วันศุกร์, มิถุนายน 03, 2565

เกล็ดประวัติศาสตร์ ชวนฟัง อ.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ พูดถึงประวัติความเป็นมาของ แท่นพิมพ์คำประกาศคณะราษฎร สมัยนั้นคนส่วนใหญ่ยังอ่านไม่ออก พิมพ์ไปแจกยังต้องอ่านให้ฟัง งาน Walking Tour ธรรมศาสตร์

แท่นพิมพ์ที่ใช้พิมพ์ประกาศคณะราษฎร เพื่อแจกจ่ายในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็มาจากโรงพิมพ์นิติสาส์นของนายปรีดี (ปัจจุบันแท่นพิมพ์นี้จัดแสดงในหอประวัติศาสตร์เกียรติยศ ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์)
ภาพจาก ปรีดี พนมยงค์ กับธุรกิจโรงพิมพ์และหนังสือ “นิติสาส์น” สร้างแสงสว่างทางปัญญา

Fahroong Srikhao ฟ้ารุ่ง ศรีขาว
5h

(7/10) แท่นพิมพ์คำประกาศคณะราษฎร ในยุคที่คนส่วนใหญ่ยังอ่านไม่ออก พิมพ์ไปแจกและต้องอ่านให้ฟัง
ธำรงศักดิ์ บรรยายถึงแท่นพิมพ์ซึ่งปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาไว้บนตึกโดมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า เป็นแท่นพิมพ์ที่พิมพ์ใบปลิวคำประกาศคณะราษฎร ในวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน 2475
แท่นพิมพ์นี้เป็นแท่นพิมพ์ในโรงพิมพ์นิติสาส์นของปรีดี พนมยงค์ เมื่อปรีดีเรียนจบปริญญาเอกด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส กลับมาประเทศไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 5 ปี ปรีดีได้สร้างโรงพิมพ์นิติสาส์นของตัวเองขึ้นมา ตั้งอยู่ที่ศาลาแดง เพื่อพิมพ์กฎหมายใหม่ๆ ให้คนเรียนกฎหมายได้อ่าน เพราะในยุคนั้นชาติจะเจริญได้ปัญหานิติศาสตร์เป็นปัญหาสำคัญยิ่ง
เหตุที่ด้านนิติศาสตร์สำคัญ เพราะตั้งแต่ทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เราเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตทางการศาล ซึ่งคน 15 ประเทศในสนธิสัญญานั้นไม่จำเป็นต้องขึ้นศาลไทย เพราะศาลไทยยังใช้กฎหมายตราสามดวง ยังใช้กระบวนการที่ยังไม่ใช่กระบวนการยุติธรรม
ทางโลกตะวันตกบอกว่า เมื่อไหร่ที่ไทยมีกฎหมายสมัยใหม่ มีระเบียบวิธีการพิจารณาแบบศาลสมัยใหม่ เมื่อนั้นจึงจะสามารถแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เสมอภาคได้ ตรงนี้เองทำให้ปรีดี พนมยงค์ ได้ทุนไปเรียนกฎหมายที่ฝรั่งเศสแล้วกลับมา
สิ่งที่ปรีดีกับเพื่อนได้ตกลงกันตั้งแต่ปรีดีอายุ 26 ปี ก่อนที่จะเดินทางกลับ หลังเรียนจบปริญญาเอก ปรีดีกับเพื่อน 7 คนได้ก่อตั้งคณะราษฎรขึ้น เป็นคณะที่เรียกว่า The People's Party
คำว่าประชาชนขณะนั้นยังไม่ถูกใช้ เพราะเป็นการปกครองโดยคณะเจ้านาย เจ้านายซึ่งปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้น people จึงถูกแปลเป็น ราษฎร ส่วน party ถูกแปลว่าคณะ เพราะยังไม่มีศัพท์การเมืองที่เรียกว่าพรรคการเมือง คำว่าคณะหมายถึงการรวมตัวกันของกลุ่มคน
คณะราษฎร 7 คน อายุน้อยสุดคือ ปรีดีกับนายแนบ พหลโยธิน อายุ 26 ปี ส่วนอายุมากที่สุดคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, ประยูร ภมรมนตรี อายุ 29 ปี
ประชุมกัน 5 วัน เปลี่ยนประเทศเพื่อสร้างประชาธิปไตยซึ่งภารกิจของปรีดีคือการทำกฎหมายใหม่ๆ ให้กับประเทศ ปรีดีมาเป็นอาจารย์ด้านกฎหมายกระทรวงยุติธรรม สอนโรงเรียนกฎหมายและสร้างโรงพิมพ์ของตัวเองขึ้นมาเพื่อผลิตตำรากฎหมายใหม่ๆ ตอนนั้นปัญหาที่สำคัญ ก็คือ ประเทศไทยไม่รู้ว่ามีการปกครองระบอบทางการเมืองในโลกนี้กี่ระบอบ ปรีดีเขียนกฎหมายมหาชนซึ่งบอกว่าการปกครองในประเทศต่างๆ มีกี่แบบ แต่ละแบบมีกระบวนการทางการเมืองอย่างไร มันคือการเตรียมความรู้
แท่นพิมพ์นี้ ในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน เมื่อคณะราษฎรยึดพระที่นั่งอนันตสมาคมและพระบรมรูปทรงม้าเป็นกองบัญชาการปฏิวัติของคณะราษฎรได้แล้ว ฝ่ายทหารคณะราษฎรก็มาที่แท่นพิมพ์นี้ที่อยู่แถวศาลาแดง เป็นโรงพิมพ์ของปรีดี คำประกาศคณะปฏิวัติมีการเรียงพิมพ์ไว้แล้ว เป็นใบปลิวที่ออกมาขนาดยาว มีการแจกและการอ่านเพราะคนไทยยังไม่รู้หนังสือจึงต้องอ่านให้ฟัง ประกาศ 2 หน้านี่คือจุดเริ่มต้นของการสร้างประชาธิปไตยโดยที่แท่นพิมพ์นี้คือแท่นพิมพ์เพื่อประชาธิปไตย
ธำรงศักดิ์ กล่าวถึง ตราธรรมจักรว่า ดั้งเดิมเป็นตราที่อยู่ในธงสีเหลืองแดง สีประจำมหาวิทยาลัย แต่พอมีความสัมพันธ์กับจุฬาฯ ในการแข่งฟุตบอลประเพณี ทางจุฬาฯ มีการอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสนามฟุตบอล ส่วนธรรมศาสตร์มีธงแต่ไม่ได้อัญเชิญอะไร ฝ่ายธรรมศาสตร์จึงสร้างตราธรรมจักร ใช้พิธีพราหมณ์แบบใหญ่มาก สร้างประมาณปี 2510 เป็นตรานี้ขึ้นมา แล้วอัญเชิญเข้าสู่สนามฟุตบอลในการแข่งฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์
สำหรับตราธรรมศาสตร์ที่ถูกตัดคำว่า ‘วิชา’ และ ‘การเมือง’ ออกไป เป็นผลจากคณะรัฐประหารปี 2494 ต้องการให้นักศึกษาธรรมศาสตร์จากท่าพระจันทร์ย้ายไปบางกะปิซึ่งไกลออกไป แต่ธรรมศาสตร์ไม่ยอม และยึดธรรมศาสตร์คืนมา จึงมีการต่อรองให้ตัดคำว่า ‘วิชา’ และ ‘การเมือง’ ออก โดยฝ่ายทหารไม่ได้เอาตรารัฐธรรมนูญออกไป ส่วนนักศึกษาธรรมศาสตร์ยังคงเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญจนถึงปัจจุบัน
.
เผยแพร่ครั้งแรกใน https://pbic.tu.ac.th/uncategorized-en/8373/

ลิงค์โพสต์เต็ม https://www.facebook.com/FahroongS/videos/573429811053656