วันพุธ, มิถุนายน 29, 2565

ใครคิดจะเถียงว่า "ถุงพระราชทาน" ไม่ได้มาจากงบประมาณภาษี" ควรอ่านต่อ ...


Saiseema Phutikarn
1h

< "ถุงราษฎร์ประทาน" ไม่ใช่ "ถุงพระราชทาน"?>
การจะบอกว่า "ถุงพระราชทาน" จัดซื้อโดยมูลนิธิฯ หรือ จัดซื้อด้วยเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ แล้วไปสรุปว่าดังนั้นจึง "ไม่ได้มาจากงบประมาณภาษี" อันนี้ไม่ถูก ... เพราะเงินรายได้ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์แต่ละปีมาจากไหนละ ลองไปเปิดงบการเงินดูสิ ... จะพบว่าส่วนใหญ่มาจาก "งบประมาณภาษี" นี่แหละ ไม่ใช่เงินบริจาคที่ไหน
ส่วนการจะบอกว่า "ถุงพระราชทาน" มาจากเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ อันนี้ไม่ผิด ... เพราะถุงพระราชทาน มันมีทั้งแบบ 1. จัดซื้อโดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ , 2.จัดซื้อโดยหน่วยงานรัฐด้วยงบประมาณภาษี หรือ 3. จัดซื้อโดยหน่วยงานรัฐด้วยเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ (ข้อ 2-3 ตามตัวอย่างที่เห็นในบทความ ประชาไท https://prachatai.com/journal/2022/06/99277)
รายได้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์แต่ละปี ครึ่งหนึ่งเลยมาจาก เงินสนับสนุนจากงบประมาณกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ส่วนที่เป็นเงินบริจาคเข้ามูลนิธิโดยตรงนั้นป็นส่วนน้อยมาก ยกเว้นจะเป็นปีพิเศษต่างๆ ถึงจะมีเงินส่วนนี้มากขึ้นแต่ก็ยังน้อยมากอยู่ดี และหลายครั้งที่พบว่าผู้บริจาครายใหญ่คือ หน่วยงานรัฐ หรือ แม้แต่ตัวรัฐบาลเอง (เช่นตามภาพสุดท้าย รัฐบาลบริจาคดินที่ได้จากการก่อสร้างรัฐสภา) โดยรายได้ส่วนใหญ่อีกส่วนคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของทรัพย์สินมูลนิธิ(เกือบทั้งหมดคือ ดอกเบี้ย)
ทรัพย์สินรวมของมูลนิธิปัจจุบันมีมูลค่าเกือบ 7 พันล้านมาจากไหน? โดยประมาณ 3 พันล้านมาจากรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสะสม(หรือ "กำไรสะสม" ถ้าเป็นกิจการที่มุ่งหวังกำไร) อีกเกือบ 4 พันล้านจากส่วนทุนของมูลนิธิ ซึ่งมาจากทุนตอนตั้งมูลนิธิ 3 ล้าน ส่วนที่เหลือมาจาก เงินบริจาคที่ผู้บริจาคระบุว่าให้เป็นเงินทุนมูลนิธิ จะสามารถนำไปใช้ได้เฉพาะส่วนที่เป็นผลตอบแทน
ซึ่งในวาระปกติ โดยทั่วไปผู้บริจาคในส่วนนี้ก็ไม่ได้เยอะอะไรแต่ละปีละ 10-20 ล้านก็มากแล้ว แต่ทำไมถึงมียอดรวมถึงเกือบ 4 พันล้านได้? ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการบริจาคในวาระโอกาสพิเศษ โดย ประชาชน บริษัท ห้างร้าน รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานรัฐ หรือแม้แต่ รัฐบาลเองที่มักจะจัดงบประมาณไปสมทบทุนให้กับมูลนิธิเนื่องในโอกาสพิเศษ นอกเหนือจากเงินสนับสนุนที่ให้กับมูลนิธิในแต่ละปี เช่นตามภาพสุดท้าย ในโอกาสเฉลิมพระชนพรรษา 7 รอบสมทบทุนมูลนิธิประมาณ 190 ล้าน , กรณี 14 ตุลา (รัฐอนุมัติงบประมาณ 10 ล้านให้มูลนิธิราชประชาฯไปตั้งกองทุนช่วยเหลือ ทหาร ตำรวจ นิสิต ประชาชน ที่ประสบภัยจากการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ)
เอาแค่แต่ละปี รายได้ส่วนใหญ่มาจากเงินสนับสนุนด้วยงบประมาณภาษีแบบนี้ จะไปสรุปว่า เงินของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ไม่ได้มาจากงบประมาณภาษี ไม่ได้หรอก
ถ้าพูดอย่าง"เหมาๆ" (Generalization) อาจจะสรุปว่า...ถ้า"จิตอาสา"=เวลาราชการ แล้ว"ถุงพระราชทาน"=ภาษีประชาชน
ปล. งบประมาณมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ เอามาจาก รายงานประจำปี 2563
https://www.rajaprajanugroh.org/news-all/annual-report.html



Saiseema Phutikarn
การจะบอกว่า "ถุงพระราชทาน" จัดซื้อโดยมูลนิธิฯ หรือ จัดซื้อด้วยเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ แล้วไปสรุปว่าดังนั้นจึง "ไม่ได้มาจากงบประมาณภาษี" อันนี้ไม่ถูก ... เพราะเงินรายได้ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์แต่ละปีมาจากไหนละ ลองไปเปิดงบการเงินดูสิ ... จะพบว่าส่วนใหญ่มาจาก "งบประมาณภาษี" นี่แหละ ไม่ใช่เงินบริจาคที่ไหน



Saiseema Phutikarn

ส่วนการจะบอกว่า "ถุงพระราชทาน" มาจากเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ อันนี้ไม่ผิด ... เพราะถุงพระราชทาน มันมีทั้งแบบ 1. จัดซื้อโดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ , 2.จัดซื้อโดยหน่วยงานรัฐด้วยงบประมาณภาษี หรือ 3. จัดซื้อโดยหน่วยงานรัฐด้วยเงินจากมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ (ข้อ 2-3 ตามตัวอย่างที่เห็นในบทความ ประชาไท https://prachatai.com/journal/2022/06/99277)




Saiseema Phutikarn

รายได้มูลนิธิราชประชานุเคราะห์แต่ละปี ครึ่งหนึ่งเลยมาจาก เงินสนับสนุนจากงบประมาณกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ส่วนที่เป็นเงินบริจาคเข้ามูลนิธิโดยตรงนั้นป็นส่วนน้อยมาก ยกเว้นจะเป็นปีพิเศษต่างๆ ถึงจะมีเงินส่วนนี้มากขึ้นแต่ก็ยังน้อยมากอยู่ดี และหลายครั้งที่พบว่าผู้บริจาครายใหญ่คือ หน่วยงานรัฐ หรือ แม้แต่ตัวรัฐบาลเอง (เช่นตามภาพสุดท้าย รัฐบาลบริจาคดินที่ได้จากการก่อสร้างรัฐสภา) โดยรายได้ส่วนใหญ่อีกส่วนคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของทรัพย์สินมูลนิธิ(เกือบทั้งหมดคือ ดอกเบี้ย)




Saiseema Phutikarn

โดยรายได้ส่วนใหญ่อีกส่วนคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของทรัพย์สินมูลนิธิ(เกือบทั้งหมดคือ ดอกเบี้ย)