วันพฤหัสบดี, มิถุนายน 30, 2565

เรื่องราวของบุคคลที่เสนอ ระบอบประชาธิปไตย ให้ ร. 5 ผู้มีชีวิตบั้นปลายอันน่าเศร้า เหตุการณ์ก่อน 2475 และ กบฏ ร.ศ.130


เล่าเรื่องคณะราษฎร2475
June 25

บุคคลที่เสนอ ระบอบประชาธิปไตย ให้ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ผู้มีชีวิตบั้นปลายอันน่าเศร้า
เหตุการณ์ก่อน 2475 และ กบฏ ร.ศ.130
ย้อนกลับไป ในสมัยรัชกาลที่ 5
เป็นรัชสมัยที่ มีการพัฒนาแต่ละด้าน ในอาณาจักรายามช่วงนั้น ได้นำเอาวิทยาการของฝรั่งมาเริ่มใช้ด้วย
เหล่าเชื้อพระวงศ์ และ เหล่าคนชั้นสูง ต่างได้มีโอกาสถูกส่งไปเรียนที่ยุโรบ ประเทศยอดฮิตคือประเทศอังกฤษ ซึ่งมีรัฐธรรมนูญ รัฐสภาและนายกรัฐมนตรี มีพระราชินีวิคตอเรีย เป็นกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมทั้งมีการปฎิวัติอุตสาหกรรม กำลังทหารก็เกรียงไกร เรียกได้ว่า ประเทศอังกฤษเป็นมหาอำนาจโดยแท้จริง
ดังนั้น นักเรียนไทยที่ได้ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษ ก็ได้รับรู้ถึงระบบประชาธิปไตย ของอังกฤษ ในขณะที่เรียนอยู่ที่นั่น
รวมทั้ง ชายผู้หนึ่ง ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นสมาชิกของราชวงศ์จักรี สืบเชื้อสายโดยตรง จาก ในหลวงรัชกาลที่ 3
มีนามว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นบุตรของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม ซึ่งเป็นบุตรของในหลวงราชกาลที่ 3
พระองศ์ ทรงเป็นหนึ่งในนักเรียนหลวง ไปศึกษาที่ โรงเรียนราฟเฟิล ที่ประเทศสิงค์โปร จากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 และเข้าศึกษาในราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน ในสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2419
ในปี พ.ศ. 2423 ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นล่ามและตรีทูต ในคณะของเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร และได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตไทยคนแรกประจำราชสำนักเซนต์เจมส์แห่งอังกฤษ
หลังจากได้รู้ประวัติของท่านคร่าวๆ แล้ว เรียกได้ว่าเป็นคนรุ่นใหม่ ไฟแรง เพิ่งจบจากเมืองนอก เลยทีเดียว
ในปี 2428 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเห็นว่า พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ มีความรู้เรื่องตะวันตกอย่างดี แถมพูดภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม จึงทรงได้ถาม พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เกี่ยวกับ การเสียเอกราชของพม่าจากอังกฤษ และ ให้ช่วยแนะนำแนวทางใหม่ในการปฎิรูปการปกครองของสยามเพื่อที่อาณาจักรสยามจะได้ตามกระแสโลกทัน ทรงให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์แสดงความคิดเห็นส่วนตัวกับในหลวงราชกาลที่ 5
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้แสดงความเห็น เสนอการปฎิรูป โดยสาระสำคัญคือ
‘ ขอให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก ในการปกครองบ้านเมือง ด้วยระบอบ ประชาธิปไตย ‘
หากผม เป็นในหลวงรัชกาลที่ 5 คงต้องมีสะดุ้งแน่ๆ ไม่นึกไม่ฝันว่า จะมีญาติของตัวเอง มา เสนอ ประชาธิปไตย ปีนั้นปี 2428 ซึ่งเป็น 47 ปี ก่อน 2475
แต่คำตอบที่ได้จากในหลวง ราชกาลที่ 5 คือ
อาณาจักรสยามยังไม่พร้อมสำหรับระบบนี้ คิดว่าการปกครองระบอบ ณ ขณะนั้น ก็ทำให้บ้านเมืองไปด้วยดีอยู่แล้ว
ทั้งๆที่ สภาพบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ต้องการ การเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่ง
จากเนื้อหา หนังสือ เรื่องรู้ทันราวงศ์จักรี โดย รักษ์ธรรม รักษ์ไทย
ได้มีการบรรยาย ถึงความยากไร้ของ ชาวนา ชาวไร่
ในอาณาจักรสยามสมัยนั้น ชาวไร่ ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของแผ่นดินถูกศักดินาขูดรีด อย่างหนัก
ชาวนาที่ขัดสนถึงกับรวมตัวกันยื่นฎีกาขอกู้เงินหลวงเพื่อนํา ไปซื้ออาหารรับประทาน แต่รัชกาลที่ 5 กลับปฏิเสธ ทั้งที่รัชกาลที่ 5 มักจะยอมปล่อยเงินกู้ให้แก่พ่อค้าจีน เพราะได้ดอกเบี้ยคุ้มเงินที่ เสียไป นี่แหละคือน้าใจของผู้ที่เจ้าขุนมูลนายยกย่องว่าเป็น “ปิยมหาราช”
( สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือ เรื่องรู้ทันราวงศ์จักรี ตอนสมัยรัชกาลที่ 5 โดย รักษ์ธรรม รักษ์ไทย )
หลังจากนั้นมา ชีวิตของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ก็ได้เปลี่ยนไป
กล่าวกันว่าเพราะการเสนอประชาธิปไตยในครั้งนั้น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงไม่ทรงเป็นที่โปรดปรานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมานั้น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เข้ารับราชการในกรมไปรษณีย์และโทรเลข แรกๆก็ดำเนินงานไปด้วยดี แต่ต่อมา ก็ประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก รวมทั้งถูกริบบ้านหลวงด้วย เนื่องจากบริหารจัดการเงินงบประมาณกรมไปรษณีย์และโทรเลขล้มเหลว และทรงพยายามจะบรรจุพระอนุวงศ์พระองค์หนึ่งเข้ารับราชการในกรมโยธาธิการ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงาน (พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงมีส่วนร่วมในการร่างแผนจัดตั้งหน่วยงานด้วย) เพื่อตอบแทนเจ้านายพระองค์หนึ่งซึ่งได้ประทานความช่วยเหลือทางการเงินแก่พระองค์
พระองค์จึงคิดว่ามีศัตรูที่คอยจ้องเล่นงานพระองค์อยู่ตลอดเวลาและเกิดความท้อใจที่จะรับราชการต่อไป
หลังจากนั้นพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ก็ทรงผนวช เป็นพระภิกษุที่ศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2439 ภายหลังได้ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดทีปทุตตมาราม เป็นวัดไทยวัดแรกในกรุงโคลัมโบ ระหว่างปี พ.ศ. 2448 – 2453
ภายหลังจาก กลับมาอาณาจักรสยาม ปี 2453
ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ย้ายไปอาศัยอยู่ในตรอกวัดมหาพฤฒาราม ดำรงชีพด้วยเงินเบี้ยหวัดในฐานะพระอนุวงศ์และมีพระญาติส่วนหนึ่งให้ความอุปการะ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต อีกทั้งพระองค์ยังมีโรคภัยรุมเร้า ประชวรเข้าโรงพยาบาลบ่อยครั้ง
พระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ด้วยความยากไร้เช่นนี้จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะมีพระชันษาได้ 84 ชันษา นี้คือจุดจบอันน่าเศร้าของผู้เรียกร้องประชาธิปไตยคนแรก ซึ่งหลายคนนักที่รู้เรื่องนี้
หากในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงปฎิรูปการปกครอง ให้มีความเป็นประชาธิปไตย ก็อาจจะไม่มีเหตุการณ์ กบฏ ร.ศ.130 และ คณะราษฎร 2475 การปกครองอาจจะมีเสถียรภาพมากกว่านี้ หรือ อาจจะไม่มี ซึ่ง ไม่มีใครรู้ได้
ข้าพเจ้า เต็มใจ จะตอบว่า แล้วเมื่อไรจะเริ่ม? เมื่อไรถึงเหมาะสม? หากไม่มีการเริ่มต้น ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยนะครับ ทุกๆอย่างย่อมมีครั้งแรกเสมอ อาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่ดีกว่าไม่เริ่มต้นอะไรเลย ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ทุกคนเรียนรู้กันได้ ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม
ร่วมสนับสนุนเพจเราโดยติดตามช่อง YouTube ด้วยครับ
https://www.youtube.com/c/เล่าเรื่องคณะราษฎร