาไหน โรงพยาบาลต้องดูแล ผมเองก็เพิ่งทราบว่าโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขจะรับรักษาผู้ป่วยหนักที่มาโรงพยาบาลก็เฉพาะเวลาทำการ(ยังมีการเจาะเลือดอยู่)เท่านั้น
เมื่อรับคำตอบจากทางโรงพยาบาลเช่นนั้น สามีป้ากิ๊บก็พูดอะไรไม่ออกเพราะไม่สันทัดภาษาไทยกลาง ยิ่งป้ากิ๊บยิ่งไม่ต้องถามเพราะนอกจากกำแพงด้านภาษาแล้ว เรี่ยวแรงที่พอจะประคองชีวิตอยู่ก็แทบไม่มี สามีจึงได้แต่ประคองภรรยากลับอย่างปวดใจ
ผมลองถามดูนะครับ หากผู้ป่วยหนักบ่ายวันนั้นไม่ใช่เป็นป้ากิ๊บ แต่เป็นคนรวย คนมีอำนาจ ทางโรงพยาบาลแห่งนี้จะปฏิเสธไหม ถ้าผู้ป่วยเป็นญาติของหมอ ของพยาบาล ของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจะปฏิเสธรับตัวไว้ตรวจรักษาไหม
คืนนั้นป้ากิ๊บและสามีพักกับคนรู้จักในเมือง อาการของป้ากิ๊บหนักตลอดคืน รุ่งขึ้นสามีจึงรีบนำป้ากิ๊บไปโรงพยาบาลแต่เช้า ตามเวลาที่ไปป้ากิ๊บควรจะได้รับการเจาะเลือดเป็นคนแรกๆ แต่ปรากฏว่าคนที่ไปทีหลังแซงหน้าเข้ารับการเจาะเลือดไปทั้งหมด ป้ากิ๊บกลายเป็นผู้ได้รับการเจาะเลือดเป็นคนสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย ซึ่งตอนนั้นก็เวลาเที่ยงวันแล้ว ตลอดเวลาที่รอการเจาะเลือดอาการป้ากิ๊บทรุดลงตลอด
หลังการเจาะเลือดแทนที่ทางโรงพยาบาลจะรีบนำป้ากิ๊บเข้าห้องรักษา แต่กลับต้องรอผลตรวจเลือดและให้สามีทำเรื่องอะไรอีก ซึ่งใช้เวลาอีกพอสมควร กว่าจะมีการนำป้ากิ๊บเข้าห้องผู้ป่วยในและให้น้ำเกลือเวลาก็ผ่านไปอีกนาน
อาการป้ากิ๊บทรุดลงตลอด จนเวลาประมาณ 3 ทุ่มทางโรงพยาบาลจึงพิจารณาว่าอาการหนักเกินกว่าโรงพยาบาลจะดูแลได้ จึงส่งตัวต่อไปที่โรงพยาบาลจังหวัด
โรงพยาบาลจังหวัดรับตัวป้ากิ๊บไว้รักษาตามขั้นตอน และดำเนินการรักษาตามปกติ แต่อาการของป้าก๊บก็ทรุดลงเรื่อยๆ พร้อมความทุกข์ทรมานที่หนักขึ้นตลอดเวลา รุ่งขึ้นทางโรงพยาบาลได้นำป้ากิ๊บเข้าห้องไอซียู จากนั้นร่างที่มีชีวิตป้ากิ๊บก็ไม่มีโอกาสออกมาจากห้องไอซียูอีกเลย ป้ากิ๊บอยู่ในห้องไอซียูตั้งแต่ตอนเที่ยงของวันที่ 23 จนถึงเวลาประมาณ 6 โมงเย็นของวัยที่ 24 พฤษภาคม 2566
ข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลคือ ป้ากิ๊บเป็นโรคไข้เลือดออก แต่อาการหนักมากแล้วจึงไม่อาจรักษาได้
ป้ากิ๊บลงมาจากหมู่บ้านแบบยังมีชีวิตอยู่ และมีความหวังว่าโรงพยาบาลจะช่วยให้เขาหายจากความเจ็บป่วยและกลับมามีชีวิตตามปกติ แต่อนิจจา........
คำถามคือ ทำไมโรงพยาบาลระดับอำเภอจึงไม่รับป้ากิ๊บไว้ตรวจรักษาตั้งแต่วันแรก กระทรวงสาธารณสุขคงไม่ตอบเหมือนโรงพยาบาลนะครับว่า เพราะเวลาเจาะเลือดหมดแล้ว และทำไมวันรุ่งขึ้นจึงไม่รีบเจาะเลือดให้ป้ากิ๊บทั้งที่เธอไปถึงโรงพยาบาลแต่เช้า กระทรวงสาธารณสุขคงไม่ตอบว่าเป็นขั้นตอนทางการแพทย์นะครับ
เราคงได้ยินหลักการของกระทรวงสาธารณสุขมากมายที่ประกาศมา และพยายามบอกว่ามาตรฐานของระบบสาธารณสุขไทยนั้นเทียบเท่ากับระดับสากลโดยอ้างถึงหลักการที่ประกาศดังกล่าว เช่น หลักการประชาชนสามารถเข้าถึงการดูแลสุขภาพอย่างเท่าเทียมกัน หลักการสิทธิของผู้ป่วย 10 ประการ ฯลฯ นอกจากนี้สิทธิของผู้ป่วยนี้ยังได้การรับรองจากรัฐธรรมนูญ และหลักการสิทธิมนุษยชนกับการรักษาผู้ป่วย
เมื่อพิจารณาจากหลักการดังกล่าว จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าไม่มีทางเลยที่โรงพยาบาลจะปฏิเสธการรับป้ากิ๊บไว้ตรวจรักษา แม้ผู้ป่วยจะไปถึงโรงพยาบาลนอกเวลาการเจาะเลือดก็ตาม
จึงเหลือคำถามเดียวที่ผมจะถามกระทรวงสาธารณสุข คือ เพราะโรงพยาบาลเห็นป่ากิ๊บไม่ใช่คน หรือมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่ำกว่าคนทั่วไปใช่หรือไม่ และมีคำถามย่อยตามมาอีก 1 ข้อ คือ เพราะป้ากิ๊บเป็นกลุ่มชาติพันธ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตป่า โดยเฉพาะป้ากิ๊บเป็นชาวกะเหรี่ยงบางกลอยใช่หรือไม่
ผู้สนใจลองอ่านแค่สิทธิผู้ป่วย 10 ประการ ซึ่งเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขโดยตรงก็ได้ อ่านเฉพาะข้อ 2 และข้อ 4 ก็ได้ อ่านแล้วน่าจะได้ข้อสรุปตรงกันว่า ป้ากิ๊บไม่ได้รับสิทธิ์ในฐานะผู้ป่วยตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข สำหรับผมขอเพิ่มว่า “อย่าว่าแต่ไม่ได้รับสิทธิในฐานะผู้ป่วยเลย แม้สิทธิความเป็นมนุษย์อย่างคนอื่นป้ากิ๊บก็ไม่ได้รับจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขแห่งนี้”
ยิ่งน่าหดหู่ใจเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับทราบว่าป้ากิ๊บไม่ใช่คนแรกของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยที่ถูกปฏิเสธการตรวจรักษาจากโรงพยาบาลแห่งนี้ และในวันที่ป้ากิ๊บเสียชีวิตยังมีชาวกะเหรี่ยงบางกลอย 3 คน ซึ่งป่วยเป็นไข้เลือดออกเหมือนกัน ถูกปฏิเสธรับตัวไว้รักษาจากโรงพยาบาลแห่งนี้ (ในช่วงนี้ในพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบางกลอยมีฝนตกมาก จึงมียุงลายชุกชุม คนจึงเป็นไข้เลือดออกกันมาก)
ชาวบางกลอยจึงกลัวว่า 3 คนนี้จะเสียชีวิตตามป้ากิ๊บไปอีก
สำหรับแพทย์ พยาบาล บุคลากรอื่นๆของโรงพยาบาล การเสียชีวิตของหญิงชาวกะเหรี่ยงบางกลอยคนหนึ่งอย่างป้ากิ๊บคงไม่มีความหมายอะไรในสายตาพวกเขา แต่สำหรับครอบครัวของป้ากิ๊บ ญาติมิตร และชาวบางกลอยแล้ว เหตุการณ์ครั้งนี้มีความหมายอย่างมากสำหรับพวกเขา
ป้ากิ๊บทิ้งลูกเล็กๆไว้ 2 คน ลูกเล็กๆนี้จะเติบโตขึ้นมาอย่างไร สามีของป้ากิ๊บซึ่งร่วมทุกข์ร่วมยากมาด้วยกันในทุกสถานการณ์จะอยู่ต่อไปอย่างไร ลูกๆที่โตแล้วกลัวว่าพ่อของเขาจะคิดสั้นติดตามแม่ไป
สำหรับชาวบางกลอย นี่คือความเจ็บปวดใจ ความคั่งแค้นใจอีกครั้ง ที่พวกเขาถูกกระทำจากหน่วยงาน จากเจ้าหน้าที่รัฐ
มีผู้ถามสามีป้ากิ๊บด้วยเจตนาดีว่าจะให้ช่วยอะไรไหม สามีของป้ากิ๊บตอบกลับออกไปทันที่ว่า ช่วยย้ายโรงพยาบาลแห่งนี้ออกไปจากพื้นที่ได้ไหม นี่เป็นคำตอบที่ออกมาจากชายชาวกะเหรียงที่แสนจะธรรมดาคนหนึ่ง แต่มีความเจ็บปวดใจอย่างยากที่จะอธิบายออกมาได้
ชาวกะเหรี่ยงบางกลอยถูกกระทำจากหน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ และกระบวนการยุติธรรม เหมือนพวกเขาไม่ใช่คนมาโดยตลอด พวกเขาจึงเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีชีวิตอยู่อย่างเจ็บปวดรวดร้าวที่สุด
บัดนี้มีข้อพิสูจน์ชัดเจนเพิ่มขึ้นอีกว่าเมื่อเขาเจ็บป่วย แม้กระทั่งอยู่ในภาวะอาการหนักเสี่ยงที่จะเสียชีวิต เขาก็ถูกปฏิบัติเหมือนกับเขาไม่ใช่คนจากโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข
มีใครหรือหน่วยงานไหนที่พอจะหยิบเรื่องนี้มาพูดคุย หรือพิจารณาต่อไปบ้าง เพื่ออย่างน้อยก็เป็นการส่งเสียงว่ายังมีคนที่เห็นชาวกะเหรี่ยงบางกลอยมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไม่แตกต่างจากคนกลุ่มอื่น
(ภาพครอบครัวป้ากิ๊บ ขวาสุดคือสามี นอกนั้นคือลูกๆ)